ประมวลธรรม ชุดมัชฌิมาปฏิปทา โดย หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 18 กันยายน 2008.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ประมวลธรรม มัชฌิมาปฏิปทา
    โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

    * มัชฌิมาปฏิปทานี้ เปรียบเหมือนโรงงานแหล่งใหญ่ในไตรภพ
    สามารถผลิตสาธุชนทุกชั้น ให้มีความรู้ความฉลาดโดยลำดับ
    จนสามารถรู้แจ้งแทงตลอด ซึ่งเครื่องปกปิดกำบังภายในใจ
    กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ขึ้นมา จากหลักมัชฌิมา อันเป็นโรงงาน
    ดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับเขาขนสินค้า ออกจาก
    โรงงานใหญ่สู่ท้องตลาด
    ๑๗ กรกฏาคม ๒๕๐๖

    * หลักธรรมที่ยังพระสิทธัตถะให้ทรงตรัสรู้นั้น ย่อใจความลงมี ๔
    คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นี่คือ หลักมัชฌิมาปฏิปทา
    เป็นทางสายกลางที่พอเหมาะพอดีตลอดมา ฉะนั้น มัชฌิมาปฏิปทา
    จึงไม่ใช่ธรรมล้าสมัยและเลยสมัย แต่เป็นธรรมสายกลางอยู่ตลอด
    เวลา อกาลิโก
    ๓ กรกฏาคม ๒๕๐๘

    * มัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายเอกเพียงสายเดียว ทางสายนี้
    เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ถ่ายเดียว ไม่มีทางสายใดในโลกหรือใน
    ธรรมจะเป็นความจริงอันตายตัว ยิ่งกว่าทางสายนี้
    ไม่ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดที่ตรัสรู้ขึ้นมาและไม่ว่าสาวกองค์ใดๆ
    ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ จะต้องเดินทางสายนี้ทั้งนั้น
    เพราะเป็นทางสายเอก คือ หนึ่งไม่มีสอง ถ้าเดินทางให้ถูกตาม
    ทางสายเอกนี้แล้ว ไม่มีสองว่าจะมีการผิดพลาดไปได้ ต้องตรง
    แน่วต่อสันติธรรม คือ ทางพ้นทุกข์โดยถ่ายเดียว
    ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๘

    * เราอย่าเข้าใจว่า ปฏิบัติไปเสมอๆ อยู่ธรรมดาๆ เป็นมัชฌิมา
    ของธรรม นั่นมันมัชฌิมาของกิเลสต่างหาก ไม่ใช่มัชฌิมาของธรรม
    ควรหนักก็ต้องหนัก มัชฌิมา แปลว่า ความเหมาะสม หรือท่ามกลาง
    ท่ามกลาง ก็คือ ความเหมาะสม ความพอดีนั่นเอง จะพอดีกับกิเลส
    ประเภทใดๆ ก็ผลิตขึ้นมา
    บรรดาสติปัญญา ศรัทธา ความเพียร ความเพียรก็ให้กล้าแข็ง แข็ง
    จนแกร่งเป็นหินเป็นเหล็กไปเลย สติปัญญาก็ตั้งไม่หยุดไม่ถอย
    พินิจพิจารณาไม่ละไม่วาง เพราะสติปัญญาอยู่กับตัวของเราเอง
    นี่เรียกว่า มัชฌิมา คือเหมาะสมกับการแก้กิเลสแต่ละประเภทๆ และ
    แต่ละกาล แต่ละสมัย ที่กิเลสปรากฏตัวขึ้นมา และต่อสู้กันไม่ลดละ
    ปล่อยวาง
    ๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๑

    * คำว่า มัชฌิมาปฏิปทานั้น แปลให้ถึงใจสำหรับผู้ปฏิบัติแล้ว
    ในความรู้สึกของผมเองที่ได้ปฏิบัติมา มัชฌิมาปฏิปทา เป็นธรรม
    ที่เหมาะสมในการแก้หรือปราบปรามกิเลสทุกประเภทอยู่ตลอด
    เวลา ไม่มีกิเลสประเภทใดที่จะนอกเหนือไปจากมัชฌิมาปฏิปทา
    นี้ได้เลย ด้วยเหตุนี้ธรรมนี้ จึงเป็นท่ามกลางที่จะให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ
    ด้วยความตั้งใจ ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เช่นเดียวกับครั้งพุทธกาล
    ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเอง จึงเรียกว่า มัชฌิมา ท่ามกลางอยู่เสมอ
    พอดีเสมอ
    ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๒

    * ใครก็ตาม ถ้ายังมีการเกิดอยู่แล้ว จะต้องมีความแก่ ความเจ็บ
    ความตาย ความทุกข์ยาก ความลำบาก ติดสอยห้อยตามกันไป
    เพราะความเกิดเป็นพื้นฐาน หรือเป็นสาเหตุอยู่นั้นแล
    ทุกขัง นัตถิ อชาตัสสะ ว่าทุกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด อันนี้จะเข้าไม่ถึง
    เพราะกิเลสมันเป็นเจ้าของอยู่ในหัวใจ ทำให้เกิดอยู่ตลอดเวลา
    ถ้าเราไม่แก้ด้วยมัชฌิมาปฏิปทา มีสติปัญญาเป็นสำคัญในองค์มรรค ๘
    ความเพียรเป็นเครื่องสนับสนุน นี่ละเป็นทางก้าวเดิน เป็นเครื่องมือ
    ที่จะชำระล้างสิ่งสกปรก ซึ่งฝังจมอยู่ภายในจิตใจให้หมดสิ้นไปโดย
    ลำดับ ภพชาติจะได้ย่นเข้ามา
    ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๓


    มัชฌิมาปฏิทปา (มรรคมีองค์ ๘)

    ๑. สัมมาทิษฐิ มีความเห็นชอบ เห็นว่าบาปมีจริง บุญมีจริง นรก
    สวรรค์ นิพพาน มีจริง ผู้ทำดีได้รับผลดี ผู้ทำชั่วได้รับผลชั่ว
    ในส่วนละเอียดนั้น ได้แก่เห็นชอบใน "ทุกข์" "สมุทัย" "นิโรธ"
    ว่าเป็นของจริง และความเห็นชอบใน "มรรค" คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ว่าเป็นของจริง

    ๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ มี ๓ ประการคือ
    (๑)ดำริในการไม่เบียดเบียน หนึ่ง
    (๒)ดำริในการไม่พยาบาทปองราย หนึ่ง
    (๓)ดำริเพื่อออกจากเครื่องผูกพัน หนึ่ง
    ผู้ดำริในการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา คิดที่จะสร้าง
    และทำนุบำรุงศาสนสถาน โดยมุ่งกุศลเพื่อยกตนให้พ้นจาก
    กองทุกข์ จัดเป็น เนกขัมมะสังกับโป
    ในส่วนละเอียด ได้แก่การดำริเห็นภัยจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    เปลื้องจิตออกจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลาย และดำริที่จะลดละ
    กิเลสเครื่องเศร้าหมองให้หมดสิ้น

    ๓. สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบ ได้แก่การกล่าวเรื่องความมักน้อย
    สันโดษ กล่าวในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดได้แก่
    การกล่าวเรื่อง วิมุติ คือความหลุดพ้น และวิมุติญาณทัสสนะ คือความ
    รู้เห็นอันแจ้งชัดในความหลุดพ้น

    ๔. สัมมากัมมันโต การงานชอบ ได้แก่การงานที่ไม่ผิดกฏหมายบ้านเมือง
    ในทางธรรม ได้แก่การปลูกสร้างวัดวาอาราม การปฏิบัติธรรม เป็นต้น
    ในส่วนละเอียดในทางธรรมได้แก่การให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา
    รักษากาย วาจา ใจ ให้ทำถูก พูดถูก คิดถูก เป็นสัมมากัมมันโต

    ๕. สัมมาอาชีโว การแสวงหาเพื่อเลี้ยงชีพ เป็นอาชีพที่สุจริต
    ไม่ผิดศีลผิดธรรม และผิดกฏหมายบ้านเมือง ในส่วนละเอียดได้แก่การพิจารณา
    เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส
    ธรรมารมณ์ ให้พึงพิจารณาเป็นธรรมเสมอไป อย่าให้เกิดความยินดียินร้าย
    จะกลายเป็นความขัดเคืองขึ้นมาภายในใจ ซึ่งขัดต่อ สัมมาอาชีวธรรม
    อันเป็นธรรมเครื่องถอดถอนกิเลส

    ๖. สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ท่านว่าคือเพียรในที่ ๔ สถานคือ
    (๑) เพียรระวังอย่าให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน หนึ่ง
    (๒) เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป หนึ่ง
    (๓) เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้น หนึ่ง
    (๔) เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อมสูญไป หนึ่ง
    ในส่วนละเอียดให้น้อมเข้าไปในหลักธรรม "สมาธิกับปัญญา" ตามโอกาส
    อันควรได้แก่
    (๑) พยายามระวังรักษาจิตที่เคยฟุ้งซ่านไปตามกระแสแห่งตัณหา
    เพราะความโง่เขลาฉุดลากไป หนึ่ง
    (๒) ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นธรรมแก้กิเลสทุกประเภท จงพยายามอบรม
    ให้เกิดขึ้นก้บใจตน ต้องการไปนิพพาน ดับไฟกังวลให้สิ้นซาก หนึ่ง
    (๓) ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกๆ ขั้น ถ้าได้ปรากฏขึ้นกับตนแล้ว อย่ายอม
    ให้หลุดมือไปด้วยความประมาท จงพยายามบำรุง ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกๆ ขั้น
    ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่ จนสามารถแปรรูปเป็น "มรรคญาณ" ประหาร
    กิเลส สมุทัย ให้สิ้นซากไป แดนแห่ง "วิมุติพระนิพพาน" ที่เคยเห็นว่าเป็น
    ธรรมเหลือวิสัย จะกลายเป็นธรรมประดับใจทันที ที่กิเลสสิ้นซากลงไป

    ๗. สัมมาสติ ได้แก่การตั้งสติระลึกตามประโยคความเพียรของตน
    ตนกำหนดธรรมบทใดเป็นอารมณ์ของใจ เช่น "พุทโธ" หรืออานาปานสติ เป็นต้น
    ก็ให้มีสติระลึกธรรมบทนั้นๆ หรือตั้งสติกำหนดใน " สติปัฏฐาน ๔" คือ กาย เวทนา
    จิต ธรรม ทั้งกำหนดเพื่อสมาธิ ทั้งการพิจารณาทางปัญญา
    ให้มีสติระลึกในประโยคความเพียรของตนทุกๆ ประโยค จัดเป็นสัมมาสติ

    ๘. สัมมาสมาธิ คือสมาธิชอบ ได้แก่สมาธิสัมปยุตด้วยสติปัญญา ไม่ใช่
    สมาธิแบบหัวตอ และไม่ใช่สมาธิติดแน่นทั้งวันทั้งคืน ไม่ยอมพิจารณาทาง
    ด้านปัญญาเลย สมาธิที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์นั้น ต้องกำหนดลงไปใน
    หลักธรรม หรือบทธรรมตามจริตชอบ ด้วยความมีสติกำกับรักษา จนจิตรวม
    ลงเป็นสมาธิได้ จัดเป็นสมาธิที่ชอบ


    สรุปย่อจากหนังสือ มัชฌิมาปฏิปทา ของหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด

    * ทีวีดาวเทียมหลวงตามหาบัว ระบบ C-Band จากดาวเทียม
    ไทยคม ๒ ตั้งเครื่องรับโดยเซ็ทค่าต่างๆ ดังนี้
    - ค่าความถี่ 3801 MHz
    - ค่า S/R 1.445 Ksps
    - การรับสัญญาณเป็นระบบแนวนอน (Horizontal)
    รับชมได้แล้ว ตลอด ๒๔ ชั่วโมง



    ขอเชิญทุกท่านได้โมทนาบุญผ้าป่า ๓ กองบุญร่วมกันครับ
    http://palungjit.org/showthrea...=158315&page=3

    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เพียงท่านแวะชมและโมทนาท่านก็จะได้บุญได้กุศลตามกำลังใจของแต่ละท่าน

    [​IMG]


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2008
  2. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +39,008
    อนุโมทนาครับ เล่มนี้ได้มานานแล้วแต่ยังไม่ได้เปิดอ่านเลย

    ขอบคุณครับ
     
  3. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  4. aof_dhamma

    aof_dhamma สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +7
    สวัสดี ครับ สาธุ อนุโมทนาบุญ ทางสายกลาง มรรค8 สำคัญมากๆ เป็นจุดสำคัญเลย สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ


    ละความชั่วด้วยศีล ทำความดีด้วยทาน จิตเบิกบานด้วยภาวนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...