ประวัติสมเด็จโต ของตรียัมปวาย (ย่อความจากหนังสือ)

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย NATTAYA nurse, 16 ธันวาคม 2009.

  1. NATTAYA nurse

    NATTAYA nurse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +781
    ขอกราบขอบพระคุณ คุณคลองด่านคะ
    คัดลอกจากBLOG คุณคลองด่าน

    .....หนังสือสมเด็จโต ของตรียัมปวาย ปัจจุบันหายากมาก ผมได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยความเคารพนับถือต่อท่านเจ้าพระคุณสมเด็จท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงอยากเผยแพร่ประวัติ และเกียรติคุณของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยย่อความจากหนังสือดังกล่าว ออกมา ดังนี้<O:p</O:p
    ประวัติ สมเด็จโต<O:p</O:p
    ภูมิสมภพ<O:p</O:p

    เกิดในแผ่นดิน มเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับจากคำบอกเล่าของ นายกลิ่น ญาตฺนายffice:smarttags" /><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>โทน หลาน ของสมเด็จโต ท่านเกิดวันพฤหัส เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ เวลาพระบิณฑบาต ย่ำรุ่ง 9บาท จุลศักราช 1150 ปีวอก ตรงกับ วันที่ 17เมษายน 2331 หลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 7 ปี <O:p</O:p
    เจ้าพระยาทิพยโกษา ได้อธิบายว่า ดวงชะตาสมเด็จนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรางคำนวณถวายรัชกาลที่ 5 แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งประทานให้พระยาทิพยโกษา คัดลอกไว้ ดังนี้ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรมรังสี เป็นผู้ทรงกิตติคุณ มหานิยมยิ่ง เป็นผู้มีพื้นเพดีเป็นที่รักของมุขมนตรี และท้าวพระยามหากษัตริย์ เป็นผู้มีอุตสาหะอันแรงกล้า มักน้อยสันโดษ มีศิษยานุศิษย์มาก และมีศิษย์ที่ทรางกิตติคุณสูง ทรงคุณปัญญายอดเยี่ยมแตกฉานในพระปริยัติธรรม เชี่ยวชาญในอักษรสมัย ช่ำชองในพระกรรมฐาน และเป็นเกจิอาจารย์ชั้นเยี่ยม ปราศจากการสะสมทรัพย์ใดๆ และเป็นผู้มีอายุยืน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในพุทธาคม และศาสตร์อันลี้ลับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นาม<O:p</O:p
    โต ในวัยเด็กท่านมีร่างกายบอบบาง ไม่แข็งแรง จึงตั้งชื่อว่า โต เพื่อเป็นศิริมงคล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    โยมมารดา<O:p</O:p
    ชื่อเกตุ โยมตาชือ ไชยเป็นชาวท่าอิฐ อ.ท่าโพธิ์ (ปัจจุบันเป็นอ.เมือง) จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาฝนแล้งจึงย้ายมาที่ ต.สระเกศ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นที่ที่โยมบิดาพบกับโยมมารดา จากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่ อ.ท่าเรือ จงพระนครศรีอยุธยา<O:p</O:p
    <O:p</O:pโยมบิดา<O:p</O:p
    เป็นที่ทราบกันว่า คือ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แต่เกิดนอกราชฐาน แต่ได้รับการนับถือจากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร โดยเฉพาะ สมเด็จพระจอมเกล้า ทรงเรียกว่า หลวงพี่ ทุกคำ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การศึกษา <O:p</O:p
    เบื้องต้น เรียนหนังสือไทยและขอม ที่วัดไชโย อ่างทอง ต่อมามารดา นำท่านมาศึกษาต่อที่สำนัก พระอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก) พระนคร ท่านเป็นพระกรรมฐาน ชาวเวียงจันทร์ ได้เข้ามาตามการอารธนาของ เจ้าอินทร์ น้าชาย เจ้าเขียวน้อย พระชายา ในพระพุทธยอดฟ้า ราชตระกูลเวียงจันทร์ ผู้ปฏิสังขรวัดอินทรวิหาร<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    การบรรพชา<O:p</O:p
    เมื่ออายุ 12 ปี พ.ศ.2343 โดย พระบวรวิริยเถระ อยู่ วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพูบน ) <O:p</O:p
    สามเณรน้อยนี้ได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ครั้งดำรงพระยศเป็น กรมขุนอิศรสุนทร มาก ทรงรับอุปถัมภ์ ถึงกับทรงประทาน เรือกราบกันยาหลังคากระแซง ไว้ใช้สอย ซึ่งเป็นเรือที่สำหรับพระราชวงศืชั้นพระองค์เจ้าเท่านั้น เป็นการแสดงออกว่า ทรงยอมรับว่าเจ้าพระคุณเป็นโอรส โดยพฤตินัย<O:p</O:p
    การศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม<O:p</O:p
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นาค เปรียญเอก เจ้าอาวาสวัดระหัง วันหนึ่งทรงฝันไปว่า มีช้างเผือกเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎก ในตู้ของท่านจนหมด ชะรอยจะมีเด็กมีปัญญามาฝากเป็นศิษย์ จึงทรงสั่งว่าถ้ามีใครมาฝากเด็ก ให้รอคอยพบท่านให้จงได้ แล้วพระอรัญญิก แก้ว ก็พาสามเณรโต จากวัดอินทรวิหาร มาฝากจริงๆ จึงทรงรับไว้ทันที<O:p</O:p
    การอุปสมบท ปีพ.ศ. ๒๓๕0 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ทรงรับเป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมี องค์สมเด็จพระสังฆราช ศุข วัดมหาธาตุ พระสังฆราชองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จโต ทรงศึกษาต่อกับ สมเด็จพระสังฆราช ศุข ด้วย วันหนึ่ง ทรงรับสั่งว่า ขรัวโตศิษย์เธอเขามาแปลหนังสือให้ฉันฟังน่ะ ไม่ได้มาเรียนหนังสือ ดอก หลัง สมเด็จโตเข้าโบสถ์ไปแปลบาลีให้พระประธานฟังเสร็จแล้วกราบ 3 ครั้งแล้วเทินหนังสือบนศรีษะกลับไป


    <O:p</O:p
    การศึกษาพระกรรมฐาน<O:p</O:p
    ทรงศึกษาจากพระอาจารย์พระอรัญญิกแก้ว และพระบวรวิริยเถระอยู่ วัดสังเวชวิศยาราม ตั้งแต่เป็นสามเณร จากนั้นทรงเรียนวิชากรรมฐานและพุทธาคมจาก สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถ่อน สมัยที่ดำรงพระสมณศักดิ์ที่ พระณาณสังวร ครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ทรงเล่าเรียน พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือครั้งทรงผนวชอยู่ ทรงเรียนอักขรเลขยันต์ การทำผงวิเศษ 5 ประการจากพระสังฆราช ดังนั้นพระสมเด็จของท่านจึงคล้ายกับสมเด็จอรหังของพระสังฆราชสุก มาก โดยสมเด็จอรหังสร้างก่อนสมเด็จวัดระฆัง 44-46 ปี ( สมเด็จอรหังสร้างประมาณ พ.ศ.2363-2365 สมเด็จโตสร้างประมาณ พ.ศ. 2409 )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การสร้างพระให้ศักดิ์สิทธิ์ นั้น ต้องอาศัยการลงอักขรเลขยันต์การเรียกสูตร จากวิชามยฤทธิ์ และการนั่งปรก จากวิชาสมาธิปผารฤทธิ์ ท่านสร้างเต้าปูนนำไปแจกพระในวัดตั้งแต่เป็นเณร มีพระภิกษุนำไปปั้นเป็นลูกกลมๆ มีคนนำไปใช้ กลายเป็น ลูกอมศักดิ์สิทธิ์ ไป<O:p</O:p
    จากนั้นทรงศึกษาต่อกับ พระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="แสง วัดมณีชลขันธ์">แสง วัดมณีชลขันธ์</st1:personName> ลพบุรี ร.5ทรงบันทึกไว้ว่า พระองค์นี้เดินจากลพบุรีตอนเช้า มาฉันเพลที่กรุงเทพได้ <O:p</O:p<O:p</O:p
    เปรียญยก <O:p</O:p
    สมัยก่อนการสอบเปรียญของพระภิกษุต้องทำการแปลบาลีต่อหน้าพระพักต์ของพระเจ้าอยู่หัวและกรรมการสอบ เมื่อแปลได้กี่ประโยคก็จะได้เปรียญตามนั้น บององค์อาจแปลได้รวดเดียว 9 ประโยคก็มี แต่เจ้าพระคุณสมเด็จโต ก็มีการเข้าแปลทุกปี แต่เมือแปลไปเรื่อยๆ ใกล้จะจบได้ประโยคก็มักจะหยุดกลางคันกลับวัดไปเฉย ๆ โดยไม่มีใครว่ากระไรเลย แสดงว่าท่านไม่ต้องการยศศักดิ์แต่อย่างใด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สมณศักดิ์ <O:p</O:p
    สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงดำริจะพระราชทานแต่งตั้ง สมเด็จโตเป็นพระราชาคณะ แต่ขรัวโตก็ถวายพระพรขอตัวเสีย บางครั้งก็หนีไปอยู่ถึงกัมพูชาเลยก็มี แต่ก็ไม่สามารถหนีได้ในสมัยรัชกาลที่4 เพราะทรงนับถือเกรงใจและสนิทสนมกันมาก <O:p</O:p
    ในปี พ.ศ. 2395 จึงทรงตั้งเป็นที่ พระธรรมกิตติ วัดระฆัง โดยสมเด็จพระจอมเกล้าทรงถามว่าคราวนี้ทำไมไม่หนี สมเด็จโตทรงตอบว่า สมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงมิได้เป็น เจ้าฟ้า แต่ทรงเป็นจ้าแผ่นดิน แต่พระจอมเกล้าทรงเป็นทั้งเจ้าฟ้า และเจ้าแผ่นดิน โวหารแยบคายนัก เพราะสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงเป็นพระองค์เจ้าเท่านั้น ไม่ใช่พระยศชั้นเจ้าฟ้า ต่อมาอีก 2 ปี พ.ศ. 2397 เป็นที่ พระเทพกวี ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์สน วัดสะเกศ มรณภาพ จึงทรงตั้งเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ วันที่ 8 กันยายน 2407 เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ 5 ของกรุงรัตนโกสินทร์<O:p</O:p<O:p</O:p

    รายนามสมเด็จพระพุฒาจารย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนี้<O:p</O:p
    1.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ไม่ทราบนาม) วัดอมรินทร์ (วัดบางหว้าน้อย) ได้รับทัณฑืโบยถอด พร้อมพระสังฆราช ศรีวัดระฆัง และ พระพิมลธรรม วัดโพธาราม ด้วยถวายวิสัชชนไม่สบพระทัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมือรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ ทรงถวายพระยศคืนทั้ง 3 องค์<O:p</O:p2.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อยู่) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
    <O:p</O:p3.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป้า) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
    <O:p</O:p4.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ (วัดสะแก)
    <O:p</O:p5.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)<O:p</O:p
    อนึ่ง แต่เดิมใช้คำ สมเด็จพระพุทธาจารย์ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในรัชกาลที่ 4<O:p</O:p
    <O:p</O:pศิษย์เอกเจ้าพระคุณสมเด็จ
    <O:p</O:p
    1.หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ป.7 วัดระฆัง<O:p</O:p
    2.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มรว.เจริญ วัดระฆัง<O:p</O:p
    3.พระธรรมถาวร ช่วง จันทโชติ<O:p</O:p
    4.พระครูธรรมานุกุล ภู จันทสโร หรือ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร




    ขอกราบสักการะองค์หลวงปู่อย่างที่สุด<!-- google_ad_section_end -->




    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง
    ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิ กาเย กายะ ญายะ
    เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน
    ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุขะโต
    นะโมพุทธายะ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...