บัญชีชีวิต เรื่องย่อ พระอาจารย์ ชาญชัย อธิปณุโญ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 16 ตุลาคม 2014.

แท็ก: แก้ไข
  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    บัญชีชีวิต เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

    คนเราเกิดมามีชีวิตติดตัวมาด้วย

    อาจเรียกได้ว่า บัญชีชีวิต มีอยู่ 2 ประเภท คือบัญชีทางโลกและบัญชีทางธรรม

    บัญชีทางโลก ได้แก่ ทรัพย์สมบัติ อาหารการกิน สิ่งของและเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีให้เราและที่เราหามาด้วยตนเองเพื่อใช้ยังชีพและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่เพียงแต่ทรัพย์ดังกล่าวเท่านั้น แม้ร่างกายของเราก็จัดอยู่ในบัญชีทางโลกด้วย

    เมื่อพูดถึงบัญชี ทำให้นึกถึงกำไร-ขาดทุนและรายรับ-รายจ่ายอันเป็นสาระสำคัญของการทำบัญชี ในบัญชีทางโลกนั้น ทุกคนต่างก็มีกำไรด้วยกันทั้งสิ้น เพราะเกิดมาตัวเปล่า ไม่ได้มีทรัพย์สิ่งของใดๆติดตัวมาด้วย นอกจากอวัยวะที่เป็นโครงสร้างของร่างกายเท่านั้น วันแรกที่เกิดมาก็ได้น้ำดื่ม ได้นมจากอกมารดา ได้สิ่งของที่แม่พ่อหรือผู้เกี่ยวข้องมอบให้ เช่น เสื้อผ้า รวมถึงของใช้สำหรับเด็กทารกจากนั้นก็ได้ทรัพย์สิ่งของอื่นๆ เรื่อยมาตามลำดับ ครั้นเติบโตประกอบอาชีพได้ก็หาเงินมาซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคเลี้ยงชีวิตตามความต้องการ

    รายรับรายจ่ายเป็นของคู่กัน บางคนมีรายได้มาก บางคนมีรายได้น้อย หากมีรายได้มากและใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ก็จะมีเงินเก็บ บางมีมีทรัพย์สินมากมาย ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย มีหน้ามีตาในสังคม ด้วยเหตุนี้การมีทรัพย์จึงเป็นแรงจูงใจให้คนขวนขวายหาเงินกันอย่างไม่รู้จักพอเพียง บางครั้งทรัพย์ที่หามาได้อาจจะนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่คนบางคนกลับไม่สนใจต่อผลดังกล่าว

    บางคนใช้จ่ายมากกว่ารายได้จึงต้องกู้หนี้ยืมสิน บ้างก็มีหนี้สินมากมายชนิดที่เป็นหนี้ไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าบุคคลจะเป็นหนี้ในบัญชีทางโลกมากเท่าใด เมื่อตายไป หนี้ดังกล่าวก็ยุติลง ไม่มีเจ้าหนี้รายใดตามไปทวงหนี้คนที่ตายไปแล้ว เพราะไม่รู้ว่าจะตามไปทวงที่ไหน การเป็นหนี้ในบัญชีทางโลกจึงเป็นหนี้ระยะสั้น เช่นเดียวกับการเป็นเศรษฐีหรืออภิมหาเศรษฐีในบัญชีทางโลกก็เป็นกันในระยะสั้น เพราะเมื่อตายไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี ยาจกเข็ญใจ แม้คนที่ล้มละลายก็มีสภาพไม่ต่างกัน คือเอาอะไรไปไม่ได้เลย ทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน

    ในบัญชีทางโลกนั้น ทุกคนที่เกิดมาใช้ชีวิตอยู่ในโลก ต่างก็ได้กำไรด้วยกันทั้งสิ้น เพราะมากันตัวเปล่า ได้มาใช้มาอาศัยสมบัติวัตถุของโลกเพื่อการเลี้ยงดูชีวิต อาศัยอาหารซึ่งผลิตจากน้ำ อากาศ แสงแดด เพื่อการดำรงชีวิต อาศัยอาหารซึ่งผลิตจากน้ำ อากาศ แสงแดด พื้นดินของโลก ไม่ว่าจะเป็นพืชผลหรือปศุสัตว์เพื่อการยังชีพ อาศัยทรัพยากรธรรมชาติของโลกมาแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์นานาชนิดเพื่ออำนวยความสะดวกต่อความเป็นอยู่ ตลอดจนการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต ครั้นตายไปก็ต้องคืนสิ่งที่ครอบครองอยู่ รวมทั้งร่างกายของตนไว้กับโลก การได้มาซึ่งสมบัติวัตถุและการมีชีวิตอยู่ล้วนเป็นของชั่วคราว บัญชีทางโลกจึงเป็นบัญชีระยะสั้น

     

    บัญชีทางธรรม ได้แก่ บัญชีดี-ชั่ว หรือบุญ-บาป ที่แต่ละคนสร้างกันขึ้นมา เมื่อทุกคนเกิดมา บัญชีนี้ก็ติดตามมากับจิตด้วย บางคนมีต้นทุนที่เป็นบุญกุศลติดมามากกว่าบาปอกุศล คนประเภทนี้เกิดมาก็มีแต้มต่อของชีวิต แต่บางคนเกิดมามีต้นทุนของบุญกุศลต่ำ มีบาปอกุศลมาก คนประเภทนี้ต้องพบกับความยากแค้นลำเค็ญในชีวิต

    แม้ว่าต้นบัญชีทางธรรมของแต่ละคนที่ติดตัวมาเกิดจะสูง-ต่ำแตกต่างกัน ทุกคนก็สามารถเปลี่ยนแปลงบัญชีดังกล่าว บางคนเกิดมามีต้นทุนสูง หากใช้โอกาสนั้นพัฒนาตนเองก็จะไปได้สูงยิ่งขึ้น (มาสว่างไปสว่าง) หากไม่พัฒนาตนเอง แต่กลับสร้างวิกฤติให้ชีวิต ก็จะตกต่ำลง (มาสว่างไปมืด) บางคนเกิดมาต้นทุนต่ำ ชีวิตมากด้วยปัญหา หากไม่รู้จักพัฒนาตนเอง กลับสร้างวิกฤติให้ชีวิตยิ่งขึ้น ก็จะยิ่งตกต่ำลงไปอีก (มามืดไปมืด) ตรงข้าม บางคนจะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้สูงขึ้นได้ (มามืดไปสว่าง)

    พื้นฐานจิตของแต่ละคนล้วนมาจากบัญชีทางธรรมที่ตนเป็นผู้สร้างไว้ทั้งสิ้น

    กำไร-ขาดทุนในบัญชีทางธรรมหมายถึงอะไร

    กำไรก็คือบุญ ขาดทุนก็คือบาป

    รายรับ-รายจ่ายในบัญชีทางธรรมมาจากไหน

    รายรับมาจากประสาทสัมผัส อันมีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ในแต่ละวันเรามีรายรับหรือมีสิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบทางประสาทสัมผัสทางกาย บางเรื่องก็น่ายินดี นำความสุขมาให้ บางเรื่องก็ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม เราก็ต้องรับรู้สิ่งต่างๆที่มากระทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจทั้งสิ้น

    ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อมีรายรับเข้ามาทางประสาทสัมผัสแล้ว จะจ่ายไปอย่างไรจึงจะไม่ขาดทุน

    รายจ่ายในบัญชีทางธรรมหมายถึงอะไร

    หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกทางกาย วาจา ใจ หากการแสดงออกเป็นความดีหรือเป็นกุศลได้แก่ การกระทำที่อยู่ในครรลองคลองธรรม ยังประโยชน์เกื้อกูลทั้งต่อตนเองและผู้อื่น นั่นหมายถึงว่าเราได้สร้างบุญหรือทำกำไรให้เกิดขึ้นแล้ว แต่หากการกระทำใดที่ผิดครรลองคลองธรรม เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เท่ากับว่าเราได้สร้างบาปหรือทำให้ขาดทุนในบัญชีธรรมเช่นกัน

    เมื่อเป็นเช่นนี้การควบคุมรายจ่ายในบัญชีทางธรรมจึงมีความสำคัญมาก เพราะเราไม่สามารถนำกำไร-ขาดทุนในบัญชีทางธรรมมาหักล้างกัน บุญก็อยู่ส่วนบุญ บาปก็อยู่ส่วนบาป จะส่งผลให้เรามีความทุกข์ มีปัญหาอุปสรรคต่างๆ และนำพาชีวิตให้ต่ำลง หลักการนี้ต่างกับบัญชีทางโลก ซึ่งเอากำไร-ขาดทุนมาหักลบกันได้

    บัญชีทางธรรมเป็นบัญชีระยะยาวของชีวิต เพราะเป็นบัญชีที่ติดอยู่ในจิต แม้เราจะตายไป หากยังไม่หมดกิเลสก็ต้องไปเกิดอีก บุญ-บาปก็จะติดตามไปยังชาติหน้า ต่างกับบัญชีทางโลก ซึ่งเป็นบัญชีระยะสั้น จบกันเพียงชาตินี้เท่านั้น

    เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ เราจึงควรให้ความสนใจกับบัญชีทางธรรมให้มาก แทนที่จะทุ่มเทความรู้ ความสามารถ ศักยภาพ และเวลาในชีวิตให้บัญชีทางโลก จะมีประโยชน์อันใดหากชาตินี้ได้รับความสำเร็จในทางโลกสูง เป็นต้นว่าเป็นเศรษฐี มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง แต่ไม่มีความสุขในชีวิต ครั้นตายไปกลับไปเกิดในอบายภูมิ ( นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) เพราไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาบัญชีทางธรรม การเกิดมาในชาตินี้จึงเป็นการทำลายชีวิตในภพหน้าให้ย่อยยับอัปรา

    ผู้มีปัญญาย่อมรู้วิธีที่จะบริหารบัญชีทั้งสองประเภทนี้ให้มีกำไร โดยที่บัญชีทางโลกก็ให้มีความสำเร็จ มีชีวิตอยู่อย่างไม่ลำบากขัดสน ใช้ทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีสันติสุข ขณะเดียวกันก็พัฒนาคุณธรรมของตนให้สูงขึ้นไป

    บัญชีทางธรรมก็จะนำพาชีวิตไปสู่จุดหมายสูงสุดคือความพ้นทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง
     

แชร์หน้านี้

Loading...