บาปกรรม-ในไตรภูมิพระร่วง ทัวร์นรก....

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย skygecht, 17 พฤศจิกายน 2007.

  1. skygecht

    skygecht เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2005
    โพสต์:
    12,117
    ค่าพลัง:
    +46,605
    สกู๊ปข่าวสด
    อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ




    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left><T><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></T></TBODY></TABLE>
    เมื่อเอ่ยถึง "ไตรภูมิพระร่วง" เชื่อว่าคนสมัยนี้จะไม่ค่อยรู้จักกันแล้ว และบางคนยังอาจจำสับสนกับ " พระไตรปิฎก" อันเป็นหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำ ซึ่งโดยแท้จริง ไตรภูมิพระร่วง หรือบางทีก็เรียกว่า ไตรภูมิกถา นี้ เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่งของไทยที่เป็นที่รู้ จักกันอย่างแพร่หลายมาก่อน เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งกล่าวกันว่าพระองค์ทรงเป็นทั้งนักปราชญ์ นักปกครองที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง และทรงมีความเชี่ยวชาญ และรอบรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง

    หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้แม้จะแต่งขึ้นในสมัยโบราณนับหลายร้อยป ีมาแล้ว แต่คุณค่า สาระก็ยังน่าศึกษาอยู่ เพราะนอกจากจะให้ความรู้ทางศาสนาแล้ว ยังให้ความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอื่นๆ อีกเป็นอันมาก อีกทั้งยังเป็นวรรณกรรมที่น้อมนำจิตใจประชาชนให้ยึดมั่นอยู่ในค ุณธรรมความดีตามหลักธรรมะ โดยเฉพาะมีการพูดถึงภพภูมิต่างๆ รวมถึงนรก-สวรรค์ ซึ่งถึงแม้ว่าคนสมัยนี้จะไม่ค่อยเชื่อเรื่องสวรรค์-นรกดังเช่นค นสมัยก่อนแล้ว

    แต่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรม การวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ก็อยากจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก "นรก" ที่กล่าวถึงในไตรภูมิพระร่วงบางส่วนเพื่อเป็นความรู้ไว้ ว่าทำบาปหรือชั่วแบบไหน จะต้อง "ตกนรก" แบบใด

    คนทั่วไปจะรู้จัก "นรก" ว่าเป็นดินแดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทำบาปต้องไปเกิด เพื่อรับโทษทัณฑ์ที่ทำไว้เมื่อมีชีวิตอยู่ เป็นสถานที่ที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน หาความสุขมิได้ ซึ่งจะตรงข้ามกับ " สวรรค์" สำหรับ "นรก" ในไตรภูมิพระร่วง ถือเป็นส่วนหนึ่งของ อบายภูมิ (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ) ที่อยู่ใต้โลกมนุษย์ลงไป โดยแบ่งออกเป็นขุมใหญ่ๆ ที่เรียกว่า "มหานรก" ได้ 8 ขุม โดยมีวันเวลาเทียบกับเวลาในโลกมนุษย์ ดังนี้

    1.สัญชีพนรก วันเวลาของนรกที่นี่ 1 วัน เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์ 2.กาฬสุตตนรก หรือ กาลสุตตนรก เวลา 1 วันของที่นี่เท่ากับ 36 ล้านปีมนุษย์ 3.สังฆาฏนรก เวลา 1 วันของที่นี่เท่ากับ 145 ล้านปีมนุษย์ 4.โรรุวนรก เวลาที่นี่ 1 วันเท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์ 5.มหาโรรุว นรก เวลาที่นี่ 1 วันเท่ากับ 2,304 ล้านปีมนุษย์ 6.ตาปนรก เวลา 1 วันที่นี่เท่ากับ 9,236 ล้านปีมนุษย์ 7.มหาตาปนรก นรกขุมนี้มีอายุยาวนานนับไม่ถ้วน 8.มหาอเวจีนรก มีอายุได้กัลป์หนึ่ง คือยาวนานมาก

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right><T><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></T></TBODY></TABLE>


    "มหานรก" ทั้ง 8 ขุมนี้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูอยู่ทุกทิศ และเบื้องบนจะมีฝาเหล็กปิด มีไฟนรกที่ร้อนแรงแผดเผาอยู่ตลอดเวลา และรอบๆ มหานรกแต่ละขุม ก็จะมีนรกบริวารที่เรียกว่า อุสสท นรก อยู่ล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ รวม 128 ขุม และถัดจาก อุสสทนรก ก็ยังมี ยมโลก เป็นนรกเล็กขุมย่อยๆ อีก 320 ขุม รวมแล้ว นรกจะมีอยู่ด้วยกัน 456 ขุม

    อกุศลกรรม หรือ ความชั่วบาปที่ทำให้ต้องไปเกิดในนรกมีด้วยกัน 10 ประการ คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติในกาม การมุสา การกล่าวคำส่อเสียด การกล่าวคำติฉินนินทา การกล่าวคำหยาบช้า การกล่าวคำเพ้อเจ้อ ความเห็นผิดจากคลองธรรม และการเพ่งเล็งอยากได้ของเขา

    ใน "ไตรภูมิพระร่วง" ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพของอุสสทนรก(นรกบริวาร) ในสัญชีพนรก (นรกขุมที่ 1) ว่ามี 16 ขุม แต่ละขุม ก็จะมีชื่อเรียก และการทำโทษต่างๆ กันตามแต่บาปของแต่ละคน

    ยกตัวอย่างเช่น สุนัขนรก จะมีสุนัขขนาดใหญ่เท่าช้างสาร 5 จำพวก และแร้งกา ตัวใหญ่เท่าเกวียนคอยขบกัด ให้ได้รับทุกข เวทนา ผู้ที่ตกนรกขุมนี้ คือ ผู้ที่กล่าวคำหยาบคายต่อสมณพราหมณ์ผู้มีศีล และผู้เฒ่าแก่ทั้งปวง อังคารกาสุนรก เป็นนรกที่จะมีหมู่ยมบาลใช้อาวุธลุกเป็นเปลวไฟไล่ต้อนผู้ทำบาปใ ห้ตกลงในหลุมถ่านอันร้อนแรง และยังใช้ช้อนเหล็กตักเอาถ่านเพลิงโปรยหัวอีก คนที่ตกนรกขุมนี้ คือ คนที่หลอกเอาทรัยพ์สินของผู้อื่นไปทำบุญ โปราณมิฬหนรก เป็นนรกสำหรับผู้ที่มีหน้าที่เก็บภาษี แต่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมิชอบ เช่น ไปข่มขู่ บังคับ เก็บมากกว่าที่จะเป็น เมื่อตายไปจะต้องไปกินอาจม (ขี้) ซึ่งเหม็นยิ่งนัก ต่างข้าวต่างน้ำทุกวัน

    โลหิตปุพพนรก เป็นนรกสำหรับพวกที่ชอบทำร้ายพ่อแม่ พระสงฆ์ ผู้มีพระคุณ ตายไปแล้วจะต้องตกอยู่ในแม่น้ำใหญ่ที่เต็มไปด้วยเลือด และหนอง และต้องกินเลือดและหนองด้วยความอดอยาก แต่เมื่อกินแล้วหนองก็จะกลายเป็นเปลวไฟพุ่งออกจากทวาร

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left><T><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></T></TBODY></TABLE>


    ส่วนนรกที่เป็นที่รู้จักกันดีในขุมนี้ คือ โลหสิมพลีนรก อันเป็นนรกสำหรับพวกเป็นชู้กับสามีหรือเมียผู้อื่น เมื่อตายไปแล้ว ยมบาลก็จะคอยใช้หอกไล่ต้อนให้ปีนขึ้นไปบนต้นงิ้วที่มีหนามเป็นเ หล็กแหลมร้อนเป็นไฟอยู่ตลอดเวลา

    นอกจากพรรณนาถึงลักษณะนรกบริวารทั้ง 16 ขุมแล้ว ใน "ไตรภูมิพระร่วง" ยังได้เล่าถึงนรกอีก 2 ขุม คือ โลกันตนรก และมหาอวิจีนรก โดยกล่าวว่า ภายในโลกันตนรก นั้นมืดสนิท แสงอาทิตย์และแสงจันทร์ส่องไปไม่ถึง เพราะอยู่นอกกำแพงจักรวาล และโอกาสที่สัตว์นรกจะเห็นแสงสว่างจะมีเพียง 5 ครั้งเท่านั้นคือ ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จสู่พระครรภ์มารดา ตอนประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน คนที่ทำร้ายพ่อแม่ สมณพราหมณ์ ผู้มีศีล หรือยุยงให้สงฆ์แตกกัน ตายไปแล้วจะเกิดในนรกขุมนี้ โดยจะมีร่างสูงถึง 6,000 วา เล็บมือเล็บเท้าจะเหมือนค้างคาว และต้องห้อยตัวเหมือนค้างคาว เนื่องจากในโลกันตนรกมืดสนิท ไม่เห็นกัน

    ดังนั้นเมื่อสัตว์นรกหิว ปีนไปตามกำแพง เมื่อเจอกันก็จะกัดกินกันเอง ครั้นตกไปบนพื้นที่เย็นจัด เพราะไม่เคยต้องแสงอาทิตย์ ร่างกายก็จะเปื่อยแหลกเหลว แล้วก็ฟื้นขึ้นมารับกรรมใหม่ วนเวียนซ้ำซากเช่นนี้จนกว่าจะหมดกรรม ส่วนมหาอวิจีนรก อันเป็น 1 ใน 8 ขุมของมหานรกนั้น กล่าวเพียงว่า ใครก็ตามที่ต้องตกนรกขุมนี้จะกินเวลายาวนานมากถึงสิ้นกัลป์หนึ่ ง เวลาหนึ่งกัลป์ก็คือ ภูเขาสูงหนึ่งโยชน์ กว้าง 3 โยชน์ เมื่อถึง 100 ปีก็จะมีเทวดานำผ้าทิพย์อันอ่อนดังควันไฟมาเช็ดภูเขานั้น เมื่อใดภูเขาราบเรียบก็ถือว่าสิ้นกัลป์หนึ่ง ผู้ที่ต้องตกนรกขุมนี้ก็คือ พวกที่ฆ่าพ่อแม่ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต ทำร้ายพระภิกษุสงฆ์ผู้มีศีล และยุยงให้สงฆ์แตกแยก (บาปแบบเดียวกับที่ต้องตกในโลกันตนรก)

    ทั้งหมดข้างต้น คือนรกที่กล่าวถึงใน "ไตรภูมิพระร่วง" อย่างไรก็ดี มีเอกสารบางแห่งกล่าวว่า อดีตมนุษย์หรือสัตว์ที่ทำกรรมชั่วหนักๆ หรือทำกรรมชั่วอยู่เป็นประจำนั้น เมื่อตายก็จะถูกกระแสบาปดูดกายละเอียดไปเกิดในมหานรกทันที ไม่มีใครมารับตัวไปเหมือนยมโลก เมื่อสัตว์นรกใช้กรรมในมหานรกหมดแล้ว ก็ยังต้องไปรับผลกรรมอันเป็นเศษบาปต่อในอุสสทนรกอันเป็นนรกขุมบ ริวารอีก เพียงแต่โทษทัณฑ์จะเบาบางกว่า

    ส่วนยมโลกที่เป็นนรกขุมย่อยๆ อยู่รอบนอกอุสสทนรกนั้น แม้จะเป็นที่รับโทษทัณฑ์ แต่ก็มีความพิเศษกว่านรกอื่น คือ เป็นที่วินิจฉัยสัตว์นรกที่มาจากอุสสทนรก ว่าจะให้ไปรับทัณฑ์อย่างไรต่อ หรือให้ไปเกิดในภพภูมิอื่น เช่น เป็นมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย

    นอกจากนี้ยังเป็นที่ตัดสินบุญบาปของผู้ที่ตายจากเมืองมนุษย์ที่ ใจไม่เศร้าหมอง แต่ก็ไม่ผ่องใส ว่าจะให้ไปเกิดใหม่เป็นอะไร เช่น เป็นมนุษย์อีกครั้ง หรือไปเป็นเปรต อสุรกาย เป็นต้น และหากมีญาติทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ แต่ผู้ตายยังอยู่ในภพภูมิที่ยังไม่สามารถรับผลบุญได้ บุญนั้นก็จะมาคอยที่ยมโลกนี้ เชื่อกันว่า ยมโลก เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระหว่างภพมนุษย์กับภพภูมิอื่นๆ

    จะเห็นได้ว่า "นรก" ที่เราส่วนใหญ่รู้จักกันดี น่าจะเป็น นรกบริวารที่เรียกว่า "อุสสทนรก" และส่วนที่เป็น "ยมโลก" ที่มียมบาล และพญายม หรือพญามัจจุราชคอยตัดสินโทษทัณฑ์ของมนุษย์เมื่อตายไปแล้ว

    สำหรับเรื่องนรก-สวรรค์นี้ จะมีจริงหรือไม่ คงยากที่จะตอบ เพราะเป็นชีวิตหลังความตาย คนสมัยใหม่บางคนก็คิดว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อขู่ให้คนกลัว ทำให้คนจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันกล้าทำชั่วตั้งแต่ความผิดน้อยๆ ไปจนความผิดใหญ่ๆ โดยไม่เกรงกลัวต่อบาป และไม่กลัวตกนรก เพราะไม่เชื่อว่ามีจริง และเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัวมาก

    อย่างไรก็ดี คำว่า "สวรรค์ในอก นรกในใจ" ก็ยังเป็นสิ่งที่สัมผัส และเห็นจริงอยู่ ดังจะเห็นได้ว่า ใครก็ตามที่ทำความชั่ว แม้คนอื่นจะยังไม่รู้ หรือไม่มีใครจับได้ แต่ใจของผู้กระทำก็มักไม่สงบ จะรู้สึกเหมือนมีไฟแผดเผาให้ร้อนรุ่มกลุ้มใจอยู่ตลอดเวลา และหากถูกจับได้ เขาผู้นั้นก็ต้องโทษทัณฑ์ เช่น ถูกสังคมรังเกียจ หรือติดคุกติดตะราง ฯลฯ ลักษณะเช่นนี้ก็เหมือนตกนรกทั้งเป็นเช่นกัน

    ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า"

    เพราะความชั่ว ไม่เคยให้ "คุณ" แก่ผู้ใดไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า

    <!-- Message body ''"" -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...