ประเทศเอเชีย-แปซิฟิกผนึกกำลังเทคโนโลยีอวกาศรับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ประเทศเอเชีย-แปซิฟิกผนึกกำลังเทคโนโลยีอวกาศรับภัยพิบัติ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>31 มกราคม 2553 22:07 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>ผู้ร่วมประชุม APRSAF-16 ส่วนหนึ่งระหว่างพัก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนหนึ่งถ่ายรูปร่วมกัน </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภายในห้องประชุมด้านเทคโนลยีอวกาศ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กับภาพวาดที่ได้รับรางวัลอันดับ 3 ผลงานเด็กไทย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ประเทศเอเชีย-แปซิฟิกผนึกกำลังใช้เทคโนโลยีอวกาศ รับมือภัยพิบัติธรรมชาติ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเผยเทคโนโลยีอวกาศของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย-แปซิฟิก

    เปิดฉากการประชุมเครือข่ายองค์กรเทคโนโลยีทางอวกาศเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Regional Space Agency Forum) หรือ APRSAF ครั้งที่ 16 เมื่อช่วงเช้าวันที่ 28 ม.ค.53 ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ มีตัวแทน 300 คนจาก 35 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเข้าร่วม อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บรูไน เป็นต้น โดยการประชุมได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.53 และจัดถึงวันที่ 29 ม.ค.53

    ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประธานเปิดการประชุม APRSAF กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีเป้าหมายที่จะใช้เทคโนโลยีด้านดาวเทียม ข้อมูลอวกาศไปเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งการทหาร การศึกษา และหลังๆ เน้นเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนคนเราตามไม่ทัน

    "จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีอวกาศระหว่างประเทศต่างๆ ส่วนเรื่องความร่วมมือนั้น มีตลอดเวลาอยู่แล้ว โดยการประชุมครั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพร่วม และเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ที่เรามีความร่วมมืออยู่แล้ว อาทิ จีนที่เรามีบันทึกตกลงความร่วมมือในการตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมธีออส (THEOS) พร้อมเป็นตัวแทนจำหน่ายให้ประเทศต่างๆ" ดร.คุณหญิงกัลยากล่าว

    พร้อมกันนี้มีการสรุปผลการประชุม APRSAF ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม โดย ศ.เหงียน เกา สอน (Prof.Nguyen Khoa Son) ประธานโครงการวิจัยด้านวิทยาการและเทคโนโลยีอวกาศเวียดนาม (National Research Program on Space Science and Technology) สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนาม (Vietnam Academy of Science and Technology) ได้กล่าวรายงาน

    การประชุม APRSAF ครั้งที่ผ่านมาจัดขึ้นในกรุงฮานอยและฮาลองเบย์ ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 9-12 พ.ย.51 ซึ่งมีตัวแทน 200 คนจาก 20 ประเทศเข้าร่วมในครั้งนั้น อาทิ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ บรูไน ญีปุ่น ลาว มองโกลเลีย สหรัฐฯ เกาหลี ไทย เป็นต้น โดยแบ่งการประชุมออกเป็น 4 กลุ่มทำงาน ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีอวกาศ กลุ่มสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มการศึกษาด้านอวกาศ และกลุ่มการใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมอวกาศ

    ทั้งนี้ ภายในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีมติตั้งชื่อดาวเทียมขนาดเล็กในโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ว่า "APRSAF SAT" ซึ่งดาวเทียมดังกล่าวเป็นดาวเทียมที่จะใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อาทิ การประยุกต์ใช้เพื่อความมั่นคงทางอาหาร จำแนกคุณลักษณะของผืนดินทั้งหมด และผืนดินที่มีการใช้ประโยชน์ ประเมินปริมาณน้ำฝน เป็นต้น รวมถึงการประยุกต์ใช้ด้านสิ่งแวดล้อม

    พร้อมกันนี้ประเทศต่างๆ ที่เข้าประชุม APRSAF ครั้งที่ 16 นี้ ยังได้ส่งตัวแทนรายงานสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีอวกาศของแต่ประเทศ สำหรับประเทศไทย ดร.ดาราศรี ดาวเรือง รักษาการและรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กล่าวว่า ไทยมีดาวเทียมธีออส (THEOS) ที่เพิ่งส่งขึ้นไปสำเร็จเมื่อ 1 ต.ค.51 ซึ่งได้บันทึกภาพภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกหลายแห่ง อาทิ ผลกระทบจากไต้ฝุ่นมรกตที่ถล่มไต้หวันเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา และล่าสุดภาพเปรียบเทียบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวในเฮติ เป็นต้น

    นอกจากนี้ไทยยังมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียม 2 แห่ง คือสถานีลาดกระบัง กรุงเทพฯ และสถานีศรีราชา จ.ชลบุรี อีกทั้งเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ไทยได้ร่วมใช้ดาวเทียมเอสเอ็มเอ็มเอส (SMMS) ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่วงโคจร โดยความร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และอนาคตต่อไปไทยจะได้ตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมธีออสที่ขั้วโลก เพื่อให้บริการข้อมูลด้านภาพถ่ายดาวเทียมแก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วย

    ส่วนความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศของเพื่อนบ้านไทยอย่างเวียดนามนั้น ดร.โดน มินห์ จุง (Dr.Doan Minh Chung) รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology Institute:STI) สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนาม (VAST) กล่าวว่า ทุกๆ ปีเวียดนามได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อช่วยในการเบาทุกข์ที่เกิดขึ้น โดยเวียดนามมีดาวเทียม VINASAT-1 ซึ่งส่งขึ้นไปเมื่อ ปี 2551 มีอายุการใช้งานถึงปี 2565 โดย 90% ของการใช้ประโยชน์ดาวเทียมดวงนี้อยู่ภายในประเทศ

    นอกจากนี้ เวียดนามยังมีดาวเทียมขนาดเล็ก VNREDSAT-1 ที่จะส่งขึ้นสู่วงโคจรภายในปี 2553 นี้ ดาวเทียมดังกล่าวเป็นดาวเทียมที่มีความละเอียดของภาพสี 10 เมตร และภาพขาว-ดำ 2.5 เมตร หนัก 150 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานอยู่ระหว่างปี 2553-2568 สร้างขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากฝรั่งเศส โดยเวียดนามยังได้รับสิทธิในการส่งวิศวกรไปศึกษาเทคโนโลยีดาวเทียมที่ประเทศฝรั่งเศสอีก 15 คน ด้วย อีกทั้งเมื่อปี 2550 เวียดนามได้ตั้งศูนย์เพื่อการวิจัยและพัฒนาทางด้านอวกาศด้วย

    ด้านอินโดนีเซีย มร.โตโต มาร์นันโต คาดรี (Mr.Toto Marnanto Kadri) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อวกาศ สถาบันอากาศยานและอวกาศอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียมีดาวเทียมแฝด 2 ดวงคือ ดาวเทียม LAPAN-A2 และดาวเทียม LAPAN-ORARI ซึ่งโคจรอยู่ในวงโคจรต่ำ โดย LAPAN-A2 เป็นดาวเทียมที่ใช้บันทึกภาพวิดีโอด้วยความละเอียด 6 เมตร ส่วน LAPAN-ORARI เป็นดาวเทียมที่ใช้สำหรับถ่ายภาพทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีความละเอียด 24 เมตร โดยใช้ความถี่ย่าน VHF และ UHF และในปี 2554 จะได้ส่งดาวเทียมดวงใหม่ไปพร้อมกับปฏิบัติการส่งดาวเทียมของอินเดีย

    สำหรับการประชุม APRSAF ครั้งที่ 16 นี้ จัดขึ้นโดยมีองค์การอวกาศญี่ปุ่น (แจกซา) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. เป็นเจ้าภาพร่วมกัน และยังมีกิจกรรมสำหรับเยาวชนที่จัดควบคู่ไปกับการประชุมด้วยคือ การแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ APRSAF-16 ซึ่งแข่งขันชิงชนะเลิศไปเมื่อวัน 24 ม.ค.53 ที่ผ่านมา และการประกวดภาพวาดในหัวข้อ "จักรวาลของฉัน" ซึ่งเยาวชนไทยได้รับรางวัลที่ 3 จากการตัดสินโดยคะแนนของผู้เข้าร่วมประชุม
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    Science - Manager Online
     

แชร์หน้านี้

Loading...