บัญญัติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 30 กรกฎาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ความหมายของ บัญญัติธรรม
    บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นายมี นางมา สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ วันจันทร์ วันอังคาร เดือน ๘ เดือน ๑๐ ปีชวด ปีฉลู เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น. พลเอก อธิบดี รัฐมนตรี เหรียญ ๕๐ สตางค์ ธนบัตร ๑๐๐ บาท ระยะทาง ๑ กิโลเมตร น้าหนัก ๑ กิโลกรัม เนื้อที่ ๑ ไร่ ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม
    แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หนังสือ ปากกา นาฬิกา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ แก้วน้า ช้อน ชาม พัดลม วิทยุ เกวียน เรือ รถยนต์ คน และสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ก็จัดเป็นบัญญัติธรรม เช่นกัน
    ปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่อยู่เหนือสมมุติบัญญัติ
    หากไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกนี้ ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ มีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นเช่นกัน แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้า พื้นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ ก็เป็นเพียงธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมาย ปราศจากชื่อ คือเป็นแต่เพียงสภาวะที่เกิดจากการประชุมกันของมหาภูตรูปทั้ง ๔๔ อันเป็นรูปธรรม(รูป) ที่ปราศจากนามธรรม(จิต+เจตสิก) ซึ่งเป็นสภาวะปรมัตถ์(ปรมัตถธรรม) ที่พ้นจากสมมุติบัญญัติโดยสิ้นเชิง
    ส่วนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้ว ถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มี นายมี ไม่มี นางมา มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต+เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น
    ดังนั้น ไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นซึ่งรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมหรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้นคือ
    ๑. จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
    ๒. เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ
    ๓. รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย
    จะเห็นได้ว่า คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น มีส่วนประกอบเหมือนกันคือ
    เราก็มี จิต เจตสิก รูป
    เขาก็มี จิต เจตสิก รูป
    สัตว์ทั้งหลายก็มี จิต เจตสิก รูป
    จะมีความแตกต่างกันก็ตรงที่รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ ซึ่งถูกจาแนกให้ แตกต่างกันด้วยอานาจของกรรมที่กระทาไว้ในอดีต
    จิต+เจตสิก และรูป มีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการคือ
    ๑. อนิจจลักษณะ คือมีลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา
    ๒. ทุกขลักษณะ คือมีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา
    ๓. อนัตตลักษณะ คือมีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
    สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ เรียกว่า ไตรลักษณ์
    โดยสรุปแล้ว จิต+เจตสิก และรูป ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคลหรือเป็น สัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีแก่นสารอะไรเลย เป็นเพียงการ ประชุมกันของส่วนประกอบที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ เกิดดับสืบต่อกันอย่าง รวดเร็ว (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเกิดดับแสนโกฏิขณะ หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง) เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นนั่นเป็นนี่ตามที่สมมุติกันขึ้นมา แต่เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ขึ้นกับเหตุ ขึ้นกับปัจจัย พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็
    ตาม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ก็คงมีอยู่ตามธรรมชาติ พระพุทธองค์เป็นแต่เพียงผู้ทรงค้นพบ และนามาเปิดเผยให้เราทั้งหลายได้ทราบเท่านั้น
    (หากต้องการทราบเนื้อหาอันลึกซึ้งของปรมัตถธรรมทั้ง ๔ ก็ต้องศึกษา พระอภิธรรมโดยละเอียดต่อไป)
    ประวัติพระอภิธรรม
    ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรง พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะในพระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรมอันเป็นที่มาของคัมภีร์ปัฏฐานอยู่นั้น ก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก แผ่ออกจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์
    ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่ จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธา อันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่ กาลก่อน แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อใน
    พระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคาสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะ เกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี
    ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็น ครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจาพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณ ของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจานวนหลายแสนโกฏิ มาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม แก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดาร ตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม
    สาหรับในโลกมนุษย์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์ แรก คือในระหว่างที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์ แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทน์ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ใกล้กับสระ อโนดาตเพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรง
    สรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน (พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรด้วย สังเขปนัย คือ แสดงอย่างย่นย่อ) เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรงกระทาเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน เมื่อการแสดงพระอภิธรรมบนเทวโลก จบสมบูรณ์แล้วการแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฏิได้บรรลุธรรม และสันดุสิตเทพบุตร(พุทธมารดา)ได้สาเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล
    เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นามาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระ อภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย
    ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัย ศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาว อาศัยอยู่ในถ้าแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัย อยู่ในถ้านั้นเช่นกัน กาลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรมก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรม เท่านั้นหาได้รู้ความหมายใดๆ ไม่ แต่ก็พากันตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้น จากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจาก เทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็น
    ภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียน พระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมาการสาธยาย ท่องจาและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง
    ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ หลังจากถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ๖ ฉฬภิญญะ๗ และเตวิชชะ๘ ได้ช่วยกันทา สังคายนาพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระ อภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สาคัญมากของพระพุทธศาสนา การทา สังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก
     

แชร์หน้านี้

Loading...