บันทึกพระกรรมฐานตามแนวทางพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 19 ธันวาคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]



    ฉบับที่ ๑
    เรื่องหลักในการพิจารณากรรมฐาน
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>
    พระอาจารย์มั่น สอน หลวงปู่บุญจันทร์</SMALL>
    </BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>หลวงปู่บุญจันทร์ท่านเล่าไว้ในพระธรรมเทศนา
    เมื่อครั้งได้พบพระอาจารย์มั่น เป็นครั้งแรก พระอาจารย์มั่นได้กล่าวสอนว่า

    "เราบวชมาสี่สิบปีแล้ว เราไม่เคยดูอย่างอื่น เราดูแต่กายกับใจของเรา พิจารณากายพิจารณาใจของเรา ดูที่กายดูที่ใจของเรา ไม่ได้เลิกละจากที่นี้เลย ทบทวนอยู่อย่างนั้นตลอดมา จนตลอดมาถึงปัจจุบันก็เอาอยู่อย่างนั้น "

    ในธรรมประวัติของหลวงปู่บุญจันทร์ กล่าวว่า เมื่อหลวงปู่ได้รับโอวาทคำตอบจากท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ทั้งที่ยังไม่ได้ถามท่านอย่างนั้น จึงหมดความสงสัยภายในใจลงในขณะนั้น
    </SMALL>
    </BIG>
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]


    ฉบับที่ ๒
    เรื่องความรู้ที่เรียนมากับการภาวนา
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>
    พระอาจารย์มั่น สอน หลวงปู่แหวน</SMALL>
    </BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>เมื่อครั้งหลวงปู่แหวนเดินทางตามหาพระอาจารย์มั่น และได้พบท่านที่ดงมะไฟ บ้านค้อ และที่นี่เอง ที่หลวงปู่แหวนได้พบอาจารย์ที่ตนเองอยากพบมานานเป็นครั้งแรก

    ประโยคแรกที่หลวงปู่มั่นถามคือ มาจากไหน เมื่อเรียนท่านว่ามาจากอุบล ท่านได้กล่าวเป็นประโยคที่สอง แต่เป็นคำเรกที่ท่านสั่งสอนก็คือ

    " เออ..ต่อไปนี้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน "

    คำพูดเพียงเท่านี้รู้สึกว่ามีความหมายมากเหลือเิกินในขณะนั้น ตามความรู้สึกแล้ว เมื่อได้พบท่านตามความตั้งใจไว้็ก็แสนจะดีใจ เมื่อท่านพูดว่า ต่อไปนี้ให้ภาวนา ยิ่งเพิ่มความดีใจขึ้นไปอีกเท่าตัว เพราะความตั้งใจของตนบรรลุตามความประสงค์แล้ว ประกอบกับอาจารย์บอกให้ภาวนา ทำให้จิตใจของหลวงปู่ในขณะนั้นเอิบอิ่มอย่างบอกไม่ถูก เพราะความปรารถนาของตนได้สำเร็จตามความตั้งใจแล้ว
    </SMALL>
    </BIG>
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328

    [​IMG]


    ฉบับที่ ๓
    เรื่องคำอธิบายนิโรธของพระอาจารย์มั่น<BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>
    พระอาจารย์มั่น สอน พระอาจารย์จวน

    </SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
    พระอาจารย์จวนเล่าไว้ในประวัติของท่าน เมื่อครั้งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำจันทร์

    <SMALL><BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)">
    <SMALL style="COLOR: rgb(102,102,102)"></SMALL>

    <SMALL style="COLOR: rgb(102,102,102)">
    </SMALL>ข้าพเจ้าจึงมาคำนึงถึงโอวาทที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระได้เคยเล่าเรื่องการเข้านิโรธของพระอาจารย์ลูกศิษย์ท่านองค์หนึ่งให้ฟัง ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่จำพรรษาร่วมกับท่าน ท่านได้ประกาศให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายทราบทุกๆ องค์ว่าในสมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์องค์นั้นได้เข้าไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้ถาม ท่านอาจารย์องค์นั้นว่า
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ฉบับที่ ๔
    เรื่อง..คำสอนเรื่องการภาวนา

    พระอาจารย์มั่น สอน พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ


    ในบันทึกประวัติของพระอาจารย์จวน กล่าวว่า ในพรรษาที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๘๙
    อยู่ด้วยท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    ข้าพเจ้า (คือพระอาจารย์จวน) ได้มีโอกาสศึกษาอบรมอยู่ับท่าน ได้ฟังโอวาทของท่าน ตลอดฤดูแล้ง จนกระทั่งถึงเวลาเข้าพรรษาของปีใหม่ และได้อธิษฐานพรรษาอยู่กับท่านจนตลอดพรรษาที่ ๔

    โอวาทของท่านส่วนใหญ่ ล้วนแต่แนะนำให้ประพฤติปฏิบัติทางวินัย และธุดงค์ให้เคร่งครัด การภาวนา ท่านก็ให้พิจารณากายเป็นส่วนใหญ่ คือกายาคตานุสติ ให้มีสติน้อมเข้ามาพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งตามที่ถูกกับจริตนิสัยของตน หรือถ้าหากจิตมันไม่สงบ มีความฟุ้งซ่าน ท่านก็ให้น้อมนึกด้วยความมีสติ ระลึกคำบริรรมภาวนาว่า พุทโธ - พุทโธ เมื่อจิตสงบแล้ว ท่านก็ให้พักพุทโธไว้ให้อยู่ด้วยความสงบ แต่็ต้องให้มีสต

    ทำให้ชำนิชำนาญ เมื่อชำนาญด้วยการบริกรรมหรือชำนาญด้วยความสงบแล้ว ท่านก็ให้มีสติ น้อมเข้ามาพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งที่ถูจริตนิสัยของตนด้วยความมีสติ เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้วก็ให้สงบ เมื่อสงบพอสมควรแล้วก็ให้พิจารณาด้วยความมีสติทุกระยะ มิให้พลั้งเผลอ เมื่อจิตมันรวม ก็ให้มีสติระลึกรู้ว่าจิตของเรารวม อยู่เฉพาะจิตหรืออิงอามิสคืออิงกรรมฐาน หรืออิงอารมณ์อันใดอันหนึ่งก็ให้มีสติรู้ และอย่าบังคับจิตให้รวม เป็นแต่ให้มีสติรู้อยู่ว่าจิตรวม เมื่อจิตรวมอยู่ก็ให้มีสติรู้ และอย่าถอนจิตที่รวมอยู่ ให้จิตถอนออกเอง


    พอจิตถอน ให้มีสติน้อมเข้ามาพิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งที่ตนเคยพิจารณาที่ถูกกับจริตนิสัยขิงตนนั้นนั้น อยู่เรื่อยไปด้วยความมีสติ มิให้พลั้งเผลอ ส่วนนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นนิมิตแสดงภาพภายนอกก็ตาม หรือเป็นนิมิตภายในซึ่งเป็นธรรมะผุดขึ้น ก็ให้น้อมเข้ามาเป็นอุบายของกรรมฐาน ของวิปัสสนา คือน้อมเข้ามาให้สู่ไตรลักษณ์ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งหมด คือให้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงก็ย่อมมีความดับเป็นธรรมดา....ดังนี้ ด้วยความมีสติอยู่เสมอๆ อย่าพลั้งเผลอหรือเพลิดเพลินลุ่มหลงไปตามนิมิตภายนอกที่แสดงภาพมา หรือนิมิตภายในที่ปรากฏผุดขึ้น เป็นอุบายเป็นธรรมะก็ดี อย่าเพลิดเพลินไปตาม แล้วให้มีสติน้อมเข้ามาพิจารณากายให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มิใช่ตน มิใช่ของตน มิใช่ของหแ่งตน ด้วยความมีสติอยู่อย่างนั้น

    เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้วก็ให้พักสงบ เมื่อสงบพอสมควรแล้วก็ให้พิจารณาด้วยความมีสติ อยู่อย่างนี้

    นี้เป็นโอวาทคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น โดยมากท่านแนะนำด้วยวิธีนี้ และข้าพเจ้าก็ตั้งอกตั้งใจทำความพากเพียรไปตามคำแนะนำของท่าน

     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328

    [​IMG]

    ฉบับที่ ๕
    เรื่องจิตรวม
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>
    พระอาจารย์มั่น สอน พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ</SMALL>
    </BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>
    เมื่อครั้งที่จิตของพระอาจารย์จวน รวมลงจนถึงฐิติจิต ได้เล่าถวายท่านพระอาจารย์มั่น ว่าทุกคืนจิตมันเป็นอย่างนั้น

    .....ต่อจากนั้น...ท่าน(คือพระอาจารย์มั่น) ได้ย้อมมาพูดถึงเรื่องจิตรวมว่า

    ก่อนที่จิตจะรวม บางคนก็ปรากฏว่า กายของตนหวั่นไหวสะทกสะท้านไป บางคนก็จะมีภาพนิมิตต่างๆปรากฏขึ้น เป็นภาพภายนอกก็มี แสดงอุบายภายในให้ปรากฏขึ้นก็มี แล้วแต่จริตนิสัยของแต่ละบุคคล ถ้าเป็นผู้ไม่มีสติก็จะมัวเพลิดเพลินลุ่มหลงอยู่ในนิมิตภาพนั้นนั้น จิตก็จะไม่รวม หากถอนออกเลย ทำให้ไม่ได้รับประโยชน ไม่มีำกำลัง แต่ถ้าเป็นผู้มีสติดี หากมีนิมิตภายนอก หรือธรรมผุดขึ้นภายใน ก็ให้น้อมเข้ามาเป็นอุบายของวิปัสสนากรรมฐาน จิตก็จะรวมลงสู่ฐิติจิต เมื่อจิตรวมลงก็ให้มีสติรู้ว่าจิตของเรารวม และให้รู้ว่า จิตของเรารวมลงอิงอามิสคือกรรมฐานหรือไม่ หรืออยู่เฉพาะจิตล้วนๆก็ให้รู้ อย่าไปบังคับให้จิตรวม และจิตรวมแล้ว อย่าบังคับให้จิตถอนขึ้น ปล่อยให้จิตรวมเอง ปล่อยให้จิตถอนเอง และเมื่อจิตถอนหรือก่อนจะรวม ชอบมีนิมิตแทรกขึ้นทั้งนิมิตภายนอกและนิมิตภายใน ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่านั่นเป็นเรื่องของนิมิตหรือเป็นเรื่องของอุบาย อย่าไปตามนิมิตหรืออุบายนั้นนั้น ให้น้อมเข้ามาเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ให้พิจารณากำหนดกัมมัฏฐานที่ตนเคยกำหนดไว้อย่าละเลย ละทิ้ง ด้วยความมีสติอยู่ทุกระยะที่จิตรวม จิตถอน ถ้าหัดทำให้ได้อย่างนี้ ต่อไปจะเป็น " สัณทิฏฐิโก " คือเป็นผู้รู้เอง เห็นเอง แจ้งชัดขึ้น จะตัดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่สงสัยลังเลในพระรัตนตรัยต่อไป


    นี่เป็นโอวาทคำแนะนำของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

    </SMALL>
    </BIG>
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ฉบับที่ ๖
    เรื่องแนวทางการพิจารณากรรมฐาน<BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>
    พระอาจารย์มั่น สอน หลวงปู่แหวน

    </SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
    ในพรรษาปีนั้นได้จำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่นและตาผ้าขาวอีกคนหนึ่ง การปรารภความเพียรในพรรษานั้นเป็นไปอย่างเต็มที่ เพราะมีหลวงปู่มั่น<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>คอยควบคุมแนะนำ อุบายจิตภาวนา การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้นหลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอ<O:p></O:p>ว่า จะใช้บทพุทโธเป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็<O:p></O:p>ได้ เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย แล้วพิจารณาร่างกายครั้งแรกให้พิจารณาเพียง<O:p></O:p>ส่วนใดส่วนหนึ่งที่เราสามารถที่จะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความ<O:p></O:p>ชัดเจนกลับไปกลับมาหรือที่เรียกว่าอนุโลมปฏิโลมแล้ว เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้วจึงค่อย<O:p></O:p>เปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย เพราะปัญญายังไม่แก่กล้า ถ้าพิจารณา<O:p></O:p>พร้อมกันทีเดียวทั้งร่างกายความชัดเจนจะไม่ปรากฏต้องค่อยเป็นค่อยไป เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญ<O:p></O:p>แล้ว ถ้าเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่น ๆ ก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน

    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>เมื่อ<O:p></O:p>พิจารณาพอสมควรแล้วให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อน<O:p></O:p>กลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติเมื่อจิตมีความชำนาญ<O:p></O:p>เพียงพอแล้วคำบริกรรมพุทโธก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิได้ทันที ผู้ปฏิบัติจิต<O:p></O:p>ภาวนาถ้าส่งจิตออกไปภายนอกจากร่างกายแล้ว<O:p></O:p>เป็นอันผิดทางมรรคภาวนา เพราะบรรดาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงสั่ง<O:p></O:p>สอนประกาศพระศาสนาอยู่ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น แนวการปฏิบัติไม่พ้นไปจากกาย กาย<O:p></O:p>จึงเป็นสนามรบ กายจึงเป็นยุทธภูมิ ที่ปัญญาจะต้องค้นเพื่อทำลายกิเลสและกองทุกข์ซึ่งจิตของเราทำเป็น<O:p></O:p>ธนาคารเก็บสะสมไว้ภายใน หอบไว้ หาบไว้ หามไว้ หวังไว้จนนับภพนับญาติไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายไม่<O:p></O:p>ว่าชนิดใดในสังสารวัฏนี้ ล้วนแต่ติดอยู่กับกายนี้ทั้งสิ้น ทำบุญทำบาปก็เพราะกายอันนี้ มีความรัก<O:p></O:p>มีความชัง มีความหวง มีความแหนก็เพราะกายอันนี้ เราสร้างทรัพย์สมบัติขึ้นมาก็เพราะกายอันนี้ เรา<O:p></O:p>ประพฤติศีลประพฤติธรรมก็เพราะกายอันนี้ เรา<O:p></O:p>
    ประพฤติผิดศีลเราประพฤติผิดธรรมก็เพราะกาย<O:p></O:p>อันนี้ ในพระพุทธศาสนาพระอุปัชฌาย์ก่อนที่จะให้ผ้ากาสายะแก่กุลบุตรผู้เข้ามาขอบรรพชาอุปสมบท<O:p></O:p>ก็สอนให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นส่วนที่เห็นได้โดยง่าย เพราะ<O:p></O:p>เหตุนั้น กายนี้จึงเป็นทั้งเหตุและเป็นทั้งผล มรรคผลจะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดขึ้นจากกายนี้แหละ กายนี้เป็น<O:p></O:p>เหตุ กายนี้เป็นผล เอากายนี้แหละเป็นมรรคเครื่องดำเนินของจิต เหมือนกับแพทย์ทั้งหลายจะรักษา<O:p></O:p>เยียวยาคนป่วยได้ ต้องเรียนร่างกายนี้ให้เข้าใจถึงกลไกทุกส่วน จึงจะสามารถรักษาคนไข้ได้ ไม่ว่า<O:p></O:p>ทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน วงการแพทย์จะทิ้งร่างกายไปไม่ได้ ถ้าวิชาแพทย์ทั้งการศึกษาระบบกลไก<O:p></O:p>ของร่างกายเสียแล้ว ก็เป็นอันศึกษาผิดวิชาการแพทย์<O:p></O:p>
    ทางสรีรวิทยา นักปฏิบัติธรรมถ้าละทิ้งการพิจารณา<O:p></O:p>ร่างกายเสียแล้วจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องดำเนินมรรคปัญญา ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนที่เป็น<O:p></O:p>รูปและส่วนที่เป็นนาม ถ้าผู้ปฏิบัติไม่พิจารณาให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันชอบแล้ว คำว่านิพพิทา วิราคะ<O:p></O:p>นั้น จะไปเบื่อหน่ายคลายกำหนัดอะไร นิโรธซึ่งเป็นตัวปัญญาจะไปดับทุกข์ที่ไหน เพราะเราไม่เห็นทุกข์<O:p></O:p>ที่เกิดของทุกข์ ที่ดับของทุกข์ไม่รู้ ไม่เห็น พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ พระองค์ต้องพิจารณา<O:p></O:p>กายนี้เป็นเครื่องดำเนินมรรคปัญญา เพราะในอุทานธรรมบทว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นนั้น พระองค์<O:p></O:p>ได้ประจักษ์อย่างแน่นอนว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป พระองค์หักกงกรรมคืออวิชชาเสีย ความ<O:p></O:p>เกิดของพระองค์จึงไม่มีต่อไป กงกรรมคืออวิชชามันอยู่ที่ไหน ถ้ามันไม่อยู่ในจิตของเรา จิตของเรา<O:p></O:p>มันอยู่ที่ไหน จิตมันก็คือหนึ่งในห้าของปัญจขันธ์อันเป็นส่วนหนึ่งของนามนั่นเอง ผู้ปฏิบัติต้องใคร่ครวญ<O:p></O:p>พิจารณาอย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินตามมรรคภาวนาไม่มีอารมณ์อย่างอื่นนอกจากกายนี้ที่จะดำเนินมรรค<O:p></O:p>ภาวนาให้เกิดปัญญาขึ้นได้
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    </SMALL></BIG>หลวงปู่มั่นนั้นเวลาแนะนำสั่งสอนศิษย์ท่านไม่<O:p></O:p>ค่อยอธิบายธรรมะให้พิสดารมากนัก โดยท่านให้<BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>เหตุผลว่า ถ้าอธิบายไปมากผู้ปฏิบัติมักไปติดคำพูด<O:p></O:p>กลายเป็นสัญญา ต้องปฏิบัติให้รู้ให้เกิดแก่จิตแก่ใจของตนเอง จึงจะรู้ได้ว่า คำว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร<O:p></O:p>คำว่าสุขนั้นเป็นอย่างไร คำว่าพุทธะ ธรรมะ สังฆะ<O:p></O:p>นั้นมีความหมายเป็นอย่างไร สมาธิอย่างหยาบเป็น<O:p></O:p>อย่างไร สมาธิอย่างละเอียดเป็นอย่างไร ปัญญาที่เกิดจากปัญญาเป็นอย่างไร ปัญญาเกิดจากภาวนา<O:p></O:p>เป็นอย่างไร เหล่านี้ผู้ปฏิบัติต้องทำให้เกิดให้มีขึ้นในตนของตนจึงจะรู้ ถ้ามัวถือเอาแต่คำอธิบายของ<O:p></O:p>ครูอาจารย์แล้วจิตก็จะติดอยู่ในสัญญาไม่ก้าวหน้าในการภาวนา เพราะเหตุนั้นจึงไม่อธิบายให้พิศดาร<O:p></O:p>มากมาย แนะนำให้รู้ทางแล้วต้องทำเอง เมื่อเกิดความขัดข้องจึงมารับคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง การปฏิบัติ<O:p></O:p>เช่นนี้เป็นผลดีแก่ศิษย์ผู้มุ่งปฏิวัติเพื่ออรรถเพื่อธรรมอย่าง แท้จริง </SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL>
    <O:p>
    </O:p>ดังนั้นการบำเพ็ญสมาธิภาวนาในพรรษานั้นจึงได้<O:p></O:p>เร่งความเพียรอย่างสม่ำเสมอทำให้ได้รับความเยือกเย็นทางด้านจิตใจมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะความเพียร<O:p></O:p>เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นตัวอย่างในการทำความเพียร โดยปกติองค์ท่านจะทำความ<O:p></O:p>เพียรประจำอิริยาบถ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในอิริยาบถใด ๆ ต้องอยู่ด้วยภาวนาทั้งสิ้น เรื่องนี้ท่านย้ำเตือน<O:p></O:p>เสมอไม่ให้ศิษย์ประมาทละความเพียร เราอยู่ร่วมกับท่านต้องเอาองค์ท่านเป็นตัวอย่าง ถึงแม้จะทำไม่<O:p></O:p>ได้อย่างท่านแต่ก็เป็นศิษย์ที่มีครู มีแบบแผน มีแบบอย่าง มีตัวอย่างเป็นทางดำเนิน


    ที่มา หนังสือบันทึกพระกรรมฐาน
    </SMALL></BIG>ตามแนวทางพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    http://loungpu.th.gs/
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG><BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
    <BIG style="COLOR: rgb(153,153,0)"><SMALL></SMALL></BIG>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  8. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,977
    [​IMG]



    เมื่อหลวงปู่เหรียญ ได้โอกาสจึงเรียนถามเรื่องภาวนากับหลวงปู่มั่นว่าที่ทำมาแล้วนั้นว่าถูกหรือไม่ ท่านไม่ตอบว่าผิดหรือถูก ท่านกล่าวว่า นักภาวนาทั้งหลายพากันติดความสุขที่เกิดจากสมาธิและฌาณโดยส่วนเดียว เมื่อทำจิตให้สงบแล้วก็สำคัญว่าความสงบนั้นแหละเป็นความสุขอันยอดเยี่ยม จึงไม่ต้องการพิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตแต่อย่างใด
    ท่านชักรูปเปรียบให้ฟังว่า
    "ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศเลย เขาทำใส่บนพื้นดินนี้แหละจึงได้รับผล ฉันใดโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลาย ควรพิจารณาร่างกายนี้แหละเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามในรูปนี้ ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละ จึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว"

    เมื่อท่านอาจารย์ให้โอวาทแล้ว จึงพิจารณาดูตัวเองในภายหลัง จึงได้รู้ว่าตนเองเพียงแต่เจริญสมถะเท่านั้น ไม่ได้เจริญวิปัสสนาเพื่อความรู้แจ้งในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น คืออริยสัจสี่ ถึงเจริญปัญญาบ้างก็เป็นไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มากพอที่จะรู้แจ้งได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้เร่งทำความเพียรให้ยิ่งไปกว่าเดิม

    ในคืนวันหนึ่งเมื่อเดินจงกรมตอนหัวค่ำแล้วก็เข้าที่ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้วก็อธิษฐานในใจว่า "บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อทำใจให้สงบและเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็นดังกล่าวนั้น ถ้าหากว่าข้าพเจ้าทำจิตให้รู้ยิ่งเห็นจริงไม่ได้กว่าเดิม จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นเด็ดขาด " เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ก็เริ่มดำเนินภาวนาต่อไปโดยลำดับ ในขณะนั้น ก็ปรากฏนิมิตเห็นท่านอาจารย์มั่นจูงม้าอาชาไนยตัวหนึ่งมายืนต่อหน้าแล้วพูดว่า "นี้แหละคือม้าอาชาไนยอันประเสริฐ ท่านจงทำตัวให้เหมือนม้าอาชาไนยตัวนี้ คือธรรมดาม้าอาชาไนยเป็นม้าที่ฝึกง่ายและเข้มแข็งไม่อ่อนแอ ท่านจงดูนะ" ว่าแล้วท่านก็ก้าวขึ้นขี่บนหลังม้าอาชาไนยตัวนั้น ครั้นแล้วมันก็พาท่านวิ่งไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับลมพัดก็ปานกันหายวับไปจากสายตา ต่อจากนั้นก็ทวนกระแสจิตเข้ามาสู่ปัจจุบัน พิจารณาดูนิมิตนั้นได้ความรู้ความเข้าใจในธรรมได้อย่างปลอดโปร่งว่า ม้าอาชาไนยนั้นเปรียบเสมือนดวงปัญญา กิริยาที่วิ่งไปนั้นได้แก่ ปัญญา พิจารณาเห็นสังขารนามรูปนี้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามสภาพความเป็นจริงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ต่อจากนั้นก็พิจารณาดูธาตุสี่ขันธ์ห้าอย่างพิสดารกว้างขวาง จนเห็นแจ้งประจักษ์โดยประการทั้งปวง หมายความว่า ได้เห็นธาตุทั้งสี่ขันธ์ทั้งห้ายิ่งไปกว่าเดิม จึงได้ออกจากการนั่งสมาธินับว่านานพอได้

    วันต่อมาก็ได้กราบเรียนเรื่องความเป็นไปของจิตให้ท่านทราบ ท่านก็ชมว่าเก่ง อย่างนี้แหละจึงเรียกว่าเป็นผู้เห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสารมีความต้องการอยากพ้นทุกข์จริงๆ และท่านก็ได้แนะนำอุบายเรื่องการเจริญวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไป นับว่าได้ผลเกินความคุ้มค่าที่ได้เดินทางมาด้วยความเหนื่อยยากเพื่อไปหาท่าน
     
  9. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,977
    [​IMG]


    หลวงปู่เหรียญ ถามการภาวนาอุบายธรรม กับหลวงปู่มั่น

    เมื่อหลวงปู่เหรียญ ได้โอกาสจึงเรียนถามเรื่องภาวนากับหลวงปู่มั่นว่าที่ทำมาแล้วนั้นว่าถูกหรือไม่ ท่านไม่ตอบว่าผิดหรือถูก ท่านกล่าวว่า นักภาวนาทั้งหลายพากันติดความสุขที่เกิดจากสมาธิและฌาณโดยส่วนเดียว เมื่อทำจิตให้สงบแล้วก็สำคัญว่าความสงบนั้นแหละเป็นความสุขอันยอดเยี่ยม จึงไม่ต้องการพิจารณาค้นคว้าหาความจริงของชีวิตแต่อย่างใด
    ท่านชักรูปเปรียบให้ฟังว่า
    "ธรรมดาเขาทำนาทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่บนอากาศเลย เขาทำใส่บนพื้นดินนี้แหละจึงได้รับผล ฉันใดโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลาย ควรพิจารณาร่างกายนี้แหละเป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในนามในรูปนี้ ด้วยอำนาจแห่งปัญญานั้นแหละ จึงจะเป็นทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติดอยู่ในความสงบโดยส่วนเดียว"

    เมื่อท่านอาจารย์ให้โอวาทแล้ว จึงพิจารณาดูตัวเองในภายหลัง จึงได้รู้ว่าตนเองเพียงแต่เจริญสมถะเท่านั้น ไม่ได้เจริญวิปัสสนาเพื่อความรู้แจ้งในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น คืออริยสัจสี่ ถึงเจริญปัญญาบ้างก็เป็นไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มากพอที่จะรู้แจ้งได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้เร่งทำความเพียรให้ยิ่งไปกว่าเดิม

    ในคืนวันหนึ่งเมื่อเดินจงกรมตอนหัวค่ำแล้วก็เข้าที่ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้วก็อธิษฐานในใจว่า "บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนาเพื่อทำใจให้สงบและเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็นดังกล่าวนั้น ถ้าหากว่าข้าพเจ้าทำจิตให้รู้ยิ่งเห็นจริงไม่ได้กว่าเดิม จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นเด็ดขาด " เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ก็เริ่มดำเนินภาวนาต่อไปโดยลำดับ ในขณะนั้น ก็ปรากฏนิมิตเห็นท่านอาจารย์มั่นจูงม้าอาชาไนยตัวหนึ่งมายืนต่อหน้าแล้วพูดว่า "นี้แหละคือม้าอาชาไนยอันประเสริฐ ท่านจงทำตัวให้เหมือนม้าอาชาไนยตัวนี้ คือธรรมดาม้าอาชาไนยเป็นม้าที่ฝึกง่ายและเข้มแข็งไม่อ่อนแอ ท่านจงดูนะ" ว่าแล้วท่านก็ก้าวขึ้นขี่บนหลังม้าอาชาไนยตัวนั้น ครั้นแล้วมันก็พาท่านวิ่งไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับลมพัดก็ปานกันหายวับไปจากสายตา ต่อจากนั้นก็ทวนกระแสจิตเข้ามาสู่ปัจจุบัน พิจารณาดูนิมิตนั้นได้ความรู้ความเข้าใจในธรรมได้อย่างปลอดโปร่งว่า ม้าอาชาไนยนั้นเปรียบเสมือนดวงปัญญา กิริยาที่วิ่งไปนั้นได้แก่ ปัญญา พิจารณาเห็นสังขารนามรูปนี้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามสภาพความเป็นจริงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น ต่อจากนั้นก็พิจารณาดูธาตุสี่ขันธ์ห้าอย่างพิสดารกว้างขวาง จนเห็นแจ้งประจักษ์โดยประการทั้งปวง หมายความว่า ได้เห็นธาตุทั้งสี่ขันธ์ทั้งห้ายิ่งไปกว่าเดิม จึงได้ออกจากการนั่งสมาธินับว่านานพอได้

    วันต่อมาก็ได้กราบเรียนเรื่องความเป็นไปของจิตให้ท่านทราบ ท่านก็ชมว่าเก่ง อย่างนี้แหละจึงเรียกว่าเป็นผู้เห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสารมีความต้องการอยากพ้นทุกข์จริงๆ และท่านก็ได้แนะนำอุบายเรื่องการเจริญวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไป นับว่าได้ผลเกินความคุ้มค่าที่ได้เดินทางมาด้วยความเหนื่อยยากเพื่อไปหาท่าน
     
  10. thejirayu

    thejirayu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2006
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +2,088
    อนุโมทนาสาธุ สำหรับความรู้ดีๆครับ ขอให้เจริญด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ
     
  11. [{เด็กใฝ่ธรรม}]

    [{เด็กใฝ่ธรรม}] เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +341
    ขอโมทนา และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับที่ได้นำความรู้ดีๆมาเผยแผ่ให้ทุกๆคนได้ทราบกัน
     
  12. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    <TABLE id=HB_Mail_Container height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 UNSELECTABLE="on"><TBODY><TR height="100%" UNSELECTABLE="on" width="100%"><TD id=HB_Focus_Element vAlign=top width="100%" background="" height=250 UNSELECTABLE="off">ขออนูโมทนาค่ะ
    </TD></TR><TR UNSELECTABLE="on" hb_tag="1"><TD style="FONT-SIZE: 1pt" height=1 UNSELECTABLE="on">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,977
    [​IMG]

    หลวงปู่คำพอง ติสโส
    (พระครูสุวัณโณปมาคุณ)
    วัดถ้ำกกดู่ ต.โนนหวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    หลวงปู่คำพอง ติสโส พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ
    (พรรษาที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗)

    หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อคำพองจิตใจวุ่นวายไม่อยากอยู่วัด เนื่องจากหลวงปู่ขัน เจ้าอาวาส ชวนสึกออกไปทำมาหากินด้วยกัน จึงลาจากวัดออกเดินทางด้วยเท้าไปพร้อมกับศิษย์มุ่งหน้าไปนมัสการพระธาตุพนม จ.นครพนม จนครบ ๑๕ วัน แล้วย้อนกลับมา จ.สกลนคร ถึงบ้านโนนงาน บ้านหนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม แดดร้อนจัดและฉันน้ำกับลูกศิษย์อยู่ ระหว่างนั้นมีพระบ้านฉันน้ำด้วย เล่าให้หลวงพ่อฟังว่า
     
  14. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,977
    [​IMG]


    หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโม
    วัดป่าบ้านนาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    หลวงปู่มั่น สอนหลวงปู่จันทร์โสม

    หลวงปู่ได้เรียนกับหลวงปู่มั่นช่วงไหนครับ ?

    ประมาณปี ๒๕๘๙ อาตมาได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านนาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรฯ เดิมชื่อวัดศรีชมชื่น (ปัจจุบันคือวัดป่าบ้านนาสีดา) หลังจากออกพรรษาแล้ว ก็ได้เดินธุดงค์ไปกราบนมัสการหลวงปู่เทสก์ วัดอรัญญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
    ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่นั่น พอดีกับเวลาที่หลวงปู่เทสก์ จะเดินทางไปเยี่ยมนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร หลวงปู่เทสก์ก็ถามว่าอยากจะไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่บ้านหนองผือหรือเปล่า ถ้าไปก็ไปด้วยกัน จะนำไปฝากท่านให้ หลวงปู่เทสก์ก็ฝากอาตมาไว้กับหลวงปู่มั่น
    หลวงปู่มั่นได้สอนอะไรให้บ้างครับ ?
    เมื่ออาตมาอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น ก็ไม่ค่อยได้เข้าใกล้ชิดท่านเท่าไรนัก เพราะมีพระอาจารย์วัน อฺตฺตโม และพระอาจารย์ทองคำ ปฏิบัติท่านอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในเวลาต่อมาท่านอาจารย์วัน ได้ให้อาตมาเข้าไปช่วยรับเป็นธุระในการทำกิจวัตรประจำวันกับหลวงปู่มั่น จนกว่าหลวงปู่จะเข้าที่พัก
    ช่วงเวลาที่อาตมาได้เข้าไปปฏิบัติกิจวัตรให้กับหลวงปู่มั่นนั้น อาตมาก็พยายามระวังจิตมิให้คิดไปในเรื่องอื่นๆ มีแต่ให้น้อมนอบเข้าไปหาหลวงปู่อยู่ตลอดเวลา หลายครั้งที่อาตมาทำอะไรไม่ถูก หลวงปู่มั่น ท่านก็จะบอกว่า
    "วันนี้ท่านโสมทำไม่ถูกนะ วันนี้ทำไม่ถูก" อาตมาได้ยินเช่นนั้นก็หยุดทำแล้วนั่งเฉย ให้หมู่เพื่อนปฏิบัติแทนในวันนั้น
    วันต่อมาอาตมาก็เข้าไปปฏิบัติท่านอีกครั้งตามปกติ ท่านก็จะปรารภใหม่ว่า "วันนี้ทำถูกแล้ว วันนี้ท่านโสมทำถูกแล้ว" ซึ่งหลวงปู่มั่น ก็จะพูดแบบนี้อยู่หลายครั้ง หลายครา แต่อาตมาก็ไม่ได้ท้อถอยในกิจวัตรดังกล่าว เพราะอาตมาถือว่าเป็นบุญกุศลอย่างใหญ่หลวง และภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้าใกล้ชิดปฏิบัติหลวงปู่มั่น ทำให้อาตมาได้พิจารณาเห็น ท่านอาจจะทดสอบความอดทนของเราดูก็ได้
    นอกจากนี้แล้วหลวงปู่เทสก์ ท่านก็ได้เคยพูดให้อาตมาฟังว่า ในสมัยที่ท่านได้มีโอกาสปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น ท่านก็ชอบที่จะทดสอบอะไรบ่อยๆ ถ้าใครสามารถอดทนปฏิบัติกับท่านได้จะเป็นการดีมาก อาตมาก็ได้ระลึกเอาคำสอนของหลวงปู่เทสก์นั้นเป็นคติเตือนใจอยู่เสมอๆ ตลอดเวลาที่รับใช้หลวงปู่มั่น

    [​IMG]


    กิจวัตรประจำวันที่หลวงปู่ต้องทำมีอะไรบ้างครับ ?

    ต้องตื่นจากการนอนตั้งแต่ตี 3 ชึ่งเป็นธรรดาของสายพระป่า ล้างหน้าสวดมนต์ทำวัตรเช้า นั่งภาวนา เดินจงกรม ไปปัดกวาดเช็ดถูที่โรงฉัน ตักน้ำใส่ตุ่มใส่ไห ปัดกวาดโรงฉัน จากนั้นก็ทำกิจไปกระทั่งตั้งแต่บ่ายโมงของแต่ละวัน จะต้องปัดกวาด บริเวณลานวัดเสร็จแล้ว ก็ช่วยกันตักน้ำใส่ตามกุฏิต่างๆ ทั้งหมด เสร็จแล้วพากันสรงน้ำ ศึกษาธรรมของพระแต่ละรูป ประมาณสองทุ่มจะไปรวมพร้อมกันฟังเทศน์ที่กุฏิของหลวงปู่มั่น พร้อมปฏิบัติภาวนาจนเวลาประมาณห้าทุ่ม ก็จะแยกย้ายกันไปกลับกุฏิของตนเอง ซึ่งกุฏิอาตมาอยู่ไม่ไกลจากกุฏิหลวงปู่มั่นมากนัก พอตีสาม อาตมาก็จะเห็นหลวงปู่มั่นลุกขึ้นมาทำวัตรสวดมนต์เสียงดัง อาตมาอยู่ในกุฏิก็ยังได้ยินเสียงท่าน เป็นเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง เสียงสวดก็ท่านก็จะเงียบลง อาตมาก็เข้าใจว่าท่านก็คงนั่งปฏิบัติภาวนาต่อไป
    กระทั่งใกล้รุ่ง พระเณรจะพากันไปปัดกวาดลานวัดเสร็จแล้ว พระแต่ละรูปก็ต้องไปเตรียมบาตรบริขารของตนไป พร้อมที่ศาลาโรงฉัน เมื่อใกล้เวลาบิณฑบาต จากนั้นหลวงปู่มั่นก็จะออกจากห้อง บรรดาลูกศิษย์ก็จะช่วยถือบาตร และเครื่องของใช้ในจำเป็นเกี่ยวกับการฉัน เดินตามไปไว้ที่ศาลา แล้วออกเดินบิณฑบาตตามหลวงปู่มั่น และเมื่อกลับมาจากการบิณฑบาต ก็เริ่มฉันอาหารพร้อมกัน

    หลวงปู่มั่นดุไหมครับ ?

    หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระที่ไม่ดุหรอก แต่ท่านจะดุเฉพาะบุคคลที่ทำผิด หรือทำอะไรไม่ถูก ท่านก็จะดุบ้าง แต่ความรู้สึกของอาตมา หลวงปู่มั่นท่านเป็นคนใจดี ที่ผ่านมาเมื่อครั้งรับใช้อยู่กับท่าน อาตมาไม่เคยทำผิดอะไรท่านก็เลยไม่เคยดุ (หัวเราะ)

    แล้วหลวงปู่อยู่รับใช้หลวงปู่มั่นนานแค่ไหนครับ ?

    อาตมาได้อยู่กับหลวงปู่มั่นเป็นเวลา 2-3 พรรษา เมื่อปี ๒๔๙๐ ถึงปี ๒๔๙๑ หลังจากออกพรรษาปี ๒๔๙๑ แล้ว ก็ได้กราบลาหลวงปู่มั่นไปเดินธุดงค์ ไปวิเวกที่บ้านห้วยหวาย กับพระอาจารย์อุ่น ชาคโร ซึ่งเป็นบ้านอยู่กลางป่าดงลึก มีสัตว์ร้ายต่างๆ มากมาย โดยได้ขออนุญาตหลวงปู่มั่น
    วันแรกที่เดินทางไปถึงบ้านห้วยหวาย เสือเจ้าถิ่นก็มาส่งเสียงร้องต้อนรับ อาตมาได้ยินแต่เสียง อยู่กับพระอาจารย์อุ่นเรื่อยมา วันไหนเจ้าถิ่นเขาคิดสนุกเขาก็ส่งเสียงร้องให้ได้ยิน แต่บางวันก็เงียบหายไม่ปรากฏอะไร แต่มีอยู่คืนหนึ่งประมาณตีสาม อาตมาได้ยินเขาส่งเสียงร้องอยู่แต่ไกล พยายามฟังอยู่ที่กุฏิ เสียงนั้นก็ยิ่งใกล้เข้ามาๆ คิดในใจว่า คงจะมาทางกุฏิอาตมาแน่นอน เพราะทางอื่นที่จะไปไม่มี
     
  15. พระใหม่เพิ่งบวช

    พระใหม่เพิ่งบวช สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2007
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +4
    " กายนี้มีอยู่เป็นที่สักว่ารู้..จิตนี้มีอยู่เป็นที่สักว่าเห็น..อุปทาน ตัณหา เป็นที่สักว่าเป็น ตัวเราเย็นๆ เป็นที่สักว่าตัว "
     

แชร์หน้านี้

Loading...