ประวัติของพระไตรปิฏกและจำนวนครั้งของการสังคายนา จากมุมมองของฝ่ายเถรวาท

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 12 ธันวาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    พระไตรปิฏก คือคำภีร์คำสอนของศาสนาพุทธ ที่เรียกกันว่าพระไตรปิฏก เพราะประกอบด้วยคัมภีร์หมวดหลัก สามหมวดคือ

    1.หมวดคัมภีร์บัญญัติคำสอนเรื่องความประพฤติทางกาย เรียกว่า"พระวินัย"

    2.หมวดคำภีร์บัญญัติคำสอนเรื่องการปฏิบัติธรรมและการปฏิบัติทางจิต"พระสูตร"

    3.หมวดคัมภีร์บัญญัติคำสอนที่อธิบายถึงสภาวะต่างๆของจิตเรียกว่า"พระอภิธรรม"



    การสังคายนาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง
    ย้อนไปในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนอยู่และในสมัยต้นพุทธศักราช พระธรรมคำสอนเดิมเรียกกันว่า"ธรรมวินัย" ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดคำว่า"ไตรปิฏก"เกิดขึ้นมาใน พศ.ใด
    การสืบทอดคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนอยู่กระทำด้วยการสวดท่องจำพร้อมกันบ้าง สวดผูกเป็นร้อยกรองเรียกว่า"มาติกาบ้าง" การสวดพร้อมกันในลักษณะหากสวดไม่ตรงกันก็สามารถรู้ได้จึงเป็นผลดีในการรักษาคำสั่งสอนทุกอักขระ (สังคีติสูตร คือร้อยกรองพระสูตรหนึ่งผูกขึ้นโดยพระสารีบุตร)
    ต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ปลงสังขารปรินิพพานไปแล้วมีเหตุให้พระเถระทั้งหลายต้องกระทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ใหม่เนื่องจากมีภิกษุบางรูป มีความเห็นผิดสิบประการในเรื่องของพระวินัย การสังคายนาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองมีปรากฏหลักฐานในพระวินัยปิฏก โดยครั้งแรกในพระวินัยปิฏกเรียกว่า"การแจงห้าร้อย" เพราะกระทำการสังคายนาด้วยพระเถระห้าร้อยรูป ส่วนการสังคายนาครั้งที่สองท่านเรียกการแจง เจ็ดร้อยเพราะสังคายานาด้วยพระเถระเจ็ดร้อยรูป การสังคายนาทั้งสองครั้งนี้ยังมิได้แยกคัมภีร์เป็นสามไตรหรือไตรปิฏกแต่อย่างใด ยังคงเรียกว่า "ธรรมวินัย" ในคำสอนของพระพุทธเจ้า และการสังคายนาทั้งสองครั้งแรกนี้ก็กระทำการสังคายนาเฉพาะในส่วนของพระวินัยบางข้อ ยังคงพระสูตรไว้ตามเดิม ดังปรากฏหลักฐานในพระวินัยปิฏกเล่มที่เจ็ด

    ........................................................................

    การสังคายนาครั้งที่ ๓ ไม่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฏกแต่มีปรากฏในชั้นอรรถกถากล่าวว่า(อรรถกถาคือการอธิบายเนื้อหาของพระไตรให้เป็นความเข้าใจด้วยสำนวนภาษาของคนในยุคที่ทำการอรรถกา)
    สังคายนาครั้งที่ ๓ กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย พระโมคคลีบุตร ติสสเถระเป็นหัวหน้า มีพระสงฆ์ประชุมกัน ๑,๐๐๐ รูป ทำอยู่ ๙ เดือนจึงแล้วเสร็จ สังคายนาครั้งนี้ กระทำภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๒๓๔ หรือ ๒๓๕ ปี ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้ คือพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ชำระสอบสวนกำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นจากพระธรรมวินัยได้แล้ว จึงสังคายนาพระธรรมวินัย
    มีข้อน่าสังเกตว่า ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในอภิธัมมปิฎกเพิ่มขึ้นด้วย ตามประวัติว่าบทตั้งมีอยู่เดิมแล้ว แต่ได้แต่งขยายให้พิสดารออกไป เรื่องกถาวัตถุเป็นเรื่องคำถามคำตอบเกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีคำถาม ๕๐๐ คำตอบ ๕๐๐ และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็ได้ส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งพระมหินทเถระ ผู้เป็นโอรสพระเจ้าอโศก ได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกาเป็นครั้งแรก การส่งสมณทูตไปทิศต่าง ๆ ครั้งนั้น ถือหลักว่าให้ไปครบ ๕ รูป เพื่อจะได้ให้การอุปสมบทแก่ผู้เลื่อมใสได้ แต่คงไม่ได้ระบุชื่อหมดทั้งห้า โดยมากออกนามเฉพาะท่านผู้เป็นหัวหน้า

    ก่อนที่พระไตรปิฏกจะได้รับการจารึกเป็นตัวอักษร เรามีหลักฐานที่อาจยืนยันได้ว่า พระธรรมคำสอนยังอยู่ในรูปของ"พระวินัยและพระสูตร" ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกออกเป็นพระไตรทั้งสามปิฏก จากหลักฐานศิลาจารึกที่ค้นพบที่สานจีจารึกไว้ตอนต้นพุทธศตวรรษที่3 มีรายนามของผู้สร้างส่วนต่างๆของพระสถูปปรากฏอยู่พร้อมด้วยคุณศัพท์แสดงคุณสมบัติของบุคคลนั้นๆเช่น เปฏากิน(ผู้มีปิกฏหรือผู้ท่องจำปิกฏไว้ได้) สุตตนติกา(ผู้จำพระสูตร) สุตตนตกินี(สตรีผู้จำพระสูตรได้) ปัญจเนกายิกา(ผู้จำนิกายทั้งห้าได้ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระธรรมคำสอนยังอยู่ในรูปแบบที่เรียกกันว่า"ธรรมวินัย" และนิกายทั้งห้าของพระสุตตันตปิฏกก็ยังได้รับความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ยังไม่ได้มีการกล่าวถึงพระอภิธรรมแต่อย่างใดนิกายทั้งห้าคือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย ขุททกนิกาย (พระไตรของฝ่ายมหายาน ไม่ได้จัด"ขุททกนิกาย"ว่าเป็นนิกายแต่มีเนื้อหาต่างๆที่คล้ายคลึงกัน)
    สังคายนาครั้งที่สี่(ครั้งที่หนึ่งของกรุงลังกาแยกเป็นเถรวาทแล้ว)

    การสังคายนาครั้งนี้ ต่อจากสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดียไม่กี่ปี คือการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ กระทำในราว พ.ศ. ๒๓๔หรือ๒๓๖ พอทำสังคายนาเสร็จแล้วไม่นาน พระมหินทเถระก็เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกา และในปี พ.ศ. ๒๓๘ ก็ได้ทำสังคายนาในลังกา เหตุผลที่อ้างในการทำสังคายนาครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้พระศาสนาตั้งมั่น เพราะเหตุที่สังคายนาครั้งนี้ห่างจากครั้งแรกประมาณ ๓-๔ ปี บางมติจึงไม่ยอมรับเป็นสังคายนา เช่น มติของฝ่ายพม่าดังจะกล่าวข้างหน้า ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สังคายนาครั้งนี้ อาจเป็นการวางรากฐานให้ชาวลังกาท่องจำพระพุทธวจนะ จึงต้องประชุมชี้แจงหรือแสดงรูปแห่งพุทธวจนะตามแนวที่ได้จัดระเบียบไว้ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดีย ฉะนั้น จึงนับได้ว่าเป็นสังคายนาครั้งแรกในลังกา


    สังคายนาครั้งที่ ๒ ในลังกา
    (ฝ่ายพม่านับเป็นครั้งที่หนึ่งของการสังคายนาพระไตรในลังกาหรือครั้งที่สี่นับจากอินเดีย)
    การสังคายนาครั้งนี้ กระทำเมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๓๓ ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย เรื่องที่ปรากฏเป็นเหตุทำสังคายนาครั้งนี้ คือเห็นกันว่า ถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง จึงตกลงจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน มีคำกล่าวว่า ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย สังคายนาครั้งนี้กระทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเลชนบท ซึ่งไทยเราเรียกว่ามลัยชนบท ประเทศลังกา มีพระริกขิตมหาเถระเป็นประธาน ได้กล่าวแล้วว่า บางมติไม่รับรองการสังคายนาของพระมหินท์ ว่าเป็นครั้งที่ ๔ ต่อจากอินเดีย แต่สังคายนาครั้งที่ ๒ ในลังกานี้ ได้รับการรับรองเข้าลำดับโดยทั่วไป บางมติก็จัดเข้าเป็นลำดับที่ ๕ บางมติที่ไม่รับรองสังคายนาของพระมหินท์ (ครั้งแรกในลังกา) ก็จัดสังคายนาครั้งที่ ๒ ในลังกานี้ว่าเป็นครั้งที่ ๔ ต่อมาจากอินเดีย
    หมายเหตุ.....ตามหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ทีปวังสะ(คัมภีร์นี้แต่งขึ้นราวคศ.400)พระไตรปิฏกพร้อมทั้งอรรถกถา ได้รับการจารึกลงเป็นตัวอักษรในใบลานครั้งแรกในลังกาในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย(ก่อนคศ.103-77) ดังนั้นเรื่องการบันทึกลงใบลานอาจมีความคลาดเคลื่อนในเวลาทางการค้นประวัติศาสตร์บ้างเล็กน้อยไม่กี่ปี



    สังคายนาครั้งที่ ๓ ในลังกา
    กระทำที่รัตนปุระในลังกา พระเถระชื่อหิกขทุเว สิริสุมัคละ เป็นหัวหน้า กระทำอยู่ ๕ เดือน การสังคายนาครั้งนี้ น่าจะไม่มีใครรู้กันมากนัก นอกจากเป็นบันทึกของชาวลังกาเอง การโฆษณาก็คงไม่มากมายเหมือนสังคายนาครั้งที่ ๖ ของพม่า

    การนับสังคายนาของพม่า
    ได้กล่าวแล้วว่า พม่าไม่รับรองสังคายนาครั้งแรกในลังกา คงรับรองเฉพาะสังคายนาครั้งที่ ๒ ของลังกาว่าเป็นครั้งที่ ๔ ต่อจากนั้นก็นับสังคายนาครั้งที่ ๕ และที่ ๖ ซึ่งกระทำในประเทศพม่า
    สังคายนาครั้งแรกในพม่า หรือครั้งที่ ๕ ต่อจากครั้งจารึกลงในใบลานของลังกา สังคายนาครั้งนี้ มีการจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นหินอ่อน ๔๒๙ แผ่น ณ เมืองมันดเล ด้วยการอุปถัมภ์ของพระเจ้ามินดง ใน พ.ศ. ๒๔๑๔ (ค.ศ. ๑๘๗๑) พระมหาเถระ ๓ รูป คือ พระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิธชะ และพระสุมังคลสามี ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานโดยลำดับ มีพระสงฆ์และพระอาจารย์ผู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมร่วมประชุม ๒,๔๐๐ ท่าน กระทำอยู่ ๕ เดือนจึงสำเร็จ
    สังคายนาครั้งที่ ๒ ในพม่า
    หรือที่พม่านับว่าเป็นครั้งที่ ๖ ที่เรียกว่าฉัฏฐสังคายนา เริ่มกระทำเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จนถึงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นอันปิดงาน ในการปิดงานได้กระทำร่วมกับการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ (การนับปีของพม่าเร็วกว่าไทย ๑ ปี จึงเท่ากับเริ่ม พ.ศ. ๒๔๙๘ ปิด พ.ศ. ๒๕๐๐ ตามที่พม่านับ)
    พม่าทำสังคายนาครั้งนี้ มุ่งพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นข้อแรก แล้วจะจัดพิมพ์อรรถกถา (คำอธิบายพระไตรปิฎก) และคำแปลเป็นภาษาพม่าโดยลำดับ มีการโฆษณาและเชิญชวนพุทธศาสนิกชนหลายประเทศไปร่วมพิธีด้วย โดยเฉพาะประเทศเถรวาท คือ พม่า ลังกา ไทย ลาว เขมร ทั้งห้าประเทศนี้ ถือว่าสำคัญสำหรับการสังคายนาครั้งนี้มาก เพราะใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลีอย่างเดียวกัน จึงได้มีสมัยประชุม ซึ่งประมุขหรือผู้แทนประมุขของทั้งห้าประเทศนี้เป็นหัวหน้า เป็นสมัยของไทยสมัยของลังกา เป็นต้น ได้มีการก่อสร้างคูหาจำลอง ทำด้วยคอนกรีต จุคนได้หลายพันคน มีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ ที่ บริเวณที่ก่อสร้างประมาณ ๒๐๐ ไร่เศษ เมื่อเสร็จแล้วได้แจกจ่ายพระไตรปิฎกฉบับอักษรพม่าไปในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย


    การนับสังคายนาของไทย
    ตามหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมของไทยเรายอมรับรองสังคายนาครั้งที่ ๑-๒-๓ ในอินเดีย และครั้งที่ ๑-๒ ในลังกา รวมกัน ๕ ครั้ง ถือว่าเป็นประวัติที่ควรรู้เกี่ยวกับความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิรญาณวโรรส ทรงถือว่าสังคายนาในลังกาทั้งสองครั้งเป็นเพียงสังคายนาเฉพาะประเทศ ไม่ควรจัดเป็นสังคายนาทั่วไป จึงทรงบันทึกพระมติไว้ในท้ายหนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๓
    แต่ตามหนังสือสังคีติยวงศ์ หรือประวัติแห่งการสังคายนา ซึ่งสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนรจนาเป็นภาษาบาลีในรัชกาลที่ ๑ ตั้งแต่ครั้งเป็นพระพิมลธรรม ได้ลำดับความเป็นมาแห่งสังคายนาไว้ ๙ ครั้ง ดังต่อไปนี้

    สังคายนาครั้งที่ ๑-๒-๓ ทำในประเทศอินเดียตรงกับที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น

    สังคายนาครั้งที่ ๔-๕ ทำในลังกา คือครั้งที่ ๑ ที่ ๒ ที่ทำในลังกา ดังได้กล่าวแล้วในประวัติการสังคายนาของลังกา

    สังคายนาครั้งที่ ๖ ทำในลังกาเมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ พระพุทธโฆสะได้แปลและเรียบเรียงอรรถกถา คือคำอธิบายพระไตรปิฎก จากภาษาลังกาเป็นภาษาบาลี ในรัชสมัยของพระเจ้ามหานาม เนื่องจากการแปลอรรถกถาเป็นภาษาบาลีครั้งนี้ มิใช่การสังคายนาพระไตรปิฎก ทางลังกาเองจึงไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา ตามแบบแผนที่นิยมกันว่า จะต้องมีการชำระพระไตรปิฎก

    สังคายนาครั้งที่ ๗ ทำในลังกาเมื่อ พ.ศ. ๑๕๘๗ พระกัสสปเถระได้เป็นประธาน มีพระเถระร่วมด้วยกว่า ๑,๐๐๐ รูป ได้รจนาคำอธิบายอรรถกถาพระไตรปิฎก เป็นภาษาบาลี กล่าวคือแต่งตำราอธิบายคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งพระพุทธโฆสะได้ทำเป็นภาษาบาลีไว้ในการสังคายนาครั้งที่ ๖ คำอธิบายอรรถกถานี้ว่าตามสำนวนนักศึกษาก็คือ คัมภีร์ฎีกา ตัวพระไตรปิฎก เรียกว่าบาลี คำอธิบายพระไตรปิฎก เรียกว่า อรรถกถา คำอธิบายอรรถกถา เรียกว่า ฎีกา การทำสังคายนาครั้งนี้ เนื่องจากมิใช่สังคายนาพระไตรปิฎก แม้ทางลังกาเองก็ไม่รับรองว่าเป็นสังคายนา
    อย่างไรก็ตาม ข้อความที่กล่าวได้ในหนังสือสังคีติยวงศ์ ก็นับว่าได้ประโยชน์ในการรู้ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา อย่างดียิ่ง

    สังคายนาครั้งที่ ๘ ทำในประเทศไทย ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงไตรปิฎกหลายร้อยรูป ให้ช่วยชำระอักษรพระไตรปิฎก ในวัดโพธาราม เป็นเวลา ๑ ปี จึงสำเร็จสังคายนา ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ ๑ ในประเทศไทย

    สังคายนาครั้งที่ ๙ ทำในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก ในครั้งนี้มีพระสงฆ์ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก ๓๒ คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจัดให้มีการจารึกลงในใบลาน สังคายนาครั้งนี้สำเร็จภายใน ๕ เดือน จัดว่าเป็นสังคายนาครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย
    ประวัติการสังคายนา ๙ ครั้งตามที่ปรากฏในหนังสือสังคีติยวงศ์ ซึ่งสมเด็จพระวันรัตรจนาไว้นี้ ภิกษุชินานันทะ ศาสตราจารย์ภาษาบาลี และพุทธศาสตร์แห่งสถาบันภาษาบาลีที่นาลันทาได้นำไปเล่าไว้เป็นภาษาอังกฤษ ในหนังสือ ๒๕๐๐ ปี แห่งพระพุทธศาสนาในอินเดีย ซึ่งพิมพ์ขึ้นในโอกาสฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ในอินเดียด้วย

    ประเด็นศึกษา
    สำหรับผู้มีใจเปิดกว้าง ไม่ผูกจิตของตนบนความยึดมั่นถือมั่นในนิกายของตน ตำราคัมภีร์ของตน...
    ในการศึกษาพระธรรมวินัยและเรื่องราวของพระไตรปิฏกนั้น โดยความเป็นจริงพระธรรมคำสอนก็คือคัมภีร์ฝึกวิทยายุทธอย่างวิเศษ ดังนั้นหากนักศึกษาคนใดเอาแต่เรียนเอาแต่ค้นคว้าโดยที่ไม่ปฏิบัติตามพระคัมภีร์ ก็จะเกิดความสงสัยลังเลอยู่ในทีแล้วว่าคัมภีร์นี้จริงหรือปลอมกันแน่
    แม้จะศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์จนวัยอายุสังขารร่วงโรยไปก็คงไม่สามารถทำความลังเลสงสัยในคัมภีร์เหล่านี้ให้ตกลงไปได้ เพราะยังไม่เห้นผลสำเร็จจากวิทยายุทธในคัมภีร์นั่นเอง
    แต่เมื่อนักศึกษาคนใด ใฝ่ศึกษาด้วยหมั่นฝึกฝนตามไปด้วยจนเห็นผลเป้นรูปธรรมแก่ตน ความเข้าใจในปรมัตถ์ของพระธรรมคัมภีร์ก็ย่อมเกิดให้รู้ด้วยตนเอง
    ต่อไปหากไปเจอตำราคัมภีร์ที่ไหนแม้จะต่างภาษาออกไป แต่แค่เพียงได้อ่านได้สัมผัสก็สามารถที่จะล่วงรู้ได้ว่าเป็นคัมภีร์ของจริงหรือของปลอม นั่นก็เพราะตนเองเป็นวิชาแล้ว ตนเองรู้ได้บ้างแล้วว่าที่ฝึกมามันให้ผลอย่างนี้ๆ..ก็เป็นประเด็นที่สมควรให้นำไปขบคิดพิจารณากัน
    การปิดกั้นตนเองไว้กับสิ่งที่ตนมีก็ดี การปิดกั้นตนเองไว้กับการอ่านอย่างเดียวก็ดี ความประพฤติเหล่านี้ย่อมเป็นอุปสรรคในความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณทั้งสิ้น. <!--MsgFile=3-->


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>ประเด็นขบคิด

    นับตั้งแต่การสังคายนาพระไตรปิฏกของฝ่ายเถรวาทที่กรุงลังกาครั้งที่ 6 พระไตรปิฏกได้ผ่านการสวดสังคายนามาอีกถึงสามครั้ง ซึ่งถ้าหากจะเปรียบเทียบกับคำสอนของศาสนาพุทธฝ่ายเซนแล้ว ทางฝ่ายเซนก่อตั้งขึ้นเมื่อราวต้นพุทธศัตวรรษที่หนึ่งพัน และจากนั้นเซนก็สืบทอดคำสอนของฝ่ายตนมาอย่างดีโดยอาจารย์สู่ศิษย์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของตำราแต่อย่างใด
    ก็เป็นการให้ข้อคิดว่า คำสอนทางฝ่าย"เซน"ก็อาจจะมีอะไรที่ดีๆอยู่บ้าง หรือไม่ก็ผ่านมรสุมทางโลกน้อยกว่าคำสอนของฝ่ายเถรวาท ก็เป็นประเด็นให้นักศึกษาผู้คงแก่เรียนฝ่ายเถรวาทควรได้ให้ความสนใจที่จะศึกษาแก่นแท้หัวใจของเซนว่า โดยปรมัตถ์ธรรมฝ่ายเซนแล้วมีอะไรที่ผิดแผกแตกต่างไปจากปรมัตถ์ธรรมฝ่ายของตน.
    <!--MsgEdited=4-->

    <!--MsgFile=4-->
    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></CENTER>
     
  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,935
    แก่นสาร...ในพุทธศาสนา อยู่ที่ "สัจจะ"....แต่ เวลาที่ยาวนาน สงครามมากครั้ง สิ่งสำคัญสูญหายไป
    รีบค้นหา ความหมายของ..."หลักสัจจะธรรม"

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  3. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    พระธรรมวินัย สังคายนาครั้งที่1สำคัญมาก เพราะล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ความผิดพลาดจากจึงมีน้อยมาก ครั้ง่ต่อไปไม่รับรองว่าถูกต้องสักเท่าใด ต้นฉบับครั้งที่ 1คงจะหายากมาก หรืออาจจะโดนทำลายไปแล้วก็ได้ เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...