บทวิเคราะห์บทสวดมนต์มหาจักรพรรดิ

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 23 เมษายน 2022.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=91b3c26cd6d8c8a0cfd1b7b0b41763a8.jpg


    (บทวิเคราะห์บทสวดมนต์มหาจักรพรรดิ)


    (คำอัญเชิญภพภูมิ)
    การใช้คำอัญเชิญภพภูมิ ผลและกำลังบุญที่ได้จะมากมายกว่าสวดคนเดียวมาก และเช่นเดียวกัน หากสวดมนต์บทพระมหาจักรพรรดิเวลา 20.30 น. กำลังที่ได้ก็มากกว่าสวดเวลาอื่นมากมายนัก ด้วยสาเหตุคือ
    1. เป็นการทำสมาธิหมู่ สวดมนต์หมู่ทั้ง 3 โลก กำลังย่อมมีมากกว่า
    2. เป็นช่วงเวลาที่หลวงปู่ท่านเปิดโลกให้ภพภูมิมองเห็นกันทั้ง 3 โลก พลานิสงส์ การขอ การให้ การช่วยเหลือจึงเกิดขึ้นได้โดยง่าย และมหาศาลกว่ามาก
    ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐานกราบขออาราธนาเมตตาบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ขอหลวงปู่ได้โปรดมีเมตตา อาราธนาบารมีรวม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยตั้งแต่องค์ปฐมจนถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิทุกๆพระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรม และพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต บารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ท่านอันเป็นที่สุด บารมีรวมหลวงตาม้าเป็นต้น
    การอ้างอิงบารมีของพระพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวเพื่ออัญเชิญภพภูมิ จะมีผลมากกว่าเรากล่าวเชิญเองลอย ๆ ด้วยเหตุที่บางภพภูมิก็อยากจะมาแต่มาไม่ได้ เพราะด้วยข้อจำกัดแห่งบุญของแต่ละภพภูมิ คือชั้นที่จะไปไหนมาไหนได้เองไกล ๆ จะต้องสูงกว่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นไป การกล่าวอ้างพระบารมีของพระพุทธองค์เป็นประธาน บารมีรวมของพระโพธิสัตว์เป็นที่สุด พระโพธิสัตว์ท่านจะกำหนดเป็นทางแสงทำให้ภพภูมิต่าง ๆตามแสงนั้นมาร่วมสวดมนต์ได้
    ขอบารมีหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำ ภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ อันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้นพรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดย ทั่วทั้งหมื่นแสนโกฎิจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต ท่านปู่พระอินทร์เจ้าฟ้า ท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมด้วยบริวารทั้งหมด พระศรีสยามเทวาธิราชทุกๆพระองค์ วีรบุรุษและวีรสตรีทั้งหลาย ที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย พระฤาษีและดาบสทั้งหลาย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆจังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระโพสพ แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ พญาครุฑ-พญานาคพร้อมด้วยบริวาร คนธรรพ์ ชาวเมืองลับแล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ ขอหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลายมาร่วมสวดบทพระมหาจักรพรรดิ พร้อมกันกับพวกข้าพเจ้า เพื่อเพิ่มกำลัง ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด
    คำอัญเชิญนี้เป็นแบบยาวที่คิดว่ามีประโยชน์ เพราะท่านที่ลองฝึกใหม่ ๆอาจจะยังไม่คล่องในการกำหนดจิต จึงใส่คำอัญเชิญแบบคลุมที่สุดให้ จะตัดทอนหรือเพิ่มได้ตามใจชอบ รักใครชอบใคร นับถือใครพิเศษก็กล่าวเพิ่มได้ หรือจะย่อ ๆว่า “ ขอเชิญภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ มาร่วมสวดมนต์พร้อมกันเพื่อเพิ่มกำลัง” ก็ก็ได
    (บทบูชาพระ)
    พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
    ข้าพเจ้า ขอบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิต
    ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
    ข้าพเจ้า ขอบูชาพระธรรมเจ้า ด้วยชีวิต
    สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
    ข้าพเจ้า ขอบูชาพระสงฆ์เจ้า ด้วยชีวิต
    เป็นบทกล่าวถึงการมอบกายถวายชีวิต เพื่อพระรัตนตรัยแล้วแม้ชีวิตก็มอบให้ได้ พลานิสงส์บทนี้จึงมากมายนัก เรียกว่าทำดี ๆ ปิดทางนรกได้เว้นแต่กระทำอานันตนิรยะกรรม 4 ประการเท่านั้น เป็นบาทฐานของการเข้าถึงพระไตรสรณะคมนั่นเอง
    กราบพระ ๖ ครั้ง
    พุทธัง วันทามิ(กราบ)
    ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระพุทธเจ้า
    ธัมมัง วันทามิ(กราบ)
    ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระธรรมเจ้า
    สังฆัง วันทามิ(กราบ)
    ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระสงฆ์เจ้า
    ครูอุปัชฌาย์อาจาริยคุณัง วันทามิ(กราบ) (ผู้หญิงว่า อาจาริยคุณัง วันทามิ)
    ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งครูอุปัชฌาย์อาจารย์
    มาตาปิตุคุณัง วันทามิ(กราบ)
    ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งบิดา มารดา
    พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ(กราบ)
    ข้าพเจ้า ขอไหว้ซึ่งพระไตรสิกขา
    การไหว้พระ ๖ ครั้งเป็นการแสดงความอ่อนน้อมแก่สรณะผู้ควรบูชา ๖ สรณะด้วยกัน แฝงไว้ด้วยกุศโลบายแห่งความอ่อนน้อมและความกตัญญูกตเวทีอันเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
    สำหรับในบทกราบพระไตรสิกขาบทนั้น เนื่องเพราะเป็นบทสรุปแห่งธรรมะทั้งปวงในพระพุทธศาสนา เป็นหนทางโดยย่อแต่ชัดเจนไม่อ้อมค้อม ทั้งยังเป็นปัจฉิมโอวาท แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย นั่นคือ "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
    (บทสมาทานศีล ๕)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)
    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมต้องกล่าวบทคำบูชาพระพุทธเจ้านี้ก่อนว่าคาถา(ที่โบราณเรียกตั้งนะโม ๓ จบ) หรือ นำหน้าบทสวดมนต์ต่าง ๆตลอดด้วย ที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดานี้ มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า " นะโม "หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง
    กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนา ที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดา ว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้าง ของอสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า “ ตัสสะ ”แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ
    เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมตอบปัญหา แก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวาร ท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า “ ภะคะวะโต ” แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
    อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญ ของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหา แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และ ทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า " อะระหะโต " แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง
    สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญ ของท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด
    รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น(3) ด้วยเหตุนี้โบราณท่านจึงว่า หากขึ้นต้นคาถาหรือบทสวดมนต์ใด ๆด้วยการตั้งนะโม ๓ จบ คาถานั้นจะมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักด้วย เพราะเป็นคำสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่มีเทพพรหมชั้นหัวหน้าได้กล่าวไว้ แรงครูหรือแรงแห่งเทพ-พรหม และแรงพระรัตนตรัยท่านจึงประสิทธิ์ให้สมประสงค์
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
    ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
    บทสมาทานพระไตรสรณะคมณ์ : บทนี่สำคัญมาก กล่าวด้วยกำลังใจที่เข้าถึงเต็มเปี่ยม ขอพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุด ไม่มีที่พึ่งที่ยึดถืออื่นใดสูงกว่า เป็นปัจจัยให้ปิดทางนรกภูมิได้ เว้นแต่ได้กระทำอานันตนิรยะกรรมมาก่อน บทนี้ควรทำความเข้าใจและให้เข้าถึงให้ได้ ด้วยเป็นเส้นทางเดินที่ตรงต่อพระนิพพาน ไม่หลงทาง ผู้เข้าถึงจะได้เกิดในบวรพุทธศ่าสนาอีกหากยังไม่เข้านิพพานฉันใด บทนี้คนกล่าวกันเป็นประจำแต่หาได้เข้าใจเข้าถึงอย่างลึกซึ้งไม่ จะสังเกตว่าด้วยไม่เข้าถึงจุดนี้กัน การถือมงคลตื่นข่าวจึงเกิดขึ้นได้ตลอดในสังคมไทย…..บทนี้นี่เองที่หลวงปู่ใช้ภาวนาทำสมาธิจนกระทั่งค้นพบวิชาภูติพระพุทธเจ้า หรือวิชาเปิดโลกที่มีผู้อื่นตั้งชื่อวิชาให้ในภายหลังนั่นเอง
    และเพื่อพลานิสงส์ยิ่งขึ้น และเป็นการตล่อมจิตให้ชินต่อการทรงคุณความดี หลวงปู่ดู่ท่านแนะนำให้มีการบวชจิตในขณะกล่าวการสมาทานพระไตรสรณะคมด้วย ดังนี้
    " ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น คำกล่าวว่า
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ให้นึกถึงว่าเรามีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัฌาย์ของเรา
    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ...
    ให้นึกว่าเรามีพระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ...
    ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช ชายก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุ หญิงก็ตั้งจิตเป็นพระภิกษุณี อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว "
    เมื่อจะออกจากสมาธิก็ให้อธิษฐานกลับมาเป็นฆราวาสเหมือนเดิม การสวดมนต์ภาวนาของเราจะมีผลมากครับ อีกประการความชินของจิตในการทรงกำลังความเป็นพระจะทำให้เราปฏิบัตธรรมได้โดยง่ายขึ้น
    (บบทอาราธนาศีล)
    1 ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า
    2 อทินนาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร
    3 อพรัมจริยา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในพรหมจรรย์
    4 มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ
    5 สุราเมรยะ มัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
    เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ(๓ ครั้ง)
    ข้าพเจ้าขอทรงไว้ซึ่งศีลทั้งห้าประการด้วยจิตตั้งมั่น
    สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา
    ศีลนำความสุขมาให้ ศีลนำมาซึ่งโภคทรัพย์
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย
    ศีลคือหนทางสู่พระนิพพาน
    บทอาราธนาศีล : เป็นกุศโลบายให้คนชินต่อการกล่าวศีล เพื่อการรักษาศีลอย่างแท้จริงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเกิดพลานิสงส์อย่างมาก เพราะถือว่าตลอดเวลาที่เราสวดมนต์อยู่นี่เรามีศีลบริสุทธิ์จนกว่าเราจะล่วงศีลด้วยความจำเป็นต่าง ๆเช่น ด้วยอาชีพ ในส่วน “อพรัมจริยา เวรมณี…” นั้นเพราะในช่วงที่สวดมนต์อยู่นั้น เราไม่ได้ถูกเนื้อต้องตัวกับเพศตรงข้ามอยู่แล้ว ท่านจึงในถือพรหมจรรย์เสีย เพื่อบุญที่มากกว่า แต่เมื่อเราสวดมนต์เสร็จแล้วหากต้องถูกเนื้อต้องตัวเพศตรงข้ามด้วยฆราวาสวิสัยก็ย่อมทำได้ ศีลจะเลื่อนมาที่กาเมสุมิจฉาฯแทน เรื่องศีลนี้ความจริงมีถึง 3 ขั้น ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงปรมัติเลยทีเดียว
    (บทอาราธนาพระ)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)
    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
    ข้าพเจ้าขออาราธนาซึ่ง พระพุทธเจ้า
    ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
    ข้าพเจ้าขออาราธนาซึ่ง พระธรรมเจ้า
    สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ
    ข้าพเจ้าขออาราธนาซึ่ง พระสงฆ์เจ้า
    บทอาราธนาพระรัตนตรัยนี้เป็นการอัญเชิญพระบารมีของพระรัตนตรัยมาสถิตอยู่ที่กายและมโนแห่งเราอยู่ทุกลมหลายใจเข้า-ออก อยู่ทุกขณะจิต ให้เราไม่ห่างจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อการเข้าถึงพระไตรสรณะคม เรื่องการเข้าถึงพระไตรสรณะคมนี่ถือว่าจำเป็นมาก เพราะปิดอบายได้ เราจะไม่ลงนรก ผู้เขียนเคยถามหลวงตาว่า แล้วชาติหน้าเราจะต้องทำใหม่ไหม หลวงตาท่านว่า ไม่ต้อง เข้าถึงชาตินี้แล้วอารมณ์เก่าจะมี จะเข้าถึงตลอดทุกชาติ ปิดอบายตลอดทุกชาติจนกว่าจะนิพพาน
    (คาถาหลวงปู่ทวด)
    น้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวด แล้วว่าคาถาดังนี้
    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้ (4)
    (คาถาหลวงปู่ดู่)
    น้อมระลึกถึงหลวงปู่ดู่ แล้วว่าคาถาดังนี้
    นะโม โพธิสัตโต พรหม ปัญโญ (๓ ครั้ง)
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพรหม ปัญโญ โพธิสัตว์
    หลวงตาม้าท่านเมตตาเล่าฟังว่า ถ้าจะศึกษาและปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงปู่ดู่ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในชื่อของท่านก่อน คือพระพรหมปัญโญมีความหลายเช่นไร
    โดยคำว่า “พรหมปัญโญ” มีความหมายถึง การเป็นผู้มีปัญญาเยี่ยงพระพรหม นั่นเอง ในการที่จะมีปัญญา เยี่ยงพระพรหม ได้นั้นต้องสร้างความเป็นพระพรหมให้เกิดขึ้นแก่เราก่อน โดยการปฏิบัติตามหลักของพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และพยายามทรงอารมณ์ตามหลักของพรหมวิหารให้ได้ก่อน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามแนวของหลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ
    (บบทขอขมาพระรัตนตรัย)
    โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
    การกระทำอันหลงผิดอันใด ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป
    โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
    การกระทำอันหลงผิดอันใด ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระธรรมเจ้า ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป
    โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
    การกระทำอันหลงผิดอันใด ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระสงฆ์เจ้า ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป
    บทนี้มีความสำคัญมาก ด้วยกรรมไม่ดีที่เกิดแก่พระรัตนตรัยนั้น เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการปฏิบัติธรรม ต้องหมั่นดูกริยาของตัวเองมิให้ก้าวล่วงต่อพระรัตนตรัยอยู่ตลอดเวลา และให้คอยหมั่นขอขมาทุกวัน เนื่องเพราะบางทีเราอาจเผอเรอล่วงเกินทั้งโดยเจตนา หรือไม่เจตนา ทั้งเล็กน้อยทั้งใหญ่หลวง กุศโลบายข้อนี้คล้ายคลึงกับการต่อศีลของพระ หรือการปลงอาบัติของพระ ทั้งนี้เพื่อให้กำลังใจ ให้รู้ตัว ให้นึกรู้ตัวตาม ให้เกิดสติอยู่ทุกขณะจิตนั่นเอง เพื่อในกาลต่อไปจะได้ระมัดระวังตัวไม่ทำผิดอีกนั่นเอง
    (บทสวดพระมหาจักรพรรดิ)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)
    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    * สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ ๖, จันทร์ ๑๕, อังคาร ๘, พุธ ๑๗, พฤหัส ๑๙, ศุกร์ ๒๑, เสาร์ ๑๐ *
    แต่เดิมนั้นสวดกัน 108 จบ แต่ต่อมาหลวงตาม้าท่านเมตตาต่อศิษย์ที่มาใหม่ ๆกลัวจะหมดกำลังใจ พาลเอาไม่ปฏิบัติกัน ท่านจึงให้สวดตามกำลังวันแทนหากใครใคร่สวดถึง 108 จบก็ขออนุโมทนาอย่างยิ่งมา ณ. โอกาสนี้ สาธุ…
    (คำแปลบทจักรพรรดิโดยหลวงตาม้า)
    นะโมพุทธายะ
    พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    พระพุทธไตรรัตนะญาณ
    สุดยอดของศีล สมาธิ ปัญญา (ผมฟังแล้ววิเคราะห์ว่า ที่หลวงตาท่านพูดว่าสุดยอดของศีล สมาธิ ปัญญา เพราะมีคำว่าพระพุทธคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนำหน้า)
    มณีนพรัตน์
    สมบัติจักรพรรดิ์7อย่าง
    (จักรแก้ว,ม้าแก้ว,ช้างแก้ว,นางแก้ว,ขุนคลังแก้ว,ขุนพลแก้ว)
    สีสะหัสสะสุธัมมา
    สีสะ
    แปลว่า ความคิด
    หัสสะ
    แปลว่า มือ ก็คือ การกระทำ
    สุธัมมา
    คือ การรู้ทั้ง ๓ โลกธาตุ
    รวมความคือ การคิดและลงมือทำ จนรู้ทั่วทั้ง ๓ โลก
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ยะธาพุทโมนะ
    พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต คือพระศรีอริยเมตไตรย
    พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    บูชาพระรัตนตรัย
    อัคคีธานัง วะรังคันธัง
    อันตรายทั้งหมดทั้งมวลไม่เกิด
    สีวลี จะ มหาเถรัง
    โชค ลาภ ธุรกิจการงาน คลอบคลุมทั้งหมด
    อะหังวันทามิ ทูระโต
    อะหังวันทามิธาตุโย
    อะหังวันทามิ สัพพะโส
    พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
    บูชาทั้งหมดทั้งมวลในพระพุทธศาสนา
    หลวงตาม้าท่านย้ำว่าถ้าจะแปลกันจริงๆเนี่ย แปลออกมาได้เป็นหนังสือเล่มใหญ่ๆเล่มหนึ่งก็อาจจะยังไม่หมดเลยครับ เพราะเยอะมาก บทนี้เป็นการสวดไหว้พระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพาน ตลอดจนถึงพระธรรมเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้า พระอริยะสงฆ์สาวกทั้งมวลไหว้พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพพรหมพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
    การสวดครั้งหนึ่ง เป็นการดึงกำลังของพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต รวมถึงกำลังของพระมหาโพธิสัตว์เจ้ามารวมกัน อาราธนาเข้าที่กายและใจและรวมกำลังของพระโพธิญานโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน และอนาคต
    การสวดครั้งหนึ่งมีอานิสงค์แผ่ไปทั่วจักรวาล สามแดนโลกธาตุสามารถแผ่บุญไปทั่วทุกสรรพสัตว์ตลอดจนเทวดาประจำตัวเรา ญาติมิตรเพื่อนฝูงครอบครัวเจ้ากรรมนายเวรและหากนำบทสวดนี้ไปสวดในนรกหรือแผ่ไปไฟนรกจะดับชั่วขณะ
    บทนี้เป็นการสร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัว รวมถึงการอาราธนาบารมีครูบาอาจารย์พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์อัญเชิญเข้าตัวเพื่อป้องกันภัยและสร้างมหาโชค-มหาลาภ
    อานิสงค์แก่ผู้สวดมีทั้งมหาบุญ-มหาลาภ เนื่องจากมีการกล่าวถึงพระสีวลี รวมถึงบทนี้มีพลังงานอย่างยิ่งในการเจริญพระกรรมฐาน หากนำไปสวดบริกรรมก่อนหรือระหว่างนั่งภาวนากรรมฐาน จะทำให้การภาวนามีพุทธานุภาพมาคลุม และคุมการปฏิบัติของเรา คลุมกายและจิตเราเป็นวิมานทิพย์(ครอบวิมานให้ตัวเองหรือสวดอธิษฐานครอบคนอื่นก็ได้)
    หากสวดบทนี้ สามารถอธิษฐานเรื่องราวใดๆมี่ติดข้องใจได้ให้ผ่านพ้นไปอย่างทะลุปรุโปร่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่าคาถาจักรพรรดินี้ จากการเรียบเรียงถ้อยคำโดยหลวงปู่ดู่ท่าน ก่อให้เกิด จักรพรรดิ กำลังจักรพรรดิขึ้นด้วยในบทสวด พระคาถาครอบจักรวาล(5)
    พระคาถามหาจักรพรรดิที่หลวงปู่ดู่แต่งขึ้นมานั้น นอกจากท่านจะได้ทำการอธิษฐานบารมีให้ผู้สวดได้รับพลังจากพระรัตนตรัย อย่างมหาศาลแล้ว ยังก่อให้เกิด "พุทธนิมิต" เป็นวิมานแก้วพระพุทธเจ้า มาครอบสถิตผู้สวดด้วย โดยมีลักษณะเป็นมณฑปแก้วจัตุรมุข ปรากฎฉัพพรรณรังสีหกประการ สว่างไสวพร้อมด้วยโพธิสัตตราวุธทั้ง 4 ประการ ประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ พระมหามงกุฎ ตรีศูล จักรแก้ว และ พระขรรค์เพชร ทั้งหมดล้วนเป็นของคู่บุญบารมี ของพระศรีอาริย์โพธิสัตว์ โดยมี "พระมหามงกุฎ" เป็นศิราภรณ์ที่เปี่ยมไปด้วยบุญฤทธิ์ (หลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอรหันต์ระดับจตุปฎิสัมภิทาญาณ ได้เคยนำมาถวายหลวงปู่ดู่เป็นพุทธบูชาอีกองค์หนึ่งด้วย)
    ส่วนอาวุธที่เหลือทั้ง 3 ล้วนเป็นเทพศาสตราวุธชั้นสูง มีไว้เพื่อประดับบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ และเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์อย่างยิ่ง หากสวดเป็นประจำสามารถอธิษฐานให้เกิดเป็นองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิได้ ซึ่งเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์ มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก ประดับด้วยเครื่องทรงแห่งพระมหาจักรพรรดิอย่างวิจิตรอลังการ เปล่งรัศมีหลากสีด้วยแสงแห่งรัตนอัญมณี เรียกว่า "พระมหาวิษิตาภรณ์" มาครอบสถิตผู้ภาวนา บารมีของหลวงปู่ดู่ที่ท่านน้อมนำอธิษฐานจิต จึงมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก เพราะท่านใช้บารมีทั้งหมดของท่านอัญเชิญกระแสบารมีแห่งพระรัตนตรัย และตั้งองค์พระพุทธนิมิตปางมหาจักรพรรดิบรรจุลงไปในวัตถุมงคลที่บารมีท่านมาประจุอีกด้วย
    เรียบรียงจาก : หนังสือมิติแห่งโลกวิญญาณและการสร้างบารมี(6)
    กำลังจักรพรรดิ์หลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ-หลวงตาม้าวิริยธโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 14115.jpg
      14115.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.8 KB
      เปิดดู:
      544
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...