ปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 18 พฤศจิกายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    คำว่าปฏิบัติที่ใช้กันในภาษาไทย กับปฏิบัติในภาษาบาลี ความหมายไม่ตรงกัน
    กล่าวคือ โดยมากจะเข้าใจกันว่า เป็นการไปทำ แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่การไปทำ
    เพราะเหตุว่า ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ ไม่ใช่การไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมา
    แต่ธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรม นั่นก็คือ สติ และ สัมปชัญญะ ( ปัญญา) เกิดขึ้น
    ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้อง
    อาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจขึ้นไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าถ้า
    ไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว การปฏิบัติถูกต้อง ย่อมมีไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น
    ความเข้าใจ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับคำว่า ปฏิบัติธรรมนั้น ในพระไตรปิฎก
    แสดงถึงคำเต็มไว้ คือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    คือ สมควรแก่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุมรรค ผล นิพพาน
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 422
    ชอบยิ่ง เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร. ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติ
    ธรรมอันชอบยิ่ง. ชื่อว่า อนุธมฺมจารีอนุธมฺมจารี เพราะประพฤติบำเพ็ญธรรมอันสมควร
    กล่าวคือ บุพพภาคปฏิปทานั้นนั่นแล. ก็ศีล อาจารบัญญัติการสมาทานธุดงค์
    สัมมาปทาถึงโคตรภูญาณ พึงทราบว่า ปุพพภาคปฏิปทา. เพราะฉะนั้น ภิกษุ
    ตั้งอยู่ในอคารวะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ภิกษุนี้ชื่อว่า
    ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ส่วนภิกษุใดไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้วแก่ตน
    ทั้งหมดที่ขีดคั่นเขตแดนและเส้นบรรทัดของพระชินเจ้าแม้มีประมาณน้อย
    ภิกษุนี้ ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. แม้ในภิกษุณี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่น อุบาสกนี้ชื่อว่า
    ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ส่วนอุบาสกปฏิบัติให้สมบูรณ์ในสรณะ ๓
    ศีล ๕ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทาน บูชาด้วยของหอม
    บูชาด้วยมาลา บำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์ อุบาสกผู้นี้ ชื่อว่าเป็น
    ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แม้ในอุบาสิกา ก็นัยนี้เหมือนกัน
    ในธรรมกถิกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. เล่ม 26

    บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่าย. บทว่า วิราคาย
    ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด. บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับสนิท.
    ความในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ พึงทราบว่า ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีล
    จนถึงอรหัตมรรค. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติ
    ปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานธรรมอันเป็นโลกุตระ. บทว่า อนุธมฺมภูตํ
    ได้แก่ อันมีสภาวะที่สมควร. บทว่า นิพฺพิทา วิราคา นิโรธา ได้แก่
    เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและเพราะดับไป. บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต
    ได้แก่ พ้นเพราะไม่ยึดถือธรรมอะไร ๆ ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า

    เล่มที่ 16 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
    ข้อว่า โสตาปตฺติยงฺคานิ ความว่า องค์แห่งการบรรลุกระแส.
    อธิบายว่า เหตุแห่งการได้โสดาปัตติมรรค. ข้อว่า สปฺปุริสสํเสโว ความว่า
    การเข้าไปคบหาสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ข้อว่า สทฺธมฺมสฺสวนํ
    ความว่า การฟังธรรมคือ พระไตรปิฏกอันเป็นที่สบาย. ข้อว่า โยนิโสมน-
    สิกาโร ความว่า การทำไว้ในใจด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ เป็นต้น.
    ข้อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ความว่า ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันมีในส่วน
    เบื้องต้น อันเป็นธรรมไปตามโลกุตตรธรรม.

    เล่ม 27 ในอนุธรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนสฺส ความว่า ผู้ปฏิบัติปุพพภาค-
    ปฏิปทาอันเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตตรธรรม ๙. บทว่า อยมนุธมฺโม
    ความว่า ธรรมนี้เป็นอนุโลมธรรม. บทว่า นิพฺพิทาพหุโล ได้แก่เป็น


    เล่มที่ 30 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
    และเป็นพหูสูตทางปฏิเวธ จึงชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม เพราะจำทรงธรรมคือ
    ปริยัติและปฏิเวธนั่นเอง. คำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติ
    ธรรม คือวิปัสสนาอันเป็นธรรมที่ไปตามธรรมของพระอริยเจ้า. คำว่าสามี-
    จิปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร. คำว่า อนุธมฺมจาริโน
    คือ เป็นผู้ประพฤติตามธรรมเป็นปกติ.

    เล่มที่ 34 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 103
    บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่
    โลกุตรธรรม ๙ คือบ่ฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล. บทว่า ทุกฺขสฺส
    ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ทำที่สุด
    คือพึงเป็นผู้ทำให้ขาดตอน ได้แก่พึงเป็นผู้ทำให้สุดทาง (ทุกข์).
    จบอรรถกภาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐
    อดทนด้วยกุศลจิตเพราะรู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นหน้าที่ของธรรม ไม่ใช่เราที่จะทำ
    ให้เข้าใจ ไม่ใช่เราที่จะทำให้ปัญญาเจริญ ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพ
    ธรรมที่ปรุงแต่งให้ปัญญาค่อยๆเจริญแต่ทีละเล็กละน้อย เมื่อเป็นหน้าที่ของธรรมย่อม
    ไม่เดือดร้อนในการอบรมปัญญาเพราะไม่มีตัวเราไปจัดการให้เข้าใจครับ สะสมเหตุให้
    ปัญญาเจริญคือการฟัง เข้าใจก็เข้าใจ ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจเพราะว่าเป็นหน้าที่ของธรรม
    จึงอดทนที่จะฟังพระธรรมต่อไปเพราะไม่มีหนทางอื่นเลยที่จะดับกิเลสนอกจากการเริ่ม-
    ที่ถูกต้องคือฟังให้เข้าใจ
    กว่าที่จะไปถึงการดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีการเกิดอีกเลยใน
    สังสารวัฏฏ์ เป็นการดับทุกข์ ดับวัฏฏะได้อย่างเด็ดขาด (อามิสในโลก คือ วัฏฏะอันเป็น
    ไปในภูมิ ๓)นั้น ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และเป็นเรื่อง
    ที่ไกลมาก ที่สำคัญจึงต้องเริ่มสั่งสมด้วยความเข้าใจธรรมที่ถูกต้องไปตามลำดับ
    การดับกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉทเป็นพระอรหันต์นั้นต้องอบรมเจริญ
    ปัญญายาวนานมาก จึงควรเริ่มด้วยการฟัง และศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ
    ค่อย ๆอบรมเจริญปัญญา และอบรมเจริญกุศลทุกประการ (บารมี ๑๐ )
    การดับกิเลสต้องประกอบด้วยภาวนา 4 คือ
    1.จิรกาลภาวนาคือการอบรมกุศลและปัญญาตลอดยาวนาน
    2.นิรันตรภาวนาคือการอบรมกุศลและปัญญาติดต่อกันไป
    3.สัพพสัมภารภาวนาคือการอบรมเจริญกุศลทุกๆประการ
    4.สักกัจจภาวนาคือการกระทำกุศลโดยเคารพ ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น
    ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม 74
    การที่ได้มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง เพื่อความ
    เข้าใจที่ถูกต้องเป็นปัญญาของตนเอง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตาม นั้น เป็นการมี
    ชีวิตอยู่ที่เป็นประโยชน์ เพราะขณะที่จะได้ฟังพระสัทธรรม หาได้ยากเป็นอย่างยิ่ง และ
    การที่จะเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง ก็ยาก ดังนั้น เมื่อมีโอกาสแล้วก็ไม่ควรที่จะ
    ปล่อยโอกาสนั้นให้หลุดลอยไป ค่อย ๆ ฟัง ค่อย ๆ สั่งสมความเข้าใจไปทีละเล็กที
    ละน้อย ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าต่อไปข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง และที่สำคัญ
    ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตายด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่ควรที่จะประมาท ไม่ประมาทในการเจริญ
    กุศลทุกประการ พร้อมทั้งเป็นผู้อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันด้วย มีพระพุทธ-
    พจน์บทหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเตือนพุทธบริษัทได้เป็นอย่างดี
    ความว่า
    "กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป
    ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ
    พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติ (พระนิพพาน) เถิด"
    (จาก...สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่มที่ ๒๔ อัจเจนติสูตร)





    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน พิเศษวันนี้ถวายสังฆทาน 2 ชุด
    อีกชุดหนึ่งเป็นสังฆทานยา ได้เจริญวิปัสสนา สวดมนต์แต่เช้า เดินจงกรม นั่งสมาธิ ให้ธรรมะเป็นทาน กำหนดอิริยาบทย่อย ถวายบูชาข้าวพุทธ
    และหลังจากถวายสังฆทาน ในระหว่างทาน มีผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง และได้อนุโมทนาตลอดทางในขณะที่ขับรถอยู่ และได้เห็นสุนัขขาหักก็เอาอาหารให้สุนัขกิน และมีสุนัขอีกมากมายหลายตัวที่ได้รับประทานอาหาร และได้กำหนดอิริยาบทย่อยต่อไปเรื่อยๆ ลมกระทบก็ ถุกหนอ เย็นหนอ และตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ
    เดินจงกรม และทุกๆวันได้ไปปิดไฟของสาธารณะตลอดและเป็นส่วนที่เวยยาไวจมัย ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
     
  2. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    การที่ได้มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง เพื่อความ
    เข้าใจที่ถูกต้องเป็นปัญญาของตนเอง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตาม นั้น เป็นการมี
    ชีวิตอยู่ที่เป็นประโยชน์ เพราะขณะที่จะได้ฟังพระสัทธรรม หาได้ยากเป็นอย่างยิ่ง และ
    การที่จะเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง ก็ยาก ดังนั้น เมื่อมีโอกาสแล้วก็ไม่ควรที่จะ
    ปล่อยโอกาสนั้นให้หลุดลอยไป ค่อย ๆ ฟัง ค่อย ๆ สั่งสมความเข้าใจไปทีละเล็กที
    ละน้อย ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าต่อไปข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง และที่สำคัญ
    ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตายด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่ควรที่จะประมาท ไม่ประมาทในการเจริญ
    กุศลทุกประการ พร้อมทั้งเป็นผู้อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันด้วย

    ^_________^
     
  3. sa_bye_dee

    sa_bye_dee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +34
    สุขภายในใจล้วนแล้วแต่มีทุกข์ปะปน แต่จะมีสุขหนึงภายในใจทีปราศจากทุกข์
    ก็คือสุขบริสุทธิ์ เป็นสุขที่เกิดจากการให้ที่ไม่หวังผล
    ผู้ที่ให้ก็จะได้รับสุขบริสุทธินั้นและสุขบริสุขนี้จะไม่เกิดกับผู้รับ
    หากผู้รับคาดหวังผลที่จะได้รับก็จะเกิดทุกข์แก่ผู้รับนั้นได้
    ( จงรู้จักเป็นผู้ให้เพื่อที่จะได้รับสุขบริสุทธ์ และเมื่อรู้จักเป็นผู้ให้แล้ว ก็จงรู้จักเป็นผู้รับเพื่อก่อให้เกิดสุขบริสท์แก่ผู้ให้ )
    นอกจากสุขบริสุทธ์ที่อยู่ภายในใจแล้วที่ปราศจากทุกข์ ยังมีสุขสุดนิพพาน
    สุขสุดนิพานเป็นสุขเหนือใจ สุขเหนือสุขใดทั้งมวล
    หากท่านบรรลุแก่ใจท่านแล้วท่านจะใด้สัมผัสกับแสงสว่างในตัวท่าน พร้อมกับคำว่า "เราไม่ปรารถนาสุขใดอีกแล้ว"
    สูญญากาศ ในอากาศ
     

แชร์หน้านี้

Loading...