บุญ บารมี ต่างกันอย่างไรคะ

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย Tumtuika, 14 พฤษภาคม 2010.

  1. Tumtuika

    Tumtuika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +125
    บุญ กับ บารมี ต่างกันอย่างไรคะ ที่ถามในนี้เพราะเห็นว่ามีหลายท่านที่เป็นผู้ชำนาญด้านนี้ ขอบคุณค่ะ
     
  2. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
    บุญ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือ คุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์
    จำแนกได้ 10 อย่าง เรียกว่า บุญกริยาวัตถุ10


    1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วย การบริจาค
    2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วย การรักษาศีล
    3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วย การเจริญภาวนา
    4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วย การประพฤติตนอ่อนน้อม
    5. เวยยวัจจมัย บุญสำเร็จด้วย การขวยขวายในกิจที่ควร
    6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วย การอุทิศส่วนบุญ
    7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วย การอนุโมทนาบุญ
    8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วย การฟังพระสัทธรรม
    9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วย การแสดงพระสัทธรรม
    10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วย การตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ
    �ح�����



    บารมี แปลว่า "เต็ม"

    ารมี10 ประการนี้ ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ควรประพฤติอย่างยิ่ง บารมีทั้ง10ประการ เป็นสิ่งที่ควรสะสมไว้เพื่อขัดเกลาจิตให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น บารมีทั้ง10นี้ เป็นสิ่งที่ พระอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องทรงบำเพ็ญ อย่างยาวนาน พระอรหันตสาวกก็เช่นเดียวกัน ถ้าท่านทั้งหลายได้อ่านประวัติใน อดีตชาติของ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์และ อุบาสกอุบาสิกาในพระไตรปิฏก ท่านจะทราบได้ทันทีเลยว่า ทุกท่านบำเพ็ญบารมี10ประการนี้ มากมาย และต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน คุณธรรมนี้เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญ และเจริญรอยตามแนวทางที่ท่านทั้งหลาย เหล่านี้ได้กระทำไว้ บารมีทั้ง10ประการมีดังนี้

    1. ทานบารมี
    2. ศีลบารมี
    3. เนกขัมมบารมี
    4. ปัญญาบารมี
    5. วิริยะบารมี
    6. ขันติบารมี
    7. สัจจบารมี
    8. อธิฐานบารมี
    9. เมตตาบารมี
    10. อุเบกขาบารมี
    บารมี 10 เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะดับกิเลส เพื่อเลื่อนฐานะของปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล เพราะการสร้างบารมีต้องสร้างทุกบารมีจนครบทั้ง10 ประการ เพื่อที่จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาคมกล้าจนสามารถ ตัดกิเลส ดับกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นซากไปได้ ฉะนั้นเราควรที่จะพิจารณาตนเอง ว่าในแต่ละวันเรามีการเจริญบารมีต่างๆมากน้อยอย่างไร สิ่งใดที่เรายังกระทำน้อย ยังเวลาหรือยังที่เราจะเร่งสร้างบารมีให้เกิดขึ้นแตนเองเพิ่มขึ้น ชีวิตนี้ไม่ยืนยาวเลย สังขารย่อมไม่มีความแน่อน ขอให้ท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระพุทธดำรัสที่ว่า
     
  3. nebulaforce

    nebulaforce Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +47
    อืมครับขอบคุณครับ เเต่ไม่เข้าใจ ของเเต่อัน นะครับ
    1. ทานบารมี
    2. ศีลบารมี
    3. เนกขัมมบารมี
    4. ปัญญาบารมี
    5. วิริยะบารมี
    6. ขันติบารมี
    7. สัจจบารมี
    8. อธิฐานบารมี
    9. เมตตาบารมี
    10. อุเบกขาบารมี
     
  4. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
    เพิ่มเติมรายละเอียดให้ท่านเนครับ

    พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญทศบารมี 10 ประการ จนกระทั่งเต็ม ทศบารมีหมายถึง
    บารมีคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงคือพระนิพพาน
    กว่าที่พระโพธิสัตว์จะบำเพ็ญทศบารมีจนครบต้องทรงอุทิศทั้งชีวิตและจิตใจเป็นเวลา
    หลายอสงไขย นับจำนวนพระชาติไม่ถ้วน ทศบารมี 10 ประการ เป็นบารมีทีพระโพธิสัตว์
    จะต้องบำเพ็ญเพื่อบ่มเพาะโพธิญาณให้เกิดขึ้น และโดยการบำเพ็ญทศบารมีนี้เองกลาย
    เป็นตัวขัดเกลาวาสนาให้หมดไปทีละน้อย ทีละน้อยจนกระทั่งหมดไปในที่สุด ซึ่งทศบารมี
    ประกอบด้วยบารมี 10 ประการคือ

    1. ทาน คือการให้ ซึ่งสิ่งที่ให้อาจจะเป็น สิ่งของ แรงงาน กำลัง คำแนะนำ สละแบ่งปัน
    ของที่ตนเองมี เป็นต้น การให้เหล่านี้ควรให้เป็นประโยชน์แก่คนที่ควรให้ เพื่อที่การให้นี้มี
    ประโยชน์แก่เขาในทางที่ดีต่อชีวิต ประเภทของการให้ได้แก่อามิสทานหมายถึงการให้สิ่ง
    ของ, ธรรมทาน คือการให้ธรรมทาน การทำสังฆทาน ให้แก่สงฆ์ แบ่งเป็นสองประเภท
    คือให้เพื่อส่วนรวมในหมู่คณะของสงฆ์หรือ ให้เจาะจงแก่สงฆ์บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

    2. ศีล คือ ความประพฤติดีทางกายและวาจา การมีศีลหมายถึงความปกติของกาย
    วาจา และใจ ดังนั้นการรับศีล 5 จะช่วยรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย ศีลจึงเป็นข้อปฏิบัติ
    สำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีชีวิตที่เป็นปกติที่สะอาดปราศจากโทษ
    ศีลยังเป็นเครื่องมือฝึกหัดให้เรารู้เท่าทัน กาย วาจาและใจของตนเองให้ยิ่งขึ้น

    3. เนกขัมมะ คือการออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน

    4. ปัญญา หมายถึงความรู้ทั่วไป, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผลแห่งธรรมทั้งปวง, ความรู้ความ
    เข้าใจที่ชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ รวมถึงสิ่งใดที่เป็น
    ประโยชน์สิ่งใดไม่ใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรรจัดการ, ความรอบรู้ในกอง
    สังขารมองเห็นตามความเป็นจริง

    5. วิริยะ ความเพียร ความบากบั่น เพื่อละความชั่ว ประพฤติความดี ทำกิจกุศลอย่างไม่
    ย่อท้อ

    6. ขันติ คือความอดทน ทนลำบาก ทนตรากตรำ ทนเจ็บใจ ความหนักเอาเบาสู้
    เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม

    7. สัจจะ หมายถึง ความจริงใจ ความซื่อสัตย์ และการให้สัจจะวาจา ที่จะเพียร
    กระทำดีให้ถึงที่ตั้งใจเอาไว้ แม้จะต้องแลกด้วยชีวิตก็จะไม่ยอมเสียสัจจะโดยเด็ดขาด
    คนที่เคยบำเพ็ญบารมีมากในทางสัจจะวาจา ไม่เที่ยวพูดปด โกหกคนอื่น เวลาพูดจา
    อะไรออกไปก็จะมีคนฟัง เป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลอื่น เป็นผู้มีบารมีมาก และที่สำคัญจะ
    มีวาจาศักดิ์สิทธิ์คือเป็นคนที่พูดคำไหนจะเป็นคำนั้น คนประเภทนี้จะไม่มีนิสัยพูดจาว่า
    ร้ายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งในครอบครัวขอให้จำเอาไว้ ผู้ที่เป็นพ่อแม่อย่าไปพูดจาให้ร้าย
    ลูกตัวเอง หรือไปแช่งลูกตัวเอง เพราะคำที่ออกจากปากพ่อแม่จะมีวาจาสิทธิ์มาก โดย
    เฉพาะพ่อแม่ ครอบครัวใดที่เดินเส้นทางธรรมจะต้องรู้จักการใช้วาจาในการอบรม
    สั่งสอนลูก คำพูดที่ออกจากปากถือว่าเป็นวาสนาทางวาจาจะให้คุณหรือโทษแก่ลูก
    ตนเองก็ขึ้นอยู่กับคนเป็นพ่อและแม่

    ลองสังเกตดูครอบครัวที่แตกแยก หรือครอบครัวที่พ่อแม่มีปัญหาระหองระแหง
    มักจะทะเลาะกันเป็นประจำ สุดท้ายก็มาลงที่ลูก ลักษณะของวาจาที่ใช้ในครอบครัว
    เหล่านี้เป็นอย่างไร เด็กๆ ที่ได้ยินก็จะซึมซับและกลายเป็นนิสัยเมื่อรวมเข้ากับวาสนา
    เดิมหรือรหัสกรรมแบบอกุศลเดิมๆก็จะยิ่งทวีความรุนแรงในอารมณ์และพฤติกรรม
    คำพูดใดที่ออกจากปากพ่อแม่ให้กับลูกถือเป็นพรวาจาสิทธิ์ เพราะทันทีที่พูดออกไป
    คำพูดเหล่านั้นมีผลกระทบกระเทือนจิตใจของเด็กทันที นี่เป็นปัญหาในสังคมไทย
    ที่จะต้องแก้ไขกันตั้งแต่ครอบครัวทีเดียว

    8. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตัดสินใจเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินจุดมุ่งหมาย
    ของตนเอง ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ 4 อย่างคือ ปัญญา สัจจะ จาคะ และอุปสม หมาย
    ถึงรู้จักหาความสงบใจจำสิ่งที่เป็นข้าศึก การทำจิตให้สงบ ภาวะอันที่สงบคือพระนิพพาน

    ชาวพุทธเวลามาวัดก็จะมากันเป็นครอบครัว จูงลูกจูงหลานมาสวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญ
    หลังจากทำบุญก็จะ “อธิฐาน”ขอพรพระเพื่อให้สำเร็จมุ่งหวังดังสิ่งที่ขอเอาไว้ มีตั้งแต่ขอ
    เจอแฟนหล่อ มีแฟนเป็นสาวงาม ขอให้ถูกลอตเตอรี่ ขอให้ถูกหวย ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการ
    ขอแบบนี้ยังไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงของ”อธิฐานบารมี”

    คำว่า” อธิฐานบารมี” คือคำมั่นสัญญาที่ตั้งใจเด็ดเดี่ยวให้ไว้กับตนเอง ในการทำ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นจุดหมาย ดังเช่นที่พระโพธิสัตว์อธิฐานจิตขอให้บรรลุ “พระโพธิญาณ”
    มีความมุ่งมั่นในการบำเพ็ญทศบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตให้พ้นจากความทุกข์

    9. เมตตา ความปรารถนาที่เห็นสรรพชีวิตมีความสุขโดยทั่วหน้า

    10. อุเบกขา คือการวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงว่ารักหรือชอบ เป็นการวางเฉย
    ไม่ยินดี ยินร้ายไปกับเหตุการณ์ต่างๆ ให้ใช้ปัญญาเหตุผลตามสมควร โดยไม่เข้า
    ไปก้าวก่ายแทรกแซง เพื่อให้ทุกชีวิตสามารถเติบโตและยืนได้ด้วยตนเอง

     
  5. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
    เชื่อหรือไม่..สวดมนต์เพียงไม่กี่นาที เราบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ทัศ

    ขณะที่เราสวดมนต์เราสละเวลาทำความดี นอบน้อมถึงพระรัตนตรัยใจมีอภัยทานไม่ถือโกรธนับเป็นทานทางใจ ถือเป็น ทานบารมี

    ขณะที่เราสวดมนต์ เราปราศจากความเบียดเบียนทั้งตนเองและสรรพสัตว์ไม่ได้ทำสิ่งที่ไม่ดีหรือทำบาปกับใคร ถือเป็น ศีลบารมี

    ขณะที่เราสวดมนต์ จิตปราศจากกำหนัดราคะ วางภาระห่วงกังวลในทรัพย์และญาติตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ ถือเป็น เนกขัมมะบารมี

    ขณะที่เราสวดมนต์ เราทำด้วยความเห็นให้ตรง จึงเกิดสติและมีสมาธิ มีธรรมเกิดขึ้นคือปัญญาเห็นมรรคผลถือเป็น ปัญญาบารมี

    ขณะที่เราสวดมนต์ เรามีมานะบากบั่นด้วยกาย วาจาและใจ นอบน้อมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และคุณพระรัตนตรัยถือเป็น วิริยะบารมี

    ขณะที่เราสวดมนต์ เรามีขันติ อดกลั้น เรามีความอดทนสวดสาธยายมนต์ไม่ถอดใจไม่ละวางเสียกลางคัน ถือเป็น ขันติบารมี

    ขณะที่เราสวดมนต์ เราเปล่งเสียงบทสวดสาธยายมนต์รักษาพุทธวัจนะตามความเป็นจริงด้วยจิตซื่อตรง ถือเป็น สัจจะบารมี

    เมื่อสวดมนต์เสร็จ กรวดน้ำ ตั้งความปรารถนาโดยชอบตั้งจิตอธิฐานปรารถนาสุขมีคติถึงพระนิพพาน ถือเป็น อธิษฐานบารมี

    เมื่อสวดมนต์เสร็จ กรวดน้ำ หรือ แผ่เมตตา อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล การมอบความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ ถือเป็น เมตตาบารมี

    เมื่อสวดมนต์เราวางเฉยต่ออุตุ เย็น ร้อน ทุกข์ทางสังขารนา ๆ ทั้งวางเฉยต่ออกุศล ทำจิตให้ตรงโดยธรรมถือเป็น อุเบกขาบารมี

    http://palungjit.org/threads/เชื่อห...่กี่นาที-เราบำเพ็ญบารมีครบทั้ง-10-ทัศ.193557/


    [​IMG] วิธีทำบุญง่ายๆและได้บารมี 10 ทัศ โดยหลวงพ่อจรัญ

    วิธีทำบุญง่ายๆและได้บารมี 10 ทัศ โดยหลวงพ่อจรัญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...