ปฏิจจสมุปบาท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 26 ธันวาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [​IMG]

    ชีวิตมนุษย์เราทุกวันนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ เพราะใจของมนุษย์เต็มไปด้วยความอยาก ซึ่งอยู่ในโลกของความหลง คือ สุขเวทนาและทุกขเวทนา ที่วิ่งพล่านไปตามความพอใจ และไม่พอใจ ดังนั้นมนุษย์จึงเร่าร้อนดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ความอยากของตนเต็ม แต่ก็หามีใครทำให้ ความอยากเต็มได้ไม่ยิ่งแสวงหาความเร่าร้อนจากการแสวงหาก็จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ความทุกข์ก็ เกิดตามขึ้นมาตลอด ไร้ความพอ หาความเต็มมิได้ เพราะจิตของมนุษย์ถูก อวิชชาครอบงำ ความ พร่องจึงมีอยู่ในจิตของมนุษย์ตลอดเวลาอยู่เป็นนิตย์

    พระองค์ทรงตรัสว่าทุกข์กำเนิดอยู่ปัจจุบัน ไม่ควรไปคิดเรื่องที่แล้วมา ทุกข์ที่ยังมา ไม่ถึงไม่ควรไปถามหาทุกข์ ผู้ข้องอยู่ด้วยความไม่รู้ หลง ย่อมจะถามว่าวิญญาณมา จากไหน เกิดเมื่อไร ใครเป็นผู้สร้าง พระองค์ทรงตรัสว่าคนกำลังถูกลูกศรยิงบาดเจ็บ อยู่ขณะนี้ กำลังรอ ความช่วยเหลือจากหมอ หมอจะถามผู้ป่วยว่าลูกศรนั้นถูกยิง ตั้งแต่เมื่อไร เวลาเท่าไรและที่ไหน คนยิงคือใครและต้องหาคนยิงมาก่อน จึงจะแก้ไขวางยาให้ถูกและถอนลูกศรออกได้ การแก้ไข ของหมอจะแก้ไขได้หรือ คนไข้จะต้องตาย แน่นอน ฉะนั้นทุกข์ของกายใจเกิดขึ้นตอนปัจจุบัน เราไม่ไปถามหาอดีต เสียเวลา เราควรแก้ทุกข์กันเดี๋ยวนี้คือปัจจุบันที่เราเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราควรจะปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้วิธีดับทุกข์กันในวันนี้เลย ไม่ต้องรอช้านาน เพื่อเห็นความเกิด แก่เจ็บตาย โดยเร็วพลัน

    การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีตัวกฎหรือสภาวะ ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้า แสดงหลักธรรมชาติ ธรรมหมวดหนึ่งหรือหลักความจริงซึ่งเป็นเรื่องปิดไว้ พระองค์ มาตรัสรู้ความจริง ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แล้วใช้ปัญญาค้นโดยรู้จัก ธรรมชาติที่แท้จริง สิ่งเหล่านี้เกิดมาก่อน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์และหมุ่พระพุทธเจ้า ไม่มีผู้เกิดทันรู้ไม่ เพราะว่ารูปนามนี้เกิดมานาน ไม่สามารถจะ คำนวณกาลเวลาได้ แต่พระองค์ตรัสรู้ด้วยปัญญาสมาธิญาณ ยิ่งรู้ละเอียดลึกซึ้ง สุดที่สัตว์ปุถุชนจะหยั่ง รู้ธรรมชาติได้แท้จริงดังปัญญาของพระพุทธเจ้าได้ จึงเป็นพยานของธรรม ทรงกล้าตอบปัญหาแก่สมณ พราหมณ์ที่มีปัญหาได้อย่างสง่าผ่าเผยโดยเชื่อแน่ว่า หลักธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของจริง พิสูจน์ ได้โดยการปฏิบัติ มีในแนวทาง ของพระองค์ตรัสรู้เท่านั้น จะพิสูจน์ได้ทางบรรลุธรรมจิตอย่างแท้จริง พระองค์ ทรงตรัสว่าเพราะมีอวิชชา จึงมีสังขาร ฯลฯ

    ” ภิกษุทั้งหลาย ? ตถตา ( ภาวะที่เป็นของมันอย่างนั้น ) อวิตถตา ( ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปได้) อนัญญถตา ( ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น ) คือหลักอิทัปปัจจยตาดังกล่าว มานี้แลเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ” พระองค์ทรงกล่าวว่าสมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ได้สามารถรู้ธรรมเหล่านี้ได้ รู้จักเกิดรู้จักดับของ ธรรม รู้จักดำเนินตาม ธรรมชาติเหล่านี้ ฯลฯ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญญา อันยิ่ง บรรลุประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

    ดังที่กล่าวในพระไตรปิฎก พระอานนท์ได้กราบทูลพระองค์ว่า
    ” น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีมาเลย ไม่เคยได้ยินเลย ไม่เคยได้เห็นเลย เป็นบุญตา เป็นบุญใจ เป็นบุญหูจริงที่ได้เกิดมารู้เห็นความจริงที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา ช่าง ไพเราะลึกซึ้งละเอียดอ่อนสุขุม คัมภีรภาพและเข้าใจง่ายซาบซึ้งได้แจ่มแจ้ง ดุจของ คว่ำปิดอยู่เป็นความลับ แต่พระองค์มาจับหงายอย่างง่าย ให้คนอื่นได้เห็นตามรู้เห็น ตามธรรมที่ยากมาทำให้ง่ายอัศจรรย์จริงหนอ ของยากพระองค์มาทำให้เป็นของง่าย”

    พระองค์ทรงตรัสว่า
    ” อานนท์ อย่ากลัวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง เป็นของรู้ยาก บุคคลไม่เข้าใจ ไม่รู้ ไม่แทงตลอดในธรรมนี้แหละ หมู่สัตว์จึงพากันวุ่นวายกันไม่รู้ จักจบสิ้นไป ความวุ่นวายยุ่งยากเปรียบ เหมือนเส้นด้ายที่ขอดเข้าหากันจนยุ่งเป็น ปุ่มเป็นปมเหมือนกับหญ้าคาหญ้าปล้องนี่แหละอานนท์หมู่สัตว์จึง วุ่นวายดิ้นรน เดือดร้อนกันมากจึงผ่านพ้นอบายทุคติวินิบาต ( นรก) สังสารวัฏไปไม่ได้ “

    ” ดุก่อนอานนท์ พระองค์ขอเตือนว่าอย่าประมาท ธรรมที่เราบรรลุแล้วเป็นของรู้ได้ยาก หมุ่ ประชาชนเป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยความอาลัย ระเริงอยู่ในอาลัยอาวรณ์ ผู้หลง อยู่ในรื่นเริงอาลัยอาวรณ์ ด้วยความประมาทอย่างนี้ ฐานะอย่างนี้เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสุปบาท เห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ความสงบของ สังขารทั้งปวง ความสงัด ” กิเลส ” อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน พระองค์ทรงดำริเป็นการสอนที่เหนื่อยเปล่า ลำบากแก่พระองค์ผู้แสดง เพราะมีแต่ผู้ประมาท อยู่ ผู้หลงตัวตนอาลัยอาวรณ์อยู่ “

    ” อานนท์ จงรู้เถิดว่าธรรมที่เรากล่าวนั้นง่ายสำหรับผู้มีปัญญา ไม่หลงตัวตนอาลัยอาวรณ์ หลงตัวเพลิดเพลิน ผู้นั้นจึงรู้ว่าธรรมของพระองค์ง่าย ฟังแล้วไพเราะลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนลุ่มลึก แต่ก็ยากสำหรับคนประชาชนผู้หลงใหลในตัวตน อยุ่ในความ ประมาทลุ่มหลง จึงรู้ธรรมปฏิจจสมุปบาทได้ยาก เป็นของที่เข้าไม่ถึงธรรมอันนี้ เลยตลอดชีวิตของเขาเหล่านั้นเพราะความมีตัวตน อาลัยอาวรณ์สนุกเพลิดเพลินอยู่ “

    หลักปฏิจจสมุปบาทมี 2 นัย นัยหนึ่งคือจากอวิชชา จึงมีสังขาร นัยหนึ่งคือความเกิด ของธรรมชาติ นัยที่สองคือการตรัสรู้ธรรมของธรรมชาติคือความดับ ตอนต้นแสดง ความเกิดของสมุทัย ( ตัณหา ) ตอนท้ายแสดงถึงการตรัสรู้ธรรมคือ นิโรธวาร อนุโลมปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท

    องค์ประกอบ 12 ข้อของปฏิจจสมุปบาทนั้น นับตั้งแต่อวิชชา ถึง ชรามรณะเท่านั้น ( คือ อวิชชา สังขาร>วิญญาณ>นามรูป>สฬาตนะ>ผัสสะ>เวทนา>ตัณหา>อุปาทาน> ภพ>ชาติ>ชรามรณะ ) ส่วนโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นเพียงตัวพลอยผสม เกิดแก่ผู้มีอาสวกิเลสเมื่อมีชรามรณะแล้ว เป็นตัวการหมักหมม อาสวะซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาหมุนวงจรต่อไปอีก
    ในการแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบประยุกต์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสตามลำดับ และเต็มรูป อย่างนี้ ( คือชักต้นไปหาปลาย ) เสมอไป การแสดงในลำดับและเต็มรูปเช่นนี้ มักตรัส ในกรณีเป็นการแสดงตัวหลัก แต่ในทางปฏิบัติซึ่งเป็นการเริ่มต้นด้วยข้อปัญหามัก ตรัสในรูปย้อนลำดับ ( คือชักปลายมาหาต้น ) เป็น( ชรามรณะ< ชาติ < ภพ < อุปาทาน < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตน < นามรูป < วิญญาณ <สังขาร< อวิชชา )

    ส่วนประกอบความทะยานอยากของคนเรา
    อาศัย ความพอใจ จึงเกิด ความอยาก
    อาศัย ความอยาก จึงเกิด การแสวงหา
    อาศัย การแสวงหา จึงเกิด ลาภ
    อาศัย ลาภ จึงเกิด การตกลงใจ
    อาศัย การตกลงใจ จึงเกิด ความรักใคร่ผูกพัน
    อาศัย ความรักใคร่ผูกพัน จึงเกิด การพะวง
    อาศัย การพะวง จึงเกิด การยึดถือ
    อาศัย การยึดถือ จึงเกิด ความตระหนี่
    อาศัย ความตระหนี่ จึงเกิด การป้องกัน
    อาศัย การป้องกัน จึงเกิด อกุศลธรรม

    กุศลธรรม – อกุศลธรรม
    ( จิตที่ฉลาด มีปัญญา มีเหตุผล สงบเย็น – จิตที่ไม่ฉลาด ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัวฟุ้งซ่าน )
    การกระทำอันเป็นบาป เช่น การฆ่ากัน, การทะเลาะกัน, การแก่งแย่ง, การว่ากล่าว, การพูดส่อเสียด, การพูดเท็จเป็นต้น จิตของคนเราถูกอวิชชาครอบงำ ผูกต่อกัน เป็นลูกโซ่ของความอยาก พร่องอยู่เป็นนิตย์

    ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกนี้ หาทางดับความพอใจละความทะยานอยากซึ่งเป็นสันดานที่นอนเนื่อง อยู่ภายในจิตของตนเอง โดยวิธีการศึกษาเรื่องของปฏิจจสมุปบาท อันเป็นธรรมวิชชา ของพระพุทธเจ้า เป็นตัวดับอกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งอกุศลธรรมเป็นปัจจัยให้มนุษย์ เราตกอยู่ในกองทุกข์ที่เร่าร้อนก็จะดับ ความสงบใจ ความอิ่มใจ ความพอดีก็จะเกิดขึ้น ภายในจิตของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม

    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมสัจจะที่จำเป็นสำหรับพุทธบริษัทที่จะต้องศึกษา เพราะปฏิจจสมุปบาท คือแนวทางที่จะเรียนรู้เข้าใจถึงสภาพจิตของมนุษย์เราด้วยการ ปฏิบัติธรรม คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยการใช้สติปัญญาพิจารณากาย , เวทนา, จิต, ธรรม เพื่อให้รู้ทุกข์ ให้รู้เหตุเกิดของทุกข์ ให้รู้การดับทุกข์ ให้รู้ปฏิปทาที่ จะให้ถึงความดับทุกข์ได้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรมจนเกิดวิชชา เพราะวิชชาเกิด อวิชชาจจึงดับ

    ปฎิจจสมุปบาท แยกออกเป็นหลายรูปแบบหลายนัย เมื่อแจงออกมาแล้วทำให้ ผู้ปฎิบัติเกิดความเข้าใจ จนเกิดปํญญาเป็นวิชาขึ้นมาได้ โดยการปฎิบัติไปตามวงจร ของปฎิจจสมุทปบาท คือ เข้าสู่การดับเป็นขั้นตอน ไปจนเกิดวิชารู้แจ้งในสังสารวัฎ หายสงสัยในเรื่อง การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย จนเกิดญาณปัญญา รู้ทุกข์ เห็น ทุกข์เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ของความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เข้าใจจน พาตัวเองออกจากวงจรของปฎิจจสมุปบาทได้ สามารถดับกิเลส ตัณหา อุปทานได้หมด จนถึงมรรค4 ผล4 นิพาน1 คือ เข้าถึงการดับ เป็นอรหัตตมรรค อรหัตตผล เข้าสู่ นิพานอันเป็นยอดแห่งคุณธรรมของเทวดา และมนุษย์

    พระพุทธเจ้า
    ทรงรู้ว่า "อวิชชา" คือ ตัวตัวเหตุของความทุกข์ อวิชชา คือจิตที่ไม่รู้จิตในจิต ตัวเองหลงจิตจึงจึงทรงใช้มรรคอริยสัจ คือ ตัวรู้ ตัววิชชา(วิชชา คือจิตที่รู้จิต) เข้าประหารอนุสัยที่นอนเนื่องในสันดาน จนพระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในโลกทั้ง สาม รู้จักตัวตนว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงรูปธาตุ นามธาตุ

    อวิชาจึงดับด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ทรงเข้าถึงการดับโดยแท้จริง ดับสภาพ ปรุงแต่งของสังขารด้วยมรรคสัจ ทรงประหารอวิชชา ทรงพ้นจากบ่วงของการเกิด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง จนเป็นวิชา เป็นแสงแห่ง คุณธรรมที่สว่างอยู่ในจิตใจของผู้ปฎิบัติ โลกของผู้ปฎิบัติจึงสงบร่มเย็นอยู่จนปัจจุบันนี้

    วิชชาของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดับทุกข์ เป็นยาดับโรคของความอยากซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ของความหลงในวัฎฎสังสารของมนุษย์

    การเกิดของปฎิจจสมุปบาท
    สาเหตุของการเกิดปฏิจจสมุปบาทเพราะว่า
    อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร
    สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ
    วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป
    นามรูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ
    สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ
    ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา
    เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา
    ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน
    อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ
    ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ
    ชาติ เป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส
    ความเกิดของกองทุกข์ทั้งหมดนี้เรียกว่า " ปฏิจจสมุปบาท "
    ปฏิจจสมุปบาทจะดับได้เพราะ
    อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
    สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
    วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
    นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
    สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
    ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
    เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
    ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
    อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
    ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
    ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท

    องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท
    เพราะการหมุนเวียนของวัฏชีวิตที่มีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หมุนเวียนไปตามองค์ประกอบ ของการเกิด หาจุจบไม่ได้และไม่สามารถหาต้นเหตุได้ว่าอะไร คือ ต้นเหตุของการเกิด และอะไร คือ ปลายเหตุของการดับ เริ่มจากอดดีตสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันสู่อนาตค อนาคตกลับมาเป็นอดีต อดีตมาเป็นปัจจุบัน ประดุจห่วงของลูกโซ่ที่ผูกต่อกันไปหาที่สุดมิได้ เรียกว่า เป็นวงจรของปฏิจจสมุปบาท หรือ บาทฐานการเกิดของกองทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย :-

    1. อวิชชา
    คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงในความทุกข์ของจิต ไม่รู้ในเหตุให้เกิดแห่งความทุกข์ไม่รู้ในการดับ ทุกข์ไม่รู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อวิชชาเป็นจิตที่ไม่รู้จิตในจิต
    เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร

    2. สังขาร
    คือ การปรุงแต่งของจิตให้เกิดหน้าที่
    ทางกาย – เรียกกายสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกายให้เกิดลมหายใจเข้าออก
    ทางวาจา – เรียกวจีสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจาให้เกิดวิตกวิจาร
    ทางใจ – เรียกจิตสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญญา เวทนา สุข ทุกข์ทางใจ
    เพราะการปรุงแต่งของจิตหรือสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ

    3. วิญญาณ
    คือ การรับรู้ในอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง 6 คือ
    ทางตา – จักขุวิญญาณ
    ทางเสียง – โสตวิญญาณ
    ทางจมูก – ฆานวิญญาณ
    ทางลิ้น – ชิวหาวิญญาณ
    ทางกาย – กายวิญญาณ
    ทางใจ – มโนวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

    4. นามรูป
    นาม คือ จิตหรือความนึกคิด ในรูปกายนี้ เป็นของละเอียดได้แก่
    เวทนา คือ ความรู้สึกเสวยในอารมณ์ต่างๆ
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จดจำในเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้งดีและไม่ดีดังแต่อดีต
    เจตนา คือ ความตั้งใจ การทำทุกอย่างทั้งดีและชั่ว
    ผัสสะ คือ การกระทบทางจิต
    มนสิการ คือ การน้อมจิตเข้าสู่การพิจารณา
    รูป คือ รูปร่างกายที่สัมผัสได้ทางตา เป็นของหยาบ ได้แก่ มหาภูตรูป 4 คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม
    เพราะนามรูปเกิด จึงเป้นปัจจัยให้มีสฬายตนะ คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

    5. สฬาตนะ
    คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกันทางวิถีประสาทด้วยอายตนะทั้ง 6 มี
    ตา – จักขายตนะ หู – โสตายตนะ
    จมูก – ฆานายตนะ ลิ้น – ชิวหายตนะ
    กาย – กายายตนะ ใจ – มนายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

    6. ผัสสะ
    คือ การกระทบกับสิ่งที่เห็นรู้ทุกทวารทั้งดีและไม่ดี เช่น
    จักขุผัสสะ – สัมผัสทางตา โสตผัสสะ – สัมผัสทางเสียง
    ฆานผัสสะ – สัมผัสทางจมูก ชิวหาผัสสะ – สัมผัสทางลิ้น
    กายผัสสะ – สัมผัสทางกาย มโนผัสสะ – สัมผัสทางใจ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

    7. เวทนา
    คือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์พอใจ, ไม่พอใจและอารมณ์ที่เป็นกลางกับสิ่งที่มากระทบพบมาได้แก่
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา – ตา โสตสัมผัสสชาเวทนา – เสียง
    ฆานสัมผัสสชาเวทนา – จมูก ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา – ลิ้น
    กายสัมผัสสชาเวทนา – กาย มโนสัมผัสสชาเวทนา – ใจ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องรับของความรู้สึกต่างๆ
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

    8. ตัณหา
    คือ ความทะยานอยาก พอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่เห็นรู้ใน
    รูป – รุปตัณหา เสียง – สัททตัณหา
    กลิ่น – คันธตัณหา รส – รสตัณหา
    กาย – โผฎฐัพพตัณหา ธรรมารมณ์ – ธัมมตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

    9. อุปาทาน
    คือ ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ และที่เกิดขึ้นในขัน 5 มี 4 เหล่า คือ
    กามุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในวัตถุกาม
    ทิฎฐุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในการเห็นผิด
    สีลัพพตุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในการปฎิบัติผิด
    อัตตวาทุปาทาน – ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนในขันธ์ 5
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

    10. ภพ
    คือ จิตที่มีตัณหาปรุงแต่ง เกิดอยู่ในจิตปุถุชนผู้หนาแน่นในตัณหา 3 เจตจำนงในการเกิดใหม่ ความกระหายในความเป็น เพราะยึดติดในรูปในสิ่งที่ตนเองเคยเป็น มี 3 ภพ คือ
    กามภพ – ภพมนุษย์, สัตว์เดรัจฉาน, เทวดา
    รูปภพ – พรหมที่มีรูป
    อรูปภพ – พรหมที่ไม่มีรูป
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

    11. ชาติ
    คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ได้แก่ จิตที่ผูกพันกันมากๆจึงเกิดการสมสู่กัน อย่างสม่ำเสมอ จนปรากฎแห่งขันธ์ แห่งอายตนะในหมู่สัตว์
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกปริเทวะทุกขโทมมัส อุปายาส มีความเศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้อาลัย อาวรณ์

    12. ชรา มรณะ
    ชรา คือ ความแก่ ภาวะของผมหงอก ฟันหลุด หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ของอินทรีย์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์อยู่ในตัว
    มรณะ คือ ความเคลื่อน ความทำลาย ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์

    บ่อเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะอวิชา ดั่งพืชเมื่อเกิดเป็นต้นไม้แล้ว มีราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นลำดับไป ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นเกิดมาแต่ครั้งไหน ดั่งรูปนาม ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นคือ "อวิชชา" เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เพราะ เกิดการผูกต่อกันมาเป็นลำดับ เกิดเป็นปฎิจจสมุปบาทขึ้นมา
    ปุถุชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้บ้าง เป็นการดับชั่วขณะจึงต้องเกิดอีก เพราะ ตัววิชชายังไม่แจ้งในขันธ์ 5
    ส่วนตัวอริยชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้สนิท เพราะดับได้ด้วยวิชชาจึงไม่ต้องเกิดอีก เป็นการดับไม่เหลือเชื้อ เพราะวิชชาแจ้งในขันธ์ 5 พ้นจากการเกิด เปรียบเหมือนไฟ ที่สิ้นเชื้อดับไปแล้ว

    Wat Sanghathan Meditation Center Thailand
     
  2. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ชอบตรงนี้จริงๆ พระพุทธเจ้าท่านทรงอธิบายได้แยบคายมาก :cool:

    ที่มาไว้อ่านเต็มๆ http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=1543&Z=1640&pagebreak=0
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ได้เป็นสมณะ

    ภิกษุ ท.! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ไม่รู้จักชรามรณะ, ไม่รู้จัก
    เหตุเกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ไม่รู้จักความดับสนิทแห่งชรามรณะ, ไม่รู้จักข้อ
    ปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งชรามรณะ ;
    ไม่รู้จักชาติ, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งชาติ, ไม่รู้จักความดับสนิทแห่งชาติ,
    ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งชาติ ;
    ไม่รู้จักภพ, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งภพ, ไม่รู้จักความดับสนิทแห่งภพ,
    ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งภพ ;
    ไม่รู้จักอุปาทาน, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งอุปทาน, ไม่รู้จักความดับสนิท
    แห่งอุปทาน, ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งอุปทาน ;
    ไม่รู้จักตัณหา, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา, ไม่รู้จักความดับสนิท
    แห่งตัณหา, ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งตัณหา ;
    ไม่รู้จักเวทนา, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งเวทนา, ไม่รู้จักความดับสนิท
    แห่งเวทนา, ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งเวทนา ;
    ไม่รู้จักผัสสะ, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะ, ไม่รู้จักความดับสนิท
    แห่งผัสสะ, ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งผัสสะ ;
    ไม่รู้จักอายตนะหก, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งอายตนะหก, ไม่รู้จักความ
    ดับสนิทแห่งอายตนะหก, ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่ง-
    อายตนะหก ;
    ไม่รู้จักนามรูป, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งนามรูป, ไม่รู้จักความดับสนิท
    แห่งนามรูป, ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งนามรูป ;
    ไม่รู้จักวิญญาณ, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ, ไม่รู้จักความดับสนิท
    แห่งวิญญาณ, ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งวิญญาณ ;
    ไม่รู้จักสังขาร, ไม่รู้จักเหตุเกิดขึ้นแห่งสังขาร, ไม่รู้จักความดับสนิท
    แห่งสังขาร , ไม่รู้จักข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสนิทแห่งสังขาร ;
    ภิกษุ ท.! สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นสมณะ
    ในบรรดาสมณะทั้งหลายก็ตาม, ทั้งที่ถูกสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในบรรดาพราหมณ์
    ทั้งหลายก็ตาม, ก็หาเป็นสมณะหรือพราหมณ์ไปได้ไม่, หาได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
    หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา
    อันยิ่งเอง ในทิฏธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ไม่.

    _________________________________________________________
    บาลี พระพุทธภาษิต. นิทาน. สํ. ๑๖/๑๗/๓๘.
    http://pobbuddha.com/tripitaka/index.php?select=6
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผลอานิสงส์ พิเศษ ๘ ประการของการเห็นปฏิจจสมุปบาท

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถูกแล้ว! เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็เป็นอันว่า พวกเธอ
    ทั้งหลายก็กล่าวอย่างนั้น, แม้เราตถาคต ก็กล่าวอย่างนั้น, ว่า “เมื่อสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้ย่อม
    ไม่มี; เพราะสิ่งนี้ดับ, สิ่งนี้ย่อมดับ๒ กล่าวคือ เพราะความดับแห่งอวิชชา จึงมีความ
    ดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; เพราะมีความ
    ดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมี
    ความดับแห่งสฬายตนะ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมี
    ความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับ
    แห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับ
    แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ;
    เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
    จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”.

    (๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้
    เห็นอยู่อย่างนี้ จึงพึงแล่นไปสู่ ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องต้น (ปุพพันตทิฏฐิ) ว่า
    “ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เราได้มีแล้วหรือหนอ; เราไม่ได้มีแล้วหรือหนอ ; เราได้
    เป็นอะไรแล้วหนอ; เราได้เป็นอย่าไรแล้วหนอ; เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรอีก
    แล้วหนอ” ; ดังนี้?
    “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า”

    (๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่
    อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงแล่นไปสู่ทิฏฐิอันปรารภที่สุดในเบื้องปลาย (อปรันตทิฏฐิ)
    ว่า “ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เราจักมีหรือหนอ; เราจักไม่มีหรือหนอ; เราจัก
    เป็นอะไรหนอ; เราจักเป็นอย่างไรหนอ; เราเป็นอะไรแล้วจักเป็นอะไรต่อไปหนอ”;ดังนี้?
    “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”

    (๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
    จะพึงเป็นผู้มีความสงสัยเกี่ยวกับตน ปรารภกาลอันเป็นปัจจุบัน ในกาลนี้ว่า “เรามีอยู่หรือหนอ;
    เราไม่มีอยู่หรือหนอ ; เราเป็นอะไรหนอ;เราเป็นอย่างไรหนอ; สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักเป็นผู้ไปสู่ที่ไหนอีกหนอ”; ดังนี้?
    “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”

    (๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ แล้วจะพึงกล่าวว่า
    “พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา ดังนั้น พวกเราต้องกล่าวอย่างที่ท่านกล่าว เพราะความเคารพในพระศาสดานั่นเทียว” ดังนี้?
    “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”

    (๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ แล้วจะพึงกล่าวว่า
    “พระสมณะ(พระพุทธองค์) กล่าวแล้วอย่างนี้;แต่สมณะทั้งหลายและพวกเรา จะกล่าวอย่างอื่น” ดังนี้?
    “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”

    (๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้
    เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงประกาศการนับถือศาสดาอื่น?
    “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”
    (๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้
    เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงเวียนกลับไปสู่การประพฤติซึ่งวัตตโกตูหลมงคลทั้งหลาย ตาม
    แบบของสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าอื่นเป็นอันมาก โดยความเป็นสาระ?
    “ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!”
    (๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจะกล่าวแต่สิ่งที่พวกเธอรู้เอง เห็นเอง
    รู้สึกเองแล้ว เท่านั้น มิใช่หรือ?

    “อย่างนั้น พระเจ้าข้า!”
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถูกแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลาย
    เป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
    (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู
    (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน
    (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คำนี้เรากล่าวแล้ว หมายถึงคำที่เราได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้
    เป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเองเป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน
    อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

    หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นความหมายของอานิสงส์
    อันประเสริฐสูงสุด แห่งการเห็นปฏิจจสมุปบาท ทั้ง ๘ อนิสงส์จริง ๆ ว่าเมื่อรู้แล้ว :
    จะไม่เกิดปุพพันตทิฏฐิ ๑, ไม่เกิดอปรันตทิฏฐิ ๑, ไม่เกิดความสงสัยปรารภในปัจจุบัน ๑
    ไม่ต้องจำใจกล่าวอะไรไปตามที่พระศาสดากล่าว ๑,ไม่ต้องรู้สึกว่าตนกล่าวผิดไปจากที่พระ-
    ศาสดากล่าว๑, ไม่หันไปถือศาสนาอื่น ๑, ไม่เวียนกลับถือวัตรชนิดสีลัพพัตตปรามาส ๑,
    และกล่าวไปตามที่เป็นสันทิฏฐิโก, อกาลิโก, ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ แก่ตัวเองเท่านั้น ๑;
    เมื่อมองเห็นอานิสงส์เหล่านี้ ย่อมสนใจเพื่อทำให้แจ้งปฏิจจสมุปบาทอย่างยิ่ง.

    ———————————————————————————————————–
    มหาตัณหาสังขยสูตร ม.ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน. ตัวเลขประจำข้อในวงเล็บ
    ทุกแห่ง พึงทราบว่า มิได้มีในภาษาบาลี; ในที่นี้จัดใส่ขึ้น เพื่อกำหนดศึกษาง่ายสำหรับเรื่องนี้.

    คำบาลีของประโยคนี้มีว่า “อิมสฺมึ อสติ, อิทํ น โหติ; อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ.” และกฎเกณฑ์
    อันนี้ ตรัสเรียกว่า กฎอิทัปปัจจยตา – “ความที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น”. สำหรับกฎอิทัป-
    ปัจจยตานั้น ขยายตัวออกไปเป็นปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายสมุทยวารและนิโรธวาร, ส่วนในที่นี้เป็นอย่าง
    นิโรธวาร.

    Pobbuddha
     
  5. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    ขอ อนุโมทนา ครับ แต่ก่อนก็ถือว่าเข้าใจแต่วันนี้ได้อ่านคราวนี้เข้าใจชัดแจ้งคับ ขออนุโมทนาอีกครั้งครับ สาธุ สาธุ ๆ
     
  6. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ปฏิจจสมุปบาทตามแนวหลวงปู่สาวกโลกอุดร

    ปฏิจจสมุปบาทในความคิดของเราเกิดได้เพราะ
    อวิชชา - เพราะจิตไง่มันจึงคิด(สมมุตินาย ก. คิดรักนนางสาว ข.)
    สังขาร - เมื่อคิดอย่างไง่ๆจึงเกิดการปรุงแต่งขึ้น(ในความรัก)
    วิญญาณ - การปรุงแต่งของความคิดโง่ๆทำให้วิญญาณตั้งมั่น(เกิดความรักในใจ)
    นามรูป - เกิดรูปในความคิด ในจิต ในใจ (รูปตัวเองและนางสาว ข.)
    สฬายตนะ - การรวมตัวของสังขาร+วิญญาณ+นามรูป รวมตัวกันผลเป็นผัสสะ
    ผัสสะ - กระทบใจและอายะตนะทั้งหมด (คิดเห็นแต่ตัวเองกับแต่นางสาว ข.จนหูอื้อตาลาย)
    เวทนา - เกิดสุขเกิดทุกข์ในความคิดนั้น
    ตัณหา - เสพกามในความคิด(ระหว่างตนเองกับนางสาว ข.)
    อุปาทาน - ยึดมั่นในกาม กามก็เป็นเรา เราก็เป็นกาม คิดไปทางไหนก็เป็นแต่กาม
    ภพ - ทุกอย่างข้างต้นรวมตัวเป็นเกลียวดิ่งสู่ความเป็นภพ อันเป็นกามภพ
    ชาติ - เมื่อดิ่งเป็นภพแล้วจึงเป็นชาติคือการเกิด(กามในความคิด)
    ชรา - มีเกิดจึงมีแก่(ในความคิด)
    มรณะ - มีแก่จึงมีตาย(ในความคิด)
    โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส - มีตายจึงมีความทุกข์(ในความคิด)
    ปฏิจจสมุปบาทแต่ละวงเกิดในวิถีจิตเดียว ไวมาก ลักษณะความคิดแต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง อาจประกอบด้วยวงปฏิจจสมุปบาทหลายแสนหลายล้านวง ซ้อนต่อหมุนวนเป็นดุจเกลียวเชือกจนแยกไม่ออกว่าอันไหนก่อนอันไหนหลัง
    เหตุการณ์สมมุติเบื้องต้น สรุปรวมเป็นว่าเพราะจิตเราโง่ไม่รอบรู้ความจริงจึงคิดรักๆใคร่ๆกับเขา เมื่อคิดต่อๆไปก็จะเห็นทั้งตัวเราและตัวเขาในความคิด คิดต่อไปอีกก็ก็ยินดีหรือไม่ยินดีในความคิดนั้น ต่อไปก็เกิดเสพกามในความคิด เมื่อถึงจุดนี้ถ้าไม่จบมันจะไม่ยอมเด็ดขาด จะคิดไปทางใดก็วนมาที่จุดนี้เหมือนเดิม เมื่อมันจบลงใช่ว่าจะเป็นสุข กลับเป็นทุกข์มากขึ้นไปอีกเพราะคิดถึงเขาคนนั้นมากขึ้น ทุรนทุรายอยากจะไปหาคนนั้นในตอนนั้น
    การกิเลสในจิตในใจทุกชนิดเป็นวงปฏิจจสมุปบาททั้งหมด ยุงกัดก็เป็นวงปฏิจจสมุปบาท แต่กิเลสใหญ่ไฟมหันต์เป็นตัวกามนี้ละ
    อาจจะแตกต่างกับท่านอาจารย์อื่นอยู่บ้าง แต่ไม่มีเจตนาจะลบหลู่อาจารย์ท่านผู้ใดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2013
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
    "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม"
    "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา(ตถาคต)"

    ดังนั้นชาวพุทธผู้ต้องการศึกษาธรรมะ ควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาปฏิจจสมุปบาท
    เข้าให้ถึงแก่นของศาสนา การไปวัด ไปไหว้พระเป็นแต่การนับถือแต่ภายนอก
    ไหว้พระแล้วก็ยังทำบาปเหมือนเดิม นับถือศาสนาแต่ภายนอก ยากที่จะเข้าถึงแก่นของศาสนา
    ปฏิจจสมุปบาทเป็นของยากก็จริง แต่ไม่อยากเกินไปที่ศึกษาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...