บทสวดมนต์ ของคนหูหนวก

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย อดุลย์ เมธีกุล, 13 มีนาคม 2008.

  1. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    บทสวดมนต์ของคนหูนวก


    "สวดมนต์ ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม" กิจกรรมทางพุทธศาสนา ๓ อย่างนี้อาจจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่มีอาการครบ ๓๒ หรือ คนที่มีหูดีตาดี
    แต่สำหรับ คนหูหนวกตาบอด แล้ว การสวดมนต์ฟังธรรมะอาจจะเป็นเรื่องอยากยิ่งกว่า
    มีคนจำนวนไม่น้อยมักเข้าใจว่า เมื่อหูไม่ได้ยินหรือตาไม่ได้เห็นจะเกิดทุกข์ได้อย่างไร ความคิดนี้อาจจะถูกสำหรับคนหูดีตาดี แต่อาจจะผิดสำหรับคนที่ไม่ได้ยินและไม่ได้เห็น
    เมื่อไม่ได้ยินหรือไม่ได้เห็น เป็นได้ทั้งสุขและทุกข์ สุข คือไม่ต้องได้ยินและได้เห็น เรื่องที่เลวร้ายและ สิ่งที่ไม่อยากรู้ ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ไม่ได้ยินและไม่ได้เห็นก็ย้อนกลับมา เป็นความทุกข์ได้เช่นกัน คือ ทุกข์ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
    การเข้าถึงธรรมะของผู้พิการทางหูและทางตา มีพื้นฐานเดียวกัน คือ ได้ยินแต่ไม่ได้เห็น หรือได้เห็นแต่ไม่ได้ยิน แม้ว่าผู้ที่พิการทางหูอาจจะศึกษาธรรมะได้จากการอ่าน แต่ก็ยากที่จะเข้าใจเพราะไม่มีใครอธิบายให้เข้าใจได้ ขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้ยินก็รับรู้ธรรมะจากการฟังอย่างเดียว คนที่พิการทั้ง ๒ กลุ่มนี้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องพึ่งคนอื่น ในการเข้าถึงธรรมะ ปัญหามันจึงอยู่ที่ว่า
    จะมีใครสละเวลาที่จะถ่ายทอดธรรมะเพื่อให้เขาหลุดพ้นจากทุกข์ได้
    ด้วยเหตุนี้เองทำให้ศาสนาอื่น ซึ่งมีความพร้อมเรื่องเงินทุนในการจ้างล่ามภาษามือ สามารถดึงให้ไปนับถือศาสนาของตน ในขณะที่องค์กรพุทธศาสนาของไทยไม่ให้ความสำคัญตรงจุดนี้เลย เพราะไม่คิดว่าคนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ประเทศ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะไปนับถือศาสนาอื่นๆ
    ธัมมนันทา ภิกษุณี เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี บอกว่า ปัจจุบันนี้การเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้พิการทางหูและตานั้น ยังถือว่าน้อยมาก ในขณะที่วิธีการเผยแผ่ธรรมะให้กลุ่มคนทั้ง ๒ กลุ่มนี้มีความยากยิ่งกว่าการเผยแผ่ธรรมะให้กับคนปกติทั่วไป การเผยแผ่ธรรมะผ่านล่ามเพื่อแปลเป็นภาษาพูดอื่นๆ ว่ายากแล้ว การเผยแผ่ธรรมะด้วยล่ามภาษามือยากยิ่งกว่าหลายเท่า เพราะภาษามือมิอาจอธิบายธรรมะในระดับลึกซึ้งได้ ต้องใช้ภาษาง่ายๆ โดยการเล่าในรูปแบบนิทานชาดก หรือเรื่องเล่าเปรียบเทียบอื่นๆ ที่เข้าใจได้ง่าย เมื่อแสดงธรรมะจบจะมีการตั้งคำถามมากกว่าคนปกติทั่วไปที่พูดได้
    ทุกข์ของผู้พิการทางหูนั้น เริ่มต้นจากการไม่สามารถสื่อสารกับคนทั่วๆ ไปได้ จึงถูกกดขี่มาตั้งแต่ในบ้าน พี่น้องจะรังแกในขณะที่พ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ มักจะถูกกักขังไว้ภายในบ้าน ครอบครัวไม่ได้พาออกไปสัมผัสโลก ภายนอก เพราะเกรงว่าจะไปสร้างปัญหาอื่นๆ ตามมา
    ส่วนเรื่องการทำวัตรสวดมนต์ทั้งเช้าและเย็นนั้น เป็นเรื่องน่ายินดีมากที่ ดร.จิตประภา ศรีอ่อน ผู้อำนวยการวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้คิดบทสวดมนต์ภาษามือพร้อมกับคำอธิบายขึ้นมา
    ธัมมนันทา บอกด้วยว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีความทุกข์ทางใจเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ทางออกที่ดีที่สุดคือปรึกษาเพื่อน ซึ่งมีความรู้ทางพุทธศาสนาน้อยมาก ถ้าเจอเพื่อนดีก็โชคดีไป แต่ถ้าเจอเพื่อนร้ายก็เป็นกรรมซ้ำซ้อน และที่ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี มากสำหรับวิทยาลัยราชสุดา ที่นำนักศึกษาเข้ามาวัดเพื่อฟังธรรมะและฝึกปฏิบัติธรรม
    อาจารย์เจนจิรา เทศทิม หัวหน้าส่งเสริมการวิจัยประจำวิทยาลัยราชสุดา บอกว่า ในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้คนไทย ยังมีความเชื่อว่า ความพิการเป็นกรรมอย่างหนึ่งที่เกิดจากอดีตชาติ แต่ลืมคิดไปว่าการไม่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้โลก ภายนอกและศาสนาเป็นกรรมยิ่งกว่า เขามีทุกข์เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป แต่เขาไม่รู้หนทางการดับทุกข์ บางครั้งอาจจะถูกชักจูงไปในทางที่ผิดๆ ยิ่งเป็นการเพิ่มทุกข์
    เพื่อให้นักศึกษาของวิทยาลัยราชสุดา ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาที่พิการด้านต่างๆ ไดเข้าถึงธรรมะมากขึ้น ทางวิทยาลัย จึงนิมนต์พระ ไปเทศน์ทุกๆ เดือน โดยจะมีล่ามที่คอยแปลเป็นภาษามือให้ การนำนักศึกษามาฝึกปฏิบัติธรรม ณ วัตรทรงธรรมกัลยาณีในครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ ๒ หลังจากครบกำหนดของการฝึกปฏิบัติธรรมจาก ที่มีการประเมินผลความรู้เรื่อง ธรรมะที่ได้ ที่ผานมานั้นถือว่าประสบความสำเร็จมาก
    น.ส.โชติมณี คชประดิษฐ์ อายุ ๒๑ ปี นักศึกษาของวิทยาลัยราชสุดา กล่าวภายหลังการเข้าฝึกปฏิบัติธรรมเป็นภาษามือ ผ่านล่ามว่า เกิดที่กรุงเทพฯ แต่แม่พาไปเลี้ยงที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แม่มักจะพาไปวัดเป็นประจำ แต่ไม่รู้ว่าพระเทศน์ สอนอะไรบ้าง สวดมนต์ทำไม เพราะไม่มีล่ามแปลเป็นภาษามือ รู้เพียงว่าพระคือใคร เจอพระก็ต้องยกมือไหว้เท่านั้น แต่เมื่อได้เรียนในโรงเรียนโสตทัศน์ศึกษาทำให้มีความรู้เรื่องธรรมะมากขึ้น
    ทุกข์อย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ คือ อยากรู้ อยากเข้าใจ อยากเรียน ในสิ่งที่มองเห็นแต่กลับไม่มีใครอธิบายให้เข้าใจได้ แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่แม่มีความรู้เรื่องภาษามือคอยช่วยอธิบายให้ฟัง และยิ่งได้มาปฏิบัติธรรมฟังเทศน์ ทำให้เข้าใจโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการมีสติ
    อย่างไรก็ตาม "คม ชัด ลึก" ได้ให้ น.ส.โชติมณี แสดงภาษามือ ว่าศีล ๕ มีอะไรบ้าง ซึ่งเธอแสดงให้เห็นครบทั้ง ๕ ข้อ เป็นที่น่าประทับใจมาก
    [​IMG]




    ที่มา - คม ชัด ลึก 1/ มิ.ย./2547
     

แชร์หน้านี้

Loading...