ประวัติหลวงปู่คำคะนิง ภาคพิสดาร ๓ (ท่านลงไปเมืองบาดาลด้วยกายเนื้อ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 4 ตุลาคม 2008.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ประวัติหลวงปู่คำคะนิง ภาคพิสดาร ๓
    หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี
    บุกเมืองพญานาคและท่องนรก (๓)
    โดย สิทธา เชตวัน
    <O:p</O:p

    ถ้ำมืดชาวบังบด

    เมื่อหลายปีที่ผ่านมาหลวงปู่คำคะนิงได้ทราบจากคำเล่าลือของชาวบ้านและพระธุดงค์ว่า ณที่ถ้ำมืดใกล้กับภูปัง ฝั่งไทยเขตโขงเจียม อยู่เลยอำเภอบ้านด่านขึ้นไปทางเหนือนั้นเป็นถ้ำ เมืองลับแลหรือที่ชาวบ้านเรียก ชาวบังบด

    ถ้ำมืดนี้เป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์มี เหล็กไหล ชาวเมืองลับแลหวงแหนมาก แต่วันดีคืนดีใครมีวาสนาหลงเข้าไปในถ้ำเมืองลับแลที่ว่านี้ จะได้รับแก้วแหวนเงินทองจากชาวลับแลหรือไม่ก็ได้พระทองคำมาบูชา

    ลึกลงไปใน ถ้ำมืดเป็นนครเร้นลับใต้พิภพคือเมืองบาดาลของพญานาค อยู่ใต้แม่น้ำโขง เป็นเมืองใหญ่โตมโหฬารถ้าเข้าไปจากถ้ำฝั่งไทยจะลอดไปใต้แม่น้ำโขงเป็นอุโมงค์กว้างใหญ่และมีทางแยกไปสลับซับซ้อนคล้ายรวงผึ้งสามารถจะทะลุขึ้นฝั่งโขงด้านประเทศลาว

    อุโมงค์บางสายทะลุไปออกแก่งลี่ผีสีทันดร ระยะทางนับร้อยกิโลเมตรอุโมงค์บางสายซึ่งเป็นเมืองบาดาลนี้ไปทะลุออกเมืองแกวเมืองญวนซึ่งพระธุดงค์หลายรูปได้นั่งทางในตรวจสอบด้วยกระแสญาณแล้วเห็นตรงกันว่าเป็นความจริง

    ได้มีชาวบ้านพวกแสวงหาทรัพย์สินโบราณสมบัติปู่โสมหลายคณะได้เข้าไปค้นหาสมบัติในถ้ำมืดนี้ ปรากฏว่า เป็นถ้ำกว้างใหญ่ลักษณะถ้ำตันไม่มีอุโมงค์ลับซับซ้อน ไม่มีเมืองพญานาคไม่มีเหล็กไหลไม่มีทรัพย์สมบัติโบราณแต่อย่างใดเลย

    พวกคนโลภโมโทสันทั้งหลายต่างผิดหวังพากันด่าว่านินทาพระสงฆ์องค์เจ้าหาว่าโกหกหลอกลวงนั่งหลับตาพยากรณ์ส่งเดชอวดอุตริมนุสธรรมด่าว่านินทาพระสงฆ์องค์เจ้า ผลกรรมทันตาเห็น ปรากฏว่าพวกค้นหาสมบัติในถ้ำพากันหาทางออกจากถ้ำไม่ได้ ทั้งๆ ที่จุดคบไฟสว่าง พวกเดียวกันแท้ๆก็มองไม่เห็นกันต่างหลงทางเดินร้องตะโกนเรียกหากันโหวกเหวกอยู่ 15 วันอดข้าวอดน้ำแทบตาย จนต้องดื่มน้ำปัสสาวะตัวเองแทนน้ำ พอวันที่ 16 จึงหาทางออกจากถ้ำได้ นับเป็นเรื่องเร้นลับอาถรรพณ์ น่าพิศวง

    ค้นหาด้วยฌาน

    หลวงปู่คำคะนิงอยากจะพิสูจน์ความจริงเรื่อง ถ้ำมืดนี้ให้กระจ่างออกมา จึงได้เดินทางมายังถ้ำมืด ได้พบว่า เป็นถ้ำกว้างใหญ่มากถ้าติดฟืนไฟให้สว่างขึ้นในถ้ำมืดนั้นสามารถจะใช้เป็นห้องประชุมผู้คนได้เป็นหมื่นๆคนทีเดียว

    ในถ้ำมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก มีลำธารไหลลอดใต้ภูเขาอยู่ในถ้ำมีบาตรโบราณเก่าๆ บรรจุพระเครื่องหักชำรุดและผ้าไตรผุเปื่อยซุกอยู่ซอกถ้ำแห่งหนึ่งแสดงว่ามีคนเข้ามาบูชาเอาพระเครื่องไปหรือแก้บนผีสางเทวดา

    หลวงปู่คำคะนิงได้ออกเดินสำรวจดูถ้ำมืด ใช้คบไฟจุดให้แสงสว่างสำรวจตรวจดูทุกซอกทุกมุมอย่างละเอียดถี่ถ้วนก็ไม่พบว่ามีช่องทางจะทะลุเข้าไปข้างในได้อีกเลย มันเป็นถ้ำตันขนาดใหญ่คล้ายห้องโถงที่มีทางเข้าและออกทางเดียวเท่านั้น

    ที่เล่าลือกันว่าถ้ำนี้เป็นถ้ำเมืองลับแล และมีอุโมงค์ลับลงไปใต้บาดาลเป็นเมืองพญานาคนั้นเห็นจะรู้เห็นด้วยสายตาธรรมดาไม่ได้ เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นสภาวะทิพย์มีความละเอียดอ่อนสุขุมยิ่งกว่าสายลม เบาบางยิ่งกว่าใยแมงมุมแต่ทว่าแข็งกล้ายิ่งกว่าเหล็กเพชร มีอานุภาพยิ่งกว่าสายฟ้าสามารถจะให้คุณและโทษแก่มนุษย์ผู้หยาบช้าจิตใจสกปรกโลภโมโทสันได้ถึงแก่วิบัติฉิบหายในพริบตา

    ฉะนั้นจำจะต้องใช้อำนาจฌานสมาธิตรวจสอบด้วยทางในให้รู้แจ้งเห็นจริง

    เมื่อหลวงปู่คำคะนิงนั่งเข้าฌานตรวจสอบด้วยทางในเห็นนิมิตปรากฏสว่างจ้าขึ้นตรงมุมถ้ำด้านหนึ่งมองเข้าไปตรงผนังถ้ำเห็นใสกระจ่างคล้ายผนังถ้ำทำด้วยแผ่นกระจกในผนังถ้ำนั้นมีบ่อน้ำหินในบ่อน้ำนี้มีหินก้อนหนึ่งแช่อยู่รูปร่างคล้ายจระเข้เสียงในนิมิตบอกว่าให้ข้ามหรือรอดให้ท้องจระเข้หินนี้เข้าไป แล้วจะพบประตูลับแลเข้าสู่ถ้ำข้างใน

    เมื่อทราบแล้วดังนั้นหลวงปู่คำคะนิงจึงได้ออกจากสมาธิแล้วออกเดินสำรวจถ้ำมืดอีกครั้งโดยตรงไปที่ผนังถ้ำที่ปรากฏเห็นในนิมิตก็พบด้วยความประหลาดใจว่ามีหินย้อยลงมาคล้ายหลืบฉากเล็กๆซึ่งตอนแรกเดินตรวจดูอย่างละเอียดแล้วไม่ได้พบหินย้อยตรงนี้ดูคล้ายตาเซ่อไปเองหรือไม่ก็มีอะไรบังตาไว้ยังงั้นแหละ

    หลวงปู่คำคะนิงจึงนั่งยองๆ ลงชะโงกเข้าไปดูในซอกหลืบหินย้อยนี้ก็พบว่าเป็นซอกมุมทำเลพิกล มีรูดำมืดเข้าไป เป็นรูขนาดคนพรรมดามุตคลานเข้าไปได้ทีละคนแต่เมื่อเข้าไปแล้วจะเป็นรู้ตันหรือข้างในเป็นเหวลึกยังไม่รู้อาจเป็นรูเข้าสู่ที่อยู่อาศัยของงูเหลือมยักษ์ก็เป็นได้

    ๐ ธรรมย่อมรักษา

    การที่จะมุดคลานเข้าไปนับเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่งแต่หลวงปู่คำคะนิงไม่เคยนึกหวาดกลัวเลย เพราะมีประสบการณ์เรื่อง มุดสำรวจถ้ำเสี่ยงมฤตยูมาแล้วอย่างโชกโชนนับถ้ำไม่ถ้วน

    ประการสำคัญที่สุดก็คือพระกรรมฐานอย่างท่านซึ่งจาริกธุดงค์อยูในป่าเขาแดนอันตรายร้อยแปดพันเก้าประการนี้ได้อธิษฐาน ตายไว้ตั้งแต่วินาทีแรกที่สมาทานธุดงค์แล้ว

    นั่นคือพร้อมเสมอที่จะตายทุกเวลา ไม่อาลัยเสียดายชีวิตถ้ากรรมเก่าในอดีตสร้างไว้ให้ผลก็พร้อมที่จะอุทิศสังขารร่างกายให้ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ป่าด้วยความยินดีเพื่อชดใช้กรรมเก่าให้หมดสิ้นกันไปเสียเลยในชาตินี้ไม่ต้องติดค้างหนี้เวรหนี้กรรมกันอีกต่อไป

    พระธุดงค์ขณะตกเป็นเหยื่อเสือขบกัดหรือตกเป็นเหยื่อ 4 เหลือมท่านจะต้องตั้งสติให้มั่นคงกำหนดจิตให้แช่มชื่นเบิกบานใจที่ได้อุทิศร่างตัวเองให้เป็นอาหารของสัตว์นั้นๆ

    แล้วจึงแผ่เมตตาให้อโหสิสัตว์ตัวนั้นไม่ขออาฆาตจองเวรจากนั้นก็ปล่อยวางสังขารร่างกายรูปนามขันธ์ห้าโดยสิ้นเชิงเจริญวิปัสสนากำหนดอารมณ์ปัจจุบันเป็นตัวปัญญา

    เมื่อจิตปล่อยวางได้แล้วเช่นนี้ ความเจ็บปวดขณะตกอยู่ในปากสัตว์ก็จะไม่มีจะมีแต่สติติดตามจิตอยู่ทุกขณะจิตเป็นอารมณ์ปัจจุบันเมื่อวิญญาณในขันธ์ห้าดับคือสิ้นใจตาย สติก็ยังดำรงอยู่ว่าขันธ์ห้าของตนแตกดับแล้ว

    ตอนนี้เองจิตในจิตหรือตัวสติปัญญา อันเป็นนามธรรม ผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบาน สว่าง สะอาดบริสุทธิ์ ก็จะสืบต่อเป็นสันสติออกจากร่างไปสู่กระแสมรรคผลนิพพานแดนสงบศานติสุข ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

    เมื่อพระธุดงค์ตัดสินใจพร้อมที่จะตายได้ทุกเวลาเช่นนี้จิตย่อมยังเกิดความเบาสบายชุ่มชื่นเบิกบาน มีความกล้าหาญอยู่ตลอดเวลา ไม่หวาดกลัวอะไรทั้งสิ้นอะไรจะเกิดขึ้นก็ให้มันเกิดขึ้น ถ้าเป็นกรรมเก่าส่งผลก็พร้อมที่จะยอมรับกรรมนั้นแต่ถ้าไม่เคยสร้างกรรมเวรไว้ในอดีต หากเผชิญอันตรายใดๆธรรมะย่อมปกปักรักษาให้ปลอดภัย

    สรุปแล้วพระธุดงค์ท่านเชื่อมั่นในพระธรรมย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรมและเชื่อใน กฎแห่งกรรม

    จากหนังสือโลกทิพย์ ฉบับที่ 11 ปีที่ 2 เดือนมีนาคม 2526
    กรุณาติดตามตอนต่อไปครับ (อุโมงแก้วใต้ลำน้ำโขง)
    http://palungjit.org/showthread.php?t=152856<O:p</O:p


    ขอเชิญทุกท่านได้โมทนาบุญผ้าป่า ๓ กองบุญร่วมกันครับ
    http://palungjit.org/showthrea...=158315&page=3

    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เพียงท่านแวะชมและโมทนาท่านก็จะได้บุญได้กุศลตามกำลังใจของแต่ละท่าน

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    </O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...