บันทึกของพระอริยะเจ้า"ธาตุธรรม3ฝ่าย"กฏแห่งกรรมมาจากไหน?หลวงพ่อชั้ว โอภาโส

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 29 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    การที่พระห่มผ้าม้วนขวาม้วนซ้ายนี้ เป็นของลึกลับอยู่ ข้าพเจ้าเที่ยวสืบถามดูนักต่อนักแล้ว ว่าข้างไหนถูก ข้างไหนผิดกันแน่ ไม่มีใครบอกได้เลย กระทั่งเปรียญเก้าประโยค เป็นแต่บอกว่าให้ทำเหมือน ๆ กัน ข้าพเจ้าก็นึกว่า แบบหลับตาคลำทางกันอย่างนี้จะไปได้เรื่องราวอะไรกัน
    จนเข้าไปเรียนวิปัสสนากับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่จังหวัดธนบุรีอยู่หลายปีกว่าจะรู้เรื่อง ออกมาบ้านนอก แล้วก็เข้าไปในกรุง แต่เข้า ๆ ออก ๆ อยู่อย่างนี้สิบหกปี จึงรู้เรื่องว่าห่มผ้าม้วนขวาม้วนซ้ายเป็นอย่างไร


    คือมีพระพุทธเจ้าอยู่สามภาคที่ไม่ถูกกัน เป็นข้าศึกกันจริง ๆ เข้ากันไม่ได้อย่างเด็ดขาด
    เพราะผิดธาตุผิดธรรมกัน พระพุทธเจ้าสามภาคนี้
    ขาวภาคหนึ่ง
    ดำภาคหนึ่ง
    ไม่ดำไม่ขาวภาคหนึ่ง



    ภาคขาวนั้นคือ กุสลาธัมมา พระพุทธเจ้าภาคนี้พระกายขาวใสเหมือนแก้วขาว เกตุแหลมเป็นดอกบัวตูม ให้สุขแก่สัตว์แต่ฝ่ายเดียว ไม่มีให้ทุกข์เลย



    อีกภาคหนึ่ง อกุสลาธัมมา พระพุทธเจ้าภาคนี้พระกายดำใสเหมือนแก้วดำ หรือนิล เกตุแหลมเป็นดอกบัวตูม ให้ทุกข์แก่สัตว์ฝ่ายเดียว ไม่มีให้สุขเลยเหมือนกัน


    อีกภาคหนึ่ง อัพยากตาธัมมา พระพุทธเจ้าภาคนี้พระกายไม่ขาวไม่ดำ ใสเป็นสีกลาง ใสเหมือนแก้วสีตะกั่วตัด จะว่าขาวก็อมดำ จะว่าดำก็อมขาว เกตุแหลมเป็นดอกบัวตูมเหมือนกัน ให้ไม่สุขไม่ทุกข์แก่สัตว์




    ต้นธาตุต้นธรรม* สำหรับต้นธาตุต้นธรรมของภาคขาวสายของพระสมณโคดม มีฤทธิ์มากกว่าภาคขาว ต้องคอยช่วยภาคขาวอยู่เหมือนกัน ให้สุขแก่สัตว์เหมือนภาคขาว ภาคนี้พระกายสีเหลือง เหมือนแก้วสีเหลือง ห่มผ้าคาดรัดประคด หรือบางทีห่มบังเฉวียง คือห่มจีบพาดบ่าเอาชายข้างหนึ่งขึ้นเหน็บชนบ่าซ้าย

    มีพระรัศมีทั้งหกประการด้วยกันทั้งนั้น
    พระรัศมีต้นธาตุต้นธรรมกับของภาคขาวนิ่มตานวลตาเหมือนกัน
    แต่พระรัศมีภาคดำนั้นบาดตาเคืองตา

    พระรัศมีภาคกลางไม่บาดตาเคืองตา ไม่นิ่มตานวลตา

    แล้วก็เข้ากันไม่ได้

    พระพุทธเจ้าขาว กลาง ดำ สามภาคนี้คอยประมูลฤทธิ์กันอยู่เสมอ แย่งกันปกครองธาตุธรรม ภาคขาวก็คอยจะสอดสุขให้แก่สัตว์โลก ภาคกลางกับภาคดำคอยกีดกันไว้ ภาคดำก็คอยจะสอดทุกข์ให้แก่สัตว์โลก ภาคขาวกับภาคกลางก็คอยกันไว้

    ถ้าภาคกลางจะสอดไม่สุขไม่ทุกข์ให้แก่สัตว์โลก ภาคขาวกับภาคดำก็คอยกันไว้เหมือนกัน ไม่ให้ความสะดวกแก่กันได้
    ไม่งั้นเสียอำนาจกัน




    ภาคขาวเห็นว่าทำดี ให้สุขแก่สัตว์จึงจะถูก,
    ภาคดำเห็นว่าทำชั่ว ให้ทุกข์แก่สัตว์จึงจะถูก,
    ภาคกลางเห็นว่าทำไม่ดีไม่ชั่ว ให้ไม่สุขไม่ทุกข์แก่สัตว์จึงจะถูก

    ....................................................................................................................................................




    (ต่อ)
    *ต้นธาตุต้นธรรมนี้มีทั้งสามภาค ซึ่งต่างก็คอยสอดละเอียดช่วยภาคของตัวในการปกครองธาตุธรรมของสัตว์ให้เป็น ไปตามปิฎกของตัว และต่างก็ประมูลฤทธิ์เพื่อแย่งกันปกครองธาตุธรรมอยู่ตลอดเวลา




    แต่ พระพุทธเจ้าท่านก็ยังแย้งกัน
    แล้วมนุษย์ล้วนแต่มีธาตุธรรมปนเป็นอยู่ทั้งนั้นทำไมจะไม่แย้งกัน

    เข้ากันไม่ได้เหมือนเชือกสามเกลียวบิดขวาเสียเกลียวหนึ่ง บิดซ้ายเสียเกลียวหนึ่ง ไม่บิดอีกเกลียวหนึ่ง ฟั่นเข้าก็ไม่กินเกลียวกัน
    เพราะบิดคนละทาง แล้วต่างก็เอาพระไตรปิฎกบังคับกาย วาจา ใจของสัตว์
    เอาพระวินัยปิฎกก็วินัยปิฎกด้วยกัน บังคับกายสัตว์ไว้สำหรับทำ,
    เอาพระสุตตันตปิฎกก็สุตตันตปิฎกด้วยกัน บังคับวาจาสัตว์ไว้สำหรับพูด,
    เอาพระปรมัตถปิฎกก็ปรมัตถปิฎกด้วยกัน บังคับใจสัตว์ไว้สำหรับคิด


    แล้วก็คอยแย่งกันสอดญาณเข้าไปในไส้ญาณสุดละเอียดของตัว* บังคับสัตว์เอาตามอำนาจพระไตรปิฎกของตัว ถ้าภาคขาวสอดเข้าไส้ญาณสุดละเอียดของตัวได้ ก็บังคับกาย วาจา ใจของสัตว์ จะทำจะพูดจะคิด ก็ล้วนแต่ดีเป็นบุญเป็นกุศลไปทั้งนั้น

    , ถ้าภาคดำสอดเข้าไปในไส้ญาณสุดละเอียดของตัวได้ ก็บังคับกาย วาจา ใจของสัตว์ จะทำจะพูดจะคิด ก็ล้วนแต่ชั่วเป็นบาปอกุศลไปทั้งนั้น,

    ถ้าภาคกลางสอดเข้าไปในไส้ญาณสุดละเอียดของตัวได้ ก็บังคับกาย วาจา ใจของสัตว์ จะทำจะพูดจะคิด ก็เป็นแต่กลาง ๆ ไม่บุญไม่บาปไปทั้งนั้น





    สุด แท้แต่ว่าภาคใดเข้าในไส้ญาณสุดละเอียดได้ ภาคอื่นก็เข้าไม่ได้

    เปรียบเสมือนตอไม้ที่นั่งได้คนเดียว ถ้าขึ้นนั่งได้เสียคนหนึ่งแล้ว คนอื่นก็ขึ้นไปนั่งไม่ได้ แล้วก็แย่งกันปกครองธาตุธรรมตลอดหมด ทั้งนิพพาน ภพสาม โลกันต์ ไม่มีที่ว่างดินฟ้าอากาศ ล้วนแต่อยู่ในปกครองของสามภาคนี้เท่านั้น
    ภาคขาวคอยเปิด
    ภาคดำคอยปิด
    ภาคกลางไม่เปิดไม่ปิด



    ภาคขาวคอยเปิด เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์ ให้เห็นว่านิพพานมี,


    ภาคดำคอยปิด เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์ ให้เห็นว่านิพพานสูญ,




    ภาคกลางก็ให้สัตว์เห็นว่านิพพานไม่มีไม่สูญ




    หน ทางของภาคขาวล้วนแต่ดีเป็นสุขทั้งนั้น ก็เปิดให้สัตว์เห็นจะได้สร้างแต่ความดี ไปแต่ในทางสุข,

    หนทางของภาคดำ ล้วนแต่ชั่วเป็นทุกข์ทั้งนั้น ก็ต้องปิด ไม่ให้สัตว์เห็น จะได้สร้างแต่ความชั่ว ไปแต่ในทางทุกข์,

    ส่วนภาคกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว ก็ไม่ปิดไม่เปิดให้สัตว์เห็น จะได้ทำไม่ดีไม่ชั่ว ไปในทางไม่สุขไม่ทุกข์

    ทั้งสามทางนี้ตรงกันข้ามทุกอย่าง จึงลงรอยกันไม่ได้เสียเลย

    ที่โลกเดือดร้อนอยู่วันนี้ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เพราะฤทธิ์สามภาคนี้แหละ
    ประมูลฤทธิ์ไม่แพ้กัน แย่งกันปกครองธาตุธรรม ปกครองกันตลอดทั้งนิพพาน ภพสาม โลกันต์
    ไม่ผิดอะไรกันกับมนุษย์แลสัตว์ ที่แย่งเขตแย่งแดนกันปกครอง
    แต่พระพุทธเจ้าปกครองขั้นละเอียด เทวดา มนุษย์ สัตว์ ปกครองกันแต่ที่หยาบ
    แต่ก็อยู่ในปกครองของพระพุทธเจ้าทั้งสามภาคนี้ทั้งนั้น



    ถ้าประเทศใด บ้านใด เมืองใด หมู่ใด ตำบลใด ภาคขาวปกครองได้มากกว่าภาคอื่น ก็บังคับเห็น จำ คิด รู้ ของมนุษย์และสัตว์ในที่นั้นให้ทำแต่ความดีกันทั้งนั้น เป็นต้นว่า ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ทำผิดกาเม ไม่โกหก ไม่กินเหล้า ทำแต่ความดีกันทั้งนั้น เมตตากรุณาแก่กัน ให้ความสุขแก่กัน ไม่เบียดเบียนกัน ให้แต่ความสุขสบายแก่กันทั้งนั้น
    ภาคขาวก็เก็บเหตุที่มนุษย์แลสัตว์ทำดีนั้นไว้แล้วก็ส่งผลลงมาให้ ก็ล้วนแต่ดีทั้งนั้น เป็นต้นว่าให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอาหารก็ให้บริบูรณ์ไม่ฝืดเคือง ผู้คนพลเมืองก็ล้วนแต่สุขสบาย เมื่อตายแล้วก็ส่งผลให้ไปเกิดในสุขสมบัติ เป็นเทวบุตรเทวธิดาอินทร์พรหมบรมจักรพรรดิตรา ถ้าจุติจากนั้นมา ถ้าจะเกิดเป็นมนุษย์ก็ส่งผลให้เป็นคนบริสุทธิ์ชั้นสูง เช่นนายกรัฐมนตรี เศรษฐี ท้าวพระยามหากษัตริย์ ถ้าเกิดเป็นพ่อค้า ชาวนา ก็เป็นคนที่มีทรัพย์สินสมบัติศฤงคาร บริวาร ล้วนแต่เป็นสุขสบายทั้งนั้น





    ถ้า ประเทศใด บ้านใด เมืองใด หมู่ใด ตำบลใด ถูกภาคดำปกครองได้มากกว่าภาคอื่น ก็บังคับเห็น จำ คิด รู้ ของมนุษย์แลสัตว์ในที่นั้นให้ทำแต่ความชั่วทุกอย่างทั้งนั้น
    เป็นต้นว่าฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทำผิดกาเม โกหก กินเหล้า ให้เกลียดชังกัน ให้อิจฉาริษยา เบียดเบียนกัน ฉก ลัก ปล้น สะดม ชกต่อย เตะตี รบราฆ่าฟันกัน ทำแต่ทุกข์ให้กันทั้งนั้น ภาคดำก็เก็บเหตุชั่ว ๆ ที่มนุษย์และสัตว์ทำไว้ แล้วก็ส่งลงมาเป็นผลชั่วทั้งนั้น เป็นต้นว่าให้ฟ้าฝนแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง อดอยาก ลำบาก เจ็บไข้ ล้มตาย เมื่อตายแล้วก็เอาไปลงโทษในนรก ๔๕๖ ขุม ทนทุกข์เวทนาแสนสาหัส ร้องไห้ครวญครางไม่มีขาดเสียงมีแต่ทุกข์ล้วน ๆ พ้นจากนั้นให้เป็นเปรต อดอยากข้าวน้ำอยู่เป็นนิจ แล้วให้มาเป็นอสุรกาย แลให้มาเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าให้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็ให้เป็นคนเลวทรามต่ำช้า ยากจนอนาถาไร้ทรัพย์ อับปัญญา ใจบาปหยาบช้า เอาดีไม่ได้ ล้วนแต่ทุกข์ทั้งนั้น



    ถ้า ประเทศใด บ้านใด เมืองใด หมู่ใด ตำบลใด ภาคกลางแย่งเข้าปกครองได้มากกว่าภาคอื่น ก็บังคับเห็น จำ คิด รู้ ของมนุษย์และสัตว์ในที่นั้น ให้ทำแต่กลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ที่ไม่เป็นบุญเป็นบาป ภาคกลางก็เก็บเหตุที่ไม่ดีไม่ชั่ว ที่มนุษย์และสัตว์ทำไว้นั้นแล้วก็ส่งผลลงมาให้เป็นแต่กลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว




    แต่ ว่า ท่านผู้ใดได้อ่านหรือได้ฟังหนังสือเรื่องนี้แล้วก็อย่าเพิ่งเชื่อก่อน เพราะไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อหรอก ข้าพเจ้าก็ไม่อยากให้ท่านเชื่อข้าพเจ้าเหมือนกัน ให้ท่านเชื่อตัวของท่านเองดีกว่า ท่านต้องทำให้มี ให้เป็น ให้เห็นขึ้นเองแล้ว นั่นแหละจึงค่อยเชื่อ






    ถ้า ท่านจะทำให้มี ให้เป็น ให้เห็นนั้น ต้องทำตามสติปัฏฐานทั้งสี่ดังที่ข้าพเจ้าจะบอกต่อไปดังนี้ แต่ว่าอย่าเอาคาถาบาลีมาใส่ด้วยเลย เพราะข้าพเจ้าไม่ได้เรียนพระปริยัติเรื่องอรรถแปลแก้ไขแล้วข้าพเจ้าโง่จริง ๆ ตั้งแต่บวชก็เรียนทำแต่ภาวนาทางวิปัสสนาเท่านั้น
    อาจารย์ท่านสอนแต่ทางภาวนา จึงไม่รู้ทางพระปริยัติ พูดกันแต่ภาษาไทยล้วน ๆ ดีกว่า ฟังก็ง่ายด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2017
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ถ้าผู้ใดจะทำทางวิปัสสนา


    ให้ตั้งกายให้ตรง ทำสติไว้เฉพาะหน้า ไม่ให้เผลอ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย อย่าให้เกยกันมาก แต่พอหัวแม่มือซ้ายกับนิ้วชี้ขวาจรดกัน แล้วหลับตาภาวนาว่า “สัมมาอะระหัง” หลับตาแล้วมันมีกลเม็ดอยู่อย่างหนึ่ง คือเหลือบตาขึ้นข้างบนเหมือนอย่างไปข้างหลัง กลับมองลงไปในกลางตัว ตามหลอดลมหายใจ เพราะมันเป็นรูกลวงลงไปตั้งแต่เพดานจนถึงสะดือ สุดลมหายใจที่อยู่เพียงสะดือตรงนั้น เรียกว่า “ที่สิบ” เหนือสะดือขึ้นมาสองนิ้วมือ เรียกว่า “ที่ศูนย์” เป็นที่ตั้งสติ เอาเห็น จำ คิด รู้ ทั้งสี่นี้ลงไปหยุดนิ่งอยู่ที่นั่น เพราะที่ตรงนั้นมีดวงธรรมประจำอยู่ทุกคน ธรรมดวงนี้สำหรับทำให้เกิดเป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงจากไก่ สว่างเหมือนแสงไฟ ให้ลงไปนิ่งนึกอยู่แต่ตรงนั้นอย่าไปทางไหน ดินถล่มฟ้าทลาย คอขาดบาดตายก็อย่าตกใจ ให้นิ่งแน่นอยู่เหนือสะดือสองนิ้วมือนั้นให้ได้ ซ้ายขวาหน้าหลัง ไม่ไป ล่างบน ไม่ไป นิ่งอยู่กึ่งกลางกาย ข้างใน ข้างนอก อย่าออกไป
    ถ้าออกข้างนอก ถึงธรรมเกิดขึ้น สว่างได้ ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นของภาคดำ ไม่ใช่ของภาคขาว


    เมื่อกายสงบดีแล้ว หรือเกิดตัวเบาขึ้น นั่นเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน,
    เมื่อเกิดความสุขกายขึ้น เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน,
    ถ้าเกิดแสงสว่างขึ้นที่เหนือสะดือสองนิ้วมือ จะเล็กหรือจะใหญ่ก็ตาม ประมาณสักเท่าดวงดาวหรือไข่แดงของไก่ เป็นอุคคหนิมิตขึ้นอย่างนั้นแล้ว รักษาไว้ นี่เรียกว่า ปฐมมรรค
    ถ้าใสอย่างกระจกส่องหน้าอย่างนั้นหละเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ถ้าขยายเป็นปฏิภาคออกไปใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ได้ ก็จะเห็นกายในกายผุดขึ้นในกลางดวงนั้นเหมือนอย่างกายมนุษย์เราไม่ผิดเพี้ยน เรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด (ในกลางกายมนุษย์ละเอียด มีกายทิพย์) กายนี้สำหรับไปเกิดมาเกิด กายนี้ถ้าหลุดจากกายมนุษย์หยาบ (กายเนื้อ) เมื่อไร ก็ตายเมื่อนั้น
    แต่ต้องพูดถึงกายนี้ให้รู้เรื่องกันเสียก่อน เพราะเป็นกายไปเกิดมาเกิด เป็นกายสมุทัย
    กายนี้เมื่อมาเกิดเข้าครรภ์บิดามารดานั้น สูงถึงแปดศอก มาเข้าครรภ์บิดาก่อน
    ถ้าจะเป็นหญิงก็เข้าทางช่องจมูกซ้าย
    ถ้าจะเป็นชายก็เข้าทางช่องจมูกขวา เข้าไปอยู่เหนือศูนย์สะดือสองนิ้วมือของบิดาก่อน
    แล้วมารดาจึงตั้งครรภ์ขึ้นทีหลัง ตั้งครรภ์ด้วยกันทั้งสองคนจึงรักบุตรด้วยกันทั้งคู่
    บิดามารดาร่วมประเวณีกันเข้า ถ้ายังไม่ตกสูญก็ยังไม่เกิด ถ้าตกสูญเมื่อไรก็เกิดเมื่อนั้น





    ที่เรียกว่าตกสูญนั้นคือ
    บิดามารดาทั้งสองสนุกเพลิดเพลินนั้น มันนิ่งแน่น ดึงดูดเหมือนเหล็กตาปูตอก
    เพลิดเพลินจนตากลับด้วยกันทั้งสองข้าง นั่นแหละมันตกสูญหละ
    คืออายตนะในมดลูกของมารดา มันดึงดูดเอากายแปดศอกออกจากช่องจมูกของบิดา เข้าไปในช่องจมูกของมารดา เข้าไปติดอยู่ในแอ่งมดลูก แล้วก็น้ำเลี้ยงหัวใจของบิดามารดา ข้างพ่อนิดหนึ่งข้างแม่นิดหนึ่งประสมกันเข้าประมาณเท่าเมล็ดโพธิเมล็ดไทร แล้วกายแปดศอกนั้นก็เข้าไปอยู่ในนั้นได้

    เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าเข้าไปเดินจงกรมในเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้ กายพระพุทธเจ้าก็ไม่เล็กลงไป เมล็ดพันธุ์ผัดกาดก็ไม่ใหญ่ขึ้น วิธีนั้นทีเดียว
    หรืออีกนัยหนึ่ง เช่นกระจกวงเดือนเล็กเท่าแว่นตา ส่องภูเขาใหญ่ ๆ เข้าไปอยู่ในนั้นได้ ภูเขาก็ไม่เล็กลงไป กระจกก็ไม่ใหญ่ขึ้น แต่อยู่ในกระจกนั้นได้ วิธีเดียวกับที่เรามาเกิดในครรภ์บิดามารดา
    เมื่อสายเลือดของบิดามารดาข้นแข็งเป็นก้อนเข้า ก็แตกออกเป็นปัญจสาขา ห้าแห่งเป็นกายมนุษย์ขึ้น เป็นศีรษะ เป็นมือทั้งสอง เท้าทั้งสอง กายสัมภเวสีที่มาเกิดนั้นก็เล็งลงเท่ากายมนุษย์ ตาตรงกัน หูตรงกัน จมูก ปาก แขนขา ตรงกันหมด เชื่อมติดเป็นกายเดียวกันกับกายมนุษย์ (กายเนื้อ) แล้วก็เจริญใหญ่ขึ้นมาจนคลอดออกจากครรภ์มารดา อย่างนี้เรียกว่ากายมาเกิด



    วิธีไปเกิดเมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น
    ธาตุธรรมก็ดึงดูดเอากายมนุษย์กับกายมนุษย์ละเอียด (ซึ่งมีกายทิพย์ซ้อนอยู่) ให้หลุดจากกัน
    คนไข้กายมนุษย์ก็บิดตัว สะดุ้ง หรือสยิ้วหน้า พอกายหลุดจากกัน กายทิพย์ก็ตกสูญอยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้วมือของกายมนุษย์เท่าไข่แดงของไก่ แล้วเกิดขึ้นเป็นกายสูงแปดศอกเดินออกทางช่องจมูกเที่ยวหาที่เกิดต่อไป ทิ้งกายมนุษย์ไว้ให้เน่าไป
    ถ้าผู้ใดเข้าถึงธรรมกายแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจน


    ผู้ที่ไม่รู้เรื่องก็เดาเอาว่าวิญญาณไปเกิด
    วิญญาณอย่างเดียวไปเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดทั้งกายจึงจะได้
    เพราะกายเราทุกกายที่ซ้อนกันอยู่นั้น กายหนึ่ง ๆ ต้องมีหัวใจสำหรับจำ ในหัวใจต้องมีดวงจิตเท่าดวงตาดำ ลอยอยู่ในน้ำเลี้ยงหัวใจสำหรับคิด วิญญาณซ้อนอยู่ในดวงจิตเท่าแววตาดำหรือหัวไม้ขีดไฟ สำหรับรู้ เหมือนกันหมดทุกกาย
    เมื่อรู้เรื่องกายซ้อนกันแล้ว ก็ฟังง่ายเข้า เมื่อรู้เรื่องกายทิพย์นี้แล้วก็จะได้ดำเนินต่อไป



    กายในกายนับตั้งแต่กายมนุษย์หยาบหรือกายเนื้อ ก็มีกายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์หยาบ, กายทิพย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายที่สี่นับจากกายมนุษย์
    ถึงกายนี้แล้วก็จะสามารถทำกัมมัฏฐานได้ ๓๐ ที่ตั้ง ตั้งแต่กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, และอนุสสติ ๑๐ ตาของกายนี้ (นับแต่ตาของกายมนุษย์ละเอียดเป็นต้นไป) เป็นทิพยจักษุ* สามารถเห็นสวรรค์ นรก เปรต อสุรกาย
    แล้วเอากายทิพย์นี้แหละไปนรก สวรรค์ เปรต อสุรกาย ได้ทุกแห่ง ไปพูดจาปราศรัยกันกับพวกเหล่านั้นได้ ถามถึงบุรพกรรมทุกข์สุขกันได้ทั้งนั้น แต่ว่ายังไม่เห็นพรหมโลกเพราะละเอียดกว่าสวรรค์มาก ดวงธรรมในกายทิพย์นี้เรียกว่า ทุติยมรรค พอขยายออกเป็นปฏิภาคใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็จะเห็นกายที่ ๕ ขึ้นอีก ผุดขึ้นที่กลางดวงทุติยมรรค เรียกว่ากายรูปพรหมหยาบ และในกลางกายรูปพรหมหยาบก็มีกายรูปพรหมละเอียด เป็นกายที่ ๖ กายนี้สวยงามประดับประดาอาภรณ์ยิ่งกว่าเทวดา (กายทิพย์) กายนี้ทำกัมมัฏฐานได้ ๔ ที่ตั้ง คือรูปฌาน ๔ ดวงตาของกายนี้เป็นปัญญาจักษุ สามารถเห็นพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้น แล้วเอากายนี้ไปพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้นได้ ไปไต่ถามทุกข์สุขกับรูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้นได้ แต่ว่ายังไม่เห็นอรูปพรหม ๔ ชั้น เพราะละเอียดกว่ารูปพรหมมาก



    ต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ เข้าไปหยุดนิ่งอยู่เหนือสะดือสองนิ้วมือในกลางกายรูปพรหมที่ ๖ นี้อีก ดวงธรรมในกายนี้เรียกว่า ตติยมรรค พอขยายเป็นปฏิภาคใหญ่ออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็จะเห็นกายอรูปพรหมหยาบ ในกลางกายอรูปพรหมหยาบก็จะเห็นกายอรูปพรหมละเอียดเป็นกายที่ ๘ กายรูปพรหมนี้สวยงามยิ่งขึ้นไปอีก กายนี้ทำกัมมัฏฐานได้ ๖ ที่ตั้ง คือ อรูปฌาน ๔ และ อาหาเรปฏิกูลสัญญา กับจตุธาตุววัตถานะ รวมเป็น ๔๐ กัมมัฏฐานด้วยกัน ดวงตาของกายนี้เป็นสมันตจักษุ สามารถเห็นอรูปพรหม ๔ ชั้น แล้วเอากายนี้ไปอรูปพรหม ๔ ชั้นได้ ไปไต่ถามทุกข์สุขกันได้ แต่ยังไม่เห็นนิพพาน



    ต้องเข้าไปนิ่งอยู่เหนือศูนย์สะดือสองนิ้วมือ ในกลางกายอรูปพรหมละเอียดซึ่งเป็นกายที่ ๘ นี้อีก ดวงธรรมในกายนี้เรียกว่า จตุตถมรรค พอขยายเป็นปฏิภาคใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็จะเห็นกายอีกกายหนึ่งเป็นกายที่ ๙ กายนี้เรียกว่า “ธรรมกาย” เหมือนพระพุทธรูป เกตุแหลมเหมือนดอกบัวตูม สวยงาม ใสเหมือนแก้ว
    ดวงตาของกายนี้เรียกว่า พุทธจักษุ เห็นนิพพาน แล้วเอากายนี้แหละไปนิพพานได้ พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนก็เห็นหมด ทั้งขาว กลาง ดำ ไปพบปะเห็นทั้งนั้น เรื่องห่มผ้าม้วนขวา ม้วนซ้ายจะไปรู้เรื่องได้หมด ถ้าท่านผู้ใดทำได้ถึงพระธรรมกายนี้แล้วจึงค่อยเชื่อ หรือจะไม่เชื่อก็ตามใจท่านเถอะ

    เพราะคนเรามีอยู่สามพวก ขาวพวกหนึ่ง ดำพวกหนึ่ง กลางพวกหนึ่ง
    ถ้าพวกขาวก็เชื่อ
    ถ้าพวกดำก็ไม่เชื่อ
    ถ้าพวกกลางก็เฉย ๆ
    ถ้าอยากจะรู้ว่าเป็นพวกขาว กลาง หรือดำ ก็สังเกตดูเอา ถ้าซื่อตรง นักปราชญ์ ฉลาดใจบุญ ก็ให้รู้ว่าเป็นเครื่องหมายของภาคขาว,
    ถ้าคดโกง เก่งกาจ ฉลาดใจพาล ก็ให้รู้ว่าเป็นเครื่องหมายของภาคดำ,
    ถ้าไม่ตรง ไม่โกง นั่นก็เป็นเครื่องหมายของภาคกลาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ธรรมกายนี้ก็มีหยาบละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ กายธรรมกายแรกซึ่งเป็นกายที่ ๙ นั้นเรียกว่า ธรรมกายโคตรภูหยาบ ในธรรมกายโคตรภูหยาบก็มีธรรมกายโคตรภูละเอียด, ในกายโคตรภูละเอียดก็มีกายพระโสดาปัตติมรรค ในกายพระโสดาปัตติมรรคก็มีกายพระโสดาปัตติผล, ในกายพระโสดาปัตติผลก็มีกายพระสกิทาคามิมรรค ในกายพระสกิทาคามิมรรคก็มีกายพระสกิทาคามิผล, ในกายพระสกิทาคามิผลก็มีกายพระอนาคามิมรรค ในกายพระอนาคามิมรรคก็มีกายพระอนาคามิผล, ในกายพระอนาคามิผลก็มีกายพระอรหัตมรรค ในกายพระอรหัตมรรคก็มีกายพระอรหัตผล เป็น ๑๘ กายด้วยกัน

    กายตั้งแต่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมดทั้ง ๘ กายนี้เป็นกาย ปัญจขันธ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เราเขา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา

    แต่กายทั้ง ๑๐ นับตั้งแต่กายธรรมโคตรภูขึ้นไปจนถึงธรรมกายพระโสดา ธรรมกายพระสกิทาคา ธรรมกายพระอนาคา ธรรมกายพระอรหัต ทั้งหยาบทั้งละเอียด นี้เป็นกายธรรมขันธ์ เป็นนิจจัง เป็นสุขัง เป็นอัตตา, นิจจังเป็นของเที่ยง สุขังเป็นสุข อัตตาเป็นตัวของเรา เป็นกายของเราแท้ไม่ยักเยื้องแปรผัน
    กายปัญจขันธ์เป็นกายโลกีย์
    กายธรรมขันธ์เป็นกายโลกุตตระ
    กายปัญจขันธ์สำหรับทำภูมิสมถะ คือ กัมมัฏฐาน ๔๐
    กายโลกุตตระสำหรับทำภูมิวิปัสสนาไม่มีที่สิ้นสุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    สมถกัมมัฏฐาน ๔๐


    แต่นี้ต่อไปจะกล่าวถึงกัมมัฏฐาน ๔๐ ก่อน
    ซึ่งจะใช้แต่เฉพาะกายโลกีย์ทั้ง ๘ คือ
    กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด,
    กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด,
    กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด,
    กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด
    ถ้าจะทำกัมมัฏฐาน ๔๐ ต้องสับกายซ้อนกายเสียก่อนจึงจะทำได้คล่องแคล่ว คือให้ถอยกลับออกมาจากกายที่ ๘ ออกมากายที่ ๗, แล้วก็ออกมากายที่ ๖, แล้วก็ออกมากายที่ ๕ ....แล้วก็ออกมากายที่ ๑, แล้วกลับเข้ากายที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ....ถึงกายที่ ๘, แล้วก็กลับออกมาจากกายที่ ๘ ....ออกมากายที่ ๑ ให้ฝึกสับกายซ้อนกายอย่างนี้สัก ๗ เที่ยว หรือให้มากกว่า ๗ เที่ยวก็ได้ ให้เป็นวสี และก็ให้กายมันใสนั่นเอง ให้ใสเป็นแก้วทุกกาย


    เมื่อกายใสดีแล้ว
    ให้เข้าตั้งกสิณในดวงทุติยมรรคของกายทิพย์ พอดวงทุติยมรรคใสและใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นึกบริกรรมว่าปฐวีกสิณัง ดินก็เกิดขึ้นในดวงนั้นเป็นปฐวีกสิณ ใสเหมือนแก้ว, พอจิตละเอียดนิ่งแน่นเลยดินลงไป น้ำก็ผุดขึ้นเป็นอาโปกสิณในกลางดวงดินนั้น ดินก็เพิกหายไป เมื่อจิตละเอียดเลยน้ำลงไป ลมก็ผุดขึ้นเป็นวาโยกสิณในกลางดวงอาโปกสิณนั้น อาโปกสิณก็เพิกหายไป, ผุดขึ้นแล้วก็เพิกหายไปเป็นลำดับ คือ ที่ ๔ ก็เตโชกสิณ, ที่ ๕ ก็นิลกสิณ (สีเขียว), ที่ ๖ ปิตกสิณ (สีเหลือง), ที่ ๗ โลหิตกสิณ (สีแดง), ที่ ๘ โอทาตกสิณ (สีขาว), ที่ ๙ อาโลกกสิณ (แสงสว่าง), ที่ ๑๐ อากาสกสิณ (ว่างเปล่า),
    พอจิตละเอียดเลยกสิณลงไปหนักเข้า กสิณก็เพิกหายไป ทีนี้อสุภะ ๑๐ ก็เกิดขึ้น
    คือกายเรานั้นเองเกิดขึ้นเป็นศพ ที่ ๑ เป็นศพที่ขึ้นพอง, ที่ ๒ เป็นศพที่ขึ้นสีเขียว, ที่ ๓ เป็นศพที่ขึ้นอืดเต็มที่มีน้ำหนองไหล, ที่ ๔ เป็นศพที่ขาดปริ, ที่ ๕ เป็นศพที่ฝูงสัตว์กัดกิน, ที่ ๖ เป็นศพที่หลุดจากกัน, ที่ ๗ เป็นศพที่ขาดหลุดกระจัดกระจาย, ที่ ๘ เป็นศพที่เต็มไปด้วยเลือด, ที่ ๙ เป็นศพที่เต็มไปด้วยหมู่หนอน, ที่ ๑๐ เป็นศพที่เหลือแต่ร่างกระดูก เมื่อจิตละเอียดนิ่งแน่นเลยอสุภะลงไป อสุภะก็เพิกหายไป อนุสสติ ๑๐ ก็เกิดขึ้น


    พอจิตละเอียดเข้าถึงพุทธานุสสติ
    คุณพระพุทธเจ้าก็เกิดขึ้น, พอจิตเข้าถึงธัมมานุสสติ คุณพระธรรมก็เกิดขึ้น, พอจิตเข้าถึงสังฆานุสสติ คุณพระสงฆ์ก็เกิดขึ้น,
    แล้วก็เกิดขึ้นตามลำดับไป, ที่ ๔ ระลึกถึงคุณของศีล คุณศีลก็เกิดขึ้น, ที่ ๕ ระลึกถึงคุณทาน คุณทานก็เกิดขึ้น, ที่ ๖ ระลึกถึงคุณที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา คุณที่ทำให้เป็นเทวดาก็เกิดขึ้น, ที่ ๗ ระลึกถึงกาย คุณที่ทำให้ระลึกถึงกายก็เกิดขึ้น, ที่ ๘ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก คุณที่ทำให้ระลึกถึงลมหายใจเข้าออกก็เกิดขึ้น, ที่ ๙ ระลึกถึงความตาย คุณที่ทำให้ระลึกถึงความตายก็เกิดขึ้น, ที่ ๑๐ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน คุณที่ทำให้ระลึกถึงความดับทุกข์ก็เกิดขึ้น
    กายทิพย์นี้ทำได้ ๓๐ ที่ตั้งดั่งนี้แล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นเลยอนุสสติ ๑๐ ลงไป เข้าถึงเมตตาพรหมวิหาร พอจิตคิดรักใคร่ในสัตว์ทั่วไป (ปรารถนาจะให้สัตว์ทั่วไปมีความสุข) ปฐมฌานก็เกิดขึ้นในกลางกายทิพย์ พร้อมกับรูปพรหมนั่งอยู่บนดวงฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ดวงฌานนั้นกว้างสองวาหนาหนึ่งคืบ กลมเหมือนดวงจันทร์ ใสเหมือนกระจกส่องหน้า


    พอจิตนิ่งแน่นละเอียดหนักเข้าถึงกรุณาพรหมวิหาร อยากจะให้สัตว์พ้นทุกข์ ทุติยฌานดวงที่ ๒ ก็ผุดขึ้นในกลางดวงปฐมฌาน ปฐมฌานก็เพิกหายไป วิตก วิจาร ก็หายไปด้วย, เหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์
    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นหนักเข้าไปถึงมุทิตาพรหมวิหาร ความพลอยดีใจเมื่อผู้อื่นได้ดี ตติยฌานก็ผุดขึ้นในกลางดวงทุติยฌาน ทุติยฌานก็เพิกหายไป ปีติก็ละหายไปด้วย


    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นเข้าไปถึงอุเบกขาพรหมวิหาร ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นได้ทุกข์ จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ ก็ผุดขึ้นมากลางดวงฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ ก็เพิกหายไป สุขก็หายติดไปด้วย เหลืออยู่แต่เอกัคคตารมณ์กับอุเบกขาที่ผุดขึ้นมากับฌานที่ ๔


    กายรูปพรหมนี้ทำได้อีก ๔ ที่ตั้ง รวมเป็น ๓๔ กัมมัฏฐาน
    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นหนักเข้า เลยรูปฌานทั้ง ๔ เข้าไป กายอรูปพรหมก็ผุดขึ้นในดวงตติยมรรคในกลางกายรูปพรหม อรูปพรหมนั่งอยู่บนอากาศ (อากาสานัญจายตนะ) เห็นอากาศมีอยู่เต็มว่างกว้างสองวา หนาหนึ่งคืบ กลมเหมือนดวงจันทร์ ถ้าวัดกลมรอบตัวก็หกวา ถึงรูปฌาน ๔ วัดกลมรอบตัวก็หกวาเหมือนกัน พอจิตละเอียดเลยอากาศหนักเข้าไป ก็คิดว่าอากาศนี้ยังหยาบนัก วิญญาณัญจายตนะก็ผุดขึ้นในกลางดวงอากาศ เป็นอรูปฌานที่สอง กว้างสองวา หนาหนึ่งคืบเหมือนกัน อากาศนั้นก็เพิกหายไป พอจิตละเอียดนิ่งแน่นหนักเข้าเลยวิญญาณัญจายตนะเข้าไป ก็คิดว่าวิญญาณนี้ยังหยาบนัก อากิญจัญญายตนะ คือความว่างเปล่าไม่มีอะไรที่ละเอียดหนักยิ่งขึ้นไปอีกก็ผุดขึ้นในกลางดวงวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่สาม วิญญาณัญจายตนะก็เพิกหายไป


    ตรงอรูปฌานที่ ๓ นี้ที่พระพุทธเจ้าไปติดอยู่ที่สำนักของอาฬารดาบส ต้องไปเรียนต่อที่สำนักของอุทกดาบส อุทกดาบสก็บอกให้ทำจิตให้ละเอียดให้ยิ่งขึ้น จนได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้นอีก เป็นกัมมัฏฐาน ๓๘

    ที่ตั้ง ที่ ๓๙ อาหาเรปฏิกูลสัญญา เห็นอาหารที่เขาบริโภค อาหารนั้นเป็นของละเอียดนัก ซึมซาบอยู่ในข้าวในน้ำ เหมือนเค็มซึมอยู่ในเกลือ หวานซึมอยู่ในน้ำตาล หล่อเลี้ยงร่างกายเราอยู่ทั่ว เบื้องบนถึงปลายผม เบื้องต่ำถึงปลายเท้า ข้าวน้ำนั้นก็กลั่นเป็นมูตรคูถไป,

    ที่ ๔๐ จตุธาตุววัตถานะ เห็นธาตุหล่อเลี้ยงอาหารและร่างกายเรา เบื้องบนถึงปลายผม เบื้องต่ำถึงปลายเท้า ขนเส้นหนึ่ง ผมเส้นหนึ่ง ยาวไปแค่ไหน ธาตุก็รักษาไปตลอดแค่นั้น

    เป็น ๔๐ กัมมัฏฐานด้วยกัน เรียกว่า สมถะภูมิ
    แต่ข้างในกายเราจึงจะเอา ถ้าเกิดข้างนอกเป็นทัศนูปกิเลส ใช้ไม่ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อพระพุทธเจ้าทำจบหมดแล้ว ก็รู้ชัดว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้ เพราะพระองค์ยังทำไม่ถึงพระธรรมกาย เวลานั้นพระองค์ทำได้เพียงกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมเท่านั้น ก็รู้แน่ว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

    จึงต้องเสด็จไปบำเพ็ญโดยลำพังพระองค์เองอยู่ถึงหกปี ที่พระองค์ทำโดยยากลำบากนั้น ก็เพราะพระพุทธเจ้าภาคกลาง และภาคดำนั้นคอยเป็นมารขัดขวางอยู่
    ไม่ใช่แต่จะขัดขวางพอดีพอร้าย ขัดขวางกันอย่างฉกาจฉกรรจ์
    ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าภาคอื่นคอยขัดขวางแล้วพระองค์ก็ทำได้ง่าย

    แล้วก็ไม่รู้เรื่องด้วยว่ามีมารคอยขัดขวาง



    ต่อเมื่อได้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงรู้เรื่องมารพระองค์บำเพ็ญบารมีอยู่ช้านาน ถึงกับต้องอดอาหารและกลั้นหายใจ
    เพราะมารคอยขัดขวางไว้

    แต่อาศัยที่พระองค์มีความเพียรกล้า กับทรงพระปัญญา รู้จักเปลี่ยนแปลงหนทางปฏิบัติ
    ภายหลังกลับฉันจังหันให้พระวรกายมีกำลัง จนกระทั่งได้ฉันข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา แล้วเอาถาดทองลงลอยในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานทดลองดูพระบารมีของพระองค์ว่าจะสำเร็จพระโพธิญาณหรือไม่ ถ้าพระองค์จะได้สำเร็จแก่พระโพธิญาณก็ขอให้ถาดทองลอยทวนกระแสน้ำนี้ขึ้นไป ถ้าจะไม่สำเร็จแก่พระโพธิญาณก็ขอให้ถาดทองลอยตามน้ำ พอทรงอธิษฐานแล้วก็ทรงวางถาดทองลงในแม่น้ำเนรัญชรา ถาดทองก็ลอยทวนน้ำขึ้นไปไกลได้ ๒๐ วาของพระองค์แล้วจมลง พระองค์เห็นประจักษ์ ก็แน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

    ครั้นเวลาเย็นได้ทรงรับหญ้าคาแปดกำมือที่พราหมณ์ชื่อ โสตถิยพราหมณ์ น้อมนำมาถวาย
    แล้วเอาไปทรงลาดลงที่โคนไม้ศรีมหาโพธิที่จะตรัสรู้ ก็ทรงอธิษฐานทดลองดูอีกว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว ก็ขอให้เกิดเป็นบัลลังก์แก้วขึ้นเหมือนอย่างคำอธิษฐาน
    พอสิ้นคำอธิษฐานแล้วก็เกิดเป็นบัลลังก์แก้วสูง ๑๔ ศอกเหมือนคำอธิษฐาน
    เมื่อพระองค์เห็นประจักษ์ดังนั้นก็หมดความสงสัย ก็เสด็จขึ้นนั่งบัลลังก์ ตั้งพระทัยว่าถึงเลือดเนื้อและดวงใจจะเหือดแห้ง หรือกระดูกจะกองอยู่ที่นี้ก็ตามเถิด ถ้าพระโพธิญาณไม่บังเกิด เป็นไม่ลุกจากบัลลังก์นี้เป็นอันขาด
    ที่พระองค์จะปักพระทัยหมายมั่นปล่อยชีวิตลงได้ก็เพราะเห็นความอธิษฐานของพระองค์ปรากฏขึ้นแน่แท้ว่าจะได้ตรัสรู้แน่โดยไม่ต้องสงสัย

    เหตุว่าพระองค์มั่นพระทัยแน่แล้วก็หลับพระเนตร เข้ากายในกายตั้งแต่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม สับกายซ้อนกายจนใสเป็นแก้วดีแล้วหมดทุกกาย แล้วเข้าไปนิ่งอยู่ในกลางดวงจตุตถมรรคของกลางกายอรูปพรหม


    ตอนเมื่อธรรมกายจะเกิดขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นนั้น
    มารลุกพรึบทีเดียวพร้อมกันหมดทั้งพระยามารและเสนามาร พระพุทธเจ้าภาคมารขัดขวางกันอย่างฉกาจฉกรรจ์


    ตอนนี้เป็นตอนสำคัญที่พระอาจารย์บางท่านตัดออกเสียหมด

    เพราะท่านไม่รู้เรื่อง กายในกาย ว่ามีกันอย่างไร

    ท่านก็คิดเอากายมนุษย์ของพระสิทธัตถราชกุมาร ที่นั่งอยู่โคนไม้ศรีมหาโพธิ ไม่พอกับช้างของพระยามารซึ่งสูงตั้ง ๑๕๐ โยชน์
    ท่านก็เลยตัดเรื่องมารประจญออกหมด
    หาว่าพระอรรถกถาจารย์แต่ก่อนยกย่องพระพุทธเจ้าเกินความเป็นจริงไป
    เห็นว่าพระพุทธเจ้าก็คนอย่างเรา ไม่มีอภินิหารวิเศษอะไร
    ท่านก็คิดเป็นปุคคลาธิษฐานธัมมาธิษฐานอะไรของท่านไป
    หาว่าลูกสาวพระยามาร ๓ คนนั้น เป็นจิตของพระองค์คิดขึ้นต่างหาก

    เมื่อนางตัณหาเข้ามาประเล้าประโลมนั้น หาว่าเป็นจิตของพระองค์ที่คิดอยากจะกลับเข้าไปครอบบ้านครองเมือง,
    เมื่อนางราคาเข้ามาประเล้าประโลมนั้น ก็หาว่าจิตของพระองค์หวนคิดถึงพิมพา ราหุล,
    เมื่อนางอรตีเข้ามาประเล้าประโลมนั้น ก็หาว่าจิตของพระองค์คิดอยากจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    เมื่อพระองค์ได้ขับไล่นางทั้งสามให้หนีไปแล้วก็ว่าเท่ากับพระองค์เลิกคิด,
    เมื่อนางทั้งสามกลับไปกันแล้ว
    พระยามารก็ยกกองทัพเข้ามา ก็ (ว่า) เท่ากับจิตของพระองค์เกิดฟุ้งซ่านด้วยนิวรณ์ ๕ ประการ


    ของท่านก็เข้าที น่าให้คิดแบบนั้นเหมือนกันสำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องกายในกายก็ต้องคิดไปอย่างนั้น
    เพราะช้างคิริเมขลมหาคชสารนั้นสูงถึง ๑๕๐ โยชน์ และต้นโพธิที่พระองค์นั่งสูงเพียง ๑๒๐ ศอก เป็นเส้นหนึ่งกับสิบวาเท่านั้น จึงไม่พอกัน ข้าพเจ้า (พระครูวินัยธร ชั้ว) จึงลองย่นสเกลดู ย่นโยชน์ลงเป็นเซ็นติเมตร เขียนรูปช้างสูง ๑๕๐ เซนติเมตร เฉพาะเล็บช้างวัดได้ ๕ เซนติเมตร แล้วช้างคิริเมขลสูงถึง ๑๕๐ โยชน์ ขยายเล็บออกไปได้ ๕ โยชน์

    เมื่อพระยามารขี่แล้วไส (ช้าง) เข้ามาจะชิงบัลลังก์นั้น

    ถ้าพระองค์แลด้วยมังสะจักษุ (ตากายมนุษย์) ของพระองค์แล้ว อย่าว่าแต่เห็นหน้าพระยามารหรือหน้าช้างเลย เพียงแต่ครึ่งเล็บช้างก็ยังมองไม่เห็นเลย เพราะตากายมนุษย์แลเห็นเพียงโยชน์เดียวเท่านั้น เล็บช้างตั้ง ๕ โยชน์ แล้วเป็นของทิพย์ด้วยจะไปแลเห็นได้อย่างไร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น
    พระองค์ไม่ได้แลเห็นด้วยตากายมนุษย์
    พระองค์เห็นด้วยตากายอรูปพรหม เป็นสมันตจักษุ เลยทิพยจักษุ เลยปัญญาจักษุ เข้าไปจวนถึงพุทธจักษุ เป็นอจินไตย์อยู่แล้ว อย่าว่าแต่ช้างคิริเมขลตัวเดียวเลย
    ถึงจะซ้อนกันขึ้นไปอีกสักกี่ตัว ก็ยังต่ำกว่าบัลลังก์ที่พระองค์นั่งเสียอีก
    เพราะพระยามารและเสนามารที่เข้ามาประจญนั้น ล้วนแต่เป็นกายทิพย์กันทั้งนั้น

    พระพุทธเจ้าปะทะด้วยกายอรูปพรหม เป็นอจินไตยกว่า ละเอียดกว่า สูงกว่า พวกกายทิพย์ก็สู้ไม่ได้

    ถึงพระพุทธเจ้าภาคดำจะขัดขวางอย่างไร พระพุทธเจ้าภาคขาว (ต้นธาตุต้นธรรม) ของพระพุทธเจ้าก็คอยปะทะไว้เหมือนกัน

    ของมีตัวจริงทั้งนั้น

    เช่นพระยามาร เสนามาร ลูกสาวพระยามาร ก็ล้วนมีตัวตนอยู่ทั้งนั้น แต่เป็นกายทิพย์ ตามนุษย์เรามองไม่เห็น ต้องทำให้ถึงทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ หรือสมันตจักษุ จึงจะแลเห็น เพราะเป็นของละเอียด ยิ่งกายพระพุทธเจ้า (ธรรมกาย) ด้วยแล้ว ต้องมองด้วยพุทธจักษุจึงจะเห็น


    ที่อาจารย์บางท่านแต่งกันขึ้นใหม่ ๆ ประมาณสัก ๔๐ ปี มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐ มานี้ตัดอภินิหาร ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าออกหมดนั้น เพราะไม่รู้เรื่องกายในกายนั่นเอง จึงได้ตัดบารมีภินิหารออกหมด ทำเอาแบบแผนของจริงเลอะเลือนไปไม่ใช่น้อย
    ความจริงที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้นั้น ก็ยังไม่ละเอียดเท่าความเป็นจริงเสียอีก ท่านย่อ ๆ ไว้เท่านั้น ถึงข้าพเจ้าผู้เขียนนี้ก็ต้องย่อไว้เหมือนกัน จะเขียนให้ละเอียดเต็มที่ก็ไม่ไหว เรื่องของท่านละเอียดนัก


    ทีนี้จะกล่าวเมื่อพระยามารพ่ายแพ้ไปแล้ว กายธรรมกายก็เกิดขึ้นในกลางดวงจตุตถมรรค ในกลางกายอรูปพรหม (กายที่ ๘) ของพระสิทธัตถะราชกุมาร กายนี้เหมือนพระพุทธรูป เกตุแหลมเป็นดอกบัวตูม ใสเป็นแก้ว กายนี้เป็นกายที่ ๙ ของพระสิทธัตถะราชกุมาร กายนี้แลเป็นกายพระพุทธเจ้า พอเข้าถึงกายนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ ระลึกชาติหนหลังได้แล้ว เข้ากายไปร้อยกายพันกาย ก็ระลึกชาติได้ร้อยชาติพันชาติ เข้าไปได้หมื่นกายแสนกาย ก็ระลึกชาติได้ร้อยชาติพันชาติ เข้าไปได้หมื่นกายแสนกาย ก็ระลึกชาติได้หมื่นชาติแสนชาติ เข้าไปจนนับกายไม่ถ้วนก็ระลึกชาติได้นับไม่ถ้วนเหมือนกัน พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนก็ไปพบปะกันหมด ไปพูดจาปราศรัยกันได้หมดทั้งภาคขาว ภาคกลาง ภาคดำ


    เมื่อเข้าถึงกายธรรมกายโคตรภูนี้แล้ว ก็พิจารณาเห็นอริยสัจทั้ง ๔ เห็นกายมนุษย์เป็นทุกข์ด้วยเกิด แก่ เจ็บ ตาย, เห็นกายทิพย์เป็นสมุทัย เที่ยวหาที่เกิดไม่สิ้นสุด, เห็นกายรูปพรหมกับกายอรูปพรหมเป็นนิโรธเพื่อดับทุกข์,* เห็นธรรมกายเป็นมรรคเพื่อหลีกออกจากทุกข์ แล้วก็เดินสมาบัติพิจารณาอริยสัจทั้ง ๔


    ที่เรียกว่า “สมาบัติ” นั้น ก็คือรูปฌาน อรูปฌานนั่นเอง แต่เดินคนละกาย รูปฌาน อรูปฌานนั้น เดินด้วยกายรูปพรหมและกายอรูปพรหม ซึ่งเป็นกายโลกีย์ จึงเรียกว่าฌานโลกีย์ แต่รูปสมาบัติ อรูปสมาบัตินั้น เดินด้วยกายธรรมกาย เป็นกายโลกุตตระ จึงเรียกว่า ฌานโลกุตตระ
    แล้วเอากายธรรมกายโคตรภูเดินสมาบัติดู ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เรื่อยไป จนธรรมกายตกสูญแล้วเกิดธรรมกายขึ้นใหม่ใสละเอียดกว่าเก่า
    *นี้เป็น นิโรธ เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์หยาบ เมื่อถึงธรรมกายแล้วจึงเป็นนิโรธเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ละเอียดจริง ๆ

    ที่เรียกว่า “ตกสูญ” นั้น คือเดินสมาบัติหนักเข้าจนธรรมกายนั้นใส แล้วดับลงมาเป็นดวงกลมใสขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้วมือ อย่างนี้เรียกว่าตกสูญ แล้วก็เกิดขึ้นเป็นธรรมกายใสสะอาดดีกว่าเก่า แล้วก็เดินสมาบัติให้ตกสูญ แล้วเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงกายพระโสดาปัตติมรรค แล้วเอากายพระโสดาปัตติมรรคเดินสมาบัติพิจารณาอริยสัจทั้ง ๔ ให้ตกสูญแล้วเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงกายพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นที่หนึ่ง เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ละเอียดชัดเจนยิ่งกว่าปุถุชนหรือโคตรภูบุคคล (เป็นกิจ ๔)

    แล้วเอาธรรมกายพระโสดาปัตติผลเดินสมาบัติดู ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จนตกสูญแล้วเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงกายพระสกิทาคามิมรรค แล้วเอาธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคเดินสมาบัติดูทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จนตกสูญแล้วเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงกายพระสกิทาคามิผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สอง เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ละเอียดชัดเจนยิ่งกว่าพระโสดาบัน (รวมเป็นกิจ ๘)

    แล้วเอากายพระสกิทาคามิผลเดินสมาบัติดู ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จนตกสูญแล้วเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงธรรมกายพระอนาคามิมรรค แล้วเอาธรรมกายพระอนาคามิมรรคเดินสมาบัติดู ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตกสูญแล้วเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงธรรมกายพระอนาคามิผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สาม เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ละเอียดชัดเจนยิ่งกว่าพระสกิทาคามี (รวมเป็นกิจ ๑๒)

    แล้วเอาธรรมกายพระอนาคามิผลเดินสมาบัติดู ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตกสูญเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงธรรมกายพระอรหัตมรรค แล้วเอาธรรมกายพระอรหัตมรรคเดินสมาบัติดู ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตกสูญเกิดขึ้นใหม่ จนเข้าถึงธรรมกายพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สี่ เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ละเอียดชัดเจนยิ่งกว่าพระอนาคามี (รวมเป็นกิจ ๑๖) เรียกว่า โสฬสกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ ไม่ต้องทำกิจอีกต่อไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>พอเข้าถึงธรรมกายพระอรหัต ก็รู้ชัดว่าพระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย กายทั้ง ๑๘ กายนี้เป็นกายโลกีย์เสีย ๘ กาย ตั้งแต่กายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม และกายอรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียด ทั้ง ๘ กายนี้ถึงจะเข้าฌานด้วยกายไหนก็เป็นฌานโลกีย์ทั้งสิ้น กายธรรมกายตั้งแต่โคตรภูเข้าไปจนถึงธรรมกายพระอรหัตแล้วธรรมกายในธรรมกายพระอรหัตเข้าไปอีก
    เป็นกายเถา
    กายชุด
    กายชั้น
    กายตอน
    กายภาค
    กายพืด
    กายพืดในกายพืด
    จนนับอสงไขยไม่ถ้วน นี้ล้วนแต่เป็นกายโลกุตตระทั้งนั้น
    จะเข้าฌานด้วยกายไหนก็เป็นฌานโลกุตตระทั้งนั้น
    ถ้าจะเข้านิพพานก็เข้าด้วยกายโลกุตตระ ทิ้งกายโลกีย์ไว้ในภพสาม


    ถึงกายโลกีย์ก็ต้องทิ้งกันเป็นชั้น ๆ ไปเหมือนกัน เช่นจะไปเกิดในสวรรค์ นรก เปรต อสุรกาย ก็ต้องถอดเอากายมนุษย์ละเอียด (ซึ่งมีกายทิพย์ซ้อนอยู่) ไปเกิด (ถ้ากำลังแสวงหาที่เกิดก็เรียกว่า กายสัมภเวสี, ถ้าหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์) ทิ้งกายมนุษย์หยาบไว้ในโลกมนุษย์ ส่วนใจ จิต วิญญาณของมนุษย์ก็ดับอยู่กับกายมนุษย์นั้นแล


    ถ้าได้รูปฌาน จะไปเกิดในพรหมโลก ก็ต้องถอดเอากายรูปพรหมไปเกิด ทิ้งกายทิพย์ไว้ในเทวโลก ส่วนใจ จิต วิญญาณของกายทิพย์ก็ดับอยู่กับกายทิพย์นั้นแหละ
    ถ้าได้อรูปฌาน จะต้องไปเกิดในอรูปภพ ก็ต้องถอดเอากายอรูปพรหมไปเกิด ทิ้งกายรูปพรหมไว้ในพรหมโลก ส่วนใจ จิต วิญญาณของรูปพรหมก็ดับอยู่กับกายรูปพรหมนั้นแหละ


    ถ้าจะลงมาเกิดในมนุษย์อีก ก็ต้องเข้าซ้อนในกายรูปพรหม แล้วเข้าซ้อนในกายทิพย์ แล้วเข้าซ้อนในกายมนุษย์ (ละเอียด-หยาบ) ในครรภ์มารดาตามเดิม
    ถ้าจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน มันเป็นกายสัตว์อยู่แต่ข้างนอก กายข้างในของมันก็มีกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม เหมือนมนุษย์เราเหมือนกัน


    ถ้าใครทำวิปัสสนา เข้าถึงธรรมกายแล้วไปถามบุรพกรรมของสัตว์เหล่านั้นดูได้ ว่าทำ บุรพกรรมอย่างไรจึงได้เกิดเป็นสัตว์ กายในของมันจะบอกให้ฟังอย่างละเอียดลออ ไม่ว่าสัตว์ชนิดใดบอกได้หมดทุกตัว เพราะกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมนั้นไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ มีแต่เกิดเท่านั้น มันก็จำชาติหนหลังได้ ส่วนกายมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน มันมีทั้งเกิด ทั้งแก่ ทั้งเจ็บ ทั้งตาย มันก็จำชาติหนหลังไม่ได้




    *เห็นหยาบละเอียดเข้าไปตามลำดับของกาย
    *ไส้ คือ ใจกลางของกลางธาตุธรรมหรือญาณ





    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    นิพพาน ภพสาม โลกันต์ มีอยู่ในกายมนุษย์ กายทั้งหมดทุกภพมีขันธ์ ๕ ทั้งนั้น แม้ชั้นอรูปพรหมก็มีขันธ์ ๕ เหมือนกัน ต่างแต่ขันธ์ ๕ ของชั้นนี้ละเอียดยิ่งนัก ส่วนนรกก็ดี สัตว์โลกันต์ก็ดี ล้วนแต่มีขันธ์ ๕ ทั้งนั้น แม้พระนิพพานก็มีขันธ์ ๕ แต่ว่าขันธ์ ๕ ของพระนิพพานนั้นท่านเรียกต่างออกไปอย่างนี้



    ๑) ขันธโลกในกายพระนิพพานนั้น เรียกว่า ธรรมขันธ์ แทนขันธ์ ๕

    ๒) สัตว์โลกในกายพระนิพพานนั้น ท่านเรียกว่า อริยสัจ แทนเรียกว่าสัตว์โลก

    ๓) อากาศโลกในกายพระนิพพานนั้น ท่านเรียกว่า ธรรมธาตุ แทนอากาศธาตุ คือ ธาตุ ๖ นั้นเอง เป็นอากาศธาตุ แต่ละเอียดสุขุมเย็นสนิทยิ่งนัก


    นิพพานในศูนย์กำเนิดกลางกายมนุษย์เข้าไปเรียกว่า นิพพานเป็น หรือ สอุปาทิเสสนิพพาน อยู่ในกายมนุษย์
    ส่วนนิพพานที่อยู่ข้างบน เหนือภพสามขึ้นไป ๓ เท่าของภพสามนั้น เป็นที่เสด็จอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายที่นิพพานไปแล้วนั้น
    ท่านเรียกว่า อายตนนิพพาน หรือ อนุปาทิเสสนิพพาน เป็นนิพพานที่มีศูนย์ตรงกันกับศูนย์นิพพานเป็น หรือที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานที่อยู่ในกายมนุษย์

    เมื่อธาตุธรรมเดินฌานสมาบัติตกสูญนิพพานเป็นแล้ว ก็เป็นอันเข้าสู่ศูนย์อายตนนิพพานด้วย
    อายตนนิพพานเบื้องบนนั้น ก็ดึงดูดธาตุธรรมขึ้นไปสู่อายตนนิพพาน
    ไม่ผิดอะไรกับกายทิพย์เมื่อจะตั้งปฏิสนธิในครรภ์มารดา ถ้าตกสูญแล้ว ศูนย์กำเนิดเดิมซึ่งตั้งอยู่ขั้วมดลูกของมารดา ก็ดึงดูดกายทิพย์เข้าไปตั้งอยู่กลางกำเนิดมดลูกฉะนั้น


    ก็เหมือนกับอนุปาทิเสสนิพพานที่อยู่เหนือขอบภพสามขึ้นไป ๓ เท่า นั้น ดึงดูด สอุปาทิเสสนิพพานที่อยู่ในกายมนุษย์ขึ้นไปติดอยู่ในอายตนนิพพาน เพราะมีอายตนะด้วยกัน สอุปาทิเสสนิพพานก็มีอายตนะ อนุปาทิเสสนิพพานก็มีอายตนะ เมื่อธาตุธรรมเดินสมาบัติตกสูญตรงกันเข้าก็ดึงดูดเข้าไปติดกัน เหมือนอายตนะในตากับอายตนะในรูป เมื่อตกสูญตรงกันเข้าก็ดึงดูดเข้าไปหากันฉะนั้น






    แต่ส่วนนิพพานที่ท่านกล่าวไว้ในพระบาลีนั้น ทำไมเหมือนกับปิด ๆ บัง ๆ อมอำอยู่ชอบกล ข้าพเจ้า (พระครูวินัยธร-ชั้ว) ได้คัดลอกมาจากคำแปล แต่ไม่ได้เขียนตัวบาลีไว้ด้วย เพราะข้าพเจ้าแปลไม่เป็น จึงเอาแต่คำแปลมาลงไว้เท่านั้น ท่านกล่าวไว้ ๓ ข้อ




    ข้อ ๑. กล่าวว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น มีอยู่, ที่ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีแล,
    อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ
    อากิญจัญญายตนะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่, โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่,
    อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการเกิด,
    อายตนะนั้นหาที่ตั้งมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์”

    นี่จะเอาความอย่างไร ท่านไม่ได้เอาของในนิพพานมากล่าวเลย
    ในนิพพานมีกล่าวแต่อายตนะเท่านั้น
    ท่านกล่าวก็ไม่ผิด เพราะดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีในนิพพาน,
    อากาสานัญจายตนะ
    วิญญาณัญจายตนะ
    อากิญจัญญายตนะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่มีในนิพพาน มีอยู่แต่ในอรูปภพเท่านั้น,
    โลกนี้ โลกอื่น ก็ไม่มีในนิพพาน
    มีอยู่แต่ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก มารโลก,
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็ไม่มีในนิพพาน มีอยู่แต่สำหรับโลกมนุษย์เท่านั้น,
    ของที่กล่าวไว้นี้ไม่มีในนิพพานเลย
    แล้วใครจะรู้ว่านิพพานอยู่ไหน


    ข้อ ๒. นั้นว่า “ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาไม่ได้ ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตพึงรู้”

    นี้ก็เทียบ ๆ นิพพานไปแล้ว แต่ถ้าคนไม่รู้เรื่องในนิพพานแล้ว เอาความไม่ได้เลย

    ข้อ ๓. นั้นว่า “ธรรมชาตินั้นสงบแล้ว ธรรมชาตินั้นประณีต ธรรมชาติไรเล่าเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่ดับ คือนิพพาน”





    นี่ท่านกล่าวแต่เพียงธรรมชาติในนิพพานเท่านั้น แต่ตำแหน่งที่อยู่ของนิพพานท่านไม่กล่าวว่าอยู่ที่ไหน จึงเอาความยาก ครั้งจะว่าให้มากไป ข้าพเจ้าก็กลัวว่าจะเป็นการตู่พระพุทธวัจนะ เพราะเป็นของในบาลี ข้าพเจ้าก็กลัวบาปอยู่เหมือนกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2015
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    แต่ส่วนในนิพพานอย่างที่พวกมีธรรมกายไปพบไปเห็นมานั้น ล้วนแต่สมบัติวิเศษเป็นแก้วทั้งนั้น

    กายพระพุทธเจ้าเองก็ใสเป็นแก้ว แล้วสิ่งอื่น ๆ ก็ล้วนแก้ววิเศษทั้งนั้น
    เช่น แก้วจุลจักรพรรดิ แก้วมหาจักรพรรดิ แก้วบรมจักรพรรดิ ที่มนุษย์ผู้มีบุญวาสนาได้มาใช้กันนั้น ก็ต้องส่งมาจากนิพพาน,
    หรือแก้วทิพยจุลจักรพรรดิ แก้วทิพยมหาจักรพรรดิ แก้วทิพยบรมจักรพรรดิ ที่พวกเทวดา พรหม ที่มีบุญวาสนายิ่งใหญ่ใช้กัน ก็ล้วนแต่ส่งมาจากนิพพานทั้งนั้น, ยังแก้วพุทธจุลจักรพรรดิ แก้วพุทธมหาจักรพรรดิ แก้วพุทธบรมจักรพรรดิ ที่ใช้กันอยู่ในนิพพานนั้น

    แต่ละอย่าง ๆ มีมากมายนับอสงไขยไม่ถ้วน ล้วนแต่เป็นแก้วกายสิทธิ์วิเศษทั้งนั้น ทำไมท่านจึงไม่กล่าวไว้ในบาลี


    แต่ว่าเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น คงจะตรัสเทศนาไว้หมดทุกอย่าง แต่ในคัมภีร์เก่า ๆ มีกล่าวอยู่บ้าง เช่นที่ว่า “เป็นพระอรหัตตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เข้าถึงเมืองแก้ว กล่าวแล้วคือนิพพาน” เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีกล่าวถึงนิพพาน หมดเข้าไป เสื่อมเข้าไปอย่างที่เห็น ๆ


    เดี๋ยวนี้พระศาสนาก็ล่วงเลยมาสองพันกว่าปีแล้ว น่ากลัวพระพุทธวัจนะจะคลาดเคลื่อน (และตกหล่น) ไปมาก จนไม่มีใครรู้เรื่องนิพพานเสียเลย


    นิพพานไม่มีแล้ว ภาคดำเขาก็คอยสอดญานละเอียดเข้าในเห็น จำ คิด รู้ ของพวกอรรถกถาจารย์ ให้แต่งแก้พระพุทธวัจนะ ให้เลอะเลือนคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ


    เพราะนิพพานเป็นจุดสำคัญ

    พระพุทธเจ้าพระอรหันต์จึงปรารถนามุ่งหมายนัก

    ภาคดำเขาก็หวงแหน ปิดบังอย่างสุดขีด

    เพราะว่าถ้าสัตว์ยังเวียนว่ายอยู่ในภพสาม ตราบใด

    ภาคดำเขาก็ต้มเล่นอย่างสนุก

    ถ้าถึงนิพพานเสียแล้วมันก็ไม่กลัวกัน

    ฉะนั้น เขาจึงขัดขวางจนสุดฤทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    แล้วในนิพพานนั้นเป็นที่สุโขมโหฬาร จนไม่มีส่วนเปรียบ
    ยังพวกจักรพรรดิที่คอยดูแลปฏิบัติพระพุทธเจ้าอยู่ในนิพพานนั้น ก็ล้วนแต่กายใสเป็นแก้วทั้งนั้น
    และไม่ใช่แต่จะดูแลในนิพพานเท่านั้น
    ถึงแม้ในภพสามเรานี้พวกจักรพรรดิและพระพุทธเจ้าก็ต้องคอยดูแลส่งเสียอยู่ไม่ขาดเหมือนกัน ที่ส่งความบริบูรณ์มาหล่อเลี้ยงหมู่สัตว์ของพระพุทธเจ้าในนิพพานนั้น ยิ่งกว่าบิดามารดาที่มีต่อบุตร ธรรมดาบิดามารดานั้นถึงบุตรจะชั่วร้าย ไม่รู้จักบุญคุณอย่างไร ก็ยังรักอยู่เสมอ

    แต่พระพุทธเจ้าทรงคุณยิ่งกว่านั้น ความกรุณาต่อสัตว์ไม่เลือกหน้า ถึงสาวกในพระศาสนาจะชั่วช้าไม่รู้จักพระคุณ เหมือนอย่างพระเทวทัตก็ดี ก็ยังกรุณาอยู่เสมอ ฉะนั้น พระคุณพระพุทธเจ้าจึงมีมากสุดจะพรรณนา ที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์เก่า ๆ ว่า เปรียบเหมือนบุรุษที่มีฤทธิ์เนรมิตศีรษะได้พันศีรษะ ๆ ละร้อยปาก มีปากละร้อยลิ้น แล้วจะพรรณนาคุณพระพุทธเจ้าอยู่จนตลอดกัลป์ ก็ยังไม่สิ้นสุดพระคุณของพระพุทธเจ้า


    แต่ภาคดำตรงกันข้าม นั่นมีพระเดช ถึงบุรุษผู้มีพันศีรษะ ๆ ละร้อยปาก ปากละร้อยลิ้น จะพรรณนาพระเดชมารไปตลอดกัลป์ก็ไม่สิ้นสุดโทษของเขาได้เหมือนกัน พระพุทธเจ้าภาคดำนี้ล้วนแต่เป็นพญามัจจุราชทุกองค์ มีแต่จะให้ทุกข์โทษแก่สัตว์ฝ่ายเดียว ทุกข์ของสัตว์ที่มีร้อยแปดประการนั้น เป็นธรรมของภาคดำฝ่ายเดียว ฉะนั้น ถึงจะพรรณนาโทษของเขาสักกี่กัลป์ก็ไม่สิ้นสุด


    การที่พระพุทธเจ้าภาคขาวส่งความบริบูรณ์มาหล่อเลี้ยงหมู่สัตว์ หรือพระเณรในศาสนานั้น ให้สังเกตดูวัดใดวัดหนึ่ง ถ้าพระเณรปฏิบัติเคร่งครัดต่อธรรมวินัย วัดนั้นต้องบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะ ชื่อเสียงโด่งดัง อย่างเช่นวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นต้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี) ท่านเอาแต่ธรรมวินัยอย่างเดียว อย่างอื่นผิดธรรมวินัยท่านไม่เอา ส่วนตัวท่านเองสิกขาบท ๒๒๗ ไม่มีขาดตกบกพร่อง แล้วยังไม่ประมาท แสดงอาบัติทุกเช้ามืดเป็นนิตย์ แล้ว


    แนะนำสั่งสอนภิกษุสามเณรให้ประพฤติปฏิบัติชอบทุกวันไม่มีเว้นเลย จึงบริบูรณ์ ไม่ขาดแคลน พระเป็นร้อย ๆ สามเณรเป็นร้อย ๆ อุบาสกอุบาสิกาเป็นร้อยก็ไม่อดอยาก

    แต่บางครั้งก็มีบกพร่องบ้าง เป็นที่พระเณรต่างวัดไปอาศัยอยู่ นิสัยหยาบติดไปจากวัดเดิม
    ประพฤติบกพร่อง เป็นธรรมของฝ่ายดำ ฝ่ายดำเขาส่งชั่วมาขัดขวางได้บ้าง แต่ก็ขัดขวางไม่ได้มากนัก
    เพราะพระเณรที่เคร่งครัดก็มีมากเหมือนกัน จึงขัดขวางไม่ถนัด ถ้าพระเณรทำตามหลวงพ่อสอนทุกองค์แล้ว อย่าว่าแต่วัดปากน้ำวัดเดียวเลย ถึงวัดอื่นสักกี่สิบวัดก็เลี้ยงได้จริง ๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระพุทธเจ้าภาคดำน่ะฤทธิ์เดชไม่ใช่พอดีพอร้าย ล้วนแต่เป็นมัจจุราชที่ผลาญชีวิตสัตว์ทั้งนั้น แล้วปิดบังอำพรางเรื่องของตัวนัก ไม่อยากให้ใครรู้เรื่องของเขาทีเดียว ดูแต่มนุษย์ที่ทำชั่วไม่อยากให้ใครรู้เรื่องเหมือนกัน เพราะเรื่องมันชั่ว พระพุทธเจ้าภาคดำก็ต้องปิดเรื่องชั่วของตัวเหมือนกัน แล้วจะหาใครต้านทานฤทธิ์มันยากนัก ไม่มีกลัวไม่มีเกรงผู้ใดเลย



    พระพุทธเจ้าภาคขาวที่ดับขันธ์ปรินิพพานไปเหมือนอย่างพระสมณโคดมแล้วสักกี่โกฏิกี่ล้านหรือสักกี่อสงไขย ก็สู้ไม่ได้เลยสักองค์เดียว เพราะพระพุทธเจ้าภาคขาวที่ดับขันธ์ถอดเอาธรรมกายเข้านิพพานไปนั้นเหมือนอย่างกุ้งหรือปูที่ลอกคราบ ก้ามและกระดองอ่อน ๆ อย่างนั้นจะไปทำอะไรใครได้ ไม่เหมือนพระพุทธเจ้าชั้นก่อน ๆ ที่เข้านิพพานทั้งกายมนุษย์เป็นๆ ไปนั้น แต่อย่างนั้นก็ยังเต็มรับเต็มสู้


    เหมือนอย่างพระสมณโคดม สัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น ท่านก็คิดจะเข้านิพพานทั้งเป็นเป็น เหมือนกัน แต่สู้เขาไม่ได้ก็ต้องดับขันธ์นิพพาน
    เมื่อพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ เสด็จไปประทับที่ใต้ควงไม้อชปาลนิโครธ พระยามารนิมนต์จะให้นิพพานเสียทีเดียว พระองค์ได้ตรัสแก่มารว่า ถ้าบริษัททั้ง ๔ เหล่า คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่บริสุทธิ์แพร่หลายดีแล้ว จะยังไม่นิพพาน มารได้ฟังดังนั้นก็หลีกไป ในพระบาลีกล่าวไว้แต่เพียงแค่นี้


    เมื่อพระยามารหลีกไปแล้ว พระพุทธเจ้าภาคมารก็มาเอง ตอนนี้ท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะพระบาลีไม่กล่าวไว้ เป็นแต่ผู้ที่มีธรรมกายไปพบปะเข้า ท่านต้องทำให้มีให้เป็น อย่างที่บอกหนทางไว้ข้างต้นนั้น เมื่อเห็นแล้วไปดูเอาเอง แล้วจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามใจท่านเถอะ
    เมื่อพระพุทธเจ้าภาคมารมานั้น พระกายดำเป็นนิล ใสเป็นแก้ว โผล่ขึ้นตรงหน้า (พระสมณโคดม) แล้วถามว่า “เมื่อท่านยังไม่เข้านิพพาน แล้วท่านจะรบกับเราหรือจะโปรดสัตว์ ?”
    พระพุทธเจ้าเพิ่งจะได้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ ยังไม่ทันจะรู้เรื่องราวอะไรนัก ก็ต้องเข้านิโรธสมาบัติไปเจ็ดวัน ขึ้นไปทูลถามพระพุทธเจ้าที่ในนิพพานแก่ ๆ ขึ้นไป จนถึงพระพุทธเจ้าที่เข้านิพพานทั้งกายมนุษย์ ว่าจะรบดีหรือจะโปรดสัตว์ดี พระพุทธเจ้าในนิพพานแก่ ๆ นั้นก็บอกว่า






    “โปรดสัตว์เถิด จะรบนั้นสู้เขาไม่ได้ เพราะบารมีท่านน้อยกว่าเขา” แล้วก็ให้นัยมาว่า ให้ตั้งกติกากับเขาข้อเดียว พระพุทธเจ้า (พระสมณโคดม) ก็ออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วก็บอกว่า “เราจะโปรดสัตว์” ภาคดำเขาก็ตั้งกติกาให้ ๔ ข้อ



    ข้อ ๑. ท่านอย่าไปแตะต้องโครงการของเขา ที่เขาทำให้ทุกข์แก่สัตว์ไว้แล้วอย่าพูดไป

    ข้อ ๒. ท่านต้องห้ามสาวกอย่าให้แผลงฤทธิ์เดช จนไปแตะต้องโครงการของเขา

    ข้อ ๓. ท่านจะเทศนาโปรดสัตว์ ต้องเทศนาโทษว่า เป็น “กรรม” ของสัตว์ อย่าโทษว่าเขา (พระพุทธเจ้าภาคดำ) ทำ

    ข้อ ๔. เมื่ออายุท่านครบ ๘๐ ปี ท่านต้องนิพพาน



    ถ้ารับกติกาได้อย่างนี้ ก็จะไม่รุกรานกัน พระพุทธเจ้าภาคขาว (พระสมณโคดม) ก็ตั้งกติกาไว้ข้อเดียวว่า “ศาสนาของเราไม่มีกำหนด มรรคผลยังมีอยู่ตราบใด ศาสนาก็ตั้งอยู่ตราบนั้น” (นี้ตรงกับพระมหาสมณเจ้าฯ ค้นที่มาของศักราชไม่พบ จึงบอกแต่ล่วงเท่านั้น)



    เมื่อปฏิญาณว่าจะไม่รุกรานกันแล้ว พระพุทธเจ้า (พระสมณโคดม) ก็เที่ยวโปรดสัตว์ไป
    ครั้งพระศาสนาแพร่หลาย มีพระสาวกมากเข้า ภาคดำก็เล่นลูกไม้ สอดละเอียดเข้าในเห็น จำ คิด รู้ ของพวกพระสาวกให้ทำชั่วขึ้น
    อย่างเช่น พระสุทิน ให้เสพเมถุนธรรมขึ้น, พระธนิยะ ทำอทินนาทาน, พระที่แม่น้ำ วัคคุมุทา ทำมนุสสวิคคหะบ้าง อวดอุตริมนุสธรรมบ้าง เป็นให้ทำปาราชิก ๔ แล้วก็สอดละเอียดเข้าให้ทำสังฆาทิเสส ๑๓, อนิยต ๒, นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐, ปาจิตตีย์ ๙๒, ปาฏิเทสนียะ ๔, เสขิยวัตร ๗๕, อธิกรณสมถะ ๗, จนหมด ๒๒๗ สิกขาบท พระพุทธเจ้าก็ต้องตามบัญญัติสิกขาบทจนหมดสิ้น
    ศาสนาใดถ้าพระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทมาก การได้มรรคผลก็น้อย
    ถ้าสิกขาบทบัญญัติน้อย มรรคผลก็ได้กันมาก
    ในศาสนาพระสมณโคดมนี้ ภาคดำเขาสอดละเอียดเข้ามาให้บัญญัติสิกขาบทจนพระสาวกพลิกตัวแทบจะไม่ไหว

    แล้วเขาก็ตั้งกฎของเขาขึ้น ผู้ที่ประพฤติดีไม่เป็นอาบัติ เป็นสาวกของพระสมณโคดม,

    ผู้ที่ประพฤติชั่วเป็นอาบัติ เป็นสาวกของเขาหมด

    เมื่อเขาเอาเข้าอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ต้องนิ่ง

    ครั้นจะพูดเรื่องเขาเข้า ก็จะเสียสัจที่ตั้งกติกาต่อกันไว้ว่าจะไม่พูดเรื่องของเขา
    ธรรมดาพระพุทธเจ้า (ฝ่ายขาว) เมื่อตรัสสิ่งใดไปแล้วก็จะไม่คืนคายสัจวาจา

    ครั้งจะต่อว่าเขา(ภาคดำ)
    เขาก็ว่าความไม่ซื่อสัตย์ คดโกง เป็นธรรมของเขา
    ซึ่งเขาก็จะต้องปฏิบัติตามธรรมดำของเขา


    ครั้นจะปะทะกันขึ้น ก็จะไม่มีเวลาโปรดสัตว์ เพราะจะต้องนิ่งอยู่แต่ในนิโรธสมาบัติ ไม่มีเวลาออก แล้วกำปั้นก็เล็กกว่าเขา เพราะบารมีของพระองค์ก็เพียง สี่ อสงไขยแสนมหากัปเท่านั้น ของเขาตั้งร้อยอสงไขย พันอสงไขย หรือกว่าพันอสงไขยก็มี ถึงจะปะทะกันขึ้นก็สู้เขาไม่ได้ กำลังบารมีของเขามากกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ก็เหมือนกับไทยเรากับประเทศนอก สมัยราชาธิปไตย เขตแดนก็มาก แต่กำปั้นเล็กกว่าเขา ก็ต้องปล่อยให้เป็นเขตแดนของผู้อื่น จะสร้างปืนขึ้นสักกระบอก เขาก็ถามเอาว่า “จะรบกับฉันหรือ ?” จะสร้างเรือขึ้นสักลำ เขาก็ถามว่า “จะสร้างไว้รบกับฉันหรือ ?” ไทยก็ต้องทนเอา เพราะกำปั้นเล็กกว่าเขา น่าเจ็บใจน้อยไปเมื่อไหร่


    พระพุทธเจ้า (พระสมณโคดม) กับภาคดำก็แบบนั้น ถ้าใครไปรู้เรื่องจริงของเขาเข้าแล้ว น่าสงสารนัก ภาคดำเขาจะกลั่นแกล้งอย่างไรก็ต้องทนเอาแต่พอโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นไปได้เท่านั้น


    แม้แต่พูดว่ามารชนะพระเขายังไม่ชอบ ต้องพูดว่าพระชนะมาร เขาจึงจะทำการลงโทษสัตว์ได้สะดวก พระพุทธเจ้า (พระสมณโคดม) ก็ต้องทนเอา


    ต่อเมื่อพระชนมายุย่างเข้า ๘๐ ปี ก็เริ่มให้โอกาสแก่พระอานนท์
    (เพราะคิดจะเข้านิพพานทั้งเป็นเหมือนกัน) ว่า
    ตถาคตนั้น ถ้าอาศัยเจริญอิทธิบาททั้ง ๔ แล้ว จะให้มีอายุยืนถึงกัปหรือกว่ากัปก็ได้ แต่เพียรให้นิมิตโอกาสแก่พระอานนท์อยู่ถึง ๑๖ ตำบล ๆ ละสามครั้ง จะให้พระอานนท์ทูลอาราธนาให้ดำรงชีวิตอยู่อีกต่อไป ภาคดำเขาก็คอยดลใจพระอานนท์ไม่ให้นึกขึ้นได้ พอครบ ๑๖ ครั้ง เท่าโสฬสกิจ ก็หมดโอกาสที่จะให้โอกาสต่อไป พระยามารก็เข้ามาเตือนให้นิพพานตามสัญญา
    นั่นถ้าพระอานนท์ทูลอาราธนาไว้ได้ ภาคมารก็หมดโอกาส
    ทีนี้พระองค์ก็จะได้เดินสมาบัติเชื่อมพระกายหมดทุกกายจนนับอสงไขยไม่ถ้วนให้ติดกันเป็นกายเดียว ใสเป็นแก้ว เข้านิพพานทั้งเป็นได้แล้วจะไปกลัวอะไร แต่ต้องดับขันธ์นิพพานอย่างนั้น....ถ้าเข้านิพพานได้ทั้งเป็นก็เลิศเท่านั้นฯ.
    ----------------------------------------

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015
  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    อกุศลสูตร



    ว่าด้วยเหตุให้ตกนรกและขึ้นสวรรค์


    [๕๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
    ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ฉะนั้นธรรม ๓ ประการ คือ
    อะไรบ้าง ? คือ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล มโนกรรมเป็น
    อกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลายย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ฉะนั้น.


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมอุบัติ
    ในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง ?
    คือ กายกรรมเป็นกุศล วจีกรรมเป็นกุศล มโนกรรมเป็นกุศล บุคคลประกอบ
    ด้วยธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขา
    เชิญตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น.



    จบอกุศลสูตรที่ ๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2015
  15. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  16. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <CENTER>ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์</CENTER>






    </PRE>
    .....................................................................



    พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาค
    ทรงทำนิมิตอันหยาบ กระทำโอภาสอันหยาบอยู่
    ท่านไม่ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค
    ว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่
    ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์
    สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ทูล
    อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระ-
    *สุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
    เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่าน
    ทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๗๔๙๒ - ๗๕๓๕. หน้าที่ ๓๑๐ - ๓๑๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=7492&Z=7535&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2015
  17. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    โอวาทของท่าน

    พระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)

    เรื่อง

    เป็นธรรมกายแล้ว อย่าเป็นธรรมโกย, ธรรมเก, ธรรมโกง
    (เมื่อหลวงพ่อชั้ว ได้แนะนำวิธีการเจริญภาวนา เข้าดูนิพพานด้วยธรรมกายแล้ว
    ก็ได้ให้โอวาทต่อไปอีกว่า)

    เมื่อพบเห็นพระพุทธเจ้าหมดแล้ว จะเข้าไปถวายนมัสการท่านได้
    และจะทูลถามท่านได้ ติดขัดเรื่องอะไร ทูลถามท่านจะบอกหมด

    แต่ว่า ถ้าจะทูลถามพระพุทธเจ้า ต้องนิ่งให้สนิทนะ
    ถ้านิ่งไม่สนิทหละ ไม่ได้ยินเสียงท่าน
    จะเห็นแต่พระโอษฐ์ท่านงาบ ๆ อยู่เท่านั้น เพราะเรานิ่งไม่พอ
    ถ้าเรานิ่งพอหละ พระสุรเสียงดังก้องอย่างฟ้าเชียว ไพเราะ

    การที่จะดูอย่างนี้ละ ต้องดูเฉพาะตัวนะื และอย่าไปดูให้ใคร
    เมื่อได้ธรรมกายแล้ว จะแก้โรคภัยไข้เจ็บได้ทุกอย่าง
    แต่ถ้าเราไม่แก้ได้ละก็ดี หรือเราไม่ดูให้ใครได้ละก็ดี เราไม่ให้เขารู้ว่าเรารู้ได้ละก็ดี


    ถ้าว่าให้เขารู้ละก็ หนักเข้าก็มีคนมาหา
    เมื่อมีคนมาหาเข้าละก็ ทีหลังเราแก้ไข เขาก็จะให้ลาภสักการะ
    นี่มันจะกลายเป็นหมอดูไป เมื่อกลายเป็นหมอดูละหนักเข้า
    เขาก็ให้ลาภสักการะ ได้เงินได้ทอง เกิดโลภขึ้น
    เมื่อเกิดโลภขึ้นแล้วก็กลายเป็น ธรรมโกย หละ

    ทีหลังเวลาเขาจะมาหา ก็จะคิดเอาเงินเอาทองเขา เมื่อเกิดโลภขึ้นเช่นนั้น
    ธรรมกายนี่เป็นของบริสุทธิ์ หนักเข้าก็มืดไปเสีย ไม่งั้นก็ดับสูญหายไปเสีย


    บางที เมื่อทำสิ่งใด เมื่อสติมันเกิดเป็น ธรรมเก ขึ้น
    เมื่อเป็นธรรมเกขึ้นแล้ว ทีนี้มันก็จะต้องเกิดเป็น ธรรมโกง
    หนักเข้าก็จะต้องหลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เมื่อดับมืดเสียแล้ว
    นี่เป็นแต่ครั้งพุทธกาลมาแล้วที่เป็นธรรมกาย ธรรมเก ธรรมโกง

    ธรรมโกงนี่น่ะ พระเทวทัตน่ะ นั่งธรรมกายดีกว่าเดี๋ยวนี้มากมาย
    ถึงกับเหาะไปในอากาศได้ แต่ทีนี้ไปติดลาภเข้า
    พอพระเจ้าอชาตศัตรูบำรุงบำเรอด้วยภัตตาหารบริบูรณ์ ก็เกิดเป็นธรรมโกงขึ้น

    ธรรมกายเป็นของบริสุทธิ์ นี่คิดจะฆ่าพระพุทธเจ้า จะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง
    ธรรมกายก็ดับไป เมื่อดับแล้วก็เกิดเป็นธรรมเกขึ้น

    ทีนี้พระเจ้าอชาตศัตรูก็ำไม่เล่นด้วย
    เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูไม่เล่นด้วย ก็เสื่อมจากลาภสักการะ เกิดเป็นธรรมโกง
    ไปขอวัตถุ ๕ ประการต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ให้
    ก็เกิดทำสังฆเภทขึ้น ก็ไปอยู่ในอเวจีนรกกันเท่านั้น

    (จากหนังสือ ทางมรรคผลนิพพาน: ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย
    จัดพิมพ์โดย โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พ.ศ. ๒๕๒๕)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  19. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    อัฐิธาตุของหลวงพ่อชั้ว โอภาโส กลายเป็น"พระธาตุ"



    เจริญธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2015
  20. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>







    <CENTER class=n>พระอภิธรรมปิฎก</CENTER><CENTER class=n>เล่ม ๑</CENTER><CENTER class=n>ธรรมสังคณีปกรณ์</CENTER><CENTER class=n>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น</CENTER><CENTER>มาติกา</CENTER><CENTER>ติกมาติกา ๒๒ ติกะ</CENTER>

    [๑]
    <CENTER>๑. กุสลติกะ</CENTER>กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล


    อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล


    อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต



    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๑ - ๑๐๓. หน้าที่ ๑ - ๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=0&Z=103&pagebreak=0










    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...