ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน (สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 21 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <CENTER>[SIZE=+2]ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน[/SIZE]
    [SIZE=+2] (สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร)[/SIZE]</CENTER>
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ..........ระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า

    ..........ระภิกษุ ที่ได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่งกองทัพธรรม พระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้ได้บำเพ็ญความเพียร ในขั้นเอกอุ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด
    .......... พระป่า หรือพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    .......... สำหรับพระเถระผู้มีบทบาท ในการสร้างหลักปักธงชัย พระกรรมฐาน ในแผ่นดินที่ราบสูง แดนอีสานได้แก่
    ..........ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    ..........หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="40%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD>.......... และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ซึ่งกาลต่อมา ได้ให้การอบรม สั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์ เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชน ได้ผลดี เป็นอันมาก ต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่า วัดวา ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ตามแบบที่เรียกว่า "วัดป่า" ที่เน้นธรรมชาติ ความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ..........พระสายนี้ ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทา ตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์
    ..........พระป่าพระธุดงคกรรมฐาน จะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ ที่เรียกท่าน ด้วยความเคารพอย่างสูงว่า
    "พ่อแม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพนับถือ ดุจบิดรมารดาแลครูอาจารย์

    .......... ผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็จะปกครอง อบรมดูแล ลูกศิษย์ ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่ แลครูอาจารย์ เช่นกัน <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="40%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD> ..........ระมาณปี พ.ศ.2459 เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอย เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ ในภาคอีสาน โดยเฉพาะ ทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่รังสีธรรม แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้แผ่ไปถึง
    </TD></TR></TBODY></TABLE> ..........พระป่าทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญานั้น ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ สมณะเพศ เพราะการรักษาศีล ต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีล ให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลย ที่จะก้าวหน้า ในทางธรรมชั้นสูง
    ..........ศีล เป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ ทำให้บังเกิดสมาธิ และตั้งมั่น ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้ นอกจากนั้น ในการจาริกธุดงค แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต ต้องฟันฝ่าอุปสรรค นานาประการ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะป้องกัน ที่ดีที่สุด <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="50%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD> .......... พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ละรูป ตามประวัติได้ เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติ และมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่าน ได้เป็นเกราะแก้ว คุ้มกันพิทักษ์ รักษาพระคุณเจ้า ประสพสวัสดิภาพ ด้วยดีด้วยศีล ด้วยบุญกุศล ..........พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทา ที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทา ที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ
    ซึ่งหลักปฏิปทานี้ คือ ธุดงควัตร 13 ขันธวัตร 14 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมี กรรมฐาน 40 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไป ในอริยาบทต่าง ๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร 13 และวัตรต่าง ๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวล ล้วนเป็นธรรม เครื่องอบรมบ่มนิสัย ที่ติดกายมา ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส และเป็นธรรม ที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหา ให้หมดสิ้นไป
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width?40%?><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD width?40%?> ..........การถือธุดงค์ ของพระป่า พระธุดงคกรรมฐาน เป็นเจตนา ที่แสดงออก เพื่อประหารกิเลส ของตน เกี่ยวเรื่อง เครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัย และความเพียร ด้วยข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    .......... ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย
    ..........1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ..........2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
    ..........3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ..........4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
    ..........5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
    ..........6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ..........7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
    ..........8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    ..........9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
    ..........10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
    ..........11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    ..........12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
    ..........13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
    .......... การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา
    ..........คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="83%" border=0><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD> ..........อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม"พุทโธ" อยู่กับสายลมหายใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ..........การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร ..........พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><CENTER><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="40%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD>สรุปพระภิกษุฝ่ายอรัญวาส
    ในพระพุทธศาสนา พระภิกษุ แบ่งออกได้เป็นสองฝ่าย คือ

    </TD></TR></CENTER></TBODY></TABLE>..........
     

แชร์หน้านี้

Loading...