บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 25 มกราคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๑๕๓/๓๗๙
    ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอา
    ซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกันบุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม
    มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้
    ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดัง
    หยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่
    ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา
    ดูกรปหาราทะ ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว
    ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติ
    พรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
    ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันทีแม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่า
    ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๓
    ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
    ดูกรปหาราทะ แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี
    แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทร
    นั่นเอง ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์
    แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและ
    โคตรเดิมเสียถึงความนับว่าสมณศากยบุตรทั้งนั้น ดูกรปหาราทะ ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ
    กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
    ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าเป็นสมณศากยบุตรทั้งนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
    อันไม่เคยมีมาประการที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
    ดูกรปหาราทะ แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทรและสายฝนจากอากาศ
    ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ ฉันใด ดูกรปหาราทะ
    ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุ
    ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น ดูกรปหาราทะ ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะ
    ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น
    นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึง
    อภิรมย์อยู่ ฯ
    ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้น
    เหมือนกัน ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยมีรสเดียว คือ
    วิมุตติรส นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๖ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลาย
    เห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
    ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ
    แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬเงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใด
    ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้น
    มีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัย
    นั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๗ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุ
    ทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
    ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร
    นั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาคคนธรรพ์ แม้ที่มี
    ร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ มีอยู่
    ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ
    สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือพระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
    พระสกทาคามีท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ
    กระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ดูกรปหาราทะ
    ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งชีวิตมีในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ พระ
    โสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ
    ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามีท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์
    ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ใน
    ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูกรปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่า
    อัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
     
  2. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ถูกต้องแล้ว
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๖๐/๔๓๐
    [๔๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิ เราหากล่าวว่าเป็นสมณะ ด้วย
    อาการเพียงครองผ้าสังฆาฏิไม่. บุคคลถือเพศเปลือยกาย เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการ
    เพียงเปลือยกายไม่. บุคคลที่หมักหมมด้วยธุลี เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง
    เป็นคนหมักหมมด้วยธุลีไม่. บุคคลลงอาบน้ำ (วันละสามครั้ง) เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ
    ด้วยอาการเพียงลงอาบน้ำไม่. บุคคลอยู่โคนไม้เป็นวัตร เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ
    ด้วยอาการเพียงอยู่โคนไม้เป็นวัตรไม่. บุคคลอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ
    ด้วยอาการเพียงเป็นผู้อยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรไม่. บุคคลลอบกายเป็นวัตร เราก็หากล่าวว่า เป็น
    สมณะ ด้วยอาการเพียงอบกายไม่. บุคคลกินภัตโดยวาระ เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ
    ด้วยอาการเพียงกินภัตโดยวาระไม่. บุคคลที่ท่องมนต์ เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วย
    อาการเพียงท่องมนต์ไม่. บุคคลที่มุ่นผม เราก็หากล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงมุ่นผมไม่.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลครองผ้าสังฆาฏิแล้ว มีอภิชฌามาก ก็ละอภิชฌาได้ มีจิต
    พยาบาท ก็ละพยาบาทได้ มีความมักโกรธก็สละความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธ ก็ละความ
    ผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ก็ละความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ ก็ละความตีเสมอได้ มีความริษยา
    ก็ละความริษยาได้ มีความตระหนี่ ก็ละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวด ก็ละความโอ้อวดได้
    มีมายา ก็ละมายาได้ มีความปรารถนาลามก ก็ละความปรารถนาลามกได้ มีความเห็นผิด ก็ละความ
    เห็นผิดได้ ด้วยอาการสักว่า ครองผ้าสังฆาฏิไซร้ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต พึงทำให้บุคคลนั้น
    ครองผ้าสังฆาฏิตั้งแต่เกิดทีเดียว พึงเชิญชวนผู้นั้นให้ครองผ้าสังฆาฏิอย่างเดียวว่า ท่านผู้มีหน้า
    อันเจริญ มาเถิด ท่านจงเป็นผู้ครองผ้าสังฆาฏิ เมื่อท่านครองผ้าสังฆาฏิอยู่ มีอภิชฌามาก ก็จักละ
    อภิชฌาได้ มีจิตพยาบาท ก็จักละพยาบาทเสียได้ มีความมักโกรธ ก็จักละความมักโกรธเสียได้
    มีความผูกโกรธ ก็จักละความผูกโกรธเสียได้ มีความลบหลู่ ก็จักละความลบหลู่เสียได้ มีความตี
    เสมอ ก็จักละความตีเสมอเสียได้ มีความริษยา ก็จักละความริษยาเสียได้ มีความตระหนี่ ก็จักละ
    ความตระหนี่เสียได้ มีความโอ้อวด ก็จักละความโอ้อวดเสียได้ มีมายา ก็จักละมายาเสียได้
    มีความปรารถนาลามก ก็จักละความปรารถนาลามกเสียได้ มีความเห็นผิด ก็จักละความเห็นผิด
    เสียได้ ด้วยอาการเพียงครองผ้าสังฆาฏิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลก
    นี้ แม้ครองผ้าสังฆาฏิอยู่ ก็ยังมีอภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูก
    โกรธ มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด
    มีมายา มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด เพราะฉะนั้น บุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิ
    เราจึงมิได้กล่าวว่า เป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงครองผ้าสังฆาฏิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า
    เมื่อบุคคลถือเพศเปลือยกายอยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลหมักหมมด้วยธุลีอยู่ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลลงอาบน้ำอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลอยู่
    โคนไม้อยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลอยู่ในที่แจ้งอยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า
    เมื่อบุคคลลอบกายอยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลกินภัตโดยวาระอยู่ ... ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลท่องมนต์อยู่ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อบุคคลมุ่นผมอยู่
    มีอภิชฌามาก ก็ละอภิชฌาได้ มีจิตพยาบาท ก็ละพยาบาทได้ มีความมักโกรธ ก็ละ
    ความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธ ก็ละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ ก็ละความ
    ลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ ก็ละความตีเสมอได้ มีความริษยา ก็ละความริษยาได้ มีความ
    ตระหนี่ ก็ละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวด ก็ละความโอ้อวดได้ มีมายา ก็ละมายาได้
    มีความปรารถนาลามก ก็ละความปรารถนาลามกได้ มีความเห็นผิด ก็ละความเห็นผิดได้
    ด้วยอาการเพียงมุ่นผมไซร้ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต พึงทำบุคคลนั้นให้มุ่นผมตั้งแต่
    เกิดทีเดียว พึงเชิญชวนผู้นั้นให้มุ่นผมอย่างเดียวว่า ดูกรท่านผู้มีหน้าอันเจริญ มาเถิด ท่านจง
    เป็นผู้มุ่นผม เมื่อท่านมุ่นผมอยู่ มีอภิชฌามาก ก็จักละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาท
    ก็จักละพยาบาทเสียได้ มีความมักโกรธ ก็จักละความมักโกรธเสียได้ มีความผูกโกรธ
    ก็จักละความผูกโกรธเสียได้ มีความลบหลู่ ก็จักละความลบหลู่เสียได้ มีความตีเสมอ
    ก็จักละความตีเสมอเสียได้ มีความริษยา ก็จักละความริษยาเสียได้ มีความตระหนี่ ก็จัก
    ละความตระหนี่เสียได้ มีความโอ้อวด ก็จักละความโอ้อวดเสียได้ มีมายา ก็จักละ
    มายาเสียได้ มีความปรารถนาลามก ก็จักละความปรารถนาลามกเสียได้ มีความเห็นผิด
    ก็จักละความเห็นผิดเสียได้ ด้วยอาการเพียงมุ่นผม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเราเห็น
    บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มุ่นผมอยู่ ก็ยังมีอภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ
    มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด
    มีมายา มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด เพราะฉะนั้น บุคคลที่มุ่นผม เราจึงมิได้
    กล่าวว่า เป็นสมณะด้วยอาการเพียงมุ่นผม.
    [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของ
    สมณะ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มีอภิชฌามาก ก็ละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาท
    ก็ละพยาบาทเสียได้ มีความมักโกรธ ก็ละความมักโกรธเสียได้ มีความผูกโกรธ ก็ละความผูก
    โกรธเสียได้ มีความลบหลู่ ก็ละความลบหลู่เสียได้ มีความตีเสมอ ก็ละความตีเสมอเสียได้
    มีความริษยา ก็ละความริษยาเสียได้ มีความตระหนี่ ก็ละความตระหนี่เสียได้ มีความโอ้อวด
    ก็ละความโอ้อวดเสียได้ มีมายา ก็ละมายาเสียได้ มีความปรารถนาลามก ก็ละความปรารถนา
    ลามกเสียได้ มีความเห็นผิด ก็ละความเห็นผิดเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะละเสียได้ซึ่งกิเลส
    อันเป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดังว่าน้ำฝาดของสมณะ อันเป็นเหตุให้เกิดในอบาย มีวิบากอันตน
    พึงเสวยในทุคติเหล่านี้แล เราจึงกล่าวว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ภิกษุ
    นั้นย่อมพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
    ตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันลามกทั้งปวงนี้ ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว
    ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว นามกายก็สงบ เธอมีนามกายสงบแล้ว ก็เสวยสุข
    เมื่อเธอมีสุข จิตก็ตั้งมั่น เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่าง
    นั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา
    อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
    โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...
    มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อัน
    กว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
    โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สระโบก
    ขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
    ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผา เร่าร้อน ลำบาก ระหาย อยากดื่มน้ำ
    เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความ
    ร้อนเสียได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต
    เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น
    ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง
    ของสมณะ ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลแพศย์ ... ถ้ากุลบุตรออก
    จากสกุลศูทร ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลไหนๆ ก็ตาม มาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึงธรรมวินัย
    ที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต
    ณ ภายใน เรากล่าวว่า กุลบุตรนั้นเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ถ้ากุลบุตรออกจาก
    สกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
    เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยความรู้ยิ่ง โดยตนเองเขาถึงพร้อมแล้วอยู่ในชาตินี้ เรากล่าวว่า เป็นสมณะ
    เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลแพศย์ ...
    ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลศูทร ... ถ้ากุลบุตรออกจากสกุลไหนๆ ก็ตาม บวชเป็นบรรพชิต ทำให้
    แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะด้วยความรู้ยิ่ง โดยตนเอง
    เข้าถึงพร้อมแล้วในชาตินี้ เรากล่าวว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี
    พระภาคแล้วแล.
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต หน้าที่ ๗๗/๓๗๙
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดย
    พิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม
    จักเคารพในสงฆ์ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าไม่
    เคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่
    เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพในสิกขาด้วย
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ
    ที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่เคารพในสมาธิ
    ด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักเคารพในความ
    ไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ ใน
    สิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าไม่เคารพในความไม่ประมาทด้วยภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม
    ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่
    จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่
    ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเคารพในพระศาสดา
    จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรม
    ด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม จักไม่เคารพในสงฆ์ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
    ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าเคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม
    ในสงฆ์ จักไม่เคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม
    ในสงฆ์ ชื่อว่าเคารพในสิกขาด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา
    จักไม่เคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในในธรรม ในสงฆ์
    ในสิกขา ชื่อว่าเคารพในสมาธิด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา
    ในสมาธิ จักไม่เคารพในความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา
    ในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าเคารพในความไม่ประมาท ภิกษุเคารพในพระ
    ศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ในสิกขา ในสมาธิ
    ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึง
    เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ
    พ. ดูกรสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
    โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดีแล้ว ดูกรสารีบุตร ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพ
    ในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ
    ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรมในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท
    จักเคารพในปฏิสันถารข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์
    ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ฯ
    ดูกรสารีบุตร ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะ
    มีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯภิกษุเคารพในพระศาสดา ใน
    ธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่
    เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความ
    ไม่ประมาทชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าว
    แล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล ฯ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้าที่ ๑๔๓/๔๖๒
    ว่าด้วยเหี้ยกับฤาษีปลอม
    [๕๙๘] เราสำคัญว่าท่านเป็นสมณะ จึงได้เข้ามาหาท่านผู้ไม่สำรวม ท่านได้ขว้าง
    เราด้วยท่อนไม้ เหมือนไม่ใช่สมณะ.
    [๕๙๙] แน่ะท่านผู้โง่เขลา ประโยชน์อะไรด้วยชฎาแก่ท่าน ประโยชน์อะไรด้วย
    หนังเสือแก่ท่าน ภายในของท่านรุงรัง เกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก.
    [๖๐๐] แน่ะเหี้ย ท่านจงกลับมาบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีก่อนเถิด น้ำมัน
    เกลือ และดีปลีของเราก็มีมาก.
    [๖๐๑] เราจะเข้าไปสู่จอมปลวก อันลึก ชั่วร้อยบุรุษ ยิ่งขึ้นดีกว่า น้ำมัน และ
    เกลือของท่านจะเป็นประโยชน์อะไร ดีปลีก็หาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
    เราไม่.
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๒๑๗/๒๘๘
    [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
    ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้
    พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยัง
    ไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความฟั่นเฟือน
    เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
    อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑
    ในสิกขา ๑ ในสมาธิ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน
    เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ท่านทั้งหลายเมื่อท่านจะปกปิดกรรมชั่ว ท่านคิดว่ามีประโยชน์ต่อพระสัทธรรม ท่านทั้งหลายจงจำพระสูตรทั้งหลายเหล่านี้ไว้ ท่านทั้งหลายเลือกเอาว่าจะเป็นผู้รักษาพระสัทธรรมหรือจะเป็นพวกโมฆบุรุษ(บุรุษผู้ว่างเปล่า) เป็นพวกฝ่ายต่ำ ๕ ประการ เป็นพวกทำความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

    อุรุเวลามีเจตนาประกาศพระธรรม ดำรงค์ไว้ซึ่งพระสัทธรรม ขอสัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเราจะขอนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์
     
  8. ลูกอิสระ

    ลูกอิสระ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +9
    ไร้คนสนใจ แต่เอามา หนูอ่านนะ รักนะจุ๊บ ๆ ;9k
     
  9. quran

    quran สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +5
    ข้อคิดทางธรรมอ่านได้ก็บุญ อย่างน้อยก็มีธรรมในจิตใจ อ่านแล้วได้ธรรม ทำแล้วได้บุญ
    อนุโมทนาธรรมทานดีๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...