ปัญญา 3 ระดับ ผมคิดถูกหรือป่าวครับ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย passakorner, 28 กันยายน 2010.

  1. passakorner

    passakorner เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    284
    ค่าพลัง:
    +1,034
    ตามที่ผมอ่านแล้วตีความเข้าใจว่าปัญญาจริงๆนั้นมี 3 ระดับ หมายถึงปัญญาที่ให้มนุษย์ทั้งหลายเจริญงอกงามในระดับต่างๆ

    1.ปัญญาระดับหยาบ คือการสั่งสมวิทยาการ ศิลปะต่างๆ สาขาวิชาการ ตลอดจน เทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน

    2.ปัญญาระดับกลาง คือปัญญาที่เกิดจากฌานสมาธิ การเข้าถึงความเป็นเอกทัตคะหนึ่งเดียวของอารมณ์ที่จิตเพ่งกสิณทั้ง 10 อย่าง จนเกิดอภิญญา 5

    3.ปัญญาระดับสูง คือปัญญาที่เกิดจากการไตร่ตรอง ความเป็นจริงแห่งโลกธรรมถึงความไม่เที่ยงทั้งหลาย จนก่อให้เกิดปัญญาที่เป็นอริยะ จนผู้นั้นได้นามว่า พระอริยะเจ้า

    ก็เลยอยากถามท่านทั้งหลายว่าข้อความข้างต้นถูกหรือไม่อย่างไรช่วยให้ผมเข้าใจกระจ่างด้วยน่ะครับ เอาไว้ประดับความรู้ครับ ;)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กันยายน 2010
  2. ariyabut

    ariyabut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +2,415
    ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน... รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ... รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรม ที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย

    ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
    1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
    2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
    3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
    ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขา ข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา
     
  3. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    ขอแสดงความเห็นส่วนตัวดังนี้ครับ

    ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาเน้นการมีปัญญาตัดกิเลสได้เป็นระดับไปตั้งแต่โสดาปัตติผลจนถึงอรหัตผล ใช้ความสามารถในการตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 10 ประการเป็นเครื่องวัดระดับความมีปัญญา แบ่งเป็นดังนี้

    1. มีปัญญาขัดเกลาจิตได้ในระดับอธิศีล คือปัญญาที่สามารถตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 3 ข้อต้นได้ คือสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพตปรามาส เป็นปัญญาในขั้นพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี

    2. มีปัญญาขัดเกลาจิตได้ในระดับอธิจิต คือปัญญาที่สามารถตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 5 ข้อต้นได้ คือสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส กามฉันทะ ปฏิฆะ เป็นปัญญาในขั้นพระอนาคามี

    3. มีปัญญาขัดเกลาจิตได้ในระดับอธิปัญญา คือปัญญาที่สามารถตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 10 ข้อ ได้ทั้งหมด คือตัด 5 ข้อได้เพิ่มจากพระอนาคามี คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา เป็นปัญญาในขั้นพระอรหันต์
     
  4. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    ปัญญาสาม

    ๑. ปัญญาเกิดจากการเรียน การศึกษา การสนทนาสอบถาม เรียกว่า สุตมยปัญญา
    ๒. ปัญญาเกิดจาก คิดนึก การปฏิบัติ เรียกว่า จินตามยปัญญา
    ๓. ปัญญาเกิดจากการคิดนึกตรึกตรอง โดยมีสมาธิเป็นฐาน เป็นกำลังหนุนเสริม จนเกิดความรู้แจ้ง เห็นจริง
    ตามสภาพความเป็นจริงของสรรพสิ่ง จนสามารถปล่อยละ วาง ความยึดมั่นถือมั่นได้ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

    ภาวนามยปัญญา นี่แหละที่ทำให้ปุถุชนคนธรรมดา กลายเป็นพระอริยะบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา

    เจริญพร
     
  5. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    1.รู้ความจริงเรื่องกรรม
    2.รู้ความจริงเรื่องขันธ์5
    3.รู้ความจริงเรื่องพระนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    +1

    ตามนี้ครับ ภาวนามยปัญญา

    ปัญญาตัดกิเลส

    นอกเหนือจากนี้ คิดเองเออเอง
     
  7. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ขออนุญาติ รวมมาให้พิจารณา)

    ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย
    ปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดี
    ฯลฯ ญายธรรมอันประเสริฐนี้อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด
    ดีแล้วด้วยปัญญา ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖

    ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ
    ด้วยปัญญาเครื่องหยั่งถึงความเกิดขึ้นและดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสเป็นเครื่องให้ถึงความสิ้น
    ไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

    ก็ทรัพย์ คือ ปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย
    สาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป
    ป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่าทรัพย์คือ ปัญญา

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม
    วินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
    ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่าทรัพย์คือปัญญา

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน

    ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล
    ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล
    ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ
    ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ
    ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ
    ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว
    ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ
    ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ
    ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ
    ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ
    ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง ประพฤติได้ด้วยปัญญา


    นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓

    ก็ญายธรรมที่เป็นอริยะ อันอริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาเป็นไฉน ดูกร
    คฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

    เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
    คือ
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
    ก็เพราะอวิชชาดับโดยสำรอกหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

    ญายธรรมที่เป็นอริยะนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
     
  8. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ปัญญาที่แท้จริงในทางธรรม หรือที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
    ไม่สามารถเกิดได้จากการคิด แต่เกิดจากการ รู้

    การ รู้ กับ การคิด นั้นแตกต่างกัน
    การคิด คือ การใช้ความคิด ในการคิดพิจารณาต่างๆ
    แต่การรู้ คือ การรับรู้ในปัจจุบันขณะ โดยไม่ต้องปรุงแต่ง ตามความเป็นจริง
     
  9. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ความคิด ความเข้าใจ ของแต่ละบุคคลย่อมคิดและเข้าใจไม่เหมือนกัน ตามแต่วิสัยทัศน์ ตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน

    ปัญญา คือ ความรู้ เกิดขึ้นจากการได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายนอก และภายใน มีหลากหลายรูปแบบที่ทำให้เกิดปัญญา คือ ความรู้ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง ปัญญา ในเพียงบางชนิดให้ได้อ่านได้คิดได้พิจารณาเพื่อจักได้เกิดความเข้าใจในเรื่องของปัญญา ดังนี้.-

    ปัญญา หรือ ความรู้ ความรู้ถ้าเป็นไปในทางการศึกษา ปัญญา หรือ ความรู้ย่อมเป็นไปหรือย่อมเกิดขึ้น ตามลำดับขั้้นตอนของการเรียนรู้ เช่น ความรู้ระดับอนุบาล เรื่อยไปจนถึงระดับมัธยมปลาย พอถึงความรู้ระดับปริญญา ก็เริ่มตั้งแต่ ความรู้ หรือปัญญา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ไปจนถึง ระดับปริญญาเอก ความรู้หรือปัญญาทางการศึกษา เป็นความรู้หรือปัญญาแขนงหนึ่งของศาสนา สามารถทำให้เกิดทุกข์ก็ได้ ทำให้เกิดความสุข ความหลุดพ้นก็ได้ ทำให้เกิดกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ได้ หรือทำให้อาสวะหมดไปก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ว่าจะทุกข์จะสุข จะหลุดพ้น จะกิเลส หรืออาสวะหมดไป ก็เป็นเพียง ปัญญาหรือความรู้ ในทางการศึกษา เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อการประกอบกิจการงานในการเลี้ยงชีพ แต่ก็เกี่ยวข้องกับศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา

    ปัญญา หรือ ความรู้ ในด้านศาสนา ก็เป็นปัญญาทางโลก ชนิดหนึ่ง ไม่อย่างนั้น ศาสนาคงไม่มีอยู่ในโลกมนุษย์ดอกขอรับ แต่ปัญญา หรือ ความรู้ทางศาสนา มีไว้เพื่ออบรม กล่อมเกลา หรือสอน หรือเพื่อฝึกให้มนุษย์ รู้จักควบคุมจิตใจ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก การระลึกนึกถึง เพราะสิ่งที่ได้กล่าวไป ล้วนเป็นผลอาจจะกล่าวได้ว่า จิตใจ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก การระลึกนึกถึง เป็นต้นตอ แห่งกิเลสทั้งมวลก็ว่าได้ แต่เป็น "ผล" อันนี้ไปพิจารณาเอาเองว่าเป็น "ผล"เพราะสิ่งใด

    เมื่อเป็นเช่นดังที่ได้กล่าวไป ปัญญา หรือ ความรู้ ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาทางด้านการศึกษาตามแบบทั่วไป ฯลฯ หรือ ปัญญาทางด้านการศึกษาทางด้านศาสนา ล้วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เพียงแต่ ปัญญาหรือความรู้ทางด้านศาสนา เป็นปัญญาที่จะคอยควบคุม ขัดเกลา อบรม ให้มนุษย์ มีความเจริญทางด้านจิตใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และ การระลึกนึกถึง ไม่ให้ใกล้หรือเหมือนสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ ที่คอยแต่จะ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำความเดือดร้อน ไม่เป็นปกติสุข ดังที่ท่านทั้งหลายได้รู้กันอยู่
    ดังนั้น ปัญญา หรือ ความรู้ ในทุกด้าน จึงมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กัน มีความสำคัญเท่าเทียมกัน เชื่อมโยง สอดคล้อง และต้องพึงพาอาศัยกันและกัน นั่นแหละคือ ปัญญา หรือ ความรู้

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
     

แชร์หน้านี้

Loading...