ปกิณกะธรรมหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 พฤศจิกายน 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>คัดลอกมาจาก</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>http://www.luangpumun.org/index_pakin.html</CENTER>



    <CENTER>ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน
    (สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร)</CENTER>




    <CENTER>[​IMG]</CENTER>..........ระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า

    ..........ระภิกษุ ที่ได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่งกองทัพธรรม พระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้ได้บำเพ็ญความเพียร ในขั้นเอกอุ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด
    .......... พระป่า หรือพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    .......... สำหรับพระเถระผู้มีบทบาท ในการสร้างหลักปักธงชัย พระกรรมฐาน ในแผ่นดินที่ราบสูง แดนอีสานได้แก่
    ..........ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    ..........หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="40%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD>.......... และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ซึ่งกาลต่อมา ได้ให้การอบรม สั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์ เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชน ได้ผลดี เป็นอันมาก ต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่า วัดวา ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ตามแบบที่เรียกว่า "วัดป่า" ที่เน้นธรรมชาติ ความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ..........พระสายนี้ ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทา ตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์
    ..........พระป่าพระธุดงคกรรมฐาน จะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ ที่เรียกท่าน ด้วยความเคารพอย่างสูงว่า
    "พ่อแม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพนับถือ ดุจบิดรมารดาแลครูอาจารย์
    .......... ผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็จะปกครอง อบรมดูแล ลูกศิษย์ ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่ แลครูอาจารย์ เช่นกัน <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="40%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD>..........ระมาณปี พ.ศ.2459 เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอย เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ ในภาคอีสาน โดยเฉพาะ ทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่รังสีธรรม แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้แผ่ไปถึง




    </TD></TR></TBODY></TABLE>..........พระป่าทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญานั้น ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ สมณะเพศ เพราะการรักษาศีล ต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีล ให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลย ที่จะก้าวหน้า ในทางธรรมชั้นสูง
    ..........ศีล เป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ ทำให้บังเกิดสมาธิ และตั้งมั่น ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้ นอกจากนั้น ในการจาริกธุดงค แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต ต้องฟันฝ่าอุปสรรค นานาประการ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะป้องกัน ที่ดีที่สุด <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="50%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD>.......... พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ละรูป ตามประวัติได้ เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติ และมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่าน ได้เป็นเกราะแก้ว คุ้มกันพิทักษ์ รักษาพระคุณเจ้า ประสพสวัสดิภาพ ด้วยดีด้วยศีล ด้วยบุญกุศล ..........พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทา ที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทา ที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ
    ซึ่งหลักปฏิปทานี้ คือ ธุดงควัตร 13 ขันธวัตร 14 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมี กรรมฐาน 40 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไป ในอริยาบทต่าง ๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร 13 และวัตรต่าง ๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวล ล้วนเป็นธรรม เครื่องอบรมบ่มนิสัย ที่ติดกายมา ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส และเป็นธรรม ที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหา ให้หมดสิ้นไป <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width?40%?><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD width?40%?>..........การถือธุดงค์ ของพระป่า พระธุดงคกรรมฐาน เป็นเจตนา ที่แสดงออก เพื่อประหารกิเลส ของตน เกี่ยวเรื่อง เครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัย และความเพียร ด้วยข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร"




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    .......... ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย

    ..........1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ..........2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร




    ..........3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ..........4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
    ..........5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร




    ..........6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ..........7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
    ..........8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    ..........9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
    ..........10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
    ..........11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    ..........12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
    ..........13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
    .......... การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา
    ..........คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="83%"><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD>..........อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม"พุทโธ" อยู่กับสายลมหายใจ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ..........การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร ..........พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><CENTER><TBODY><TR><!-- Row 1 --><TD width="40%"><CENTER>[​IMG]</CENTER></TD><TD>สรุปพระภิกษุฝ่ายอรัญวาส
    ในพระพุทธศาสนา พระภิกษุ แบ่งออกได้เป็นสองฝ่าย คือ




    </TD></TR></CENTER></TBODY></TABLE>..........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2008
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]
    <TABLE border=0 width="79%"><TBODY><TR><TD rowSpan=3 width="34%">
    [​IMG]
    </TD><TD height=42 width="66%">
    พระพุทธศาสนามีธุระสำคัญ ๒ ประการ คือ
    </TD></TR><TR><TD height=108 width="66%">๑. คันถธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ ให้มีความรู้พระธรรมพระวินัย เพื่อดำรงรักษาตำราไว้มิให้ เสื่อมสูญ จะได้เป็นแบบแก่ผู้ต้องการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD width="66%">๒. วิปัสสนาธุระ ได้แก่การศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา เพื่อให้รู้แจ้งธรรมและกำจัดกิเลส ออกจากจิตใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธุระทั้งสองนี้ได้มีมาตั้งแต่แรกตั้งพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาได้ทรงแสดงธรรมและบัญญัติวินัยขึ้นแต่อย่างใด พระสาวกย่อมเอาธุระจดจำและสังวัธยาย บ่อยๆขณะเดียวกันก็เอาธุระปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้น จนสามารถรู้แจ้งธรรม และกำจัดกิเลสจากจิตใจได้เด็ดขาด โดยเอกเทศบ้าง โดยสิ้นเชิงบ้าง
    ท่านผู้กำจัดกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว เรียกว่าพระอรหันต์ ย่อมเอาธุระจดจำพระพุทธวจนะ และช่วยพระ บรมศาสดาทำการอบรมสั่งสอนประชาชน​
    <TABLE border=0 width="84%"><TBODY><TR><TD height=119 width=411> ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น จำนวน ๕๐๐ รูป ล้วนแต่ผู้สำเร็จอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณได้ชุมนุมกัน</TD><TD rowSpan=2 width=166>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width=411> รวบรวมพระธรรม พระวินัยที่พระบรมศาสดาทรงแสดงและทรงบัญญัติไว้ มาร้อยกรองจัดเข้าระเบียบ หมวดหมู่</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สำเร็จเป็นคัมภีร์พระไตรปิฏก เป็นตำราของพระพุทธศาสนานำสืบกันมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้
    พระพุทธศาสนาได้มาประดิษฐานในประเทศของเรา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๐๐-๔๐๐ โดยการนำของพระเถระ ๒ รูป คือ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ
    สมณวงศ์ในประเทศของเรา ไม่เคยปรากฏว่าขาดสูญ พระมหากษัตริย์ทรงเอาพระราชธุระ บำรุงพระพุทธศาสนาตลอดมาทุกสมัย
    ครั้นปรากฏว่าสมณวงศ์ในประเทศอื่นประพฤติดีงามน่าเลื่อมใส ก็เอาพระราชธุระอาราธนา มาซ่อมแปลง สมณวงศ์ในประเทศให้ดีงามขึ้น​
    <TABLE border=0 width="87%"><TBODY><TR><TD rowSpan=2 width="32%">
    [​IMG]
    </TD><TD height=73 width="68%">เช่น ในสมัยสุโขทัย พระร่วง เจ้าทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกามาไว้ในพระราชอาณาจักร</TD></TR><TR><TD height="50%" width="68%">กุลบุตรผู้เลื่อมใสก็ได้บรรพชาอุปสมบทในพระสงฆ์ชาวลังกา แม้พระภิกษุสามเณรบางองค์ ก็ได้บวชแปลง ใหม่ในพระสงฆ์ลังกาด้วย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในสมัยอยุธยาก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าพระสงฆ์แบบลังกา ได้รับพระราชูปถัมภ์ไว้ในพระราชอาณาจักร
    มีกุลบุตรเลื่อมใสศรัทธาบรรพชาอุปสมบทในคณะสงฆ์นั้นสืบมา ตั้งแต่แรกตั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงเสียกรุง
    การคณะสงฆ์ในสมัยโบราณของประเทศเรา ได้แบ่งงานออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายคันถธุระ เรียกว่า คามวาสี เอาธุระทางศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายก ผู้รับสนอง พระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้น
    ส่วนฝ่ายวิปัสสนาธุระ เรียกว่า อรัญญวาสี บ้าง วนวาสี บ้าง เอาธุระศึกษาอบรมทางสมถะ และวิปัสสนา มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายกผู้รับสนองพระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้นเช่นเดียวกัน
    ระเบียบนี้ได้ดำเนินมาจนถึงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาจึงเปลี่ยนแปลง
    ให้มีพระสังฆราชเพียงองค์เดียว แต่คงให้มีสังฆนายกสองฝ่าย คือ ฝ่ายคามาวาสีและอรัญญวาสี หรือเรียก อีกอย่างว่าฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ต่างก็รับสนองพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชไปบริหารงานในฝ่ายของ ตน
    ระเบียบนี้ได้มีมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) เพิ่งเลิกล้มไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕
    ทรงออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) โดยจัดการปกครองอนุโลมฝ่ายบ้านเมือง
    เจ้าคณะผู้บริหารการคณะในท้องถิ่น ย่อมมีหน้าที่บริหารทั้งทางคันถธุระ ทั้งทางวิปัสสนาธุระ
    เมื่อความเปลี่ยนแปลงทางฝ่ายบริหารเป็นอย่างนี้ ธุระทั้ง ๒ จึงได้รับความเอาใจใส่ไม่เท่ากัน
    งามฝ่ายคันถธุระได้เจริญก้าวหน้าไปมาก แต่งานฝ่ายวิปัสสนาธุระได้ซบเซาลง
    การที่ยังคงมีอยู่ก็โดยอุปนิสัยของพระเถรานุเถระ ผู้เห็นความสำคัญของงานฝ่ายนี้ ได้เอาใจใส่ปฏิบัติแนะนำ ศิษยานุศิษย์ในทางนี้สืบๆ กันมา​
    <TABLE border=0 width="83%" align=center><TBODY><TR><TD width="33%">
    [​IMG]
    </TD><TD rowSpan=2 width="67%">
    ภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกาชั้นแรก เอาธุระทั้งสองอย่าง หน้าฝนซึ่งเป็นฤดูกาลจำพรรษา ได้เอาธุระศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ พอตกหน้าแล้งมักเอาธุระทางวิปัสสนา ออกแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญสมณธรรม​
    แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ผู้ทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกาขณะยังทรงผนวชอยู่ ก็ทรงเอาธุระทาง วิปัสสนาด้วย ได้เสด็จธุดงค์ไปถึงหัวเมืองเหนือ เช่น เมืองสุโขทัย เป็นต้น</TD></TR><TR><TD width="33%">
    พระบาทสมเด็จ
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระเถระผู้ใหญ่ในคณะธรรมยุติการุ่นแรก มีชื่อเสียงทางวิปัสสนาธุระหลายรูป เช่น
    <TABLE border=0 width="76%"><TBODY><TR><TD width="53%">
    [​IMG]
    </TD><TD width="47%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="53%">
    สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
    วัดโสมนัส พระนคร
    </TD><TD width="47%">
    พระอมรา ภิรักขิต (เกิด)
    วัดบรมนิวาส พระนคร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร
    พระอมรา ภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส พระนคร
    พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน) วัดเทพนิมิตร ฉะเชิงเทรา
    ญาท่านพระพนฺธุโล (ดี) วัดสุปัฏน์ อุบลราชธานี
    และญาท่านพระเทวธมฺมี (ม้าว) วัดศรีทอง อุบลราชธานี
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC][SIZE=+1]รุ่นต่อมามีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ญาท่านเจ้า (เขียว) วัดราชาธิวาส และสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัส พระนคร เป็นต้น [/SIZE][/FONT]​
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ........ พูดเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉัยงเหนือ ญาท่านพระพนฺธุโล (ดี) ปุราณสหธรรมมิก และญาท่านเจ้าพระ เทวธมฺมี (ม้าว) สัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าสมัยทรงผนวช<TABLE border=0 width="86%"><TBODY><TR><TD width="35%">
    [​IMG]
    </TD><TD rowSpan=2 width="65%">........ ท่านทั้งสองได้นำแบบแผนการปฏิบัติพระธรรมวินัย ตามแบบคณะธรรมยุติขึ้นมาเผยแพร่ ได้ตั้งการศึกษาอบรมทั้งทางคันถธุระ ทั้งทางวิปัสสนาธุระ ณ วัดสุปัฏน์ และวัด ศรีทอง จ. อุบลราชธานี และขยายไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด มีจังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น เป็นต้น โดยลำดับ</TD></TR><TR><TD width="35%">
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    ( สิริจันทเถระ จันทร์ )
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="86%"><TBODY><TR><TD rowSpan=2 width="67%">........ สมัยต่อมา เจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันทเถระจันทร์) สัทธิวิหาริกของญาท่านพระเทวธมฺมี (ม้าว) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้มาเป็นผู้อำนวยการศึกษา และเป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน ท่านก็ได้เอาธุระทั้งสองอย่าง แม้องค์ท่านเอง ก็ออกเดินธุดงค์แสวงหาวิเวกบำเพ็ญภาวนา ภายหลังท่านเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ ก็เอาธุระทั้งสองตลอดชีวิต มีชื่อเสียงเด่นทางวิปัสสนาธุระองค์หนึ่ง เป็น ที่รู้จักและเคารพนับถือของพุทธบริษัททั่วไป สมัยต่อมาอีก เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ อ้วน) เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสานสืบต่อจากเจ้า พระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ </TD><TD height=226 width="33%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="33%">
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    ( ติสสเถระ อ้วน )
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="86%"><TBODY><TR><TD width="45%">
    [​IMG]
    </TD><TD rowSpan=2 width="55%">........ ได้มีพระอาจารย์สองรูป คือ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ และเจ้าคุณพระปัญญาพิสาลเถระ (หนู) เอาธุระ ทางวิปัสสนาธุระ เป็นกำลังของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทางด้านวิปัสสนาธุระ </TD></TR><TR><TD width="45%">
    พระครูวิเวกพุทธกิจ
    ( พระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ........ ครั้นเจ้าคุณพระปัญญาพิสาลเถระได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าไปเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวันแล้ว ก็ยังเหลือแต่พระอาจารย์เสาร์ เพียงองค์เดียวนำหมู่คณะทางวิปัสสนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมัยนั้นพระอาจารย์เสาร์ได้ศิษย์สำคัญองค์หนึ่ง คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ทำให้ได้กำลังในการเผย แพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระมากขึ้น และพระอาจารย์มั่น ได้ศิษย์สำคัญอีกองค์หนึ่ง คือ พระญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม) ทั้งสามท่านได้ร่วมจิตใจกันเอาธุระทางวิปัสสนาอย่างเต็มกำลัง
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD rowSpan=2 width="60%">........ ครั้นมาเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ อ้วน) เล็งเห็นความ สำคัญของงานด้านนี้ยิ่งขึ้น จึงมีบัญชาให้เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์) มาอยู่จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำเนินงานวิปัสสนา ในความอำนวยการของท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา</TD><TD height=194 width="40%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="40%">
    พระครูวินัยธรภูริทัตโต
    ( พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถร )
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD width="32%">
    [​IMG]
    </TD><TD rowSpan=2 width="68%">........ เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ได้เอาธุระในการนี้ เป็นกำลังของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กำลังหนึ่ง ครั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าไปเป็น เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสแล้ว ท่านก็ได้บัญชาสั่งให้ เจ้าคุณญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์) และพระมหาปิ่น ปัญญาพโลเปรียญโท อาจารย์ วิปัสสนา ไปช่วยเป็นธุระในการให้การศึกษา อบรมทางวิปัสสนาแก่พุทธบริษัท ในวัดบรมนิวาสคนละ ๑ ปี
    </TD></TR><TR><TD width="32%" noWrap>
    พระญาณวิศิษฏ์
    ( พระอาจารย์สิงห์ ขันตตยาคโม )
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD rowSpan=2 width="65%">........ จากนั้นงานด้านนี้ได้เผยแพร่ไปในภาคกลางหลายจังหวัด โดยการนำของเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ และศิษยานุศิษย์ของท่าน งานเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนา ได้เผยแพร่ไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค ใต้โดยลำดับ นับได้ว่างานพระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้เผยแพร่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ มีพุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต สนใจบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตใจมากขึ้นอย่างน่าปิติ.
    </TD><TD width="35%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="35%">
    พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ........ พระภิกษุ ศิษยานุศิษย์ของเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ ผู้ได้ศึกษาอบรมทางสมถะวิปัสสนามีความรู้พอเป็นครูบา อาจารย์ได้ ท่านเหล่านั้นได้เอาธุระอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททางสมถะวิปัสสนาตามสติกำลัง บางท่านมีความรู้ความสามารถ ทางการฝ่ายบริหารได้แต่งตั้งให้มีตำแหน่งฝ่ายบริหารด้วย และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะบ้าง เป็นพระครูสัญญาบัตรบ้าง บางท่านก็ได้เป็นพระครู ฐานานุกรมบ้างตามฐานานุรูป ในสมัยปัจจุบัน พระเถรานุเถระฝ่ายบริหาร ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิปัสสนาธุระยิ่งกว่าแต่ก่อน
    ........ จึงเอาใจใส่บำเพ็ญวิปัสสนาธุระและอำนวยการให้งานฝ่านนี้ดำเนินไปด้วยดีเป็นที่น่าโมทนาความที่เคยเข้าใจแตก ต่าง ซึ่งเป็นอุปสรรคของงานนี้ค่อยๆ ได้อันตรธานไป หวังว่าในเวลาต่อไป งานนี้จะได้รับความเอาใจใส่ และอุปถัมภ์บำรุงให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางกว่าปัจจุบัน และหวังว่าความเข้าใจดีต่อกันและเอกีภาพของสงฆ์จะพึงบังเกิดขึ้นในกาลต่อไปด้วย
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 width="84%" align=center><TBODY><TR vAlign=center align=middle><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR vAlign=center align=middle><TD noWrap>
    พระครูวิเวกพุทธกิจ
    ( หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล )
    </TD><TD noWrap>
    พระครูวินัยธรภูริทัตโต
    ( หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต )
    </TD><TD noWrap>
    พระญาณวิศิษฏ์
    (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)
    </TD></TR><TR vAlign=center align=middle><TD colSpan=3>
    สามเสนาธิการกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระของประเทศไทยยุคปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นได้ว่ากองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระภายใต้การนำของสามเสนาธิการ คือ พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์สิงห์ ได้วางแผนอย่างมีระเบียบวินัยและอาจหาญ​
    นำพระในคณะออกเผยแพร่พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตในภาคต่างๆให้พากันสนใจและบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตใจกันมากขึ้น
    เรื่องราวที่จะปรากฏต่อไปนี้จะชี้ให้เห็นถึงการแผ่ขยายของกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ขยายออกไปทุก ภาคของประเทศ
    โดยพระญาณวิศิษฏ์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) ศิษย์เอกของพระอาจารย์มั่น และเป็นผู้นำที่สำคัญในการเผยแพร่ครั้ง นั้นด้วย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นเองโดยตลอดว่า
    พระอาจารย์ท่านใดเป็นผู้นำไปเผยแพร่ในภาคใด จังหวัดไหน...
    ( ในที่นี้ทางผู้จัดทำเว็บไซร์ได้ปรับปรุงข้อมูลบางประการเพิ่มเติม เช่น สมณศักดิ์ วันที่มรณภาพ สถานที่จำพรรษาครั้งสุดท้าย เพิ่มเติมไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บ )
    กรุงเทพมหานคร
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD vAlign=center width="25%" align=middle>
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=center rowSpan=2 width="75%" align=left>๑. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ ได้รับบัญชาสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) แล้วได้ไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    ท่านพักที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ๑ พรรษา มีพุทธบริษัทสดับตรับฟังเป็นอันมาก
    มรณะภาพแล้ว ( ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ ณ วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี )
    </TD></TR><TR><TD width="25%" noWrap align=middle>
    พระมหาปิ่น
    ปญฺญาพโล
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="86%"><TBODY><TR><TD rowSpan=2 width="73%">๒. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้รับบัญชาสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) แล้วได้ไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาค ๑ กรุงเทพฯ
    ท่านพักที่วัดบรมนิวาส ๑ พรรษา ได้ฝึกสอนพุทธบริษัทวัดบรมนิวาสให้นั่งสมาธิภาวนาและได้ไปฝึกสอนพุทธ บริษัท วัดสัมพันธวงศ์ให้นั่งสมาธิภาวนา
    มีประชาชนพุทธบริษัทมาสดับตรับฟังและฝึกหัดนั่งสมาธิเป็นอันมากทั้ง ๒ สำนัก
    ท่านได้มรณะภาพเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๔ ( ณ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา )
    </TD><TD height=254 vAlign=bottom width="27%" align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="27%">
    พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ลพบุรี
    พระอาจารย์ปทุม ธนปาโล ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่จังหวัดลพบุรีท่านพักอยู่ที่วัดป่านิคมสามัคคีชัย บ้านบ่อหด จังหวัดลพบุรีท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระนามว่า พระครูญาณวิโรจน์
    ปราจีนบุร
    ๑. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาค ๒ จังหวัดปราจีนบุรีก่อนแต่เมื่อยังไม่ตั้งสำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ ท่านพักที่สวนมะม่วงของอาจารย์พร บรรลือคุณ ตะวันออก วัดป่าทรงคุณ ในดงพระราม จังหวัดปราจีนบุรีและได้ไปช่วยแก้ไขวัดปากพอกที่เลิกร้าง ให้กลับเป็นวัดดีมีพระคณะธรรมยุต อยู่ประจำตลอดจนทุกวันนี้
    ๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระภาค ๒ จังหวัดปราจีน บุรีอีกท่านพักที่สำนักสงฆ์ วัดป่าทรงคุณ ตำบล ดงพระราม อำเภอ เมือง จังหวัดปราจีนบุรี ๕ พรรษา
    เมื่อกลับจากจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ท่านป่วยได้นำไปพยาบาลรักษาตัว ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินทร์-
    ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ๒ พรรษา ไม่หายได้ถึงแก่มรณะภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙
    จันทบุร
    ๓. พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร และ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร พระอาจารย์ ไสว โสภิโต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาค ๒ จังหวัดจันทบุรี และได้แยกกันอยู่องค์ ละสำนัก คือ

    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD vAlign=center rowSpan=2 width="73%" align=left>พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร พักอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าคลองกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงได้ ๒๔๙๒ พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระใน ภาค ๑ กรุงเทพฯ ท่านพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนคร</TD><TD vAlign=bottom width="27%" align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="27%" noWrap align=middle>
    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อมาท่านอยู่ที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระนามว่า พระสุทธิธรรม รังสีคัมภีร์เมธาจารย์
    ท่านมรณะภาพเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๔
    พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ วัดป่าทรายงาม บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัด จันทบุรี
    เมื่อกลับจากจังหวัดจันทบุรีภาค ๒ แล้ว คณะสงฆ์ได้จัดส่งให้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาภาค ๔ จังหวัดสกลนคร
    ท่านพักอยู่ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ บ้านนาสีนวน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    ท่านมรณะภาพเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๐๕
    พระอาจารย์วิริยังค์ สิธินฺธโร ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ วัดป่าดำรงธรรมาราม
    และได้ขออนุญาตสร้างอุโบสถผูกพันธสีมา เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ ชื่อว่าพันจากความเป็นสำนักสงฆ์แล้ว ได้เป็นวัด ดำรงธรรมารามโดยสมบูรณ์ด้วยกฏหมาย อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระครูญาณวิริยะ
    ปัจจุบันคือ พระราชธรรมเจติยาจารย์ เจ้าอาวาสธรรมมงคล ซอยสุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ
    พระอาจารย์ไสว โสภิโต ท่านพักอยู่ที่วัดเจดีย์แก้ว ตำบลหนองซิ้ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
    ได้รับสมณศักดิ์ เป็นฐานานุกรมของเจ้าคุณ พระเทพสุทธิโมลี วัดจันทนาราม เจ้าคณะธรรมยุต จังหวัด จันทบุรี มีนามว่า พระครูปลัดไสว โสภิโต
    นครราชสีมา
    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระราชา คณะ ชั้นเจ้าคณะรอง (หิรัญญบัตร) มีนามว่า เจ้าคณะ พระพรหมมุนี (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลนคร ราชสีมา วัดสุทธจินดา
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD vAlign=center noWrap align=left>
    [​IMG]
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    </TD><TD vAlign=center>ท่านได้บังเกิดมีความสังเวชสลดใจ โดยได้ทัศนาการเห็นเจ้าพระคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนคร ป่วยหนักระลึกถึงตัวว่าไม่มีกัลยาณมิตรที่ดีทางฝ่ายวิปัสสนา ใคร่จะหาที่พึ่งอันประเสริฐต่อไป
    จึงตกลงใจต้องไปเอาพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งกำลังออกเที่ยวธุดงค์ไป
    จังหวัดขอนแก่นมาเป็นกัลยาณมิตรที่ดีให้จงได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อตกลงใจแล้วก็ไปโดยฐานะเป็นเจ้าคณะตรวจการ
    ครั้นไปถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ถามได้ทราบว่า พระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น กำลังออกไปเทศนาสั่งสอน ประชาชนอยู่อำเภอน้ำพอง
    ก็โทรเลขถึงนายอำเภอให้ไปอาราธนา พระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น เอารถยนต์มาส่งถึงจังหวัดขอนแก่นใน
    วันนั้น
    เมื่อมาถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ท่านบอกว่า
    จะเอาไปอยู่ด้วยที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อปรึกษาหารือกันด้านวิปัสสนาและอบรมสมถวิปัสสนาแก่พุทธบริษัท ทั้งหลายด้วย เพราะได้เห็น เจ้าคุณพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ป่วยขาหักเสียแล้ว เราสลดใจมาก
    เมื่อมาถึงจังหวัดนครราชสีมาแล้ว เจ้าคุณพระพรหมมุนีพักอยู่วัดสุทธจินดา พอสมควรแล้ว ก็นำพระอาจารย์ สิงห์ พระมหาปิ่น ออกไปหาวิเวก ที่ป่าช้าที่ ๓
    คุณหลวงชาญนิคม คุณหลวงนรา ได้ถวายที่ดินให้เห็นเป็นพื้นที่สร้างวัดป่าสาลวัน
    แล้วท่านก็นำไปหาเจ้าพระคุณ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ ที่วัดบรมนิวาสกรุงเทพฯ
    ครั้นเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ กลับจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดนครราชสีมาแล้ว เจ้าพระคุณพระพรหมมุนี ไปพักวัดสุทธจินดา
    พระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น ไปพักที่วัดป่าสาลวัน ซึ่งคุณหลวงชาญนิคม ได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนกุมภา พันธ์ ๒๔๗๔ ได้กุฏิ ๑ หลัง ศาลายังสร้างไม่เสร็จ ๑ หลัง
    พรรษาแรก ได้แยกกันอยู่จำพรรษา ดังนี้คือ
    ๑. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
    ๒. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
    ๓. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วักป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา มีพระ ภิกษุ ๓๘ รูป สามเณร ๑๒ รูป
    ๑. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕กับ
    ๒. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    เผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ ป่าช้าที่ ๒ เรียกว่าป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล อำเภอ เมือง จังหวัดนครราชสีมา มีพระภิกษุ ๑๐ รูป สามเณร ๔ รูป
    ครั้นปีต่อไป ก็ได้แยกกันอยู่จำพรรษา เป็นหลายสำนักมากขึ้น โดยลำดับ คือ
    ๑. ท่านพระอาจารย์ภุมมี จิตรธมฺโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา
    ท่านมรณะภาพประมาณปี ๒๕๐๖
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์อ่อน
    ญาณสิริ
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์ฝั้น
    อาจาโร
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์กงมา
    จิรปุญโญ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิรพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ให้ไปเผยแพร่พระ พุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ใขเขตอำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
    นายอำเภอมีความเลื่อมใสอาราธนาไปพักสำนักสงฆ์ วัดป่าสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง อำเภอสี่คิ้ว จังหวัด นครราชสีมา
    ๓. พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร พร้อมทั้งพวกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอโชคชัย
    ขุนอำนาจ นายอำเภอมีศรัทธาเลื่อมใสมากได้อาราธนาให้ท่านพักที่สำนักสงฆ์วัดป่าธรรมนิการาม อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
    ๔. พระอาจารย์บุญ พระอาจารย์พรหม พรหมสโร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระที่กิ่งอำเภอ บำเหน็ดณรงค์
    ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าสำราญจิต ตำบลบ้านชวน กิ่งอำเภอบำเหน็ดณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
    ๕. พระอาจารย์คำตา พร้อมพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอปักธงชัย
    ท่านพักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าเวฬุวัน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
    เมื่อพระอาจารย์คำตาจากไปแล้ว ต่อมามีพระอาจารย์ตู้ เป็นผู้อยู่ปกครองสืบมา
    ๖. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
    ท่านพักที่สำนักสงฆ์วัดป่าสุวรรณไพโรจน์ อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
    อยู่ต่อมา คณะสงฆ์ได้ให้พระอาจารย์ทองอยู่ ฐิตธมฺโม ปกครองวัดสืบมา และได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างอุโบสถผูกพันทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD width="33%" noWrap>
    [​IMG]
    พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม
    </TD><TD vAlign=center width="67%" align=left>๗. พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อำเภอจักรราช
    ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าจักรราช อำเภอจักรราช จังหวัดนครราชสีมา
    ต่อมา คณะสงฆ์ได้จัดให้ พระอาจารย์สำราญ ปกครองอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าจักรราช
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ได้รับสมณศักดิ์ เป็นฐานานุกรมของเจ้าคุณพระธรรมปิฏก เจ้าคณะธรรายุตภาค ๓-๔-๕ มีนามว่า พระครู ธรรมธรสำราญ
    และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต วิสุงคามสีมาสร้างอุโบสถเสร็จแล้ว ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒-๓ ๔-๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓
    อุบลราชธานี
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD width="64%">พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ และ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สามเณรเป็นอัน มาก เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี</TD><TD width="36%" noWrap>
    [​IMG]
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ๑. พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ พักอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และได้จัดการสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น หลายสำนัก คือ
    สำนักสงฆ์วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร สำนักสงฆ์วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร
    สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านสวนงัว อำเภอม่วงสามสิบ
    สำนักสงฆ์วัดบ้านเหล่าเสือโกก อำเภอขุหลุ
    สำนักสงฆ์วัดบ้านด่าน อำเภออำนาจเจริญ
    สำนักสงฆ์วัดป่าท่าหัวดอน อำเภอเขื่องใน
    ท่านป่วยเป็นโรคชรา มรณะภาพล่วงไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕
    ๒. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถระ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ภาค ๔ จังหวัดสกลนคร
    ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร แล้วไปอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    ป่วยด้วยโรคชราอาพาธถึงแก่มรณะภาพ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒
    ๓. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เผนเพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดป่าภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลสาหาร และ สำนักสงฆ์วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินทร์ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งสำนักสงฆ์ วัดป่าด่าน อำเภอ อำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
    ท่านป่วยเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองแตก มารักษาอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินทร์ชำราบไม่หายถึงแก่มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๐๒
    ๔. พระอาจารย์บุญสิงห์ อยู่จำพรรษาสำนักวัดสร่างโศก เปลี่ยนเป็นวัดศรีธรรมาราม ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรมีนามว่า พระครูพิศาลศีลคุณ
    ๕. พระอาจารย์ฝั่น ปาเรสโก อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดบ้านหนองไค่ อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านได้มาอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำเอราวัณ จังหวัดเลย
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สุรินทร์

    พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล พระมหาโชติ พระอาจารย์น้อย อรินฺทโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD width="46%">
    [​IMG]
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโลกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    </TD><TD width="54%">๑. พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ท่านพักอยู่วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญา บัตร มีนามว่า พระครูรัตนากร เจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดสุรินทร์ และเป็นพระอุปัชฌาย์
    ต่อมาคือ พระราชวุฒาจารย์ และมรณะภาพเมื่อ ๒๕๒๖
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ๒. พระอาจารย์มหาโชติ คุณสัมฺปนฺโน พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าโยธาประสิทธิ กรมทหาร จังหวัดสุรินทร์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีนามว่า พระธรรมฐิติญาณ
    ต่อมาท่านอยู่วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครราชสีมา และได้เลื่อน สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช มีนามว่า พระราชสุทธาจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
    ต่อมาคือ พระเทพสุทธาจารย์ (พระมหาโชติ คุณสมฺปนฺโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์วรารามวิหาร ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มรณะภาพเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๗
    พระอาจารย์น้อย อรินฺทโม พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่านิมิตรมงคลสถานี จังหวัดสุรินทร์
    ศรีษะเกษ
    พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ จังหวัดศรีษะเกษ
    เมื่อไปถึงจังหวัดศรีษะเกษแล้ว ท่านได้พักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าสำราญ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัด ศรีษะเกษ
    ต่อมาท่านไปอยู่ วัดโนนพระนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
    อุดรธานี
    พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์อ่อน ญาณสิรพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปน์โน พร้อมด้วยพระ ภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ องค์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่านวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดอุดรธานี
    เมื่อไปถึงจังหวัดอุดรธานีแล้ว
    พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พักอยู่สำนักวัดป่าโนนพระนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ได้รับสมณศักดิ์เป็นฐานานุกรม ของเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เจ้าคณะธรรมยุติ ผู้ช่วยภาค ๓-๔-๕ รูปที่ ๓ มีนามว่าพระครูวินัยธรภุมมี ฐิตธมฺโม
    พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ท่านพักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านหนองบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    มรณะภาพแล้ว
    <TABLE border=0 width="87%"><TBODY><TR><TD width="55%" noWrap>
    [​IMG]
    พระอาจารย์มหาบัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    </TD><TD width="45%">พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านพักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    ( ปัจจุบันมีสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวิสุทธิมงคล )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สกลนคร
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร พระอาจารย์แว่น พระอาจารย์หอม พระอาจารย์ทองคำ พร้อมด้วยพระภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสส นาธุระ ในท้องที่จังหวัดสกลนคร
    เมื่อไปถึงจังหวัดสกลนครแล้ว เวลานี้เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่ในสำนักต่างๆ ดังต่อไป
    นี้คือ
    ๑. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าถ้ำผาขาม จังหวัดสกลนคร
    ๒. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พักอยู่สำนักสงฆ์ยอดเขา เรียกว่า วัดป่าดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร
    ๓. พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร อยู่สำนักสงฆ์ วัดโพธิชัย หรือวัดป่าอิสรารามก็เรียก ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานร นิวาส จังหวัดสกลนคร
    ๔. พระอาจารย์กว่า สุมโน อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    มรณะภาพเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
    ๕. พระอาจารย์แว่น ธนปาโล อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านบัว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    ปัจจุบันพำนักจำพรรษาที่วัดถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
    ( มรณภาพแล้วเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ )
    ๖. พระอาจารย์หอม อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านอุ่มเม่า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    ๗. พระอาจารย์ทองคำ อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าฝั่งโคน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    นครพนม

    พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พระอาจารย์บุญมา มหายโส พระอาจารย์ทอง อโสโก พระอาจารย์สนธิ์ พระอาจารย์ คำ คมฺภีโร พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ องค์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่าย วิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดนครพนม
    เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้
    ๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต อยู่สำนักวัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์
    ๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่าพระครูไพโรจน์ ปัญญาคุณ
    ๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์วัดถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    ๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
    ๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    หนองคาย
    พระอาจารย์หนูพูล พระอาจารย์หล้า พร้อมด้วยภิษุและสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในท้องที่จังหวัด หนองคาย
    เมื่อไปถึงจังหวัดหนองคายแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่สำนักต่างๆ ดังต่อไปนี้
    ๑. พระอาจารย์หนูพูล อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่า อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
    ๒. พระอาจารย์หล้า อยู่สำนักสงฆ์ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
    ขอนแก่น
    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๒-๒๔๗๔ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล ปธ.๕ พระ อาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อุ่น พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมพระภิกษุสามเณร ประมาณรวม ๓๐ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่านวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดขอนแก่น
    เมื่อไปถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ได้แยกกันอยู่จำพรรษาตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
    ๑. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านพระ คือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๔. พระอาจารย์กิ่ง อธิมุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าชัยวันบ้านสีฐาน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๕. พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัด ขอนแก่น
    ๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระ ลับ จังหวัดขอนแก่น
    ๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านยางคำจังหวัด
    ขอนแก่น
    ๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
    เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้พร้อมด้วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ในท้องที่ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น ออกเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฐิ เลิกจากการถือภูติผีปีศาจ ตั้ง อยู่ในพระไตรสรณคมน์ทุกปีตลอดมาทั้ง ๓ ปี
    ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ กำลังออกเทศนาสั่งสอนประชาชนไปในท้องที่อำเภอน้ำพอง เจ้าพระคุณ พระพรหมมุนี เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา มีบัญชาอาราธนาให้ไปจังหวัดนครราชสีมา จึงได้ย้ายจากจังหวัด ขอนแก่นไปอยู่จำพรราที่จังหวัดนครราชสีมา
    กาฬสินธุ์
    พระอาจารย์แดง พร้อมด้วยหมู่คณะ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าประชานิยม ตำบลเมือง อำเภอ เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่า พระครูกาฬสินธุ์จรัสคุณ และเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะธรรมยุต อำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์
    มหาสารคาม
    พระอาจารย์คูณ อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ท่าน พักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ ป่าพูนไพบูลย์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ป่วยเป็นโรคฝีประคำร้อย ถึงแก่ มรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗
    ร้อยเอ็ด
    พระอาจารย์สีโห เขมโก พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร เผนแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ จังหวัดร้อย เอ็ด ท่านพักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าศรีไพวัน ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
    ต่อมาท่านได้มาอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
    เลย
    พระอาจารย์คำดี ปภาโส พระอาจารย์ชอบ พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัส สนาธุระ ในท้องที่จังหวัดเลย
    เมื่อไปถึงจังหวัดเลยแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่จำพรรษา ตามสำนักต่างๆ ดังต่อไปนี้
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD width="34%" noWrap>
    [​IMG]
    พระอาจารย์คำดี ปภาโส
    </TD><TD vAlign=center width="66%">๑. พระอาจารย์คำดี ปภาโส พักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าถ้ำผาปู่เขานิมิตร จังหวัดเลย ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่า พระครูญาณทัสสี
    ปัจจุบันมรณภาพแล้ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD>๒. พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ท่านพักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าถ้ำเขาเมืองเลย จังหวัดเลย
    ปัจจุบันอยู่จำพรรษาที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    ( มรณภาพ ๘ มกราคม ๒๕๓๘ )
    </TD><TD noWrap>
    [​IMG]
    หลวงปู่ชอบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เชียงใหม่

    พระอาจารย์ตื้อ พระอาจารย์สิม พระอาจารย์หลุยไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัด นครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย
    เมื่อไปถึงจังหวัดนครเชียงใหม่แล้ว ท่านได้แยกกันอยู่คนละสำนักดังนี้
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD width="36%" noWrap>
    [​IMG]
    พระอาจารย์ตื้อ อาจาลธัมโม
    </TD><TD vAlign=center width="64%">๑. พระอาจารย์ตื้อ อาจลธมฺโม อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าดาราภิรมย์ ตำบลค่ายรัศมี อำเภอแม่ริม จังหวัดนครเชียง ใหม่
    มรณภาพเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๔
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD>๒. พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าสันติธรรม จังหวัดนครเชียงใหม่ ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ฝ่านวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระครูสันติวรญาณ
    ปัจจุบันอยู่วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
    ( ต่อมาได้รับสมศักดิ์ที่พระญาณสิทธาจารย์ มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๕ )
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร
    กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์หลุยกับ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    </TD><TD>๓. พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่า จังหวัดเชียงราย
    ปัจจุบัน อยู่วัดถ้ำผาบิ้ง ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    ( มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒ )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ลำปาง
    พระอาจารย์แว่น พร้อมหมู่ภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดลำปาง เมื่อไปถึงแล้วพักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสำราญนิวาส อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
    ต่อมาท่านอยู่วัดป่าบ้านบัว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    นครสวรรค์
    พระอาจารย์ทรงชัย (แข) พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่ จังหวัดนครสวรรค์ ภาค ๖ ท่านพักอยู่จำพรรษา ที่สำนักสงฆ์วัดป่าเทวาสถาพร ตอนทางบ้านแดน จังหวัดนคร สวรรค์
    ภูเก็ต พังงา
    พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระอาจารย์จันทร์ จนฺทสิริ พร้อมพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาคใต้ คือ ภาค ๗ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา
    เมื่อไปถึงภาคใต้แล้ว ท่านได้แยกกันอยู่สำนักต่างๆ ดังนี้คือ
    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD>๑. พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี อยู่จำพรรษาสำนักสงฆ์ วัดป่าไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระรา าคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ เจ้าคณะธรรมยุตอำเภอ จังหวัด ภูเก็ต และพังงา เป็นพระอุปัชฌาย์</TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์เทสก์ กับ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปัจจุบันอยู่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    ( มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ )
    ๒. พระอาจารย์จันทร์ จนฺทสิริ อยู่สำนักสงฆ์วัดป่า............ จังหวัดกระบี่
    จากเรื่องราวที่กล่าวมา บรรดาพระอาจารย์ในกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระ เฉพาะองค์ที่ปรากฏชื่อเสียงขจร ขจายมาจนกระทั่งทุกวันนี้
    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มรส่วนสำคัญมากที่เป็นกำลังใจให้ท่านเหล่านี้ได้รับธรรมอันลึกซึ้งสามารถทำให้ เกิดประโยชน์แผ่ขยายไปมากมายหลายแห่งในทุกภาคของประเทศ
    ถึงแม้ว่าปัจจุบันท่านจะมรณภาพ แต่ชื่อเสียง เกียรติคุณของพระอาจารย์มั่น ยังคงอยู่เป็นที่เคารพสักการะ ของหมู่ชนโดยทั่วไปไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าครั้งที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่
    การที่ได้นำ กองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระ มาลงพิมพ์ เพื่อที่จะได้เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นแนวความคิดให้ปรากฏ แก่ กองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในยุคปัจจุบัน ที่ตกทอดสืบต่อมาจากพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระ อาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต และพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
    ซึ่งจักได้ช่วยกันทำนุบำรุงเผยแพร่งานด้านวิปัสสนาธุระ ให้ขจรขจาย แก่ผู้คนที่นับวันก็ยิ่งจะสนใจการปฏิบัติ ธรรมสมาธิภาวนากันมากขึ้นต่อๆ ไป
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เมตตาธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    ช่วง ๕ พรรษาสุดท้าย ณ วัดป่าบ้านหนองผือ


    โดยพระครูสุทธธรรมาภรณ์ ( พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ )
    เจ้าอาวาสวัดป่าภูริทัตตถิราวาส ( วัดป่าบ้านหนองผือ ) อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    จากหนังสือ " บูรพาจารย์ " พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๔



    ความเป็นมาของวัดป่าบ้านหนองผือ
    วัดป่าภูริทัตตถิราวาสหรือวัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นวัดที่สำคัญมากวัดหนึ่งในสายวัดป่ากัมมัฏฐาน ซึ่งถ้าดูตามแผนที่วัดนี้จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดสกลนคร และตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพรรณานิคม แต่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้านหนองผือ เริ่มแรกสถานที่แห่งนี้เป็นป่าพงดงดิบ อันเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์นานาชนิด เป็นต้น มี เสือ หมี อีเก้ง กวาง หมูป่า สัตว์เลื้อยคลาน มีแลนและงูชนิดต่าง ๆ สัตว์ปีกมีนกเกือบทุกชนิด นอกจากนั้นยังชุกชุมไปด้วยเชื้อไข้ป่ามาลาเรียเป็นอันมาก​
    <TABLE border=0 width="80%"><TBODY><TR><TD> ต่อมาสถานที่แห่งนี้มีผู้เข้าไปหักร้างถางพง ทำเป็นไร่ปลูกพริกปลูกฝ้าย แล้วจับจองหมายเอาเป็นที่ของตนเองบางคนจับจองแล้วทำไม่ไหวก็ปล่อยทิ้งให้รกร้างอยู่เป็นเวลานานหลาย ๆ ปีบ้าง จนป่าเกิดขึ้นมาใหม่ เพราะที่ป่าสมัยนั้นมีเป็นจำนวนมาก จะเลือกจับจองหมายเอาที่ป่าตรงไหน ที่ตนชอบใจก็ย่อมได้หากใครมีกำลังพอ มีมากจนทำเป็นไร่ปลูกพริกปลูกฝ้ายไม่หวาดไม่ไหว ภายหลัง พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ท่านธุดงค์หาที่วิเวกอยู่แถวบริเวณนี้ ต้องการที่จะสร้างที่พักสงฆ์สักแห่งหนึ่งที่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากนัก</TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์หลุย
    จนฺทสาโร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อท่านหาที่พักสงฆ์ชั่วคราวได้แล้ว ก็มีพระภิกษุสามเณรเดินธุดงค์สัญจรผ่านไปมาเข้าพักพิงพึ่งพาอาศัยอยู่ไม่ขาดสาย มาภายหลังสถานที่แห่งนี้จึงได้กลายเป็นที่พักสงฆ์และสำนักสงฆ์ถาวรตามลำดับ จนกระทั่งได้พัฒนามาเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ตอนแรกให้ชื่อว่า “วัดสันติวนาราม” ต่อมาหลังจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร มรณภาพแล้ว (พ.ศ. ๒๔๙๒) พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโร) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฑลในเขตนี้ และเป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน พระอาจารย์มั่นด้วย ได้เล็งเห็นความสำคัญในสถานที่แห่งนี้อันเป็นสถานที่ที่ท่านพระอาจารย์มั่น เคยพำนักจำพรรษาอยู่เป็นเวลาถึง ๕ ปีติดต่อกัน ท่านจึงดำริให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เชิดชูบูชาคุณให้สอดคล้องกับนามฉายาของท่านพระอาจารย์มั่น อันเป็นมงคลนามว่า “วัดภูริทัตตถิราวาส” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    วัดนี้ได้ตั้งขึ้นเป็นวัดโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ซึ่งได้รับอนุญาตเอกสารสิทธิ์ (น.ส. ๓) เลขที่ ๙๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ พร้อมกับได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปีเดียวกันมีเจ้าอาวาสปกครองมาแล้ว ๖ รูป มีรายนามดังต่อไปนี้
    ๑. พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๘๓
    ๒. พระใบ (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๗
    ๓. ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๙๒
    ๔. พระทองคำ ญาโณภาโส พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๕๐๗
    ๕.พระจันทา เขมาภิรโต พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๒๑
    ๖. พระสอน ญาณวีโร พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๓๓
    ๗. พระอธิการพยุง ชวนปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๓๓ – ปัจจุบัน
    กิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่ปฏิบัติมาภายในวัดคือ ถือเอาวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันจัดงานน้อมบูชา แสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณกับท่านพระอาจารย์ ซึ่งป็นวันคล้ายวันมรณภาพของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ใหญ่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ผู้เป็นบูรพาจารย์ หรือบิดาแห่งพระกัมมัฏฐานในยุคปัจจุบันของศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้น้อมรำลึกถึงปฏิปทาข้อวัตร และจริยวัตร ที่ท่านได้ดำเนินมาเป็นแบบอย่างอันดีงามในการประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่าน เพื่อความสงบสุขร่มเย็นและเป็นการสร้างกุศลเพิ่มพูนบารมีธรรมของตนสืบไป
    ก่อนมาเป็นวัดป่าบ้านหนองผือ
    เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๖ พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ท่านเป็นคนจังหวัดเลยได้เดินธุดงค์หาความสงบวิเวกอยู่แถบบริเวณหุบเขาภูพานแห่งนี้ ต่อมาชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพำนักทำความเพียรปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำพระ บ้างหนองสะไน ซึ่งไกลจากบ้านหนองผือประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
    ขณะที่ท่านพักอยู่ ณ ถ้ำแห่งนี้ ท่านได้ปรุงยาหม้อใหญ่ไว้สำหรับฉันแก้โรคเหน็บชาหมายความว่าท่านปรุงยาแก้โรคเหน็บชา ซึ่งหาตัวยารากไม้หลายชนิดเอาลงไป หมักดองไว้ในไห โดยเอาน้ำเยี่ยววัวดำตัวผู้ที่ต้มสุกแล้วทำเป็นน้ำกระสายหมักดองไว้ เป็นเวลาสักสองอาทิตย์ จึงตักน้ำดองนั้น มาฉันแก้โรคเหน็บชาได้ ตอนนั้นชาวบ้านหนองผือเป็นโรคเหน็บชากันหลายคน และได้ทราบข่าวมาว่ามีพระกัมมัฏฐาน ปรุงยาแก้โรคเหน็บชา แจกให้แก่ญาติโยมเอาไปกิน หายกันหลายคนแล้ว ดังนั้น ชาวบ้านหนองผือจึงพากันไปขอยาจากท่าน
    แต่ก่อนที่ท่านจะให้ยาไปกินนั้น ท่านจะให้ธรรมะและสอนธรรมะไปด้วย เป็นต้นว่า ให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อจะให้ละทิ้งจากแนวทางที่ผิด คือ มิจฉาทิฏฐิ มีการถือผิด ถือผี เลี้ยงผีบวงสรวง อ้อนวอน ผีฟ้าผีภูตา ต่าง ๆ เหล่านี้ ให้กลับมาถือไตรสรณคมน์ มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อย่างมั่นคง แล้วสมาทานรักษาศีลห้า ศีลอุโบสถในวันขึ้น – แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และตอนตื่นนอนหรือก่อนนอน ทุกเช้าค่ำ ท่านให้ทำวัตรสวดมนต์ไหว้พระ กราบพระเสียก่อนจึงนอนหรือออกจากห้องนอน ตลอดจนท่านห้ามไม่ให้กินเนื้อดิบ ของที่จะกินที่เป็นเนื้อทุกชนิดต้องทำให้สุกเสียก่อนจึงจะกิน นอกจากนั้นก็ให้งดเว้นมังสะเนื้อสิบอย่าง (พระพุทธเจ้าทรงห้ามบริโภคเนื้อ ๑๐ อย่าง คือ เนื้อมนุษย์ เสือโคร่ง เสือดาว เสือเหลือง ช้าง งู ราชสีห์ สุนัข ม้า หมี) ตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้นั้นด้วย
    เมื่อท่านสอนสิ่งเหล่านี้แล้วจึงให้ยาไปกิน เมื่อญาติโยมชาวบ้านหนองผือนำยานั้นไปกิน โรคเหน็บชาก็หายกันทุกคน จึงทำให้ญาติโยมชาวบ้านหนองผือเกิดความเชื่อถือ ความเลื่อมใสศรัทธาในท่านมาก บางคนก็กลับไปขอยาจากท่านอีกเมื่อยาหมดแล้ว พร้อมทั้งได้มีโอกาสฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านด้วย ไปมากันอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายหน และหลายคณะ จนทำให้ญาติโยมชาวบ้านหนองผือกับพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันและได้ติดต่อกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังจากออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ยังได้เดินธุดงค์แสวงหาความสงบวิเวก อยู่ในแถบบริเวณเชิงเขาภูพานแห่งนี้เป็นเวลานาน เมื่อท่านออกจากที่พักสงฆ์ถ้ำพระ บ้านหนองสะไนแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ต่อมายังบ้านหนองผือพักอยู่ที่ป่าซึ่งเป็นที่ดอนใกล้เถียงนาของโยมคนหนึ่ง อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้างหนองผือ ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนักญาติโยมเมื่อทราบว่าพระอาจารย์หลุย เดินทางมาพักปักกลดอยู่ที่นี่ ต่างก็มากราบนมัสการท่านพร้อมถวายจังหันในตอนเช้าด้วยความเคารพศรัทธายิ่ง เนื่องจากมีความคุ้นเคยกันมาก่อน ท่านจึงพูดคุยสนทนาสอบถามเรื่องสุขทุกข์ต่าง ๆ ด้วยความเมตตาและพูดเรื่องพอให้เป็นที่รื่นเริงใจแก่ญาติโยมที่มานมัสการท่านด้วยพอสมควร
    ท่านพักอยู่ที่แห่งนี้เป็นเวลานานหลายเดือน ในขณะที่ท่านพักอยู่ที่นี่ท่านพยายามอบรมสั่งสอนญาติโยม ให้ได้รับรู้เรื่องราวข้อวัตรปฏิบัติต่อพระกัมมัฏฐานหลายอย่างหลายประการ ท่านเริ่มสอนตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียก่อน เป็นต้นว่า การประเคนของพระให้ได้ระยะหัตถบาส (บ่วงมือ คือที่ใกล้ตัว ประมาณศอกหนึ่งในระหว่าง หมายถึงที่สุดด้านหน้าของภิกษุกับสิ่งของหรือของภิกษุผู้รับกับบุคคลผู้ประเคนเป็นต้น) และด้วยความเคารพ การทำกัปปิยะ (กัปปิยะ : ทำให้สมควร ควรแก่สมณะบริโภค หมายถึง การถวายอาหารที่เป็นพืช ผัก ผลไม้ ก่อนประเคนต้องทำให้ขาดจากกันโดยผู้ถวายต้องเด็ด หรือใช้มีดกรีดสิ่งนั้น เพื่อไม่ให้งอกหรือนำไปปลูกได้) ของฉันที่เป็นภูตคาม (ภูตคาม ของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเป็นอยู่กับที่) พีชคาม (พีชคาม ของเขียว หรือพืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่ยังจะเป็นได้อีก) ต่าง ๆ ถวายพระและสอนให้รู้จักประเพณีปฏิบัติอุปัฏฐากต่อพระกัมมัฏฐานที่สัญจรไปมา ตลอดทั้งการสอนให้ท่องคำไหว้พระสวดมนต์ทั้งเช้าและเย็น พร้อมทั้งให้ฝึกนั่งสมาธิภาวนาเดินจงกรมด้วย ทุกขั้นตอนของการสอน ท่านจะแนะนำให้ดูก่อนทุกครั้ง จนทำให้ญาติโยมมีความสนใจในการฝึกอบรมธรรมกับท่านมากที่สุด ญาติโยมมีความเข้าใจและทำได้คล่องแคล่วมากขึ้น
    แม้ในการสอนเรื่องอื่น ๆ เช่น การเย็บเสื้อขาวด้วยมืออย่างนี้ท่านก็สอน อันนี้ท่านเย็บเป็นเสื้อสำเร็จรูปแล้วจึงให้นำเอาไปเป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่จะฝึกเย็บตาม โดยมากท่านจะให้โยมผู้หญิงที่ชรานำไปเย็บ ผ้าที่ท่านได้มานั้น ได้มาจากผ้าบังสกุลบ้าง ได้จากบ้านที่เขาทำบุญบ้าง สำหรับเสื้อที่ท่านเย็บเองเสร็จแล้ว ท่านจะบริจาคให้คนเฒ่าคนแก่ ที่อัตคัดยากจนที่สุดในหมู่บ้านหนองผือ (ซึ่งสมัยนั้น อยู่ในช่วงสงคราม เมืองไทยขาดแคลนเสื้อผ้ามาก)
    ท่านพักอยู่ที่นี่เป็นเวลานานพอสมควร จนมีความสนิทสนมกับชาวบ้านเป็นอย่างมากต่อมาท่านใคร่อยากจะตั้งที่พักสงฆ์ขึ้นสักแห่งหนึ่ง จึงตกลงให้ญาติโยมพาตระเวน ค้นหาสถานที่ที่จะตั้งที่พักสงฆ์ใหม่ ค้นหาดูทั่วทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ และทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน แต่ยังไม่เป็นที่เหมาะสมและถูกใจของท่าน จึงให้ญาติโยมค้นหาอีกทีทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนัก ในที่สุดก็ได้ที่ที่เหมาะสม ถูกลักษณะและถูกใจท่านด้วย โดยเฉพาะที่ดินตรงนี้(ที่เป็นวัดป่าบ้านหนองผือในปัจจุบันนี้) เดิมเป็นที่ดินโยมชื่อ พ่อออกต้น โพธิ์ศรี และครอบครัว มีศรัทธามอบถวายที่ดินให้เป็นที่พักสงฆ์แด่พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ท่านจึงพาคณะญาติโยมย้ายจากที่เดิม ไปที่จะตั้งสำนักใหม่ เมื่อย้ายไปถึงแล้วจึงพากันสร้างกระต๊อบพร้อมทั้งหอฉันชั่วคราวขึ้น ซึ่งหลังคามุงด้วยหญ้าคาฝาแนบด้วยใบตอง พื้นปูด้วยฟากไม้ไผ่ ทำเป็นที่พักสงฆ์ชั่วคราวก่อน เสร็จแล้วท่านก็ได้อยู่พักทำความเพียรตามอัธยาศัยของท่าน และอบรมธรรมะสั่งสอนญาติโยมมาเรื่อย ๆ ดังที่ท่านเคยประพฤติปฏิบัติมาจนได้ระยะหนึ่งพรรษา
    เมื่อออกพรรษาแล้วท่านก็เดินธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ ออกไปจำพรรษาในที่แห่งอื่นบ้าง บางครั้งท่านก็เข้ามาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านหนองผืออีก ไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนี้ ส่วนมากจะอยู่หมู่บ้านแถบบริเวณใกล้ ๆ หมู่บ้านหนองผือ เช่น ที่พักสงฆ์ถ้ำพระนาใน ที่พักสงฆ์ถ้ำพระบ้านหนองสะไน ที่ป่าช้าบ้านกลาง ที่ป่าบ้านกุดไห ที่ป่าดอนใกล้บ้านอูนดง ป่าใกล้บ้านห้วยบุ่น และย้อนกลับมาที่สำนักบ้านหนองผือ คราวนี้ท่านพักอยู่เป็นเวลานาน ณ สถานที่แห่งนี้นี่เอง ต่อมาจึงได้กลายเป็นวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดภูริทัตตถิราวาส ชื่อที่เรียกเป็นทางการในปัจจุบัน) ซึ่งมีพระภิกษุสงฆ์สามเณรเดินธุดงค์ เข้าไปหาความสงบวิเวกไม่ขาดสาย
    เมื่อชาวบ้านญาติโยมสมัยนั้นเห็นว่า มีพระภิกษุสงฆ์สามเณรไปมา เข้าพักอาศัยไม่ขาดระยะและมากยิ่งขึ้น จึงเกิดมีศรัทธาแรงกล้าพร้อมใจพากันสร้างศาลาถาวรขึ้นหลังหนึ่ง ซึ่งทำด้วยไม้ทั้งหลัง ที่พวกเราท่านทั้งหลายเห็นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของศาลาโรงธรรมหลังใหญ่ ณ วัดป่าบ้านหนองผือในขณะนี้
    พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกับชาวบ้านหนองผือเป็นอย่างมาก จนถือได้ว่าท่านเป็นทั้งพ่อแม่และครูบาอาจารย์องค์แรก ที่ได้เข้าไปสั่งสอนชาวบ้านหนองผือให้ได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ อันเกี่ยวกับหลักธรรมและข้อประพฤติปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมกับชาวบ้านมาก แม้แต่เด็กสมัยนั้นพอรู้จักจำชื่อได้ก็รู้จักชื่อท่านทุกคน เพราะสมัยนั้นบ้านหนองผือยังเป็นหมู่บ้านห่างไกลความเจริญมากซึ่งมีเทือกเขาภูพานกั้นระหว่างหมู่บ้านกับตัวอำเภอ อาจกล่าวได้ว่าตัดขาดจากโลกภายนอกเลยทีเดียว และเป็นหมู่บ้านที่ไม่ใหญ่โตนักมีประมาณ ๘๐ หลังคาเรือน เมื่อมีพระภิกษุสามเณรหรือผู้คนต่างถิ่นผ่านเข้าไปพึ่งพาอาศัย ทำความคุ้นเคยใกล้ชิดสนิทสนมกับชาวบ้านแล้ว พวกเขาจะให้เกียรติ จำชื่อบุคคลนั้นได้ดี และนับถือบุคคลนั้นด้วย ดังนั้นพระอาจารย์หลุยจึงเป็นชื่อที่ชาวบ้านหนองผือ ให้ความเคารพบูชามากที่สุดรูปหนึ่ง
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ท่านพระอาจารย์มั่น มาบ้านหนองผือ ปี พ.ศ. ๒๔๘๘

    <TABLE border=0 width="80%"><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>ต่อมาข่าว ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ซึ่งธุดงค์จำพรรษาอยู่ทางภาคเหนือเป็นเวลาหลายปี ท่านได้รับนิมนต์จากพระเถระทั้งหลายทางภาคอีสาน ซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ของท่านในขณะนั้นให้มาโปรดชาวภาคอีสาน เมื่อท่านตกลงรับนิมนต์แล้ว ท่านก็ได้เดินทางกลับภาคอีสาน โดยแวะพักอยู่ที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา และวัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งถึงจังหวัดสกลนคร อันเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ชิดติดกับเทือกเขาภูพานเหมาะสำหรับผู้ต้องการแสวงหาความสงบวิเวกเป็นอย่างมาก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ส่วนพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นรูปหนึ่ง ขณะนั้นท่านยังพักทำความเพียรอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ได้ทราบข่าวว่า ท่านพระอาจารย์มั่นมาถึงเขตจังหวัดสกลนครแล้ว และพักวิเวกอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านม่วงไข่ผ้าขาว (ขณะนี้อยู่ในเขตอำเภอพังโคน) เมื่อท่านทราบแน่นอนแล้ว จึงได้ชักชวนพาญาติโยมทายกวัดป่าบ้านหนองผือ ๔​
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]
    “ศาลาหลวงปู่มั่น” (หลังปัจจุบันที่ซ่อมแซมแล้ว) เป็นศาลาที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    ใช้เป็นที่แสดงธรรมแก่พุทธบริษัท ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี่เป็นเวลา ๕ ปี
    และประชุมสงฆ์เพื่อให้โอวาท พร้อมทั้งวางระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่คณะกัมมัฏฐาน
    เป็นศาลาอนุสรณ์ควรแก่การระลึกถึงเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๔๙๒

    [​IMG]
    บริเวณวัดป่าบ้านหนองผือ ( กุฏิหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน )
    [​IMG]
    “ศาลาโรงฉันหลวงปู่มั่น” เป็นโรงฉันที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ฉันภัตตาหารรวมกับพระภิกษุสามเณรทุกองค์
    เป็นระเบียบข้อหนึ่งที่ท่านได้ให้วัดต่าง ๆ ถือปฏิบัติทั้งนี้เพื่อจะได้แนะนำข้อธุดงค์ ท่านได้ใช้ศาลานี้ฉันภัตตาหารจนถึงวันสุดท้ายที่ท่านไม่สามารถจะเดินมาได้ตลอดเวลา ๕ ปี
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๙๒

    [​IMG]
    กฏิท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถร สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๙
    โดยการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านหนองผือได้น้อมถวายบูชา แด่
    พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ใหญ่ มั่น ภูริทัตฺตเถร
    ปัจจุบันจดทะเบียนเป็น "โบราณสถาน" กับกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๒
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE width=648 bgColor=#ffffff align=center><TBODY><TR><TD height=11 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=11 align=middle>

    ถ้ำสาริกา ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็กๆ ภายในวัดถ้ำสาริกา อ.เมือง จ.นครนายก ตั้งอยู่บนเส้นทางที่มุ่งสู่น้ำตกสาริกา โดยอยู่ก่อนถึงน้ำตกสาริกาประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเพิงหินเล็กๆ ภายใต้ก้อนหินขนาดใหญ่ลึกเข้าไปในหินประมาณ 3 เมตรไม่มีหินงอกหินย้อยด้านในถ้ำประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่มั่น ขนาดเล็กกว่าองค์จริงเล็กน้อย ด้านบนหินมีต้นไทรต้นใหญ่แผร่รากคอบคลุมหินก้อนนี้อยู่ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างศาลาคอนกรีตถาวร คลุมบริเวณหน้าถ้ำไว้ เพื่อสะดวกในการมาสักการะและปฏิบัติธรรมร่มเย็นดีมาก

    ภายในบริเวณวัดเป็นภูเขา ลักษณะสภาพป่าเขาและตบแต่งภูมิทัศน์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีกุฏิหลังน้อยๆ ซ้อนตัวกลมกลืนกับธรรมชาติอยู่หลายหลัง เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะถึงถ้ำสาริกาจะเป็นมณฑป และเรือนพระธาตุ ภายในมณฑปประดิษฐานรูปหล่อยืนหลวงปู่มั่นขนาดใหญ่ ส่วนเรือนพระธาตุจัดแสดงพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอรหันต์และยังมีอุโบสถขนาดเล็ก อยู่บนยอดเขาอีกด้วย

    สำหรับความสำคัญของถ้ำนี้ปรากฏในประวัติหลวงปู่มั่น จากสำนวนหลายครูบาอาจารย์เป็นดังนี้คือ ประมาณปี 2450 - 2453 ท่านได้จาริกไปทางจังหวัดลพบุรี ไปพักอยู่ที่เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงโตบ้าง ต่อมา ท่านได้ไปพักอยู่ที่ถ้ำสาริกานี่เอง ท่านได้ประสบเหตุการณ์ต่าง หลายประการ และเป็นที่ติดใจท่านมาตลอด คือ ขณะที่ท่านไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำมากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ ท่านวานให้ชาวบ้านพาไปส่งที่ถ้ำดักล่าว เพราะไม่รู้จักทาง ชาวบ้านเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับถ้ำนั้นให้ฟัง พร้อมกับนิมนต์ให้เลิกล้มความต้องใจที่จะไปถ้ำนั้นเสีย แต่ท่านบอกว่า ท่านไม่กลัว ท่านทดลองพักดู ขณะที่พักที่ถ้ำสาริกาแห่งนี้ในระยะเดือนแรกๆ ท่านรู้สึกปรกติดี จิตใจสงบ ไม่มีอะไรพลุกพล่าน พอดีคืนต่อๆมา ท่านรู้สึกว่าโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นประจำชักกำเริบ และมีอาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ ท่านได้หวนคิดถึงคำที่ชาวบ้าพูดกันว่า มีพระมาตายที่นี่ 4 รูปแล้ว ท่านจึงคิดว่าท่านอาจเป็นรูปที่ 5 ก็ได้ ถ้าไม่หายจากโรค เมื่อฉันยาแล้ว โรคก็ยังไม่หยุดกำเริบ ในที่สุดท่านตัดสินใจใช้ธรรมโอสถรักษา จะหายก็หายจะตายก็ตาย จากนั้นท่านจึงพิจารณาถึงทุกขเวทนาด้วยปัญญาอย่างไม่หยุดยั้ง จนในที่สุดโรคก็หาย ความฟุ้งซ่านภายในใจก็ดับกลายเป็นความสงบ จิตสว่างออกไปจากร่างกาย ปรากฏเห็นบุรุษคนหนึ่งมีรูปร่างใหญ่โต ถือตะบองเหล็กเดินเข้ามาหาท่าน พูดกับท่านว่าจะตีท่านให้จมลงดิน ถ้าไม่หนีไป ท่านก็ถามไปว่าท่านผิดอะไรถึงจะมาตีท่าน เขาก็บอกว่า เขารักษาภูเขาลูกนี้มานานแล้ว ใครมาใหญ่กว่าเขาเป็นไม่ได้ ท่านก็บอกว่า ท่านเป็นพระมาบำเพ็ญธรรมเพื่อมาปราบกิเลส ไม่ได้มาทำร้ายใครว่าแล้วก็เทศนา สั่งสอนบุรุษลึกลับคนนนั้น จนเกิดความเลื่อมใส ในคืนต่อมา ท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมด้วยความสะดวกไม่มีอะไรมารบกวน ร่างกายก็เป็นปรกติสุข หลังจากที่หลวงปู่มั่นได้ธุดงค์จากที่นี่ไป

    หลังจากหลวงปู่มั่นธุดงค์ไปที่อื่นแล้ว ถ้ำแห่งนี้ก็ได้ร้างลงจนเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีมานี้ ท่านพระอาจารย์เจือ กิจจธโรเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้สร้างวัดในบริเวณนี้สำหรับปฏิบัติธรรมและศาสนสถานต่างๆ ให้มั่นคงและเป็นที่รุ้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น วัดแห่งนี้ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก จัดเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่มีความเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่มั่นใกล้กรุงเทพที่สุดแห่งหนึ่ง สะดวกสำหรับการมาเยื่ยมชมและรำลึกถึงการปฏิบัติธรรมอย่างเด็ดเดี่ยวโดยมีชีวิตเข้าแรก ณ สถานที่แห่งนี้

    ทางผู้ดูแลเว็บหลวงปู่มั่นได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมและเก็บภาพมาเมื่อเที่ยงวันที่ 11 เมษายน 2547 และจะได้สืบหาสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่มานำเสนอต่อไป

    ข้อมูลประวัติหลวงปู่มั่นจาก วิปัสสนากรรมฐานอิสาน.คอม
    </TD></TR><TR><TD align=middle><TABLE><TBODY><TR><TD height=115 vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    ทางขึ้นถ้ำ
    </TD><TD height=115 vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    ธรรมะจากต้นไม้
    </TD><TD height=115 vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    003.jpg
    </TD><TD height=115 vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    ป้ายชื่อถ้ำ
    หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ถ้ำหลวงปู่มั่น
    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    ภายในถ้ำ
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    เป็นรูปหล่อองค์หลวงปุ่มั่น
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    อีกด้านหนึ่งของถ้ำ
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    008.jpg
    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    009.jpg
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    บริเวณหน้าถ้ำ
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    ต้นไทรที่เกาะบริเวณหลังถ้ำ
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    อุโบสถบนยอดเขา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    สัปปายะ น่าภาวนา
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    014.jpg
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    015.jpg
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    016.jpg
    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    รูปปั้นหลวงปู่มั่นองค์ใหญ่
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    ภายในมณฑปหลวงปู่มั่น
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    ภายในเรือนพระธาตุ
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    พระบรมสารีริกธาตุ
    และพระธาตุพระอรหันต์
    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    021.jpg
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    มณฑปหลวงปู่มั่น
    และเรือนพระธาตุ
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    หน้าวัดติดริมถนนใหญ่
    สังเกตได้ชัดเจนก่อน
    ถึงน้ำตกสาริกา
    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    น้ำตกสาริกายามหน้าแล้ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เพิ่มข้อมูลเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2547
    http://www.luangpumun.org
    </TD></TR>
    </TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ปกิณกธรรม[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ของ[/FONT]
    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตตเถร [/FONT]​
    นับแต่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตตเถร พำนักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ ติดต่อกันมา ๕ พรรษา นั้น (ปี ๒๔๘๘-๒๔๙๒) ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นกับชาวบ้านหนองผือหลายเหตุการณ์ ด้วยเมตตาธรรมของ ท่าพระอาจารย์มั่น ท่าได้อนุเคราะห์อบรมสั่งสอนและปลูกฝังในหลักปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาให้ แก่ชาวบ้านหนองผือและศรัทธาญาติโยม รวมทั้งฆราวาสจากที่อื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นคติธรรม สอนใจแก่บุคคล ที่เกิดภายหลัง เรื่องราวที่นำมาเล่านี้ ได้หยิบมายกมาจากคนเฒ่าคนแก่ที่เคยใกล้ชิดปฏิบัติอุปัฏฐากท่าน พระอาจารย์มั่น และนำมาจากท่านที่เคยประสบเหตุการณ์และเล่าเรื่องสืบต่อกันมาบ้าง เหตุการณ์ที่นำมาเล่านั้น อาจไมเรียงตามลำดับ แต่จะเล่าตามที่ได้ยินได้ฟังเป็นเรื่อง ๆ ไป

    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]๑. ต้อนรับเจ้าคุณพระราชาคณะ [/FONT]
    มีท่านเจ้าคุณพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งระดับรองเจ้าคณะมณฑลเคยเป็น ลูกศิษย์ของท่านพำนักอยู่วัดที่กรุงเทพมหานคร อยากจะเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ข่าวคราวนี้รู้สึกว่าเป็นงานที่ใหญ่โตมโหฬารยิ่ง ระดับคณะสงฆ์ของจังหวัดสกลนคร เลยทีเดียว และเป็นงานที่มียศมีเกียรติมากของข้าราชการ ตลอดทั้งชาวบ้านหนองผือและหมู่บ้านใกล้เคียง ในสมัยนั้น ต่างก็จะได้ต้อนรับพระราชาคณะระดับสูงสักครั้งหนึ่ง เพราะนาน ๆ ทีจึงจะได้มีงานต้อนรับ พระราชาคณะชั้นสูง ที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานครเข้ามาเยี่ยมเยียนชาวบ้านนอกคอกนาอย่างพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจึงมีความปลื้มปีติใจอย่างมาก

    ในที่สุดข่าวทางอำเภอพรรณานิคมสั่งมาให้คณะสงฆ์ในเขตตำบลนาใน พร้อมทั้งข้าราชการครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและลูกบ้าน ให้ตระเตรียมจัดการต้อนรับท่านอย่างเป็นทางการ จากนั้นชาวบ้านหนองผือ และหมู่บ้านใกล้เคียงจึงได้จัดเตรียมขบวนต้อนรับอย่างสมเกียรติ มีประชาชนคนเฒ่าคนแก่และหนุ่มสาว ตลอดทั้งพวกเด็ก ๆ ก็ไปด้วย โดยไปรอต้อนรับกันที่ทเข้า ณ บ้านห้วยบุ่น เป็นระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร เพราะท่านเจ้าคุณพระราชาคณะนั้นจะนั่งเกวียนเทียมวัวจากตัวอำเภอพรรณานิคมมาตามทางเกวียน เลาะเลียบเขาและอ้อมเขามาลงที่บ้านห้วยบุ่น ซึ่งเป็นจุดต้อนรับของประชาชนชาวตำบลนาใน

    ไม่นานคณะของท่านเจ้าคุณก็มาถึงและได้เปลี่ยนจากนั่งเกวียนมาขึ้นแคร่หามซึ่งชาวบ้านหนองผือ จัดเตรียมตกแต่งไว้รอท่าเรียบร้อยแล้ว เมื่อท่านขึ้นแคร่หามเรียบร้อยก็พากันหามออกมาหน้าขบวน โดยมี ประชาชนที่ไปต้อนรับแห่ขบวนตามหลัง มีฆ้องตีแห่ไปด้วยอันเป็นประเพณี สนุกสนานตามประสาชาวบ้าน มาเรื่อย ๆ ตามทางเกวียนจนเข้ามาถึงหมู่บ้านหนองผือ ผ่านบ้านเลยลงทุ่งนามุ่งสู่วัดป่าบ้านหนองผืออัน เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของการเดินทาง

    สำหรับภายในวัดป่าบ้านหนองผือ พระภิกษุสามเณรทุกรูปได้ลงมาเตรียมรอต้อนรับท่านที่ศาลา ทั้งหมดท่านพระอาจารย์มั่นก็อยู่บนศาลาเช่นกัน ในขณะนั้นพวกขบวนแห่ก็เคลื่อนใกล้เข้ามาทุกที มาถึงประตู ทางเข้าวัดเคลื่อนมาเรื่อยๆ ในที่สุดขบวนแห่ก็เคลื่อนมาถึงบริเวณศาลาที่เตรียมต้อนรับ และยังคิดที่จะหามแห่ เกวียนรอบศาลาสามรอบตามประเพณี ทันใดนั้นเสียงของท่านพระอาจารย์มั่นก็ดังขึ้น เล็ดลอดออกมาจาก ภายในศาลา เสียงของท่านดังมากชัดเจนเป็นสำเนียงภาษาท้องถิ่นอีสานขนานแท้ว่า

    "เอาบุญหยงฮึ..พ่อออก? พ่ออกเอาบุญหยัง..? บุญเดือนสามกะบ่แม่น เดือนหกกะบ่แม่น เอาบุญหยัง..ล่ะ...พ่อออก" ( หมายความว่า ทำบุญอะไรหรือโยม โยมทำบุญอะไร? ทำบุญเดือนสามก็ไม่ใช่ บุญเดือนหกก็ไม่ใช่ ) ท่าพูดเน้นและย้ำอยู่อย่างนั้น จนทำให้พวกขบวนหามแห่ พวกตีฆ้อง ตีกลอง แปลกใจ และตกใจกลัวเสียงของท่านมากและพากันหลบหน้าหลบตาหายลับไปกับฝูงชน ส่วนพวกที่กำลังหามพระราชาคณะ รูปนั้นก็กลัวท่านเหมือนกันแต่จะทำอย่างไรได้ จึงต้องจำใจหามท่านเข้าไปจนถึงระเบียงศาลา โดยหามเอาขอบ ของแคร่เข้าไปชิดกับระเบียงศาลาแล้วท่านเจ้าคุณฯ ก็ลุกขึ้นยืน ก้าวเท้าเหยียบขอบระเบียงศาลาเดินเข้าไปภายใน ยืนลดผ้าห่มจีวรเฉวียงบ่าให้เรียบร้อยสักครู่หนึ่ง จึงเดินเข้าไปยังอาสน์สงฆ์แล้วกราบนมัสการพระประธาน เสร็จแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่จัดไว้

    ฝ่ายญาติโยมที่แห่หามท่านมาเห็นว่าหมดธุระแล้ว จึงเก็บสัมภาระแคร่หามและเครื่องของต่างๆ ไปไว้ที่เดิมในขณะที่ผู้คนกำลังวุ่นวายกันอยู่นั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็ยังพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า คล้ายๆจะให้รู้ว่า งานขบวนหามขบวนแห่พระในครั้งนี้มีความผิด ท่านจึงพูดเสียงดังผิดปกติจากนั้นท่านก็ไม่ได้พูดอะไรอีก ท่านได้เข้าไปต้อนรับพูดจาปราศรัยกับท่านเจ้าคุณฯ ถึงตอนกลางคืนวันนั้นท่านก็ได้ประชุมพระเณร เข้าใจว่าคงจะได้ฟังเทศน์กัณฑ์หนักเหมือนกันญาติโยมบ้านหนองผือบางคนสมัยนั้นมักไปแอบฟังเทศน์ท่าน ที่ใต้ถุนศาลา ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นกำลังเทศน์อบรมพระเณรในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ ประมาณ ๔-๕ คน

    คืนนี้ก็เป็นนักแอบฟังเหมือนเช่นเคย แต่คราวนี้ไปกันหลายคน เพราะมีเหตุให้สนใจหลายอย่าง มีท่านเจ้าคณะรูปนั้นมาแบบมีเกียรตินี้หนึ่ง และเพื่อมาฟังเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขิ้นในตอนกลางวันนั้นหนึ่ง มาถึงแล้วก็เข้าไปแอบอยู่ที่ใต้ถุนศาลานั่นเอง ขณะนั้นท่านท่านพระอาจารย์มั่นกำลังเทศน์พระเณรอยู่ ตอนแรก ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านคงจะยังไม่รู้ว่ามีโยมมาแอบฟังบังเอิญมีโยมคนหนึ่งวางกระป๋องยาสูบไว้ในที่มืด ฟังเพลิน มือคว้าไปสะดุดกระป๋องยาสูบเข้าทำให้เกิดเสียงดังขึ้น ท่านได้ยินจึงพูดว่า "พ่อออกมาเนอะ" ( หมายความว่า โยมก็มาฟังด้วย )

    การแอบฟังของญาติโยมในคืนนั้นก็ทำให้รู้เรื่องราวหลายอย่าง ส่วนมากเป็นเรื่องการประพฤติ ปฏิบัติพระวินัยของพระภิกษุสามเณร ตลอดทั้งกิริยา มารยาทอย่างอื่นที่ยังไม่เหมาะสมกับสมณสารูป และอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการรวมคณะสงฆ์ทั้งสองให้เป็นคณะเดียว อาจเนื่องมาจากท่านเจ้าคณะรองภาคฯ รูปนั้น มาปรึกษาขอความเห็นจากท่านพระอาจารย์มั่นก็เป็นได้ และท่านก็ได้เทศน์อบรมพระเณรในคืนนั้น เป็นพิเศษจนดึก ล้วนแต่เป็นเรื่องราวที่เข้มข้นทั้งนั้น เทศน์ถึงความผิดของพระเณรแล้วก็โยงมาถึงความผิดของ ญาติโยม เพราะไม่มีใครสอนเขาให้เข้าใจพวกเขาเลยไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ที่ผิดก็เลยพากันผิดมาเรื่อยๆ จนบางเรื่องก็แก้ไขไม่ได้ติดเป็นประเพณีนิยมสืบกันมาก็มี แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ท่านได้เริ่มจุดที่จะสอนญาติโยมชาวบ้านหนองผือต่อไป

    ตอนเช้าท่านพระอาจารย์มั่นพร้อมทั้งพระเณรทุกรูป เข้าไปบิณฑบาตภายในหมู่บ้านหนองผือ ตามปกติชาวบ้านจะรอใส่บาตรกันเป็นกลุ่มๆ ละ ๓๐-๔๐ คน มีทั้งหมด ๓ กลุ่ม พอพระเณรมาถึงละแวกบ้าน จะมีโยมประจำคนหนึ่ง ซึ่งมีบ้านอยู่ต้นทางก็จะตีเกราะเคาะไม้เป็นสัญญาณเตือนก่อน จากนั้นพระเณร ก็เดินเป็นแถวตามลำดับพรรษาเข้าไปยังหมู่บ้าน ฝ่ายญาติโยมที่จะใส่บาตรจะยืนเรียงแถวยาวไปตามถนน เป็นกลุ่มๆ ไป

    วันนี้ก็เช่นกัน พระเจ้าพระสงฆ์ก็ไปรับบิณฑบาตเหมือนเช่นเคย มีท่านพระอาจารย์มั่น เป็นองค์นำหน้า พอไปถึงกลุ่มแรกท่านพระอาจารย์มั่นก็พูดขึ้นเสียงดังชัดเจน แต่เป็นประโยคใหม่ แปลกกว่าคำพูดเมื่อวานนี้ เป็นสำเนียงอีสานว่า " สาละแวก ปลาแดกใส่ตุ้ม ปลาเก่ากะบ่ได้ ปลาใหม่กะบ่ได้ เอาบุญหยังฮึ..พ่อออกแม่ออกเมื่อวานนี้ สาละแวก ปลาแดกใส่ตุ้ม.." ท่านพูดอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ภายหลังมาพวกชาวบ้านจึงเข้าใจความหมายและเรื่องราวต่างๆที่ท่านพูดนั้น จากพระเณรภายในวัด ซึ่งได้เล่าหรืออธิบายให้ญาติโยมที่ไปจังหันที่วัดในตอนเช้าฟัง เมื่อพวกโยมเหล่านั้นกลับมาบ้าน ก็ได้บอกเล่าเรื่องเหล่านั้นให้แก่ชาวบ้านคนอื่นๆทราบอีก และเล่าต่อๆมาจนถึงทุกวันนี้

    เรื่องนั้นมีความหมายว่า การที่ญาติโยมตั้งขบวนแห่พระอย่างนั้น เป็นการอันไม่สมควร ไม่ถูกต้อง ไม่เคารพสถานที่และครูบาอาจารย์ เป็นความผิดแผก แหวกแนวประเพณีของนักปฏิบัติ ผิดทั้งฝ่ายโยม ทั้งฝ่ายพระ พระผู้ถูกหามไม่ป่วยไม่ชรา อาพาธก็ผิดพระวินัย พระก็เป็นโทษเป็นอาบัติเป็นบาปเป็นกรรม ฝ่ายญาติโยมเป็นผู้ส่งเสริมความผิด ทำให้พระผิดพระวินัย ญาติโยมก็พลอยได้รับโทษไปด้วยเช่นกัน ฉะนั้น การที่ญาติโยมคิดว่าเป็นการทำเอาบุญเอากุศลในครั้งนี้นั้นก็เลยไม่ได้อะไร บุญเก่าก็หดหาย บุญใหม่ก็ไม่ได้ เป็นการกระทำอันเปล่าประโยชน์ ภายหลังชาวบ้านจึงพากันจำใส่ใจตลอดมา และไม่กล้าทำประเพณีอย่างนี้อีกเลย จึงได้พากันเล่าต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ถือว่าเป็นอุบายการสั่งสอนของท่านพระอาจารย์มั่นที่ชาญฉลาดยิ่ง จนชาวบ้านหนองผือได้รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกบ้างจนมาถึงทุกวันนี้
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ๒. ท่านพระอาจารย์มั่น รับนิมนต์สวดมนต์ในบ้าน


    ครั้งนั้นชาวบ้านหนองผือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นก็คือเกิดโรคระบาดชนิดหนึ่ง อย่างรุนแรง มีคนตายเกือบทุกวันครั้งละ ๑ - ๒ คน แต่ละวันต้องเอาคนตายไปฝังไปเผาอยู่เสมอ จนทำให้ผู้คนประชาชนแตกตื่นกลัวกันมากไม่รู้ว่าจะทำประการใด บางคนก็คิดอยากอพยพรื้อบ้านเรือน หนีไปอยู่ท้องถิ่นอื่น แต่ก็ยังลังเลใจอยู่ไม่กล้าตัดสินใจเพราะบ้านหนองผือนี้ยังเป็นหมู่บ้านี่อุดมสมบูรณ์อยู่มาก และเป็นหมู่บ้านที่ตั้งมานานพอสมควร ถ้าจะปล่อยให้ว่างเปล่าอยู่ก็รู้สึกว้าเหว่มาก หมดที่พึ่งที่อาศัย ในตอนนี้ชาวหนองผือหดหู่ใจกันมาก ทั้งกลัวโรคระบาดชนิดนี้จะมาถึงตัวในวันใดคืนใดก็ไม่อาจรู้ได้ การรักษาหยูกยาในสมัยนั้นมีแต่รากไม้สมุนไพรต่างๆ เท่านั้น กินได้ก็ไม่ค่อยจะหายนอกจากนั้นบางคน ก็วกไปหาหมอผีทำพิธีไสยศาสตร์เสกเป่าต่างๆ ก็มี คือทำทุกวิถีทาง เพื่อจะให้หายเพราะความกลัวตาย

    เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ชาวบ้านก็มีความทุกข์ความลำบากใจ บางคนก็หมดอาลัยตายอยากในชีวิต ตกตอนกลางคืนมาก็พากันเข้าห้องนอนกันเงียบ ไม่มีใครกล้าจะออกมาเพ่นพ่านตามถนนหนทางกันเลย ในที่สุดพวกคนวัดคนวา คนเฒ่าคนแก่ ผู้รู้หลักนักปราชญ์พิธีในทางพุทธศาสนาจึงพากันตกลงว่าต้อง ทำพิธีบุญชำระกลางหมู่บ้าน ปัดรังควาน ตามประเพณีโบราณนิยมของภาคอีสานสมัยนั้น แต่ก็มีปัญหาเล็กน้อย เนื่องด้วยชาวบ้านหนองผือมีความเคารพและเกรงกลัวท่านพระอาจารย์มั่นมาก งานการอะไรที่คิดว่าไม่สมเหตุสมผล ก็ไม่อยากจะให้ถึงท่านแต่ถ้าไม่ถึงท่านก็ไม่ได้อีก เพราะว่างานพิธีบุญในครั้งนี้จำเป็นต้องนิมนต์พระสงฆ์ไป เจริญพระพุทธมนต์ ที่ปะรำพิธีกลางบ้านด้วย สำหรับพวกโยมเจ้าพิธีทั้งหลายต่างก็พะวักพะวนใจอยู่ว่า จะตัดสินใจกันอย่างไรสุดท้ายจึงตกลงให้โยมผู้ชายคนใดคนหนึ่งเข้าไปปรึกษาหารือกับท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าหนองผือ ดูก่อน ในตอนนี้โยมบางคนกลัวท่านพระอาจารย์มาก ไม่กล้าไปขอตัวไม่เป็นผู้เข้าไปปรึกษาหารือกับท่านพระอาจารย์มั่น

    ในที่สุดจึงได้มอบหมายหน้าที่ให้โยมผู้ชายคนหนึ่งซึ่งมีความกล้าหน่อย ซึ่งเขาเคยบวชพระมานานพอสมควรแต่ ลาสิกขามามีครอบครัวแล้ว เป็นผู้เข้าไปปรึกษาเรื่องนี้กับท่านพระอาจารย์มั่น เขาชื่ออาจารย์ บู่ นามสกุล ศูนย์จันทร์ ( ชาวบ้านหนองผือ ผู้อยู่ในเหตุการณ์สมัยท่านพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ ขณะนี้บวชเป็นพระพักอยู่สำนักสงฆ์ดานกอย ) ท่านเล่าว่า " ตอนแรกก็กลัวท่านเหมือนกัน แต่ดูแล้วคนอื่นเขาไม่กล้าเลย ตัดสินใจรับว่า ตายเป็นตายแต่ยังอุ่นใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ท่านเป็นพระระดับนี้ผิดถูกอย่างไรท่านคงจะบอกสอนเรา อาจเป็นว่าเราคิดมากไปเองก็ได ้" โยมอาจารย์บู่ ท่านจึงตกลงไปที่วัดหนองผือ เพื่อเข้าไปหาท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อไปถึงวัดขณะนั้นท่านพระอาจารย์มั่น กำลังนั่งอยู่ที่อาสนะหน้าห้องกุฏิท่าน หลวงพ่อบู่เล่าว่า ก่อนที่จะก้าวเดินขึ้นบันได กุฏิท่านนั้นรู้สึกว่าใจมันตีบตันไปหมด จึงอดใจก้าวเท้าจนกระทั่งเท้าเหยียบขั้นบันไดขั้นแรกและขั้นที่สอง พร้อมกับศรีษะ ตัวเองโผล่ขึ้นไป พอมองเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงหันหน้าขวับมาพร้อมกับกล่าวขึ้นก่อนว่า " ไปหยังพ่อออกจารย์ บู่ " ตอนนี้จึงทำให้โยมอาจารย์บู่โล่งอกโล่งใจ จิตใจที่ตีบตันก็หายไป มีความปลอดโปร่งขึ้นมาแทนที่ จึงเดินขึ้นบันไดแล้ว คลานเข้าไปกราบท่าน เสร็จแล้วเล่าเรื่องราวความเป็นมาต่างๆ ให้ท่านทราบ

    ท่านพระอาจารย์มั่นฟังเสร็จได้หลับตาลงนิดหนึ่ง เมื่อลืมตาขึ้นมาท่านพูดว่า " มันสิเป็นหยัง เมืองเวสาลี เกิดโรคระบาดฮ้อนฮน คนตายกันปานอึ่ง พระพุทธเจ้าให้ไปสวดพระพุทธมนต์คาถาบทเดียว ความฮ้อนฮนหมู่นั้นจึงหาย ไปหมดสิ้น..เอาทอนี่ละน้อ " ท่านพูดเสร็จแล้วก็ไม่พูดอะไรต่อไปอีก เนื้อความนั้นหมายความว่า " จะเป็นอะไรไป เมืองเวสาลี คราวนั้นเกิดโรคระบาดร้อนรน อนธการ มีผู้คนนอนตายกันเหมือนกับอึ่ง กับเขียด พระพุทธเจ้าให้ไปเจริญพระพุทธมนต์ เรื่องราวความเดือดร้อนต่างๆ เหล่านั้นก็หายไปจนหมดสิ้น " หลวงพ่อบู่เล่าว่า เมื่อได้ฟังท่านพระอาจารย์มั่นพูดอย่างนั้นแล้ว รู้สึกมีความดีใจมาก เกิดมีกำลังใจขึ้นมาเป็นอย่างยิ่ง จึงขอโอกาสกราบลาท่านพระอาจารย์มั่นลงจากกุฏิท่านไป แล้วรีบกลับ บ้านไปป่าวร้องให้ชาวบ้านทราบว่า ท่านพระอาจารย์มั่นอนุญาตแล้ว ให้พวกเราพากันจัดการเตรียมสร้างปะรำพิธีให้เรียบร้อย ชาวบ้านต่างคนก็ต่างดีใจมาก พากันจัดแจงปลูกปะรำพิธีกลางบ้านเสร็จในวันนั้น นอกจากนั้นยังจัดหาอาสนะ ผ้าขาวกั้นแดด กระโถน กาน้ำ ตลอดทั้งเครื่องประกอบต่างๆ ในพิธีให้ครบถ้วนหมดทุกอย่าง เมื่อพร้อมแล้วได้วันเวลา จึงไปอาราธนานิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ งานนี้เห็นว่าทำกันสองวัน วันแรกท่านพระอาจารย์มั่นไม่ได้ขึ้นมาสวดด้วยท่านจัดให้พระสงฆ์ ภายในวัดขึ้นมาสวดก่อน ต่อเมื่อวันสุดท้ายท่านจึงขึ้นมา ตอนนี้หลวงพ่อบู่เล่าว่าท่านเดินขึ้นมาสวดมนต์ด้วยเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้ารวมทั้งพระติดตามอีก ๓ - ๔ รูปก็เหมือนกัน ฝ่ายทางปะรำพิธีพวกญาติโยมก็เตรียมน้ำสำหรับล้างเท้าไว้รอท่า อยู่ก่อนแล้ว ท่านเดินทางมาถึงหน้าปะรำพิธี มีโยมคนหนึ่งเตรียมล้างเท้า อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยเช็ด ทำไปจนเสร็จหมดทุกรูป เมื่อท่านขึ้นไปนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ทุกรูปแล้ว โยมก็เข้าไปประเคนน้ำ หมากพลู บุหรี่ สักครู่ท่านเริ่มทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพราะญาติโยมเขามานั่งรอท่าก่อนพระสงฆ์มาถึงแล้ว

    หลวงพ่อบู่เล่าว่า พิธีในวันนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านนำพระเจริญพระพุทธมนต์เพียงสองหรือสามรุปเท่านั้น ที่จำได้มี รตนสูตรและกรณียเมตตสูตร ไม่นาก็จบลง หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นได้เทศน์อบรมฉลองพวกญาติโยมที่มา ร่วมในงานนั้น อันเกี่ยวกับเรื่องของความตายและคนกลัวตายว่า "เป็นเพราะไม่มีที่พึ่งทางจิตใจหรือไม่รู้ที่พึ่งอันเกษมอันอุดม จึงกลัวการตายแต่ไม่กลัวการเกิด เมื่อเป็นเช่นนี้จึงคว้าโน้นคว้านี้เป็นที่พึ่ง บางคนกลัวตายแล้วไปไขว่คว้าเอาสิ่งอื่นมาเป็นที่พึ่ง ที่เคารพนับถือด้วยความงมงาย มีการอ้อนวอน วิงวอนขอโดยวิธีบนบานศาลกล่าวจากเถื่อนถ้ำและภูเขา ต้นไม้ใหญ่ ศาลพระภูมิเจ้าที่เจ้าทางต่างๆ ที่ตนเองเข้าใจว่าเป็นที่สถิตย์อยู่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อันอาจดลบันดาลให้ชีวิตตนรอดพ้น จากอันตรายความตายและความทุกข์ได้ จึงหลงพากันเซ่นสรวงด้วยเครื่องสังเวยต่างๆ ตามที่ตนเองเข้าใจว่าเจ้าของสถานที่ เหล่านั้นจะพอใจหรือชอบใจ นอกจากนั้นยังมี การทรงเจ้าเข้าผี สะเดาะเคราะห์ สะเดาะนาม สืบชะตาราศี ตัดกรรมตัดเวร โดยวิธีต่างๆ เหล่านี้"

    ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ต่อไปอีกว่า "ที่พึ่งอันอุดมมั่นคงนั้นคือการให้ภาวนา น้อมรำลึกนึกเอาพระคุณอันวิเศษ ของพระพุทธเจ้า พร้อมพระธรรมและพระอริยสงฆ์ มาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ จึงจะเป็นการถูกต้องสมกับที่พวก เราเป็นผู้รับ นับถือเอาพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งประจำกายใจของตน และอีกอย่างให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักของอุบาสก อุบาสิกา มีการให้ทาน รักษาศีลและเจริญเมตตาภาวนา" สุดท้ายท่านได้ย้ำลงไปว่า " ต่อไปนี้ให้ญาติโยมทุกคนทั้งหญิง ทั้งชาย เฒ่าแก่ เด็กเล็กเด็กน้อยก็ตาม พากันสวดมนต์ทำวัตรทั้งเช้าทั้งเย็น ก่อนนอนตื่นนอนทุกวัน ให้ผู้ใหญ่ในครอบครัว พ่อแม่เป็นผู้พาทำ ทำที่บ้านใครบ้านมัน ทุกครัวเรือน ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเป็นบุญเป็นกุศลแก่พวกเรา ความเดือดร้อนต่างๆ เหล่านั้นมันก็จะหายไปเอง " ท่านให้โอวาทอบรมชาวบ้านหนองผือในครั้งนั้นเป็นเวลานานพอสมควร จึงได้จบการให้โอวาทลง จากนั้นท่านพูดคุยกับญาติโยมนิดๆ หน่อยๆ แล้วสักครู่ ท่านจึงกลับวัด

    งานบุญในครั้งนี้ทำกัน ๒ วัน ที่น่าสังเกตคือ พระสงฆ์ที่ไปเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้านนั้นไม่ได้ไปฉันข้าวที่บ้านใน ตอนเช้า การถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์นั้นให้เอาไปรวมถวายที่วัดทั้งหมดจึงเป็นการสิ้นสุดลงของงานบุญในครั้งนี้ ขอแทรกเรื่องนี้สักเล็กน้อย เหตุที่ชาวบ้านหนองผือไม่นิยมนิมนต์พระไปฉันข้าวในงานบุญบ้านนั้น เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่ง มีงานบุญที่บ้านโยมคนหนึ่ง บ้านที่จัดงานบุญนั้นเป็นบ้านที่ไม่ใหญ่โตมากนัก ปลูกสร้างแบบชนบทบ้านนอกโบราณ รู้สึกว่าจะคับแคบสักหน่อย ที่สำหรับพระนั่งก็คับแคบมาก แต่เจ้าภาพเรือนนี้คงไม่เคยจัดงานอย่างนี้หรือเพื่อจะมีหน้ามีตา อย่างใดก็ไม่อาจทราบได้ นิมนต์พระขึ้นไปตั้งมากมาย เมื่อพระขึ้นไปบนบ้านแล้วจึงทำให้ท่านยัดเยียดกันอยู่ ทำความ ลำบากใจให้แก่พระมาก กว่างานจะเสร็จจึงทำเอาพระหน้าตาเสียความรู้สึกไปหมด
    เรื่องนี้ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงสอนชาวบ้านหนองผือว่า " จะนิมนต์พระมาสวดมาฉันในบ้านก็ต้องดูสถานที่ก่อน ถ้าที่คับแคบให้นิมนต์พระมาแต่น้อย ถ้ากว้างขวางก็ให้ดูความเหมาะสม หากนิมนต์มาแล้วทำให้พระลำบาก ยิ่งพระแก่ๆ แล้ว ยิ่งลำบากมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ญาติโยมก็จะไม่ได้บุญ จะเป็นบาปเสียเปล่าๆ และอีกอย่างหนึ่งการเอาพระขึ้นมาฉันข้าวในงานบุญ บ้านก็เหมือนกันยิ่งลำบากมาก ไม่รู้ว่าอะไรวุ่นวี่วุ่นวายกันไปหมด พอฉันเสร็จแล้วพระบางรูปก็อาจปวดท้องไส้ขึ้นมาแล้วจะวิ่ง ไปที่ไหน ยิ่งพระเฒ่าพระแก่ๆ แล้วยิ่งทรมานมาก ปวดท้องขึ้นมารังแต่จะออก จะวิ่งไปอย่างไร ถึงแม้มีที่วิ่งไปก็คงดูไม่งาม สำหรับสมณเพศ ฉะนั้นจึงให้ญาติโยมพิจารณาดู " ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านหนองผือไม่เคยนิมนต์พระไปฉันข้าวในงานบุญบ้าน แต่สำหรับการนิมนต์พระไปเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมแสดงธรรมเทศนาหลังสวดมนต์เสร็จในงานบุญบ้านต่างๆ นั้นยังทำ กันอยู่ตามปกติ จึงเป็นระเบียบประเพณีปฏิบัติสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ๓. เรื่องศพที่ท่านพระอาจารย์มั่นพาปฏิบัติ


    ครั้งหนึ่งมีเหตุเด็กผู้ชายป่วยไข้ตายลง ชื่อเด็กชาย นงค์ นามสกุล จันทะวงษา อายุประมาณ ๖ ขวบ เป็นไข้ตาย อยู่ที่กระท่อมเถียงนา เพราะเป็นหน้ากำลังดำนากัน ตามปกติพ่อแม่ในชนบทบ้านนอกทางภาคอีสานสมัยนั้น เมื่อถึงหน้าฤดู ทำนาก็ต้องหอบลูกจูงหลานไปนาด้วย แม้ลูกหลานจะป่วยไข้แต่พอเอาไปก็ต้องเอาไป เผื่อจะได้เยียวยารักษากันไป พร้อมกับทำนาไปด้วยเพื่อจะเร่งงานนาให้เสร็จทันกับฤดูกาล แต่วันนั้นบังเอิญเด็กมีไข้ขึ้นสูง เยียวยาไม่ทันในที่สุดก็ตาย ทำให้พ่อแม่พี่น้องมีความเศร้าโศกเสียใจมาก

    เมื่อตายแล้วพ่อแม่ญาติพี่น้องต้องการจะให้นำศพเด็กเข้าไปทำบุญที่บ้าน แต่มาขัดข้อเรื่องของ ความคิดเห็นตามประเพณีโบราณว่า คนที่ตายในทุ่งในป่าห้ามไม่ให้เอาผ่านเข้าบ้านโบราณท่านถือ และอีกอย่างคนตายโหง หรือตายอย่างกระทันหัน เช่น ตายจากอุบัติเหตุ ผูกคอตาย ฆ่ากันตาย ยิงกันตาย เหล่านี้เป็นต้น โบราณท่านไม่ให้หาม ผ่านเข้าบ้านและห้ามเผาให้ฝังครบสามปีแล้วจึงขุดเอากระดูกขึ้นมาเผาได้ เลยทำให้ชาวบ้านหนองผือสมัยนั้นถกเถียงกันไป ถกเถียงกันมา ในที่สุดญาติโยมจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษาสอบถามกับท่านพระอาจารย์มั่น

    ท่านได้แก้ความสงสัยนี้ให้แก่ญาติโยมบ้านหนองผือด้วยเหตุผลง่ายๆว่า " พวกหมูป่า อีเก้ง กวางที่ยิงตาย ในป่า ยังเอามาเข้าบ้านเรือนได้ นี่มันคนตายแท้ๆ ทำไมจะเอาเข้าบ้านเข้าเรือนไม่ได้ " ดังนั้นญาติโยมชาวบ้านจึงนิ่งเงียบไป ทำให้หูตาสว่างขึ้นมา สุดท้ายก็นำเอาศพเด็กชายคนนั้นเข้าไปทำบุญที่บ้าน และเผาเหมือนกันกับศพของคนตายตามปกติ ธรรมดาทุกอย่าง ภายหลังต่อมาชาวบ้านหนองผือจึงไม่ค่อยถือในเรื่องนี้เป็นสำคัญ คนตายทุกประเภทจึงทำเหมือนกันหมด

    สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพำนักอยู่สำนักวัดป่าบ้านหนองผือ ช่วงระยะ ๕ พรรษานั้นมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น คือ มีพระที่จำพรรษาอยู่ด้วยท่านมรณภาพลง ๒ รูป คือ พระอาจารย์สอกับพระอาจารย์เนียม แต่มรณภาพลงคนละเดือน โดยเฉพาะพระอาจารย์เนียม มรณภาพเมื่อตอนเช้าด้วยอาการสงบ ท่านพระอาจารย์มั่นก็ทราบเรื่องทุกอย่าง พอตอนเช้า ท่านพระอาจารย์มั่นก็พาพระเณรไปบิณฑบาตรภายในหมู่บ้านตามปกติ ในขณะที่ท่านกำลังบิณฑบาตรอยู่นั้น ท่านพูดขึ้นเป็น สำเนียงอีสานว่า " ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ พ่อออกแม่ออก ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ " ท่านพูดอย่างนั้นไปเรื่อยๆ กับกลุ่มญาติโยม ที่รอใส่บาตรทุกกลุ่มจนสุดสายบิณฑบาตร คำพูดของท่านนั้นหมายความว่า พระอาจารย์เนียมอยู่กับที่แล้วไม่กระดุกกระดิก แล้วหรือตายแล้ว ซึ่งญาติโยมตอนนั้นบางคนก็เข้าใจบางคนก็ไม่เข้าใจความหมาย ภายหลังจึงเข้าใจชัดว่า พระอาจารย์เนียม มรณภาพแล้วเมื่อเช้านี้ เมื่อญาติโยมทั้งหลายได้ทราบอย่างนั้นแล้วจึงบอกต่อๆ กันไป แล้วพากันเตรียมตัวไปที่วัดในเช้าวันนั้น

    สำหรับท่านพระอาจารย์มั่นพร้อมทั้งพระเณรบิณฑบาตรเสร็จแล้วกลับถึงวัด ล้างเท้าขึ้นบนศาลาหอฉัน วางบาตร บนเชิงบาตร ลดผ้าห่ม คลี่ผ้าสังฆาฏิที่ซ้อนออก ห่มเฉพาะจีวรเฉวียงบ่าเรียบร้อยแล้วพับเก็บผ้าสังฆาฏิ จึงเข้าประจำที่ฉัน เตรียมจัดแจงอาหารลงบาตร เพราะมีโยมตามส่งอาหารที่วัดด้วย เสร็จแล้วอนุโมทนายถาสัพพีตามปกติ จึงพร้อมกันลงมือฉัน

    ฝ่ายพวกชาวบ้านญาติโยมภายในหมู่บ้าน ที่จะมาวัดในเช้าวันนั้นก็กำลังบอกล่าวป่าวร้องให้ผู้คนประชาชนไปที่วัด เพื่อจะได้จัดเตรียมเอาเครืองใช้ไม้สอยและอุปกรณ์จำเป็นในการที่จะทำงานฌาปณกิจศพตามประเพณี ทั้งคนเฒ่าคนแก่ หนุ่มๆ แข็งแรงก็ให้ไปด้วย ผู้มีมีดพร้า ขวาน จอบ เสียม ก็ให้เอาไปด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้ไปปราบพื้นที่ที่จะทำเป็นที่เผาศพชั่วคราว สำหรับพวกที่มีพร้ามีขวานให้ไปตัดไม่ที่มีขนาดใหญ่หน่อย ยาวประมาณ ๒ วากว่าๆ มาทำเป็นไม้ข่มเหงหรือไม้ข่มหีบศพที่อยู่ บนกองฟอน ไม่ไห้ตกลงมาจากกองฟอนขณะไฟกำลังลุกไหม้อยู่ส่วนคนเฒ่าคนแก่รู้หลักในการที่จะทำเกี่ยวกับศพก็เตรียมฝ้าย พื้นบ้านพร้อมด้ายสายสิญจน์ เพื่อนำไปมัดตราสัง ภูไท เรียกว่ามัดสามย่าน ( คือห่อศพด้วยเสื่อแล้วมัดเป็นสามเปลาะ โดยมัด ตรงคอ ตรงกลาง และตรงข้อเท้า) นอกจากนั้นก็มีธูปเทียนดอกไม้ กะบองขี้ไต้ น้ำมันก๊าด พร้อมทั้งหม้อดินสำหรับใส่กระดูก หลังจาเผาเสร็จ เป็นต้น

    ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นนั้น เมื่อฉันจังหันเสร็จและทำสรีรกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้วได้ลุกจากอาสนะที่นั่ง เดินลง จากศาลาหอฉันไปที่กุฏิศพพระอาจารย์เนียม พระเณรทั้งหลายก็ติดตามท่านไปด้วย ไปถึงท่านก็สั่งการต่างๆ ตามที่ท่านคิดไว้แล้ว คือคล้ายๆกับว่าท่านจะเอาศพของพระอาจารย์เนียมเป็นเครื่องสอนคนรุ่นหลังหรือทอดสะพาน ให้คนรุ่นหลังๆ ทั้งพระเณร พร้อมทั้งญาติโยมชาวบ้านหนองผือเอาเป็นคติตัวอย่าง ท่านจึงไปยืนทางด้านบนศรีษะของศพแล้วก้มลงใช้มือทั้งสองจับมุมเสื่อ ทั้งสองข้างของศพ ทำท่าทางจะยกศพขึ้นอย่างขึงขังจริงจังพระเณรทั้งหลายเห็นกิริยาอาการของท่านอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าใจ ความหมายว่า ท่านต้องการจะให้ยกศพหามไปที่กองฟอนเดี๋ยวนั้น โดยไม่ต้องตกแต่งศพหรือทำโลงใส่เลย

    ดังนั้น พระเณรทั้งหลายจึงพากันกรูเข้าไปช่วยยกศพนั้นจากมือท่าน หามไปที่กองฟอนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของวัด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเห็นว่าพระเณรทั้งหลายเข้ามาช่วยหามมากแล้ว ท่านจึงปล่อยให้จัดการหามกันเอง ท่านเพียงแต่ คอยสั่งการตามหลังเท่านั้น แล้วท่านก็เดินตามหลังขบวนหามศพนั้นไป ในตอนนี้พวกญาติโยมชาวบ้านกำลังทยอยเข้ามาที่บริเวณวัด ขณะที่พระอาจารย์มั่นกำลังเดินไปอยู่นั้น ได้มีโยมผู้ชายคนหนึ่งเดินถือฝ้ายพื้นบ้านเข้ามาหาท่านท่านเห็นจึงหยุดเดินและถามขึ้นว่า " พ่อออก ฝ้ายนั้นสิเอามาเฮ็ดอีหยัง..?" (หมายความว่า โยมจะเอาฝ้ายนั้นมาทำอะไร) โยมนั้นก็ตอบท่านว่า " เอามามัดสามย่านแหล่ว ข้าน้อย " ( มัดตราสัง ) ท่านพูดขึ้นทันทีว่า " ผูกมัดมัน เฮ็ดอีหยัง มันสิดิ้นรนไปไส มันฮู้พอแฮงแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้ อย่างอื่น สิยังมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ่มซะซือ " ( หมายความว่า ผูกมัดทำไม ศพมันจะดิ้นไปไหนเพราะตายแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้ อย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ้งเสียเปล่าๆ ) โยมคนนั้นก็เลยหมดท่าพูดจาอะไรไม่ออก เก็บฝ้ายนั้นแล้วเดินตามหลัง ท่านพระอาจารย์มั่นเข้าไปยังที่ที่เผาศพพระอาจารย์เนียม

    เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปถึงที่เผาศพแล้ว มีโยมหนุ่มๆ แข็งแรงกำลังแบกหามท่อนไม้ใหญ่พอประมาณยาว ๒ วากว่าๆ ( ทางนี้เรียกว่าไม้ข่มเหง ) มาที่กองฟอน ท่านพระอาจารย์มั่นเหลือบไปเห็นจึงพูดขึ้นทันทีว่า " แบกมาทำเฮ็ดหยังไม้นั่น..?" ( หมายความว่า แบกมาทำไมไม้ท่อนนั้น ) พวกโยมก็ตอบว่า " มาข่มเหงแหล่วข้าน้อย " ( หมายความว่า เอาไม้นั้นมาข่มศพบนกองฟอน เพื่อไม่ให้ศพตกออกจากกองไฟ ) ท่านจึงพูดขึ้นอีกว่า " สิข่มเหงมันเฮ็ดอิหยังอีก ตายพอแฮงแล้วย่านมันดิ้นหนีไปไส " (หมายความว่า จะไปข่มเหงทำไมอีกเพราะตายแล้ว กลัวศพจะดิ้นหนีไปไหน ) พวกโยมได้ฟังเช่นนั้นก็เลยวางท่อนไม้เหล่านั้นทิ้งไว้ที่พุ่มไม้ข้างๆ นั้นเอง แล้วมานั่งลงคอยสังเกตการณ์ต่อไป

    ก่อนเผานั้นท่านพระอาจารย์มั่นสั่งให้พลิกศพตะแคงขวา แล้วตรวจดูบริขารในศพโดยที่ไม่ได้แต่งศพแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงมีจีวรของศพปกปิดอยู่เท่านั้น แล้วท่านก็เหลือบไปเห็นสายรัดประคดเอวของศพ จึงดึงออกมาโยนไปให้พระที่อยู่ใกล้ๆ พร้อมกับพูดว่า " นี่ประคดไหม ใครไม่มีก็เอาไปใช้เสีย " แล้วท่านก็พาพระเณรสวดมาติกาบังสุกุลจนจบลง แล้วจึงให้ตาปะขาวจุด ไฟใส่กะบองแล้วยื่นให้ท่าน เมื่อท่านรับแล้วพิจารณาครู่หนึ่งจึงไปวางไฟลงใต้ฟืนในกองฟอน ไม่นานไฟก็ติดลุกไหม้ขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นเปลวโพลงสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว ในที่สุดไฟเริ่มไหม้ทั้งฟืนทั้งศพ ทำให้ศพที่ถูกไฟไหม้อยู่นั้นมีน้ำมันหยดหยาดย้อยถูก เปลวไฟเป็นประกายวูบวาบพร้อมกับเสียงดังพรึบๆ พรับๆ ไปทั่ว จนที่สุดคงเหลือแต่เถ้าถ่านกับกองกระดูกเท่านั้นเอง
    ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นเมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จึงหันหน้าเดินออกมาข้างนอก ปล่อยให้ญาติโยมดูแลเอง ในขณะที่ท่านกำลังเดินออกมาท่านเหลือบไปเห็นโยมผู้ชายคนหนึ่งถือหม้อดินใหม่ขนาดกลางเดินเข้ามาหาท่าน ท่านจึงถามโยมคนนั้น ทันทีว่า " พ่อออกเอาหม้อนั้นมาเฮ็ดหยัง " ( หมายความว่า โยมเอาหม้อดินนั้นมาทำอะไร ) โยมคนนั้นตอบท่านว่า " เอามาใส่กระดูกแหล่วข้าน้อย " ( หมายความว่าเอามาใส่กระดูกขอรับ ) ท่านจึงชี้นิ้วลงบนพื้นดินพร้อมกับถามโยมคนนั้นว่า " อันนี้แม่นหยัง " ( หมายความว่า อันนี้คืออะไร ) โยมตอบท่านว่า " ดินขอรับ " ท่านจึงชี้นิ้วไปที่หม้อดินที่โยมถืออยู่พร้อมกับถามอีกว่า " นั่นแด้..เขาเอาอีหยังเฮ็ด " ( หมายความว่า นั้นเขาทำด้วยอะไร ) โยมตอบท่านว่า "ดินข้าน้อย" ท่านจึงสรุปลงพร้อมกับชี้นิ้วทำท่าทางให้ดูว่า " นั่นก็ดิน นี่ก็ดิน ขุดลงนี่แล้ว จึงกวาด..ลงนี่ มันสิบ่ดีกว่าหรือ " ( หมายความว่า หม้อใบนั้นก็ทำด้วยดิน ตรงพื้นนี้ก็ดิน ขุดเป็นหลุมแล้วให้กวาดกระดูกและเถ้าถ่าน ต่างๆ ลงด้วยกัน จะไม่ดีกว่าหรือ ) ท่านจึงบอกโยมนั้นเอาหม้อไปเก็บไว้ใช้ โดยบอกว่า " ให้เอาหม้อใบนั้นไปใช้ต้มแกงอย่างอื่นยังจะมี ประโยชน์กว่าที่จะเอามาใส่กระดูก " เมื่อโยมได้ฟังเช่นนั้นจึงนำหม้อดินไปเก็บไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ๔. การทำบุญที่ท่านพระอาจารย์มั่นสรรเสริญ


    การสั่งสอนญาติโยมชาวบ้านหนองผือของท่านพระอาจารย์มั่นในสมัยนั้น ส่วนมากท่านจะเน้นให้ญาติโยมสมาทานศีลห้าเป็นหลัก ส่วนศีลแปดหรือศีลอุโบสถ ท่านไม่ค่อยจะเน้นหนักเท่าไหร่ท่านกล่าวว่า ศีลห้าเหมาะสมที่สุดสำหรับฆราวาสญาติโยมผู้ครองเรือน ถ้างดเว้น ตลอดไปไม่ได้ก็ขอให้งดเว้นให้ได้ในวันพระวันศีล สำหรับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้นท่านบอกว่า " สัตว์ที่มีบุญคุณนั้นห้ามเด็ดขาด " นอกจากนั้นท่านกล่าวว่า " จะงดเว้นไม่ได้ดอกหรือ เพียงวันสองวันเท่านั้น การกินในวันรักษาศีลจะกินอะไรก็คงได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น สัตว์ที่ฆ่าเอง แค่นี้ทำไม่ได้หรือ ไม่ตายดอก... "

    สำหรับการขอศีลนั้น ท่านไม่นิยมนิยมให้ขอ และท่านก็ไม่เคยให้ศีล ( ตอนอยู่หนองผือ ) ท่านให้ใช้วิธีรัติงดเว้นเอาเลย ไม่ต้อง ไปขอจากพระซ้ำ ๆ ซาก ๆ ผู้ใดมีเจตนาจะรักษาศีลจะเป็นศีลห้า ศีลแปดก็ตาม ให้ตั้งอกตั้งใจเอาเลย แค่นั้นก็เป็นศีลได้แล้ว และการ ถวายทานในงานบุญต่าง ๆ ท่านก็ไม่นิยมให้กล่าวคำถวายเช่นกัน ท่านอธิบายว่า " บุญนั้นผู้ถวายได้ถวายได้แล้วสำเร็จแล้วตั้งแต่ตั้งใจ หรือเจตนาในครั้งแรก ตลอดจนนำมาถวายสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องกล่าวอะไรอีก เพียงแต่ตั้งเจตนาดีเป็นกุศลหวังผลคือความสุข การพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเท่านี้ก็พอแล้วนั่นมันเป็นพิธีการหรือกฏเกณฑ์อย่างหนึ่งของเขา ไม่ต้องเอาอะไรทุกขั้นทุกตอนดอก "

    ครั้งนั้นมีศรัทธาญาติโยมจากสกลนคร เขาเป็นคนเชื้อสายจีน มีชื่อว่า เจ๊กไฮ แซ่อะไรนั้นเขาไม่ได้บอกไว้ เขามีความลื่อมใส ศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมาก ขอเป็นเจ้าภาพกฐินในปีนั้น เมื่อถึงเวลากำหนดกรานกฐินแล้ว จึงได้ตระเตรียมเดินทางมาพัก นอนค้างคืนที่บ้านหนองผือหนึ่งคืน โดยพักบ้านของทายกวัดคนหนึ่ง เพื่อจะได้จัดเตรียมอาหารคาวหวานสำหรับไปจังหันตอนเช้าด้วย พอเช้าขึ้นพวกเขาจึงพากันนำเครื่องกฐินพร้อมกับเครื่องไทยทานอาหารต่างๆ เหล่านั้นไปที่วัด เมื่อถึงวัดล้างเท้าที่หัวบันไดแล้วพากัน ขึ้นบนศาลาวางเครื่องของ คุกเข่ากราบพระประธาน แล้วจึงรวบรวมสิ่งของ เครื่องผ้ากฐิน พร้อมทั้งของอันเป็นบริวารต่างๆ วางไว้ที่หน้าพระประธานในศาลา

    ส่วนเจ๊กไฮ ผู้เป็นหัวหน้านำผ้ากฐินมานั้น เมื่อวางจัดผ้ากฐินพร้อมทั้งของอันเป็นบริวารต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว นั่งสักครู่ เห็นว่ายังไม่มีอะไร จึงพากันกราบพระประธาน ( เจ๊กไฮ ก็กราบเหมือนกัน ท่าทางเหมือนคนจีนทั่วไปเขากราบนั่นแหละ ) แล้วเขาก็ลง จากศาลาไปเดินเลาะเลียบชมวัดวาอารามเฉยอย่างสบายอารมณ์ จนกระทั่งพระเณรกลับจากบิณฑบาตรแล้ว ขึ้นบนศาลาเตรียมจัด แจงอาหารลงบาตรจนเสร็จสรรพเรียบร้อยทุกองค์ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้เรียกเจ๊กไฮมาเพื่อจะได้อนุโมทนารับพรต่อไป แต่เจ๊กไฮ ก็ไม่มารับพรด้วย มีคนถามเขาว่า " ทำไมไม่รับพรด้วย " เขาบอกว่า " อั๊วได้บุญแล้ว ไม่ต้องรับพรก็ได้ การกล่าวคำถวายก็ไม่ต้องว่า เพราะอั๊วได้บุญตั้งแต่อั๊วตั้งใจจะทำบุญทีแรกแล้ว ฉะนั้นอั๊วจึงไม่ต้องรับพรและคำกล่าวถวายใดๆ เลย "

    ภายหลังฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นได้พลิกวิธีคำว่าผ้ากฐินมาเป็นผ้าบังสุกุลแทน ท่านจึพิจารณากองผ้ากฐิน เป็นผ้าบังสุกุล เสร็จแล้วท่านได้เทศน์ฉลองยกย่องผ้าบังสุกุลของเจ๊กไฮเป็นการใหญ่เลย ท่านกล่าวถึงผ้ากฐินนั้นได้รับอานิสงส์น้อยเพียง แค่ ๔ เดือนเท่านั้นไม่เหมือนกับผ้าบึงสุกุลซึ่งได้อานิสงส์ตลอดไป คือ ผู้ใช้สามารถใช้ได้ตลอดไม่มีกำหนดเขตใช้จนขาดหรือใช้ไม่ได้จึง จะทำอย่างอื่นต่อไป และสุดท้ายท่านกล่าวอีกว่า " ใครทำบุญก็ไม่เหมือนเจ๊กไฮทำบุญ เจ๊กไฮทำบุญได้บุญมากที่สุด พรเขาก็ไม่ต้องรับ คำถวายก็ไม่ต้องว่าเขาได้บุญตั้งแต่เขาออกจากบ้านมา บุญเขาเต็มอยู่แล้ว ไม่ตกหล่นสูญหายไปไหน บุญเป็นนามธรรมอยู่ที่ใจ อย่างนี้จึงเรียกว่า ทำบุญได้บุญแท้.. "

    ทุกคนที่ไปกฐินในครั้งนี้ต่างก็มีความปลาบปลื้มปีติในธรรมะ ที่ท่านกล่าวออกมาซึ่งล้วนแต่มีเหตุผลที่แปลกใหม่ ยังไม่เคย ได้ยินได้ฟังมาจากที่อื่นเลย โดยเฉพาะกับเจ๊กไฮผู้เป็นเจ้าภาพยิ่งมีความปลื้มปีติมากกว่าเพื่อน เพราะสิ่งที่เขาได้ทำไปแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ ถูกต้องเป็นที่พออกพอใจของครูบาอาจารย์ที่เขาเคารพเลื่อมใส จึงเป็นที่ตรึงตราใจของเขาไปจนตลอดสิ้นชีวิตและได้เป็นเรื่องเล่าขาน กันมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

    อีกครั้งหนึ่งมีญาติโยมทางโคราช จะเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินมาทอดที่วัดป่าบ้านหนองผือในปีถัดมา เจ้าภาพชื่อนายวัน คมนามูล เป็นพ่อค้าชาวโคราช มีท่านพระอาจารย์มั่นเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการรับผ้ากฐินครั้งนั้น เมื่อออกพรรษาแล้วทางเจ้าภาพกฐินก็กำหนดวัน เวลาจะนำกฐินมาทอด ฝ่ายพระที่จำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่น ในปีนั้น รูปที่มีหน้าที่อปโลกน์กฐิน ( การเลือก, การบอกเล่า ถ้าเราถวายของสิ่งเดียวแก่ภิกษุสงฆ์หลายรูป ท่านจะต้องเลือกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ( เช่นถวายกฐิน ) พิธีการเลือกนั้นเรียกว่า อปโลกน์ หรือ อปโลกนกรรม ) ต่างก็เตรียมท่องคำอปโลกน์กัน อย่างดิบดี ตลอดทั้งพระรูปที่มีหน้าที่สวดญัตติทุติยกรรม ( กรรมมีญัตติเป็นที่สอง หรือ กรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ, กรรมอันทำด้วยญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และ การมอบให้ผ้ากฐิน เป็นต้น ) ก็เตรียมฝึกหัดอย่างเต็มที่เหมือนกัน เพื่อกันความผิดพลาด เพราะคิดว่าการ สวดต่อหน้าท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่เช่นนี้ ถ้าเกิดผิดพลาด สวดตะกุกตะกักหรือไม่ถูกอักขระฐานกรณ์ กลัวท่านจะดุเอา ต่อหน้าญาติโยม แล้วจะเป็นที่อับอายขายหน้ากัน อันนี้เป็นธรรมเนียมของพระในวัดที่จะรับกฐิน จะต้องตักเตือนกันก่อนกว่าพิธีจริงจะมาถึง งานนี้คิดว่าคงจะเช่นกัน

    เมื่อวันทอดกฐินมาถึงเจ้าภาพเขานำผ้ากฐินมาถวายในตอนเช้า คณะกฐินเมื่อมาถึงวัดแล้วได้นำผ้ากฐินพร้อมทั้งเครื่องอันเป็น บริวารขึ้นไปวางบนศาลา เพื่อรอเวลาพระบิณฑบาตรและฉันเสร็จก่อนจึงค่อยทอดถวาย ในขณะที่พระจะกลับจากบิณฑบาตร จัดแจกอาหาร ลงบาตรเสร็จและให้พรแล้วลงมือฉันตามปกติ ญาติโยมเมื่อเห็นพระเณรทยอยถือบาตรลงจากศาลาหอฉัน ไปล้างบาตรในที่สำหรับล้าง นั่นแสดงว่าพระเณรท่านฉันจังหันเสร็จแล้ว พวกโยมคณะกฐินจึงพากันขึ้นมาที่ศาลามาถึงก็เห็นท่านพระอาจารย์มั่นนั่งบนอาสนะ กำลังทำสรีรกิจ ส่วนตัวหลังฉันภัตตาหาร มีการล้างมือ บ้วนปาก ชำระฟัน เป็นต้น พอท่านพระอาจารย์มั่นเห็นว่าญาติโยมขึ้นไปบนศาลาแล้ว ท่านจึงพูดขึ้นว่า " พ่อออก... สิเฮ็ดจั้งใด ของหมู่น ี้" ( หมายความว่า พวกโยมจะทำยังไงกับของเหล่านี้ ) โยมผู้เป็นเจ้าภาพนำผ้ากฐินมาจึงพูดตอบท่านว่า " แล้วแต่พ่อแม่ครูบาอาจารย์จะพิจารณาขอรับ " ท่านพระอาจารย์มั่นพูดขึ้นว่า " ถ้าจั้งซั่นให้พากันไปหาฟดหรือใบไม้มาปกปิดเสียก่อน " พวกญาติโยมเมื่อได้ฟังดังนั้น จึงพากันรีบลงไปหาฟดหรือใบไม้นำมาปกปิดกองผ้ากฐินเรียบร้อยแล้วจึงถอยห่างออกมาอยู่ข้างนอก สักครู่ท่านพระอาจารย์มั่นจึงลุกไปพิจารณากองผ้าเหล่านั้นเป็นผ้าบังสุกุล เสร็จแล้วท่านพระอาจารย์มั่นจึงกล่าวกับญาติโยมว่า " ของหมู่นั่นเสร็จเรียบร้อยแล้วเน้อพวกญาติโยมที่มานี้ก็ได้บุญได้กุศลแล้วทุกคนเน้อ " และท่านก็พูดคุยกับญาติโยมที่มาทำบุญในวันนั้น อีกบ้างพอสมควร หลังจากนั้นพวกญาติโยมก็ได้กราบแล้วลงจากศาลาไปรับประทานอาหารจากเศษข้าวก้นบาตรจนเสร็จเรียบร้อย แล้วจึงพร้อมกันไปกราบลาท่านพระอาจารย์กลับบ้าน งานจึงเป็นอันเสร็จสิ้นลงเพียงเท่านี้
    ส่วนพระรูปที่ฝึกซ้อมเตรียมท่องคำอปโลกน์กฐินและสวดญัตติทุติยกรรมวาจาอย่างดิบดีมาดังที่กล่าวมาแล้วนั้น คิดว่าจะได้สวดแสดงในงานกฐินครั้งนี้ เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น เรื่องต่างๆ เหล่านั้นก็เป็นอันว่าจบลงเพียงแค่นั้นแล ภายหลังหมู่พระทั้งหลายจึงมาพูดกับหมู่เพื่อนว่า " ท่านพระอาจารย์ใหญ่เราเด็ดขาดจริงๆ ไม่สะทกสะท้านสงสัยในเรื่องพิธีการ เหล่านี้เลย " จึงทำให้หมู่พระลูกศิษย์สมัยนั้นคิดสงวนภูมิใจอยู่องค์เดียวมาจนถึงทุกวันนี้
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ๕. คุณยายขาวกั้งติดปัญหา


    ในการเทศน์อบรมสั่งสอนฆราวาสญาติโยมนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมักจะกล่าวปรารภ เปรียบเทียบให้ญาติโยมฟังอยู่เสมอว่า " การเทศน์การสั่งสอนฆราวาสญาติโยมนั้น เหมือนกับการ จับปลานอกสุ่ม " ( สุ่มคือ เครื่องมือจับปลาขนิดหนึ่ง ) การจับปลานอกสุ่มนั้นใครๆ ก็ย่อมรู้ว่ามันยาก ขนาดไหน เพราะปลามันมีที่จะไปได้หลายทางโดยไม่มีขอบเขตจำกัด มันจึงไม่ยอมให้จับได้ง่าย ๆ ไม่เหมือนกับปลาที่อยู่ในสุ่ม ซึ่งมีขอบเขตจำกัดบังคับมันอยู่ จึงจับได้ง่ายแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่า ปลานอกสุ่มจะจับไม่ได้เลย จับได้เหมือนกัน สำหรับผู้มีปัญญา ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีอุบายวิธี อันชาญฉลาดมากในการสั่งสอนคน ถึงแม้ว่าท่านจะกล่าวปรารภในทำนองถ่อมตน แต่องค์ท่าานก็ สามารถอบรมสั่งสอนโน้มน้าวจิตใจของญาติโยม ให้เกิดศรัทธาปสาทะความเชื่อความเลื่อมใส มาประพฤติปฏิบัติธรรมตามปฏิปทาของท่าน เป็นจำนวนมากมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันนี้

    ข้อที่น่าสังเกตในอุบายวิธีการสั่งสอนญาติโยมของท่านคือ ท่าจะสอนเน้นเป็นรายบุคคลเฉพาะ ผู้สนใจประพฤติปฏิบัติธรรมตามที่ท่านได้พิจารณาดูภายในแล้วเท่านั้น ถ้าหากญาติโยมผู้ใดถูกท่าน พระอาจารย์มั่นพูดทักซักถามแล้ว จะต้องตั้งใจฟังให้ดี ๆ นั่นแสดงว่าท่านจะบอกขุมทรัพย์ให้ จึงเป็นบุญลาภวาสนาของบุคคลนั้นโดยแท้ และบุคคลผู้นั้นจะถูกท่านซักถามแนะนำติดตามผล อยู่เสมอตามอุบายวิธีของท่านจนสมควรแก่บุญวาสนาของบุคคลนั้นแล้ว ท่านจึงปล่อยให้ ดำเนินตามที่ท่านแนะสอน เพื่อเพิ่มบารมีของเขาจนแก่กล้าเป็นลำดับต่อไป

    สมัยนั้นญาติโยมชาวบ้านหนองผือกำลังมีความสนใจในการปฏิบัติธรรมมาก ทั้งหญิงทั้งชาย หลังจากได้พากันละเลิกนับถือผีแล้ว โดยพระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร ผู้แนะนำสั่งสอนเป็นองค์แรก ให้ละเลิกนับถือผีถือผิดเหล่านั้น ให้หันหน้ามานับถือพระไตรสรณคมน์อย่างจริงจังมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณที่พึ่งแทน และท่านยังได้อบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติฝึกหัดนั่งสมาธิภาวนาพร้อมทั้ง เดินจงกรมด้วย พากันปฏิบัติอย่างนั้นมาเรื่อย ๆ จนทำให้การปฏิบัติธรรมของญาติโยมชาวหนองผือสมัยนั้น บางคนมีความก้าวหน้ามาก และได้สละบ้านเรือนออกบวชกันหลายคน โดยเฉพาะฝ่ายหญิงออกถือบวชเนกขัมมะ สละเรือนเป็นแม่ขาว แม่ชี สมาทานรักษาศีลแปดจำนวนหลายคนด้วยกัน ที่สำคัญมีคุณยายขาวกั้ง เทพิน คุณยายขาววัน พิมพ์บุตร คุณยายขาวสุภีร์ ทุมเทศ คุณยายขาวตัด จันทะวงษา คุณยายขาวเงิน โพธิ์ศรี คุณยายขาวงา มะลิทอง คุณยายขาวกาสี โพธิ์ศรี และคุณแม่ชีกดแก้ว จันทะวงษา ( ชาวบ้านหนองผือ บวชเป็นแม่ชีตั้งแต่สมัยพนะอาจารย์หลุย จนฺทสาโร อยู่จำพรรษา จนปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๔ ยังเป็นแม่ชีพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ และได้เล่าเหตุการณ์สมัยท่านพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือ ) โดยมีพระอาจารย์ หลุย จนฺทสาโร เป็นผู้บวชให้

    เมื่อบวชแล้วไปอยู่ตามสำนักที่ตั้งขึ้นชั่วคราวใกล้ๆ กับสำนักสงฆ์ของครูบาอาจารย์เพื่อจะได้ ฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านเมื่อมีโอกาส บางครั้งพวกเขาก็พากันออกไปภาวนาหาความสงบวิเวกตามป่าช้าบ้าง ตามป่าเชิงเขาและถ้ำซึ่งอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้นบ้าง เพื่อเป็นการหาประสบการณ์ให้แก่จิตใจ ไปกันเป็นกลุ่ม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทางด้านปฏิบัติสมาธิแล้ว จึงค่อยหาโอกาสเข้าไปกราบนมัสการเล่าถวายท่าน ท่านก็จะแก้ไข ความขัดข้องนั้นให้ด้วยความเมตตากรุณา จนปัญหาเหล่านั้นลุล่วงไปด้วยดีทุกประการ และได้ปฏิบัติกัน อย่างนั้นมาเรื่อยๆ

    จนกระทั่งท่านพระอาจารย์มั่นได้เดินทางเข้าไปยังบ้านหนองผือ และพำนักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ และพำนักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ ยิ่งทำให้คุณยายขาวแม่ชีและญาติโยม ซึ่งกำลังมีความสนใจปฏิบัติธรรม อยู่แล้วมีความสนใจมากยิ่งขึ้น จนบางคนปรากฎผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ในการปฏิบัติสมาธิภาวนา ในจำนวนนั้นมีคุณยายขาวคนหนึ่งผู้บวชชีเมื่อตอนแก่ ท่านมีอายุมากกว่าเพื่อนและเป็นหัวหน้าคณะแม่ชี ชื่อคุณยายขาวกั้ง เทพิน อายุประมาณ ๗๐ กว่าปี การปฏิบัติมาธิมีความก้าวหน้ามากมีความรู้ความเห็น ซึ่งเกิดจากการภาวนาหลายเรื่องหลายประการ ท่านมีนิสัยชอบเที่ยวรู้สิ่งนั้นสิ่งนี้ทางด้านจิตภาวนาอยู่เสมอ เมื่อเกิดปัญหาขัดข้องทางด้านจิตภาวนา มีโอกาสก็เข้าไปกราบนมัสการเล่าปัญหาถวายท่านพระอาจารย์มั่นฟัง ท่านก็จะแนะอุบายวิธีให้ไปประพฤติปฏิบัติตาม ในที่สุดปัญหาเหล่านั้นก็ตกไป

    ตอนหลังคุณยายขาวกั้ง ท่านแก่ชราภาพมากไปมาไม่สะดวก ลูกหลานจึงให้ไปพักที่บ้าน ขณะที่อยู่บ้านท่านก็ไม่ได้ลดละความพากเพียร ตอนบ่ายเดินจงกรมบนบ้าน ค่ำลงเข้าห้องทำวัตรสวดมนต์ เสร็จแล้วนั่งสมาธิภาวนาต่อ ทำอย่างนี้ทุกวัน ตอนหนึ่งท่านนั่งภาวนาจิตไปเที่ยวเพลิน ชมเมืองสวรรค์ เกือบทุกคืน นั่งภาวนาคราวใดจิตใจจะไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์ทุกครั้งท่านบอกว่า มันสนุกสนานเพลิดเพลิน เห็นแต่สิ่งสดสวยงามทั้งนั้น ไปแล้วก็อยากไปอีก เป็นอย่างนี้อยู่หลายวัน วันหนึ่งไปกราบนมัสการเล่าเรื่องนี้ ถวายท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงพูดปรามไม่ให้ไปเที่ยวเมืองสวรรค์บ่อยนัก แต่คุณยายขาวกั้งก็ยัง ติดอกติดใจจะไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์อีก

    คืนหนึ่งคุณยายขาวกั้งนั่งสมาธิภาวนาจะน้อมจิตไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์ ตามที่เคยไปแต่เหมือนมี อะไรมาขวางกั้นจิตทำให้ไม่รู้ทิศทางที่จะไป คืนนั้นเลยไปไม่ได้ พอตอนเช้าฉันจังหันเสร็จคุณยายก็ไปที่วัด เข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น เล่าเรื่องถวายท่านว่า " เมื่อคืนหลวงพ่อเอาหนามไปปิดทางข้าน้อย ข้าน้อยเลยไปมิได้ " ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า " ไปเที่ยวเฮ็ดยั้งดุแท้ ( บ่อยแท้ ) " คุณยายขาวกั้งจึงพูดตอบ ว่า " ไปแล้วมันม่วนรื่นเริงใจ เห็นแต่สิ่งสวย ๆ งาม ๆ ทั้งนั้น " ท่านพระอาจารย์มั่นจึงบอกว่า " เอาล่ะ บ่ต้อง ไปอีกนะทีนี้ " คุณยายขาวกั้งก็เข้าใจความหมาย และยอมรับที่ท่านพระอาจารย์มั่นพูดเช่นนั้น แต่ในใจของ คุณยายก็ยังคิดอยากจะไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์อยู่อีก ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ให้ไปเพราะกลัวคุณยายจะผิดทาง และเสียเวลา ท่านต้องการอยากจะให้ดูหัวใจตัวเองมากกว่าจึงจะไม่ผิดทาง ในที่สุดคุณยายขาวกั้งก็รับไป ปฏิบัติตาม ซึ่งตามปกติาคุณยายขาวกั้งจะเข้าไปกราบถามปัญหาธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เสมอ ๆ แต่ ละครั้งใช้เวลาไม่นานเพราะคุณยายขาวกั้งจะถามเฉพาะปัญหาที่แก้ไม่ตกจริง ๆ เท่านั้น เมื่อท่านพระอาจารย์มั่น ตอบมาอย่างไร คุณยายใจแล้วจะกราบลาท่านกลับที่พักของตนเป็นอยู่อย่างนี้เสมอ ต่อมาคุณยายขาวกั้งก็ เกิดปัญหาทางจิตที่สำคัญขึ้นอีกคือ วันหนึ่งไปที่วัดเพื่อจะไปกราบถามปัญหากับท่านพระอาจารย์มั่นตามปกติ วันนั้นพอถึงวัดเข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงทักขึ้นว่า " ฮ้วย...บ่แม่นไปเกิดกับหลานสาว แหล่วบ่น้อ " ( หมายความว่า ไม่ใช่จิตของยาย เข้าไปปฏิสนธิในครรภ์ของหลานสาวแล้วหรือ ) เพราะช่วงนั้น คุณยายขาวกั้งมีหลานสาวคนหนึ่งแต่งงานใหม่กำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยู่ ด้วยเหตุนี้คุณยายขาวกั้งจึงบอกต่อ ท่านพระอาจารย์มั่นว่า " ข้าน้อย มิเยอะเกิด เพราะว่ามันทุกข์ แล้วล่ะเอ็ดแนวเลอ ข้าน้อยจังสิมิเกิดอีก " ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า " อ้าว... เอาให้ดีเด้อ... ภาวนาให้ดีๆ เด้อ " เหมือนกับคติพจน์ที่ท่านมักยกขึ้นมา กล่าวอยู่เสมอว่า " แก้ไห้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่ " ดังนี้ จากนั้นท่าน พระอาจารย์มั่น คงจะแนะอุบายวิธีแก้ให้คุณยายนำไปปฏิบัติ คุณยายพอได้อุบายแล้ว ก็ถือโอกาสกราบลาท่าน กลับบ้านของตน เมื่อกลับถึงบ้านแล้วจัดแจงเตรียมตัวเตรียมใจ ทำความพากเพียรตามอุบายที่ท่านพระ อาจารย์มั่นแนะนำให้ปฏิบัติ คุณยายขาวกั้งทำความพากเพียรนั่งสมาธิ ภาวนาอยู่ประมาณสองสามวันจึงรู้ สาเหตุ แต่ก็ยังไม่สามารถทำลายอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหล่านั้นได้ จนคุณยายขาวกั้งอุทานออกมาให้ลูก หลานฟังว่า " พวกสู..กูกำลังไปเกิดกับอีอุ่น จังวากูมิเยอะเกิดอิก กูกำลังม้างอยู่เดี๋ยวนี้ " ( หมายความว่า พวก ลูกๆ หลานๆ ทั้งหลายยายเห็นว่า ยายกำลังไปเกิดเป็นลูกของหลานสาวคือนางอุ่น แต่ว่ายายไม่ต้องการจะ เกิดอีก จึงกำลังพยายามทำลายภพชาติอยู่ในขณะนี้ ) หลังจากนั้นต่อมาไม่นานนาอุ่นหลานสาวของคุณยาย ขาวกั้งที่กำลังตั้งท้องอยู่ ยังไม่ถึงเดือนนั้นก็แท้งออกเสียโดยไม่รู้สาเหตุเลย หรือจะเป็นด้วยจิตเดิมของคุณยาย ขาวกั้ง เข้าไปปฏิสนธิในครรภ์ของนางอุ่นหลานสาวจริง เมื่อคุณยายทำลายสาเหตุ คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ในจิตของคุณยายได้แล้ว จึงทำให้ครรภ์นั้นแท้งเสียดังกล่าว

    สำหรับคุณยายขาวกั้งหรือแม่ชีกั้ง เรื่องการภาวนานั้นรู้สึกว่ามีความก้าวหน้ามากและเป็นไปเร็วกว่า บรรดาแม่ชีที่บวชรุ่นเดียวกัน แม้จะถือบวชชีตอนแก่ของบั้นปลายชีวิตแล้วก็ตามการภาวนาของท่านก็เกิด ความรู้ความเห็นวิจิตรพิสดารโลดโผนมาก แต่คงจะเป็นด้วยบุญวาสนาของคุณยายที่มีท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านจิตภาวนา ได้เข้ามาพำนักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือในช่วงนั้นพอดี จึงเป็นโอกาสให้คุณยายขากั้งได้เข้าไปกราบเรียนถามปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการภาวนากับองค์ท่าน จนสามารถ แก้ปัญหาเหล่านั้นลุล่วงไปด้วยดี และก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่อบอุ่นใจของ คุณยายมาจนกระทั่งท่านหมดอายุขัย
    ส่วนแม่ขาวแม่ชีนอกนั้นก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ประพฤติปฏิบัติทำความพากเพียรตามรอยปฏิปทาของ ท่านพระอาจารย์มั่นมาเรื่อย ๆ ตามลำดับ และได้ครองเพศถือบวช เป็นแม่ขาวแม่ชีสมาทานรักษาศีลแปด เจริญเมตตาภาวนาของท่านมาจนจิตใจหนักแน่น มั่นคงในธรรมปฏิบัติไม่อาจย้อนไปถือเพศเป็นผู้ครองเรือน อีกจนตลอดสิ้นอายุขัยของท่านทุกคน ส่วยฆราวาสญาติโยมผู้มีอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ไม่อาจสละบ้านเรือนออก ถือบวชได้ ก็ตั้งตนอยู่ในภูมิธรรมของอุบาสกอุบาสิกาที่ดีทั้งหลายและมีจิตใจศรัทธามั่นคงอยู่ในบวรพระ พุทธศาสนา ถือพระไตรสรณคมน์เป็นหลักในการบำเพ็ญตน ตลอดถึงคุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกาห้าประการ คือ ประกอบด้วยศรัทธา ๑ มีศีลบริสุทธิ์ ๑ เชื่อกรรมว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ๑ ไม่แสวง บุญนอกเขตพุทธศาสนา ๑ และบำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา ๑ ดังนี้ ตลอดมาจนสิ้นชีวิตของเขานั้นแล
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ๖. กำลังใจ


    ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นปีที่คณะเสรีไทยกำลังโด่งดังมาก บ้านหนองผือก็เป็นอีกแห่งที่ คณะเสรีย์ไทยได้เข้าไปตั้งค่าย เพื่อฝึกอบรมคณะครูและประชาชนชายหนุ่มให้ไปเป็นกองกำลังทหาร ต่อสู้ ขับไล่ทหารญี่ปุ่นในสมัยนั้น คุณครูหนูไทย สุพลวานิช ( ชาวบ้านหนองผือ ผู้อยู่ในเหตการณ์และเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว ปัจจุบัน ( พ.ศ. ๒๕๔๔ ) ใช้ชีวิตอยู่ในอำเถอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ) เป็นผู้หนึ่งที่ถูกเกณฑ์ให้ไปฝึกอบรมในค่ายนี้ ท่าน เกิดที่บ้านหนองผือนี่เอง เป็นธรรมดาสัญชาตญาณของคนเรา เมื่อตกอยู่ในภาวะเหตุการณ์เช่นนี้ จึงทำให้ แสวงหาสิ่งพึ่งพิงทางใจในยามคับขัน ช่วงเวลาว่างในการฝึกก็นั่งพักผ่อนตามอัธยาศัย พูดคุยสรวลเสเฮฮา กับหมู่เพื่อนร่วมค่ายหลายเรื่องหลายราว จนกระทั่งมาถึงเรื่องของดีของขลังของศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อป้องกัน อันตรายที่จะมาถึงตัว มีเพื่อนคนหนึ่งในจำนวนนั้นได้พูดขึ้นว่า " ท่านพระอาจารย์ใหญ่ในวัดป่าบ้านหนองผือ ทราบข่าวว่าท่านเป็นพระดีองค์หนึ่ง พวกเราจะไม่ลองไปขอของดีกับท่านดูบ้างหรือ ท่านคงจะให้พวกเรา "

    ด้วยคำพูดของเพื่อนจึงทำให้คุณครูหนูไทยนำไปคิดเป็นการบ้าน วันต่อมาคุณครูหนูไทยหาแผ่นทอง มาได้แผ่นหนึ่ง มาตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ วางใส่จานขันธ์ห้า แล้วให้โยมผู้เฒ่าทายกวัดที่เป็นญาติซึ่งไปจังหัน ที่วัดในตอนเช้านำแผ่นทองถวายท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อให้ท่านทำหลอดยันต์ให้แต่โยมผู้ที่นำแผ่นทองไปนั้น ไม่กล้าเข้าไปหาท่านพระอาจารย์มั่นโดยตรง จึงให้พระอุปัฏฐากเข้าไปลองถามท่านดูก่อน ท่านพระอาจารย์มั่น ได้พูดตอบพระอุปัฏฐากว่า " เขาอยากได้ กะเฮ็ดให้เขาสั้นตั๊ว " ( หมายความว่า เขาต้องการก็ทำให้เขาได้จะเป็น อะไร ) เมื่อพระอุปัฏฐากเข้าใจแล้วจึงบอกให้โยมเอาแผ่นทองมาให้ท่าน รออยู่ประมาณสามวันพระอุปัฏฐาก ท่านก็นำหลอดยันต์นั้นมาให้โยมแล้วโยมผู้เฒ่าคนนั้นจึงนำมาให้คุณครูหนูไทยอีกทีหนึ่ง คุณครูหนูไทยเมื่อได้ ของดีแล้วก็มีความดีอกดีใจเป็นอันมาก ทะนุถนอมเก็บรักษาไว้ในที่มิดชิด และนำติดตัวไปในทุกสถานที่เลย ทีเดียว

    วันหนึ่งว่างจากการฝึกอบรมจึงเดินเที่ยวเล่นไปทางด้านหลังสนาม เผอิญเหลือบไปเห็นพวกเพื่อน สามสี่คนกำลังทำอะไรกันอยู่ข้างมุมสนาม คุณครูหนูไทยจึงเดินไปดูก็เห็นพวกเขากำลังทดลองจะยิง " เขี้ยวหมูตัน " ด้วยอาวุธปืนคาร์ไบน์ ( ชื่อเรียกในสมัยนั้น ) เมื่อเขาทดลองยิงแล้วปรากฎว่า " เขี้ยวหมูตัน " ที่ถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์นั้น แตกกระจายไปคนละทิศละทาง เพื่อนคนที่เป็นเจ้าของเขี้ยวหมูตันหน้าถอดสี ไปหมด ส่วนเพื่อนคนที่เป็นคนยิงคงจะย่ามใจ หันหน้ามาถามคุณครูหนูไทยที่เดินเข้าไปสมทบทีหลังว่า " มีของดีอะไรมาลองบ้างเพื่อน " ด้วยความซื่อและความเป็นเพื่อน คุณครูหนูไทยจึงตอบเขาไปว่า " มีอยู่ " แค่นั้นแหละเพื่อนคนนั้นก็ก้าวเท้าเข้ามาเอามือล้วงปั๊บไปทีกระเป๋าเสื้อของคุณครูหนูไทยพร้อมกับพูดขึ้นว่า " ไหนเอาของดีมาลองดูหน่อยซิ " โดยคุณครูหนูไทยคิดไม่ถึงว่าเพื่อนจะกล้าทำได้เช่นนั้น แต่ก็ช้าไปเสียแล้ว วัตถุสิ่งนั้นจึงติดมือเพื่อนคนนั้นไป คุณครูหนูไทยวอนขอเขาอย่างไร เขาก็ไม่ยอมคืนให้ท่าเดียว

    ในที่สุดเขาก็นำตะกรุดยันต์นั้นไปวางที่ระยะห่างประมาณสัก ๓ - ๔ วา แล้วเขาก็ถอยกลับมายกปืน ขึ้นเล็งไปที่ตะกรุดยันต์นั้น เพื่อนทุกคนที่อยู่ที่นั่นเงียบกริบ ต่างคนก็ต่างเอาใจไปจดจ่อที่จุดเดียวกัน สักครู่คนยิงจึงกดไกปืนเสียงดัง " แชะ แชะ " แต่ไม่ระเบิด ทั้งหมดที่อยู่ที่นั่นต่างตกตะลึง ครั้งที่สามเขา ลองหันปลายกระบอกปืนนั้นขึ้นบนฟ้าแล้วกดไกอีกครั้ง ปรากฎว่าเสียงปืนกระบอกนั้นดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว บริเวณ ส่วนคุณครูหนูไทยนึกขึ้นได้จึงใช้จังหวะนั้นกระโดดวิ่งเข้าไปหยิบตะกรุดยันต์นั้นอย่างรวดเร็ว แล้ว กำไว้ในมืออย่างหวงแหนที่สุด ถึงแม้พวกเพื่อน ๆ จะขอดูขอชม ก็ไม่อยากให้เขาดูเขาชม เดินบ่ายเบี่ยง ไปทางอื่น แต่พวกเพื่อนก็ขอดูขอชมจนได้ เสร็จแล้วทุกคนจึงพากันเลิกลา กลับไปที่พักของตนด้วยความ ฉงนสนเท่ห์และตื่นเต้นในอภินิหารตะกรุดยันต์ของท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก อันนี้คุณครูหนูไทยเล่าให้ ฟังอย่างนั้น

    ภายหลังต่อมาบางคนทราบข่าวจึงพากันไปขอจากท่านพระอาจารย์มั่นที่วัด ส่วนมากจะได้เป็น แผ่นผ้าลงอักขระคาถาด้วยยันต์ สำหรับตะกรุดแผ่นทองนั้นไม่ค่อยมี เพราะแผ่นทองสมัยนั้นหายากมาก ต่อมาไม่นานท่านพระอาจารย์มั่นคงเห็นว่ามากไปจนเกินเลย จึงบอกให้เลิก ท่านบอกว่าสงครามเขาจะสงบแล้ว ไม่ต้องเอาก็ได้ พวกตะกรุดยันต์ ผ้ายันต์ เหล่านั้น นั่นมันเป็นของภายนอก สู้เอาคาถาบทนี้ไปบริกรรมแนบ กับใจไม่ได้ ให้บริกรรม ทุกเช้าค่ำจนขึ้นใจ แล้วจะปลอดภัยอันตรายต่างๆ จะไม่มากล้ำกรายตัวเราได้เลย คาถาบทนั้นว่าดังนี้
    "นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา" ฯลฯ

    ( เป็นบทสวด ส่วนหนึ่งของบทสวด โมระปะริตตัง ( คาถายูงทอง ) ) ​

    ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านหนองผือเลยไม่กล้าขอท่านอีก และเป็นความจริงตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นพูด ยังไม่ถึง ๗ วันก็ได้ทราบข่าวว่า เครื่องบินทหารอเมริกันบินไปทิ้งระเบิดปรมาณูใส่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นย่อยยับ จนในที่สุดประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และสงครามในครั้งนั้นก็สงบจบสิ้นลง ดังที่พวกเราท่านทั้งหลายได้รู้จักกันแล้วในหน้าประวัติศาสตร์นั้นแล

    [FONT=Angsana New, AngsanaUPC]โมระปะริตตัง (คาถายูงทอง)[/FONT]
    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา


    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ
    นะมัตถุ พุทธานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    นะมัตถุ โพธิยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระโพธิญาณ
    นะโม วิมุตตานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
    นะโม วิมุตติยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่วิมุตติธรรม
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เคลื่อนขบวนไปสู่ความจริง


    พฤศจิกายนเป็นเดือนท้ายของฤดูฝน อุณหภูมิเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่หน้าหนาว ตอนเช้ามี หมอกลงบางเบา อากาศหนาว ท้องฟ้าโปร่ง แจ่มใสในเวลากลางวัน กลางคืนหนาวเยือกเย็นต้องห่มผ้าหนา หลายผืน ลมประจำฤดูเริ่มพัดโชยมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือและพัดผ่านลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ อันเป็นการแสดงถึงอาการที่จะเข้าสู่หน้าหนาว พืชไร่ และต้นข้าวในนาของชาวไร่ชาวนา กำลังแก่ใบเหลือง เป็นสีทอง เมล็ดข้าวในรวงกำลังสุกสกาวเหลืองอร่ามแผ่กระจายไปทั่วทุกท้องนาอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดสาย หูสายตา น้ำตามตลิ่ง ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ เริ่มหยุดไหล ประชาชนชาวไร่ชาวนาในชนบทกำลังมี ความหวัง ที่จะได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของตน มองดูใบหน้าและแววตาของแต่ละคน มีความสดชื่นเป็นประกาย นั่นหมายถึง การทำไร่ทำนาในปีนี้กำลังให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ แต่ละคนมีความกระปรี้กระเปร่ากุลีกุจอเตรียม เสาะแสวงหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยวข้าวกัน เช่น เคียวเกี่ยวข้าว ต้องซื้อต้องหา กระบุง ตะกร้า มีด พร้า จอบ เสียม ตลอดทั้งเตียมถากถางกลางลานนา สำหรับเป็นที่นวดข้าว เป็นต้น เหล่านี้ เป็นวิถีชีวิตของชาวไร่ชาวนาในภาคอีสานทั่วไป
    ชาวบ้านหนองผือก็เช่นเดียวกัน มีความหวังตั้งตารอ ที่จะได้ลงนาเก็บเกี่ยวข้าวกันในเดือนนี้ แต่ก็พะวักพะวนรอฟังข่าวคราวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่อยู่ทางวัดป่าบ้านหนองผือเพราะท่านทราบว่าองค์ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านชราภาพมากแล้ว อาการอาพาธของท่านมีแต่ทรงกับทรุดครูบาอาจารย์ที่อุปัฏฐากท่าน ก็พยายามช่วยเยียวยารักษาท่านอย่างเต็มที่ มีพระอาจารย์มหาบัวญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส และพระอาจารย์วัน อุตฺตโม พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ที่เป็นฆราวาสก็ช่วยติดตามหมอชาวบ้าน ที่เคยเป็นหมอ เสนารักษ์ประจำตำบลมาฉีดยารักษาให้หลายครั้งหลายคราว แต่อาการอาพาธของท่านมีแต่พอทุเลา แล้วก็ทรุดลง ไปอีกดังที่กล่าวมาแล้ว

    <TABLE border=0 width="80%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    พรอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    </TD><TD>
    [​IMG]
    พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระเถระบางรูปที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อออกพรรษาแล้วครูบาอาจารย์พระเถระผู้ใหญ่จึงเริ่มทยอยเดินทาง เข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ เช่น พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์เทสก์ เทสรํงสี พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นต้น หลายครั้งหลายหนจนพระทั่งปลายเดือนตุลาคมขึ้นต้นเดือนพฤศจิกายน ประมาณวันที่ ๑ หรือ ๒ พ.ศ. ๒๔๙๒ ข่าวทางวัดกระจายเข้ามาถึงหมู่บ้านและกระจายไปทั่วหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ว่า ทางคณะครูบาอาจารย์ท่านได้ตกลงกันว่า จะนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งกำลังอาพาธอยู่ ออกไปจาก บ้านหนองผือในวันพรุ่งนี้

    เหตุการณ์นี้ทำให้ญาติโยมชาวบ้านหนองผือ มีความรู้สึกซึมเซาจนตั้งตัวไม่ติดคิดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ถูกเลยทีเดียว ภาษาในสมัยใหม่เรียกว่า " ช็อค " เกือบจะทั้งหมู่บ้านจากนั้นความหม่นหมองก็เข้า มาแทนที่ในดวงจิตของประชาชนชาวบ้านหนองผือ ด้วยความว้าวุ่นขุ่นมัวตลอดมา จะพากันคิดพิจารณาทัดทาน ขอร้องไม่ให้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ออกไปจากบ้านหนองผือก็ทำไม่ได้ เพราะด้วยความเคารพศรัทธา เลื่อมใสในครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ด้วยจะนำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ

    บางท่านก็มีความเห็นว่า ที่อยากจะให้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากบ้านหนองผือเพื่อไปรักษา ตัวที่วัดป่าสุทธาวาส เพราะอยู่ในตัวจังหวัดการหมอการแพทย์ทันสมัยกว่า ความเจริญทางการแพทย์กำลังเข้าสู่ตัวจังหวัดสกลนคร การเยียวยารักษาคงจะแน่นอนขึ้น บางท่านก็มีเหตุผลว่า องค์ท่าน พระอาจารย์เคยปรารภถึงโยมแม่นุ่มในทำนองยกย่องอยู่เสมอ ๆ ในครั้งที่องค์ท่านเริ่มอาพาธใหม่ ๆ ตอนในพรรษา ชะรอยองค์ท่านคงจะต้องการให้นำท่านไปวัดป่าสุทธาวาสเพื่อจะได้โปรดโยมแม่นุ่ม ซึ่งเคยอุปการะต่อครูบาอาจารย์ สายวัดป่ากัมมัฏฐานเป็นครั้งสุดท้ายเลยถือเป็นเหตุอ้างในการตกลงนำองค์ท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส

    บ้างก็มีเหตุผลที่มองการณ์ไกลออกไปอีกว่า การอาพาธของท่านพระอาจารย์ใหญ่ของเราในคราวนี้ คงเป็นครั้งสุดท้าย จะเอายาอะไรมาเยียวยารักษาก็คงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เพราะองค์ท่านพระอาจารย์ ท่านพูดอยู่เสมอๆ ว่า " เอาน้ำมารดไม้แก่นล่อน ให้มันป่งเป็นใบ สิมีหรือ " ( เป็นคำถิ่นอีสาน หมายความว่า จะเอาน้ำมารดต้นไม้ที่ตายยืนต้นเหลือแต่แก่นให้ผลิดอกออกใบอีกนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ) เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่าองค์ท่านพระอาจารย์จะต้องจากพวกเราไปอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นหากท่านมรณภาพที่บ้านหนองผือ แล้ว จะมีเหตุขัดข้องหลายอย่างหลายประการ ผู้คนประชาชนก็จะมามาก หนทางไปมาก็ไม่สะดวก ตลาดก็ไม่มี เกรงว่าจะเป็นเหตุให้สัตว์ตายในงานนี้เป็นจำนวนมาก เขาจะฆ่าทำอาหารสำหรับเลี้ยงแขกที่มาในงานถ้ามรณภาพ ที่วัดป่าสุทธาวาส ก็มีตลาดเขาทำกันอยู่แล้ว

    จากนั้นท่านพระอาจรย์มั่จึงพูดว่า "รอให้ผู้ใหญ่มาเกิ่น ผู้ใหญ่เพิ่นสิว่าจั่งใด" ผู้ใหญ่ในที่นี้คงจะ หมายถึงพระอาจารย์เทสก์ เทสรํงสี เพราะเมื่อท่านพระอาจารย์มั่นพูดได้ไม่นานก็พอดีเป็นจังหวะที่พระอาจารย์ เทสก์เข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือในวันนั้น

    หลังจากนั้นข่าวการจะหามท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากบ้านหนองผือก็เป็นความจริงการดำเนิน การหามจึงเริ่มขึ้น คือการเตรียมอุปกรณ์ในการหาม โดยป่าวร้องให้ประชาชนชาวบ้านหนองผือช่วยกันจัดหาแคร่ไม้ โดยใช้ไม้ไผ่ทั้งลำ ตัดยาวประมาณ ๒ วา ๔ ลำ เชือกอีกประมาณ ๘ เส้น และผ้าขาวสำหรับมุงหลังคากันแดด ประกอบกันเข้าทำเหมือนประทุนเกวียนเมื่อทำแน่นหนามั่นคงเรียบร้อยจึงเก็บเตรียมไว้ พอเช้าวันรุ่นขึ้นฉันจังหันเสร็จ พระเณรก็ไปที่กุฏิท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้อัฐบริขารที่จำเป็นต้องนำไปด้วย

    เมื่อพระเณรจัดเก็บอัฐบริขารที่จำเป็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้มีหน้าที่หามก็หามแคร่ไม้ที่ทำเสร็จแล้วนั้นไปตั้งที่หน้ากุฏิท่าน แล้วพระเณรจึงเข้าไปกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่นเพื่อจะได้นำองค์ท่านขึ้นแคร่หามที่เตรียมไว้ เมื่อท่านทราบท่านพระอาจารย์มั่นนิ่งไม่ว่าอะไรพระเณรทั้งหลายถือเอาอาการนั้นว่า ท่านรับอาราธนาหรืออนุญาตแล้ว ดังนั้นพระเถระและพระอุปัฏฐากจึงขอโอกาสเข้าไปประคองท่านพระอาจารย์ให้ลุกขึ้น แล้วประคองพาเดินลง จากกุฏิไปยังแคร่หาม

    [​IMG]

    ในตอนนี้ผู้คนประชาชนกำลังทยอยกันมาเป็นจำนวนมาก ตลอดทั้งพระเณรและผู้ที่จะนำส่งท่าน ก็เตรียมพร้อมแล้ว สำหรับโยมผู้ชายที่แข็งแรงเป็นผู้หามก็เข้าประจำที่ เมื่อได้เวลาจึงให้สัญญาณว่าพร้อมแล้ว ทั้งหมดจึงพากันยกคานหามขึ้นบ่าแล้วออกเดินทางโดยบ่ายหน้าไปทางทิศจะวันตกของวัด และเดินตามถนนไปสู่ทางออก ประตูวัด ผู้คนประชาชนพร้อมทั้งพระเณรก็ขยับเขยื้อนเคลื่อนตามขบวนหามไป แต่ละท่านแต่ละคนเงียบกริบ ไม่มีเสียงพูดจากันบ้างก็ช่วยสะพายบาตรพระ บ้างก็ช่วยถืออัฐบริขาร บ้างก็เดินสะพายถุงและย่าม ตามไป เอาใจช่วยเป็นกำลัง บ้างก็ช่วยแบกกลดและร่ม บ้างก็ถือกระติกน้ำร้อนและน้ำเย็น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเดินทาง ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่หามก็ขะมักเขม้น เดินไปอย่างขยันขันแข็ง จนกระทั่งผ่านประตูวัดออไป แล้วลงสู่ทุ่งนาอันกว้าง ไกลพอสมควร ซึ่งในระหว่างทุ่งนามีสะพานทำด้วยไม้กว้างประมาณ ๑.๘๐ เมตร ทอดยาวดิ่งจากฝั่งทุ่งนาด้านนี้ ไปจรดทุ่งนาด้านโน้นเป็นระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตร กระดานพื้นสะพานทำด้วยไม้ตะเคียนเลื่อยผาเป็นแผ่น แต่ละแผ่นกว้างประมาณ ๙๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ เมตร ปูเรียงคู่สองแผ่นต่อกันไปจนสุดสายทางข้ามทุ่งนา

    การหามท่านพระอาจารย์มั่นก็หามไปตามสะพานนี้ จนผ่านพ้นสะพานแล้วมุ่งขึ้นสู่ถนนกลางหมู่บ้าน หนองผือ ในช่วงที่ผ่านหมู่บ้านนี้มีผู้คนประชาชนเด็กเล็กพากันชะเง้อชะแง้มองดูพอรู้ว่าเป็นขบวนหามท่าน พระอาจารย์ใหญ่ พวกเขาก็มุ่งเข้ามาดูใกล้ๆ ตามขอบข้างทางเป็นแถวบางคนนั่งพนมมือ และบางคนก็นั่งคุกเข่า พนมมือกราบเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยความอาลัยอาวรณ์สุดเสียดายจนขบวนหามผ่านเลยไปและผ่านพ้นหมู่บ้าน มุ่งเข้าสู่ทางเกวียนที่จะไปบ้านห้วยบุ่นซึ่งเป็นช่องทางเกวียน ลุลอดเลี้ยวไปมาตามใต้ดงหนา ป่าทึบอันเขียวครึ้มขจีเต็ม ไปด้วยแมกไม้ต่างๆ นานาพรรณ ทั้งเสียงนกตัวจบอยู่บนยอดกิ่งไม้สูงส่งเสียงร้อง โพระดก โกโต้ง โกโต้ง ก้องกังวาลไพรไปไกลทั่ว ตลอดทั้งตามรายทางก็มีเสียงแมลงป่าเรไรซึ่งจับอยู่บนต้นไม้ทั่วไปร้องกรีดกริ่งคล้าย เสียงกระดิ่งวัว เมื่อขบวนหามผ่านเข้าไปใกล้มันก็หยุดร้อง คอยสังเกตุดูจนขบวนหามนั้นผ่านเลยไป เห็นว่า ไม่เป็นภัยแล้วมันก็ร้องขึ้นมาใหม่ เป็นอย่างนี้จนทะลุเข้าสู่ละแวกบ้านห้วยบุ่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านของคนเผ่าข่าหรือ พวกโซ่

    เมื่อขบวนหามผ่านบ้านห้วยบุ่นแล้ว เลยลุลงมาสู่ทุ่งนาอีกครั้ง ซึ่งเป็นร่องน้ำซับจนกระทั่งผ่านไปได้ จึงขึ้น สู่ทางเกวียนอันเป็นเนินและลุ่ม สุงๆ ต่ำๆ บางทีก็คดโค้งทอดยาวไปเลี้ยวซ้ายแลเลี้ยวขวาตามต้นไม้สูงใหญ่ เป็นเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงจึงถึงอีกหมู่บ้านหนึ่งคือบ้านนาเลา ขบวนไม่ได้หยุดพักในหมู่บ้านนี้ได้หามผ่านเลยออกไป จนถึงคลองน้ำซับซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้เท่าใดนัก ที่นั่นมีบ่อน้ำเล็กๆ อยู่ริมคลอง น้ำซับและมีน้ำบ่อไหลออกมาใสเย็น สะอาดบริเวณใกล้ๆ เป็นเนินร่มรื่นซึ่งใช้เป็นที่หยุดพักของคนเดินทางไปมา เมื่อขบวนหามท่านพระอาจารย์มาถึง ตรงนั้นจึงตกลง พากันหยุดพักเหนื่อยเสียก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป ผู้ที่หามแคร่ตลอดทั้งญาติโยม พระเณร เมื่อเห็นว่าวางแคร่หามท่านพระอาจารย์มั่นเรียบร้อยแล้ว ต่างก็นั่งพักเหนื่อย เอาแรงตามใต้ร่มไม้ต่างๆ ใกล้บริเวณนั้น บ้างก็ไปตักน้ำในบ่อด้วยครุหรือกระป๋องมาแจกจ่ายผู้ที่หามแคร่และญาติโยมที่ตามไปในขบวนให้ได้ดื่ม กินจนอิ่มหนำสำราญโดยทั่วกัน

    [​IMG]
    คราวนี้ขบวนหามออกเดินทางเป็นระยะทางที่รู้สึกว่าไกลพอสมควร หามเดินไปตามทางล้อเกวียนของ ชาวไร่ชาวนา ที่สัญจรไปมาในหมู่บ้านรายทางละแวกนั้น บางช่วงก็เดินตัดลัดเลาะเลียบตามเชิงเขาภูพาน แล้วจึง โค้งไปทางหมู่บ้านโคกะโหล่ง หรือปัจจุบันเรียกบ้านคำแหว ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร แต่ก็เลยผ่านออกจากหมู่บ้าน มุ่งสู่ทางเดินเท้าของชาวบ้านละแวกนั้นโดยไม่ได้หยุดพัก
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ขบวนหามเดินไปเรื่อย ๆ ตามหนทางเหล่านั้น จนผ่านริมสวนไร่นาของหมู่บ้านโคกสะอาดเลาะเลียบ ไปทางใต้ของหมู่บ้าน มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยไม่ได้แวะเข้าหมู่บ้านโคกสะอาดและหมู่บ้านใดอีกเลย เพียงแต่เฉียดผ่านเขตนอกหมู่บ้านเท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่เขตป่าใหญ่ดงไม้ที่เรียกว่าเบญจพรรณ มี กะบาก ตะแบก เต็ง รัง ไม้แดง พะยอม พะยูง ยาง อันสูงใหญ่ลิบลิ่วจนยอดเฉียดฟ้าเทียมเมฆ ซึ่งยืนต้นเรียงราย อยู่ตามขอบสองข้างทางเดิน


    [​IMG]

    พวกขบวนหามก็หามท่านพระอาจารย์มั่นไปตามหนทางอันคดเคี้ยว บ้างก็เลี้ยวหลบหลุมบ่อลึกที่แห้งขอด บ้างก็เดินตามทางที่ราบเรียบเตียนโล่งลอดใต้ต้นไม้ใหญ่พอได้อาศัยร่มเงาเย็นเป็นกำลังในการเดินทาง บางคราว ลมหนาวเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนสิบสองซึ่งพัดเอื่อยอยู่บนท้องฟ้าแผ่กระจายไปทั่วนภากาศ หอบต้อนเอา ก้อนเมฆขาวสะอาดเป็นกลุ่ม ๆ ค่อย ๆ เคลื่อนบ่ายลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลอยล่องผ่านไป ลูกแล้วลูกเล่าบาง ครั้งลมอ่อนๆ ก็พัดซู่โชยมา เบื้องล่างเป็นระลอกคลื่นสัมผัสกระทบปลายยอดกิ่งไม้ที่เรียงรายตามทางจรจนกิ่งก้าน พุ่มใบปลิวโนไปมา ส่วนใบที่เหลืองแก่แห้งขั้วก็หลุดร่วงกรูพรั่งพรูโปรบปรายลงมาเป็นสายสู่พื้นดิน คล้ายกับว่า มีใครยินดีโปรยดอกไม้เงินดอกไม้ทองลงมาจากสรวงสวรรค์ จนเวลานานเท่าไหร่ไม่ทราบจึงบรรลุเข้าสู่เขต แดนหมู่บ้านอุ่มไผ่ และต้องเลี้ยวตามทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือเล็กน้อย

    [​IMG]

    การเดินในระยะทางช่วงนี้ใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ไม่ทราบ จึงบรรลุถึงทุ่งนาของชาวบ้านหนองโดก และหามเดินเลาะเลียบริมฝั่งหัวหนองโดกลงมาทางใต้ แล้วมุ่งหน้าเดินตามทางขึ้นสู่ป่าดงดิบอันเต็มไปด้วยไม้ นานาชนิด ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับป่าดงไม้ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นป่าดงในช่วงนี้รู้สึกว่ากว้างไกลพอสมควร จนกระทั่งทะลุถึงทุ่งนา ซึ่งเป็นของชาวบ้านกุดก้อมอยู่ด้านทิศเหนือของหมู่บ้านเล็กน้อย ขบวนหามก็หามผ่าน ทุ่งนา เดินตามคันนาจนถึงห้วยซึ่งมีสะพานที่ทำด้วยไม้อยู่กลางทุ่งนา โดยหามข้ามสะพานไปได้ด้วยดี แล้วจึง มุ่งไปสู่วัดป่ากลางโนนภู่อันเป็นวัดของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งของท่าน พระอาจารย์มั่นและเคยพำนักพักจำพรรษากับท่าน

    แต่ก่อนจะไปถึงวัดป่ากลางโนนภู่นั้น จะต้องหามท่านพระอาจารย์มั่นเดินตามทางบนคันนาซึ่งย้อน ไปย้อนมาหักหน้าหักหลัง เพราะพื้นนานั้นเต็มไปด้วยต้นข้าวที่กำลังสุกเหลืองอร่ามพอจะ เก็บเกี่ยวได้แล้ว ขบวนหามได้ไปถึงนาของโยมคนหนึ่งชื่อ คุณโยมเป้ะ ชาวบ้านกุดก้อมซึ่งได้ร่วมเดินมากับขบวนนี้ด้วย เขาเป็นอุบาสกที่มีความศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมากอยู่ เห็นความลำบากในการหามท่านย้อนไปย้อนมา บนคันนา และเวลานั้นใกล้จะค่ำอยู่แล้วจึงยอมเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ โดยยอมให้ขบวนหามเดินผ่านต้นข้าว ที่กำลังสุกเหลืองอร่ามอยู่นั้นเพื่อตรงมุ่งหน้าสู่วัดป่ากลางโนนภู่ได้เลย เพราะที่นาของเขาอยู่ระหว่างกลาง ของทางเข้าวัด ท่านทั้งหลายลองคิดดู คนเกือบสองร้อยคนเดินผ่านนาข้าวที่กำลังสุกเหลืองอร่ามอยู่นั้น สภาพจะเป็นอย่างไร แต่เจ้าของนารายนี้เขากลับดีใจและไม่คิดเสียดายเลย เป็นสิ่งที่แปลกนี่แหละท่านเรียก ว่าบุญ เกิดขึ้นในใจของเขาแล้ว
    [​IMG]

    วัดป่ากลางโนนกู่ บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    ในที่สุดก็หามท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่วัดป่ากลางโนนกู่ บ้านกุดก้อม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้โดยสวัสดิภาพ เมื่อถึงวัดแล้วหามองค์ท่านขึ้นพำนัก พักบนกุฏิหลังหนึ่งที่กว้างขวาง และถาวรที่สุดในสมัยนั้น คราวนี้ผู้คนประชาชนพระเณรพร้อมทั้งผู้ที่ติดตามขบวนหามมา ต่างก็หลั่งไหล แห่เข้ามาภายในบริเวณวัด เพราะเป็นเวลาจะใกล้ค่ำมืดอยู่แล้วบางคนพึ่งทราบข่าวก็เข้ามาในบริเวณวัดเดี๋ยวนั้น ก็มี พระเณรที่ติดตามอุปัฏฐากซึ่งมากับพระเถระต่างก็ตระเตรียมหาที่พักชั่วคราวตามแต่จะหาได้ตรงไหน สำหรับอาจารย์ของใครๆ อย่างฉุกละหุกวุ่นวายพอสมควร สำหรับพระเถระผู้ใหญ่พร้อมกับพระอุปัฏฐากที่ ใกล้ชิดท่านพระอาจารย์มั่นก็เข้าไปชุมนุมที่กุฏิรับรองท่านพระอาจารย์มั่น เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อย

    สำหรับญาติโยมชาวบ้านหนองผือที่ติดตาม เมื่อหามส่งท่านพระอาจารย์มั่นถึงจุดหมายปลายทาง เรียบร้อยแล้วก็พากันเก็บแคร่คานหามและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้หามท่าน บางหมู่บางคณะก็กลับบ้านในคืนนั้น เพราะรีบเร่งในการที่จะลงเก็บเกี่ยวข้าวที่กำลังสุกแก่เต็มที่แล้วโดยเดินด้วยฝีเท้าลัดไปตามทางคนเดิน ผ่านหมู่บ้านเสาขวัญถึงวัดถ้ำเจ้าผู้ข้า แล้วขึ้นสู่สันเขาภูพานข้ามตรงลงไปทางบ้านหนองผือเป็นระยะทาง ไม่ไกลนักประมาณ ๗-๘ กิโลเมตร
    [​IMG]

    ศาลาพักอาพาธท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่ากลางโนนกู่

    ส่วนอีกหมู่คณะหนึ่งซึ่งยังไม่กลับในคืนนั้นก็พักค้างคืนที่วัดป่ากลางโนนภู่ พอรุ่งเช้าเมื่อกินข้าว กินปลาเสร็จธุระเรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางข้ามเขาภูพานกลับบ้านเช่นเดียวกัน โดยหมู่คณะหลังนี้ส่วนมากเป็นคนแก่ เมื่อเห็นว่าหมดธุระหน้าที่แล้วจึงเข้าไปขอโอกาสกราบลาท่านพระอาจารย์มั่นที่กุฏิรับรอง โดยเข้าไปกราบบอก ความประสงค์ให้พระอุปัฏฐากทราบ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ผู้ใกล้ชิดอุปัฏฐากในช่วงนั้นเข้าใจว่าคงเป็น พระอาจารย์วัน อุตฺตโม เมื่อพระอาจารย์วันเห็นญาติโยมชาวบ้านหนองผือเข้ามากราบลาท่านพระอาจารย์มั่น กลับบ้าน ท่านจึงพนมมือน้อมตัวไปทางท่านพระอาจารย์มั่น แล้วกล่าวคำขอโอกาสรายงานท่านพระอาจารย์มั่นว่า " พวกโยมบ้านหนองผือ มากราบลาท่านพ่อแม่ครูบาอาจารย์กลับบ้านกระผม"
    เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นได้ยินเสียง จึงลืมตาขึ้นช้าๆ เห็นเป็นโยมชาวบ้านหนองผือท่านได้พูดตักเตือน เป็นสำเนียงอีสานครั้งสุดท้ายว่า " เมือเสียเด้อ... หมดทอนี้ล่ะเน้อ... เอาน้ำไปรดไม้แก่นล่อนให้มันเป็นป่งเป็นใบ บ่มีดอกเด้อ... ให้พากันเฮ็ดพากันทำตามที่อาตมาเคยพาเฮ็ดพาทำนั้นเด้อ อย่าลืมเด้อ...ให้พากันรักษาศีลห้า ถ้าผู้ใดรักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิต ผู้นั้นเลิศที่สุด หมดทอนี้ล่ะ " ( หมายความว่า ให้พวกโยมชาวบ้านหนองผือ พากันกลับบ้านซะ ชีวิตของท่านก็คงจะหมดเท่านี้แหละจะรักษาเยียวยาอย่างไรก็คงไม่หาย เปรียบเสมือนกับ เอาน้ำไปรดต้นไม้ที่ตายผุกร่อน เหลือแต่แก่นให้มันกลับงอกกิ่งใบได้อีก คงเป็นไปไม่ได้ นอกจากนั้นท่านให้ พากันปฏิบัติตามแนวทาง ที่ท่านเคยสั่งสอนและปฏิบัติมาแล้วนั้น ท่านว่า ไม่ให้ลืมโดยเฉพาะศีลห้าซึ่งเหมาะสำหรับ ฆราวาสที่สุด ถ้าผู้ใดรักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิตแล้วท่านว่า คนนั้นเป็นคนที่เลิศที่สุดในชีวิตของเพศฆราวาส ) จากนั้น ท่านก็หลับตาลงแล้วไม่ได้พูดอะไรต่ออีกเลย คำพูดเหล่านั้นเป็นการพูดครั้งสุดท้ายของท่าน

    <TABLE border=0 width="85%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD noWrap>
    โยมแม่นุ่ม ชุวานนท์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD> เมื่อญาติโยมชาวบ้านหนองผือกลับบ้านแล้ว ก็ยังคอยฟังข่าวคราวของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ ตลอดเวลา ได้ทราบว่าท่านพักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ประมาณ ๙-๑๐ วัน จึงมีโยมแม่นุ่ม ชุวานนท์ ที่เป็นชาว เมืองสกลนคร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่รู้จักและศรัทธาในพระกัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น มากในยุคแรก ได้ให้รถมารับท่านพระอาจารย์มั่นเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพักที่วัดป่าสุทธาวาส

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในการรับองค์ท่านพระอาจารย์มั่นไปในคราวนี้นั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมทางไปรับและมี หมอติดตามไปกับรถนี้ด้วย ชื่อคุณหมอประยูร ศรีมาดา ซึ่งเป็นหมอประจำสุขศาลา ในเมืองสกลนคร โดยนำรถออกวิ่งจากตัวเมืองสกลนคร ไปตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ( สมัยนั้นยังเป็นทางหินลูกรัง ) รถวิ่งไปตามทางหินลูกรังอย่างทุลักทุเล ใช้เวลากี่ชั่วโมงไม่ทราบได้ รถวิ่งมาได้โดยปลอดภัยจนกระทั่งมาหยุด จอดที่ปากทางแยกเข้าวัดป่ากลางโนนภู่ ซึ่งอยู่ห่างจากวัด ประมาณ ๑ กิโลเมตร รถเข้าถึงวัดไม่ได้เพราะติดทุ่งนา ซึ่งมีแต่ทางเกวียนเล็กๆ ผ่านเข้าไปสู่หน้าวัดเท่านั้น

    ดังนั้นจึงแก้ปัญหา โดยให้ญาติโยมชาวบ้านพากันหามท่านพระอาจารย์มั่นจากวัดป่ากลางโนนภู่ มาขึ้นรถที่จอดรออยู่ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ก่อนจะหามท่านออกจากวัด คุณหมอได้ฉีดยานอนหลับให้ท่านเข็มหนึ่ง จึงหามท่านมาขึ้นรถ เมื่อถึงรถก็นำองค์ท่านมาขึ้นรถ เมื่อถึงรถก็นำองค์ท่านขึ้นรถและจัดให้ท่านอยู่ในอาการที่สบาย จากนั้นขบวนรถจึงได้เคลื่อนตัวออก นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมุ่งสู่ตัวเมืองสกลนคร ท่านพระอาจารย์มั่นนอนหลับ ตลอดทาง จะด้วยฤทธิ์ของยานอนหลับก็ไม่อาจทราบได้ จนในที่สุดรถได้นำองค์ท่านพระอาจารย์มั่น เข้าสู่วัด ป่าสุทธาวาสโดยปลอดภัย โดยมาถึงวัดเวลาประมาณบ่าย ๓ หรือ ๔ โมงเย็นของวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

    เมื่อถึงวัดแล้วจึงหามองค์ท่านขึ้นไปพักบนกุฏิรับรองที่เตรียมไว้แล้ว และดูแลให้ท่านนอนพัก แต่อาการ ท่านอ่อนเพลียมาก ท่านไม่พูดจาอะไรเลย เป็นเพียงแต่นอนหลับตามีลมหายใจเชื่องช้าแผ่วเบา และเคลื่อนไหวกาย เล็กน้อยเท่านั้น ฝ่ายครูบาอาจารย์พระเณรในตอนนี้ต่างก็นั่งรายล้อมสงบอยู่ บางท่านก็คอยห้ามไม่ให้ส่งเสียง ดังเพื่อรักษาความสงบ และคอยเตือนผู้คนประชาชนที่ทราบข่าว และหลั่งไหลเข้ามาในบริเวณวัด ไม่ให้ส่งเสียง หรือเข้าไปใกล้รบกวนท่านที่พักผ่อนสงบอยู่นั้น

    เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน มันเคลื่อนคล้อยค่ำมืดลงทุกทีจาก ๖ โมงเย็นเป็น ๑ ทุ่ม ๒ ทุ่ม ๓ ทุ่ม และ ๔ ทุ่มผ่านไปจนถึง ๖ ทุ่ม ตี ๑ ครึ่งกว่า ๆ อาการขององค์ท่านพระอาจารย์มั่นที่นอนนิ่งอยู่บนที่นอน นั้น ก็เริ่มผิดปกติเป็นไปในทางที่ไม่น่าไว้ใจ มีความอ่อนเพลียมากขึ้น ลมหายใจแผ่วเบามากและเบาลง ๆ ตามลำดับอย่างน่าใจหาย ส่วนองค์กายของท่านนอนอยู่ในท่าครึ่งหงายตะแคงขวา ในที่สุดลมหายใจขององค์ ท่านก็สิ้นสุด ถึงแก่มรณภาพละสังขาร ไว้ให้แก่โลกไพิจารณาโดยสงบ ชีวิตขององค์ท่านจบสิ้นเพียงเท่านี้ ซึ่งตรงกับเวลาตี ๒ กว่าๆ ที่ถือว่าเป็นวันใหม่ คือวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ วัดป่าสุทธาวาส ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    [​IMG]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895

แชร์หน้านี้

Loading...