ประสบการณ์ลี้ลับ กับหุ่นขี้ผึ้ง บนเส้นทางฝัน...ของนักปั้นประติมากรรมแห่งชีวิต

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 6 เมษายน 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ประสบการณ์ลี้ลับ กับหุ่นขี้ผึ้ง

    "ก่อนลงมือปั้นจะต้องมีการทำพิธี ข้อสำคัญคือการไหว้ครู รำลึกถึงครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพ นึกถึงคนที่เราปั้น ขอสมาลาโทษเพราะเราไปคลำหัว ลูบหน้ารูปตาท่าน และถ้าเป็นรูปพระมหากษัตริย์ต้องบวงสรวงเป็นพิธีใหญ่ ปั้นพระมหากษัตริย์ทำเป็นเล่นไม่ได้"อาจารย์ดวงแก้วเล่ากระบวนการ

    "เวลาปั้นมีเรื่องเล่า แต่ละคนละรูปมักมีเรื่องไสยศาสตร์ บางคนเข้าใจผิดว่าหุ่นที่จะปั้นเฉพาะคนที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ ซึ่งผมสนุกนะ ถึงเป็นเรื่องผีมาหลอก เคยเจอด้วยตัวเองก็สนุกกับมัน เรื่องผีที่คนเล่าๆกันเป็นเรื่องโกหก แต่สำหรับผมว่าผีมีจริง วิญญาณมีจริง ผีคือคนตายเข้าโลง ส่วนวิญญาณคือที่ผมบอกไปแล้วว่าการปั้นต้องมีวิญญาณความรู้สึก ต้องใส่ให้มัน พอหุ่นมันเหมือนคนจริงๆ การที่เหมือนคนนั่นน่ะมันหลอกเราแล้ว ผมเองยังตกใจนะ ปั้นด้วยมือแท้ๆ เคยเอาไปวางไว้มุมห้อง ด้วยความที่เหมือนมาก เหมือนมีชีวิตจริง มันหลอกเราแต่มันไม่ใช่ผี "

    อาจารย์เล่าต่อไปอีกว่า"คนที่เข้ามาดูที่พิพิธภัณฑ์ เขามาจ้องดูความละเอียดพอจ้องนานๆเข้า แล้วรู้สึกว่าหุ่นกะพริบตา คนเราจะกะพริบตา มันเป็นธรรมชาติ พอตัวเองกะพริบตาก็พลอยคิดว่าหุ่นกะพริบตาด้วย อย่างหุ่นหลวงปู่ศุข ลูกศิษย์ท่านบอกว่าผมหุ่นท่านงอกได้ เราปลูกด้วยมือเจาะรู ใส่ไฟเบอร์กลาสลงไปเนี่ยแข็งแค่ไหนเรารู้ดี ไม่มีทางงอกได้หรอก แต่เค้าว่ามาครั้งก่อนผมไม่ยาวเท่านี้ นี่ก็แล้วแต่คนจะเชื่อว่าเป็นอีกเรื่องลึกลับหรือเปล่า แล้วย่ามกระเป๋าพระแต่ละองค์นี่มีเงินนะ ในหนึ่งปีเอาไปทำบุญปีละหลายพัน เราไม่เคยตั้งตู้รับบริจาค ถ้าจุดธูปก็รวยแล้วละ ชาวบ้านที่มาดูก็ทำบุญโดยแอบเอาไปใส่ในย่าม "



    ภาพล่าง คือหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ศุขที่มีคนเห็นผมของท่านงอกได้


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ในบรรดาผลงานศิลปะอันทรงคุณค่า ส่วนมากมักจะเกิดจากแรงบันดาลใจของศิลปิน นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ความสามารถในงานศิลป์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ที่สั่งสมเป็นเวลายาวนานของศิลปินคนนั้นๆ

    เช่นเดียวกับ อาจารย์ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์และคณะ ที่ได้ทุ่มเทพลังกายพลังใจ ร่วมกันคิด ค้นคว้า และพัฒนาเทคนิคในการสร้างสรรค์ "หุ่นขี้ผึ้ง" ตามแนวความคิดใหม่อย่างจริงจังตลอดเวลานานกว่า 10 ปี จนกลายเป็น "ประติมากรรมแห่งชีวิต" ซึ่งมากด้วยคุณค่าแห่งงานศิลป์ ที่ไม่เพียงแค่สะท้อนประสบการณ์ ความชำนาญของศิลปินที่คร่ำหวอดกับวงการประติมากรรมเท่านั้น แต่ยังชี้ชัดถึงแรงใจและแรงศรัทธาอันแรงกล้าในการแสวงหาความรู้ วิทยาการอันแปลกใหม่ให้แก่วงการศิลปะอีกด้วย

    สำหรับหุ่นขี้ผึ้ง ประติมากรรมแห่งชีวิตของ อ.ดวงแก้ว ได้สะท้อนงานศิลปะที่มีชีวิตชีวาออกมาในทุกตารางนิ้ว นับแต่ผิวเนื้อของหุ่นที่แลดูเหมือนจริง ทั้งสีสัน ลายผิว รูขุมขน ตลอดจนรอยแผลต่างๆ ไปจนถึงเส้นผมที่ได้รับการปลูกทีละเส้น และดวงตาที่หล่อขึ้นเป็นพิเศษจึงดูมีแววตาและมีน้ำหล่อเลี้ยงดุจนัยน์ตาจริง ทุกรายละเอียดได้รับการบรรจงสร้างสรรค์อย่างลึกซึ้งราวกับจะบันทึกประสบการณ์ชีวิตของบุคคลต้นแบบลงในทุกร่องรอย ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่ผู้ชมโดยแทบไม่ต้องอาศัยคำบรรยายใดๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    จากหุ่นขี้ผึ้ง สู่หุ่นไฟเบอร์กลาส

    อาจารย์ดวงแก้วเล่าประวัติก่อนจะหันมาเป็นนักปั้นเต็มตัวให้ฟังว่า "ตอนผมเรียนจบคณะประติมากรรมศิลปากรมาใหม่ๆ ก็ทำงานหากินไปเรื่อย งานปั้นหุ่นขี้ผึ้งทำเป็นงานอดิเรก ทำเล่นตามความชอบของเรา ตอนแรกยังปั้นด้วยขึ้ผึ้งอยู่เลย ทีนี้พอทำไปทำมาเมื่อปั้นได้แล้วรู้ว่ามันไม่ทน ก็เลยคิดต่อไปว่ามีวัสดุอะไรทน ก็เลยได้ไฟเบอร์กลาส จากนั้นก็ค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตัวเอง ลองผิดลองถูก ปั้นไปเรื่อยๆ จะว่าไปไฟเบอร์กลาสเป็นวัสดุที่ทนความร้อนได้ดี อยู่เมืองไทยแล้วไม่ละลาย ผมว่าทนร้อนได้ดีกว่าคนอีก"

    ด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยไม่เหมาะสมกับการสร้างหุ่นด้วยขี้ผึ้ง เนื่องจากมีความร้อน ความชื้นสูง รวมทั้งมีฝุ่นละอองมาก และที่สำคัญขี้ผึ้งเป็นวัสดุที่ไม่คงทน ไม่คงสภาพจึงมีโอกาสเสื่อมสลายลงได้ถึงแม้จะดูแล บำรุงรักษาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม

    ดังนั้นอาจารย์ดวงแก้วจึงพยายามคิดค้นหาวัสดุอื่นที่จะนำมาใช้แทนขี้ผึ้ง โดยวัสดุต้องมีความแข็งแรงทนทาน ข้อสำคัญคือจะต้องไม่ทำให้คุณลักษณะพิเศษของหุ่นขี้ผึ้งด้อยค่าลงไป หลังจากใช้เวลาค้นคว้าไปพอสมควร อาจารย์ดวงแก้วจึงค้นพบวิธีการนำเอาไฟเบอร์กลาสมาสร้างเป็นหุ่นขี้ผึ้ง ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของไฟเบอร์กลาสมีความคงทนถาวรมาก ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกนุ่มนวล สวยงามมากกว่าขี้ผึ้งอีกด้วย

    เมื่อถามถึงความแตกต่างระหว่างการปั้นหุ่นจากไฟเบอร์กลาสกับการปั้นจากขี้ผึ้ง อาจารย์ดวงแก้วให้ความกระจ่างว่า

    "การปั้นหุ่นด้วยไฟเบอร์กลาสทำยาก ไม่เหมือนหุ่นที่ปั้นจากขี้ผึ้งซึ่งไม่ใช่ถาวรวัตถุ วางไว้ก็ละลายได้ ถึงไม่ร้อนก็สลายตัวมันเอง ฝุ่นจับง่ายอีก แต่ไฟเบอร์กลาสมันแข็งทำลายยากยกเว้นตกแตก ไม่สามารถขูดข่วน ทำอะไรไม่ได้เลย ก่อนหล่อไฟเบอร์กลาส รายละเอียดงานต้องเสร็จจริงๆ แม้แต่การปลูกผม ขี้ผึ้งมันเคยเสียบได้ แต่นี่ไม่ได้ต้องเจาะรูทีละรู ปลูกผมทีละเส้น"

    นอกจากนี้ อาจารย์ดวงแก้วยังให้เหตุผลที่เรียกหุ่นขี้ผึ้งแทนหุ่นไฟเบอร์กลาสว่า "หุ่นทั้งหมดในพิพิธภัณฑ์ทำจากไฟเบอร์กลาส แต่ที่เรียกหุ่นขี้ผึ้งเพราะมันเป็นชื่อเฉพาะ คนรู้จักหุ่นที่เหมือนจริงอย่างนี้ โดยเรียกหุ่นขี้ผึ้งตามชื่อที่เรียกหุ่นของมาดามทูโซ่ แล้วจะให้เรียกว่าหุ่นไฟเบอร์กลาสคนก็คงไม่รู้จัก ก็เลยเรียกกันว่าหุ่นขี้ผึ้งแต่ไม่ได้ทำจากขี้ผึ้ง"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    5 ขั้นตอน ก่อนจะเป็นหุ่นขี้ผึ้งยุคใหม่

    ในการถ่ายทอดจากความคิดกลายเป็นผลงานศิลป์ที่ละเอียดอ่อนในแต่ละขั้น แต่ละตอนนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ เพราะนอกจากจะขึ้นอยู่กับเวลาที่เหมาะสม บ่มเพาะอารมณ์ศิลปินแล้วยังต้องคำนึงถึงหลักปฏิบัติ ซึ่งอาจารย์ดวงแก้วได้เล่าถึงกระบวนการคร่าวๆในการสร้างสรรค์หุ่นขี้ผึ้งแต่ละรูปว่ามีถึง 5 ขั้นตอนด้วยกัน

    เริ่มจาก "ขั้นเตรียมการ"ก่อนจะลงมือปั้น ทีมงานจะทำการค้นคว้าหาข้อมูลของบุคคลต้นแบบซึ่งประกอบไปด้วย ประวัติ พื้นเพเดิม อายุ บุคลิก ลักษณะพิเศษ อุปนิสัย รูปร่าง สัดส่วน อย่างละเอียด ด้วยการถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอเก็บภาพต้นแบบในทุกแง่มุม รวมทั้งตรวจสอบลักษณะและสีของผิว นัยน์ตา ผม ไฝ ฝ้าต่างๆ ฯลฯ ถ้าบุคคลต้นแบบเป็นผู้เสียชีวิตไปแล้ว ก็ต้องขวนขวายหาภาพถ่ายและเอกสารต่างๆเท่าที่มีอยู่ ตลอดจนสัมภาษณ์บุคคลใกล้ชิด หรือผู้รู้ประวัติความเป็นมาให้ได้ข้อมูลมากที่สุด

    เมื่อรวบรวมข้อมูลเพียงพอแล้ว จึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาจนเข้าใจลักษณะของต้นแบบนั้นๆ ทั้งรูปลักษณ์ด้านร่างกายไปจนลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจของบุคคลต้นแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาถึงอุปนิสัยใจคอ เพื่อให้สามารถจัดท่าทาง ใส่บุคลิกให้หุ่นแต่ละรูปมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง จากนั้นจึงทำการสเก็ตช์ภาพจากข้อมูลที่ได้มา ผสมกับจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ ออกมาเป็นท่าทางแบบต่างๆจนได้แบบที่ดีที่สุดสำหรับทำแบบจำลองด้วยดินเหนียวต่อไป

    ขั้นต่อมาคือ "ขั้นขึ้นโครงหุ่น" ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการขึ้นโครงดินในงานปั้นทั่วๆไป โดยตั้งโครงเหล็กผูกครอส (ไม้รูปกากบาท) สำหรับยึดดินเหนียวไม่ให้แตกร้าวและหล่นลงมา แล้วนำดินเหนียวมาปั้นเป็นรูป ทั้งสัดส่วน และรูปร่างลักษณะต้องเป็นไปตามความเป็นจริง โดยจะต้องคำนึงถึงหลักกายวิภาค และสรีรวิทยาเป็นอย่างมาก

    จากนั้นจึงเข้าสู่ "ขั้นทำพิมพ์" เมื่อปั้นโครงดินเสร็จสมบูรณ์แล้ว ต่อไปก็ต้องนำมาทำพิมพ์ ซึ่งเราเรียกว่าพิมพ์ทุบ โดยทำจากปูนปลาสเตอร์ เป็นแม่พิมพ์สำหรับใช้หล่อหุ่น ทั้งนี้จะต้องทำแบบเป็นชิ้นเพื่อให้สะดวกในการที่จะแกะแบบ ออกจากรูปดินเหนียว โดยการใช้ฟิล์มหรือแผ่นสังกะสีบางๆแบ่งพิมพ์ออกเป็นชิ้นตามความเหมาะสมของรูปดินในแต่ละงาน

    ตามมาด้วย"ขั้นหล่อขี้ผึ้ง" ซึ่งก่อนอื่นต้องนำแบบพิมพ์ที่แกะออกจากรูปดินเหนียวมาล้างด้วยน้ำสบู่แล้วประกบพิมพ์เข้าไปใหม่ตามรอยเดิม จากนั้นจึงเทขี้ผึ้งที่เคี่ยวไว้จนได้ที่ลงไปในพิมพ์ รอจนกระทั่งขี้ผึ้งจับตัวหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ก็เทขี้ผึ้งเหลวออก ใช้ปูนปลาสเตอร์ยาทำโครงขึ้นในขี้ผึ้ง แล้วจึงทุบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ออก ก็จะได้รูปหล่อขี้ผึ้ง

    ขั้นสุดท้าย"ขั้นตกแต่งหุ่นและหล่อไฟเบอร์กลาส" ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งต้องอาศัยเวลาและความละเอียดอ่อน ในการปั้นแต่งปรับแก้ไขส่วนต่างๆจากรูปหล่อขี้ผึ้ง เก็บรายละเอียดต่างๆเช่น การทำผิว รอยย่น เส้นเอ็น เส้นเลือด ปรับแต่งส่วนของนัยน์ตาอย่างประณีตบรรจง แล้วถอดพิมพ์อีกครั้งหนึ่งจากรูปขี้ผึ้งซึ่งตกแต่งเสร็จเรียบร้อย นำไปหล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ซึ่งได้ผสมสีไว้แล้วจากข้อมูล โดยงานที่หล่อออกมาเป็นไฟเบอร์กลาสแล้ว ต้องนำมาตกแต่งความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง

    หลังจากนั้นจึงทำการปรับประกอบชิ้นส่วนต่างๆให้เข้าที่ ใช้สว่านเจาะรูเล็กๆเท่าจำนวนเส้นผม เรียงตามองศาที่เป็นเหมือนผมคนจริง แล้วเสียบเส้นผมลงในรู เส้นละหนึ่งรูโดยใช้กาวยึดไว้ทุกเส้น เมื่อปลูกเส้นผมเต็มศีรษะแล้ว งานต่อไป คือใช้ลูกนัยน์ตาที่ได้เตรียมไว้จากข้อมูลในครั้งแรกโดยอาศัยสีของนัยน์ตาดำ นัยน์ตาขาว เส้นเลือดของนัยน์ตาขาวเป็นหลัก ในการปรับประกอบนัยน์ตาหุ่นจะต้องให้เหมือนจริงที่สุดแม้กระทั่งการปรับจุดมองของสายตา ซึ่งต้องอาศัยหลักทางวิชาการและศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง

    เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงนำหุ่นไปลงสีเก็บรายละเอียดตามข้อมูลที่ได้รับรวมถึงการลงรายละเอียดของไฝฝ้า เส้นเลือด ริ้วรอย กระต่างๆ ก่อนทำการตัดแต่งทรงผม ตลอดถึงการนุ่งห่ม เสื้อผ้า ริ้วรอยย่น รอยยับของเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้สอดคล้องตามหลักศิลปะ จากนั้นตรวจตรา ดูแลความถูกต้อง ความสวยงามของรูปหุ่นเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะนำออกแสดง ซึ่งในการสร้างหุ่นกว่าจะเก็บรายละเอียดครบทุกขั้นตอนนั้น ใช้เวลานานแตกต่างกันไป โดยทั่วไปใช้เวลาทั้งสิ้นนานถึง 2 ปีเลยทีเดียว
     
  5. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    เทคนิคและอุปกรณ์การปั้นที่ทำให้หุ่นเหมือนมีชีวิต

    สำหรับเทคนิคการปั้น รวมไปถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้สร้างสรรค์ประติมากรรมแห่งชีวิต อาจารย์ดวงแก้วบอกว่า "อุปกรณ์ไม่มีขาย ไม่มีซื้อ ต้องทำเอง คิดประดิษฐ์เอาเอง เราทำเองหากจะใช้อะไร ก็ต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาก่อน เมื่อก่อนไม่มีหุ่นขี้ผึ้งในเมืองไทย แม้แต่งานของมาดามทูโซ่ก็ไม่มีขาย มันไม่ได้เป็นวิชาแบบเลขคณิตที่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์อย่างดินสอ ปากกา สมุด แล้วเครื่องมือที่ทำเองน่ะดีที่สุดแล้ว เพราะทำได้ถูกใจ"

    "ส่วนเทคนิคที่ทำให้หุ่นเหมือนจริงผมว่ามันอยู่ที่ใจ อย่างคนแต่ละคนต่างกันตรงไหน ช่างปั้นเค้ามองแล้วรู้เลย ที่แต่ละคนไม่เหมือนกันไม่ใช่ว่าหน้าตาไม่เหมือน ลักษณะภายในต่างหากที่จะช่วยสะท้อนการปั้นให้หุ่นเหมือนจริง ไม่ใช่ปั้นแค่รูปลักษณ์ภายนอก งั้นถอดหน้าคนออกมาก็เหมือนแล้ว แต่นี่ไม่ใช่ มันต้องเหมือนที่ใจ บางคนเห็นบุคลิกลักษณะ หรือเห็นข้างหลัง เห็นแค่เงาบางทีก็จำได้ทันทีเลย มันอยู่ที่หลายๆอย่างที่ประกอบขึ้นเป็นคน"

    "แต่ในการปั้นเราแทบไม่รู้จักคนที่เป็นหุ่นเรา เราจึงต้องหาข้อมูล ปั้นไม่ได้จนกว่าจะรู้จักเค้าให้มากที่สุด บุคลิกดุหรือใจดี ข้อมูลที่เป็นทั้งส่วนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมด เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น นอกจากใช้ผมจริง เสื้อผ้าของจริงรวมทั้งการเพนต์สี ไฝ ฝ้า กระ รายละเอียดของชิ้นงานต่างๆนั้นเป็นเรื่องของข้อมูล ก่อนปั้นต้องหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด มีสัดส่วน อุปนิสัยของคนด้วย พื้นเพชาติกำเนิด คนแขก จีน ไทย ภาคไหน แม้แต่ภาคเหนือก็ไม่เหมือนตะวันออก ภาคใต้ ภาคกลางต่างกันต้องรู้พื้นเพและอุปนิสัย เป็นคนใจดี โกรธง่าย ดุ เส้นผม สี นัยน์ตาแต่ละคนไม่เหมือนกัน" อาจารย์ดวงแก้วเล่าต่อไป

    "ตาที่เหมือนจริงต้องหล่อเป็นรูปตาแล้วใส่เข้าไป จะสีอะไรเราก็หล่อเป็นยังงั้น แก้วตาดำ แต่ละคนมีสีไม่เหมือนกัน บางคนตาสีน้ำผึ้ง ตาสีเหล็ก ฝรั่งตาสีฟ้า ต้องเทียบลูกตากับคนที่เราปั้น ไม่งั้นต้องเช็กข้อมูลเป็นคนภาคอะไร สีต่างกัน บางภาคสีดำขลับ บางภาคสีเหล็ก ถ้าไม่รู้ข้อมูลคนนั้นตายไปแล้วเราก็ใช้ประเมินลักษณะทั่วไป อย่างกะโหลก อีสานหน้าและกะโหลกจะแบนแป้น ภาคใต้จะโหนกนูน ภาคเหนือกลม ถ้าเราไม่รู้ข้อมูลเราก็ใช้พื้นฐานนี้"

    แม้เป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดลออ และยากลำบากกว่าจะเหมือนจริง แต่อาจารย์กลับไม่ย่อท้อ กล่าวให้ฟังต่อไปว่า "ถึงปั้นไม่เหมือนก็ไม่ท้อ มันเป็นธรรมชาติ ปั้นมาจากก้อนดินมันจะเหมือนเลยได้ยังไง ก็ทำไปเรื่อย แก้อันที่มันไม่เหมือนให้มันเหมือน สมัยก่อนผมชอบทำงานตอนกลางคืน เวลามีงานแทบไม่ได้นอนเลย อาจได้งีบตอนกลางวันสัก 2 ชั่วโมง พอแต่ละตัวปั้นเสร็จ งานเราเสร็จก็โล่งอกแหงล่ะ แต่ก็ไม่ใช่ผ่านแล้วผ่านเลย เดี๋ยวก็เจองานใหม่อีก สนุกกับงานอีก ไม่ได้ทำแล้วจะตาย"

    "งานปั้นเป็นงานที่พิพิธภัณฑ์มอบหมายเพราะต้องเข้าที่ประชุมไม่ใช่อยู่ๆปั้นรูปนี้รูปนั้น แล้วจัดแสดง ไม่ใช่ปั้นส่งเดช รูปเค้าสำคัญอย่างไร ส่วนมากเป็นบุคคลสำคัญทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่บุคคลสำคัญชาวบ้านก็ต้องมีท่าทางอารมณ์ที่คล้อยตาม วัฒนธรรมไทยๆอย่าง หุ่นชุดหมากรุก หุ่นยายหลาน มันเป็นงานศิลปะ ไม่ต้องเป็นคนที่เหมือนใคร เป็นคนในสังคมไทยที่รักการทำความดี"

    พอถามถึงผลงานปั้นที่ยากและประทับใจที่สุด อาจารย์ตอบว่า "ไม่มีนะ จะว่ายากก็ยากทุกชิ้น ง่ายก็ง่ายทุกชิ้น อยู่ที่ความพยายามที่เราตั้งใจทำ แต่งานที่น่าเบื่อน่ะมี ก็ประเภทรูปนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่จะมาว่าจ้าง บังคับด้วยเวลานั่นไง ผมว่างานปั้นเป็นงานอิสระ ถ้ามากำหนดเวลามันทำไม่ได้ เพระต้องใช้เวลากับวิญญาณศิลปิน จะสร้างรูปคนที่มีประโยชน์ทางการศึกษาด้านวัฒนธรรมเป็นหลัก คนอื่นมาว่าจ้างไม่ปั้นเลย ปั้นให้พิพิธภัณฑ์อย่างเดียว ยิ่งเดี๋ยวนี้ยิ่งปั้นไม่ได้ใหญ่ คนเรามีอุปสรรค สังขารเป็นเรื่องสำคัญ"
     
  6. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    สืบสานวิชาการปั้นหุ่นขี้ผึ้งยุคใหม่

    "จริงๆไม่ได้มีเรียนการปั้นโดยเฉพาะ เรียกว่าการฝึกด้วยตัวเองมากกว่า เรียนประติมากรรมโดยตรง การทำหุ่นขี้ผึ้งเป็นเรื่องเทคนิค ที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเอาเอง ไม่มีโรงเรียน สถาบันหรือตำราก็ไม่มี"

    อาจารย์ดวงแก้วเล่าต่อไปว่า "ลูกศิษย์ที่มาเอาวิชาก็ไม่ใช่ลูกหลานโดยตรง ลูกศิษย์เพียงบางคนที่ทำได้และขยันจริงๆ ซึ่งในวงการก็พอจะมีคนที่มีฝีมือปั้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์ที่ต่างกันด้วย บางคนทำเพื่อธุรกิจ ทำเพื่อหาเงิน พองานมันรีบเข้า งานยังไม่ทันเสร็จก็รีบให้เค้าไปแล้ว แต่ถ้าทำเพราะใจรักเนี่ย ใช้เวลานานแค่ไหนก็ต้องอดทนทำให้เหมือน ต้องใช้เวลาสร้างอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์แบบที่ศิลปินชอบพูดกัน เป็นอารมณ์กับรูปปั้น เหมือนร่างทรง รูปปั้นมีอารมณ์ยังไงเราถ่ายทอดออกมา ถ้าทำได้ก็ง่าย แต่บางคนทำไม่ได้ก็แหงล่ะมันก็ยาก"

    "ทีนี้ปั้นได้มากหรือน้อยขึ้นกับฝีมือช่างปั้นแล้ว ถ้าข้อมูลมันมีอยู่แล้ว บางคนปั้นแล้วถอยหลัง อย่างช่างเขียนที่มาปั้นแล้วก็ว่ามันยาก ตอนแรกเอาดินมาก้อนหนึ่ง เหมือนหินที่ตอนแรกจะแกะช้าง ปั้นไปปั้นมาเป็นม้าดีกว่า แกะไปอีกเป็นหมูเป็นหนู แล้วเป็นลูกกระสุน ทำงานมากแต่ยิ่งทำ งานยิ่งได้น้อย ไม่เหมือนขนดินขนทรายยิ่งทำมากยิ่งได้มาก"

    คุณค่าของงานศิลป์ แม้งานบางอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสร้างที่ยาวนาน แต่สำหรับความพยายามและความทุ่มเทเพื่อแสวงหาความรู้อันแปลกใหม่ให้แก่วงการศิลป์นั้น ถือเป็นการเข้าถึงคุณค่าศิลปะอย่างแท้จริงซึ่งนั่นถือเป็นความสำเร็จขั้นสูงสุดของศิลปินเลยทีเดียว

    ปัจจุบันผลงานหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสทั้ง 37 รูปของอาจารย์ดวงแก้วและคณะ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
    จ.นครปฐม โดยตัวอาจารย์เองวางมือจากการปั้นแล้ว แต่ก็ยังถือเป็นอาจารย์คนสำคัญที่ให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาในการสรรค์สร้างหุ่นชุดใหม่ๆต่อไป



    ภาพ เปรียบเทียบระหว่างพระสงฆ์องค์จริง(ซ้าย)กับหุ่นขี้ผึ้งพระสงฆ์(ขวา)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Pic_3100_1.jpg
      Pic_3100_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.2 KB
      เปิดดู:
      240
  7. นายฉิม

    นายฉิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    2,099
    ค่าพลัง:
    +2,696
    เคยไปเที่ยวตอนเด็ก เหมือนมากครับ แต่สภาพพื้นที่น่าจะตกแต่งให้สว่างๆ ตอนนี้ไม่รู้ปรับปรุงถึงไหนกันแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...