ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย toya, 24 มกราคม 2007.

  1. toya

    toya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    186
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,010
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ที่ภายหลังจากการตรัสรู้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยที่จะไม่สั่งสอนสรรพสัตว์, มีพุทธดําริในแรกเริ่มว่าจะไม่เผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้ เนื่องจากความลึกซึ้งของ "ปฏิจจสมุปบาทและ นิพพาน" ( พระไตรปิฎก เล่ม๑๒/ข้อ๓๒๑) เหตุที่กล่าวแสดงดังนี้ เพื่อให้ท่านได้พิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายจริงๆ ไม่ประมาทว่าเป็นของง่ายๆ ดังปรากฎแก่พระอานนท์มหาเถระมาแล้ว <!--[if gte vml 1]><v:shapetype id="_x0000_t75" coordsize="21600,21600" o:spt="75" o:preferrelative="t" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" filled="f" stroked="f"> <v:stroke joinstyle="miter"/> <v:formulas> <v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"/> <v:f eqn="sum @0 1 0"/> <v:f eqn="sum 0 0 @1"/> <v:f eqn="prod @2 1 2"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @0 0 1"/> <v:f eqn="prod @6 1 2"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="sum @8 21600 0"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @10 21600 0"/> </v:formulas> <v:path o:extrusionok="f" gradientshapeok="t" o:connecttype="rect"/> <o:lock v:ext="edit" aspectratio="t"/> </v:shapetype><v:shape id="_x0000_i1025" type="#_x0000_t75" alt="" title="&quot;คลิก เปิดหน้าต่างย่อย
    พุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์เถระ&quot;" style='width:13.5pt;height:13.5pt;mso-wrap-distance-top:7.5pt; mso-wrap-distance-bottom:7.5pt' o:button="t"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://www.nkgen.com/magnify4.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->[​IMG]<!--[endif]--> จึงจักเกิดประโยชน์สูงสุดขึ้นได้ และควรกระทําการพิจารณา(ธรรมวิจยะ)โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แล้วว่า"ยากและลึกซึ้ง" แต่เรามีแนวทางปฏิบัติของท่านแล้ว จึงเป็นสิ่งอันพึงปฏิบัติได้ แต่กระนั้นเราผู้เป็นปุถุชนจึงมิควรประมาทว่าเข้าใจแล้วโดยการอ่าน, การฟังแต่เพียงอย่างเดียวโดยเด็ดขาดเพราะเกินกำลังอำนาจของปุถุชน จักต้องทําการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายจริงๆ(โยนิโสมนสิการ)จึงจักบังเกิดผลอย่างแท้จริง
    <o:p></o:p>
    ปฏิจจสมุปบาท ดำเนินเป็นไปตามหลักธรรม อิทัปปัจจยตา ที่มีพระพุทธพจน์ ตรัสสอนไว้ว่า<o:p></o:p>
    เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น<o:p></o:p>
    เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ <o:p></o:p>
    อันแลดูเป็นธรรมดา แต่กลับแสดงถึงสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ตามความเป็นจริงถึงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) ถึงปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กันจึงเป็นผลให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้น อันเป็นหัวใจสําคัญในพุทธศาสนาที่ยึดในหลักธรรมที่ว่า" สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย " หรือ " ธรรม(สิ่งหรือผล)ใด ล้วนเกิดแต่เหตุ " อันเป็นเฉกเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั่นเอง แตกต่างกันแต่ว่าหลักวิทยาศาสตร์นั้นส่วนใหญ่ครอบคลุมแต่เพียงด้านวัตถุธรรมหรือรูปธรรมเพียงด้านเดียว แต่ธรรมของพระพุทธองค์นั้นครอบคลุมถึงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมทั้งฝ่ายรูปธรรม(วัตถุ)และนามธรรม(จิต,นาม), ปฏิจจสมุปบาทก็เนื่องมาจากหลักธรรมอิทัปปัจจยตาหรือกฎธรรมชาตินี้ แต่เป็นหลักธรรมที่เน้นเฉพาะถึงเหตุปัจจัยให้เกิดผลอันคือความทุกข์และการดับไปแห่งทุกข์โดยตรงๆแต่เพียงอย่างเดียว<o:p></o:p>
    ช่างยนต์ ต้องรู้เรื่องเครื่องยนต์อย่างดี จึงจักซ่อมบํารุงได้ดี ฉันใด<o:p></o:p>
    ผู้ที่ต้องการดับทุกข์ จึงต้องกำหนดรู้เรื่องทุกข์และการดับทุกข์อย่างดี จึงจักดับทุกข์ได้ดี ฉันนั้น<o:p></o:p>
    พระองค์ท่านได้ตรัสไว้ว่า ท่านสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์ ที่สอนให้รู้เรื่องทุกข์ต่างๆ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์ ไปใช้ในการดับทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง<o:p></o:p>
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมในรูปกฎแห่งธรรมชาติขั้นสูงสุด คือเป็นสภาวธรรมจริงแท้แน่นอนอย่างที่สุดหรือมันต้องเป็นเช่นนั้นเอง อันกล่าวถึง กระบวนจิตของการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ ที่แสดงถึง การอาศัยกันของเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยกัน แล้วก่อให้เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า <o:p></o:p>
    ธรรมที่แสดงถึงเหตุปัจจัยชนิดต่างๆ ที่ทําให้เกิดเหตุปัจจัยต่อเนื่องสืบต่อกัน อันเป็นผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด, หรือกล่าวอย่างละเอียดได้ว่า<o:p></o:p>
    ธรรมที่แสดงถึงการที่ทุกข์เกิดขึ้นได้นั้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอันเกิดต่อสืบเนื่องกันมาเป็นลําดับ...ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วนหรือองค์ธรรม เกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกัน หมุนเวียนไปเป็นวงจรเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลําดับ แต่หาต้นหาปลายไม่ได้เพราะเป็นภวจักรหรือวงจร ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยอันหนึ่งเป็นปัจจัยของอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยของอีกอันอื่นๆสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด......จึงก่อเกิดเป็นสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพ....ในชาติ, และมีการเกิดภพ เกิดชาติ ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้เอง กล่าวคือเกิด ภพ ชาติ ตั้งแต่ ณ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้นั่นเอง! และสามารถเกิด ภพ เกิด ชาติ อันเป็นทุกข์ได้ในทุกขณะจิต!<o:p></o:p>
    เพราะความลึกซึ้งและแยบคายของปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปรมัตถธรรมคือเป็นธรรมหรือสิ่งที่เป็นจริงขั้นสูงสุด จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึงเรื่องข้ามภพ ข้ามชาติ ตลอดจนแม้กระทั่งกําเนิดของโลก แต่พระพุทธประสงค์โดยแท้แล้วต้องการแสดงการเกิดภพ เกิดชาติ แล้วดับภพ ดับชาติ เหล่านั้น เสีย ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้ก่อนตายหรือแตกดับ หรือดับความทุกข์ที่เกิดจากภพจากชาติเหล่านี้ ที่เกิดดับ..เกิดดับ อยู่เป็นระยะๆทุกขณะจิตโดยไม่รู้และไม่เข้าใจด้วยอวิชชา เป็นการ เกิดดับๆๆ..ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาขณะทั้งๆที่ยังมีชีวิตอยู่ เยี่ยงนี้จึงเป็นเรื่องที่ถูกพระพุทธประสงค์อย่างถูกต้องและแท้จริงเป็นที่สุด และเมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง(ญาณ)ย่อมทําให้ดําเนินไปในธรรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว (อ่านรายละเอียดได้ใน การตีความปฏิจจสมุปบาท)<o:p></o:p>
    ดังพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ว่า<o:p></o:p>
    เราตถาคต จึงบัญญัติความเพิกถอน<o:p></o:p>
    ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส<o:p></o:p>
    ในปัจจุบัน<o:p></o:p>
    (พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓ ในข้อที่ ๑๕๑)<o:p></o:p>
    เห็นทุกข์อะไร? จึงเริ่มเห็นธรรม อย่างแท้จริง<o:p></o:p>
    หลายท่านเข้าใจว่าการปฏิบัตินั้น "ต้องเห็นทุกข์ จึงจะเห็นธรรม" อย่างผิดความหมาย อย่างเป็นอวิชชา(ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)คือเข้าใจว่าต้องเกิดทุกข์ขึ้นเสียก่อน แล้วจึงจะเหมาะแก่การเริ่มปฏิบัติ จึงจะสามารถเห็นหรือเข้าใจในธรรมต่างๆได้ดี หลายๆท่านจึงทอดทิ้งการปฏิบัติโดยกล่าวอ้างว่าไม่มีทุกข์ ทั้งๆที่มีทุกข์ หรือกําลังก่อความทุกข์อยู่ในทุกๆขณะจิตโดยไม่รู้ตัว, แท้ที่จริงนั้นคําว่า เห็นทุกข์ หรือเห็นทุกขอริยสัจนั้นหมายถึง ทุกข์ให้ "รู้" ที่มีความหมายครอบคลุมว่า มีสติรู้เท่าทันความทุกข์ที่เกิดขึ้น๑. และรู้เข้าใจหรือเห็นในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ธรรมชาติ)๑. จึงมิได้มีความหมายถึงการที่ต้องประสบกับความทุกข์เสียก่อนแล้วจึงควรแก่การศึกษาปฏิบัติ, ดังนั้นก่อนอื่นจึงต้องกำหนดรู้ในทุกข์ เพื่อประโยชน์ในการใช้ไปในการดับทุกข์ ซึ่งเมื่อดับทุกข์แล้วผลที่เกิดขึ้นก็คือความสุข ที่สะอาด สงบ บริสุทธิ์ อันเป็นกิจอันพึงกระทำใน อริยสัจ ๔ (กิจจญาณ) ดังนั้นพึงทำความเข้าใจความหมายของคําว่า ทุกข์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างถูกต้องเสียก่อน มิฉนั้นจะไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ และไม่รู้เป้าหมาย(ทุกข์)ที่จะกําจัดอย่างแท้จริง อันคือ "ทุกข์อะไร?" ที่จะดับสนิทไม่ให้เหลือได้มดังพระพุทธประสงค์ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าทุกข์อะไรที่เป็นทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิต อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่ยังคงต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น? และต้องปฏิบัติเยี่ยงไรจึงไม่เป็นทุกข์ เพราะถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ(อวิชชา)ถึงจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติอย่างถ่องแท้ถูกต้อง จักทําให้การปฏิบัตินั้นวนเวียนไม่ก้าวหน้าเพราะมัวแต่ปฏิบัติในสิ่งที่ยึด,ในสิ่งที่ตนเองเข้าใจผิด, หรือเป็นเพราะการยึดถือตามๆกันมาตามประเพณีที่สืบทอดต่อๆกันมาโดยไม่ถูกต้องหรือเข้าใจผิด อันทําให้ปฏิบัติไปตามความเชื่อ ความเข้าใจที่ผิด จึงเป็นไปในสภาพที่พยายามปฏิบัติให้เหนือกว่าสภาวธรรม(กฎของธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่โดยไม่รู้ตัว อันอุปมาได้ดั่งการวิ่งไล่จับเงาที่ย่อมไม่มีวันประสบผลสําเร็จ ดังเช่น ความไม่เข้าใจว่าทุกขอริยสัจ อันเป็นทุกข์ประจำขันธ์หรือชีวิตของทุกคน และ เวทนา(ความรู้สึกรับรู้) อันเป็นทุกข์ธรรมชาตินั้นยังคงมีอยู่ เมื่อไม่รู้จึงเกิดการพยายามดับทุกขอริยสัจ บางประการและทุกขเวทนา อันเป็นความเข้าใจผิด ที่ตามความเป็นจริงแห่งธรรมแล้วเราต้องดับทุกข์อุปาทาน หรือไม่มีหรือไม่เป็นทุกข์อุปาทาน แต่เพราะอวิชชาจึงแยกแยะสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกขอริยสัจและเวทนาอย่างแท้จริงไม่ได้ อันยังก่อให้เกิดการปฏิบัติแบบนอกลู่ผิดทาง และก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอีกด้วย อันยังให้ไม่สามารถก้าวหน้าในการปฏิบัติสมดั่งวัตถุประสงค์เพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์หรือพ้นทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง, หรือจางคลายจากทุกข์ตามควรแห่งฐานะตน<o:p></o:p>
    ใน "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ซึ่งเป็นปฐมเทศนา คือการแสดงธรรมเป็นครั้งแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก่เหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕, ตลอดจนหลักธรรม อริยสัจ ๔, สติปัฏฐาน ๔, หรือในบทสวดมนต์ทําวัตรเช้าบท"สังเวคปริกิตตนปาฐะ" และแก่นธรรมทั้งหลาย พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสอธิบายเรื่องทุกข์ไว้เหมือนกันดังนี้<o:p></o:p>
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์ คือความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์, ความพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์, ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์<o:p></o:p>
    (บาลี มหาวาร, สํ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔, ตรัสแก่ภิกษุทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตมฤคทายวัน)<o:p></o:p>
    ถ้าเราใช้การ "โยนิโสมนสิการ" คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงในธรรม(สิ่ง)นั้น ไม่ใช้แต่เพียงความคิดเห็นหรือความเชื่อของตนเองอันคือทิฏฐอันมักมีอคติหรืออธิโมกข์ใดๆมานําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง, แล้วจักเห็นได้ว่า ทุกข์ ที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ทั้ง ๗ ข้างต้น อันมี ๑.ความเกิด ๒.ความแก่ ๓.ความเจ็บ ๔.ความตาย ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น ทั้ง๗ ประการนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น หรือเหตุแห่งทุกข์นั่นเอง อันครอบคลุมความทุกข์ทุกรูปแบบทุกประการประดามีในโลกนี้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ และเป็นไปอย่างปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมสรรพทุกข์ของบรรดาสรรพสัตว์ล้วนสิ้น ตั้งแต่อดีตกาล จวบจนปัจจุบันและต่อไปในอนาคตและจักยังครอบคลุมทุกกาลสมัยหรืออนันตกาลตลอดไป ถ้าเราใส่ใจสังเกตุโดยแยบคายจักพบคําว่า โดยย่อแล้ว ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์ หรือก็คือความหมายว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์นั่นเอง อันเป็นแก่นสาระ ที่มีความหมายที่สําคัญยิ่งว่า เหตุแห่งความทุกข์ทุกประการประดามีที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๗ นี้ สามารถย่อหรือ "สรุป" ลงเหลือเพียงเป็น "หนึ่งเดียว" เท่านั้น กล่าวคือ ทุกข์ทั้ง ๗ นี้ อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ชนิดที่พระพุทธองค์ทรงเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทลงไป คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ หรือ "อุปาทานทุกข์" หรือก็คือ "กระบวนการดำเนินชีวิตโดยอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดในสภาวะที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย " อันเป็นความทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจหรือจิต นี้แหละคือความทุกข์แท้ๆ ที่สัตว์โลกทั้งหลายมองไม่เห็นด้วยตาหรือใจธรรมดา ซึ่งตามปกติมักเติมเต็มไปด้วยกิเลส,ตัณหาและอุปาทาน จึงปิดบังดวงตาไม่ให้เห็นสัจจธรรมนี้ จึงต้องอาศัยธรรมคําสั่งสอนของพระองค์ท่านเป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรมที่หมายถึงตาแห่งปัญญาหรือความเข้าใจที่ถูกต้องแท้จริง(ญาณ) จึงจักสามารถมองเห็นได้อย่างแทงตลอด ถูกต้อง และแท้จริง<o:p></o:p>
    ก่อนอื่นต้องโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความเข้าใจจนน้อมย้อมรับตามความเป็นจริงว่า การดับทุกข์นั้น ไม่ใช่การดับทุกข์อริยสัจ อันมี เกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก, หรือความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น. ซึ่งล้วนเป็นเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวธรรมหรือกฎธรรมชาติแท้ๆ คือ เป็นสภาวะที่จริง แท้ แน่นอน, สิ่งเหล่านี้เมื่อสัตว์,บุคคลใดเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วย่อมต้องประสบพบพาน ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงจากสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นี้ หรือกฎพระไตรลักษณ์ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอริยเจ้าทุกพระองค์, แต่พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจจธรรมขั้นปรมัตถ์อันสูงสุดว่า ทุกข์เหล่านั้นเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิตอันยังต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นไปตามกระแสสภาวะธรรมหรือธรรมชาติ แต่เพราะความไม่รู้ด้วยอวิชชา จึงไม่รู้จะกระทําหรือปฏิบัติเยี่ยงไรต่อทุกข์เหล่านั้นอันเป็นสภาวะธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปเป็นธรรมดา ที่ตามธรรมชาติเดิมแท้ ของมันนั้น ไม่เป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน และยาวนาน ต้องปฏิบัติเยี่ยงไรไม่ให้แปรปรวนไปถูกครอบงำด้วยตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ หรือ อุปาทาน ทุกข์ ที่ปุถุชนรู้สึก เร่าร้อนเผาลนเกิดแก่ใจหรือจิตและเป็นไปอย่างยาวนาน เพราะแยกแยะไม่ออกเนื่องจากยังไม่มีวิชชา ของพระพุทธองค์ จึงยังคงถูกครอบงําด้วยอวิชชา อันคือความไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวะธรรม(ชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์ จึงปฏิบัติดับทุกข์ที่เหตุ อันทำให้เกิดทุกข์ขึ้นนั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง กลับไปพยายามแสวงหาหรือปฏิบัติที่จะไม่ให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ใดๆ อันเป็นสภาวะธรรมที่ยังคงเกิดมีเป็นเช่นนั้นเอง กล่าวคือ ไม่อยากให้มีทุกข์ ไม่ให้มีโศก ไม่ให้มีโรค ไม่ให้มีภัย ไม่ให้มีเสนียดจัญไรใดๆมากระทบหรือเกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และเป็นไปอย่างไม่รู้ตัวว่ายึดเยี่ยงนี้อยู่ โดยมัวแต่ยึดในบุญในกุศล เพื่อหวังผลบุญช่วยคํ้าจุนดังกล่าว จนขาดการปฏิบัติเพื่อดับภพ ดับชาติ อันเป็นเส้นทางตัดตรงถึงบุญถึงกุศลขั้นสูงสุด อย่างถูกต้องดีงาม.<o:p></o:p>
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า<o:p></o:p>
    "เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นอย่างที่สุดแล้ว เบญจขันธ์(ขันธ์ ๕)ที่มีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์." <o:p></o:p>
    สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา<o:p></o:p>
    คําสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น ล้วนเป็นคําสั่งสอนให้นําออกหรือดับอุปาทานทุกข์ หรือทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจล้วนสิ้น และ"อุปาทานทุกข์"นี้แหละคือความทุกข์จริงๆที่มนุษย์ทั้งหลายกําลังเผชิญกันอยู่ทุกๆขณะจิต เพียงแต่ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นอุปาทานทุกข์, เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน เพราะอวิชชาจึงพยายามปฏิบัติหาทางดับเวทนา อันเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์(กระบวนการของชีวิต) อันเป็นสภาวธรรมชาติแท้ๆไปด้วย โดยไม่รู้ตัว, ี่แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงยอมรับและประสบกับสภาวธรรมชาติเหล่านี้เช่นกัน, เมื่อไม่เข้าใจจึงก่อกลายเป็นอุปาทานทุกข์อันเป็นทุกข์แท้ๆให้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ไม่เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก จึงเกิดการเวียนวนไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติจนเหนื่อยอ่อน เพราะแน่นอนที่ย่อมไม่สามารถปฏิบัติให้ชนะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้ตามความเชื่อ,ความเข้าใจผิดนั้นได้ จึงอุปมาดั่งวนเวียนไล่จับเงาตนเองอยู่ตลอดกาลสมัย ซึ่งย่อมไม่มีวันประสบความสําเร็จไม่ว่าจักนานไปถึงภพชาติใดๆก็ตาม<o:p></o:p>
    อุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด? เข้าใจจริงๆแล้วหรือ?<o:p></o:p>
    ปฏิจจสมุปบาทสามารถอธิบายได้ว่าอุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น?<o:p></o:p>
    เมื่อไม่คลุมเครือและเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า อันใดเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นมวลเหตุแห่งทุกข์ทั้งมวลแล้ว ย่อมสามารถแก้ปัญหาคือดับทุกข์ที่เหตุได้อย่างถูกต้อง อันอุปมาดั่งดับไฟที่ต้นเพลิง อันย่อมต้องบังเกิดผล ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้<o:p></o:p>
    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ<o:p></o:p>
    อันคือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่ง(ผล)นั้นก็ดับ<o:p></o:p>
    จากปฏิจจสมุปบาทถ้าท่านพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายแล้ว ท่านจะได้ประโยชน์อันสูงลํ้าค่า<o:p></o:p>
    สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า<o:p></o:p>
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม<o:p></o:p>
    อนึ่งเราควรอ่านพิจารณาแยกแยะเวทนา(การเสวยอารมณ์หรือการเสวยความรู้สึก เป็นสุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุขหรือไม่ทุกข์ไม่สุข)อันคือทุกข์ธรรมชาติของชีวิตหรือขันธ์๕ อันเป็นกระแสสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติแท้ๆ ให้ออกจาก"ความทุกข์แท้ๆ"(ทุกข์อุปาทาน)อันเกิดแต่เหตุปัจจัยชนิดที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิตมาปรุงแต่งจนเป็นทุกข์ให้ชัดเจน เพราะเป็นปัจจัยสําคัญให้เข้าใจในสภาวะธรรม อันจะมีกล่าวไปเป็นลําดับขั้น คําศัพท์บาลีอาจมีค่อนข้างมากเพื่อเทิดพระเกียรติ์แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรมอันชอบด้วยพระองค์เอง และเพื่อการสืบทอดพระศาสนา เพื่อให้คงความหมายเดิมของพระพุทธองค์ไว้ แต่จะมีวงเล็บอธิบายไว้เป็นส่วนใหญ่ และบางคําท่านสามารถคลิกดูความหมายได้ทันที, หรือค้นหาคำศัพท์ โดยคลิกที่เม้าส์ขวาของทุกหน้า, ตลอดจนSearch Engine สำหรับการค้นหาข้อมูลภายในเว็บปฏิจจสมุปบาท, และเป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่ต้องการให้อ่านอย่างพิจารณาช้าๆแต่โดยละเอียด เพื่อที่จะได้พิจารณาโดยแยบคาย(อย่างชาญฉลาด) และสามารถที่จะศึกษาต่อจากแหล่งข้อมูลอื่นๆได้อันล้วนแต่อ้างอิงหรือแปลมาแต่พระบาลีกันทั้งสิ้น, ขณะอ่านขอให้อ่านอย่างพิจารณาและพยายามลดละความมานะ (ความถือตัว,ถือตน ว่าดี ดีกว่า เก่งกว่า ด้อยกว่า) และทิฏฐุปาทานลงเสียให้ได้สักชั่วขณะระยะหนึ่ง อันเป็นอุปาทาน ชนิดยึดมั่นถือมั่นในทฤษฎี ในความเชื่อ ในความคิดของตัวเอง อันมีเป็นปกติธรรมของปุถุชนเพียงแต่ไม่รู้ตัว และเป็นสิ่งที่เรากําลังจะศึกษาและปฏิบัติเพื่อนําออกและละเสียให้ได้ จึงจะดับทุกข์ได้ โดยเฉพาะความคิดที่ว่า "รู้แล้ว เข้าใจแล้ว" เพื่อท่านจักได้ประโยชน์อันสูงสุดในการดับทุกข์สมดั่งพระพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<o:p></o:p>
    เมล็ดพืชอันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ)ถึงแม้มีอยู่ แต่จักงอกเป็นต้นไม่ได้ถ้าขาดปัจจัยคือดินและนํ้า คือ เมื่อไม่มีดินและนํ้าอันเป็นปัจจัยสําคัญให้เมล็ดพืชงอก, เมล็ดพืชนั้นย่อมไม่สามารถงอกเป็นต้นได้ฉันใด, เหตุแห่งทุกข์(อันคือบรรดาความเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, ความปรารถนาสิ่งอันใดไม่ได้ในสิ่งนั้น ทั้ง๗ประการ)ถึงแม้มีอยู่ดุจดั่งเมล็ดพืชอันเป็นไปตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) แต่เมื่อไม่มีปัจจัยต่างๆอื่นอีก ก็ย่อมไม่สามารถงอกงามหรือเติบโตไปเป็นความทุกข์ได้ฉันนั้น.<o:p></o:p>
    สรรพทุกข์ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนคือ"ทุกข์อุปาทาน หรือ อุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข์" ท่านไม่อยากทราบอุปาทาน "เกิด" และ "ทํางาน" อย่างไร ? และจะ"ดับ"ได้อย่างไร ? ทําไมถึงครอบงําทุกสรรพสัตว์ไว้ได้ทุกกาลสมัย ? ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติ และยังจะเป็นเช่นนี้จวบจนโลกนี้แตกสลายไปในที่สุด อันพึงยกเว้นแต่เหล่าพระอริยเจ้า<o:p></o:p>
    ข้อพึงสังวรณ์ การอ่านแล้วมีความเข้าใจอย่างถูกต้องโดยประมาณ จักมีประโยชน์จนเราสัมผัสและรู้สึกได้ด้วยตนเอง(ปัจจัตตัง)ในระดับหนึ่งจนแปลกใจ แต่จะยังไม่ใช่คุณประโยชน์อันอนันต์ของปฏิจจสมุปบาท ท่านจักต้องพึงกระทําโยนิโสมนสิการในธรรมนี้ต่อไปคือพิจารณาในธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรเพราะเป็นกระบวนธรรมของจิตอันสลับซับซ้อนละเอียดอ่อน การอ่านแล้วเข้าใจยังไม่ใช่การพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ)หรือวิปัสสนา, ควรพยายามพิจารณาแก้ข้อสงสัยต่างๆ เมื่อพบแล้วพึงพิจารณาให้เข้าใจถึงใจ จนวิจิกิจฉาคือความสงสัยใดๆในธรรมนี้หมดสิ้นไป เพราะความเข้าใจ ไม่ใช่เพราะการจําได้จากการอ่าน,การฟังหรือการคล้อยตามข้อธรรม จึงจักยังให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และนํามาเป็นแนวทางปฏิบัติ อันจักทําให้หมดความสงสัยที่แอบซ่อนอยู่ลึกๆในหลักธรรมพระพุทธศาสนา แล้วเราจักพบกับคุณอนันต์ของ<o:p></o:p>
    ปฏิจจสมุปบาท<o:p></o:p>
    <script language="JavaScript"> //---- Choice of variables ---- glow_color="blue" glow_min=2 glow_max=5 glow_speed=300 function f_glow(){glow_size+=glow_const if (glow_size>glow_max || glow_size<glow_min) glow_const*=(-1) document.all.glow_text.style.filter="glow(color="+glow_color+", strength="+glow_size+")" } if(document.all){glow_const=1;glow_size=glow_min;document.all.glow_text.style.width="100%";setInterval("f_glow()",glow_speed)} </script>ปรมัตถธรรม กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์<o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอยู่เนืองๆว่าท่านทรงสอนแต่เรื่องให้รู้จักทุกข์ ที่หมายถึงรู้เข้าใจและรู้เท่าทัน ก็เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดับทุกข์เท่านั้น ดังนั้นคําสอนทั้งหลายของพระองค์จึงมุ่งหมายเป็นที่สุดอยู่ที่การดับทุกข์ อันเป็นสุข สงบ บริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่งทั้งสิ้น แต่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเป้าหมาย บุคคล สถานะการณ์ และกิเลสตัณหาอันมากมายหลากหลาย คําสอนจึงมีตั้งแต่ขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เป็นลําดับขึ้นไป อันขึ้นอยู่กับเพศคือฆราวาสหรือบรรพชิตและภูมิปัญญาและจริตของแต่ละบุคคล คําสอนของท่านจึงมีมาก และยังแตกแขนงและได้ขยายความออกไปตามกาลสมัยถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์และเกิดเป็นนิกายต่างๆ แต่แก่นของธรรมแท้ๆยังคงแฝงอยู่ อันล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันทั้งสิ้นคือ"ดับทุกข์" อันคือ"ดับอุปาทานทุกข" หรือ "ดับทุกข์ที่บังเกิดแก่จิต" อันยังให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนั่นเอง ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า<o:p></o:p>
    ผู้ไม่มอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน<o:p></o:p>
    (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)<o:p></o:p>
    อันล้วนปรากฎอยู่ในหลักธรรม "ปฏิจจสมุทปบาท" นี้ทั้งสิ้น, แม้ในขณะที่ทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ท่านก็ได้ตรัสสั่งสอนปฏิจจสมุปบาทอยู่เนืองๆ แต่เนื่องจากความยากและลึกซึ้ง จึงได้แยกออกเป็นส่วนๆ หรือกล่าวในแนวทางอื่นๆเช่นกล่าวแบบอนุโลมคือการเกิดขึ้นของทุกข์บ้าง, แบบปฏิโลมการดับไปของทุกข์บ้าง, หรือการกล่าวจากท้ายวงจรของปฏิจจสมุปบาทย้อนไปต้นวงจรบ้าง(ปฏิโลมเทศนา), หรือองค์ธรรมย่อยๆแต่ละองค์ธรรมบ้าง ฯลฯ. ก็เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ตามความเหมาะสมและสถานะการณ์นั้นๆ หรือตามจริตหรือกิเลสอันมีมากมายและหลากหลายของผู้ที่ท่านสั่งสอนเท่านั้น <o:p></o:p>
    นักปฏิบัติสามารถใช้แก่นธรรมนี้เป็นหลักปฏิบัติ(มรรค-ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ โดยใช้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท)จนดับทุกข์ที่เกิดที่เป็นให้ดับลงไป หรือให้จางคลายจากทุกข์เพื่อให้อยู่ในโลกนี้ได้อย่างเป็นสุขตามควรแห่งฐานะของตน หรือเพื่อนิโรธอันเป็นการสิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันชาติ อันเป็นการสิ้นทุกข์อุปาทานหรือความทุกข์ทั้งปวงตลอดกาล, เมื่อสิ้นทุกข์ทั้งปวง นั่นแหละคือสิ่งที่สุขที่สุด ที่เราปุถุชนแสวงหากันจากภายนอกโดยไม่เข้าใจ เพราะความจริงแล้ว สุขนั้นก็ไม่มี มีแต่ทุกข์และดับทุกข์เท่านั้น<o:p></o:p>
    ปฏิจจสมุปบาท แม้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ยากแก่การเข้าใจ สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ แต่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงชี้แนวทางไว้แล้ว จึงไม่เกินความเพียรที่แน่วแน่อย่างแน่นอน แต่ต้องใช้ปัญญา ปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาในทางโลกๆที่เราท่านทั้งหลายเคยชิน ยึดมั่น เคยปฏิบัติกันในชีวิต แต่เป็นปัญญาที่หมายถึงความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)เรื่องทุกข์และการดับทุกข์, อันเน้นที่ความเข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆในการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับลงของทุกข์ที่ใจหรือจิตเป็นสําคัญ อันในที่สุดย่อมยังผลให้จิตและกายเป็นสุขอย่างแท้จริงสูงสุดตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)<o:p></o:p>
    แนวทางปฏิบัติในโฮมเพจปฏิจจสมุปบาทนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องสูงสุดตามหลักพุทธศาสนาที่แม้จะยากต่อการทําความเข้าใจแต่ก็ให้ผลตอบแทนอย่างสูงสุด ให้สมดังพระพุทธประสงค์ เพื่อความจางคลายจากทุกข์ตามฐานะแห่งตน หรือเพื่อการดับสนิทไปแห่งทุกข์ อันเป็นจุดหมายสําคัญอันสูงสุดของพระพุทธศาสนาเท่านั้น ดังเช่น<o:p></o:p>
    ๑. ชี้ให้เห็นอริยสัจ๔ โดยเฉพาะ การกำหนดรู้ ทุกข์, ทุกข์อะไร? ที่เราต้องหมายมั่นกําจัด และสามารถกําจัดหรือดับได้จริงๆ และถูกต้องตามพระพุทธประสงค์ และทุกข์อะไร? ที่ยังคงเกิดคงมีเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติ และปฏิบัติเยี่ยงไรจึงไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือทุกข์นั้นมารบกวนไม่ได้<o:p></o:p>
    ๒. ชี้ให้เห็นและเข้าใจจริงๆในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ต่างๆ ดังเช่น <o:p></o:p>
    หลักธรรมอิทัปปัจจยตา อันเป็นธรรมแสดงกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ ดังนั้น เมื่อเหตุดับ ผลก็ย่อมต้องดับ เป็นไปเยี่ยงนี้ในทุกสรรพสิ่งทั้งในฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม ที่ไม่รู้อย่างแจ่มแจ้งก็เพียงแต่เพราะว่า เรารู้เหตุแค่ไหนเท่านั้นเอง อุปมาพุทธญาณหรือความรู้นั้นดังใบไม้ในป่าใหญ่ ส่วนธรรมคำสอนของพระองค์ท่านดุจดั่งใบไม้ในกำมือ เพราะหลักธรรมคำสอนนี้เพื่อนำไปปฏิบัติพิจารณา เพื่อให้เห็นเหตุอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อที่จะได้ปฏิบัติดับที่เหตุได้อย่างถูกต้องดีงาม และธรรมของพระองค์ท่านเป็นการเน้นโดยเฉพาะเพื่อการดับไปแห่งทุกข์อันคืออุปาทานทุกข์นั่นเอง ที่มีแนวคำสอนอันดีงามไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ<o:p></o:p>
    ขันธ์๕ กระบวนการแห่งชีวิตที่เราใช้ในการดําเนินชีวิตให้เป็นปกติสุข โดยเฉพาะเวทนา(ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส)และจิตสังขาร(ความคิดความนึก,โทสะ,โมหะ,ราคะ ฯลฯ.)อันเป็นสังขารขันธ์ที่เป็นขันธ์หนึ่งของขันธ์๕ ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดความทุกข์ที่หมายถึงอุปาทานทุกข์, และอุปาทานอะไร? ทําไมจึงกล้าแกร่งนัก? จนสามารถครอบงําสรรพสัตว์ไว้ได้ตลอดมาและตลอดไป ทุกภพ ทุกชาติ<o:p></o:p>
    ธรรม หรือ ธรรมะ ในพระพุทธศาสนานั้นก็คือ คําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติในการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปแห่งทุกข์นั่นเอง เพื่อให้เกิดปัญญาหรือญาณ อันจักนําพาให้พ้นทุกข์<o:p></o:p>
    ความยากในการปฏิบัติในข้อนี้คือการพิจารณาจนใจน้อมยอมรับด้วยใจหรือความเข้าใจในเรื่องสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติ อันเป็นจริงยิ่งใหญ่ ที่มันเป็นเช่นนั้นเอง จึงจะสามารถปฏิบัติได้ก้าวหน้า<o:p></o:p>
    ๓. อธิบายกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์อย่างละเอียดโดยพิศดารตามความเป็นจริง โดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕ มาร่วมอธิบายแจกแจงอย่างเป็นระบบโดยละเอียดที่ยังไม่มีผู้ใดบันทึกไว้นับแต่อดีต เพื่ออธิบายถึงกระบวนการทํางานของจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยแยบคาย อันเมื่อเข้าใจแล้ว(ญาณ)จะเกิดคุณอนันต์ในการปฏิบัติให้ถึงจุดมุ่งหมาย<o:p></o:p>
    ๔ ใช้ความเข้าใจในธรรมนั้นมาปฏิบัติโดยตนเอง เพื่อดับทุกข์จริงๆ อันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติ เป็นแนวทางมรรคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผล กล่าวคือ เพื่อยังให้เกิดมรรคองค์ที่๙อันคือ สัมมาญาณ(สัมมาปัญญา)ซึ่งจักยังผลให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ อันคือสัมมาวิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น)ขึ้นได้ (อ่านมรรคมีองค์๑๐ หรือ สัมมัตตะ ๑๐)<o:p></o:p>
    นักปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะรอให้เกิดความทุกข์ขึ้นเสียก่อน(แต่ไม่เห็นทุกข์อันหมายถึงไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องทุกข์-ทุกข์อุปาทานจริงๆ)จึงคิดปฏิบัติ อันทําให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างยากลําบากและไม่สามารถดับทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะไม่เข้าใจว่าเหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ อันไม่มีผู้ใดหลบหนีได้หมดสิ้น นักปฏิบัติที่มีความเพียรเสียตั้งแต่ไม่มีทุกข์จึงก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่ตั้งอยู่บนความประมาท<o:p></o:p>
    การอ่านนั้นควรอ่านอย่างช้าๆ พร้อมพิจารณาอย่างละเอียดไปด้วย ควรเปรียบเทียบกระบวนจิตต่างๆที่อธิบายอย่างแยบคายไปด้วย ไม่ควรอ่านแล้วเชื่อโดยทันที ควรตั้งอยู่บนหลักกาลามสูตร ไม่ควรอ่านอย่างรวดเร็วเพียงเพื่อให้จบๆไป เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ตามควร สมดั่งเป็นปรมัตถธรรมขั้นสูงสุด ที่แม้พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ายากและลึกซึ้งอันมีเพียงสอง แต่ก็มีคุณอันยิ่งใหญ่สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้<o:p></o:p>
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม<o:p></o:p>
    (มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)<o:p></o:p>
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต<o:p></o:p>
    (วักกลิสูตร๑๗/๑๒๙)<o:p></o:p>
    ดังนั้น คงพอสรุปได้ว่า "ทุกข์อะไร? ที่ยังคงเกิด คงมี" และ "ทุกข์อะไร? ที่ดับสนิทได้ ตามพระพุทธประสงค์"<o:p></o:p>
    "ทุกข์อะไร ที่ยังคงเกิด คงมี" คือ เหล่าทุกขอริยสัจ อันเป็นทุกข์ประจำชีวิตหรือขันธ์๕นั่นเอง อันมี ๑.ความเกิด ๒.ความแก่ ๓.ความเจ็บ ๔.ความตาย ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น ทั้ง๗ นี้เป็นสภาวธรรมของชีวิต ที่ไม่อาจหลีกหนีได้ในที่สุด<o:p></o:p>
    และทั้งสุขเวทนา,ทุกขเวทนา กล่าวคือ สุขหรือทุกข์ อันคือความรู้สึกรับรู้ ที่พึงเกิดขึ้น จากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) อันพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา หรือเป็นทุกข์ธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ยังคงพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในผู้ที่มีชีวิตอยู่ เป็นสภาวธรรมหนึ่งของชีวิต ที่ไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน จึงต้องพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทาเพื่อไม่พึงไปยึดมั่นถือมั่นหรือยึดติดยึดถือในทุกข์ หรือติดเพลินในสุข<o:p></o:p>
    ทั้ง ๒ คือทุกขอริยสัจและทุกขเวทนา จึงกล่าวได้ว่าเป็น ทุกข์ธรรมชาติ เป็นทุกข์โดยสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง และยังคงต้องเกิดขึ้น และเป็นไปเยี่ยงนี้ในผู้มีชีวิตเป็นธรรมดา<o:p></o:p>
    "ทุกข์อะไรที่ดับสนิทได้ตามพระพุทธประสงค์" อันคือ ทุกข์อุปาทาน หรือ อุปาทานทุกข์ อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนมวลมนุษย์ชาติอยู่ทุกผู้คน เพียงแต่จำแนกแยกแยะไม่ออกด้วยอวิชชา อันเป็นสิ่งที่พระองค์ท่านเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทไม่เหลือ มาโดยตลอดตั้งแต่ตรัสรู้จวบจนเข้าสู่พระปรินิพพาน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ต้องการปลดปล่อยเวไนยสัตว์ให้ออกจากกองทุกข์หรืออุปาทานทุกข์นั่นเอง<o:p></o:p>
    [FONT=&quot]<!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1028" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:150pt;height:2.25pt; mso-wrap-distance-top:6.75pt;mso-wrap-distance-bottom:6.75pt'/><![endif]--><!--[if !vml]-->[​IMG]<!--[endif]-->[/FONT] <o:p></o:p>
    สิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่ปัจจุบันชาติ<o:p></o:p>
    คือสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามสั่งสอนเวไนยสัตว์.<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    "สุขนั้นไม่มีเป็นเพียงภาษาสมมุติ, จริงๆแล้ว มีแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น และดับทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นลงไปเท่านั้น"<o:p></o:p>
    ดับทุกข์ คือความสุขในภาษาสมมุตินั่นเอง<o:p></o:p>
    ดับทุกข์ทั้งปวง จึงเป็นสุขอย่างยิ่ง <!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1029" type="#_x0000_t75" alt="ขยายความ" style='width:13.5pt; height:13.5pt;mso-wrap-distance-top:7.5pt;mso-wrap-distance-bottom:7.5pt' o:button="t"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://www.nkgen.com/magnify4.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->[​IMG]<!--[endif]--><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <table class="MsoNormalTable" style="border: 4.5pt outset ; background: rgb(102, 0, 0) none repeat scroll 0% 50%; width: 438.75pt; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" border="1" cellpadding="0" width="585"> <tbody><tr style=""> <td style="padding: 0.75pt; width: 423.75pt;" width="565">
    ทุกฺขเมว พิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
    นาฌฺฌตฺร ทุกฺขาสมฺโภติ นาฌฺฌตฺร ทุกฺขานิรูชฺฌติ
    <o:p></o:p>
    </td> </tr> <tr style=""> <td style="padding: 0.75pt; width: 423.75pt;" width="565">
    ความจริง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับ
    <o:p></o:p>
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    [FONT=&quot]<!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1030" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:150pt;height:2.25pt; mso-wrap-distance-top:6.75pt;mso-wrap-distance-bottom:6.75pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image003.png" o:href="http://www.nkgen.com/bar_n_1.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->[​IMG]<!--[endif]-->[/FONT]<o:p></o:p>
    มรดกที่ ๔๗. ตรัสว่า แต่ก่อนก็ดี บัดนี้ก็ดี เราบัญญัติแต่เรื่องความทุกข์ กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น ดังนั้น พวกเรา อย่าต้องเสียเวลา ในการศึกษา การถาม การเถียง กันด้วยเรื่องอื่นที่มิใช่สองเรื่องนี้ กันอีกเลย.[FONT=&quot] [/FONT][FONT=&quot]([/FONT]จาก "มรดกของพุทธทาส")<o:p></o:p>
    [FONT=&quot]<!--[if gte vml 1]><v:shape id="_x0000_i1026" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:150pt;height:2.25pt; mso-wrap-distance-top:6.75pt;mso-wrap-distance-bottom:6.75pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image003.png" o:href="http://www.nkgen.com/bar_n_1.gif"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->[​IMG]<!--[endif]-->[/FONT]<o:p></o:p>
    ข้อคิด แนวทางปฏิบัติ<o:p></o:p>
    หลักปฏิบัติ สมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)<o:p></o:p>
    - ให้หยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง มีแต่สติหรือจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์<o:p></o:p>
    หลักปฏิบัติ วิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)<o:p></o:p>
    - ให้หยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง มีแต่สติหรือจิตอยู่กับการคิดพิจารณา(ใช้ปัญญา)ในเหล่าธรรมอันเป็นกุศล<o:p></o:p>
    หลักปฎิบัติ สมถวิปัสสนา<o:p></o:p>
    - เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)เป็นกำลังแล้ว เจริญวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)<o:p></o:p>


    ที่มา http://www.nkgen.com/2.htm<o:p></o:p>
     
  2. อ้างว้าง

    อ้างว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +577
    ขออนุโมทนาครับ

    http://www.nkgen.com/

    เป็น web ที่เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท ที่น่าสนใจ หนึ่ง



     

แชร์หน้านี้

Loading...