บุคคลใดปฏิบัติชอบแล้ว บุคคลนั้นย่อมพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 2 ตุลาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    หลวงปู่มั่น <!--MsgFile=5--><center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    บุคคลใดปฏิบัติชอบแล้ว บุคคลนั้นย่อมพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีน้อยหนึ่งในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ไม่เห็นซึ่งอะไรๆ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งจะเข้าถึงความเป็นของไม่ควรถือเอา

    อุปมาเหมือนบุรุษไม่เห็นซึ่งที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุด ในก้อนเหล็กแดงอันร้อนอยู่ตลอดวัน ที่เข้าถึงความเป็นของควรจับถือสักแห่งเดียวฉันใด บุคคลพิจารณาเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายในสังขารทั้งหลายนั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีในสังขารเหลานั้นแม้น้อยหนึ่งฉันนั้น เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นว่าเป็นของร้อนพร้อม ร้อนมาแต่ต้นตลอดโดยรวบ มีทุกข์มากมีคับแค้นมาก

    ถ้าใครมาเห็นได้ซึ่งความไม่เป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายไซร้ ธรรมชาตินี้คือธรรมชาติเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง ธรรมชาติเป็นที่สลัดคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ธรรมชาติเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา ธรรมชาติเป็นที่ปราศจากเครื่องย้อม ธรรมชาติเป็นที่ระงับความกระหาย ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์


    ธรรมชาตินั้นเป็นที่สงบ เป็นของปราณีตดังนี้ ฐานที่ตั้งแห่งธรรมอันอุดมนี้คือ ศีล บุคคลตั้งมั่นในศีลแล้ว เมื่อกระทำในใจโดยชอบแล้ว จะอยู่ในที่ใดๆ ก็ตามปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยประการฉะนี้
    เมื่อโยคาวจรตั้งธรรม 6 กอง มีขันธ์ 5 เป็นต้น มีปฏิจจสมุปบาทเป็นที่สุดได้เป็นพื้น คือพิจารณาให้รู้จักลักษณะแห่งธรรม 6 กอง ยึดหน่วงเอาธรรม 6 กองไว้เป็นอารมณ์ได้แล้ว ลำดับนั้นจึงเอาศีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิมาเป็นรากฐาน ศีลวิสิทธินั้นได้แก่ปาฏิโมกขสังวรศีล จิตตวิสุทธินั้นได้แก่อัฏฐสมาบัติ 8 ประการ เมื่อตั้งศีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิเป็นรากฐานแล้ว ลำดับนั้นโยคาวจรพึงเจริญวิสุทธิทั้ง 5 สืบต่อไปโดยลำดับๆ เอาทิฏฐิวิสุทธิและกังขาวิตรณวิสุทธิเป็นเท้าซ้ายเท้าขวา เอามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นมือซ้ายมือขวา เอาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นศีรษะเถิด จึงจะอาจสามารถยกตนออกจากวัฏฏสงสารได้
    ทิฏฐิวิสุทธินั่นคือปัญญาอันพิจารณาซึ่งนามและรูปโดยสามัญลักษณะ มีสภาวะเป็นปริณามธรรมมิได้เที่ยงแท้ มีปกติแปรผันเป็นต้น เป็นปัญญาเครื่องชำระตนให้บริสุทธิ์จากความเห็นผิดต่างๆ โยคาวจรเจ้าผู้ปรารถนาจะยังทิฏฐิวิสุทธิให้บริบูรณ์ พึงเข้าสู่ฌาณสมาบัติตามจิตประสงค์ ยกเว้นเสียแต่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะละเอียดเกินไป ปัญญาของโยคาวจรจะพิจารณาได้โดยยาก พึงเข้าแต่เพียงรูปฌาณ 4 อรูปฌาณ 3 ประการนั้นเถิด


    เมื่ออกจากฌาณสมาบัติอันใดอันหนึ่งแล้ว พึงพิจารณาองค์ฌาณ มีวิตกวิจารณ์เป็นต้น แล้วเจตสิกธรรมอันสัมปยุตต์ด้วยองค์ฌาณนั้นให้แจ้งชัดโดยลักษณะ กิจ ปัจจุปัฏฐานและอาสันนการณ์ แล้วพึงกำหนดกฏหมายว่า องค์ฌาณและธรรมอันสัมปยุตต์ด้วยองค์ฌาณนี้ล้วนแต่เป็นนามธรรม เพราะเป็นสิ่งที่น้อมไปสู่อารมณ์สิ้นด้วยกัน แล้วพึงกำหนดพิจารณาที่อยู่ของนามธรรม จนเห็นแจ้งว่า หทัยวัตถุ เป็นที่อยู่แห่งนามธรรม อุปมาเหมือนบุรุษเห็นอสรพิษภายในเรือน เมื่อติดตามสกัดดูก็รู้ว่าอสรพิษอยู่ที่นี่ๆ ฉันใด โยคาวจรผู้แสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรมฉันนั้น
    ครั้นแล้วพึงพิจารณารูปธรรมสืบต่อไป จนเห็นแจ้งว่า หทัยวัตถุนั้นอาศัยซึ่งภูตรูปทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แม้อุปาทานรูปอื่นๆ ก็อาศัยภูตรูปสิ้นด้วยกัน รูปธรรมนี้ย่อมเป็นสิ่งฉิบหายด้วยอันตรายต่างๆ มีหนาวร้อนเป็นต้น เมื่อโยคาวจรมาพิจารณารู้แจ้งซึ่งนามและรูปฉะนี้แล้ว


    พึงพิจารณาธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาโดยสังเขปหรือพิสดารก็ได้ ตามแต่ปัญญาของโยคาวจรจะพึงหยั่งรู้หยั่งเห็น ครั้นพิจารณาธาตุแจ่มแจ้งแล้ว พึงพิจารณาอาการ 32 ในร่างกาย มีเกสา โลมา เป็นต้น จนถึงมัตถลุงคังเป็นที่สุด ให้เห็นชัดด้วยปัญญา โดย วณโณ สี คนโธ กลิ่น รโส รส โอช ความซึมซาบ สณฐาโน สัณฐาน สั้นยาวใหญ่น้อย แล้วพึงประมวลรูปธรรมทั้งปวงมาพิจารณาในทีเดียวกันว่า รูปธรรมทั้งปวงล้วนมีลักษณะฉิบหายเหมือนกัน จะมั่น จะคง จะเที่ยง จะแท้ สักสิ่งหนึ่งก็มิได้มี

    เมื่อโยคาวจรเจ้าพิจารณาเห็นกองรูปดังนี้แล้ว อรูปธรรมทั้ง 2 คือจิต เจตสิก ก็ปรากฏแจ้งแก่พระโยคาวจรด้วยอำนาจทวาร คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เพราะว่าจิตและเจตสิกนี้มีทวารทั้ง 6 เป็นที่อาศัย


    เมื่อพิจารณาทวารทั้ง 6 แจ้งประจักษ์แล้ว ก็รู้จักจิตและเจตสิกอันอาศัยทวารทั้ง 6 นั้นแน่แท้ จิตที่อาศัยทวารทั้ง 6 นั้นจัดเป็นโลกีย์ 81 คือทวิปัญจวิญญาณ 10 มโนธาตุ 3 มโนวิญญาณธาตุ 68 และเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโลกียจิต 81 คือผัสโส เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิต อินทรีย์ มนสิการ ทั้ง 7 นี้เป็นเจตสิกที่สาธารณะทั่วไปในจิตทั้งปวง การกล่าวดังนี้มิได้แปลกกันเพราะจิตทั้งปวงนั้น ถ้ามีเจตสิกอันทั่วไปแก่จิตทั้งปวงเกิดพร้อมย่อมมีเพียง 7 ประการเท่านี้


    เมื่อโยคาวจรบุคคลมาพิจารณา นามและรูปอันกล่าวโดยสรุปคือ ขันธ์ 5 แจ้งชัดด้วยปัญญาญาณตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมถอนความเห็นผิด และตัดความสงสัยในธรรมเสียได้ ย่อมรู้จักทางผิดหรือถูกความดำเนินและไม่ควรดำเนิน แจ่มแจ้งแก่ใจย่อมสามารถถอนอาลัยในโลกทั้งสามเสียได้ ไม่ใยดีติดอยู่ในโลกไหนๆ


    จิตใจของโยคาวจรย่อมหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เป็นสมุจเฉทประหารได้โดยแน่นอนด้วยประการฉะนี้แล

    </center>
     

แชร์หน้านี้

Loading...