ปฏิปทาอันไม่ผิด

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 18 มีนาคม 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]
    [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ

    [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรม ๔ ประการย่อมเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
    คือ เนกขัมมวิตก ๑ อพยาปาทวิตก(ไม่คิดพยาบาท) ๑ อวิหิงสาวิตก(ไม่คิดเบียดเบียน) ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    หน้าที่ ๗๖/๒๔๐หัวข้อที่ ๗๑ -๗๒
    ภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว เป็นอย่างไร
    มหาราชะ ! ภิกษุเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
    มหาราชะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละปาณาติบาตเว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้วมีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,
    เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทานถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ เป็นคนสะอาด ไม่เป็นขโมยอยู่; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,
    เป็นผู้ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจาก
    การเสพเมถุน อันเป็นของชาวบ้าน; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,
    เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด ควรเชื่อถือได้ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,
    เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ่ายนี้แตกร้าวกัน หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อให้ฝ่ายโน้นแตกร้าวกัน แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้ว ให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,
    เป็นผู้ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกันเป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,
    เป็นผู้ละคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริงเป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้งมีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์สมควรแก่เวลา; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว, เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมและการดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกแก่กุศล,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตกแต่งด้วยมาลาและของหอมและเครื่องลูบทา,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่,เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเงินและทอง,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าวเปลือก,เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและเด็กหญิง,เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โคม้า ทั้งผู้และเมีย,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการรับที่นาและที่สวน,เป็นผู้เว้นขาดจากการรับใช้เป็นทูตไปในที่ต่าง ๆ,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย,เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การลวงด้วยของ
    ปลอมและการฉ้อด้วยเครื่องนับ,เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยการนับสินบนและล่อลวง,
    เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้น และการกรรโชก,
    แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง,
    เป็นผู้มีความเพียรเป็นอย่างไร
    ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินการนั่ง เวลากลางคืน ในปฐมยาม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินการนั่ง เวลากลางคืน ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้ามีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น เวลากลางคืน ในปัจฉิมยาม ลุกขึ้นแล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง
    ดูกรมหานาม อย่างนี้แลอริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น.
    ม. ม.13/24/30
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือครุ่นคิดด้วย
    ความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา, และ
    ภิกษุก็ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ; ภิกษุที่เป็น
    เช่นนี้แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามกเป็นคนปรารภความ
    เพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.
    (ในกรณีของการ ยืน,นั่ง,นอน ก็ได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกัน )
    เป็นผู้มีปัญญา เป็นอย่างไร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับเป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๒๕๙/๓๗๙ข้อที่ ๑๗๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • C3_IMG_1854.jpg
      C3_IMG_1854.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123.6 KB
      เปิดดู:
      169

แชร์หน้านี้

Loading...