บุญ ที่ถูกต้อง คืออย่าหลงบุญ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โลกุตตระ, 8 สิงหาคม 2010.

  1. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    ...ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของ “บุญ” …คิดว่าการทำบุญก็คือ การตักบาตร, การถวายทรัพย์, ปัจจัย, การถวายสังฆทาน ฯลฯ เพียงเท่านี้ เป็นต้น ยิ่งบางพุทธพาณิชย์ เน้นสอนให้บริจาคทรัพย์ หรือร่วมสร้างความยิ่งใหญ่อลังการเข้าวัดจนเกินตัว มียอดบริจาคมากเท่าไหร่ถือว่ายิ่งได้บุญหนักศักดิ์ใหญ่ รวยล้นฟ้าไม่รู้เรื่อง…

    แท้จริงแล้ว “บุญ” หรือ “ปุญญ” แปลว่า “ชำระ” หมายถึง การทำให้หมดจดจากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ โลภะ โทสะ และ โมหะ

    ตามพระไตรปิฎก เราสามารถสร้าง “บุญ” ได้ ๓ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา

    ๑. ทาน คือ การให้ เช่นที่กล่าวมาแล้ว คือ การตักบาตร บริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น ถือเป็น จาคะ หรือ การให้นับเป็น บุญอย่างหนึ่ง แต่มีการให้บางประการที่ไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ ให้สิ่งเพื่อกามคุณ เป็นต้น

    ๒. ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษาความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส ได้แก่ ศีล ๕ และอุโบสถศีล (มี ๘ ข้อ)

    ๓. ภาวนา คือ การอบรมจิตทางสมถะและทางวิปัสสนา

    การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่งวิปัสสนา (สติรู้ถึงรูป–นาม) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา

    “บุญ” ยังมีอีก ๗ อย่าง ตามอรรถกถา หรือข้อปลีกย่อยนอกเหนือจากพระไตรปิฎก นับถัดไปเป็นลำดับที่ ๔ ดังนี้

    ๔. อปจายนะ ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม

    ๕. เวยยาวัจจะ ความขวนขวายในกิจ หรืองานที่ควรกระทำ

    ๖. ปัตติทาน การให้บุญที่ตนถึงแล้วแก่คนอื่น เช่น การอุทิศส่วนกุศล การกรวดน้ำ

    ๗. ปัตตานุโมทนา คือการยินดีในบุญที่ผู้อื่นถึงพร้อมแล้ว เช่น เห็นผู้อื่นทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้ว

    ๘. ธัมมัสสวนะ หรือการฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ

    ๙. ธัมมเทศนา หรือการแสดงธรรมเมื่อได้ศึกษาธรรมะ แล้วถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย

    ๑๐. ทิฏฐุชุกรรม คือการกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง

    บุญทั้ง ๑๐ ประการนี้ บางที่เรียกกันว่า “บุญกิริยาวัตถุ ๑๐”
    จะเห็นว่าบุญทำได้ถึง ๑๐ อย่าง มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์ อีก ๙ ข้อล้วนไม่ต้องใช้ทรัพย์...

    ............................................................................................................................

    ที่มา http://www.mindcyber.com/?p=381
     
  2. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    พระพุทธเจ้ามีแต่สรรเสริญบุญ ไม่เคยปรากฏว่าทรงตำหนิติเตียนการทำบุญในที่ใดๆเลย หรือว่าท่านมีหลักฐานในพระไตรปิฎกที่แสดงถึงแนวคิดของท่าน โปรดนำมาแสดงเพื่อประกอบสติปัญญาด้วย
     
  3. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    จากบทความจะสื่อให้เห็นว่า การทำบุญมีได้หลายอย่าง ตาม บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ จะเห็นว่ามีวิธีการในการบุญทำได้ถึง ๑๐ อย่าง มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์ อีก ๙ ข้อล้วนไม่ต้องใช้ทรัพย์...

    สำหรับท่านที่มีทรัพย์น้อย ก็สามารถทำบุญ ด้วยวิธีการต่างๆตามที่กล่าว โดยไม่ต้องกังวลว่าไม่มีทรัพย์ ไม่สามารถทำบุญได้ ..ทำได้ครับ และมีหลายวิธีด้วย..

    สำหรับท่านมีมีทรัพย์สินมาก การทำบุญเพื่อบำรุงพระศาสนา เป็นเรื่องที่ดีทั้งนั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม มีแต่สรรเสริญ แต่อย่าลืมสาระสำคัญของการทำบุญ คือทำเพื่อลด เพื่อละ กิเลสต่างๆในจิตใจเรา ไม่ใช่ทำเพื่ออยากจะมี จะได้ จะเป็น ..ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่ได้เป็นการละกิเลส มีแต่เพิ่ม..

    จากบทความไม่ได้ห้ามให้ทำบุญ อ่านให้ดีนะครับ ทุกอย่างต้องมีความเหมาะสม และต้องมีสติในการทำบุญ...

    อนุโมทนาครับ
     
  4. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    อย่างที่เจ้าของกระทู้บอกนั่นแหละ ไม่มีตรงไหนในโพสต์ที่เจ้าของกระทู้โพสต์ห้ามการทำบุญหรือติเตียนการทำบุญ เพราะฉะนั้น การอ่านอะไรก็แล้วแต่ ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้ดี

    คำว่า "อย่าหลงบุญ" หมายถึง เมื่อทำบุญไปแล้ว ให้วางเสีย เราระลึกถึงบุญนั้นได้ แต่การระลึกนั้น เป็นการระลึกให้เรามีความแช่มชื่นในหัวใจ ระลึกว่าครั้งหนึ่งเราได้สร้างอานิสงส์ไว้

    แต่ไม่ใช่เป็นการระลึกว่า อันนี้มันเป็นของๆเรานะ คนอื่นจะมาจัดการอะไรไม่ได้ หรือเรานี่เก่ง เรานี่โก้ เราทำได้คนเดียว คนอื่นทำไม่ได้ นั่นแหละ เค้าเรียกว่า หลงบุญ

    เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
     
  5. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    log out ไปแล้ว แต่นึกขึ้นได้ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เห็นผู้ศึกษาธรรมะบางคนเอะอะ ก็ขอให้ยกพระไตรปิฏกมาแสดง

    แต่ขอยกไว้เป็นประเด็นไว้ว่า นับตั้งแต่อดีต มาจนถึงปัจจุบัน มีการสังคายนาพระไตรปิฏกไปกี่ครั้งแล้ว และในอนาคตจะมีการสังคายนาพระไตรปิฏกอีกไหม แล้วทำไมต้องมีการสังคายนาพระไตรปิฏกละ ไม่สังคายนาไม่ได้หรือ ?

    หลวงปู่หลวงตาที่บรรลุธรรม มีมั้ยที่ปรากฎว่าท่านอ่านแต่พระไตรปิฏกอย่างเดียว แล้วบรรลุธรรม ?

    ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ใช่หมายความว่าจะให้เลิกศึกษาพระไตรปิฏก หรือบอกว่าพระไตรปิฏกเป็นสิ่งที่เชื่อไม่ได้ เพียงแต่ยกบางประเด็นที่เกี่ยวกับพระไตรปิฏกให้ฉุกใจคิดเท่านั้น สุดท้ายปัญญาก็จะเกิดกับตัวท่านเอง หาใช่ใครที่ไหนไม่......
     
  6. samusunn

    samusunn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    517
    ค่าพลัง:
    +878
    เห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้นะคะ
     
  7. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    การทำบุญมี10อย่าง เรียงตามลำดับความยากง่ายในการปฏิบัติ

    ก็แล้วแต่ว่าใครจะสะดวกทางใดมากหรือน้อย
    และก็แล้วแต่ว่าใครจะชวนคนทำบุญทางใดมากหรือน้อย

    หากสิ่งนั้นเป้นประโยชน์กับพระศาสนา ก็ล้วนแต่ควรแก่การสรรเสริญ
     
  8. namotussa

    namotussa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,470
    สำหรับทานบุญที่ว่าต้องใช้ทรัพย์นั้น บางทีหากเราไม่มีทรัพย์ก็สามารถใช้แรงกาย หรือแม้แต่สติปัญญาเข้าช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือบุคคลอื่นหรือช่วยเหลือวัดวาอารามต่างๆ ก็เป็นการปฎิบัติเพื่อเข้าถึงทานบุญอย่างหนึ่ง สำหรับในสิ่งที่ห่วงกังวลนั้นคือ การหลงบุญ เพราะส่วนมากคนที่ทำบุญนั้น ก็หวังจะให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น กลับกลายเป็นเพิ่มการยึดมั่นถือมั่น เมื่อไม่ได้สมใจก็เกิด ความไม่เชื่อถือ และการต่อต้าน ซึ่งก็เป็นภัยอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา
    ที่สำคัญจะหันไปเชื่อในเรื่องของการเข้าทรงเทพต่างๆ หรือแม้แต่สิ่งแปลกๆต่างๆ เพื่อวิงวอนขอเลขเด็ดๆ กลับกลายเป็น หลงมัวเมา จนไม่สามารถเข้าใจในแก่นหลักของพุทธศาสนา ที่ต้องการให้พวกเราเว้นจากการกระทำความชั่ว เร่งทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส
     
  9. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    900
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ในอานิสงค์ของทานบุญนั้น

    ทำอย่างไรได้อย่างนั้น

    ทำด้วยทรัพย์ก็ได้ทรัพย์

    ทำด้วยแรงงานก็ได้แรงงาน

    ทำด้วยอนุโมทนาก็จะได้มีส่วนในผลบุญแต่ไม่ไช่เจ้าของ

    ทำด้วยสติปัญญาก็จะได้สติปัญญา

    ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น แม้ไม่อยากได้ก็หลีกเลี่ยงการเสวยวิบากไม่ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...