ประยุกต์เทคนิคสร้างทัศนคติที่ดี

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ประยุกต์เทคนิคสร้างทัศนคติที่ดี

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top>โดย ผศ. ดร.ชวนะ มหิทธิชาติกุล ภวกานันท์ [2-2-2007] </TD></TR><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top>(ข้อปฏิบัติที่ดีต้องขยายผลจาก Creative Juice) ได้ข้อปฏิบัติที่ดีจากฝ่ายบริหารงานลูกค้าที่เห็นว่าควรแก่การเผยแพร่ชื่นชมและมีประโยชน์ต่อวิชาชีพ A.E. ไม่เฉพาะวงการโฆษณาเท่านั้น เลยนำมาลงให้ได้รับทราบกัน โดยประยุกต์ขยายความหรือเพิ่มข้อคิดบางส่วนบ้างให้มีคุณูปการในการใช้ประโยชน์มากขึ้น

    1. การมีสัมมาคารวะให้เกียรติด้วยความเคารพต่อขนบปกติ ตลอดจนระเบียบปฏิบัติของผู้อื่น ทั้งเพื่อนร่วมงานและลูกค้า ต้องระลึกว่าคนเรามีความเชื่อหรือหลักยึดติดที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้และให้ความเคารพต่อสิ่งเหล่านั้นให้มากที่สุด อย่าเผลอ อย่าฝืนหรือลบหลู่ เพื่อสู่การเกิดความพอใจและสร้างความนิยมชมชอบในตัวเรา

    2. การแสดงความสนใจร่วมกัน เช่น มีงานอดิเรกประเภทเดียวกัน ชอบนักร้องหรือดนตรีเหมือนกัน ชอบดูกีฬา ดาราหรือภาพยนตร์เหมือนกัน ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีรสนิยมในการทำสิ่งต่างๆ เหมือนกันไปด้วย แต่เมื่อติดต่อสร้างสัมพันธ์ จะต้องให้เกิดความรู้สึกที่เราพบความสนใจร่วมกันกับผู้ติดต่อกับเขาด้วย จะช่วยให้ความชอบพอก่อตัวได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้คุยกันรู้เรื่องหรือคุยกันถูกคอกันนั่นเอง

    3. การมีไมตรีจิตและมีน้ำใจ อย่ามองข้ามว่าเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย แต่พึงระลึกว่าการกระทำที่ถือว่าเป็นน้ำใจนั้นคือ การช่วยเป็นธุระหรือทำนอกเหนือไปจากหน้าที่ แสดงความเอาใจใส่ เช่น การช่วยรับโทรศัพท์ ซื้อของว่าง/อาหารเล็กๆ น้อยๆ มาฝาก การช่วยเปิดประตู ช่วยเป็นธุระบางเรื่อง

    4. การรู้จักสรรเสริญและนับถือในความสามารถของผู้อื่นอย่างจริงใจ ขอย้ำว่าต้องจริงใจ ยกย่องในสิ่งที่เขาประสบความสำเร็จหรือใกล้จะสำเร็จ นอกจากสร้างอิทธิพลความชอบได้สูง ยังนำมาซึ่งความรู้สึกเป็นพวกเป็นเพื่อนกันได้

    5. การจำชื่อ นามสกุล และลักษณะที่สร้างความพอใจของเขาได้ ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสนใจที่การให้ความสำคัญ ช่วยให้เกิดความประทับใจเกิดกับเราได้ตามมา

    6. การมีอารมณ์ขัน เพราะเสียงหัวเราะนอกจากช่วยให้จิตใจของเราผ่อนคลายจากความตึงเครียดแล้ว ยังเป็นเสน่ห์แก่ผู้ใกล้ชิดอีก การมีรอยยิ้มพร้อมกับอารมณ์ดีอยู่เสมอ ยิ่งในกรณีลูกค้าจะทำให้ความเป็นเพื่อนเป็นพวกเกิดได้ง่าย

    7. การรู้จักใช้คำพูดหรือภาษาพูดให้เหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ เพราะความหลากหลายและแตกต่างนั้นสำคัญ จากการต่างวัย ต่างเพศ ต่างฐานะทางสังคมทางการศึกษา ทางโลกทัศน์ ประสบการณ์ ฯลฯ ทำให้การรับรู้ต่างกัน แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ใช้ภาษาให้ถูกกับการรับรู้ อารมณ์ สังคมของเขา ฯลฯ รวมทั้งการควบคุมน้ำเสียงด้วยยิ่งต้องทำให้เขาเข้าใจ

    8. การรู้จักเป็นนักฟังที่ดี ไม่ใช่คอยแต่จะฟังเฉยๆ ต้องหาจังหวะการแสดงความคิดเห็นด้วยในเวลาที่เหมาะสมเพื่อแสดงว่าเราสนใจในการสนทนากับเขาและแสดงว่าเขามีความสำคัญ

    9. ต้องพยายามทำความเข้าใจถึงความปรารถนาและความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นประโยชน์ในด้านการรักษามิตรภาพและรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ยั่งยืนกับลูกค้า

    10. การพูดแบบขอความร่วมมือ คำพูดในเชิงขอความร่วมมือถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและแน่นอนที่สุด ทำให้เกิดความร่วมมือได้ดีกว่าคำสั่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นลูกค้าที่ตัดสินใจช้ามากลีลาจะช่วยได้อย่างมาก

    11. การทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าความคิดเห็นนั้นเป็นของเขา ถึงแม้จะเกิดจากเราก็ตาม เพราะคนเรารู้สึกว่างานอะไรก็ตามเกิดจาความคิดเห็นของเขาแล้ว ก็จะพอใจและกระตือรือร้นที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จ หรือให้ความร่วมมือ อย่าหลงในกับดักของความคิดตัวเองเด็ดขาด

    12. พยายามทำให้ผู้ร่วมงานหรือแม้แต่ลูกค้าเกิดความสนใจในตัวเรา ถ้าเขาสนใจในตัวเราก็จะช่วยให้เขากระหายที่อยากผูกมิตรตามที่เราต้องการ การสร้างความสนใจนั้นมีมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะในเรื่องการแสดงความสนใจร่วมกัน

    13. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการท้าทายความสามารถ ความรู้สึกของทั้งเพื่อนร่วมงานและลูกค้าให้มากที่สุด เพราะจะมีผลต่อสัมพันธภาพในระยะยาวได้

    14. พยายามสร้างบุคลิกภาพที่ดีตั้งแต่ การแต่งกาย ทรงผม ท่าทาง การเคลื่อนไหว การใช้สายตา น้ำเสียงในการพูดจา ฯลฯ เพื่อสร้างความสัมพันธภาพแบบประทับใจให้เกิดขึ้น

    15. กล้าเผชิญความผิดพลาด ไม่หา "แพะรับบาป" เพื่อโทษหรือโยนความผิดเด็ดขาด เพราะจะเป็นการทำลายความสัมพันธ์ที่ดีในกรณีเพื่อนร่วมงาน ถ้าสำหรับลูกค้าก็หมายถึงการขาดความน่าเชื่อถือหรือศรัทธาตลอดจนการขาดความรับผิดชอบและ "แอคเคาท์" มีปัญหาแน่นอน

    ทั้ง 15 ข้อที่ประยุกต์ขยายผลจากฝ่ายบริหารงานลูกค้าของ Creative Juice ซึ่งถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ดี ซึ่งน่าชื่นชมกันดังกล่าวไว้ข้างต้น ก็ฝากให้ได้โปรดพิจารณากัน


    อนึ่ง กราบเรียนถึงบรรดาเอเยนซีหรือผู้อยู่ในแวดวงสื่อทั้งหลาย ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์อะไรหรือข่าวสารอะไรที่ดี คอลัมน์นี้ยินดีจะเผยแพร่ให้เพื่อประกาศเกียรติคนแห่งเอเยนซีและวงการสื่อไทย(ติดต่อกองบรรณาธิการบิสิเนสไทย email : watcharee@ar.co.th) เพราะนอกจากคอลัมน์นี้ ผู้เขียนยังมีรายการวิทยุ "รักเมืองไทย" คลื่นแม่ข่าย 90.0 และอีก 170 สถานีทุกวันศุกร์หลังข่าวเที่ยงและรายการ "บ้านเมืองของเรา" คลื่น 98.0 , 102.0, 105.0 ฯลฯ อีก 202 สถานีทั่วประเทศ ช่วงเวลาหกโมงสิบห้าโดยนำเผยแพร่ให้ไม่คิดมูลค่า เพื่อเป็นวิทยาทานและสังคมความมั่นคงของไทยครับ

    --------------------------
    ที่มา:
    [​IMG]
    http://www.businessthai.co.th/content.php?data=410266_Media Agency

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...