บุญแห่งการภาวนา : ศิยะ ณัญฐสวามี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 14 กรกฎาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]

    บุ ญ แ ห่ ง ก า ร ภ า ว น า
    ศิยะ ณัญฐสวามี

    ภาวนา คือการทำให้เกิดขึ้น
    ภาวนา นี้จะเชื่อมโยงกับ ตบะ
    ตบะ แปลว่า การทำให้ตั้งมั่น


    ตัวภาวนาเองคือทำให้เกิดขึ้น
    ทำอะไรให้เกิดขึ้น ทำสมาธิทำปัญญาให้เกิดขึ้น
    เราจะได้ยินอยู่ ๒ คำก็คือ

    สมถะภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา
    ทั้งสองอันนี้มีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน
    คือ ต้องการให้เกิดสมาธิและปัญญา
    สมาธิและปัญญามันจะเชื่อมต่อกัน
    เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งรวมกัน


    ค ว า ม เ ข้ า ใ จ ที่ ถู ก ต้ อ ง

    สติเป็นพื้นฐานของสมาธิ
    สมาธิเป็นพื้นฐานของปัญญา
    สติสัมปชัญญะ คือทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้ปรากฏ
    เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งรวมกัน
    สติสัมปชัญญะจะทำให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา โดยธรรมชาติ

    สติสัมปชัญญะจำให้กลับมารู้จักตนเอง
    ส่วนสติปัญญาจะทำให้เข้าใจความเป็นจริง
    สมาธิกับปัญญานั้น มันเป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน
    หมายความว่า ถ้าเรามีสมาธิมาก
    ปัญญาของเราก็จะยิ่งกว้างใหญ่ไพศาล
    พอเรามีปัญญามากเราก็จะยิ่งเข้าสมาธิได้ลึกซึ้ง

    สมถะกับวิปัสสนาคือสองสิ่งที่จะต้องไปด้วยกัน
    เหมือนคนละด้านของเหรียญเดียวกัน
    คือด้านหัวกับด้านก้อย


    ในขณะที่เราหงายด้านหัวขึ้น
    ก็ต้องมีด้านก้อยรองรับ
    ขณะที่หงายด้านก้อยขึ้น
    ก็ต้องมีด้านหัวรองรับ
    หมายความว่าในขณะที่เราเจริญวิปัสสนาให้ได้ผล
    เราจะต้องมีสมถะรองรับเสมอ


    ถ้าจะเปรียบอีกอย่างได้อย่างนี้

    วิ ธี ก า ร ป ฏิ บั ติ ท า ง จิ ต ใ จ

    สมถะเหมือนการเดินหน้าเข้า คือ ดำดิ่งจิตไปเลย
    ทำให้จิตสงบดิ่งมั่งมั่นลง
    ไปสู่ความสงบ ความเวิ้งว้าง ความบริสุทธิ์
    เรียกว่าเดินหน้าเข้า
    ส่วนวิปัสสนาเหมือนถอยหลังเข้ามองข้างนอกก่อน เช่น

    มองโลกเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางโลก
    มองสังคมเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางสังคม
    มองร่างกายเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางร่างกาย

    มองความคิดก็ไม่เที่ยง ปล่อยวางความคิด
    มองความรู้สึก ความรู้สึกก็ไม่เที่ยง ปล่อยวางความรู้สึก


    เมื่อปล่อยไปเรื่อยๆ
    มันก็เข้าไปสู่ความสงบลึกล้ำเหมือนกัน
    พอเข้าไปสู่ความสงบล้ำลึกก็ได้ปัญญาญาณอันยิ่งใหญ่เช่นกัน


    ฉะนั้นสมถะเหมือนเดินหน้าเข้า
    วิปัสสนาเหมือนเดินถอยหลังเข้า
    แต่มันเข้าไปสู่ที่เดียวกัน
    คือ มันเข้าไปสู่ความสงบ
    ความสะอาดหมดจด

    พอมันสะอาดหมดจดมันจึงเป็นบุญ
    เพราะบุญคือการชำระให้บริสุทธิ์


    ฉะนั้นสมถะกับวิปัสสนาต้องไปด้วยกันและอาศัยกันและกันเสมอ
    เพราะข้างหน้าข้างหลังเป็นอยู่ด้วยกันตลอด


    เพราะมันคือสองด้านของสิ่งเดียวกัน

    คือมันไปด้วยกัน
    เพียงแต่จะเอาด้านไหนไปด้วยกัน
    ด้านไหนเป็นตัวตามเท่านั้น
    แต่มันต้องติดตามกันไปตลอดไม่อาจพรากจากกัน
    ถ้าพรากจากกันเมื่อไรก็หลุดจากกรรมฐาน

    [​IMG]

    ผ ล า นิ ส ง ส์ ข อ ง ก า ร ภ า ว น า

    เมื่อภาวนา คือการทำให้เกิดขึ้น
    ทีนี้รู้อะไรที่เราต้องทำให้เกิดขึ้น
    พระพุทธเจ้าบอกว่า เมื่อเราภาวนาแล้ว
    เราสามารถทำสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นได้ คือ

    ๑. ความสุข : ความสุขเกิดขึ้นแน่ๆ จากการภาวนา
    ๒. ปัญญา : ปัญญาเกิดขึ้นแน่ๆ จากการภาวนา
    ๓. อำนาจ : มันจะมีพลังอำนาจเกิดขึ้นจากการภาวนา
    ๔. ความบริสุทธิ์ : ถ้าเราภาวนาไปเรื่อยๆ จะเต็มรอบโดยลำดับขึ้น


    ทั้งหมดนี้ คือขบวนการแห่งบุญอันเกิดจากการภาวนา

    คิดดู ความสุขใครไม่ต้องการ
    ปัญญาใครไม่ต้องการ อำนาจในตนเองใครไม่ต้องการ
    ความบริสุทธิ์ใครไม่ต้องการ
    ทั้งหมดนี้ คือสุดยอดของคุณค่าแห่งชีวิตเลยทีเดียว
    เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการภาวนา

    วิ ธี ก า ร ภ า ว น า

    ทำอย่างไรล่ะ เราจึงจะภาวนาให้ได้ผล
    และภาวนาวิธีไหนให้ดีที่สุด
    ถ้าภาวนาหลายๆ วิธีตีกันไหม
    อันนี้เป็นคำถามที่ได้ยินได้ฟังมามาก


    เคยตั้งใจไว้ว่า จะฝึกภาวนาทุกวิธีที่มีสอนอยู่ในโลกนี้

    ก็ไปฝึกมาเกือบหมดเกือบทุกศาสนา
    ไปฝึกจากหลายๆ อาจารย์
    กับฤาษีหลายท่าน
    กับพระหลายท่าน
    ฝึกตามคัมภีร์หลายคัมภีร์ในหลายศาสนา
    และตามเทคนิคในศาสตร์สมัยใหม่ต่างๆ มามากมาย

    จึงได้พบความจริงว่า

    เทคนิคต่างๆของการฝึกจิต
    มันก็เหมือนอาหารต่างๆ แต่ละประเภท


    พอเรากินหลายๆ อย่างไป
    ถามว่าอาหารมันตีกันไหม

    มันก็ไม่ได้ตีกัน
    มันกลับไปผสานสร้างคุณสมบัติของเราให้เข้มแข็ง
    แข็งแกร่งและพร้อมรับทุกสภาพ
    เพราะในเทคนิคการฝึกแต่ละวิธีมันให้ผลไม่เหมือนกัน

    สารแต่ละประเภทมันทำงานไม่เหมือนกัน
    การฝึกจิตก็เช่นกัน
    เทคนิคการฝึกแต่ละวิธีทำงานก็ไม่เหมือนกัน เช่น


    [​IMG]

    กสิณ การรวมศูนย์ทำให้เกิดพลังอำนาจ

    อัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    เป็นการกระจายออกจากศูนย์กลาง
    เพื่อทำให้จิตยิ่งใหญ่ ทำให้มีความสุข

    อนัตตาญาณ ทำให้มันมองอะไรทะลุปรุโป่ง ทำให้ปัญญาไร้ขอบเขต

    การพิจารณาอสุภะ สิ่งไม่สวยงามทั้งหลาย
    มันจะตรงข้าม เมตตา

    ถ้าเรา เมตตา มากๆ มันจะไปรักคนง่าย
    พอรักคนง่ายมันจะหลงอีกแล้ว
    เมตตา มากก็อาจะหลงได้อีก เพราะมันรักคนง่าย
    แล้วคนก็มารักเรามากเหลือเกิน เพราะ เมตตา มันฉ่ำ
    ใครอยู่ใกล้ก็สบายใจ
    จึงควรเจริญ อสุภะ ควบคู่ไปด้วย
    อสุภะ จะเป็นตัวล้างฉันทะทำให้มีเมตตาในอุเบกขาได้

    แต่ละเทคนิคมันทำหน้าที่กันคนละหน้าที่

    ดังนั้น จิตใจที่สมบูรณ์มันจะต้องมีกรรมฐานทุกอย่าง
    จะต้องมีวิธีการฝึกทุกๆ วิธี
    และพร้อมที่จะใช้เทคนิคที่เหมาะสมเสมอในทุกขณะ
    ในทุกๆปรากฏการณ์แห่งชีวิต
    แล้วมันจะได้จิตใจที่สมบูรณ์


    ถ้าไปฝึกอย่างเดียว
    ฉันจะต้องไปฝึก กสิณ อย่างเดียว
    อย่างอื่นฉันไม่สนก็ได้
    ก็อาจจะเก่งมากในเรื่อง กสิณแต่คุณสมบัติอื่นๆจะไม่ค่อยได้

    จะเก่งในการรวมศูนย์
    พวกนี้จะไม่ชอบพูด
    พวก กสิณ จะบรรยายธรรมไม่ค่อยเก่ง จะชอบอยู่นิ่งๆ
    มีอะไรมาไหวนิดนึงมาสั่นคลอน เสียสมาธิ

    แต่ถ้า เมตตา อย่างเดียวก็เพลิดเพลินกับมหาชน
    มันเพลิดเพลินกับหมู่คณะไปหมด
    เสียศูนย์ง่ายอีกเช่นกัน

    มันจะต้องมีทุกอย่างผสมผสานกัน

    ดังนั้น จากประสบการณ์แห่งชีวิต
    รับรองว่าสมาธิไม่ตีกัน
    แต่ที่ตีกันนั้น คือ ทิฏฐิมานะ อันเกิดจากการยึดถือ


    สมาธิ คือสภาวะจิตใจ
    วิธีการฝึกหลายวิธีก็เพื่อตะล่อมใจให้เข้าสมาธิได้ทุกด้าน
    เพียงแต่เราจะต้องรู้จักการประกอบให้ถูกส่วน
    และการใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์


    และแม้เราจะฝึกมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจนชำนาญ
    เวลาไปฝึกวิธีอื่นจะง่ายเลย

    เช่น ถ้าเราฝึก อานาปนสติ มาแล้วจนได้ฌาณ
    เพียงฝึก กสิณ ทีเดียวก็ได้สมาธิเลย
    หรือฝึก กสิณ เข้าสมาธิแล้ว
    ฝึก อสุภะ ทีเดียวเลยก็เช่นกัน

    ถ้าได้สมาธิโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
    แล้วไปฝึกวิธีอื่นยิ่งง่ายใหญ่เลย

    ดังนั้น จงเรียนรู้....จงฝึกฝน
    อาจารย์ท่านใดสอน ฝึกไปให้หมด
    วิธีไหนเหมาะกับภาวะใด
    เอามาใช้ให้ถูกภาวะ
    แล้วท่านจะได้ประโยชน์ยิ่งใหญ่จากการภาวนา



    (ที่มา “บุญแห่งการภาวนา” ใน ฤทธิศาสตร์ : ศาสตร์ลัดแห่งความสำเร็จ
    โดย ศิยะ ณัญฐสวามี, หน้า ๒๒๓-๒๒๘)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15320
     

แชร์หน้านี้

Loading...