บทวิเคระห์..พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย paang, 15 ธันวาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    มีบางคนตั้งข้อสังเกตุว่า พระพุทธศาสนา มีลักษณะคล้ายกับวิทยาศาสตร์ เช่น สนใจศึกษาธรรมชาติยึดหลักของเหตุผล และท้าทายต่อการพิสูจน์ แต่หากจะพิจรณาให้รอบคอบ ก็น่าจะกล่าวในเชิงกลับกันมากกว่า วิทยาศาสตร์มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เพิ่งอุบัติขึ้นมาในโลกเพียงไม่กี่ร้อยปี ในขณะที่พระพุทธศาสนานั้นเกิดมาเกือบ 2600 ปีแล้ว หลักการของพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์เหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร จะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป โดยจะเริ่มต้นที่หลักการของวิทยาศาสตร์ก่อน

    หลักการของวิทยาศาสตร์

    ก่อนจะกล่าวถึงกลักการของวิทยาศาสตร์ จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันในเรื่อง ความหมายของ วิทยาศาสตร์ ว่าคลอบคลุมประเด็นใดบ้าง

    คำว่า วิทยาศาสตร์ เป็นคำไทย แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Science ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า หรือจากภาษากรีกว่า แปลว่า รู้ หรือความรู้ ความหมายอันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน คือหมายถึง ความรู้เรื่องธรรมชาติ ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาล ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมากจนตามองไม่เห็น เช่น เชื้อโรคไปจนกระทั่งสิ่งที่ใหญ่มาก เช่น โลก ดวงอาทิตย์ ดวงดาว ตลอดจนจักรวาล ซึ่งประกอบด้วยดวงดาวทั้งหมด ธรรมชาติ ยังคลอบคลุมทั้งสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย ซึ่งเป็นวัตถุเรียกกันว่า สสาร และที่มีสภาพเป็น พลังงาน เช่นความร้อน แสงสว่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น และสิ่งมีชีวิตทั้งหมด เช่นพืช สัตว์ เชื้อรา ไวรัส รามทั้งตัวมนุษย์เอง

    วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์แห่ง วัตถุ เพราะแบ่งธรรมชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรื่อสิ่งไม่มีชีวิต กล่าวคือ ทุกสรรพสิ่งย่อมประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ

    1. องค์ประกอบที่เป็นสสาร คือส่านที่เป็นตัวตน ถ้ามีขนาดใหญ่พอก็จะจับตัวได้ กินเนื้อที่ มีมวล มีน้ำหนัก

    2. องค์ประกอบที่เป็นพลังงาน คือส่วนที่ไม่อาจจะจับต้องได้ สามารถแปรเปลี่ยนได้ โดยอาจเปลี่ยนเป็น งาน ได้ เช่น พลังงานไฟฟ้า สามารถผ่านเข้าสู่มอเตอร์ขับเคลื่อนรถยนต์ได้

    จากองค์ประกอบทั้ง 2 ประกอบนี้วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆได้อย่างกว้างขวาง เช่นการที่อากาศร้อนอบอ้าวก่อนฝนตก เกิดจากการที่ก้อนเมฆ ซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำ ซึ่งเป็นสสาร คายความร้อนแฝง ซึ่งเป็นพลังงาน ออกมา หรือการที่แสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงาน ส่องกระทบใบไม้ ซึ่งมีสารสีเขียวเรียกว่า คลอโรฟิล จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยใบไม้ จะสามารถดูดเอาก๊าซคาบอนไดอ๊อกไซด์ จากอากาศมารวมกับน้ำ แล้วแปรเปลี่ยนเป็นก๊าซอ๊อกซิเจนและแป้งซึ่งพืชใช้เป็นอาหารเรียกว่าสังเคราะห์แสง แนวความคิดเกี่ยวกับสสาร และพลังงานสามารถอธิบายปรากฎการณ์ใกล้ตัวเช่นการงอกของเมล็ดถั่ว ไปจนกระทั่งประสบการณ์ไกลตัว เช่นการเคลื่อนที่ของดวงดาวในจักรวาลได้

    อย่างไรก็ดียังมีปรากฎการณ์อีกเป็นอันมากที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์ เช่นการเวียนว่ายตาย เกิด การระลึกชาติได้ กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การติดต่อกันโดยใช้พลังจิต การใช้พลังจิตเคลื่อนย้ายวัตถุ เป็นต้น



    แต่ปรากฎการณ์เหล่านี้สามารถอธิบายได้ โดยอาศัยหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งได้กล่าวถึงในตอนต่อไป

    การศึกษาธรรมชาติ เพื่อรู้เรียกว่า วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 2 กลุ่มคือ

    1. วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาสิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้แก่วิชาฟิสิกส์ เคมี ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และอุทกวิกยาเป็นต้น

    2. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกศาสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งย่อยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มพฤกษศาสตร์ ซึ่งศึกษาต้นไม้เละพืชทุกชนิด และกลุ่มสัตวศาสตร์ ซึ่งศึกษาสัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวไปจนกระทั่งมนุษย์ ทั้งสองกลุ่มนี้แตกสาขาย่อยออกไปอีกมากมาย

    นอกจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแล้ว ยังมีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นอีก 3 ประเภทคิอ

    1. วิทยาศาสตร์สังคม เป็นการศึกษาธรรมชาติ ของมนุษย์ในสังคมซึ่งประกอบด้วยบุคคลตั้งเต่ 2 คนขึ้นไป ประกอบด้วยวิทยาการสาขาต่างๆ เช่นสังคมวิทยา มนุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ อาชญาวิทยา ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และจริยศาสตร์ เป็นต้น

    2. วิทยาศาสตร์อัตภาพ เป็นการศึกษาธรรมชาติของจิตมนุษย์และปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นไม่นาน ได้แก่ วิชาจิตวิทยา ปรจิตวิทยา เป็นต้น

    3. วิทยาศาสตร์ประยุกต็ เป็นการประยุกต์ความรุ้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาทำประโยชน์ให้เกิดแก่มนุษย์ในการดำรงชีวิต เช่น วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์ แพทยศาสตร์ เป็นต้น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีชื่อเรียกอีกนัยหนึ่งว่า เทคโนโลยี

    แต่เทคโนโลยีมิใช่วิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็มี เช่น เทคโนโลยีการฝังเข็ม หรือการปักเข็มรักษาโรค ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ของจีนโบราณ อายุหลายพันปี เป็นสิ่งที่มิได้มาจากการค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์แต่ประการใดเพราะวิทยาศาสตร์มีอายุเพียงไม่กี่ร้อยปีเท่านั้น

    อย่างไรก็ดีจากความรุ้ทางวิทยาศาสตร์ เละการประยุกต์ความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์ มนุษยชาติก็ได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าอย่างมากในเชิงวัตถุ เพียงไม่กี่ร้อยปี จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีระดับสูง ดังที่เป็นอยู่ในสมัยปัจจุบันนี้

    การที่วิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาตัวเองและมีผลต่อมนุษยศาสตร์ที่รวดเร็ว เพราะวิทยาศาสตร์มีหลักการที่สำคัญอันเป็นเครื่องมือช่วยให้วิทยาศาสตร์มีความแข็งแกร่งและมั่นคงคือ

    1. วิทยาศาสตร์มีความเชื่อพื้นฐานว่า ปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นมีกฎเกณฑ์หรือระเบียบ ไม่เกิดขึ้นแบบลักลั่น เกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุ ซึ่งอาจค้นพบได้หากผู้ค้นมีความสามารถเฉลียวฉลาดพอ ในการค้นหาความจริงเหล่านี้ อาจใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้วิธีการดังกล่าว คือการใช้หลักของเหตุผล เช่น การสังเกตุ การเปรียบเทียบ การจำแนก การวิเคราะห์ การหาข้อมูล การทดลอง การพิสูจน์ เป็นต้น จากความเชื่อนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงค้นพบกฎต่างๆทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่นกฎความโน้มถ่วงกฎทรงมวลของสสาร กฎการเปลี่ยนแปลงของพลังงาน

    2. วิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่า ความจริง อาจค้นพบได้หรือทราบได้จากการสังเกตโดยตรง หรือจากการทดลอง แต่ไม่นิยม การหาความจริงจากแหล่งความรุ้ที่มีการยอมรับโดยฐานะ เช่น เพราะผู้ใหญ่แนะนำ เพราะมีการระบุไว้ในคำภีร์โบราณ เพราะผู้พูดเป็นบุคคลสำคัญ

    3. นักวิทยาศาสตร์ยึดถือว่าปรากฎการณ์ที่สามารถสังเกตุได้เท่านั้นจึงอยู่ใน อาณาจักรวิทยาศาสตร์ ปรากฎการณ์ใดที่ยังไม่อาจจะสังเกตุหรือวัดได้ ดังนั้น ปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณซึ่งเป้นเรื่องที่ยังตรวจสอบสังเกตหรือวัดไม่ได้ จึงยังไม่อยุ่ในวิสัยที่นักวิทยาศาสตร์จะศึกษา

    4. การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะต้องมีการยอมรับสากล กล่าวคือ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้ทดลอง ถ้าสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆเหมือนกัน ผลการทดลองจะต้องเป็นแบเดียวกันเสมอ ไม่ขึ้นอยู่ตัวผู้ทดลอง จากหลัการข้อนี้นักวิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ผลงานของนักวิทยาศาสตร์อื่นด้วยการศึกษาหรือทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าได้ผลตรงกันหมด การค้นพบครั้งนั้นก็จะได้รับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์

    5. วิทยาศาสตร์อาศัย ทฤษฎี เป็นเครื่องมือในการอธิบาย การเกิดปรากฎการณ์ต่างๆหรืออธิบายกฎ และนอกจากจพใช้เป็นคำอธิบายแล้ว ทฤษฎียังสามารถใช้พยากรณ์หรือทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นมนอนาคตอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กฎแห่งความโน้มถ่วง หรือการดึงดูดกันระหว่างเทห์วัตถุนำไปสู่การสร้างทฤษฎีสัมพันธภาพอันเลื่องชื่อของอัลเบอร์ต ไอน์สไตน์ สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่แสงจากดวงดาว ที่ห่างไกลจะมีแนวโน้มไปทางด้านสีแดงได้ แต่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สามารถ ล้มได้ หากมีการพบว่าปรากฎการณ์หรือหลักฐานที่ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวความคิด เช่น เมื่อ 100 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎี อีเธอร์ คือเชื่อว่าในอวกาศเต็มไปด้วยสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อีเธอร์ แต่ต่อมาต้องล้มเลิกทฤษฎีนี้เมื่อมีการทดลองคัดค้าน สำเร็จ โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อไมเกิลสัน กับมอร์เลย์ เช่นเดียวกับทฤษฎี ฟลอจิสตัน ซึ่งล้มไปคือนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีสิ่งหนึ่ง เรียกว่า ฟลอจิสตัน เป็นตัวทำให้วัถถุลุกใหม้ เต่เมื่อมีการศึกษาเรื่องการลุกไหม้ หรือสันดาป โดยรอบคอบ ก็เกิดทฤษฎีอ๊อกซิเดชัน ขึ้นมาแทนที่ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้

    โดยอาศัยหลักการสำคัญทั้ง 5 ประการข้างต้น มนษย์ได้พัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว โยมีจุดประสงค์สำคัญ คือการเรียนรู้ธรรมชาติ และนำความรู้มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์เพื่อสนองความต้องการที่มีอยู่มากมาย ไม่สิ้นสุดและนับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆไปเพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีความทะเยอทะยานอยาก เมื่อได้สิ่งนั้นแล้วก็จะต้องการสิ่งนั้น และสิ่งอื่นๆเพิ่มขึ้นตลอดไป

    หลักการของพระพุทธศาสนา

    พระพุทธศาสนาคือ คำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ

    1. ให้ละเว้นการกระทำความชั่ว

    2.ให้ตั้งมั่นอยู่ในการกระทำแต่ความดี

    3.ให้ชำระจิตของตนเองให้ผ่องใสอยู่เสมอ

    หลักการสำคัญทั้งสามประการนี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับร่างกายจิตใจทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
     
  2. Ambient

    Ambient สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอเสริมเรื่อง การเทียบ พุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์ นะครับ
    สิ่งแรกที่ผมอยากเทียบ คือ เจตนารมณ์ของ ศาสตร์ทั้ง 2
    พุทธศาสนา - หาองค์ความร้ เพื่อ -> ความสุขสูงสุด คือ การหลุดพ้น (นิพพาน)
    วิทยาศาสตร์ - หาองค์ความรู้ เพื่อ -> ความสุขสูงสุด ซึ่งไม่ได้ระบุชัดแน่นอนว่าคืออะไร
    อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่า วิทยาศาสตร์นั้น มีเป้าหมายสูงสุดคืออะไร เพียงอนุมานว่าน่าจะเป็นเช่นนี้


    สิ่งที่เหมือนกัน คือการเสาะแสวงหา ความรู้ ด้วยการรู้ เหตุ และ ผล
    แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ พุืทธศาสนามีปลายทางที่ระบุไว้แน่นอน
    เพราะฉนั้นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในพุทธศาสนานั้น จึงเป็นไปเพื่อ ประพฤติพรหมจรรย์
    เพื่อการหลุดพ้น คำสอนหลักคือ อริยสัจ 4 เป็น เจตนารมณ์ของพุทธศาสนา


    ผมเห็นด้วยที่ว่าวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มว่าจะเหมือนพุทธศาสน์
    เพราะถ้าว่ากันในหมวดหมู่ หัวข้อที่มีสอนในพระไตรปิฏกแล้ว
    สิ่งที่พุทธศาสนาสอนนั้น ครอบคลุม และกว้างกว่า วิทยาศาสตร์มาก
    แม้โดยหลักจะเป็นไปเพื่อพ้นทุกข์ แต่การจะพ้นทุกข์ได้นั้น
    จำเป็นต้องรู้และเข้าใจธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งตรงนี้พ้องกับวิทยาศาสตร์
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นเพียง ใบไม้ในกำมือเท่านั้น และท่านเห็นว่ามีประโยชน์ที่จะสอน
    ส่วนเรื่องอื่นๆที่เป็นวิทยาศาสตร์ตรงๆนั้น ท่านสอนน้อยแต่ใช่ว่าจะไม่ได้สอนเลย
    เพราะสิ่งเหล่านั้นจำเป็นต้องรู้ไว้พิจารณาให้เข้าใจด้วย
    ธรรมชาติที่เป็นองค์รวม จึงมีสิ่งที่เกี่ยวกัน


    ยกตัวอย่างชัดๆนะครับ เรื่อง มหาภูตรูป 4
    ดิน น้ำ ลม ไฟ สิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ได้เรียนหรือศึกษามาดี
    จะเข้าใจแค่ ดิน คือก้อนดิน หรือ น้ำคือ H2O
    ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ อะไรทำนองนั้น
    แต่ถ้าลองนำคำสอนมาเทียบเคียงกับวิทยาศาสตร์จะได้
    ธาตุดิน คือ เรื่องของแข็ง
    ธาตุน้ำ คือ เรื่องของเหลว
    ธาตุลม คือ เรื่องของก๊าซ
    ธาตุไฟ คือ เรื่องของความร้อน
    สสารใดๆ ต้อง มี ธาตุ 4 นี้มากน้อยประกอบกันจึงมีอยู่ได้
    สิ่งเหล่านี้ผมไม่ได้อ้างเพื่อให้ดูเป็นทำนองเดียวกัน
    แต่อยากให้ทราบว่าสิ่งที่มีสอนเรื่องมหาภูตรูป 4
    ในพระไตรปิฏกสอนเรื่องอะไรที่ใกล้กัน
    ยังมีอีกหลายเรื่องนะครับ


    สิ่งที่แตกต่างกันชัดเจนในเรื่องวิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์
    ลองพิจารณา กาลามสูตร นะครับ
    มีข้อที่ว่าด้วย อย่าเชื่อเพราะถูกต้องตาม ตรรกะ
    ซึ่งวิทยาศาสตร์ผูกเหตุผลไว้กับตรรกะอย่างเหนียวแน่น
    จนเป็นจุดอับของวิทยาศาสตร์ในที่สุด
    ลองพิจารณาดูนะครับว่า ตรรกะ ไม่ได้ให้คำตอบที่ถูกต้องเสมอจริงหรือไม่
    สิ่งที่วิทยาศาสตร์ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก
    คือ นามธาตุทั้งหลาย คือ ธาตุรู้ กลไกของจิต
    หากเราได้เรียนรู้เรื่องปรมัตถธรรมจนเข้าใจจะรู้ได้เลยว่า
    องค์ความรู้ที่มีในวิทยาศาสตร์ ในเรื่องจิตนั้นยังห่างไกลกับพุทธศาสน์อย่างมาก
    จะรู้ว่าธาตุรู้ ยังมี จิต เจตสิก ซึ่งเป็นกลไกของจิตที่มีอยู่จริง
    พูดภาษาชาวบ้าน คือ กลไกของ การรับรู้ การนึกคิด อารมณ์
    หรือเรียกเป็นวิทยาศาสตร์หน่อยคือ จิตวิทยา
    แม้จะพิสูจน์ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ไม่ได้
    แต่ด้วยสามัญสำนึกของคนรู้อย่างแน่นอน 100% ว่ามีจริง
    จิตเป็นสิ่งที่ควรจะศึกษาให้ชัดเสียก่อน
    ถ้าหากเราไม่รู้จักจิตเราดีพอ แต่เราใช้จิตซึ่งมีหน้าที่รับรู้ อ่านผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
    ถามว่าผลการทดลองที่เกิดขึ้นจะเชื่อถือได้หรือไม่ เพียงใดครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...