บทวิเคราะห์ความมีอยู่หรือไม่ของ นรก-สวรรค์ ตามหลักพระปฏิจจสมุปบาท ขอข้อวิจารณ์จากท่าน

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย น้อมโลกธรรม, 27 กรกฎาคม 2007.

  1. น้อมโลกธรรม

    น้อมโลกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +154
    สวัสดีครับ ในฐานะสมาชิกใหม่คนหนึ่งขอร่วมเสนอแนะแนวคิดเกี่ยวกับ นรก-สวรรค์ ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่หลายคนสนใจและเกี่ยวข้องกับความเป็นไปของทุกชีวิตเราทุกคน เรื่องของ นรก-สวรรค์ เป็นสัจธรรมมีอยู่จริงหรือไม่ แนวคิดวิเคราะห์ที่นำเสนอนี้มีความถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่ จึงขอรับความเห็นข้อวิจารณ์ต่างๆจากท่านเพื่อกลั่นกรองความถูกต้องและเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาแนวคิดที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าวต่อไป ขอขอบพระคุณทุกความเห็นข้อวิจารณ์ที่ให้ข้อชี้แนะตลอดจนเป็นกระจกสะท้อนที่สำคัญสำหรับการปรับปรุงแนวคิดของกระผมในครั้งนี้ครับ​


    วิเคราะห์ความมีอยู่ของ นรก-สวรรค์ ตามหลักพระปฏิจจสมุปบาทของพุทธศาสนา

    การอธิบายความมีอยู่จริงหรือไม่ ของ นรก-สวรรค์ โดยหลักพุทธศาสนาย่อมอธิบายด้วยหลักของ ภพ ภูมิ ซึ่งเป็นหลักธรรมหนึ่งที่มีอยู่ หลักของภพภูมิดังกล่าว หากอธิบายตามเนื้อหาที่มีรวม 31 ภูมิเช่นเนื้อหาในไตรภูมิพระร่วงนั้น ขอแสดงความเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่มากด้วยรายละเอียดแต่ยังขาดหลักพุทธสัจธรรมสำคัญที่อ้างอิงเนื้อหานั้นได้อย่างถ่องแท้ ตลอดจนมีการระบุเป็นวิสามานยนามของอัตภาพชีวิต สถานที่ ฯลฯ ในภพภูมินั้น ที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤต หากภาษาใดๆทั้งปวงย่อมเป็นไปตามหลักพระไตรลักษณ์ จึงมิอาจใช้อ้างอิงข้ามกาลเวลาสถานที่ภพภูมิอื่นได้ยั่งยืนตลอดกาล ทั้งยังมีความเป็นไปได้ของหลักความเชื่ออื่นนอกเหนือหลักพุทธศาสนาที่อาจเพิ่มเติมเข้ามาด้วยหรือไม่ เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรร่วมกันเสนอแนะเหตุผลเพื่อการศึกษาข้อเท็จจริงทางพระศาสนาที่ชัดเจนยิ่งๆขึ้นกันต่อไป​

    การอธิบายหลักของ ภพ ภูมิ จึงขออ้างอิงหลักพระปฏิจจสมุปบาท ดังนี้​

    ภูมิในธรรม มีทั้งสิ้น 12 ภูมิ เป็นสังขตภูมิ 11 ภูมิ และอสังขตภูมิอีก 1 ภูมิ (หากภูมิปัจจัยในพระปฏิจจสมุปบาทถือเป็นสัจธรรมตลอดกาลฉันใด จำนวนภูมิดังกล่าวย่อมมีอยู่เป็นสัจธรรมตลอดกาล ฉันนั้น)​

    ภพ เป็นอาการหนึ่งอันมีอยู่ในสังขตธรรม ด้วยอยู่ภายใต้ลักษณะอันมีทุกข์และเป็นอนิจจังดังพระไตรลักษณ์ จำนวนภพจึงไม่อาจเป็นจำนวนที่ยั่งยืนแน่นอนตลอดกาล (และจำนวนต้องไม่เป็นศูนย์โดยสิ้นเชิงในสังขตธรรม) หลักการหาจำนวนภพนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ยากเกินภูมิรู้ตามอัตภาพมนุษย์โดยทั่วไป จึงตอบตามหลักภูมิระดับของภพได้เพียงว่า มีจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนการเกิด เป็นอนิจจังน้อยกว่าจึงยั่งยืนอยู่นานกว่าอายุขัยของชีวิตการเกิดต่างๆในภพนั้น นอกจากนี้ ด้วยความเป็นอนิจจังไม่แน่นอนตายตัว ภพหนึ่งจึงอาจมีได้หลายภูมิ และภูมิหนึ่งก็อาจมีได้หลายภพ หลายลักษณะการเกิด หลายอาการทุกข์​

    ภูมิอัตภาพต่างๆ ในสังขตธรรม และภูมิอนัตตภาพ(หรือย่อมเรียกได้ว่าอนันตภาพ)อันเป็นอสังขตธรรม โดยอ้างอิงตามภูมิปัจจัยในพระปฏิจจสมุปบาท มีดังต่อไปนี้​

    ภูมินี้หากมีอยู่จริงย่อมเป็นผลปัจจัยอันเป็นไปในภพอื่นที่กายภาพของภพปัจจุบันไม่สามารถอำนวยสู่หลักอาการของอัตภาพนั้นได้ หรือมีอยู่เป็นธรรมชาติอื่น ณ กาลเวลา สถานที่ใด ในภพปัจจุบันนี้ แต่เรายังมิอาจรู้ความเป็นไปนั้นได้
    1. ภูมิแห่งความทุกข์โดยหลัก(ทุคติภูมิ) อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สัมมรณญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตอันเป็นอาการทุกข์โดยหลัก หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้เป็นอยู่ด้วยสัมมรณญาณ มีอาการทุกข์ที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ถือเป็นภูมิที่เป็นทุกข์โดยหลักเช่นเดียวกัน​

    2. ภูมิแห่งการเกิดโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สัญชตญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตที่เนื่องนับแต่เกิดได้โดยหลัก ได้แก่ จุลชีพต่างๆ เช่น จุลินทรีย์ต่างๆ เซลล์ปฏิสนธิของพืช,สัตว์,มนุษย์ เซลล์เนื้อเยื่อร่างกายของพืช,สัตว์,มนุษย์ ตลอดจนเหล่าพืช โดยสังเขป หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำสิ่งต่างๆได้ตามสัญชาตญาณ มีอาการเกิดที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ถือเป็นภูมิที่เป็นอาการเกิดโดยหลักเช่นเดียวกัน (การเกิดของบางอัตภาพ เช่น จุลชีพปฏิสนธิของสัตว์,มนุษย์ ซึ่งโดยความเป็นไปในธรรมสามารถมีพัฒนาการสู่ภูมิอื่นได้อีก เมื่อพิจารณาตามหลักคณิตศาสตร์ของการเกิดท่ามกลางจุลชีพอื่นแล้ว ย่อมหาได้ยากยิ่งดังพุทธดำรัส)​

    3. ภูมิแห่งภาวะจิตโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สัมภวญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตตามภาวะจิตได้โดยหลัก ได้แก่ สัตว์ต่างๆโดยสังเขป รวมถึงมนุษย์เด็กเล็กซึ่งถือว่าเป็นสัมภวญาณีที่ยิ่ง ที่สามารถ ตกใจ ตื่นกลัว ดีใจ ร้องไห้ ฯลฯ ได้มากขึ้น หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำสิ่งต่างๆได้ตามภาวะจิต มีภาวะจิตที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ถือเป็นภูมิที่เป็นภาวะจิตโดยหลักเช่นเดียวกัน (และเมื่อพิจารณาพัฒนาการอันยาวนานข้ามช่วงชีวิต หรือพิพัฒนาการ,วิวัฒนาการ โดยอาศัยหลักพระปฏิจจสมุปบาท พระไตรลักษณ์ และหลักการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ย่อมกล่าวได้ว่า สัมภวญาณีมิอาจมีขึ้นได้อย่างชัดเจนแน่นอนทันที ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีวิวัฒนาการจากสัญชตญาณี และสามารถมีวิวัฒนาการสู่อุปทญาณี ได้ตามลำดับขั้นของภูมิปัจจัยในสังขตธรรม และด้วยหลักพระอริยสัจธรรมย่อมอ้างอิงได้ว่า การเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่ทวนกระแสพระปฏิจสมุปบาทนั้นคือแนวทางอันปกติหรือแนวทางเพื่อพ้นทุกข์ของอัตภาพชีวิตในภพภูมิทั้งปวงของสังขตธรรม)​

    4. ภูมิแห่งความยึดมั่นโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สัมปทญาณี หรือ อุปทญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตตามความยึดมั่นได้โดยหลัก ได้แก่ ผู้ที่สามารถจดจ่อยึดมั่นต่อสิ่งต่างๆได้แล้ว และเรียกว่าภูมิมนุษย์นี่เอง เช่น ยึดมั่นการหลีกเลี่ยงเปลือยกาย ยึดมั่นพิธีการใดๆ และด้วยเป็นภูมิปัจจัยเหนือธรรมภาวะและธรรมชาติจึงสามารถยึดมั่นเรียนรู้ในหลักรูปธรรมของกายภพและการเกิดในปัจจุบัน(หลักวิทยาศาสตร์)ได้บ้างแล้ว หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำตามความยึดมั่นได้ มีความยึดมั่นที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ถือเป็นภูมิที่เป็นการยึดมั่นโดยหลักเช่นเดียวกัน ​

    ภูมิต่อไปนี้หากมีอยู่จริงย่อมเป็นผลปัจจัยอันเป็นไปในภพอื่นที่กายภาพของภพปัจจุบันไม่สามารถอำนวยสู่หลักอาการของอัตภาพนั้นได้ หรือมีอยู่ในธรรมชาติอื่น ณ กาลเวลา สถานที่ใด ในภพปัจจุบันนี้ แต่เรายังมิอาจรู้ความเป็นไปนั้นได้​

    5. ภูมิแห่งความอยากโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สันตนหญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตตามความอยาก,ไม่อยาก ได้โดยหลัก หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำตามความอยากเช่นนั้นเช่นนี้ได้ มีความต้องการที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ถือเป็นภูมิที่เป็นความอยากโดยหลักเช่นเดียวกัน (เริ่มมีเค้าบ้างแล้วตามวิวัฒนาการความเป็นไปของมนุษย์ในปัจจุบันที่ยึดมั่นเพื่อรู้และกระทำได้โดยอาศัยปัจจัยจาก ความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการเช่นนั้นเช่นนี้)​

    6. ภูมิแห่งความรู้สึกโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สังเวทนาญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตตามความรู้สึกได้โดยหลัก หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำตามสิ่งที่แม้รู้สึกได้ มีความรู้สึกที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ถือเป็นภูมิที่เป็นการรู้สึกโดยหลักเช่นเดียวกัน ​

    7. ภูมิแห่งการรับรู้โดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สัมผัสสญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตตามความรับรู้ได้โดยหลัก หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำตามสิ่งที่แม้กระทบรับรู้ได้ มีอาการรับรู้ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ฯ ​

    8. ภูมิแห่งรูปธรรมนามธรรมสู่การรับรู้โดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สฬายตนญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตตามรูปธรรมนามธรรมสู่การรับรู้ได้โดยหลัก หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำตามสิ่งที่แม้เป็นรูปธรรมนามธรรมที่รับรู้ได้ มีอาการของรูปธรรมนามธรรมสู่การรับรู้ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ฯ​

    9. ภูมิแห่งรูปธรรมนามธรรมโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า รูปญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยญาณหรือจิตตามรูปธรรมนามธรรมได้โดยหลัก หรือโดยสรุปคือ ปัจจัยในธรรมอำนวยให้กระทำตามสิ่งที่แม้เป็นรูปธรรมนามธรรมต่างๆได้ มีอาการของรูปธรรมนามธรรมใดๆ ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ฯ​

    10. มหาภูมิแห่งผู้มีจิตสูงละเอียดอ่อนอันเป็นวิญญาณธรรมโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า วิญญาณี หรือวิญญู กล่าวคือดำรงชีพด้วยความเป็นวิญญาณจิตโดยหลัก ด้วยเป็นอรูปภูมิอัตภาพที่เป็นภูมิปัจจัยเหนือรูปธรรม จึงสามารถกำหนดเหนือรูปธรรมได้ รู้ได้โดยมิต้องอาศัยนามธรรมเป็นปัจจัย เป็นต้น เปรียบได้กับบุรุษสตรีผู้ดีงามอันเป็นปฏิเวธแห่งพระอนาคามิผล​

    11. มหาภูมิแห่งผู้มีจิตสูงละเอียดอ่อนยิ่งอันเป็นสังขตธรรมโดยหลัก อัตภาพในภูมินี้ขอเรียกว่า สังขตญาณี หรือสังฆตญาณี กล่าวคือดำรงชีพด้วยความเป็นสังขารจิตโดยหลัก ด้วยเป็นอวิญญาณภูมิอัตภาพที่เป็นภูมิปัจจัยเหนือวิญญาณธรรม จึงสามารถกำหนดเหนือวิญญาณการนึกคิดได้ รู้หรือกระทำได้โดยมิต้องอาศัยการนึกคิด เป็นต้น เปรียบได้กับสตรีบุรุษผู้ดีงามยิ่งอันเป็นปฏิเวธแห่งพระอรหัตมรรคหรือสงฆ์​

    12. อนุตรภูมิอันเป็นอสังขตธรรม อยู่เหนือพ้นปัจจัยอันจำกัดความรู้ความสามารถใดๆให้เป็นทุกข์ทั้งปวง ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2007
  2. น้อมโลกธรรม

    น้อมโลกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +154
    ขอบพระคุณในอนุโมทนาจิตจากท่านนะครับ

    เนื่องจากเป็นการนำเสนอบทวิเคราะห์เพื่อขอรับความเห็นข้อวิจารณ์ชี้แนะ ข้อท้วงติง ฯลฯ จากผู้อ่าน จึงขออนุญาตนำขึ้นมาขอความเห็นอีกครั้ง หากมีพุทธศาสนิกชนท่านใดยินดีช่วยให้ข้อวิจารณ์กลั่นกรองได้ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...