ประตูสู่การภาวนา : สรณะ และ โพธิจิต

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย หนึ่ง99999, 24 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">[​IMG]

    สรณะ




    เรารู้แล้วว่าการพิจารณาทิฎฐิสี่จะได้ผลก็ต่อเมื่อเราเริ่มแลเห็นถึงประสบ
    การณ์ทางโลกของเรา ว่ามันปราศจากแก่นสาร เป็นสิ่งไม่เที่ยงหรืออาจ
    ยึดถือได้ ถ้าดังนั้น จะมีสิ่งใดให้เราพึ่งพิงได้เล่า เราจะค้นพบสาระและ
    แก่นแท้ได้ในที่ใด เพียงในพระธรรมคำสอนอันศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น เพียงใน
    หนทางธรรม ซึ่งเราอาจค้นพบคุณค่าอันสูงสุด


    ทิฏฐิสี่ประการจัดอยู่ในหมวดธรรมเบื้องต้นที่เรียกว่าธรรมบทซึ่งปรากฏ
    อยู่ในพุทธศาสนาทุกนิกาย ถึงแม้ว่าจะเป็นรากฐานในการปฏิบัติธรรม
    แต่ก็หาใช่ขั้นตอนพื้นฐานในพุทธมรรคไม่ การที่จะล่วงรุดสืบไป เราจำ
    เป็นต้องปวารณาตนในไตรสรณาคมน์ นี่เป็นปะตูบานแรกที่นำไปสู่การ
    ปฏิบัติ


    คำว่า " สรณะ " หมายถึงการปกป้องคุ้มครองหรือสถานที่อันปลอดภัย
    โดยเนื้อหาแล้วการรับสรณะหมายถึงการปวารณาที่จะเดินไปบนหนทาง
    อันปราศจากภัย แต่มิใช่ว่าเมื่อเราของรับสรณะแล้วจะมีพระพุทธองค์หรือ
    พระอรหันต์มาเสกเป่าให้เราพ้นทุกข์ ทว่าเราแน่ใจจะได้รับการปกป้อง
    โดยการยอมรับในแก่นแท้แห่งทุกข์ ซึ่งดำรงอยู่ในความคิดและการกระทำ
    อันเป็นกุศลของเราเอง ซึ่งหากสามารถลดทอนอกุศลเหล่านี้ลง ด้วยการ
    คุมกาย วาจา ใจ แล้วไซร้ เราจะแปรเปลี่ยนอกุศลกรรมและอาจลบล้าง
    ด้วยเหตุแห่งทุกข์ได้


    แรงปรารถนาที่ผลักดันให้เรารับไตรสรณคมน์ในมหายานและวัชยานนิกาย
    ก็คือความกรุณาอย่างปราศจากการเห็นแก่ตัวต่อสรรพสัตว์อันทนทุกข์อยู่
    ในสังสารวัฏ ทั้งเปี่ยมด้วยความตั้งใจอันบริสุทธิ์ที่จะเข้าถึงการตรัสรู้เพื่อ
    ช่วยเหลือส่ำสัตว์ การรับสรณคมน์จะไม่สิ้นสุดลงเพียงในชั่วชีวิตนี้เท่านั้น
    ทว่าจนกว่าเราจะบรรลุถึงการตรัสรู้ ไม่ว่าจะยาวนานเพียงใดในกาลภาย
    ภาคหน้า



    เรารับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระ
    พุทธองค์คือผู้ที่ได้ก้าวเดินไปบนหนทางจนถึงจุดหมายปลายทาง ท่านจึง
    รู้ซึ้งถึงเส้นทางสายนั้นและอาจชี้นำเรา หนทางสายนั้นก็คือพระธรรม และ
    บรรดาผู้ที่เดินดุ่มไป ผู้ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูล ผู้ที่เราอาจพึ่งพาอาศัย ก็คือ
    หมู่สงฆ์ ในการปวารณารับไตรสรณคมน์ก็เท่ากับว่าเราได้ดำเนินตามรอย
    เท้าของผู้ที่ได้เคยเดินไปบนหนทางแห่งการตรัสรู้



    การถือเอาไตรสรณคมน์ เป็นที่พึ่ง เราต้องมีศรัทธาในพระรัตนตรัย เริ่มจาก
    องค์พระสัมมาสัมพุทธ มีคุรุยิ่งใหญ่และนักบุญเป็นอันมากในโลกที่ได้เผย
    แพร่สั่งสอนหลักธรรม ทว่าก็หามีผู้ใดยิ่งใหญ่เทียบเท่าองค์ศากยมุนีพุทธไม่
    พระองค์ได้ชำระล้างมลทินกิเลสทั้งมวล ในอารมณ์ กรรม นิสัย และความ
    คิด พระพุทธองค์ได้ครองมหาปุริสลักษณะสามสิบสองประการ รวมถึงมง
    คลลักษณะย่อยอีกแปดสิบประการในกาย คุณลักษณ์ทั้งหกสิบประการใน
    วาจา และทิพยญาณสองประการในดวงจิต มหาปุริสลักษณะทั้งหนึ่งร้อย
    สิบสองประการนี้ มีอาทิ ประภารัศมีเรืองรองเป็นที่ประจักษ์แก่ชนทุกผู้
    และบาทยามเดินนั้นมิได้สัมผัสพื้น เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงการ
    ตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ ผู้ที่ได้มาพบปะกับพระพุทธองค์ต่างพากันพิศวง ด้วย
    รู้ว่าคือมหาบุรุษโดยแท้ พระองค์ไม่จำเป็นต้องประกาศตนว่าเป็นศาสดา
    เพราะสิ่งนี้ปรากฏอยู่อย่างเด่นชัด



    ท่วงทำนองอันเสนาะโสตทั้งหกสิบลีลาในวาจาของพระพุทธองค์มิได้
    หมายความว่าพระองค์มีกระแสเสียงอันไพเราะดุจนักร้องหรือนักพูด
    ทว่าวาจาของพระองค์เป็นการสื่อสารอย่างชัดเจนหมดจด บรรดาผู้ที่มา
    สดับธรรมของพระองค์ ไม่ว่าจะมีมากที่สุดประมาณเพียงใดล้วนสดับได้
    ยินอย่างแจ่มชัด เป็นถ้อยคำอันเปี่ยมล้นด้วยปรีชาญาณดุจเดียวกับปุจฉา
    วิสัชนากับผู้ที่มาสดับธรรม



    ดวงจิตของพระพุทธองค์เปี่ยมล้นด้วยวิชชาสองประการ คือ สัพพัญญุตญาณ
    คือความหยั่งรู้อันหมดจดทั่วถ้วนในโลกธรรม และในโลกุตรธรรมทั้งมวล



    ด้วยคุณลักษณ์เหล่านี้เอง เราจึงรู้ซึ้งว่าพระพุทธองค์เป็น คุรุผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งบำ
    เพ็ญบารมีมานานนับกัปนับอสงไขย ทั้งความเมตตากรุณาและไถ่ถอนกรรม
    ทั้งทานบารมีและปัญญาบารมี จนบรรลุถึงพระนิพพานผล พระพุทธองค์
    ซึ่งเปรียบดังเพชรดิบที่ยังมิได้เจียระไน ได้ถูกเจียระไนขึ้นเหลี่ยมและขัดจน
    ส่องแสงแวววาวสมค่าอัญมณี ทว่าพวกเราทั้งหลาย แม้ว่าจะมีศักยภาพที่
    จะกลายเป็นมณีล้ำค่าได้ ทว่ายังคงเป็นเพชรที่ยังมิได้เจียระไน ยังดิบหยาบ
    และมัวหมอง


    ในไตรสรณคมน์ เราถือเอาแบบอย่างของพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งด้วยเหตุที่
    พระองค์เจนจบในหนทาง จึงอาจชี้นำเรา ถ้าหากเราต้องฝ่าข้ามที่ลุ่มหนอง
    บึงซึ่งเต็มไปด้วยภยันตราย ผู้ที่เคยผ่านทางมาก่อน ผู้รู้หลบหลีกและเจนจบ
    ในหนทางซึ่งอาจนำเราฝ่าข้ามพ้น ย่อมเป็นผู้นำทางอันยอดเยี่ยม พระพุทธ
    องค์ย่อมเป็นผู้นำทางเยี่ยงนั้น พระองค์ได้ชี้ให้เราเห็นถึงสิ่งที่หลีกเลี่ยงและ
    สิ่งที่พึงโอบรับ ชี้หนทางที่ถูกต้องและไขแสดงทุกย่างก้าวบหนทางแห่งการ
    ตรัสรู้


    ลำดับต่อมา เราย่อมถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง พระธรรม คือคำสอนและหลัก
    ปฏิบัติเพื่อการบรรลุถึงของพระพุทธองค์ หลักปฏิบัติเหล่านี้คืออุบายอัน
    หลากหลายและสุมขุมแยบยล บริสุทธิ์บริบูรณ์ทั่วถ้วน อันเป็นมรดกทาง
    ธรรม ในพระธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเผยออกอย่างหมดจด ไม่ว่าจะเป็น
    บาทฐาน และมรรคผล จะเริ่มปฏิบัติอย่างไร จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ
    อย่างไร จะบ่มเพาะกุศลลักษณะซึ่งเริ่มก่อเกิดขึ้นมาได้อย่างไร วิธีการหรือ
    ยานเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็นเก้าขั้นตอน อันประกอบด้วยสามยานแรก ได้แก่
    หีนยานมรรคแห่งปัจเจกพุทธยาน มหายานมรรคสำหรับผู้ใฝ่หาการหลุดพ้น
    เพื่อสรรพสัตว
    ์ และวัชรยานมรรคอันดำรงอยู่ภายในมหายาน ซึ่งมักจะถูก
    กล่าวถึงในแง่ของ " หนทางลัด "



    ลำดับสุดท้ายเราจึงถือสังฆะเป็นที่พึ่ง คือเหล่าผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ประพฤติ
    ตามครรลองของพระพุทธองค์ซึ่งสืบสายธรรมอย่างไม่หยุดยั้งขาดตอน
    สืบทอดพระไตรปิฎกซึ่งจารึกหลักธรรมคำสอน คือผู้คนเหล่านี้เองที่ทำ
    ให้พระธรรมมิใช่สิ่งอันแห้งแล้งตายซาก ทว่ายังคงสดชื่นมีชีวิต เป็นเส้น
    สายแห่งการปฏิบัติอันถูกนำมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันโดยอาศัยการภาวนา
    ตลอดหลายศตวรรษ เป็นแบบอย่างแห่งหลักธรรมคำสอนและธำรงรักษา
    สายการปฏิบัติอันมีชีวิต ซึ่งเรายังอาจเข้าถึงได้ในปัจจุบัน และจะยังเป็น
    เช่นนี้สืบไปในกาลภายภาคหน้า


    พระรัตนตรัยย่อมเป็นที่พักพิงจากความทุกข์ อวิชชา และความสับสนอย่าง
    แน่แท้ ที่พักพิงอันปลอดภัยนี้ไม่ว่าสิ่งใดหรือผู้ใดก็ไม่อาจมอบให้ได้ หากยัง
    ติดเนื่องอยู่ในโลกธรรม ไมว่าจะงดงามมีชื่อเสียง ทรงอำนาจ มั่งคั่ง หรือ
    มีอิทธิพลอำนาจเพียงใด


    คำว่า " สรณะ " ก็เป็นเช่นเดียวกับศัพท์ทางธรรมทั้งหลายซึ่งมีความหมายอยู่
    สามนัยด้วยกัน เมื่อเราพูดถึงนัยภายนอก ก็มีความหมายภายใน และความลี้ลับ
    อยู่ด้วย ซึ่งเราจะกล่าวถึงอย่างรวบรัดในที่นี้ และบรรยายอย่างละเอียดพิศดาร
    ต่อภายหลัง


    ในสายธรรมวัชรยาน ต้นกำเนิดภายในแห่งสรณะคือรากเหง้าทั้งสาม อันได้
    แก่ ลามะ ยิดัม และฑากินี อันเป็นแหล่งกำเนิดแห่งพระพร การบรรลุธรรม
    และอริยกิจ



    ลามะหรือคุรุ คือรากเหง้าแห่งพระพรในความหมายที่ว่าคุรุคือผู้ส่งผ่าน
    ความรู้ อุบาย และปัญญา ซึ่งช่วยให้เราบรรลุถึงอิสรภาพ ยิดัมหรือเทพนิมิต
    คือแก่นรากแห่งการบรรลุถึงสภาวธรรมเหล่านั้นโดยอาศัยการปฏิบัติ เรา
    ย่อมสามารถประจักษ์แจ้งถึงฑากินี อันเป็นเทวีแห่งปัญญา ซึ่งจะส่งผลสืบ
    เนื่องเป็นอริยกิจ


    ความหมายลี้ลับของสรณะก็คือธรรมชาติที่แท้ของจิต อันเป็นแก่นแท้ของ
    ทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ เปรต หรือเทพ คือธรรมชาติแห่งพุทธะ
    อันนิรมล
    ธรรมชาตินี้มีสองแง่มุม หนึ่งคือ ธรรมกาย หรือธรรมชาติอัน
    สูงสุดแห่งจิต ซึ่งอยู่เหนือความคิดสามัญและอาจเปรียบได้กับดวงอาทิตย์
    สองคือ รูปกาย ซึ่งอาจเปรียบได้กับรัศมีอันเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ ซึ่งอุบัติ
    ขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ความเจิดจ้านี้อุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์ของเหล่าสัตว์
    รูปกายนี้มีสองแง่มุม หนึ่งคือ สัมโภคกาย อันเป็นกายทิพย์ที่อาจรับรู้ได้
    โดยธรรมจักษุของผู้ปฏิบัติที่บรรลุญาณ และ นิรมาณกาย คือ รูปปรากฏซึ่ง
    สำแดงออกเพื่อประโยชน์ของเหล่าชนผู้ไม่สามารถหยั่งเห็นสัมโภคกายได้


    ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน โดยการยึดถือสรณะภายนอก ภายใน และ
    สรณะลี้ลับ เราก็อาจไถ่ถอนผลกรรมทั้งภายนอก ภายในและในระดับลี้ลับ
    ได้ตามลำดับ ดุจดังแทนที่เราจะตัดด้วยมีดใบเดียว ทว่าเรากลับตัดด้วยมีด
    ที่มีสามใบ



    ประสบการณ์ของเราในวัฏทุกข์อันไร้สิ้นสุด อาจเปรียบได้กับแมลงวันที่ติด
    กับอยู่ในขวดนมที่ถูกปิดฝา ในความพยายามที่จะหนีออกมา มันจะบินขึ้น
    บินลงวนเวียนไปทั่ว แต่ก็ไม่อาจหาทางออกมาได้ การยึดถือสรณะโดยมีจุด
    หมายที่การบรรลุธรรมเพื่อประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ จึงเป็นเหมือนการเปิด
    ฝาขวดออก แม้ว่าแมลงวันจะไม่อาจพบทางออกได้ในนทันที แต่ในที่สุด
    แล้วมันจะค้นพบและเป็นอิสระ เมื่อใดก็ตามที่เรายึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
    ย่อมมั่นใจได้ว่าทุกข์แห่งวัฏสงสารย่อมมีวันสิ้นสุดลง



    แต่ถึงแม้เราจะมีสรณะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวแล้ว เราก็ไม่อาจนั่งรอพระ
    รัตนตรัยมาประสาทพรแก่เรา ถ้าหากเราไม่ลงมือปฏิบัติเพื่อทำตนให้
    สุกงอม เราย่อมไม่อาจเปิดรับพรนั้นได้ การรับไตรสรณคมน์ยังหมายถึง
    ความรับผิดชอบ มันหาใช่เรื่องเล่น ๆ ไม่ ไม่ใช่เรื่องที่จะเปลี่ยนใจกลับ
    ไปกลับมาได้กลางคัน พวกเราล้วนเป็นสัตว์ที่สับสน คิดอะไรไปเรื่อย
    เปื่อย หวังอย่างโน้นอย่างนี้ อยากจะไปโน่นมานี่ ไม่เคยรับผิดชอบต่อ
    สิ่งใด และไม่เคยไปไกลถึงไหน



    สมมติว่าเราอยากจะไปให้ถึงยอดเขา และมีหนทางขึ้นไปหลายสาย หาก
    เราเดินไปสองสามก้าวบทางสายหนึ่ง แต่แล้วก็คิดว่าอีกทางหนึ่งคงจะดี
    กว่า แล้วก็เปลี่ยนไปเดินทางนั้นอีกหน่อยหนึ่ง แต่แล้วก็คิดว่าหนทางที่
    สามคงจะไปถึงเร็วกว่า เปลี่ยนใจไปมาดังนี้ เราย่อมไม่มีทางขึ้นไปจนถึง
    ยอด เราเพียงแต่เดินวนเวียนไปมาเท่านั้น ยามเมื่อเรายึดถือสิ่งใดเป็นสรณะ
    ก็เท่ากับได้ตัดสินใจลงไปแล้วว่า หนทางใดเหมาะสมกับตัวเรา และรับ
    ผิดชอบที่จะดำเนินไปตามทางสายนั้น



    การคิดถึงความผูกพันรับผิดชอบดังนี้ บางครั้งทำให้ผู้คนรู้สึกหวาดกลัว
    ทว่าความรู้สึกหวาดกลัวดังกล่าวก็เหมือนกับความกลัวที่จะกินยาขจัดพิษ
    หลังจากกลืนยาพิษเข้าไป ช่วงเวลาแห่งความสงสัยน่าจะมีอยู่ก่อนกลืนกิน
    มิใช่ภายหลัง การรับสรณะหมายถึง การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าคุณได้กลืน
    ยาพิษเข้าไป จึงต้องตัดสินใจกินยาถอนพิษ มันหมายถึงการบอกกับตนเอง
    ว่า " นี่คือสิ่งจำเป็นสำหรับฉัน ฉันตั้งใจที่จะไม่ทำร้ายผู้อื่น นี้แน่ ๆ อย่าง
    หนึ่ง ฉันยังตั้งใจว่าจะไม่กระทำกระทำการเพียงเพื่อประโยชน์ส่วนตนเท่า
    นั้น แต่เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นอีกด้วย ฉันแน่ใจดังนั้น ฉันไม่เคยได้ใส่
    ใจกับดวงจิตของตนเลย จนกระทั่งบัดนี้ ฉันไม่เคยได้พินิจดูธรรมชาติและ
    อาการของมันเลย ทว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปฉันจะตื่นตัวมีสติอยู่ตลอดเวลา
    จะเฝ้ามองอย่างจดจ่อ จะพยายามเน้นและเกื้อหนุนสิ่งที่เป็นกุศลธรรมใน
    ตัว และพยายามขจัดแนวโน้มที่เป็นอกุศล " มีเพียงความตั้งใจมั่นอย่างไม่
    คลอนแคลนเยี่ยงนี้เท่านั้นที่อาจทำให้สรณคมน์บังเกิดผล



    กุศลแห่งการรับสรณคมน์เยี่ยงนี้ย่อมมีมากสุดประมาณ มีคัมภีร์เล่มหนึ่ง
    กล่าวไว้ว่า ถ้าหากกุศลเหล่านี้มีรูปร่างเป็นตัวเป็นตน ย่อมมีขนาดใหญ่
    กว่าจักรวาลทั้งสามพันมารวมกัน คำว่า สามพันจักรวาลนี้หาได้ธรรมดา
    สามัญไม่ เพราะมันหมายถึงระบบดวงดาวนับพันล้านดวง ( ๑, ooo x
    ๑, ooo x ๑, ooo ) จากพระพรแห่งต้นกำเนิดแห่งสรณะ เราย่อมได้รับ
    การชี้นำวิถีและการเกื้อหนุนในการปฏิบัติเพื่อการบรรลุอิสรภาพ เมื่อใด
    ก็ตามที่ความมานะพากเพียรของเราได้บรรจบกับพรนี้ เราย่อมตื่นขึ้นสู่
    ธรรมชาติเดิมแท้ อันเป็นธรรมชาติแห่งดวงจิต และนี่เองคือความหมาย
    อันนล้ำลึกของสรณคมน์




    @ ถาม : เมื่อใดก็ตามที่เราได้ตรัสรู้ เราอาจถอยกลับคืนมาได้หรือไม่
    จะมีสิ่งที่เรียกสภาวะการตรัสรู้หรือประสบการณ์ตรัสรู้หรือไม่



    @ ตอบ : หามีสิ่งที่เรียกว่าประสบการณ์ตรัสรู้ไม่ ข้าพเจ้าเคยได้ยินผู้คน
    เป็นอันมากกล่าวถึงประสบการณ์นี้ ทว่าเขาหาได้เข้าใจความหมายของ
    การหลุดพ้นไม่ การจะเข้าถึงการตรัสรู้ได้ เราจำเป็นต้องชำระล้างมลทิน
    สี่ประการอันได้แก่ พิษร้ายในดวงจิต มลทินแห่งความคิด กรรมและ
    นิสัย โดยหันไปบ่มเพาะเหตุปัจจัยอันเป็นกุศลโดยการสั่งสมบุญบารมี
    ผู้ทำได้ดังนี้ย่อมสำแดงออกซึ่งสภาวธรรมและก่อเกิดคุณสองประการ
    หนึ่งคือคุณต่อตนเอง คือสามารถขจัดมลทินหมองมัวตระหนักได้ถึง
    ธรรมชาติเดิมแท้ของตน นั่นคือการประจักษ์แจ้งในธรรมกาย การประ
    จักษ์แจ้งในธรรมชาติแห่งพุทธะของเราจะช่วยปลดปล่อยเราจากอวิชชา
    และการเป็นอิสระจากอวิชชาจะช่วยปลดปล่อยเราออกจากวิบากกรรม

    และประการที่สองคือ คุณต่อผู้อื่น นั่นคือการประจักษ์ถึงกายสอง ซึ่งเป็น
    ดุจดังแสงสว่างและความอบอุ่นซึ่งแผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์แห่งธรรมกาย




    ครั้งหนึ่งมีหญิงผู้หนึ่งมาขอคำปรึกษาจากคณะกรรมการซึ่งข้าพเจ้าเป็น
    หนึ่งในนั้น โดยบอกว่าสามปีก่อน เธอได้รับอุบัติเหตุทางรถ เธอรู้สึกว่า
    เธอได้เข้าถึงการตรัสรู้ในตอนนั้นเอง และถามว่าเราคิดว่าสิ่งนี้เป็นไปได้
    หรือไม่ กรรมการเหล่านั้นต่างก็พากันโยนกันไปโยนนกันมา จนกระทั่ง
    ที่สุด ข้าพเจ้าก็ถามเธอขึ้นว่า



    " เธอยังมีความรู้สึกโกรธหรือไม่ "
    " ยังมีอยู่ " เธอตอบ
    " ยังมีความอยากอยู่หรือไม่ "
    เธอตอบว่า " มี " เช่นเคย
    " ถ้าเช่นนั้น เธอยังมิได้ตรัสรู้ "




    ในระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เราอาจเข้าถึงปีติความกระจ่างแจ้ง หรือ
    หรือความตั้งมั่น และก็อาจเป็นไปได้ที่จะหลงผิดคิดไปว่านี่คือการตรัสรู้
    ทว่าหาใช่ไม่ คุณลักษณ์แห่งการตรัสรู้ย่อมมีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เรา
    ย่อมไม่ติดข้องอยู่ด้วยโลกิยจิตหรือการดำรงอยู่อย่างโลก ๆ และไม่มีทาง
    เป็นไปได้ที่จะสูญเสียตัวการรู้แจ้งนั้น




    @ ถาม : อะไรคือความแตกต่างระหว่างการปวารณารับสรณคมน์อย่างเป็น
    ทางการ กับเพียงแค่การไม่เบียดเบียน เหตุใดการผูกมัดอย่างเป็นทางการ
    จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง



    @ ตอบ : สมมติว่าเธอปวารณาว่าจะไม่ฆ่ามังกร ผู้คนส่วนใหญ่จะไม่มี
    โอกาสเห็นมังกรมาก่อนเลยในชีวิต บางคนก็คิดว่ามังกรหาได้มีอยู่จริง
    ไม่ ดังนี้เอง เธอจึงอาจถามว่าเหตุใดจึงมีผู้ปวารณาว่าจะไม่ฆ่ามังกร


    ถ้าหากเธอไม่เคยฆ่ามังกร เธอก็มิได้ทำบาปใด ๆ ทว่าขณะเดียวกันก็
    มิได้สร้างบุญกุศลใด ๆ ด้วย นับแต่วันที่เธอตั้งจิตมั่นว่าจะไม่ฆ่ามังกร
    และพยายามธำรงเจตนารมณ์นั้นไว้ ก็เท่ากับได้สร้างบุญกุศลขึ้นแล้ว
    ดังนั้นในการรับสรณคมน์ก็เท่ากับว่าเธอได้สร้างกุศลอันนิ่งใหญ่อยู่ทุก
    ขณะ ในขณะที่เธอยังครองปณิธานนี้อยู่



    * จาก ประตูสู่การภาวนา *
    -ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
    - แห่งวัชรนิกายของทิเบต-


    [​IMG]


    ก่อกำเนิดโพธิจิต




    การที่จะมุ่งไปบนหนทางธรรมได้ เราจำเป็นต้องมีจุดมุ่งหมายดุจดังลูกศร
    ที่พุ่งเข้าหาเป้า โดยผ่านโพธิจิตนี้เอง คือประตูลำดับถัดไปที่จะเปิดไปสู่
    การปฏิบัติในสายมหายานและวัชรยาน เรายังคงเล็งไปที่เป้าแห่งการตรัสรู้
    เพื่อยังประโยชน์แก่ผู้อื่นในทุก ๆ ขณะแห่งการปฏิบัติ นี่คือจุดมุ่งหมายอัน
    ประเสริฐสุดเท่าที่มีอยู่


    โพธิจิตคือรากฐานของทุกสิ่งที่เราทำ ดุจดังรากของพืชสมุนไพรซึ่งทุกสัด
    ส่วนไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ใบ หรือดอก ล้วนมีสรรพคุณทางยาสิ้นความบริสุทธิ์
    เพียบเพร้อมในการปฏิบัติของเราขึ้นอยู่กับการใช้ทุกอุบายวิธีอย่างเต็มเปี่ยม
    ด้วยโพธิจิต นี่เองทุกสิ่งย่อมดำเนินไปด้วยดี ทว่าหากปราศจากโพธิจิตเป็น
    รากฐานแล้ว ก็หามีสิ่งใดอาจสำเร็จผลไม่



    ด้วยเหตุนี้เองตั้งแต่แรกที่เราได้สดับธรรม เราจึงถูกกำชับให้ถือเอาการช่วย
    ปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากห้วงทุกข์เป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ เรา
    กระทำตนให้เป็นผู้สมควรแก่การปฏิบัติธรรม โดยการหันเหออกจากความ
    เห็นแก่ตนไปสู่ความเอื้อเฟื้อแผ่กว้าง



    โพธิจิตนั้นมีองค์สามด้วยกัน คือการแผ่ความกรุณาออกสู่มวลหมู่สัตว์ผู้ได้
    รับทุกข์ ตั้งปณิธานที่จะบรรลุธรรมเพื่อที่จะบรรลุถึงภูมิธรรมอันสามารถที่
    จะช่วยเหลือสัตว์โลก ซึ่งเรียกว่า ฉันทะโพธิจิต กับความพากเพียรในหน
    ทางธรรมเพื่อจะได้บรรลุถึงพระนิพพาน ซึ่งเรียกว่า วิริยะโพธิจิต



    คำภาษาทิเบตซึ่งใช้เรียกโพธิจิตคือ จังชุบเซม จัง หมายถึง การไถ่ถอนความ
    มืดมัว ชุบ คือ การเผยถึงคุณลักษณ์อันบริบูรณ์ภายใน และ เซม คือ จิต โดย
    การปฏิบัติโพธิจิต เราได้ขจัดความมืดมัวและเสริมกุศลนิสัย ซึ่งจะเผยถึงจิต
    แห่งพุทธะ



    ความมืดมัวแห่งดวงจิตอาจเปรียบได้กับตะกอนดินที่เคลือบแก้วผลึกซึ่งจม
    อยู่ในพื้นปฐพี ถ้าเราหยิบดวงแก้วนั้นขึ้นมา มันก็ดูเหมือนลูกดินธรรมดา
    ทว่าธาตุลักษณ์ดั้งเดิมของมันก็หาได้ลดทอนลงไม่ มันเพียงแต่มืดมัวเคลือบ
    คลุมไปเท่านั้น ถ้าหากเราชำระล้างตะกอนดินออก แก้วผลึกก็จะกลับใส
    กระจ่าง ธาตุลักษณ์ของมันก็ย่อมเผยปรากฏ ในทำนองเดียวกัน โดยการ
    ชำระล้างความมืดมัวในดวงจิต เราก็ได้เผยธรรมชาติเดิมแท้อันกระจ่างใส
    ให้ปรากฏ



    เรามักจะมองหาแก่นแท้นี้จากภายนอก แม้ว่ามันจะดำรงอยู่ภายใน เหมือน
    กับการเที่ยวตามหาอาชาที่หายไป แกะรอยตามไปในป่า ที่สุดก็พบว่าม้านั้น
    อยู่ในคอกมาโดยตลอด


    ความกรุณาอันเป็นองค์แรกของโพธิจิตนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวเรา
    แล้วและถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้มีน้ำใจดีงาม ทว่าคุณสมบัติดังว่าก็ยังมีขอบ
    เขตจำกัดอยู่ อาศัยการปฏิบัติ เราก็อาจแผ่ความกรุณาอันไพศาลออกมา



    จังชุบเซม เป็นทั้งอุบายวิธีและมรรคผลของการปฏิบัติธรรมโดยอาศัย
    แรงโน้มเหนี่ยวจากโพธิจิต พลังแห่งปณิธานมุ่งหวังที่จะปลอดปล่อย
    สัตว์โลกให้พ้นทุกข
    ์ แก่นแท้ของดวงจิตอันเจิดจรัสดุจดวงอาทิตย์ย่อม
    เผยออกอย่างหมดจด และการุณยกิจเพื่อผู้อื่นย่อมอุบัติขึ้นอย่างเป็นธรรม
    ชาติ ดุจดังแสงสุริยาฉายที่อาบไล้อยู่บนผิวน้ำและบนนาวาทุกลำ


    เราเริ่มปฏิบัติ จัง อันได้แก่การไถ่ถอนความมืดมัวออกจากดวงจิต ด้วย
    การลดทอนการให้ค่าแก่ตัวเองลง และหันไปใส่ใจต่อผู้อื่น นิสัยที่จดจ่อ
    สนใจอยู่แต่ตัวเองนั้นได้สั่งสมมาแล้วในอดีตชาติสุดประมาณนับ อันส่ง
    ผลให้เราติดกับอยู่ในวัฏสงสาร พระพุทธองค์ได้ทรงขจัดเสียสิ้นซึ่งความ
    เห็นแก่ตัวและความคิดอย่างสามัญ ได้สั่งสมกรุณาบารมีอันบรรลุถึงพระ
    นิพพาน




    การจะบรรลุถึงโพธิจิตปณิธานได้ จำต้องอาศัยคุณธรรมสี่ประการซึ่งเรียก
    ว่า พรหมวิหารสี่ แรกสุดคือ อุเบกขา อันได้แก่การถือว่าสัตว์ทั้งหลาย
    เสมอกัน ถ้าหากเรามีชีวิตอยู่อย่างปาศจากอคติโดยไม่แบ่งแยกในดวงจิต
    ระหว่างมิตรและศัตรู เมื่อนั้นเราก็ได้เข้าถึงแก่นแท้แห่งภาวะการดำรง
    อยู่ และเท่ากับไดปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งอิสรภาพ และความสุขทั้งของ
    ตนเองและผู้อื่น




    ความรัก ความกรุณาของเราในบัดนี้แผ่ไปถึงคนบางคนในบางสภาพการณ์
    เท่านั้น คือคนในครอบครัว มิตรสหายและคนที่เรารัก แต่มิได้เลยไปถึงผู้
    ที่เราถือว่าเป็นศัตรู เราอาจมิได้มุ่งร้ายหมายขวัญต่อคนพาลหรือคนไม่น่ารัก
    แต่ก็คงยิดีอยู่ลึก ๆ หากมีเรื่องร้าย ๆ อุบัติขึ้นกับเขา ความกรุณาที่เรามีต่อ
    เด็กที่เจ็บไข้ได้ป่วยอาจเกิดขึ้นจากความรักความผูกพัน ทว่าโดยการฝึกฝน
    อุเบกขา เราย่อมบ่มเพาะการุณยกิจอันสูงส่งต่อสัตว์ทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก
    จากส่วนลึกของดวงใจ จนกว่าดวงใจของเราจะบริสุทธิ์เยี่ยงนี้ หาไม่การ
    ปฏิบัติของเราก็ยังคงเป็นแค่สิ่งผิวเผิน เรายังหาได้เข้าใจถึงจุดประสงค์แห่ง
    หลักธรรมอย่างแท้จริงไม่



    เราอาจบ่มเพาะอุเบกขาขึ้นได้ แรกสุดก็โดยการตระหนักว่าสัตว์ทั้งมวล
    ล้วนต้องการจะมีสุข ไม่มีผู้ใดปรารถาทุกข์ ประการต่อมาคือ เราต้องคิด
    พิจารณาให้เห็นว่าสัตว์ทั้งมวลในชาติภพอันสุดประมาณนั้น ย่อมมีครั้งใด
    ครั้งหนึ่งที่เคยเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดเรามาก่อน องค์ศากมุนีพุทธรวมทั้ง
    เหล่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์อื่น ๆ ผู้สามารถชำระล้างมลทิน
    ออกจากธรรมชาติอันแจ่มกระจ่างแห่งดวงจิตจนบรรลุถึงสัพพัญญุตาญาณ
    ได้สอนไว้ว่าไม่มีแม้แต่ดวงชีวิตเดียวที่มิได้เคยเป็นบิดามารดาของเรามา
    ก่อน นี้ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่เราอาจตระหนักรู้ได้ หากสามารถชำระล้างจิต
    จนผ่องแผ้ว ทุก ๆ ชีวิตแม้จะเป็นอริกับเราเพียงใดก็ตามในบัดนี้ ล้วน
    เคยรักเมตตาเรามาก่อนดุจดังบิดามารดาในชาตินี้ ผู้ที่บัดนี้ดูเหมือนจะ
    คอยเบียดเบียนกลั่นแกล้งในละครแห่งชีวิตของเรา ล้วนแต่เคยรักและ
    ช่วยเหลือเกื้อกูลมาก่อน



    การจะปลูกฝังความรู้สึกซาบซึ้งในความเมตตานี้ได้ เราจำต้องระลึกถึง
    พระคุณอันใหญ่หลวงของบิดามารดา ประการแรกสำคัญที่สุดคือท่านได้
    มอบกายมนุษย์ให้แก่เรา ตอนที่เราสิ้นชีวิตลงในชาติที่แล้วดวงจิตของเรา
    ดิ่งเข้าสู่แดนบาร์โด อันเป็นภพเนื่องต่อระหว่างความตายกับการเกิดใหม่
    ซึ่งน่าหวาดหวั่นและปั่นป่วนสับสนยิ่ง เราจะถูกพัดพาไปดุจขนนกในสาย
    ลม โดยปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยว
    ได้ยินเสียงและแลเห็นภาพอันน่าหวาด
    หวั่น จนที่สุดเราก็ได้พบที่พำนักพักพิงอันอบอุ่นปลอดภัยในครรภ์มารดา
    ในช่วงกาลปฏิสนธิ นับแต่นั้นมาที่แม่ของเราต้องอุ้มท้องอยู่เป็นเวลานาน
    เก้าถึงสิบเดือน ต้องลำบากยากเข็ญหรือแม้กระทั่งป่วยไข้เพื่อที่จะให้กำ
    เนิดเรามาเป็นมนุษย์



    ยามที่เรานอนอยู่ในเปลและไม่อาจช่วยตัวเองได้นั้น มารดาของเราถนอม
    กล่อมเลี้ยงเพื่อที่เราจะได้เติบแข็งแรง หากท่านมิได้เลี้ยงดูเรามา หรือขอ
    ให้ผู้อื่นช่วยดูแลแทน เราก็คงไม่อาจรอดชีวิตเป็นแม่นมั่น



    ท่านช่วยเหลือค้ำจุนชีวิตน้อย ๆ ของเรามาโดยตลอด ประคองเรามิให้ล้ม
    ห้ามมิให้กินสิ่งที่จะทำให้ป่วยไข้ กันมิให้เข้าใกล้ไฟ น้ำหรือยวดยาน หา
    อาหารและเสื้อผ้าให้ ช่วยอาบน้ำ และปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ลอง
    คิดดูว่าเราต้องจ่ายเงินมากเพียงใดเพื่อที่จะจ้างคนให้มาคอยดูแลทำความ
    สะอาดและหุงหาอาหารให้มาคอยดูแลทำความสะอาดและหุงหาอาหารให้
    ในทุกวันนี้ หากมีใครรินชามาให้ดื่มหรือช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยมิ
    หวังสิ่งตอบแทน เราย่อมรู้สึกว่าคนผู้นั้นมน้ำใจอย่างยิ่ง ทว่าความมีน้ำใจ
    เยี่ยงนั้นย่อมซีดจางไปเมื่อเปรียบกับความเมตตาเอื้อเฟื้อของผู้เป็นมารดา


    ความสามารถที่จะพูด ที่จะวางตัวในสังคม ที่จะคบหาสัมพันธ์กับผู้คน
    ล้วนเป็นของขวัญจากบิดามารดา แทนที่จะทะนงในความชาญฉลาดของ
    ตน เราพึงระลึกไว้ว่าครั้งหนึ่งเราไม่รู้แม้แต่จะเปล่งถ้อยคำ ไม่รู้แม้แต่จะ
    เชิดล้าง ใส่เสื้อผ้า กินอาหาร หรือแม้แต่จะอาบน้ำ พ่อแม่สอนเราให้พูด
    ทีละคำ สอนให้เดิน กิน แต่งตัว ท่านเป็นครูคนแรกของเรา


    ในชาตินี้และในชาติภพที่ผ่านมาสุดประมาณนับ สัตว์ทั้งหลายได้แสดงความ
    เมตตาเอื้อเฟื้อในทางโลกเยี่ยงนี้ต่อเรา สรรพสัตว์จึงเป็นแก่นหลักแห่งความ
    รุดหน้าทางธรรมของเรา ด้วยการถือเอาการช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์เป็นจุด
    มุ่งหมายแห่งการปฏิบัติ เป็นรากฐานแห่งปณิธานอันบริสุทธิ์ ซึ่งหากปราศจาก
    ปณิธานเยี่ยงนี้แล้วเราย่อมไม่อาจเข้าถึงการตรัสรู้ได้ เมื่อพิจารณาใคร่ควรญ
    ดูสิ่งเหล่านี้ เราย่อมก่อเกิดความสำนึกตื้นตันและตระหนักอย่างลึกซึ้งว่าเรา
    เป็นหนี้ใหญ่หลวง


    ดังนั้นในการบ่มเพาะอุเบกขา เราพึงระลึกว่าสัตว์ทั้งมวลล้วนเคยเป็นมารดา
    ของเรามาก่อนในชาติภพหนึ่ง ดังนั้นเราจึงรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของ
    ท่านและปรารถนาที่จะตอบแทน ด้วยอาการเยี่ยงนี้เองเราจึงก่อเกิดปณิธาน
    อันสูงส่งที่จะเกื้อกูลสรรพสัตว์ มิใช่ด้วยอาการอันผิวเผิน ทว่าอย่างสูงส่ง
    ลุ่มลึก นั่นคือการบรรลุพระนิพพานเพื่อที่จะช่วยผู้อื่นให้สามารถกระทำเช่น
    เดียวกัน



    มีศิษย์ชาวตะวันตกผู้หนึ่งถามลามะว่า " ผมมีปัญหาเรื่องการกำหนดจิตว่า
    สัตว์ทั้งมวลล้วนเคยเป็นมารดาของเรามาก่อน แม่ของผมไม่ค่อยจะดีสัก
    เท่าไร ความสัมพันธ์ของเราไม่ค่อยจะดีนัก ดังนั้นทุกครั้งที่นั่งลงภาวนา
    กำหนดอารมณ์ในโพธิจิต ก็จะหวนคิดถึงแม่และรู้สึกโกรธ ผมจะขอหยุด
    คิดถึงแม่ในตอนนี้ก่อนจะได้ไหม "


    ลามะก็ตอบคนผู้นี้ว่าหลักการที่มีอยู่ก็คือการบ่มเพาะความกรุณาต่อทุกชีวิต
    รวมถึงมารดาของตนด้วย ดังนั้นจะเรียงลำดับใครก่อนใครหลังก็มิใช่ปัญหา
    ท่านกล่าวอีกว่าในทิเบตและอินเดียนั้นจะถือว่าแม่เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยเมตตา
    เป็นบุคคลอันวิเศษสุดเท่าที่มีอยู่ ดังนั้น เมื่อผู้เริ่มปฏิบัติต้องการอุบายเข้าสู่
    การภาวนา คุรุก็มักจะใช้ความรู้สึกรักผูกพันต่อมารดาเป็นพื้นฐานเพื่อบ่ม
    เพาะความอบอุ่นการุณย์ต่อผู้อื่น


    ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า " ถ้าหากเธอเห็นว่าวิธีการที่เหมาะสมกว่าสำหรับ
    ตัวเธอ คือการบ่มเพาะความกรุณาต่อผู้อื่นก่อน แล้วค่อยแผ่มาถึงแม่ของ
    ตน นั่นก็ใช้การได้ ประเด็นก็คือการมีความเมตตาการุณย์ต่อทุกผู้คน รวม
    ทั้งมารดาของเธอด้วย "



    ในที่สุดเราก็ประจักษ์แจ้งถึงความเท่าเทียมกันของสรรพสัตว์ในธรรมชาติ
    เดิมแท้ของแต่ละดวงชีวิต ตั้งแต่แมลงที่เล็กที่สุดเรื่อยไปจนถึงพระอริย
    บุคคล ว่าธรรมชาตินนั้นบริสุทธิ์มาตั้งแต่แรก




    เมื่อเข้าใจความเท่าเทียมกัน ที่ว่าสัตว์ทั้งมวลล้วนปรารถนาความสุข ล้วน
    มีทุกข์ ล้วนเคยเมตตาเอื้อเฟื้อต่อเราในฐานะบิดามารดาและล้วนมี ธรรมชาติ
    แห่งพุทธะ
    ดังนี้แล้ว เราย่อมก่อเกิดความกรุณาต่อทุกดวงชีวิต เมื่อตระหนัก
    ได้ถึงโศกนาฏกรรมของเขาเหล่านั้น ว่าถึงแม้เขาจะปรารถนาความสุข แต่
    ด้วยเหตุแห่งอวิชชา จึงสร้างเหตุปัจจัยที่หนุนส่งให้ความทุกข์นั้นสืบไป



    ความกรุณา คือความปรารถนาที่จะให้ทุกข์ของผู้อื่นสิ้นสุดลง นี้คือพรหม
    วิหารประการที่สอง ความกรุณาเป็นโอสถถอนพิษร้ายของความสำคัญตน
    ผิดและความเห็นแก่ตัว ในเบื้องแรกมันจะช่วยให้เราไถ่ถอนความยึดติดใน
    ตนเองและหมกมุ่นอยู่แต่ปัญหาของตน ทั้งยังมีคุณในเบื้องปลาย ด้วยเหตุ
    ที่ความเกื้อการุณย์ในหัวใจแม้เพียงชั่วขณะหนึ่งก็อาจช่วยชำระล้างผลกรรม
    ได้ทบทวี



    เราจะก่อเกิดความกรุณาได้อย่างไร เริ่มด้วยการคิดพิจารณาความทุกข์ยาก
    ของผู้อื่น ครั้นแล้วก็ลองเปรียบให้เห็นความทุกข์ของเรา โดยเริ่มจากความ
    ทุกข์ในมนุษยภูมิ เพราะคงเป็นการยากที่จะเริ่มด้วยการพิจารณาความทุกข์
    ของสัตว์ในภพภูมิอื่น


    เราลองพิจารณาดูความทุกข์ของคนที่เรารู้จักสักหนึ่งหรือสองคนแล้วค่อย ๆ
    แผ่กว้างออกโดยอาศัยการปฏิบัติ จนกระทั่งความทุกข์ของทุกผู้คนล้วนมี
    ความหมายต่อเรา
    เรารู้สึกได้อย่างแจ่มชัดถึงความทุกข์เหล่านี้จนสามารถ
    แลเห็นได้เบื้องหน้าสายตา



    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">[​IMG]


    ดังเช่น ลองจินตนาการดูว่า มีคนไกล้ชิดกำลังจะสิ้นใจอยู่ในโรงพยาบาล
    แวดล้อมด้วยครอบครัว มิตรสหาย ครั้นเมื่อทุกนั้นยิ่งหน่วงหนักเป็นจริง
    เป็นจังยิ่งขึ้น ก็ลองสมมติว่ตนเองตกอยู่ในสภาพนั้น ทั้งครอบครัวมิตร
    สหายต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญขออย่าให้ด่วนจากไป แพทย์บอกกับคุณ
    ว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงชั่วครู่ คุณยิ่งหายใจขัดยากลำบากและรู้สึกหวาด
    หวั่นยิ่ง ไม่รู้เลยว่าจะมีอะไรรออยู่ ทุกสิ่งที่คุ้นเคย แม้แต่ร่างกายนี้จะถูกละ
    ไว้เบื้องหลัง ไม่มีเงินแม้สักแดงเดียวที่อาจนำติดตัวไปได้ ไม่มีญาติมิตร
    แม้สักคนอาจติดตามไปแม้ว่าจะสนิทสนมรักใคร่เพียงใดก็ตาม



    หรือแทนที่จะพิจารณาดูความทุกข์ของคนที่คุณรู้จักมักคุ้น อาจลองจินตนา
    การถึงผู้ที่อยู่ในบ้านเมืองที่ประสบภัยแล้ง ซึ่งทั้งครอบครัวหรือทั้งหมู่บ้าน
    กำลังจะตายลงด้วยความอดอยาก ลองนึกว่าตนเองกำลังตกอยู่ใสภาพเยี่ยง
    นั้น เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวเพียงไม่กี่คนซึ่งยังรอดชีวิตอยู่ ทว่าชีวิต
    เหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย คุณรู้ตัวดีว่าตนก็จะต้องตายลงในไม่ช้าเช่นกัน
    ไม่มีอาหารเหลือพอให้ประทังชีพ คุณรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงจนเกินกว่าจะ
    ช่วยเหลือญาติมิตรที่ยังคงรอดชีวิตอยู่ และพวกเขาก็เช่นกัน ทุกคนกำลัง
    เผชิญหน้าอยู่กับมรณภัย



    คุณอาจลองคิดถึงผู้คนที่บาดเจ็บล้มตายในสงคราม และลองนึกว่าตนตก
    อยู่ในสภาพเยี่ยงนั้น เพื่อนรักของคุณนอนอยู่ข้าง ๆ และสิ้นชีวิตลงแล้ว
    ส่วนตัวคุณก็บาดเจ็บสาหัส โลหิตหลั่งไหล ไม่อาจขยับร่างได้ ผู้คนที่แวด
    ล้อมอยู่ถ้าไม่บาดเจ็บสาหัสก็ยุ่งเกิกว่าที่จะมาใส่ใจคุณ คุณรู้สึกโดดเดี่ยว
    และประหวั่นพรั่นพรึ่งยิ่ง



    หรืออาจนึกจินตนาการถึงสถานะของผู้สูงอายุ คิดถึงตอนที่ลูก ๆ ซึ่งตน
    ถนอมกล่อมเลี้ยงมานานนับปี ทว่าบัดนี้กลับไม่ช่วยเหลือสิ่งใดเลย ทั้งไม่
    ยอมรับฟังคำตักเตือนสั่งสอน หรือแม้กระทั่งอาจคาดหวังให้คุณตายไป
    เสียเร็ว ๆ คุณไม่อาจดูแลตนเองได้ ทั้งลูก ๆ ก็มิได้เอาใจใส่ อาจต้องอยู่
    ในบ้านพักคนชรา ซึ่งลูกหลานจะมาเยี่ยมเพียงปีละครั้งสองครั้งเท่านั้น
    เพื่อน ๆ ก็ไม่เคารพับถือคุณอีกต่อไป ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น คุณอยาก
    จะไปโน่นไปนี่ กระทำการงานพูดจาดุจดังที่เคยทำเมื่อวัยหนุ่ม ทว่าบัดนี้
    กลับไม่สามารถ



    ยามเมื่อพิจารณาถึงสภาพการณ์เหล่านี้ คุณจะรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึ่งยิ่ง ตรง
    จุดนี้ จงถามตนเองว่า " เพียงแค่คิดถึงความทุกข์เหล่านั้น ฉันก็ยังรู้สึกหวาด
    กลัวถึงเพียงนี้ และผู้ที่ต้องเผชิญกับมันเล่าจะยิ่งทุกขเวทนาเพียงใด "



    ครั้นแล้วลองคิดถึงข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้คนเป็นอันมากในโลกที่พากันทำร้าย
    ผู้อื่น ต่างสร้างสมบาปกรรมซึ่งรังแต่จะก่อให้เกิดผลร้ายต่อตนเอง ทว่า
    กลับมิได้ตระหนัก หากคิดว่าตนได้กระทำสิ่งที่ถูกต้องนั้นเท่ากับเป็นการ
    ทำลายตนเองลง


    เมื่อครุ่นคิดพิจารณาดังนี้ ย่อมก่อเกิดความเมตตาและปณิธานอันแรงกล้า
    ขึ้นในใจที่จะช่วยเหลือผู้ที่ทนทุกข์อยู่ในปัจจุบัน และผู้ที่เพาะหว่านเมล็ด
    พันธุ์แห่งความทุกข์ไว้ภายภาคหน้า จงตระหนักถึงความมีโชคของตนและ
    ตั้งใจแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น คุณได้มีโอกาสสดับธรรม ได้ล่วง
    รู้ถึงอุบายวิธีที่จะขจัดเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดทุกข์ ทว่าสรรพสัตว์เหล่านี้ ผู้
    ซึ่งได้เคยเมตตาเอื้อเฟื้อต่อคุณในฐานะมารดา กลับมิได้ล่วงรู้สิ่งใดเลย ช่าง
    น่าเศร้ายิ่ง




    ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ความกรุณาอันยิ่งใหญ่อย่างเท่าเทียมกันต่อ
    สัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่ามิตรหือศัตรู นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง จากรากฐานอันมั่น
    คงแห่งมหากรุณานี้เอง แม้คุณมิได้พยายามที่จะเข้าถึงการตรัสรู้ ทว่าโมก-
    ษธรรมนั้นก็อยู่ในอุ้งหัตถ์ของคุณแล้ว แต่หากคุณมิได้บ่มเพาะความกรุณา
    ขึ้น ทว่ากลับมุ่งหวังเพียงจะหลีกหนีจากความทุกข์เพียงลำพังตนแล้ว คุณ
    ย่อมไม่มีทางบรรลุถึงอริยผลได้


    ความกรุณาจะได้รับการหนุนเสริมด้วยพรหมวิหารประการที่สาม คือ ความ
    เมตตา ที่แผ่ไปถึงทุกชีวิตโดยถ้วนหน้า ความเมตตาคือ ความปรารถนาอัน
    แท้จริงของทุกชีวิตที่จะก่อให้เกิดสุขทั้งในทางโลกและทางธรรม เราย่อม
    ตั้งจิตแน่วแน่ที่จะพยายามทุกวิถีทางทั้งโดย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
    ที่จะน้อมนำความเมตตาไปสู่ทุกชีวิต



    ยามที่เรามุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น เราจะต้องกระทำด้วย
    ความจริงใจ เพราะหากมีความเห็นแก่ตัวแฝงเร้นอยู่ในการกระทำดังกล่าว
    แล้วไซร้ ความล้มเหลวย่อมทำให้เราผิดหวังเสียใจและความทุกข์เยี่ยงนี้จะ
    ทำให้พรหมวิหารของเรามัวหมอง


    เพื่อที่จะช่วยให้เราบ่มเพาะความเมตตาอันบริสุทธิ์ต่อทุกชีวิตขึ้น มีอุบาย
    การปฏิบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่าการภาวนาแบบ ทองเลน เริ่มด้วยการแผ่
    เมตตาสู่สัตว์ผู้ได้รับทุกข์ ครั้นแล้วขณะที่เราหายใจเข้าก็ให้จินตนาการว่า
    เรากำลังสูดเอาความทุกข์และเคราะห์กรรมของสัตว์ทั้งมวลในกามภพ
    ในรูปของแสงสีดำเข้าไปภายในกาย และขณะที่หายใจออกก็ให้เพ่งเห็น
    ความเมตตา ความสุข และสิ่งดี ๆ แผ่กำจายออกสู่ผู้อื่นในรูปของลำแสง
    สีขาว




    ในตอนแรกเราอาจลังเลที่จะปฏิบัติภาวนาเยี่ยงนี้ ด้วยกลัวว่ามันอาจมี
    ผลร้ายต่อตนเอง แต่หากเรามีความจริงใจอันบริสุทธิ์ที่จะอนุเคราะห์ผู้อื่น
    ความลังเลสงสัยของเราจะสิ้สุดลง และการปฏิบัติของเราจะยิ่งช่วยเพิ่ม
    พูนกุศลจิต มีเพียงความกลัวของเราเท่านั้นที่อาจทำร้ายตัวเอง เพราะ
    มันเป็นเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดสิ่งร้าย ๆ เข้ามา



    หลังจากฝึกฝนการภาวนาเยี่ยงนี้ด้วยดวงใจอันบริสุทธิ์ เราจะเริ่มพบว่า
    ตนเองเป็นเสมือนสื่อแห่งความสุขของผู้อื่น ไม่เพียงแต่ความรักความ
    กรุณาของเราจะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นเท่านั้น ทว่าแม้แต่อกุศลจิตและอกุศลกรรม
    ก็จะลดน้อยถอยลง ความยึดมั่นนถือมั่นในตนเองจะจางคลาย และผล
    กรรมจะได้รับการชำระล้าง หากจะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว เราย่อมบ่ม
    เพาะฉันทะในโพธิจิต จนถึงขั้นที่เราอาจยอมสละหรือพร้อมจะกระทำ
    ทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวั่นเกรงหรือลังเล เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น




    ในหลายภพหลายชาติบนหนทางแห่งพระโพธิสัตว์นี้ องค์ศากยมุนีพุทธ
    ได้สละแม้ร่างกายนี้เพื่อประโยชน์แก่เหล่าสัตว์ มีอยู่ครั้งหนึ่งพระองค์เสวย
    พระชาติเป็นโอรสองค์กลางของราชาผู้ปกครองแว่นแคว้น ขณะที่โอรส
    ทั้งสามหลงอยู่ในป่า พระองค์ได้ประสบพบแม่เสือหิวโซที่เลี้ยงลูกน้อยห้า
    ตัว เสือนั้นไม่อาจขยับเขยื้อนกายและน้ำนมที่จะเลี้ยงลูกน้อยก็เหือดแห้ง
    โอรสจึงดำริอยู่ในใจว่า " กี่ครั้งกี่หนมาแล้วในอดีตชาติ ที่เราคิดถึงแต่ตน
    เอง และได้สิ้นชีวิตลงครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่เคยยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้ใด
    กายของเราเป็นเพียงสิ่งไม่จีรัง มันมิได้คงทนอยู่นาน หากมันจะพอยังคุณ
    แก่แม่เสือแและลูกน้อยนี้ได้บ้างก็ขอจงสำเร็จตามประสงค์ "




    พระองค์ให้ภราดรออกไปเสาะหาลูกไม้ป่า ส่วนตนเองลงนอนทอดร่างอยู่
    ข้างกายแม่เสือ ทว่าเสือนั้นอ่อนแอไร้เรี่ยงแรงแม้แต่จะกัดกิน พระองค์จึง
    หักกิ่งไผ่มาแทนมีด กรีดข้อมือให้โลหิตหยดลงสู่ปากเสือ แล้วก็เฉือนเนื้อ
    ออกเลี้ยงนางเสือ ครั้นเมื่อเสือเริ่มฟื้นเรี่ยงแรง พระองค์ยิ่งสูญเสียเลือดเนื้อ
    มากขึ้นทุกที ทว่ากลับมิได้สำนึกเสียใจกระทั่งสิ้นชีพชนม์ พระองค์อุทิศ
    ชีวิตมิใช่เพียงเพื่อแม่เสือกับลูกน้อยเท่านั้น แต่เพื่อสรรพสัตว์ทั้งมวล




    ขณะนั้นเอง พระมารดาของพระองค์ก็เกิดสุบินนิมิตเห็นอาทิตย์สามดวง
    ปรากฏอยู่ในนภากาศ ดวงกลางนั้นจับคราสมืดมัว พระนางตื่นขึ้นเกิดลาง
    สังหรณ์ว่าคงจะเกิดเหตุร้ายแก่โอรสองค์กลาง พลางเกิดนิมิตประหลาด
    พื้นพสุธาสะเทือนเลื่อนลั่น มีบุปผาทิพย์โปรยปรายและดนตรีสวรรค์กัง
    วานแว่ว




    เกศาและอัฐิของพระองค์ถุกนำไปบรรจุไว้ในสถูป อันเป็นอุสรณ์สถาน
    แห่งธรรมชาติดวงจิต ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันมีนามว่า นโมพุทธา ใน
    ประเทศเนปาล ผู้คนเป็นอันมากยังคงได้รับผลบุญอันไพศาล ได้รับการ
    ชำระล้างกรรมโดยการกระทำประทักษิณรอบสถูปนั้น




    ธรรมข้อสุดท้ายในพรหมวิหารสี่ ก็คือ มุทิตาจิต คือความยินดีเมื่อผู้อื่นมี
    สุข เรายินดีในความสุขทางโลกของผู้อื่น พลานามัย ความมีทรัพย์ ความ
    สัมพันธ์อันงดงามกับผู้อื่น และโอกาสในทางธรรม เราจะไม่ยอมให้ความ
    ริษยามาเป็นเจ้าเรือน หรือครุ่นคิดน้อยใจว่า " เหตุใดเขาจึงได้รับสิ่งนี้สิ่ง
    นั้น มิใช่ฉัน " หากแต่ให้เราตั้งจิตปรารถนาหวังให้ความสุขของเขาเหล่า
    นั้นยั่งยืนนาน และพยายามกระทำทุกวิถีทางเพื่อยังให้เป็นไป


    ด้วยความเบิกบานยินดีในสุขของผู้อื่น เราย่อมได้รับสุขเทียบเทียมกัน แต่
    หากเรายินดีในทุกข์ของผู้อื่น เราก็ย่อมได้รับวิบากดุจเดียวกับผู้ที่ก่อกรรม
    ทำเข็ญให้ผู้อื่นได้รับทุกข์


    ในสมัยพุทธกาล มีเด็กสองคนมาขอบริจาคอาหารอยู่นอกพระราชวัง พระ
    ราชานิมนต์พระพุทธเจ้าและเหล่าสงฆ์สาวกมาฉันเพล และได้เตรียมเครื่อง
    คาวหวานเลิศรส เด็กคนหนึ่งเริ่มร้องขออาหารก่อนที่พระพุทธองค์จะได้
    รับถวาย จึงไม่มีผู้ใดยอมให้ เด็กคนนั้นโกรธมาก คิดอยู่ในใจว่า " หากข้า
    เป็นกษัตริย์จะตัดหัวพระพุทธเจ้ากับพระราชาองค์นี้และเหล่าข้าราชบริพาร
    เสียให้สิ้น "


    ส่วนเด็กอีกคนทนรอจนกระทั่งพระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกได้รับภัต
    ตาหาร ครั้นแล้วจึงขออาหารที่เหลือ และก็ได้รับมากมายจนบริโภคไม่สิ้น
    จึงคิดอยู่ในใจว่า " ช่างเป็นพระราชาที่ประเสริฐยิ่ง พระองค์ได้สร้างบุญ
    กุศลอันไพศาลโดยการนิมนต์พระพุทธองค์มาฉันภัตตาหารและได้ให้ทาน
    แก่พวกเราเหล่าผู้ยากไร้ หากข้าได้เป็นกษัตริย์ ทุกสิ่งที่ข้ามีจะขอถวายเป็น
    พุทธบูชา และแจกจ่ายให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก "


    หลังจากกินเสร็จ เด็กทั้งสองก็แยกย้ายกันไป เด็กผู้มีความคิดดีงามก็สัญจร
    ไปสู่เขตแดนของอาณาจักรใกล้เคียง ไปนอนหลับหลบร้อนอยู่ใต้ร่มไม้ โดย
    หารู้ไม่ว่าราชาแห่งอาณาจักรนั้นได้สิ้นชีพลงและเหล่าเสนามาตย์กำลังเสาะ
    หาผู้มีคุณความดีขึ้นเป็นราชาองค์ใหม่ชาวบ้านในละแวกนั้นสังเกตเห็นว่า
    แม้ดวงอาทิตย์จะโคจรเคลื่อนคล้อย แต่ร่มไม้ที่เด็กนอนอยู่นั้นกลับหาได้
    เปลี่ยนตำแหน่งไม่ ต่างพากันคิดว่านี่เป็นการณ์อันมหัศจรรย์ จึงไปรายงาน
    ให้เสนาบดีได้รับรู้



    ครั้นเมื่อได้ทราบ เสนาบดีจึงสั่งให้นำตัวเด็กผู้นั้นมารวมอยู่ในหมู่ผู้ที่จะ
    ได้รับการเลือกสรร ท่ามกลางชุมนุมของเหล่าพสกนิกร กษัตริย์องค์ใหม่
    จะได้รับเลือกโดยช้างเผือกคู่บ้านคู่เมือง พอถึงวันพิธีช้างนั้นก็เดินตรงไป
    หาเด็กที่มอมแมมรุ่งริ่ง ซึ่งยืนอยู่หลังสุดของหมู่ผู้รอรับเลือก เจิมหน้าผาก
    ด้วยน้ำมนต์จากเต้าน้ำ และใช้งวงยกเด็กนั้นขึ้นวางไว้บนบัลลังก


    ขณะที่เด็กผู้มีใจอกุศลไปนอนหลับอยู่ในราชอุทาน มีรถม้าคันหนึ่งวิ่ง
    เตลิดมาทับร่างและบั่นคอเด็กสิ้นชีพลงตรงนั้น



    ในเบื้องแรกนั้น การฝึกฝนพรหมวิหารนับเป็นเรื่องยาก เราจะค่อย ๆ
    คลายปมที่ผูกมัดเราอยู่ทีละเปลาะ อันได้แก่ความหลง และพิษร้ายทั้ง
    มวลในดวงจิต อุเบกขาจะช่วยลดทอนทิฏฐิมานะ มุฑิตาช่วยลดทอน
    ริษยา กรุณาช่วยลดทอนโลภะ และเมตตาช่วยลดทอนโทสะและความ
    โกรธ เมื่อโทสะหมดสิ้นลง ปรีชาญาณดุจกระจกเงาย่อมฉายเรืองรอง
    เมื่อความโลภหมดสิ้นลง ปรีชาญาณแยกแยะย่อมอุบัติเรืองโรจน์ เป็น
    ไปโดยลำดับดังนี้ เมื่อการปฏิบัติของเราแก่กล้าขึ้น และปรีชาญาณได้
    เผยออก พรหมวิหารสี่ย่อมอุบัติขึ้นโดยธรรมชาติ โดยมิต้องใช้ความ
    พยายาม ดุจดังรัศมีและความอบอุ่นที่แผ่กำจายออกจากดวงอาทิตย์



    แม้จะมีคนเป็นอันมากคิดว่าตนอาจเข้าถึงปัญญาญาณได้โดยตรง ทว่า
    มันกลับมิได้ง่ายดายปานนั้น จนกว่าปมเงื่อนต่าง ๆ จะได้คลายออกแล้ว
    เท่านั้น หาไม่การกำหนดรู้ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ และโดยผ่านทวารทั้งสี่
    แห่งเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เราจึงอาจเข้าสู่มณฑลแห่งธรรม
    ชาติอันสูงสุดของดวงจิต



    * จาก ประตูสู่การภาวนา *
    -ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
    - แห่งวัชรนิกายของทิเบต-
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1> [​IMG]


    ฉันทะและวิริยะโพธิจิต




    โพธิจิตมีบทบาทอยู่สองประการ คือเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น
    หรือความกรุณา กับเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ หรือปัญญา เรามุ่งหวังการ
    ตรัสรู้มิใช่เพียงเพื่อหลีกหนีจากวัฏสงสาร แต่เพื่อยังประโยชน์ต่อผู้ที่อาจ
    แลเห็น ได้ยิน สัมผัสจับต้อง หรืออาจจดจำเรา ขณะนี้เราอาจมีความ
    สามารถที่จะช่วยคนได้สิบคน ร้อยคน หรือพันคน หรือถ้าเรามีชื่อเสียง
    เราอาจช่วยได้ถึงแสนถึงล้านคน แต่นั่นก็ยังไม่พอเพียง ด้วยยังมีสรรพ
    สัตว์สุดประมาณนับทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฏนี้



    ยามเมื่อเราปฏิบัติ เราอาจชักนำให้เกิดโพธิจิตหนึ่งในสามแบบ อย่าง
    แรกเรียกว่า จริตแบบชุมพาบาล อันเป็นแนวโน้มที่จะชักนำสรรพสัตว์
    ทั้งมวลไปสู่การตรัสรู้ก่อนแล้วจึงติดตามไปภายหลัง ดุจดังนายชุมพา
    บาลต้อนฝูงแกะเข้าประตู ครั้นแล้วจึงค่อยติดตามไป โพธิจิตอย่างที่สอง
    เรียกว่า จริตแบบคนแจวเรือ ในการข้ามลำน้ำนั้น คนแจวเรือบรรลุถึง
    อีกฟากฝั่งหนึ่งพร้อม ๆ กับผู้โดยสารของตน ในทำนองเดียวกันนี้ ตัว
    เรากับสรรพสัตว์ได้ร่วมทางไปสู่การตรัสรู้พร้อม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม
    โดยหลักความจริงแล้ว การจะช่วยให้ผู้อื่นเป็นอิสระจากวงวัฏได้ คุณ
    จะต้องปลดปล่อยตนเองเสียก่อน ดุจดังราชันขึ้นครองบัลลังก์เป็นปฐม
    จากนั้นจึงปกครองอาณาจักรอย่างกอปรด้วยปัญญา ดังนั้นในการปฏิบัติ
    คุณจึงตั้งปณิธานที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิก่อน เพื่อที่จะสามารถช่วยผู้อื่น
    ให้หลุดพ้นจากสังสาร นี่เรียกว่า ราชจริต เราย่อมบ่มเพาะโพธิจิตแบบ
    หนึ่งแบบใดในสามอย่างนี้ เพื่อใช้จัดการกับอัตตาความยึดมั่นถือมั่นซึ่ง
    มีมากน้อยแตกต่างกันไป อันเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงที่สุดบนหนทาง
    แห่งการตรัสรู้



    ปณิธานที่จะบรรลุถึงการตรัสรู้ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่นเรียกว่า ฉันทะโพธิ
    จิต
    ซึ่งแม้ว่าจะเป็นแก่นหลักในการปฏิบัติ แต่ก็ไม่อาจช่วยให้เราสำเร็จผล
    ได้เพียงลำพัง ฉันทะโพธิจิตเปรียบเหมือนกับการทอดตามองดูมหาสมุทร
    แห่งทุกข์อันกว้างใหญ่ไพศาล และเกิดความปรารถนาที่จะนำผู้อื่นและตัว
    เราข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งหากเราไม่มีนาวาและใบที่จะช่วยขับเคลื่อนนาวา
    นั้น แม้เราจะปรารถนาเพียงใดก็ไม่อาจจะข้ามพ้น



    เรายังจะต้องพากเพียรกระทำการ จะต้องลงมือปฏิบัติ โดยใช้อุบายวิธี
    ทุกประการที่จะช่วยไถ่ถอนชำระล้างอกุศลจิตและอกุศลกรรมทั้งช่วย
    เกื้อหนุนสิ่งอันเป็นกุศลทั้งมวล ตราบกระทั่งประจักษ์แจ้งในธรรมชาติ
    แท้ของจิต เพื่อเราจะสามารถนำพาตนเองและผู้อื่นสู่พุทธภูมินี้เรียกว่า
    วิริยะโพธิจิต นี่คือมรรควิธีของโพธิสัตว์



    มีวิธีจะโน้มนำโพธิจิตไปสู่ทุกแง่มุมในชีวิตประจำวันของเรา นั่นคือการ
    บำเพ็ญบารมีหก อันได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา


    ทานย่อมช่วยผ่อนความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ ของเรา มีทานอันได้แก่ การ
    แบ่งปันอาหาร เสื้อผ้า และวัตถุสิ่งของ ทั้งยังมี ธรรมทานอันได้แก่ การ
    แบ่งปันหลักธรรมคำสอน ช่วยให้เป็นอิสระจากความกลัว ให้การปกป้อง
    คุ้มครองแก่ผู้ที่หวาดหวั่น ยังมีทานซึ่งมอบผลแห่งความเพียรของตน ให้
    เวลา ให้ความรู้ พูดคุย ให้คำปรึกษา เมตตา เอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น ความมี
    โชคของเราที่มีอยู่ในปัจจุบันล้วนเป็นผลมาจากทานในอดีตทั้งสิ้น ซึ่งเรา
    อาจนำกลับมาแบ่งปันอีกครั้งอย่างเบิกบาน



    ในการประพฤติศีลนั้น เราจะต้องหมั่นตรวจสอบเจตนาว่าเราได้ใช้กาย
    วาจา ใจ อย่างแยบยลหรือไม่ ซึ่งไม่เพียงจะต้องปราศจากพิษภัยเท่านั้น หาก
    จะต้องเป็นไปเพื่อเกื้อกูลประโยชน์อีกด้วย กล่าวคือ เราจะต้องพยายาม
    สร้างเงื่อนไขซึ่งจะเอื้อให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด เรียนรู้สิ่งที่พึงเรียนรู้ รวบ
    รวมวัตถุดิบต่าง ๆ ฯลฯ และท้ายที่สุด เราจะได้ไม่เหนื่อยหน่ายในการประ
    พฤติศีล


    เราปฏิบัติขันติโดยการถือตามแนวทางเกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้อื่นโดยไม่ย่อ
    ท้อ ไม่ว่าเขาจะมีปฏิกริยาหรือมีท่าทีต่อเราเยี่ยงไรก็ตาม เรายังบ่มเพาะขันติ
    ขึ้นเพื่อเป็นยาถอนพิษต่อความโกรธเกลียดและความก้าวร้าว มีพุทธภาษิต
    อยู่ว่า " ในการต่อสู้กับมารแห่งโทสะนั้นไม่มีอะไรดีไปกว่าการฝึกขันติธรรม "
    มันยังก่อให้เกิดความสงบราบรื่นในดวงจิตและเอื้อต่อการตรัสรู้



    มีขันติพื้นฐานอยู่สามประการด้วยกัน คือความอดทนต่อการบีบคั้นทำร้าย
    ของผู้อื่น อดทนต่อความยากลำบากในการปฏิบัติธรรมและยอมรับเข้าเผชิญ
    กับแก่ธรรมอันลึกซึ้งโดยไม่หวาดหวั่น




    ขันติอาจนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล ทั้งในวงแคบและวงกว้าง
    เมื่อใดก็ตามที่มีปัจเจกหรือกลุ่มบุคคลก่อปัญหาความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แทน
    ที่เราจะตอบโต้ความก้าวร้าวนั้นด้วยโทสะ เราพึงเตือนสติตนเองว่าสัตว์ทั้ง
    มวลล้วนเคยเป็นบุพการีของเรามาก่อน เคยได้รับมอบความเมตตาใหญ่หลวง
    แก่เรา และด้วยเหตุแห่งอวิชชาที่ทำให้เขาไม่อาจเห็นถึงสายสัมพันธ์นี้ ทั้ง
    ไม่รู้ตัวว่ากำลังหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความทุกข์ โดยการไม่ตอบโต้ด้วย
    อาการดุจเดียวกัน เราย่อมก่อเกิดคุณแด่ทุกผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุที่ความอด
    ทนของเราจะช่วยสลายความก้าวร้าวและช่วยยุติปัญหามิให้ลุกลาม



    ดุจดังองค์ศากยมุนีพุทธขณะประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ ณ พุทธคยา มีกองทัพ
    มารยกมาประจญ มารนี้คือพลังที่ผูกติดเราไว้กับวัฏสังสาร เป็นความพยา
    ยามครั้งสุดท้ายที่จะบำราบขัดขวางมิให้พระองค์บรรลุถึงนิพพาน
    มารเหล่า
    นี้ได้ระดมภูติผีทั้งมวลมาจู่โจมพระพุทธองค์ แต่ด้วยพลังแห่งขันติธรรม
    เมตตาธรรม กรุณาธรรม อันผุดขึ้นมาโดยธรรมชาติจากการตระหนักรู้ของ
    พระองค์ บรรดาศัตราวุธทั้งมวลของหมู่มารก็กลับกลายเป็นบุปผาลดาวัลย์
    สิ้น




    วิริยะยังหมายถึงการตระเตรียมเพื่อลงมือกระทำ เหมือนการใส่เกราะแห่ง
    ความเพียรเพื่อกระทำการจนกว่าจะลุล่วง โดยไม่หวนกลับคืน ไม่เพียงแต่
    เราบ่มเพาะคุณสมบัติภายในขึ้นมาเท่านั้น หากยังรวมถึงศักยภาพที่จะช่วย
    เหลือเกื้อกูลผู้อื่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น มีผู้หนึ่งซึ่งเปี่ยมด้วยเมตตาและมี
    ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือบรรดาผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ทว่าการจะช่วยเหลือ
    ผู้ป่วยได้นั้น จำเป็นต้องทุ่มเทศึกษาเรียนรู้ในวิชาการแพทย์เสียก่อน


    เราฝึกฝนความเพียรเพื่อที่จะได้บรรลุถึงจุดหมาย อันได้แก่ความสุขทั้งที่
    เป็นสิ่งชั่วคราวและเที่ยงแท้แม้สักก้าวหนึ่ง อย่างน้อยเราก็ไม่ควรจะหด
    เท้ากลับ หากมุ่งมั่นไปทีละก้าว ทีละก้าวอย่างแช่มช้า แม้แต่ลาก็อาจเดิน
    ทางไปรอบโลกได้



    เรายังฝึกจิตด้วยการเจริญสมถภาวนา คำภาษาทิเบตคือ ซัมเต็น ซัม หมาย
    ถึง " การคิด " การใช้จิตพิเคราะห์พิจารณา และ เต็น หมายถึง " มั่นคง "
    หรือ " ตั้งมั่น " ความจดจ่อตั้งมั่นแห่งดวงจิตนี้มีคำเรียกในภาษาทิเบตว่า
    ซีเน ซึ่งจิตจะตั้งมั่นลงเป็นเอกัคคตาจิต จดจ่ออยู่ในธรรมารมณ์หรือใน
    สภาวธรรมหนึ่งใด


    เอกัคคตาสมาธินี้หมายถึงการจดจ่ออยู่ในอารมณ์ภาวนาโดยไม่ส่ายไหว
    จิตจะไม่กวัดไกวไปสู่สิ่งอื่น แม้แต่อารมณ์ข้างเคียงอารมณ์นั้น ถ้อยคำ
    นั้นจะโน้มนำเราไปสู่ความหมายอันลุ่มลึก จิตจะตกกลับไปสู่สภาพดั้ง
    เดิมตามธรรมชาติ มิได้ถูกบดบังอยู่ด้วยกาลทั้งสาม หรือมองมัวด้วย
    ความทรงจำของอดีต ด้วยความคิดของปัจจุบัน หรือกังวลในอนาคต
    นี่คืออีกรูปลักษณ์หนึ่งของเอกัคคตาสมาธิ ส่วนอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งลุ่ม
    ลึกขึ้นไปอีกย่อมเจือผสานอยู่ด้วยปัญญาญาณทั้งหก ซึ่งทำหน้าที่ดุจ
    ฉนวนปกป้องเอกัคคตาสภาวะนี้ไว้



    ปัญญาหรือปรีชาหยั่งรู้นี้ หมายถึงการรู้ในปรมัตถธรรมที่อยู่เหนือความ
    คิดแบ่งแยกสามัญ อยู่เหนือปีติภาวะอันเป็นของชั่วคราวอยู่เหนือความ
    แจ่มกระจ่างตั้งมั่น เหนือขึ้นไปจากปัญญา หามีสภาวธรรมอื่นอยู่ไม่ เหนือ
    ขึ้นไปกว่านี้หามีจุดมุ่งหมายใดอยู่ไม่



    บารมีห้าประการแรกในบารมีหกยังอยู่ในระดับของการแบ่งแยก เรา-เขา
    ดังเช่น ทานบารมี ประกอบด้วยตัวผู้ให้ ตัวผู้รับและการให้ ผู้ให้ ผู้รับ
    และการให้เรียกว่า มิติทั้งสาม



    การยึดติดอยู่ในความเป็นจริงของมิติทั้งสามถือว่ายังดำรงอยู่ในสมมติสัจจ์
    ด้วยเหตุที่ความเป็นจริงนั้นมีอยู่สองแง่มุมคือ ปรมัตถสัจจ์ หรือความ
    เป็นจริงสูงสุด คือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ดังที่มันเป็นกับสมมติสัจน์ หรือ
    ความเป็นจริงเชิงสัมพัทธ์ คืออาการที่ปรากฏเสมือนหนึ่งจริงในระดับ
    สามัญโลก สมมติสัจน์นี้ คำภาษาทิเบตเรียกว่า " คุนซ็อบ " คุน หมาย
    ถึง " ทั้งหมด " หรือ " หลาย " ซ๊อบ หมายถึง " สิ่งซึ่งมิได้เป็นจริง " ดัง
    นั้น คุนซ๊อบ จึงหมายถึง การสำแดงของหลากหลายปรากฏการณ์ซึ่งดู
    เสมือนหนึ่งบางสิ่ง ซึ่งหาได้เป็นจริงดังนั้นไม่



    ดุจดังเด็กที่วิ่งไล่ไขว่คว้ารุ้งกินน้ำ เราก็ปฏิบัติต่อปรากฏการณ์แห่งห้วง
    ฝันนี้ดุจดังสิ่งอันมีแก่นสารและอาจยึดจับไว้ได้ ทว่าปรากฏการณ์เหล่านี้
    หาได้จีรัง ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่ได้โดด ๆ โดยตัวมันเอง ดังเช่น ขุนเขาย่อม
    ประกอบขึ้นด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น หิน ดิน อะตอมธาตุ และโม
    เลกุล หามีสิ่งใดแยกขาดออกจากกันไม่ ทุกสิ่งย่อมเชื่อมโยงกระทบถึง
    กันสิ้น



    เราเรียกขานปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า " ความจริง " ด้วยเหตุที่มันดูประ
    หนึ่งความจริงในห้วงฝันของเรา ดังเช่น ไฟ ถึงแม้ว่ามันจะมิได้ดำรง
    อยู่อย่างโดด ๆ เป็นอิสระจากเงื่อนไขอื่น ๆ แต่มันก็ยังอาจเผาเราได้
    หากยื่นมือเข้าไปในนั้น ในกรณีนี้ ประสบการณ์เชิงสัมพัทธ์ของเรา
    เป็นจริง ในขณะเดียวกัน ธรรมชาติอันสูงสุดแห่งประสบการณ์ย่อม
    บริสุทธิ์หมดจดและไม่เป็นเปลี่ยนแปลง ว่างเปล่า ดุจดังความฝันยาม
    ค่ำคืน ในความฝันนั้นสิ่งต่าง ๆ ดูคล้ายอุบัติขึ้น ครั้นพอเราตื่นจาก
    หลับใหลกลับหามีสิ่งใดเกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ นี่คือธรรมชาติที่แท้แห่ง
    สังสารวัฏ


    คุรุศานติเทพได้กล่าวไว้ว่า ปรมัตถสัจจ์ นั้นหาได้อยู่ในขอบข่ายของจิตใจ
    สามัญไม่ จิตใจสามัญพะวงอยู่แต่ความจริงตามแบบแผนเท่านั้น ขณะที่
    ความจริงอันสูงสุดเป็นอิสระและอยู่เหนือนามธรรมความคิดอันละเอียด
    อ่อนซับซ้อน เราไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ่งต่าง ๆ ดำรงอยู่ หรือมิได้ดำรงอยู่
    ว่ามีหรือไม่มี ขณะที่เราได้สดับธรรม ได้ตริตรึกเพ่งพินิจ ปัญญาความเข้า
    ใจของเราจะค่อย ๆ หยั่งลึก เป็นประสบการณ์ตรง และท้ายที่สุดย่อมประ
    จักษ์แจ้งอย่างมั่นคงในธรรมชาติอันสูงสุด เมื่อนั้นเราจะค้นพบ ดุจดังคำ
    ภาวนาทิเบตที่ว่า ปรมัตถธรรมนั้นหาใช่สิ่งที่ดำรงอยู่ไม่ เพราะแม้แต่พระ
    พุทธองค์ก็ยังมิอาจแลเห็นได้ กระนั้นก็ตามเราก็มิอาจปฏิเสธสมมติสัจจ์
    โดยบอกว่าหาได้มีสิ่งใดดำรงอยู่ไม่ เพราะหากเป็นดังนั้นเราจะบรรยาย
    ถึงสังสารและนิรวาณ อันเป็นการสำแดงออกอย่างไม่มีสิ้นสุดของรูป
    ปรากฏได้อย่างไร คงมิใช่อาการอันเลื่อนลอยขัดแย้ง หากจะกล่าวว่า
    ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่งย่อมไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าในระดับสัมพัทธ-
    ภาวะมันย่อมสำแดงออกด้วยอาการอันแปรเปลี่ยนกลับกลาย ดุจดังอุบัติ
    ขึ้นในความฝัน ปรากฏการณ์ทั้งมวลนั้นหาได้ดำรงอยู่อย่างอันติมะไม่
    แม้ว่ามันจะสำแดงออก ด้วยเหตุนี้เองเราจึงกล่าวว่าปรากฏการณ์ทั้งมวล
    ล้วนว่างเปล่า



    ธรรมชาติอันว่างเปล่าของประสบการณ์ ธรรมชาติอันไม่มีเกิด ไม่มีตาย
    ไม่มีมาไม่มีไป ซึ่งอยู่เหนือสองขั้วของการมีอยู่และไม่มีอยู่นั้น ย่อมไม่
    อาจแยกขาดออกจากการสำแดงออกโถมทยอยหนุนเนื่อง ธรรมชาติที่
    แท้แห่งประสบการณ์เชิงสัมพัทธ์ของเราก็คือปรมัตถสัจจ์ ซึ่งเราเรียก
    ว่าญาณหยั่งรู้ถึงการไม่อาจแบ่งแยกระหว่างปรมัตถสัจจ์ ซึ่งเราเรียกว่า
    ญาณหยั่งรู้ถึงการไม่อาจแบ่งแยกระหว่างปรมัตถ์กับสมมติ



    เมื่อเรานำญาณทัศนะไปใช้กับทานบารมี เราะจะข้ามพ้นความหมายสามัญ
    หากในฝันยามค่ำคืน เราได้มอบผลแอปเปิ้ล หรือขอทานไม่ เมื่อความเอื้อ
    เฟื้อของเราเปี่ยมด้วยปัญญา คือญาณหยั่งเห็นถึงธรรมชาติแห่งมิติทั้งสาม
    มันจะกลายเป็นทานอันสูงสุด ในขณะที่เรากระทำการเพื่อประโยชน์สุข
    ของผู้อื่น เรารู้ว่าการุณยกิจนั้นย่อมมีธรรมชาติอันว่างเปล่า ทว่ากลับมิได้
    กระทำเป็นอื่น นี่คือแก่นแท้ของการบำเพ็ญบารมีหกและโพธิสัตวมรรค



    การกระทำการเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นนี้เรียกว่า การสั่งสมบุญกุศล เรา
    ย่อมควบคุมจิตใจแบบแบ่งแยกนี้ไว้โดยอาศัยอุบายจากบารมีทั้งห้าในบารมี
    หก ภายใต้กรอบของบัญญัติเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่นภายในโลกแห่งความ
    ฝันแห่งประสบการณ์เชิงสัมพัทธ์นี้ ส่วนการฝึกการกำหนดรู้ภายในขอบข่าย
    ไร้บัญญัตินี้เรียกว่า การสั่งสมปัญญา " การกำหนดรู้ " ในที่นี้หมายถึง การ
    ตระหนักได้ถึงธรรมชาติที่แท้ของภูมิสาม โดยไม่ต้องอาศัยความคิด เราจึง
    ไม่ตกไปสู่ความเห็นอันสุดโต่งที่ว่าทุกสิ่งดำรงอยู่ตามที่ปรากฏ ทั้งไม่ตก
    ไปสู่ขั้วตรงข้ามที่ปฏิเสธว่าไม่มีสิ่งใดอุบัติขึ้น



    ด้วยเหตุที่พื้นฐานแห่งประสบการณ์ของเรานั้นประกอบด้วยสมมติและ
    ปรมัตถสัจจ์ ดังนั้นเองทั้งการสั่งสมบุญและปัญญาจึงจำเป็นยิ่งสำหรับ
    การปฏิบัติ และไม่อาจขาดได้ในการบรรลุนิพพาน ด้วยเหตุที่ในพุทธ
    ศาสนานิกายวัชรยานคือมรรคาแห่งการหลอมรวมเข้าด้วยกัน หรือการ
    ไม่แบ่งแยก ระหว่างการสั่งสมบุญและปัญญา เราจะฝึกฝนการดำรง
    ญาณทัศนะเยี่ยงนั้นไว้แม้ในการใช้ชีวิตประจำวัน กระทำการด้วยอุบาย
    ในโลกสามัญโดยไม่สูญเสียการกำหนดรู้ถึงธรรมชาติอันเป็นแก่นแท้ของ
    กิจกรรมทั้งมวล การกำหนดรู้เยี่ยงนี้ถือเป็นจุดสุดยอดของโพธิจิต ขณะ
    ที่กรุณาปณิธานที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นนั้นเป็นเพียงกิจในโลกสมมติ
    เท่านั้น




    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">[​IMG]



    ทั้งการสั่งสมบุญและปัญญาย่อมนำไปสู่การประจักษ์แจ้งในกายทั้งสอง
    คือ ธรรมกาย หรือดวงจิตตรัสรู้อันไร้รูป และนิรมาณกายหรือรูปกายที่
    สำแดงออกเพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ดังนั้นเองพื้นฐานแห่งประ
    สบการณ์ของเราคือการหลอมรวมความจริงทั้งสองเข้าด้วยกัน และหน
    ทางของเราก็คือการหลอมรวมบุญบารมีและปัญญาเข้าด้วยกัน ซึ่งจะนำ
    ไปสู่มรรคผล คือการรวมกันเข้าของกายทั้งสอง ธรรมกายอันไร้รูปกับ
    นิรมาณกายของพระอริยเจ้า



    และผลบุญที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม เราอาจอุทิศให้แก่สรรพสัตว์หาก
    คุณอาศัยอยู่ในบ้านที่มืดมิด แสงจากประทีปน้ำมันเนยแม้เพียงหนึ่งดวง
    ก็อาจส่องแสงวับแวมไปทั่วทั้งห้อง และทุกผู้คนที่อยู่ในนั้นก็อาจได้รับ
    ประโยชน์ เมื่อน้ำมันถูกเผาสิ้นแล้ว แสงก็จะดับวูบลง ผู้ใดก็ตามที่ช่วย
    เติมน้ำมันลงไปในประทีปย่อมช่วยให้แสงส่องสว่างอยู่สืบไป และทุกผู้
    คน ผู้ใดก็ตามที่สร้างกุศลและอุทิศให้แก่สรรพสัตว์ย่อมช่วยให้ผลบุญ
    ของส่วนรวมนั้นดำรงอยู่ได้นานขึ้น





    ศานติเทพเคยกล่าวไว้ว่า ลอมฟางแม้สูงใหญ่เท่าเขาพระสุเมรุก็อาจแผด
    เผาลงเป็นเถ้าเพียงด้วยประกายไฟเล็ก ๆ แม้บุญกุศลอันได้สั่งสมมานาน
    นับกัปกัลป์ทว่ามิได้อุทิศแด่สรรพสัตว์ กุศลเหล่านั้นก็อาจย่อยยับลงใน
    คราเดียวด้วยแรงโทสะ หากเราบำเพ็ญบุญบารมีด้วยปณิธานแห่งโพธิจิต
    และอุทิศผลบุญเหล่านั้นแด่สรรพสัตว์ กุศลเหล่านั้นย่อมไม่เสื่อมสูญ และ
    เพื่อการกระทำให้การอุทิศนั้นยิ่งทรงพลังแรงกล้า เราพึงภาวนาว่าขอให้
    เป็นเฉกเช่นเหล่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งจักอุทิศกุศล
    ผลบุญแด่เหล่าสัตว์เสมอไป



    การจะหันเหจิตไปสู่ความไม่เห็นแก่ตน เราจำเป็นต้องเพ่งพิจารณาโพธิ
    จิตครั้งแล้วครั้งเล่า ดุจดังการเพ่งพิจารณาทิฏฐิสี่ พึงเพ่งพินิจความกรุณา
    จินตนาการให้ตนเองได้ร่วมรับทุกข์ของผู้อื่น ครั้นแล้วก็ให้ดวงจิตพำนัก
    อยู่ตรงนั้น ตั้งใจที่จะกระทำทุกวิถีทางเท่าที่สามารถเพื่อช่วยปลดเปลื้อง
    ความทุกข์ของเหล่าสัตว์ และช่วยเขาเหล่านั้นให้ได้พบอิสรภาพ ให้ตื่น
    ขึ้นจากห้วงฝันแห่งทุกข์ ภาวนาขอพรจากไตรสรณคมน์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ทั้งมวลเพื่อให้ปณิธานนี้ได้บรรลุไพบูลย์ผล ครั้นแล้วพึงเพ่งพินิจอุเบกขา
    ธรรม ทุกข์อันเท่าเทียมกันของเหล่าสัตว์ ทั้งผู้ที่ทนทุกข์อยู่ในปัจจุบัน และ
    ผู้ที่จะต้องได้รับทุกข์เมื่อผลกรรมสุกงอม พึงพิจารณาความเมตตาเอื้อเฟื้อ
    ที่สัตว์เหล่านั้นเคยมอบให้ เป็นความเมตตาของมารดาผู้ถนอมกล่อมเลี้ยง
    ครั้นแล้วก็ผ่อนคลายดวงจิตลง ตั้งจิตมั่น ภาวนา กระทำดังนี้เรื่อยไป



    หากคุณกระทำดังนี้ตลอดทั้งวัน หาช่วงเวลาสั้น ๆ กระทำภาวนาตามขั้น
    ตอนเหล่านี้ จิตใจของคุณย่อมเปลี่ยนแปลงไป ประสบการณ์แห่งสังสาร
    วัฏนั้นเป็นเหมือนกับการติดกับอยู่ในถุง ทุก ๆ ครั้งที่ชักนำดวงจิตไปสู่
    การภาวนา เท่ากับเป็นการเจาะรูเล็ก ๆ ขึ้นบนถุงใบนั้น หากกระทำสืบ
    ต่อไปไม่หยุดยั้ง ถุงนั้นจะค่อย ๆ เปื่อยขาดไปจนกระทั่งคุณหลุดพ้นเป็น
    อิสระ เมื่อใดก็ตามที่คุณมีจิตเจตนาอันบริสุทธิ์ในทุกสิ่งที่กระทำลงไป
    ทุกกิจกรรมของเราก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติเช่นกัน




    @ ถาม : การจะทำให้ความกรุณาของเรามีผลในทางปฏิบัติจำเป็นหรือไม่
    ที่เราจะต้องออกไปสู่โลกและกระทำการดังเช่นช่วยเหลือคนไร้บ้าน



    @ ตอบ : เป็นการดีหากปรารถนาจะช่วยเหลือผู้คนในทางใดทางหนึ่ง แต่
    จะต้องระวังให้จงหนัก ด้วยเหตุที่พิษร้ายในดวงจิตอาจทำให้การกระทำ
    ของคุณมัวหมอง ดังเช่นคุณอาจคิดว่า " หากฉันได้ช่วยเหลือคนจร ก็นับ
    ได้ว่าฉันเป็นคนดี " หรืออาจรู้สึกทำนองว่า " ฉันก็ยังดีกว่าคนจร ตรงที่ฉัน
    ได้ช่วยเหลือเขา " หรือคุณอาจคิดว่า " ไปช่วยคนจรดีกว่า เพื่อที่ผู้คนจะได้
    ไม่คิดว่าฉันปล่อยให้เขาต้องไปนอนตามข้างถนน " ถ้าหากคนที่คุณกำลัง
    หยิบยื่นขนมปังให้มากัดมือคุณและคุณรู้สึกโกรธ หรือถ้าหากเขาแย้มยิ้มให้
    และคุณก็มีความสุข การกระทำดังกล่าวย่อมถือได้ว่ายังคงมัวหมองอยู่ด้วย
    ความสำคัญตนผิด ความติดยึดและความแค้นเคือง มลทินกิเลสเหล่านี้อาจ
    แสดงออกด้วยอาการอันละเอียดแยบยลยิ่ง นี่คืออุปสรรคซึ่งผู้คนเป็นอัน
    มากไม่อาจข้ามพ้น


    หรือบางทีคุณสามารถช่วยเหลือผู้คนได้นับพันหรือนับหมื่น แต่เขาอาจ
    เกลียดคุณก็ได้ที่ไปช่วย หรือความพยายามของคุณอาจไม่เป็นผล และผู้
    คนเหล่านั้นก็ยังทุกข์ยากอยู่ดี ยังคงไม่ได้นอนในบ้านแทนบาทวิถี



    นี่ไม่ได้หมายความว่าเราควรจะทำตัวเมินเฉยไม่รู้สึกรู้สม เราพึงกระทำ
    ทุกวิถีทางเท่าที่สามารถเพื่อช่วยแบ่งเบาทุกข์ของผู้อื่นในปัจจุบัน แต่ใน
    ขณะเดียวกันเราจะต้องแผ่ขยายออกไปสู่ความทุกข์ยากเดือดร้อนของ
    สรรพสัตว์ทั้งมวลด้วย นับว่าสำคัญยิ่งที่เราจะต้องไม่มองแค่เฉพาะหน้า
    และจดจ่ออยู่กับความทุกข์ยากของมนุษย์จนลืมนึกถึงสัตว์ในภพภูมิอื่น ๆ
    ความทุกข์ของคนจรแม้นับว่าหนักหนาสาหัส แต่ก็มิได้ใหญ่หลวงไปกว่า
    ความทุกข์ทรมาณของสัตว์ในนรกภูมิ ความเดือดร้อนเฉพาะหน้าย่อมแตก
    ต่างจากความทุกข์ร้อนอันยิ่ง เราจะต้องไม่ใสซื่อเกินไปในเรื่องเหล่านี้



    ก่อนที่เราจะสามารถช่วยผู้อื่นได้อย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องบ่มเพาะคุณ
    สมบัติด้านดีในตัวให้กล้าแข็งเสียก่อน เมื่อนั้นเราจึงจะไม่ตอบโต้ความ
    โกรธด้วยความโกรธ ทว่าตอบรับด้วยเมตตา การจะช่วยผู้ที่กำลังจมน้ำ
    ได้ เราจำต้องว่ายน้ำให้เป็นก่อน หาไม่แม้ว่าเราอยากจะช่วยก็คงต้องจม
    น้ำไปด้วยกันเป็นแน่



    กล่าวสั้น ๆ ก็คือ เราจำเป็นต้องปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยสิ่งนี้จะช่วยให้เรา
    เปี่ยมด้วยศักยภาพที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้มากขึ้น เราจะสามารถช่วยเขาได้
    ทั้งในระดับตื้นและลึก เราไม่บังควรคิดว่า " ฉันไม่มีเวลาจะมาฝึกสมาธิ
    หรอก เพราะต้องทำงานอยู่แต่ในครัว " เราควรจะหาทางทำทั้งสองอย่าง
    ไปพร้อม ๆ กัน



    เราควรจะสัมผัสความทุกข์ดูด้วยตัวเองเพื่อที่จะได้เข้าใจความทุกข์ของผู้
    อื่น มิเช่นนั้น การกระทำเพื่อผู้อื่นจะกลายเป็นแค่ทฤษฎี ถ้าหากลูกของ
    คุณเกิดตกลงไปในหลุมลึกนอนรอชะตากรรมอยู่ คุณคงจะกระทำทุกวิถี
    ทางเพื่อที่จะช่วยลูกออกมา หัวใจคุณคงจะต้องทนทุกข์ปวดร้าวจนกว่าจะ
    สามารถช่วยลูกให้รอดปลอดภัย คุณพึงรู้สึกอย่างเดียวกันต่อสรรพสัตว์
    อื่น ๆ ซึ่งได้เคยเป็นบุตรหรือเป็นบุพการีของคุณมาก่อน



    ทว่าความกรุณาอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ คุณคิดว่าควรจะช่วยผู้อื่นโดย
    การนำตัวมาจากข้างถนนและให้ที่พัก หากเข้าใจเพียงแค่นั้นก็ยังนับว่า
    จำกัด คุณจำต้องลงลึกให้ถึงมูลเหตุแห่งปัญหาเพื่อหาทางช่วย เพื่อประ
    โยชน์เฉพาะกาลและอุดมผล มิเช่นนั้น คุณก็อาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิต
    พยายามช่วยผู้อื่น แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน คุณยังมิได้บรรลุถึงอิสรภาพ และ
    ผู้คนที่คุณพยายามช่วยก็เช่นกัน คุณอาจสร้างภาพฝันสวยหรูให้ตนเอง
    และผู้อื่น แต่เมื่อพิจารณาจากสภาวจิตในขณะกระทำการ คุณอาจสำเร็จ
    ผลไม่มากนัก



    แต่หากคุณมีจิตใจและเจตนาอันบริสุทธิ์ แผ่กว้างและปราศจากมลทิน
    กิเลส เมื่อนั้นแม้แต่การกระทำที่ดูเล็กน้อยไร้ค่าที่สุดก็กลับก่อเกิดผลบุญ
    ยิ่งใหญ่ ยิ่งกว่าการกระทำอันดูยิ่งใหญ่เปี่ยมบุญกุศลภายนอกเสียอีก



    เจตนาเป็นตัวตัดสินแต่ละการกระทำที่เป็นกุศลหรืออกุศล ตัวอย่างเช่น
    เมื่อคุณมอบบางสิ่งบางอย่างให้เป็นทาน ผลบุญที่ได้รับย่อมไม่อาจเทียบ
    เคียงได้กับสิ่งที่มอบให้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ ถ้าคุณมอบสิ่งอันล้ำค่าให้
    ด้วยความมุ่งหวังอันเห็นแก่ตัว ผลบุญย่อมมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หาก
    คุณมอบสิ่งเล็ก ๆ ให้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ บุญกุศลย่อมยิ่งใหญ่ไพศาล



    ยังมีนักปฏิบัติผู้หนึ่งซึ่งปลีกเร้นกระทำสมาธิภาวนาอย่างหนักหน่วงทั้ง
    วันทั้งคืน อยู่มาวันหนึ่งเมื่อรู้ว่าโยมอุปัฏฐากจะมาเยือน ท่านก็รีบทำความ
    สะอาดหิ้งบูชาล้างจอกน้ำและปัดกวาดห้องพระ ขณะที่ท่านนั่งลงพักท่าน
    ก็ถามตนเองว่า " ฉํนทำสิ่งเหล่านี้ไปทำไม เจตนาของฉันหาได้บริสุทธิ์ไม่ "
    ดังนั้นจึงลุกขึ้นนำเถ้ามาโปรยลงบนหิ้งพระและทั่วทั้งพื้นห้อง



    การตีลูกนั้นดูน่าอายและคล้ายจะเป็นบาป แต่หากการตีนั้นเป็นเพียง
    วิธีเดียวที่จะกำราบมิให้เขาทำสิ่งผิด เมื่อนั้นนับว่าเป็นกุศลอันใหญ่



    ความสัตย์ซื่อนั้นนับว่าเป็นคุณธรรมประการหนึ่งและจำเป็นอย่างยิ่งที่
    เราจะต้องพูดความจริง แต่ควรจะกระทำด้วยเจตนาอันเหมาะสม ที่คุณ
    พูดความจริงนั้นเพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก หรือเพราะเห็นว่าการ
    พูดความจริงจะก่อให้เกิดผลดีต่อทุกคน ถ้าคุณพูดความจริงเพียงเพื่อ
    พิสูจน์ยืนยันตนเอง นั่นก็เป็นเพียงการกระทำจากทิฏฐิมานะเท่านั้น



    สมมติว่าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์ซึ่งมีชายผู้หนึ่งวิ่งผ่านคุณไปด้วย
    อาการหวาดกลัวและหลบเข้าไปทางประตูนั้น อีกชั่วขณะต่อมามีคน
    ถือมีดไล่ตามมา และถามคุณว่า " มันไปทางใหน " คุณจะตอบตาม
    ความสัตย์หรือจะปฏิเสธว่าไม่เห็น สิ่งที่ดูเหมือนการกระทำอันเป็น
    อกุศลก็อาจนับเป็นกุศลกรรมได้ หากกระทำลงไปอย่างมีเหตุผล



    ในกรณีนี้โพธิสัตว์ย่อมเลือกที่จะพูดปด โดยพร้อมที่จะรับบาปเสียเอง
    โพธิสัตว์ย่อมไม่ปรารถนาให้คนผู้นั้นถูกฆ่า หรือคนที่จะฆ่าก่อกรรมทำ
    เข็ญขึ้น



    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">
    [​IMG]



    @ ถาม : บางครั้งผมพยายามเต็มที่เพื่อจะทำให้ดีที่สุด แต่ยังรู้สึกว่าสิ่ง
    ที่กระทำลงไปไม่ได้ก่อเกิดผลอะไรนัก



    @ ตอบ : มีเรื่องเล่าถึงหญิงผู้หนึ่งซึ่งเดินทางไปยังอารามอันงดงามแห่ง
    หนึ่งในลาซา เพื่อไปไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งกล่าวกันว่าพระพุทธ
    องค์ทรงประทานพรให้แก่รูปนนั้นด้วยพระองค์เอง ด้วยเหตุที่นางเป็นคน
    ยากจนเข็ญใจจึงไม่มีสิ่งใดไปบุชานอกจากซุปหัวเทอร์นิป นางจึงกล่าว
    แก่พระพุทธรูปว่า " บางทีพระองค์อาจไม่ชอบซุปหัวเทอร์นิป แต่ข้าน้อย
    ก็มีแต่สิ่งนี้เท่านั้นที่จะนำมาถวาย " นี่ก็คล้ายกับเรื่องราวของเรา เราอาจ
    ไม่ชอบของที่เรานำไปบูชานัก แต่หากเราได้ทำดีที่สุดแล้ว ก็ทำได้เพียง
    แค่นั้น


    ครั้นเมื่อมาดูกันเรื่องเจตนา ครั้งหนึ่งยังมีคนผู้หนึ่งซึ่งสร้างบุญด้วยการ
    ปั้น ซา-ซา หรือรูปปั้นเล็ก ๆ ของเหล่าอริยสัตว์ วันหนึ่งคนผู้นี้นำรูป
    ปั้นเล็ก ๆ นี้ไปวางไว้มทางแล้วจากไป



    มีชายผู้หนึ่งผ่านทางมา และเห็นฝนซัดสาดรูป ซา-ซา นั้น จึงคิดขึ้นว่า
    " น่าอนาถแท้ ที่รูปปั้นี้จะต้องละลายไปในสายฝน " สิ่งดียวที่เขาหาได้
    ในขณะนั้นคือส้นรองเท้าที่ทิ่งอยู่ ดังนั้นเขาจึงนำส้นรองเท้าที่ทิ้งอยู่
    ดังนั้นเขาจึงนำส้นรองเท้าไปวางบังฝนให้รูปนั้น แล้วจากไป



    มีชายคนที่สามผ่านมาเห็นส้นรองเท้าวางอยู่เหนือรูป ซา-ซา นั้น จึงคิดอยู่
    ในใจว่า " ช่างทุศีลยิ่ง ที่มีคนนำเอาส้นรองเท้าไปวางไว้เหนือรูปปั้นอริย
    บุคคลเยี่ยงนี้ " ดังนั้นเขาจึงจับมันขว้างทิ้งไป


    แต่ละคนล้วนมีเจตนาอันเป็นกุศล และการกระทำของทุกคนล้วนเป็นไป
    เพื่ออริยจิต



    @ ถาม : เป็นไปได้หรือไม่ที่การกระทำเดียวกันภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่าง
    ย่อมก่อให้เกิดผลบุญที่แตกต่างกันไป



    @ ตอบ : ขึ้นอยู่กับว่ากระทำกับผู้ใด ถ้าหากคุณให้ทานกับคนยากจนอด
    อยากหิวโหย หรือให้ทานกับคนผู้ไร้ที่พึ่งพิง ทานนั้นย่อมเปี่ยมกุศลยิ่ง
    กว่าที่กระทำกับผู้คนทั่วไป ที่เป็นดังนี้เพราะความตื้นตันยินดีของผู้ขัดสน
    เหล่านั้นเปี่ยมล้นยิ่งกว่า ทั้งการให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติธรรมยังก่อให้เกิดผล
    บุญยิ่งกว่าทานที่ให้แก่ผู้คนสามัญ ด้วยเหตุที่ผู้ปฏิบัติย่อมอุทิศกุศลผลบุญ
    ของตนให้แก่สรพสัตว์และทานเดียวกันนี้ที่มอบแด่ผู้ปฏิบัติผู้บรรลุธรรม
    ก็ยิ่งก่อให้เกิดผลบุญอันใหญ่หลวง ด้วยเหตุที่พลังแห่งการประจักษ์แจ้ง
    ของคนผู้นั้นย่อมโน้มนำไปสู่ความปีติยินดีและการอุทิศกุศลทั้งมวลแด่เหล่า
    ชนซึ่งผู้ปฏิบัตินั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย



    @ ถาม : ท่าพอจะกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสบการณ์การเข้าถึงธรรม
    ชาติที่แท้อีกสักเล็กน้อยได้หรือไม่



    @ ตอบ : ลำพังแค่การพูดถึงคงไม่ช่วยอะไรได้มาก คงจะดีกว่า หากละ
    ทิ้งความคาดหวังและความหวาดหวั่นลงเสีย สงบจิตรำงับลง และปล่อย
    ให้ประสบการณ์อันอยู่เหนือความคิดนั้นผุดขึ้นมา นั่นมิใช่สภาวะอันทึบ
    ทึมซึมเซาไม่เหมือนกับการตกอยู่ในอาการโคม่า


    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าธรรมชาติที่แท้ของเราเป็นดังนั้น หามีถ้อยคำเรียก
    ขานไม่ หากคุณมีถ้อยคำที่สามารถอธิบายได้ ก็เท่ากับติดอยู่ในความคิดและ
    หลงทางอยู่ในนั้น สัจจะนั้นอยู่แบชิดยิ่ง ทว่าเรากลับมิได้ตระหนักถึง


    มันเป็นเหมือนกับม้าที่อยู่ในคอกใต้ถุนบ้าน เราเที่ยวค้นหาไปทั่ว ตามรอย
    มันไป สงสัยว่ามันอยู่ที่นี่หรืออยู่ที่ไหนกันแน่ คิดว่าเป็นสิ่งนี้หรือสิ่งนั้น แต่
    มันกลับมิได้อยู่ที่ใดเลย และมิใช่อะไรทั้งสิ้น เป็นเพราะความคิดและอวิชชา
    ในดวงจิตของเราเท่านั้นที่บดบังมิให้แลเห็น เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้รับการชำระ
    ล้าง เราย่อมประจักษ์แจ้งถึงธรรมชาติของเราได้โดยตรงตามที่มันเป็น



    ผู้ที่ไม่เคยได้ลิ้มรสน้ำตาลอาจเที่ยวถามใครต่อใครว่ามันมีรสชาติอ่างไร คำ
    ตอบก็อาจเป็นทำนองว่า " มันมีรสหวาน " แต่ " หวาน " นั้นเป็นอย่างไรเล่า
    คงไม่มีทางที่จะอธิบายได้ คุณจำต้องลิ้มรสด้วยตัวเอง ในทำนองเดียวกัน ประ
    สบการณ์ตรงถึงธรรมชาติที่แท้นั้นก็ไม่อาจอธิบายด้วยถ้อยคำ



    @ ถาม : ม้าที่อยู่ในคอกใต้บ้านนั้นมีหลายตัวหรือตัวเดียว



    @ ตอบ : อาจกล่าวได้ว่ามีหลายตัว นี่ดูจะใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า
    ถ้าหากมีม้าเพียงตัวเดียวและมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีม้า ก็หมายความว่า
    คนอื่น ๆ นั้นหามีไม่ แท้จริงแล้วสัตว์ทุกรูปทุกนามล้วนมีธรรมชาติแห่ง
    พุทธะ อย่างไรก็ตามหากคนผู้หนึ่งได้ประจักษ์แจ้งถึงธรรรมชาติที่แท้ของ
    ตน ก็มิได้หมายความว่าทั้งหมดจะตรัสรู้ด้วยในทำนองเดียวกันนี้ คนผู้
    หนึ่งอาจต้องทนทุกข์อยู่ในนิรยภูมิ แต่มิได้หมายความว่าทุกผู้คนต้องอยู่
    ในนรกเช่นกัน


    แต่ถ้าเราคิดว่ามีม้าอยู่หลายตัว เราก็เริ่มจะแลเห็นความแตกต่าง ดังเช่น
    ม้าตัวใหญ่ ตัวเล็ก สูงหลายคืบ หลายศอก ฯลฯ ทว่าเราไม่มีทางหยั่งถึง
    สัจจะธรรมชาติของเรา ด้วยเหตุว่าความว่างนั้นหาได้มีขอบเขตอันจำกัด
    ไม่ ในทำนองนี้คุณก็อาจกล่าวได้ว่า เรากำลังพูดถึงม้าตัวอื่น



    ทว่าโดยสารัตถะแล้ว คุณก็ไม่อาจกล่าวได้ทั้งสองอย่าง ว่ามีเพียงหนึ่ง
    หรือหลาย คุณกำลังถามในระดับของการแบ่งแยกและเปรียบเทียบ และ
    ข้าพเจ้าก็ตอบในระนาบเดียวกัน ทว่าสัจธรรมนั้นอยู่พ้นไปจาก " หนึ่ง "
    หรือ " หลาย "




    @ ถาม : ท่านได้กล่าวถึงอุบายวิธีหลายประการด้วยกัน เราจะรู้ได้
    อย่างไรว่าจะใช้วิธีไหนและเมื่อใด




    @ ตอบ : จิตใจอันคับแคบของเราสร้างกำแพงขึ้นล้อมรอบตัวเอง ผนัง
    ห้องนี้กางกั้นจทำให้ดูเหมือนว่าฟากฟ้าภายนอกนั้นแตกต่างจากพื้นที่
    ว่างภายใน ทว่าโดยพื้นฐานแล้วหามีความแตกต่างใดไม่ ในทำนองเดียว
    กันก็หาได้มีความแตกต่างใด ๆ ไม่ระหว่างธรรมชาติที่แท้แห่งกาย วาจา
    ใจ ของเราและอริยสัตว์ ธรรมชาติอันสูงสุดนั้นไร้ต้นกำเนิดและไม่
    มีที่สิ้นสุด ดุจดังฟากฟ้า


    ดังนั้นเราจะทลายกำแพงลงได้อย่างไร แรกสุดเราต้องพิจารณาดูความ
    ทุกข์ของผู้อื่น แผ่ความกรุณาออกและให้ดวงจิตผ่อนพักอยู่ในนั้น ครั้น
    แล้วเราก็นึกจินตนาการมอบความสุขของเราแลกกับความทุกข์ของผู้อื่น
    ครั้นแล้วก็ผ่อนพักดวงจิตอีกครั้ง


    เมื่อเริ่มแรกปฏิบัติสมาธิภาวนา เราเพ่งพิจารณาพรหมวิหารสี่ ครั้นแล้ว
    ค่อย ๆ ก่อเกิดการตระหนักรู้ขึ้นในการปฏิบัติ ถึงมายาสภาวะแห่งประ
    สบการณ์ของเรา ซึ่งจะโน้มนำให้เกิดความกรุณาต่อผู้ที่ไม่เข้าใจ ขณะ
    ที่การปฏิบัติและญาณทัศนะของเรายิ่งลุ่มลึกขึ้น เราจะเริ่มตระหนักถึง
    ธรรมชาติอันแท้จริงของรูปปรากฏอันเป็นชั่วคราวเหล่านี้ ดังกระแส
    คลื่นอันถาโถมทยอยในมหาสมุทรเท่านั้น หากปราศจากมหาสมุทร ก็
    หามีคลื่นได้ไม่ ความเข้าใจดังนี้จะไปสู่การปรับเปลี่ยนมุมมอง มิใช่ประ
    สบการณ์ภายนอกของเราได้เปลี่ยนไปตามที่เราแลเห็น นี่เป็นเหมือนดั่ง
    การสวมแว่นที่แตกต่างจากอันเดิม


    ถ้าหากเราเป็นไข้ เราต้องกินยาที่เหมาะสมแก่อาการ แต่ถ้าความยึดมั่น
    ถือมั่นในทางโลกของเราเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้ปฏิบัติธรรมอย่างพาก
    เพียร เราจะต้องเพ่งพิจารณาอนิจจังและความทุกข์ในสังสารวัฏ เพื่อตระ
    หนักถึงมายาแห่งชีวิตในทางโลก แต่ถ้าจุดของเราอยู่ตรงความเห็นแก่
    ตัวและความโลภ เราจะเพ่งพิจารณาความทุกข์ของผู้อื่นและฝึกฝนความ
    กรุณา การจะตระหนักรู้ถึงการแบ่งแยกในดวงจิต เราจะปล่อยให้จิตใจ
    ได้ผ่อนพัก ดังนั้นไม่ว่าจะมีพิษร้ายหรือปัญหาใดอุบัติขึ้นในดวงจิต เรา
    ย่อมหายาแก้ที่เหมาะสม


    องค์ศากยมุนีพุทธทรงกล่าวว่ามีแปดหมื่นสี่พันวิธีในการไถ่ถอนอวิชชา
    ในดวงจิต นี่ไม่ได้หมายความว่าเราแต่ละคนจะต้องฝึกฝนอุบายทั้งหมด
    นี้ ด้วยว่าในร้านขายยานั้นย่อมมีตัวยาอยู่นับร้อยนับพัน ทว่าคนแต่ละคน
    ย่อมซื้อหามาเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่มียาขนานใดรักษาโรคได้ทุกโรค
    ทั้งไม่มีขนานใดทรงประสิทธิภาพตลอดการรักษา ดังเช่น หลังจากหาย
    ไข้แล้ว เราอาจต้องใช้ยาตัวใหม่เพื่อขจัดพิษออกจากร่างกาย



    ที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องตระหนักว่าตัวเรานั้นป่วยไข้และจำเป็นต้องทำ
    การรักษาให้หายขาดด้วยความใส่ใจและอดทนพวกเพียร เมื่อนั้นย่อมมี
    ความเปลี่ยนแปลงอุบัติอย่างไม่ต้องสงสัย


    * จาก ประตูสู่การภาวนา *
    -ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
    - แห่งวัชรนิกายของทิเบต-

    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_5773 vAlign=bottom></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%">http://community.buddhayan.com/index.php/topic,1233.0.html</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext id=modified_5768 vAlign=bottom></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...