ปริศนาธรรมจากพระพุทธรูป

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 10 ธันวาคม 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]

    พระพุทธรูปเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าชาวพุทธ ให้ความเคารพศรัทธามาก บางแห่งก็มีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือพระพุทธชินราชวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้นมีตำนานเล่าขานกันมามากบ้าง น้อยบ้าง สุดแท้แต่ความศรัทธาของชาวบ้าน แต่สิ่งที่เหมือนกันของรูปเปรียบหรือตัวแทนของ พระพุทธเจ้านี้ ที่สังเกตเห็นได้มีอยู่ด้วย กัน 3 ประการ คือ

    [​IMG]




    1. พระเศียรแหลม มีคำถามว่า

    ทำไมพระพุทธรูปจึงมีพระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นมนุษย์ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ เขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็นปริศนาธรรม พระเศียรที่แหลมนั้น หมายถึง สติปัญญาที่เฉียบ แหลมในการดำเนินชีวิตสอนให้ชาวพุทธแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ใช้อารมณ์ หากใช้ปัญญาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงทำความผิดพลาด ก็เกิดขึ้นน้อย หรือไม่เกิดขึ้นเลย

    2. พระกรรณยาน หรือหูยาน เป็น ปริศนาธรรม ให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนักคือมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงนั่นเอง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ
    แต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคายแล้วจึงเชื่อในฐานที่เป็นชาวพุทธก็ต้องเชื่อใน กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าไม่มีอะไร ทำให้ใครเป็นอะไรๆ ทั้งนั้น แต่ตัวเราเองนั่นแหละทำให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์คนเราจะดีจะชั่วจะเสื่อมจะเจริญไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอก หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับ การทำ การพูดการคิดของตนเองนี้เป็นการเชื่อตามหลักของพระพุทธศาสนา

    3. พระเนตรมองต่ำ พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไปจะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์อย่างในพระอุโบสถ ของวัดทั่วไปจะนั่งมองดูพระวรกายไม่ได้มองดูหน้าต่างหรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้างนี้เป็นปริศนาธรรม สอนให้มองตนเองพิจารณาตนเอง ตักเตือนแก้ไขตนเองไม่ใช่คอยจับผิดผู้อื่นซึ่งตาม ปกติของคนแล้วมักจะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคลอื่น แต่ลืมมองของตนเองทำให้สูญเสียเวลาและโอกาสใน การปรับปรุงพัฒนาตนเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัวเราได้ดี กว่าตัวเราเองจึงมีพุทธพจน์ ตรัสให้เตือนตนเองว่า "อตฺตนา โจทยตฺตาน" = จงเตือนตนด้วยตนเอง จงเตือน ตนของตนให้พ้นผิด ตนเตือน จิตตนได้ ใครจะเหมือน ตนเตือน ตนเตือน ไม่ได้ใครจะเตือน ตนแชเชือนรีบเตือนตนให้พ้นภัย

    ที่กล่าวมาทั้ง 3 ประการนั้นเป็นการสอนโดยใช้ปริศนาธรรมจากพระพุทธรูปเป็นสื่อการสอนใจตนเอง ดังนั้น ชาวพุทธเมื่อมีปัญหาอะไรแก้ไขไม่ได้คิดไม่ตกก็เข้าวัดเสียบ้าง นั่งประนมมือตรงหน้าพระพุทธรูป หรือถ้าที่บ้านมีพระพุทธรูป ก็นั่งประนมมือต่อหน้าพระพุทธรูปที่บ้านนั่นแหละค่อยๆเพ่งพินิจที่พระพักตร์ ของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะกราบ จะมองเห็นพระเศียรแหลม สอนใจตน ว่า "อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์ นะ ใจเย็นๆ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อยๆ คิด ค่อยๆแก้ด้วยสติปัญญาที่เฉียบแหลมเหมือนพระพุทธเจ้าของเราที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา "

    เห็นพระกรรณยานก็บอกตน เองว่า "สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผล เข้าไว้ อย่าปล่อยใจตามอารมณ์หรือหุนหันพลันแล่นเดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล" เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำ ก็บอกตนเองว่า "มองตนเองบ้างนะ อย่า ไปมองคนอื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะไม่สบายใจ และอาจมีปัญหาได้

    การมองตนเอง บ่อยๆ จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น" จากนั้นก็ค่อยกราบ พระพุทธรูป ด้วยสติ
    ปัญญาและจิตใจที่ชื่นบาน นี้เรียกว่า "ยิ่งกราบยิ่งฉลาด" สมกับ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แท้จริง




    ที่มา http://www.saranair.com/article.php?sid=3491
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...