ปฏิบัติวิปัสสนาโดยการกำหนด "ปวด" แล้วทำไมยังปวดตลอด ?

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 20 มิถุนายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,177
    ถาม : เวลาปฏิบัติค่ะ เป็นวิปัสสนา กำหนดปวด ก็ปวดตลอดเหมือนกัน ?

    ตอบ : แล้วมันปวดไปถึงไหน ?

    ถาม : แล้วเวลาเราออกจากกรรมฐานแล้วจะให้อารมณ์ใจมันทรงอารมณ์ไหน ปวดหรือว่าอะไร ?

    ตอบ : คือให้รู้อยู่ว่าอาการต่างๆ นั้นเป็นสมบัติของร่างกาย เวทนา ความสุข ความทุกข์ทั้งหมดเป็นเรื่องของร่างกาย เราคือจิตใจซึ่งไม่ยุ่งเกี่ยวกับตรงส่วนนั้นเลย เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นเรื่องร่างกายไม่ได้เกี่ยวกับเรา ต้องการรู้รับรู้ไว้อย่างมีสติ ถ้าไม่ต้องการรับรู้ก็ตัดมันไปเลย มันก็แค่นั้นเอง

    ถาม : แล้วเวลาที่เราภาวนาอยู่ พุทโธหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ มันมีคิดผสมด้วย ?

    ตอบ : มี ถ้าอารมณ์ใจมันไม่ตั้งมั่นจริงๆ ในอดีตเราเคยทำมา สภาพจิตเราเคยแยกจิตแยกกาย ทำอะไรได้หลายอย่างพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้นเราภาวนาอยู่มันก็ฟุ้งซ่านได้ ถ้าไม่ต้องการอยู่ตรงจุดนั้น ให้รวบรวมสติทั้งหมดให้อยู่กับลมหายใจเฉพาะหน้า รู้ว่ามันคิดเมื่อไรดึงมันกลับมา พอมันอยู่ลมหายใจอย่างแน่นแฟ้นแล้วมันก็จะเลิกเอง

    ถาม : แล้วอย่างสมมติว่าเราปวดมากๆ ที่บอกว่าให้ดูจิตดูใจอย่างนี้ จิตใจตอนนั้นมันเป็นอย่างไร มันทนอะไรไม่ได้ ?

    ตอบ : เราอย่าไปเสวยความทุกข์มันซิ บอกแล้วว่าจิตกับกายมันคนละเรื่องกัน พยายามแยกให้ออกว่าเวทนานั้นเป็นเราหรือว่าเวทนานั้นเป็นของร่างกาย

    เป็นของร่างกายก็ดูให้มันเป็นของร่างกาย ใจเราก็อย่าไปปรุงแต่งตามมัน ถ้าใจเราไปปรุงแต่งตามมันเราต้องทุกข์ต้องทนนี่สาหัสเลยตอนนั้น ดีไม่ดีกระดูกกระเดี้ยวมันจะแตกเป็นชิ้นๆ ด้วยซ้ำไป แสดงว่าเราวางกำลังใจผิด ให้ดึงกำลังใจของเราให้มันออกมาเลย ให้กำหนดรู้อย่างเดียวว่าตอนนี้เวทนามันเกิดขึ้น ถามว่าเวทนาเป็นของกายหรือเป็นของเรา เราคือจิต จริงๆ แล้วเวทนา สุข ทุกข์ ทั้งหลายมันเป็นของกายทั้งนั้น ใจเราไม่ไปแตะไปต้องมันเสียก็หมดเรื่องไป

    ถาม : บางครั้งมันเหมือนสองอย่าง ตรงนี้มันนิ่งๆ แต่ตรงนี้มันปวด

    ตอบ : นั่นแหละ รับรู้ไปเฉยๆ ตามรู้ไปเฉยๆ รู้ว่าตอนนี้มันปวด อาการธรรมดาของร่างกายของมัน ถ้ามันนั่งนานๆ อย่างนี้มันต้องปวดเป็นธรรมดา ขึ้นชื่อว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือว่าทุกข์ยากเจ็บปวดธรรมดาของมันอย่างนี้ เราเกิดเมื่อไรเราก็เจอมันอีก สภาพร่างกายอย่างนี้ อาการอย่างนี้เราต้องการจะเจอมันไปนานๆ ไหมล่ะ ? หรือว่าควรที่จะพอกันเสียที แล้วถามตัวเอง พอถามตัวเองได้คำตอบว่าที่ไหนที่คิดว่าดี เกาะที่นั่นแทน ก็เกาะนิพพานแทน จริงๆ แล้วรู้นะ แต่ว่าของเราเองมันมักเผลอให้มันตีเสียอยู่เรื่อย

    ถาม : (หัวเราะ) รู้ค่ะ

    ตอบ : เดี๋ยวคราวหน้าไม่ช่วยนะ ให้มันตีตายไปเลย ไม่เป็นไรจ้ะ เอาไว้งวดหน้าลำบากแล้วมาใหม่

    ถาม : เวลาภาวนาแล้วนับลูกประคำไปด้วย คือนับจำนวนเม็ดของลูกประคำอย่างนั้นเหรอคะ ?

    ตอบ : คือถ้าสติมันสมบูรณ์เราภาวนาอะไรเรารู้อยู่ เรานับลูกประคำ อาการเคลื่อนไหวของมือเรารู้อยู่ ตอนนี้นับไปกี่จบแล้ว รู้อยู่หรือว่าคาถาไปกี่จบแล้รู้อยู่ มันจะรู้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ถ้าหากว่าเราต้องกำหนดจิตรู้หลายอย่าง งานมันเยอะ โอกาสที่มันจะแวบไปที่อื่นมันก็น้อยลง

    ถาม : ถ้าเปรียบว่าเราภาวนาที่ใจแล้วเราชอบไปคิดถึงเรื่องอื่นแล้วก็กลับมาภาวนาได้ มันคล้าย ๆ อย่างนี้หรือเปล่า ?

    ตอบ : คล้ายอย่างนั้น แต่ว่าอย่างนี้ของเราเราเอาคุณภาพล้วนๆ เพราะว่าอันโน้นมันเผลอแวบไปเรื่องไม่เป็นเรื่องก็ได้ เพราะฉะนั้นเราจะเอาคุณภาพก็ต้องบังคับมันหน่อยหนึ่ง รู้อิริยาบถขณะนับไปด้วย คาถากี่จบว่าไปด้วย นับลูกประคำอยู่กำหนดไปด้วย (หัวเราะ) ค่อยๆ ทำไปแต่ว่าทำอย่างนี้พอถึงท้ายๆ แล้วมันจะมีผลอยู่อย่างหนึ่งคือว่าเวลาปกติเราทำมันก็ฟุ้งซ่านได้ เพราะฉะนั้นต้องระวังพอถึงเวลาอย่างนั้นแล้วต้องดึงมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกจริงๆ ถ้าไม่ดึงมันกลับมา ไม่พยายามปล้ำให้มันอยู่กับที่ไว้มันก็ฟุ้งซ่าน




    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกันยายน ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ



    .
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...