บุรุษ 4 จำพวก นับรวมเป็น 8 บุคคล หมายความว่าอย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ปาณิตา, 28 ธันวาคม 2010.

  1. ปาณิตา

    ปาณิตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +238
    ถาม : ได้อ่านบทสวดมนต์แปลบทที่ขึ้นต้นสวากขาโตนะครับในประโยคยะทิทังจัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะปุริสะปุคคะลาบทแปลว่าได้แก่บุรุษ4 จำพวกนับรวมเป็น8 บุคคลตรงนี้ผมไม่เข้าใจครับจึงอยากให้ท่านผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อยครับถ้าเป็นคำถามง่ายๆตื้นเขินก็ขออภัยด้วยยังใหม่ต่อพระศาสนาอย่างยิ่งครับ
    <o></o>


    ความเห็นที่ 1 : <o></o>
    หมายถึงอริยะบุคคลครับช่วงมรรคและผลตั้งแต่ โสดาบันถึงอรหันต์
    <o></o>


    ความเห็นที่ 2 : <o></o>
    สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆญายะปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง, จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐปุริสปุคคะลา, เอสะภะคะวะโตสาวะกะสังโฆอาหุเนยโย,
    ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อนุตตะรังปุญญักเขตตังโลกัสสาติ (กราบ)

    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
    ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือคู่แห่งบุรุษคู่นับเรียงตัวบุรุษได้บุรุษนั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชาเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
    เป็นผู้ควรรับทักษิณาทานเป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลีเป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้ (กราบ)
    <o></o>


    ความเห็นที่ 3 : <o></o>
    รบกวนขออรรถาธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ
    แล้วทำไมถึงเรียกว่าเป็นบุรุษ4 จำพวก8 บุคคลคือไม่รู้บาลีครับอยากเรียนอยู่เหมือนกันแต่คงค่อยเป็นค่อยไปเพราะอย่างที่บอกว่าเพิ่งเข้ามาศึกษาพระศาสนาอย่างจริงๆได้ไม่นานสมัยก่อนก็ได้แค่สวดมนต์ท่องจำพุทธประวัติอะไรประมาณนั้นตอนนี้อยากรู้ความหมายจริงๆหรือแก่นของพระศาสนาครับ
    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
    <o></o>


    ความเห็นที่ 4 : <o></o>
    <sup>อริยบุคคล </sup><sup></sup><sup>บุคคลผู้เป็นอริยะ</sup><sup>,</sup><sup>
    </sup><sup>ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค</sup><sup>เป็นต้น</sup><sup>มี </sup><sup></sup><sup>คือ</sup><sup>
    </sup>
    <sup></sup><sup>. </sup><sup>พระโสดาบัน</sup><sup>
    </sup>
    <sup></sup><sup>. </sup><sup>พระสกทาคามี</sup><sup> (</sup><sup>หรือสกิทาคามี</sup><sup>)</sup><sup>
    </sup>
    <sup></sup><sup>. </sup><sup>พระอนาคามี</sup><sup>
    </sup>
    <sup></sup><sup>. </sup><sup> พระอรหันต์</sup><sup>;

    </sup>
    <sup> </sup>
    <sup>แบ่งพิสดารเป็น </sup><sup></sup><sup>คือ</sup><sup>
    </sup>
    <sup>พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค</sup><sup>และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล</sup><sup>คู่</sup><sup></sup><sup>,</sup><sup>
    </sup>
    <sup>พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค</sup><sup>และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล</sup><sup>คู่</sup><sup></sup><sup>,</sup><sup>
    </sup>
    <sup>พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค</sup><sup>และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล</sup><sup>คู่</sup><sup></sup><sup>,</sup><sup>
    </sup>
    <sup>พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค</sup><sup>และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล</sup><sup>คู่</sup><sup></sup>

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์
    http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อริยบุคคล
    <o></o>


    <sup>มรรคจิต</sup><sup></sup><sup>จิตที่สัมปยุตด้วยมรรค</sup><sup>;</sup><sup>
    </sup><sup>ดู</sup><sup></sup><sup>มรรค</sup><sup></sup><sup>2,</sup><sup></sup><sup>
    </sup><sup>พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น</sup><sup></sup><sup>
    </sup><sup>ตั้งอยู่ชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้นพ้นจากนั้นก็จะเกิดผลจิต</sup><sup>
    </sup><sup>กลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในผลมีโสดาปัตติผลเป็นต้น</sup>
    <sup></sup>
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์
    http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มรรคจิต<o></o>
    <sup><o></o></sup>
    <sup></sup>
    <sup></sup>
    <sup>บทว่า</sup><sup></sup><sup>จตฺตาริ</sup><sup></sup><sup>เอตานิ</sup><sup></sup><sup>ยุคานิ</sup><sup></sup><sup>โหนฺติ</sup><sup>
    </sup><sup>ความว่า</sup><sup></sup><sup>บุคคลที่ทรงยกอุเทศไว้โดยพิศดารว่า</sup><sup></sup><sup></sup><sup>
    </sup><sup>พระอริยบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดมี</sup><sup></sup><sup></sup><sup></sup><sup>พวกก็ดี</sup><sup></sup><sup>๑๐๘</sup><sup></sup><sup>พวกก็ดี</sup><sup></sup><sup>
    </sup><sup>ว่าโดยสังเขป</sup><sup></sup><sup>

    </sup><sup>พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค</sup><sup></sup><sup>พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล</sup><sup></sup><sup>รวมเป็น</sup><sup></sup><sup></sup><sup></sup><sup>คู่</sup><sup></sup><sup>
    </sup><sup>อย่างนี้จนถึง</sup><sup>
    </sup><sup>พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค</sup><sup></sup><sup>พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผล</sup><sup></sup><sup>รวมเป็น</sup><sup></sup><sup></sup><sup></sup><sup>คู่</sup><sup></sup><sup></sup><sup>
    </sup><sup>รวมทั้งหมดเป็น คู่</sup><sup></sup>

    อรรถกถารัตนสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7&p=2<o></o>
    <o></o>


    ความเห็นที่ 5 : <o></o>
    บุรุษ4 จำพวกนับรวมเป็น 8 บุคคล
    ได้แก่

    โสดาปัตติมรรค - โสดาปัตติผล = 1 จำพวกนับรวมเป็น 2
    สกิทาคามิมรรค - สกิทาคามิผล = 1 จำพวกนับรวมเป็น 2
    อนาคามิมรรค - อนาคามิผล = 1 จำพวกนับรวมเป็น 2
    อรหัตตมรรค - อรหัตตผล = 1 จำพวกนับรวมเป็น 2

    ทั้งหมดนี้คือ .."บุรุษนี้ประกอบอยู่ด้วยธาตุทั้งหลายประการ" ที่ "เป็นอยู่โดยชอบโลกจักไม่ว่างจากพระอรหันต์<o></o>
    <o></o>

    ความเห็นที่ 6 : <o></o>
    อริยบุคคล 8 ประเภทนั้น
    ประกอบด้วยมรรคบุคคล 4 ประเภท
    และผลบุคคล 4 ประเภทดังนี้ คือ

    1.) โสดาปัตติมรรคบุคคล คือบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เรียกว่าโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติมรรคบุคคลนี้ นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรกและได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่กระแสพระนิพพานแล้วมรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้คือ

    (ในที่นี้จะใช้สัญโยชน์ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่งประเภทของกิเลสเป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสัญโยชน์10 ประกอบ)
    - สักกายทิฏฐิ
    - วิจิกิจฉา
    - สีลพตปรามาส
    รวมทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ, ขัดเคืองใจ, กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ(ความหลงคือไม่รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่นอันจะเป็นผลให้ต้องไปเกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย

    2.) โสดาปัตติผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โสดาบัน คือ ผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ
    - พ้นจากอบายภูมิตลอดไปคือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลยเพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้ (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้นขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียกว่ามรณาสันนวิถีถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไรก็จะส่งผลให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)
    - อีกไม่เกิน7 ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
    - มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนจะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย

    - มีศีล5 บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือ ความบริสุทธิ์ของศีลนั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีตของจิตใจจริงไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีลแต่สามารถข่มใจไว้ได้คือใจสะอาดจนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้

    3.) สกทาคามีมรรคบุคคลหรือสกิทาคามีมรรคบุคคลคือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่งมรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ที่เรียกว่าสกทาคามี มรรคจิตมรรคจิตในขั้นนี้ไม่สามารถทำลายกิเลสตัวใหม่ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเหมือนมรรคจิตขั้นอื่นเป็นแต่เพียงทำให้โลภะ โทสะ เบาบางลงเท่านั้น โดยเฉพาะกามฉันทะและปฏิฆะถึงแม้ว่าความยึดมั่นที่มีอยู่จะน้อยลงไปก็ตาม ทั้งนี้เพราะกามฉันทะ และ ปฏิฆะนั้น มีกำลังแรงเกินกว่าจะถูกทำลายไปได้ง่าย

    4.) สกทาคามีผลบุคคล หรือ สกิทาคามีผลบุคคล คือ ผู้ที่ผ่านสกทาคามีมรรคมาแล้ว
    คุณสมบัติสำคัญของสกทาคามีผลบุคคลก็คือ ถ้ายังไม่สามารถบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ในชาตินี้ก็จะกลับมาเกิดในกามภูมิอีกเพียงครั้งเดียว ก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้แล้วจะพ้นจากกามภูมิตลอดไป เพราะอริยบุคคลขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายที่จะเกิดในกามภูมิได้อีก

    คำว่ากามภูมินั้นได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษยภูมิ เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรกแต่สกทาคามีบุคคลนั้น พ้นจากอบายภูมิไปแล้วตั้งแต่เป็นโสดาบันจึงเกิดได้เพียงในสวรรค์และมนุษย์เท่านั้น

    5.) อนาคามีมรรคบุคคล คือ บุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีก จนกระทั่งมรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เรียกว่า อนาคามีมรรคจิต ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ
    - กามฉันทะ
    - ปฏิฆะ

    6.) อนาคามีผลบุคคล คือ ผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว
    คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคล คือ ถึงจะยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลยแต่จะไปเกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกาม คือรูปภูมิ หรือ อรูปภูมิ เท่านั้น (ดูหัวข้อรูปราคะและอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)

    ในรูปภูมิ16 ชั้นนั้นจะมีอยู่ 5 ชั้ นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผลบุคคลโดยเฉพาะซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิดังนั้นในสุทธาวาสภูมิทั้ง5 ชั้นนี้จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคลอรหัตตมรรคบุคคลและพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น

    สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย
    - อวิหาภูมิ
    - อตัปปาภูมิ
    - สุทัสสาภูมิ
    - สุทัสสีภูมิ
    - อกนิฏฐาภูมิ

    7.) อรหัตตมรรคบุคคลคือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่งมรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่4 ที่เรียกว่าอรหัตตมรรคจิตทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้นจนไม่มีกิเลสใดเหลืออีกเลยสัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไปได้แก่
    - รูปราคะ
    - อรูปราคะ
    - มานะ
    - อุทธัจจะ
    - อวิชชา

    8.) อรหัตตผลบุคคลหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้วเพราะกิเลสตัวสุดท้ายถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้วเป็นผู้ที่พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงเพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลยแต่ยังคงต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไปจนกว่าจะปรินิพพานเพราะตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้


    นิพพานนั้นมี 2 ชนิดคือ
    - สอุปาทิเสสนิพพานหรือนิพพานเป็นหมายถึงนิพพานที่ยังมีส่วนเหลือคือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้วพ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวงแล้วแต่ยังมีร่างกายอยู่ทำให้ต้องทนทุกข์ทางกายต่อไปอีกได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง

    - อนุปาทิเสสนิพพานหรือนิพพานตายหมายถึงนิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือคือพ้นจากทุกข์ทั้งปวงทั้งทางกายและทางใจอย่างสิ้นเชิงได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเองซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพานโดยรอบทุกส่วนคือทั้งร่างกายและจิตใจคือนิพพานจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง)

    พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่าปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุดโผล่อยู่กลางน้ำลึกต้องทนทุกข์ทรมานสำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย

    โสดาบัน เปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้จนสามารถมองเห็นฝั่ง (แห่งพระนิพพาน) แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น

    สกทาคามีบุคคล เปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง

    อนาคามีบุคคล เปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมากคือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่งจึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว

    พระอรหันต์ เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้วพ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้วรอวันปรินิพพานอยู่

    ท่านผู้อ่านอยากอยู่ในสภาพไหนก็เชิญเลือกเอาเองเถิด

    http://www.dhamma.th.gs/web-d/hamma/WebPage/areyabookkol.html<o></o>
    <o></o>




    ที่มากระทู้ : http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/07/Y6760110/Y6760110.html<o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...