บทธรรมบรรยาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สยามนุภาพ, 22 มีนาคม 2015.

  1. สยามนุภาพ

    สยามนุภาพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +33
    บทธรรมบรรยาย

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต



    ๑. วิเวกธรรม

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวิเวกธรรมแก่เมตตคูมาณพดังต่อไปนี้

    อุปธิกิเลสมีประเภท ๑๐ ประการ คือ ๑ ตัณหา ๒ ทิฏฐิ ๓ กิเลส ๔ กรรม ๕ ทุจริตความประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา และใจ ๖ อาหาร ๗ ปฏิฆะ ๘ อุปาทินนกะ ธาตุสี่ ๙ อายตนะหก ๑๐ วิญญาณกายหก

    ทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้น ย่อมมีอุปธิกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นนิพพาน เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลมารู้ทั่วถึง รู้แจ้งประจักษ์ชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สังขารที่หลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา หรือมารู้ทั่วถึงว่า ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพพนตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดังนี้แล้วเป็นผู้ตามเห็นซึ่ง ชาติ ว่าเป็นแดนเกิดแห่งวัฏฏทุกข์ และมาเห็นว่า อุปธิ เป็นแดนเกิดแห่งชาติทุกข์เป็นต้นแล้ว ก็ไม่พึงทำอุปธิ มีตัณหา เป็นต้น ให้เจริญขึ้นในสันดานเลย

    เมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องข้ามตัณหา จึงตรัสพระคาถาว่า

    ยงฺกิญฺจิ สมฺปชานาสิ อุทฺธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ เอเตสุ นนฺทิญฺจ นิเวสนญฺจ ปนุชฺช วิญญาณํ ภเว น ติฏฺเฐ

    ดูก่อนท่านทั้งหลาย ท่านจงรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง สถานกลางแล้วจงบรรเทาเสีย จะละเสียซึ่งความเพลิดเพลินและความถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น วิญญาณของท่านก็จะไม่ตั้งอยู่ในภพดังนี้

    คำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางนั้น ทรงแสดงไว้ ๖ นัย คือ

    นัยที่ ๑ อนาคตเป็นเบื้องบน อดีตเป็นเบื้องต่ำ ปัจจุบันเป็นเบื้องขวางสถานกลาง

    นัยที่ ๒ เหล่าธรรมที่เป็นกุศล เป็นเบื้องบน เหล่าธรรมที่เป็นอกุศล เป็นเบื้องต่ำ เหล่าธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นเบื้องขวางสถานกลาง

    นัยที่ ๓ เทวโลกเป็นเบื้องบน อบายโลก เป็นเบื้องต่ำ มนุสสโลกเป็นเบื้องขวางสถานกลาง

    นัยที่ ๔ สุขเวทนา เป็นเบื้องบน ทุกขเวทนา เป็นเบื้องต่ำ อุเบกขาเวทนาเป็นเบื้องขวางสถานกลาง

    นัยที่ ๕ อรูปธาตุเป็นเบื้องบน กามธาตุเป็นเบื้องต่ำ รูปธาตุเป็นเบื้องขวางสถานกลาง

    นัยที่ ๖ กำหนดแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องบน กำหนดแต่ปลายผมลงไปเป็นเบื้องต่ำ ส่วนท่ามกลางเป็นเบื้องขวางสถานกลาง

    เมื่อท่านมาสำคัญหมายรู้เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ทั้ง ๖ นัยนี้แล้ว แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง พึงบรรเทาเสียซึ่งนันทิ ความยินดี เพลิดเพลิน และ อภินิเวส ความถือมั่นด้วยตัณหา และทิฏฐิในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง เสียให้สิ้นทุกประการ แล้ววิญญาณของท่านจะไม่ตั้งอยู่ในภพและปุณภพอีกเลย

    เมื่อบุคคลมารู้ชัดด้วยญาณจักษุในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ไม่ให้ตัณหาซ่านไปในภพน้อย ภพใหญ่ มีญาณหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ ๔ เป็นผู้ไม่มีกังวล คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และทุจริตต่างๆ ละกังวลทั้งปวงเสียแล้ว กามภเว อสตฺตํ ก็เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยวพัวพันในวัตถุกาม และกิเลสกาม ในกามภพและปุณภพอีกเลย ท่านนั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะ ห้วงลึกที่กดสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏสงสารฯ

    โอฆะนั้น ๔ ประการคือ ๑. กามโอฆะ ๒. ภวโอฆะ ๓. ทิฏฐิโอฆะ ๔. อวิชชาโอฆะ

    ติณฺโณ จ ปารํ ท่านนั้นย่อมข้ามห้วงทั้ง ๔ ไปฟากโน้น คือ พระนิพพานธรรม อขีเณ เป็นผู้ไม่มีตะปูคือกิเลสเป็นเครื่องตรึงแล้ว กิเลสทั้งหลายที่เป็นประธาน คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และกิเลสที่เป็นบริวาร มี โกโธ อุปนาโห เป็นต้น จนถึงอกุศลอภิสังขารซึ่งเป็นประหนึ่งตะปูเครื่องตรึงจิตให้แนบแน่นอยู่ ยากที่สัตว์จะฉุดจะถอนให้เคลื่อนให้หลุดได้ เมื่อบุคคลมาละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว เผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เป็นนรชนผู้รู้ผู้ดำเนินด้วยปัญญาอันเป็นเครื่องรู้แจ้งชัดเป็น เวทคู ผู้ถึงฝั่งแห่งวิทยาในพระศาสนานี้ ไม่มีความสงสัยใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และปฎิจจสมุปบาทธรรม ปัจจยการ ย่อมบรรลุถึงวิเวกธรรม คือพระอมฤตนฤพานด้วยประการฉะนี้

    ๒. สันติธรรม

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงซึ่งสันติธรรมแก่โธตกมาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า

    ยงฺกิญฺจิ สมฺปชานาสิ โธตกติ ภควา อุทธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ เอวํ วิทิตฺวา สงฺโคติ โลเก ภวาภวาย มากาสิ ตณฺหํ

    แปลความว่า ดูกรโธตกะ ท่านมากำหนดรู้หมายรู้ซึ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำซึ่งตัณหา ความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลยดังนี้

    อธิบายว่า ท่านมารู้แจ้งสัญญาณนี้ด้วยปัญญาว่า เป็นเครื่องข้องเครื่องติดอยู่ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหาความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ส่วนคำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางในพระคาถานั้น ก็มีนัยอธิบายเป็น ๖ นัยเช่นเดียวกับเรื่องวิเวกธรรมที่กล่าวมาแล้ว

    ทรงแสดงที่อาศัยแห่งกิเลสปปัญจธรรม มีสัญญาเป็นนิทานว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันทำให้สัตว์เนิ่นช้า ๓ ประการนี้ มี สัญญา ความสำคัญหมายเป็นเหตุให้เกิด เมื่อบุคคลมาสำคัญหมายในส่วนอดีต อนาคต ปัจจุบัน สุข ทุกข์ อุเบกขา กุศลากุศล อัพยากฤต สามธาตุ สามภพ ด้วยประการใดๆ ปปญฺจสงฺขาร ที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บังเกิดกล้าเจริญทวีขึ้นด้วยประการใดๆ ทำให้บุคคลเกิดความเห็นถือมั่นด้วยตัณหาว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา ถือมั่นด้วยมานะว่า เอโสหมสฺมิ เราเป็นนั่น ถือมั่นด้วยทิฏฐิว่า เอโส เม อตฺตา นั่นเป็นตัวตนแก่นสารของเรา ดังนี้แล้วก็ข้องอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ด้วยฉันทะราคะ สเน่หาอาลัย ผูกพันจิตใจไว้ไม่ให้เปลื้องปลดออกได้

    สัญญาอันเป็นนิทาน เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิก็ดี ตัณหา มานะ ทิฏฐิอันเกิดแต่สัญญานั้นก็ดี สงโค เป็นเครื่องข้องเครื่องติด เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกไม่ให้พ้นไปได้ เอตํ วิทิตวา สงฺโคติ โลเก ท่านรู้แจ้งประจักษ์ว่าสัญญาเป็นเหตุแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มีสัญญาเป็นเหตุดังนี้แล้ว ท่านอย่าได้ทำตัณหา คือความปรารถนาดิ้นรน ด้วยจำนงหวังต่างๆ เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงหยั่งญาณรู้ ชั่งด้วยตราชู คือ ปัญญา แล้วเห็นประจักษ์แจ้งชัดว่า เป็นเครื่องผูกจำ เป็นเครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลก ท่านอย่าได้ทำซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย

    ตัณหาอันเป็นไปในอาหารวิสัยคือรูป เสียงกลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ แตกต่างโดยอาการ ปวัฎฎิ เป็น ๓ ประการ คือกาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๖ หมู่ ตามอารมณ์ สามอย่างตามอาการที่เป็นไปในภพ เป็นธรรมอันเกิดอีก เกิดขึ้นเป็นไปพร้อมกับทุกข์ คืออุปทานขันธ์ ท่านอย่าได้ทำตัณหานั้น เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงละตัณหานั้นเสีย จงบรรเทาเสีย ทำตัณหานั้นให้มีที่สุด ท่านจงยังตัณหานั้นให้ถึงซึ่งอันจะยังเกิดตามไม่ได้ ท่านจงละตัณหานั้นด้วยสมุจเฉทปหานเถิดฯ

    ๓. อนุปาทาปรินิพาน

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอนุปาทาปรินิพพานของพระอริยสาวก ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ แก่อุปสีวมาณพ โดยหลีกเลี่ยงสัสสตวาทะและอุจเฉทวาทะทั้งสองเสีย จึงตรัสพระคาถาว่า

    อจฺจิ ยถา วาตเวเคน ขิตฺตา อตฺถํ ปเลติ น อุเปติ สงฺขํ เอวํ มุนี นามกายา วิมุตฺโต อตถํ ปเลติ น อุเปติ สงขํ

    แปลว่า เปลวเพลิงอันกำลังลมพัดดับไปย่อมนับไม่ได้ว่าไปไหนฉันใด ท่านผู้เป็นมุนี พ้นพิเศษแล้วจากนามกาย ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ นับไม่ได้ ว่าไปไหนฉันนั้น

    วาตา อันว่าลมทั้งหลาย โดยปริยายในนิเทศ ว่าลมมาทิศบูรพา ปัจฉิม อุดร ทักษิณ ลมมีธุลี ลมไม่มีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมกล้า ลมเวรัมภา พัดมา แต่พื้นดินขึ้นไปได้โยชน์หนึ่ง ลมปีกสัตว์ ปีกครุฑ ลมใบตาล ลมเปลวเพลิง อันกำลังลมเหล่านั้นพัดแล้วเปลวเพลิงย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมดังสงบรำงับไป ย่อมไม่ถึงซึ่งอันนั้น ย่อมไม่ถึงซึ่งโวหาร ว่าเปลวเพลิงไปแล้วยังทิศโน้นๆ ดังนี้ฉันใด บุคคลผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นเสขมุนีนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากรูปกายในกาลก่อนเป็นปกติ ให้มรรคที่ ๔ เกิดขึ้นในสมาบัตินั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากนามกายอีก เพราะความที่พ้นจากนามกาย อันท่านได้กำหนดรู้แล้ว เป็นอุปโตภาควิมุตติ พ้นวิเศษแล้วจากส่วนสองด้วย ส่วนสองเป็นขีณาสวะอรหันตร์ ถึงซึ่งอันไม่ตั้งอยู่คืออนุปาทาปรินิพพาน แล้วตรัสพระคาถาต่อไปว่า

    อตฺถงฺตสฺส น ปมาณมตฺถิ เยน นํ วชฺชุ ตํ ตสฺส นตฺถิ สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ

    แปลว่า สิ่งสภาวะเป็นประมาณของพระขีณาสพอัสดงคตดับแล้วย่อมไม่มี บุคคลทั้งหลายจะพึงกล่าวว่าท่านนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นของท่านก็ไม่มีธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันพระขีณาสพถอนขึ้นพร้อมแล้ว แม้ทางวาทะทั้งปวงที่บุคคลจะพึงกล่าวพระขีณาสพท่านก็ตัดขึ้นพร้อมแล้ว

    สิ่งสภาวะอันเป็นธรรมนั้น ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่านละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว ท่านเผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เมื่อขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังขาร และวัฏฏะ ท่านถอนขึ้นเสียแล้ว ตัดเสียขาดแล้ว มีอันไม่บังเกิดต่อไป เป็นธรรมดา วาทะ อันเป็นคลองเป็นทางที่จะกล่าวด้วยกิเลสและขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเพิกถอน สละละวางเสียสิ้นทุกประการแล้ว ด้วยประการฉะนี้ฯ

    ๔. ปริญญา ๓ ประการ

    ๑. ญาตปริญญา คือความกำหนดรู้ชัดเจนว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพะตัณหา นี้ธัมมตัณหา อย่างนี้แลชื่อว่าญาตปริญญา

    ๒. ตีรณปริญญา นั้นคือ ภิกษุกระทำตัณหาทั้ง ๖ ให้เป็นของอันตนรู้แล้ว พิจารณาใคร่ครวญ ซึ่งตัณหาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเสียดแทง เป็นต้น อย่างนี้แลชื่อตีรณปริญญา

    ๓. ปหานปริญญา นั้นคือ ภิกษุมาพิจารณาใคร่ครวญ ฉะนี้แล้ว ละเสียซึ่งตัณหา บรรเทาเสีย ถอนเสีย และกระทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่เป็นต่อไปอย่างนี้และชื่อว่าปหานปริญญา

    ๕. อาสวะ ๔ ประการ

    อนาสวา ผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะคือไม่มีอาสวะ ๔ ประการ ได้แก่ ๑ กามาสวะ ๒ ภวาสวะ ๓ ทิฏฐาสวะ ๔ อวิชชาสวะ บุคคลผู้ใดมาละเสีย ตัดเสียขาดแล้ว ซึ่งอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น มิให้มันบังเกิดขึ้นได้ต่อไป ผู้นั้นเป็น อนาสวะ คือผู้ไม่มีอาสวะแล

    ๖. อัตตานุทิฏฐิ

    อตฺตานุทิฏฺฐีติ วุจฺจติ วีสติวตฺถุกา สกฺกายทิฏฺฐิ สักกายทิฏฐิ อันมีวัตถุ พุทธบัณฑิตเรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นซึ่งอาตมะตัวตน ได้ในขันธ์ ๕ ขันธ์ละ ๔ วัตถุ บรรจบเป็นวัตถุ ๒๐ ทัศ คือปถุชนผู้ไม่ได้สดับฟัง ณ โลกนี้

    ๑. รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ เห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง

    ๒. รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ สมนุปสฺสติ เห็นตนเป็นรูปบ้าง

    ๓. อตฺตนิ วา รูปํ สมนุปสฺสติ เห็นรูปมีในตนบ้าง

    ๔. รูปสฺมึ วา อตฺตานํ สมนุปสฺสติ เห็นตนมีในรูปบ้าง ดังนี้

    แม้ในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีวัตถุอย่างละ ๔ เช่นเดียวกัน จึงบรรจบเป็นกายทิฏฐิ ๒๐ วัตถุ ด้วยประการฉะนี้

    เมื่อบุคคลตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ประชุมลงในขณะจิตอันเดียวได้แล้วชื่อว่า เป็นผู้ละสักกายทิฏฐิ เมื่อบุคคลใดมาเข่นฆ่า ซึ่งอัตตานุทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตาตัวตนลงเสียได้แล้ว ก็จะพึงเป็นบุคคลผู้ข้ามมฤตยูความตายเสียได้

    เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ

    เมื่อบุคคลมาเห็นซึ่งโลกทั้งหลาย คือขันธโลก อายตนโลก และธาตุโลก โดยความเป็นของสูญ สังหารอัตตานุทิฏฐิลงเสียได้อย่างนี้ มฤตยุราช คือความตายย่อมไม่เห็น เพราะบุคคลผู้นั้นพ้นสัตว์วิสัยเสียแล้ว มัจจุราชย่อมไม่เห็นซึ่งผู้นั้น ผู้นั้นย่อมถึงพระนิพพานธรรมอันเป็นวิสัยแห่งมฤตยูราช ล่วงวิสัยมฤตยูราชเสียได้ด้วยประการฉะนี้ฯ

    ๗. สังสารทุกข์

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนา ซึ่งสังสารทุกข์ไว้ว่า สังสาระการท่องเที่ยวเกิดตายของสัตว์เปรียบเหมือนสระ คือเป็นโอกาสที่เที่ยวที่ลงของสัตว์ทั้งหลาย

    สโรติ วุจฺจติ สํสาโร ก็ที่ท่านเรียกว่าสังสาระนี้หมายถึงความท่องเที่ยวไปด้วยการบังเกิดและจุติ อาคมนํ การมาสู่โลกนี้ คมนํ การไปสู่โลกหน้า คมนาคมนํ ทั้งไปและมา กาลํ กาลกิริยา คือมรณะขาดชีวิตอินทรีย์ คติ ความไป ภวาภโว ภพน้อยภพใหญ่ จุติ ความเคลื่อนจากภพ อุปปตฺติ ความเข้าถึงอัตตภาพ นิพฺพตฺติ ความปรากฏชัดแห่งขันธ์ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณํ ความตาย

    ความท่องเที่ยว บังเกิด กำเนิด เกิด แก่ ตาย อันเป็นประหนึ่งโคถูกสวมคอเข้าไว้ในแอกฉะนั้น ได้ชื่อว่า สังสาระ คือเสือกไสดันไป ซึ่งแสดงไว้ว่า ขนธานํ ปฏิปาฏิยา ธาตุอายตนญฺจ อนฺโนจฺฉินฺนํ วฏฺฏมานา สํสาโรติ วุจฺจติ ลำดับแห่งขันธ์ธาตุ และอายตนะทั้งหลายเป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย ผู้รู้ท่านกล่าวว่า สงฺสาโร คือความเสือกซ่านท่องเที่ยวไป

    สังสาระนี้ เมื่อจะกำหนดนามในสาคร ๔ เป็นดังนี้ สังสารสาคร ๑ ชลสาคร ๑ นยสาคร ๑ ญาณสาคร ๑

    สังสารสาครชื่อว่า สโร คือสังสาระเปรียบเหมือนสระ

    บทว่า มชฺเฌ สรสฺมิ ติฏฺฐตํ นั้นแสดงว่า สระสังสารสาครนี้ เป็นมัธยมสถานกลาง เพราะว่าที่สุดเบื้องต้น และที่สุดเบื้องปลายแห่งสังสาระนั้น อันบุคคลหารู้ทั่วรู้ชัดไม่ เงื่อนเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งสังสาระนั้นไม่ปรากฏ จึงเป็นมัธยมสถานกลาง ด้วยประการฉะนี้

    มชฺเฌ สํสาเร สตฺตา ฐิตา ก็แลสัตว์ทั้งหลายได้ตั้งอยู่แล้วในสังสาระอันเป็นสถานกลาง ซึ่งเกิดโอฆะห้วงน้ำใหญ่ท่วมท้น คือ กามโอฆะ ๑ ภวโอฆะ ๑ ทิฏฐิโอฆะ ๑ อวิชชาโอฆะ ๑

    โอฆะทั้ง ๔ แต่ละอย่างๆ อาศัยปัจจัยนั้นๆ แล้วเกิดขึ้น เจริญทวีมากขึ้นเป็นห้วงพัดพาสัตว์ให้เพียบด้วยทุกข์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในสระสังสาระนั้น ถูกภัยใหญ่เบียดเบียนร่ำไป ภัยใหญ่คือ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ พยาธิ ความเจ็บป่วยไข้ มรณํ ความตาย แตกขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ทุกฺขํ ความทุกข์กายลำบากใจ เหล่านี้แหละเป็นภัยใหญ่หลวงนัก มีเกลื่อนกล่นอยู่ในสระสังสาระ ชรามจฺจุปเรตานํ เหล่าสัตว์ผู้ตั้งอยู่ ณ สังสาระอันเป็นสถานกลาง เกิดห้วงและมีภัยใหญ่หลวง เป็นสัตว์อันความแก่และความตายแวดล้อมรุมเบียดเบียนเป็นนิตย์ ความแก่และความตายท่านกำหนดเป็นประธานแห่งความทุกข์ทั้งหลาย เอวมา ทิตฺตเก โลเก ชราย มรเณน จ โลก คือขันธ์ ธาตุ อายตนะ รุ่งเรืองร้อนแต่ต้น เพราะความแก่และความตายเข้าจุดเผาเหล่าสัตว์ที่ตั้งอยู่ ณ สระสังสาระ อันเป็นสถานกลาง เกิดห้วงและภัยใหญ่หลวง รุมเบียดเบียนด้วยประการฉะนี้

    ๘. เนกขัมมธรรม

    เนกฺขมฺมํ ปสฺส เขมโต ท่านจงเห็นเนกขัมมะโดยความเป็นธรรมเกษม จากโยคะทั้งปวงเถิดฯ

    พระนิพพาน ก็ชื่อว่า เนกขัมมะ ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงพระนิพพานก็ชื่อว่า เนกขัมมะ

    นิพพานคามินีปฏิปทา ชื่อว่าเนกขัมมะนั้น คือ

    สัมมาปฏิปทา ปฏิบัติดำเนิน กาย วาจา จิตชอบ

    อนุโลมปฏิปทา ปฏิบัติ อนุโลมแก่ธรรมนั้น

    อปจฺจนิกปฏิปทา ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึกแก่พระนิพพาน

    อนุวตตปฏิปทา ปฏิบัติไปตามเนื้อความแห่งพระนิพพาน

    ธมฺมานุธมฺมปฏิปทา ปฏิบัติซึ่งธรรมอันสมควรแก่โลกุตตธรรม คือบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ รักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบตามซึ่งธรรมของผู้ตื่นอยู่ คือ สติ สัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อัฏฐังคิกมรรค ๘

    นิพพานคามินีปฏิปทา มีศีลสังวรเป็นต้น นี้ชื่อว่าเนกขัมมธรรม เป็นเบื้องต้นที่จะจะให้บรรลุถึงเนกขัมมะคือพระนิพพาน ปสฺสิตฺวา เมื่อบุคคลมาเห็นแล้ว เลือกแล้ว ให้มีการแจ้งแล้ว กระทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งเนกขัมมะคือพระนิพพานอันเป็นธรรมเกษมย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นผู้ปลอดภัยในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อแล

    ๙. อุปสันตบุคคล

    สิ่งอันใดหรืออารมณ์อันใดที่ได้ยึดไว้แล้ว จับต้องแล้ว ถือมั่นแล้ว ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ อันมีอยู่ในสันดาน สิ่งอันนี้ หรืออารมณ์อันนี้ ท่านพึงสละละวางเสีย พึงปลดเปลื้องเสียให้สิ้น พึงละเสีย พึงบรรเทาเสีย พึงกระทำให้มีที่สุด พึงให้ถึงซึ่งอันเกิดตามไม่ได้ มา เต วิชฺชตุ กิญฺจนํ เครื่องกังวลคือ ราคะ โทสะ โมหะ และทิฏฐิ กังวลคือกิเลสและทุจริตอย่าให้มีในสันดาน ยํ ปุพฺเพ ตํ วิโสเสหิ สิ่งใดมีในภายก่อน ท่านจงยังสิ่งนั้นให้เหือดแห้ง ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจนํ กังวลในภายหลัง อย่าให้มีในสันดาน มชฺเฌ เจ โน คเหสฺสสิ ท่านอย่าได้ถือเอา ณ ท่ามกลาง อุปสนฺโต จฺรสฺสสิ ท่านก็จักเป็นคนสงบระงับแล้ว เที่ยวอยู่

    ๑๐. กุมารกสสัป เทวตาปุจฉิตปัญหาพยากรณ์

    ปัญหาว่า มีจอมปลวกแห่งหนึ่ง กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นเปลว ฯลฯ พราหมณ์สั่งให้ศิษย์ชื่อสุเมธขุดด้วยศัสตรา สิ่งนั้นได้แก่อะไร?

    พระตรัสพยากรณ์ว่า จอมปลวกได้แก่ร่างกายอันเจือด้วยสมภวธาตุของมารดาบิดา และมหาภูตธาตุทั้ง ๔ จึงเกิดมีขึ้นได้ กลางคืนเป็นควัน หมายถึงการตริตรึกนึกคิดของบุคคล พราหมณ์ได้แก่ ตถาคต สุเมธได้แก่ภิกษุผู้มีปัญญาดีในพระธรรมวินัยนี้ การขุด หมายถึงความเพียร ศัสตรา หมายถึงอริยปัญญาณอันสามารถประหารกิเลส ฉะนี้แลฯ

    ๑๑. เหตุเกิดความเพียร

    เมื่อความเพียรจะเกิดขึ้น ก็เพราะสังเวควัตถุเบื้องต้น ๘ ประการคือ ชาติทุกข์ ๑ ชราทุกข์ ๑ พยาธิทุกข์ ๑ มรณทุกข์ ๑ อบายทุกข์ ๑ อดีตทุกข์ ๑ อนาคตทุกข์ ๑ อาหารคเวสิทุกข์ ๑

    ๑๒. ภัทเทกรัตตสูตร

    สมัยสมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าเสด็จประทับที่พระเชตวนาราม กรุงสาวัตถี ได้ตรัสภัทเทกรัตตสูตรแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

    ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตามไม่ควรหวังสิ่งซึ่งยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งใดล่วงพ้นไปแล้ว สิ่งนั้นอันเราละเสียแล้ว อนึ่งสิ่งใดซึ่งไม่มาถึงเล่า สิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่ควรให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตาม ไม่ควรหวังสิ่งซึ่งไม่มาถึง ก็ผู้มีปัญญาได้มาเห็นธรรม ซึ่งเป็นปัจจุบันเกิดขึ้นจำเพาะหน้าแจ้งชัดอยู่ในที่นั้นๆ ความเห็นแจ้งธรรม ซึ่งเป็นปัจจุบันของท่านนั้นไม่ง่อนแง่น ไม่กำเริบด้วยดี

    ผู้มีปัญญาอันมาได้ความเห็นแจ้งในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบันอันไม่ง่อนแง่นและไม่กำเริบด้วยดีแล้ว ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรรีบทำเสียในวันนี้ทีเดียว ใครจะพึงรู้ว่าความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าสู้ความหน่วงเหนี่ยว ความผูกพันกับด้วยมฤตยูความตายซึ่งมีเสนาใหญ่นั้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน อันผู้มีปัญญาควรทำเสียในวันนี้ทีเดียว นักปราชญ์ผู้สงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้ ผู้นั้นแล ว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญดังนี้

    เมื่อตรัสอุเทศนี้จบแล้ว จึงตรัสวิภังค์ต่อไปว่า

    ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตามอยู่ไฉน? บุคคลมาคิดว่า ณ กาลล่วงไปแล้วเมื่อก่อน เราได้เป็นผู้มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว นำความเพลิดเพลินในขันธ์ มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งล่วงไปแล้วนั้นมาตามอยู่ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่าบุคคลให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้วมาตามอยู่

    ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลไม่ให้สิ่งซึ่งล่วงไปแล้ว มาตามอยู่เป็นไฉนเล่า? บุคคลมาคิดว่า ณ กาลไกลล่วงไปแล้วเมื่อก่อน เราได้เป็นผู้มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างนี้ๆ แล้วไม่นำความเพลิดเพลินในขันธ์ มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งล่วงไปแล้วนั้นมาตาม อยู่ ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แลชื่อว่าบุคคลไม่ให้สิ่งล่วงไปแล้วมาตามอยู่ เบื้องหน้าก็ไม่ปรารถนา ไม่ให้มาตามอยู่ และปัจจุบันก็ไม่ให้มาตามอยู่ ไม่ถือว่าเราว่าเขา ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นอยู่ในธรรมทั้งหลาย

    พระอริยสาวกและสัตบุรุษท่านไม่ตามเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตัวตนบ้าง ไม่ตามเห็นตัวตนว่ามีรูป เวทนา สังขาร วิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในตัวตนบ้าง ไม่ตามเห็นตัวตนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า บุคคลไม่ง่อนแง่นอยู่ในธรรมทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นจำเพาะหน้าฉะนี้แล

    ๑๓. พหุเวทนิยสูตร

    สูตรนี้ว่าด้วยเวทนา

    เวทนา ๒ นั้นคือ เวทนาทางกายอย่าง ๑ เวทนาทางจิตอย่าง ๑

    เวทนา ๓ นั้น คือ สุข ๑ ทุกข์ ๑ อุเบกขา ๑

    เวทนา ๕ นั้นคือ สุขเวทนา ๑ ทุกข์เวทนา ๑ โสมนัสสเวทนา ๑ โทมนัสสเวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑

    เวทนา ๖ อย่าง นับตามทวาร ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ เวทนา ๑๐๘

    ๑๔. พึงเป็นคนมีสติ

    อย่าถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง ความเสื่อมปัญญา นักปราชญ์ท่านติเตียน ความเจริญปัญญา เลิศกว่าความเจริญทั้งปวง

    ๑๕. อนุตตริยะ ๖

    พระผู้มีพระภาค ตรัสเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า กิจทั้งหลายไม่มีกิจอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าสิ่งเหล่านี้คือ ความเห็น ๑ ความฟัง ๑ ความได้ศรัทธา ๑ ความศึกษา ๑ ความบำเรอปฏิบัติ ๑ ความระลึก ๑

    ๑๖. อปัณณกธรรม

    ความสำรวมอินทรีย์ ๖ ไม่ดูด้วยนิมิต ไม่ดูด้วยอนุพยัญชนะ ให้ดูด้วยอสุภนิมิต ความรู้ประมาณในโภชนะและชาคริยานุโยค ความพากเพียรอย่างผู้ตื่นอยู่ โดยกำหนดเวลาไว้ดังนี้ ตั้งแต่อรุณขึ้นไปตลอดถึงพลบค่ำ เวลา ๑ ตั้งแต่ย่ำค่ำไปจนถึงหนึ่งยาม เวลา ๑ ยามกลางตั้งแต่ ๔ ทุ่ม นอนจนถึง ๘ ทุ่ม ลุกขึ้น - ตั้งแต่ยามกลางล่วงไปแล้ว จนตลอดอรุณขึ้นมาใหม่เวลา ๑ แบ่งเวลาเป็นที่ชำระจิตให้บริสุทธ์ เป็น ๓ เวลาฉะนี้ ให้ผู้ประกอบความเพียรทำอย่างนี้จึงชื่อว่าชาคริยานุโยค

    ธรรม ๓ ประการจะให้กำจัดเสียซึ่งอาสวะเรียกว่า อปัณณกธรรม ผู้ปฏิบัติตามชื่อว่าทำความเพียรไม่ผิด ดังนี้

    ๑๗. อริยทรัพย์

    สัทธา ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ พาหุสัจจะ ๑ วิริยะ ๑ สติ ๑ ปัญญา ๑

    ๑๘. ธรรมเป็นเหตุเจริญเจโตวิมุติ

    ก: ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี อันนี้เป็นไปเพื่อความแก่กล้า แห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้าฯ

    ข: ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยธรรม เครื่องสำรวมคือปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และที่เที่ยวไปอันสมควรอยู่เป็นนิตย์ เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อยโดยปกติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย ธรรมอันนี้เป็นไปด้วยดี เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้าฯ

    ค.ภิกษุเป็นผู้พากเพียรหมั่น ไม่ทอดธุระในการกุศล ธรรมอันนี้เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ

    ฆ. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นยังความเสื่อม และความดับของสังขารทั้งหลาย เป็นปัญญาอย่างประเสริฐ อาจแทงกิเลสได้โดยไม่เหลือ เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ

    ๑๙. สัลเลขกถา

    ถ้อยคำเครื่องขัดเกลากิเลส ๑๐ ประการคือ

    เจรจาถึงความมักน้อย ๑

    เจรจาถึงความสันโดษ ยินดีด้วยของที่มีอยู่ ๑

    เจรจาถึงความสงัด ๑

    เจรจาถึงความไม่ระคนด้วยหมู่ ๑

    เจรจาถึงความปรารภซึ่งความเพียร ๑

    เจรจาถึงศีล ความสำรวมกายวาจา ๑

    เจรจาถึงสมาธิ ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว ๑

    เจรจาถึงปัญญา ความรู้ทั่วถึง ๑

    เจรจาถึงวิมุตติ ความพ้นวิเศษ ๑

    เจรจาถึงวิมุตติญาณทัสสนะ ปัญญาที่รู้เห็นในวิมุตติ ๑

    รวมเป็น ๑๐ ประการ

    ๒๐. วิธีถ่ายถอนกิเลส

    พึงเจริญอสุภภาวนา เพื่อละราคะเสีย พึงเจริญเมตตา เพื่อละพยาบาทเสีย พึงเจริญอาปานานสติเพื่อเข้าไปตัดวิตกเสีย พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอัสมิมานะเสีย อนัตตาสัญญา ก็พึงเห็นพึงตั้งใจไว้ด้วยดี ความถอนอัสมิมานะขึ้นเสียได้ เป็นปรินิพพานในทิฏฐธรรมภพปัจจุบันนี้ทีเดียว

    ๒๑. พหุธาตุกสูตร

    ณ กาลใด ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปาทธรรม เป็นแดนอาศัยเกิดขึ้นพร้อม เป็นผู้ฉลาดในฐานะ - อฐานะ คือ สิ่งที่เป็นได้ เป็นไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดอย่างนี้ นักปราชญ์เรียกว่าเป็นบัณฑิตผู้มีปัญญาไต่สวน

    ธาตุ ๑๘ คือ จักขุธาตุ ๑ รูปธาตุ ๑ จักขุวิญญาณธาตุ ๑ โสตธาตุ ๑ สัททธาตุ ๑ โสตวิญญาณธาตุ ๑ ฆานธาตุ ๑ คันธธาตุ ๑ ฆานวิญญาณธาตุ ๑ ชิวหาธาตุ ๑ รสธาตุ ๑ ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑ กายธาตุ ๑ โผฏฐัพพธาตุ ๑ กายวิญญาณธาตุ ๑ มโนธาตุ ๑ ธัมมธาตุ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑

    ธาตุ ๖ คือ ปฐวีธาตุ ๑ อาโปธาตุ ๑ เตโชธาตุ ๑ วาโยธาตุ ๑ อากาศธาตุ ๑ วิญญาณธาตุ ๑

    ธาตุ ๖ อื่นอีกคือ สุขธาตุ ธาตุคือสุข ๑ ทุกข์ธาตุ ธาตุคือทุกข์ ๑ โสมนัสสธาตุ ธาตุคือผู้มีใจดี ๑ โทมนัสสธาตุ ธาตุคือผู้มีใจชั่ว ๑ อุเบกขาธาตุ ๑ อวิชชาธาตุ ๑

    ธาตุเหล่านี้คือ กามธาตุ ธาตุคือกาม ๑ เนกขัมมธาตุ ธาตุคือความออกไปจากกาม ๑ พยาบาทธาตุ ธาตุคือพยาบาท ๑ อพยาบาทธาตุ ธาตุ คือความไม่พยาบาท ๑ วิหิสํธาตุคือความเบียดเบียน ๑ อวิหิสํธาตุ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ๑ รวมเป็น ๖ ประการ

    ธาตุ ๓ เหล่านี้คือ กามธาตุ ธาตุคือกาม ๑ รูปธาตุ ธาตุคือรูป๑ อรูปธาตุ ธาตุคืออรูป ๑

    ธาตุ ๒ เหล่านี้คือ สังขตธาตุ ธาตุอันปัจจัยตกแต่ง ๑ อสังขตธาตุ ธาตุอันเป็นปัจจัยไม่ตกแต่ง ๑

    ก็อายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน ๖ ที่เป็นภายนอก ๖ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปาทธรรม อันมีอวิชชาเป็นต้น ไปจนถึง สงฺขิตเตน ปญฺจุปาทานขนฺธาปิ ทุกฺขา นั้น ย่อมรู้ชัดว่า บุคคลได้บรรลุพระโสดาบันแล้ว เป็นคนไม่ถือมั่น ปุถุชนย่อมถือมั่นในสังขาร ถือว่าตัวตนเราเขาว่าเที่ยงแท้

    ธรรมปริยายนี้ชื่อ พหุธาตุกสูตร ว่าด้วยธาตุมาก เรียกว่า จตุปริวัฏฏ์ เวียนรอบ ๔ บ้าง ว่า ธมฺมาทาสา แว่นส่องธรรมบ้าง ว่า อมตกุนฺกุภิ กลองอมฤตเภรีบ้าง ว่า อนุตฺตรสงฺคามวิชย เครื่องชนะสงครามอันเยี่ยมบ้าง

    ๒๒. พระอภิธรรมปรมัตถสังคหะ

    นมตฺถุ สุคตสฺส ฯ สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺม คณุตฺตมํ อภิวาทิย ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺถ สงฺคหํ ตตฺถ วุตฺตาภิ ธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพถาติ

    บัดนี้จะแสดงพระอภิธรรมปรมัตถสังคหะ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคบรมศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญู ผู้เป็นบรมครูเจ้าได้ตรัสไว้ อันท่านพระอนุรุทธาจารย์นำมาประพันธ์เป็นคาถา ๙ ปริเฉทดังต่อไปนี้

    พระอภิธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสไว้โดยปรมัตถนัย ๔ ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นการสรุปรวมยอด รวมสังขตธรรมและอสังขตธรรมไว้ในที่เดียวกัน

    สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง จัดโดยหมวดเป็น ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สงเคราะห์ลงเป็น ๓ ประการ คือจิต เจตสิก รูป ฯ วิญญาณขันธ์เป็นจิต เวทนา สัญญา สังขาร เป็นเจตสิก รูปขันธ์แยกเป็นภูตรูป และอุปาทายรูป ส่วนอสังขธรรมนั้นได้แก่พระนิพพาน ซึ่งมีอารมณ์เหี่ยวแห้งด้วยอริยมรรคจิต - อริยผลจิตแล้ว

    จิตแยกเป็น ๔ ประเภท โดยภูมิ คือกามาวจรจิต ๑ รูปาวจรจิต ๑ อรูปาวจรจิต ๑ โลกุตตรจิต ๑ จิตซึ่งเป็นไปในสันดานของสัตว์ ซึ่งเกิดในกามภพ ๑๑ คืออบายภูมิ ๔ กามสุคติภูมิ ๗ ชื่อว่ากามาวจรจิต ๕๔ ดวง จิตซึ่งเป็นไปโดยมากในสันดานของสัตว์ ซึ่งเกิดในรูปภพชื่อว่า รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง จิตซึ่งเป็นไปโดยมากในสันดานของสัตว์ ซึ่งเกิดในอรูปภพชื่อว่า อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง จิตซึ่งข้ามขึ้นจากโลก คือปัญจุปาทานขันธ์ ไม่มีอาสวะชื่อว่า โลกุตตรจิต คือ อริยมรรคคจิต ๔ อริยผลจิต ๔ เป็น ๘ ดวง สิริรวมเป็นจิต ๘๙ ดวง ด้วยประการฉะนี้

    เจตสิก ๒๕ ดวง เป็นธรรมเป็นไปในจิต เกิดกับดับพร้อมกับจิต ซึ่งแจกโดยประเภท และอาการแตกต่างแห่งหมวดธรรม นับได้ ๒๕ ดวงด้วยประการฉะนี้

    ธรรมสังคหะ ๖ อาการ คือ เวทนา ๖ เหตุ ๖ กิจ ๖ ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ วัตถุ ๖ ด้วยประการฉะนี้

    ฉักกะ ๖ คือ วัตถุ ๖ ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ วิถีจิต ๖ วิสยปวัตติ ๖

    จตุกกะ ๔ คือ ภูมิจตุกะ ได้แก่ภูมิทั้ง ๔ คือ อบายภูมิ ๑ กามสุคติภูมิ ๑ รูปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑

    ปฏิสนธิจตุกกะ ท่านจำแนกปฏิสนธิออกเป็น ๔ คือ อบายภูมิปฏิสนธิ ๑ กามสุคติปฏิสนธิ ๑ รูปาวจรปฏิสนธิ ๑ อรูปาวจรปฏิสนธิ ๑

    กัมมจตุกกะ ท่านแสดงกรรมโดยประเภทแห่งกิจ ๔ คือ ชนกกรรม ๑ อุปถัมภกรรม ๑ อุปปีฬกกรรม ๑ อุปฆาตกกรรม ๑

    ยังกรรมอีก ๔ ประการ คือ ครุกรรม ๑ อาสันนกรรม ๑ อาจิณณกรรม ๑ กตัตตากรรม ๑

    ครุกรรม นั้นคือ กรรมหนัก ฝ่ายบุญได้แก่ฌานสมาบัติ ฝ่ายบาปได้แก่อนันตริยกรรมธรรมทั้ง ๕

    อาสันนกรรม นั้นได้แก่กุศลกิจและอกุศลกิจที่ทำใกล้เวลามรณะ

    อาจิณณกรรม นั้นได้แก่กุศลและอกุศลที่บุคคลทำอยู่เนืองๆ

    กตัตตากรรม นั้นได้แก่กุศลและอกุศลมีกำลังอ่อน

    ยังกรรมอีก ๔ ประการ คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อุปปัชชเวทนียกรรม ๑ อปราปรเวนียกรรม ๑ อโหสิกรรม ๑

    มรณจตุกกะ ท่านแสดงลักษณะมรณะ ๔ ประการ คือ อายุกขยมรณะ ๑ กัมมักขยมรณะ ๑ อุภยักขยมรณะ ๑ อุปัจเฉทกัมมุนามรณะ ๑ ชาติทุกข์เป็นเบื้องต้น ชราพยาธิเป็นท่ามกลาง มรณทุกข์เป็นเบื้องปลาย

    รูปสังคหะสังเขป ๕ ประการ คือ สมุทเทศนัย ๑ วิภาคนัย ๑ สมุฏฐานนัย ๑ กลาปนัย ๑ ปวัตติกนัย ๑

    อธิบายว่า ลักษณะที่แสดงรูปโดยย่อชื่อว่าสมุทเทศนัย วิธีจำแนกรูปทั้งปวงโดยส่วนหนึ่งๆ ชื่อว่า วิภาคนัย วิธีแสดงปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดรูปมีกุศลากุศลเป็นต้นชื่อว่า สมุฏฐานนัย วิธีแสดงรูปบรรดาที่เกิดดับพร้อมกันเป็นหมู่เป็นแผนก มีจักขุทสกะเป็นต้น ชื่อว่า กลาปนัย วิธีแสดงความเกิดเป็นลำดับแห่งภพและกาลของสัตว์ทั้งหลายชื่อว่า ปวัตติกนัย

    นิพฺพานํ ปน โลกุตฺตรอสงฺขตํ ก็นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่า โลกุตตรธรรมอสังขตธาตุ ไม่มีเครื่องปรุง เป็นของบริสุทธ์ ไม่มีเรื่องเกิดและดับ พระนิพพานนั้นเป็นของธรรมชาติอันบุคคลจะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยอริยมรรคญาณทั้ง ๔ เมื่ออริยมรรคธรรมเกิดขึ้นแล้วจึงเห็นพระนิพพาน เอกวิธมฺปิ พระนฤพานนั้นเมื่อกล่าวโดยสภาพก็มีอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ พระนิพพานนี้จึงเป็น เอกปฏิเวธาภิสมัย ตรัสรู้ได้ในขณะจิตเดียวด้วยประการฉะนี้

    สมุจจัยสังคหะ ๔ คือ อกุศลสังคหะ ๑ มิสสกสังคหะ ๑ โพธิปักขิยสังคหะ ๑ สัพพัตถสังคหะ ๑

    อกุศลสังคหะนั้นท่านสงเคราะห์เหล่าธรรมที่เป็นอกุศลเป็นอาการ ๕๓๕

    มิสสกสังคหะนั้น ท่านสงเคราะห์เหล่าธรรมทั้งกุศลและอกุศลเจือปนกัน

    โพธิปักขิยสังคหะนั้นท่านสงเคราะห์เหล่าธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ๓๗ ประการ

    สัพพัตถสังคหะนั้นท่านงสงเคราะห์ธรรมส่วนที่เรียกว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อริยสัจจ์

    จะแสดงสมุจจัยสังคหะตามที่ได้ยกนิเขปบทขึ้นตั้งไว้นั้นสืบไป

    ในอกุศลสังคหะนั้น ท่านสงเคราะห์เหล่าธรรมที่เป็นอกุศลสังกิเลส ๗ หมวด

    คือ อาสวะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ คันถะ ๔ อุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๕ สังโยชน์ ๑๐

    ในมิสสกสังคหะนั้น ท่านสงเคราะห์เหล่าธรรมที่เจือกันทั้งกุศลอกุศล เป็น ๗ หมวด

    คือธาตุ ๖ หมวด ๑ องค์ฌาน ๗ หมวด ๑ อายตนะ ๑๒ หมวด ๑ อินทรีย์ ๒๒ หมวด ๑ พละ ๕ หมวด ๑ อธิปติ ๔ หมวด ๑ อาหาร ๔ หมวด ๑

    ในโพธิปักขิยสังคหะนั้น ท่านสงเคราะห์ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิญาณ ๗ หมวด

    คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

    ในสัพพัตถสังคหะนั้น ท่านสงเคราะห์ธรรมที่ไม่ได้เรียกว่าสัตว์บุคคล จัดไว้ ๕ หมวด

    คือ ขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจจ์ ๔

    จะแสดงปัจจัยสังคหะปริเฉทที่ ๘ สืบไป

    ปัจจัยสังคหะนี้ ท่านสงเคราะห์ซึ่งธรรมปัจจัยตามนัย ๒ ประการ

    คือ ปฏิจจสมุปบาทปัจจัยนัย ๑ ปัฏฐานปัจจัยนัย ๑

    นัยอันใดที่พระบรมครูสัพพัญญูตรัสเทศนาไว้ใน ปฏิจจสมุปบาทธรรม นัยอันนั้น ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาทนัย นัยอันใดซึ่งพระองค์ตรัสเทศนาไว้ในพระคัมภีร์สมันตมหาปัฏฐาน นัยอันนั้นชื่อว่า ปัฏฐานนัย

    ในปัจจัยสังคหะนี้ พระอรรถกถาจารย์ยกเอานัยทั้งสองประการนั้นประชุมกันแสดงออกให้พิสดาร เพื่อให้สาธุชนได้ทราบว่า ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัย ธรรมเหล่านี้เกิดแต่ปัจจัย โดยนัยพระบาลีในปฏิจจสมุปบาทธรรมว่า อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ ดังนี้เป็นต้น

    มีเนื้อความว่า

    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศัยเหตุปัจจัยต่อๆ กันด้วยประการฉะนี้

    ในปัฏฐานนัยนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาจำแนกปัจจัย ๒๔ ประการ มีเหตุปัจจัยเป็นต้น มีอวิคตปัจจัยเป็นที่สุด

    ก็เหตุปัจจัยนั้น ได้แก่ ธรรมเป็นเหตุ เป็นเค้า เป็นมูล ในฝ่ายกุศลมี ๓ คือ อโลภะ ความไม่โลภ อโทสะ ความไม่โกรธ อโมหะ ความไม่หลง ในฝ่ายอกุศลก็มี ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นี้แหละท่านว่า เหตุปัจจัยฯ

    อารัมมณปัจจัยนั้น ได้แก่อารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อารมณ์ ทั้ง ๖ นั้น ย่อมเป็นที่ยึดหน่วงแห่งจิตและเจตสิกทั้งปวง อันเกิดขึ้นในทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น จึงชื่อว่าอารัมมณปัจจัย

    อธิปติปัจจัยนั้น ได้แก่ธรรมอันเป็นอุปการะด้วยความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลายอันเนื่องกัน อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัยนั้น ได้แก่ธรรมอันบังเกิดก่อนแล้วจึงเป็นอุปการปัจจัยให้โอกาสแก่ธรรมอันบังเกิดภายหลัง หาธรรมอื่นคั่นในระหว่างมิได้ สหชาตปัจจัยนั้น ได้แก่ ธรรมอันเป็นอุปการะด้วยความเป็นของเกิดขึ้นพร้อมกัน ประหนึ่งเปลวประทีปกับแสงสว่างอันเกิดพร้อมกันฉะนั้น อัญญมัญญปัจจัยนั้น ได้แก่ธรรมที่เกิดอาศัยกันและกันจึงตั้งอยู่ได้ ดังไม้สามท่อนอันอิงอาศัยกันและกันฉะนั้น

    นิสสัยปัจจัยนั้น ได้แก่ธรรมอันเป็นอุปการะคือที่อาศัย ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่อาศัยแห่งต้นไม้แลภูเขาฉะนั้นฯ อุปนิสสัยปัจจัยนั้น ได้แก่ธรรมอันเป็นอุปการะ คือเป็นอุปนิสสัยติดตามตนฯ ปุเรชาตปัจจัยนั้นได้แก่รูปธรรมอันเกิดขึ้นก่อนแล้วเป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกอันบังเกิด ณ ภายหลังฯ ปัจฉาชาตปัจจัยนั้นได้แก่จิตและเจตสิกอันเกิดภายหลัง แล้วเป็นอุปการะแก่รูปอันเกิดก่อนฯ อาเสวนปัจจัยนั้น ได้แก่ชวนจิตอันมีชาติเสมอกัน ย่อมให้กำลังในกิจที่เป็นบุญและบาปทุกประการฯ กัมมปัจจัยนั้น ได้แก่กุศลและอกุศลอันเป็นปัจจัยให้สำเร็จผลคือสุขและทุกข์แก่สัตว์ วิปากปัจจัยนั้นได้แก่วิบากจิตอันบังเกิดเป็นอุปการแก่สัตว์อันเสวยสุขและทุกข์ฯ อาหารปัจจัยนั้น ได้แก่อาหาร ๔ ประการ คือ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๑ วิญญาณาหาร ๑ กวฬึการาหาร ๑ ฯ อินทรีย์ปัจจัยนั้น ได้แก่ปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทเป็นต้น เป็นใหญ่ในที่จะกระทำให้วิญญาณทั้ง ๕ เป็นไปในอำนาจ หรือรูปชีวิตินทรีย์เป็นใหญ่ในที่จะกระทำให้กำลังรูปประพฤติเป็นไปในอำนาจ ฌานปัจจัยนั้น ได้แก่องค์ฌาน มีวิตกวิจารเป็นต้น เป็นปัจจัยให้กำลังแก่นามและรูปฯ มัคคปัจจัยนั้น ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ประการ ทั้งฝ่ายโลกีย์และโลกุตตระเป็นปัจจัยให้แก่นามธรรมและรูปธรรม อันเกิดพร้อมกันฯ สัมปยุตตปัจจัยนั้นคือจิตและเจตสิก อันเป็นปัจจัยแก่กัน เกิดกับดับพร้อมกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกันฯ วิปปยุตตปัจจัย นั้น คือรูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ประกอบกัน มิได้ระคนกัน อัตถิปัจจัยนั้น คือรูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ ย่อมเป็นปัจจัยให้กำลังแก่กัน นัตถิปัจจัยนั้นคือนามและรูปดับแล้ว มีปัจจัยให้บังเกิดต่อไปในเบื้องหน้าฯ วิคตปัจจัยนั้นมีเนื้อความเหมือนนัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัยนั้นมีเนื้อความเหมือนอัตถิปัจจัย

    การที่ตรัสพยัญชนะให้ต่างกันแต่เนื้อความเป็นอย่างเดียวกันนั้น ก็ด้วยทรงอนุโลมตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ที่ควรรู้ได้ด้วยอรรคพยัญชนะ ประการใด ก็ทรงภาษิตไว้ด้วยประการนั้นฉะนี้แล

    จะแสดงกัมมัฏฐานภาวนาต่อไป กัมมัฏฐานภาวนามี ๒ ประการ คือ สมถกัมมัฏฐานภาวนา ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐานภาวนา ๑ ก็ในกัมมัฏฐานสังคหะ ๒ ประการนั้น จะแสดงสมถสังคหะก่อน ก็สมถกัมมัฏฐานนั้น มีอารมณ์เป็นเครื่องยึดหน่วงแห่งจิต ทำจิตให้สงบถึง ๔๐ ทัศ จัดเป็นหมวดได้ ๗ หมวด คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔ อาหารปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูปกัมมัฏฐาน ๔

    ก็สมถกัมมัฏฐานนี้มีอารมณ์มากถึง ๔๐ ทัศ นั้นท่านแสดงไว้ดดยสมควรแก่จริตของโยคาวจรบุคคลเพราะบุคคลย่อมมีจริตต่าง ๆ กันถึง ๖ ประการ

    (๑) โยควจรที่เป็น ราคจริต มากไปด้วยความกำหนัดยินดี ในเบญจกามคุณ ควรเจริญอสุภะ ๑๐ และกายคตาสติเป็นอารมณ์ จึงเป็นที่สบาย

    (๒) โยคาวจรที่เป็น โทสจริต มักโกรธมักประทุษร้าย ควรเจริญพรหมวิหาร ๔ และวรรณกสิณ ๔ คือ นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑ จึงเป็นที่สบาย

    (๓)-(๔) โยคาวจรที่เป็น โมหจริต มักลุ่มหลงมาก กับที่เป็น วิตกจริต มักตรึกตรองมาก ควรเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน จึงเป็นที่สบาย

    (๕) โยคาวจรที่เป็น สัทธาจริต มักเชื่อคนพูดง่ายๆ ควรเจริญ พุทฺธานุสฺสติ ธมฺมานุสฺสติ สงฺฆานุสฺสติ สีลานุสฺสติ จาคานุสฺสติ และ เทวดานุสฺสติ จึงเป็นที่สบาย

    (๖) โยคาวจรที่เป็น พุทธิจริต มากไปด้วยปัญญา ควรเจริญมรณัสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน จึงเป็นที่สบาย

    ส่วนกสิณกัมมัฏฐานที่เหลือ ๑๐ ประการ คือ รูปกสิณ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโยกสิณ อรูปกสิณ ๒ คือ อาโลกกสิณ และอากาสกสิณ และอรูปกัมมัฏฐาน ๔ ย่อมเป็นที่สบายแก่จริตทั้งปวง

    จะแสดงวิปัสสนากัมมัฏฐานสืบไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ วิสุทธิ ๑ วิโมกข์ ๑ อริยบุคคล ๑ สมาบัติ ๑

    วิสุทธิ นั้นแจกออกเป็น ๗ ประการคือ สีลวิสุทธิ ๑ จิตตวิสุทธิ ๑ ทิฏฐิวิสุทธิ ๑ กังขาวิตรณวิสุทธิ ๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ๑ ญาณทัสสนวิสุทธิ ๑

    วิโมกข์ นั้นแจกออกเป็น ๓ ประการคือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ ฯ

    บุคคล นั้นท่านจำแนกออกเป็นอริยบุคคล ๘ จำพวก มีพระโสดามรรคบุคคลเป็นต้น พระอรหัตตผลบุคคลเป็นที่สุด ฯ

    สมาบัติ ท่านจำแนกเป็นรูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘ ประการ ด้วยประการฉะนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2015
  2. สยามนุภาพ

    สยามนุภาพ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +33
    ๒๓. วิธีเจริญกัมมัฏฐานภาวนา

    จะแสดงวิธีเจริญกัมมัฏฐานภาวนา เพื่อโยคาวจรกุลบุตรได้อาศัยศึกษาและปฏิบัติสืบไป โยคาวจรผู้ใดจะเจริญกัมมัฏฐานภาวนา พึงตรวจดูจริตของตนให้รู้ชัด ว่า ตนเป็นคนมีจริตอย่างใดแน่นอนก่อน แล้วพึงเลือกเจริญกัมมัฏฐานอันเป็นที่สบายแก่จริตนั้นๆ ดังได้แสดงไว้แล้วนั้นเถิด

    อนึ่ง พึงทราบคำกำหนดความดังต่อไปนี้ไว้เป็นเบื้องต้นก่อน คือ

    บริกรรมนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกัมมัฏฐานที่นำมากำหนดพิจารณา

    อุคคหนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกัมมัฏฐานอันปรากฏขึ้นในมโนทวาร ขณะที่กำลังทำการเจริญภาวนาอยู่อย่างชัดแจ้ง คล้ายเห็นด้วยตาเนื้อ

    ปฏิภาคนิมิต หมายเอาอารมณ์ของกัมมัฏฐานอันปรกฏแจ่มแจ้งแก่ใจของผู้เจริญภาวนายิ่งขึ้นกว่าอุคคหนิมิต

    และพึงทราบลำดับแห่งภาวนาดังนี้

    บริกรรมภาวนา หมายการเจริญกัมมัฏฐานในระยะแรกเริ่ม ใช้สติประคองใจกำหนดพิจารณาในอารมณ์กัมมัฏฐานอันใดอันหนึ่ง

    อุปจารภาวนา หมายการเจริญกัมมัฏฐานในขณะเมื่ออุคคหนิมิตเกิดปรากฏในมโนทวาร

    อัปปนาภาวนา หมายการเจริญภาวนาในขณะเมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏ จิตเป็นสมาธิแนบเนียน มีองค์ฌานปรากฏขึ้นครบบริบูรณ์

    บริกรรมภาวนา ได้ทั่วไปในกัมมัฏฐานทั้งปวง อุปจารภาวนาได้ในกัมมัฏฐาน ๑๐ ประการ คือ อนุสสติ ๘ ตั้งแต่พุทธานุสสติ ถึงมรณัสสติ กับอาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน เพราะเป็นกัมมัฏฐานสุขุมละเอียดยิ่งนัก ส่วน อัปปนาภาวนา นั่นได้ในกัมมัฏฐาน ๓๐ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อานาปานสติ ๑ กายคตาสติ ๑ พรหมวิหาร ๔ และอรูปกัมมัฏฐาน ๔

    กัมมัฏฐาน ๑๑ คืออสุภะ ๑๐ กับกายคตาสติ ๑ ให้สำเร็จแต่เพียง รูปาวจรปฐมฌาน พรหมวิหาร ๓ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา ให้สำเร็จรูปาวจรฌานทั้ง ๔ ประการ อุเบกขาพรหมวิหาร ให้สำเร็จแต่ปัญจมรูปาวจรฌานอย่างเดียว อรูปกัมมัฏฐาน ๔ ให้สำเร็จแต่อรูปาวจรฌานอย่างเดียวฯ

    (๑) วิธีเจริญปฐวีกสิณ

    กุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญกัมมัฏฐานภาวนา อันชื่อว่าปฐวีกสิณ พึงตัดปลิโพธกังวลห่วงใยน้อยใหญ่เสียให้สิ้น แล้วไปยังที่เงียบสงัด เพ่งพิจารณาดินที่ตนตกแต่งเป็นดวงกสิณเป็นอารมณ์ หรือจะเพ่งพิจารณาดินที่แผ่นดิน หรือที่ลานข้าวเป็นต้นเป็นอารมณ์ก็ได้ เมื่อจะพิจารณาดินที่มิได้ตกแต่งไว้เป็นดวงกสิณนั้น พึงกำหนดให้มีที่สุดโดยกลมเท่าตะแกรง กว้างคืบ ๔ นิ้ว เป็นอย่างใหญ่เท่าขอบปากขันเป็นอย่างเล็ก อย่ากำหนดให้ใหญ่หรือเล็กกว่ากำหนดนี้ แล้วพึงบริกรรมภาวนาว่า ปฐวีๆ ดินๆ ดังนี้ร่ำไป ถ้ามีวาสนาบารมีเคยได้สั่งอบรมมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว ก็อาจได้สำเร็จฌาน ถ้าหาวาสนาบารมีมิได้ ก็ยากที่จะสำเร็จฌานด้วยการเพ่งแผ่นดินอย่างว่านี้ จำจะต้องทำเป็นดวงกสิณ

    เมื่อจะทำ พึงหาดินสีแดงดังแสงพระอาทิตย์แรกอุทัย มาทำ อย่าทำในที่คนสัญจรไปมาพลุกพล่าน พึงทำในที่สงัด เป็นที่ลับ ที่กำบัง ดวงกสิณนั้นจะทำตั้งไว้กับที่ทีเดียว หรือจะทำชนิดยกไปได้ก็ตาม ดินที่ทำดวงกสิณนั้น พึงชำระให้หมดจด ทำเป็นวงกลม กว้างคืบ ๔ นิ้ว ขัดให้ราบเสมอดังหน้ากลอง พึงปัดกวาดที่นั้นให้เตียนสะอาด ปราศจากหยากเยื่อเฟื้อฝอย

    แล้วพึงชำระกายให้หมดเหงื่อไคล เมื่อจะนั่งภาวนา พึงนั่งบนตั่งที่มีเท้าสูง คืบ ๔ นิ้ว นั่งห่างดวงกสิณออกไปประมาณ ๒ ศอกคืบ พึงนั่งขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรงผินหน้าไปทางดวงกสิณ แล้วพึงพิจารณาโทษกามคุณต่าง ๆ และตั้งจิตไว้ให้ดีในฌานธรรมอันเป็นอุบายที่จะยกตนออกจากกามคุณ และจะล่วงพ้นกองทุกข์ทั้งปวง แล้วพึงระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ยังปรีดาปราโมทย์ให้เกิดขึ้น แล้วพึงทำจิตให้เคารพรักใคร่ในพิธีทางปฏิบัติให้มั่นใจว่าปฏิบัติดังนี้ ได้ชื่อว่าเนกขัมมปฏิบัติ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทะเจ้าเป็นต้น จะได้ละเว้นหามิได้ ล้วนแต่ปฏิบัติดังนี้ทุกๆ พระองค์

    ครั้นแล้วพึงตั้งจิตว่า เราจะได้เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวกด้วยปฏิบัติอันนี้โดยแท้ ยังความอุตสาหะให้เกิดขึ้นแล้วจึงลืมจักษุขึ้นดูดวงกสิณ

    เมื่อลืมจักษุขึ้นนั้น อย่าลืมขึ้นให้กว้างนัก จะลำบากจักษุ อนึ่งมณฑลกสิณจะปรากฏแจ้งเกินไป ครั้นลืมจักษุขึ้นน้อยนัก มณฑลกสิณก็จะไม่ปรากฏแจ้ง จิตที่จะถือเอากสิณนิมิตเป็นอารมณ์นั้น ก็จะย่อหย่อนท้อถอยเกียจคร้านไป เหตุฉะนี้จึงพึงลืมจักษุขนาดส่องเงาหน้าในกระจก

    อนึ่ง เมื่อแลดูดวงกสิณนั้น อย่าพิจารณาสี พึงกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดินเท่านั้น แต่สีดินนั้นจะละเสียก็มิได้ เพราะว่าสีดินกับดวงกสิณเนื่องกันอยู่ ดูดวงกสิณก็เป็นอันดูสีอยู่ด้วย เหตุฉะนี้ พึงรวมดวงกสิณกับสีเข้าด้วยกัน และดูดวงกสิณกับสีนั้นให้พร้อมกัน กำหนดว่า สิ่งนี้เป็นดิน แล้วจึงบริกรรมภาวนาว่า ปฐวีๆ ดินๆ ดังนี้ร่ำไป ร้อยครั้งพันครั้ง เมื่อกระทำบริกรรมภาวนาว่าปฐวี ๆ อยู่นั้นอย่าลืมจักษุเป็นนิตย์ พึงลืมจักษุดูอยู่หน่อยหนึ่งแล้วหลับลงเสีย หลับลงสักหน่อย แล้วพึงลืมขึ้นดูอีก พึงปฏิบัติโดยทำนองนี้ไปจนกว่าจะได้อุคคหนิมิต

    ก็กสิณนิมิตอันเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ในขณะที่ทำการบริกรรมภาวนา ชื่อว่า บริกรรมนิมิต กิริยาที่ทำการบริกรรมว่า ปฐวี นั้นชื่อว่า บริกรรมภาวนา เมื่อตั้งจิตในกสิณนิมิต กระทำบริกรรมว่าปฐวีๆ นั้น ถ้ากสิณนิมิตมาปรากฏในมโนทวาร หลับจักษุลง กสิณนิมิตก็ปรากฏอยู่ในมโนทวารดังลืมจักษุแล้วกาลใด ชื่อว่าได้อุคคหนิมิต ณ กาลนั้น เมื่อได้อุคคหนิมิตแล้ว พึงตั้งจิตไว้ในอุคคหนิมิตนั้น กำหนดให้ยิ่งวิเศษขึ้นไป เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณธรรมโดยลำดับๆ กิเลสก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะแก่กล้าเป็นอุปจารสมาธิ ปฏิภาคนิมิตก็จะปรากฏขึ้น

    อุคคหนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต มีลักษณะต่างกัน คืออุคคหนิมิตยังประกอบด้วยกสิณโทษ คือยังปรากฏเป็นสีดินอยู่อย่างนั้น ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏบริสุทธิ์งดงามดังแว่นกระจก ที่บุคคลถอดออกจากฝักจากถุงฉะนั้น จำเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ทั้งสิ้นก็ระงับไป จิตก็ตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ สำเร็จเป็นกามาพจรสมาธิภาวนา เมื่อได้อุปจารสมาธิแล้ว ถ้าพากเพียรพยายามต่อขึ้นไปไม่หยุดหย่อน ก็จะได้สำเร็จอัปปนาสมาธิซึ่งเป็นรูปาวจรฌาน และเมื่อกระทำเพียรจนบรรลุถึงอัปปนาฌาน เกิดขึ้นในสันดานแล้ว ก็พึงกำหนดไว้ว่า

    ๑. เราประพฤติอิริยาบถอย่างนี้ๆ

    ๒. อยู่ในเสนาสนะอย่างนี้ๆ

    ๓. โภชนาหารอันเป็นที่สบายอย่างนี้ๆ จึงได้สำเร็จฌาน

    การที่ให้กำหนดไว้นี้ เผื่อว่าฌานเสื่อมไปก็จะได้เจริญสืบต่อไปใหม่โดยวิธีเก่า ฌานที่เสื่อมไปนั้น ก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่ายในสันดานอีก ครั้นเมื่อได้สำเร็จปฐมฌานแล้ว พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้นให้ชำนาญคล่อง แคล่วด้วยดีก่อน แล้วจึงเจริญทุติยฌานสืบต่อขึ้นไป

    ก็ปฐมฌานที่ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดี ต้องประกอบด้วย วสี ทั้ง ๕ คือ

    (๑) อาวัชชนวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ถ้าปรารถนาจะนึกถึงองค์ฌานที่ตนได้ ก็นึกได้เร็วพลัน มิได้เนิ่นช้า มิต้องรอนานถึงชวนจิตที่ ๔-๕ ตกลงยังภวังคจิต ๒-๓ ขณะ ถึงองค์ฌานที่ตนได้

    (๒) สมาปัชชนวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะเข้าฌาน อาจเข้าฌานได้ในลำดับอาวัชชนจิต อันพิจารณาซึ่งอารมณ์คือปฏิภาคนิมิตมิได้เนิ่นช้า

    (๓) อธิษฐานวสี คือชำนาญในอันดำรงรักษาฌานจิตไว้มิให้ตกภวังค์ ตั้งฌานจิตไว้ได้ตามกำหนด ปรารถนาจะตั้งไว้นานเท่าใดก็ตั้งไว้ได้นานเท่านั้น

    (๔) วุฎฐานวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการออกฌาน กำหนดไว้ว่าเวลานั้นๆ จะออกก็ออกได้ตามกำหนดไม่คลาดเวลาที่กำหนดไว้

    (๕) ปัจจเวกขณวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาองค์ฌานที่ตนได้อย่างรวดเร็ว มิได้เนิ่นช้า

    ถ้าไม่ชำนาญไนปฐมฌานแล้วอย่าพึงเจริญทุติยฌานก่อน ต่อเมื่อชำนิชำนาญคล่องแคล่วในปฐมฌานด้วยวสีทั้ง ๕ ดังกล่าวแล้ว จึงควรเจริญทุติยฌานสืบต่อขึ้นไป เมื่อชำนาญในทุติยฌาน จึงเจริญ ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌานขึ้นไปตามลำดับ

    องค์ของฌานเป็นดังนี้

    ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ

    วิตก ความตรึกคิด มีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นองค์ที่ ๑

    วิจาร ความพิจารณา มีลักษณะไตร่ตรองอารมณ์ เป็นองค์ที่ ๒

    ปิติ เจตสิกธรรมที่ยังกายและจิตใจให้อิ่มเต็มมีประเภท ๕ คือ

    (๑) ขุททกาปิติ กายและจิตอิ่มจนขนพองชูชันทำให้น้ำตาไหล

    (๒) ขณิกาปิติ กายและจิตอิ่มมีแสงสว่างดังฟ้าแลบปรากฎในจักษุทวาร

    (๓) โอกกนติกาปิติ กายและจิตอิ่ม ปรากฏดั่งคลื่นและละลอกทำให้ไหวให้สั่น

    (๔) อุพเพงคาปิติ กายและจิตอิ่มและกายเบาเลื่อนลอยไปได้

    (๕) ผรณาปิติ กายและจิตอิ่ม เย็นสบายซาบซ่านทั่วสรรพางค์กาย

    ปิติทั้ง ๕ นี้อันใดอันหนึ่งเป็นองค์ที่ ๓

    สุข อันเป็นไปในกายและจิต เป็นองค์ที่ ๔ และ

    เอกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านไปมา จัดเป็นองค์ครบ ๕

    ฌานที่พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ชื่อว่าปฐมฌานฯ

    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา

    ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

    จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ เอกัคคตา อุเบกขา

    นี้จัดโดยฌานจตุกกนัย

    ถ้าจัดโดยฌานปัญจกนัยเป็นดังนี้

    ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    ทุติยฌาน มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา

    ตติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา

    จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

    ปัญจมฌาน มีองค์ ๒ คือ เอกัคคตา อุเบกขา

    กุลบุตรผู้เจริญ กสิณนี้อาจได้สำเร็จฌานสมาบัติโดยจตุกกนัย หรือปัญจกนัยดังกล่าวมานี้

    (๒) วิธีเจริญอาโปกสิณ

    โยคาวจรกุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญอาโปกสิณ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมี เคยได้สั่งสมอาโปกสิณมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว ถึงจะมิได้ตกแต่งกสิณเลย เพียงแต่เพ่งดูน้ำในที่ใดที่หนึ่งเช่นในสระ ในบ่อ ก็อาจสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยง่าย

    ถ้ากุลบุตรอันหาวาสนาบารมีในอาโปกสิณมิได้ พึงเจริญอาโปกสิณในปัจจุบันชาตินี้ ก็พึงทำอาโปกสิณด้วยน้ำที่ใสบริสุทธิ์ เอาน้ำใส่ภาชนะ เช่นบาตรหรือขันให้เต็มเพียงขอบปาก ยกไปตั้งไว้ในที่กำบัง ตั้งม้าสี่เหลี่ยมสูงคืบ ๔ นิ้ว กระทำพิธีทั้งปวงโดยทำนองที่กล่าวไว้ในวิธีเจริญปฐวีกสิณนั้นเถิด คำบริกรรมภาวนาในอาโปกสิณว่า อาโป ๆ น้ำ ๆ พึงบริกรรมดังนี้ร่ำไป ร้อยครั้งพันครั้ง จนกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต และอัปปนาฌาน โดยลำดับ

    ก็อุคคหนิมิตในอาโปกสิณนี้ปรากฏดุจไหว ๆ กระเพื่อม ๆ อยู่ ถ้าน้ำนั้นประกอบด้วยกสิณโทษ คือเจือปนด้วยเปลือกตมหรือฟอง ก็จะปรากฏในอุคคหนิมิตด้วย ส่วนปฏิภาคนิมิต ปรากฏปราศจากกสิณโทษ เป็นดุจกาบขั้วตาลแก้วมณีที่จะประดิษฐานในอากาศ มิฉะนั้นดุจมณฑลแว่นแก้วมณี เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดแล้วโยคาวจรกุลบุตรทำปฏิภาคนิมิตให้เป็นอารมณ์ บริกรรมไปว่า อาโป ๆ น้ำ ๆ ดังนี้ จะได้ถึง จตตุถฌาน หรือ ปัญจมฌาน ตามลำดับ ๆ

    (๓) วิธีเจริญเตโชกสิณ

    โยคาวจรกุลบุตรผู้มีวาสนาบารมี เคยเจริญเตโชกสินมาแล้วในชาติก่อน เพียงแต่เพ่งเปลวไฟในที่ใดที่หนึ่ง บริกรรมภาวนาว่า เตโชๆ ไฟ ๆ ดังนี้ ก็อาจได้สำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยง่าย ถ้าผู้ไม่เคยบำเพ็ญมาแต่ชาติก่อน ปรารถนาจะเจริญเตโชกสิณ พึงหาไม้แก่นที่สดดี มาตากไว้ให้แห้ง บั่นออกไว้เป็นท่อนๆ แล้วนำไปใต้ต้นไม้ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งเป็นที่สมควร แล้วกองฟืนเป็นกองๆ ดังจะอบบาตร จุดไฟเข้าให้รุ่งเรือง แล้วเอาเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังหรือแผ่นผ้า มาเจาะเป็นช่องกลมกว้างประมาณคืบ ๔ นิ้ว แล้วเอาขึงไว้ตรงหน้า นั่งตามพิธีที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ แล้วตั้งจิตกำหนดว่า อันนี้เป็นเตโชธาตุ แล้วจึงบริกรรมว่า เตโชๆ ไฟๆ ดังนี้ร่ำไปจนกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต โดยลำดับไป

    อุคคหนิมิตในเตโชกสิณนี้ ปรากฏดุจเปลวเพลิวลุกไหม้ไหว ๆ อยู่เสมอ ถ้ามิได้ทำดวงกสิณ พิจารณาไฟในเตาเป็นต้น เมื่ออุคคหนิมิตเกิดขึ้น กสิณโทษก็จะปรากฏด้วย ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏมิได้หวั่นไหว จะปรากฏดุจท่อนผ้ากำพลแดงอันประดิษฐานอยู่บนอากาศ หรือเหมือนกาบขั้วตาลทองคำฉะนั้น เมื่อปฏิภาคนิมิตปรากฏแล้ว โยคาวจรก็จะได้สำเร็จฌานตามลำดับจนถึงจตุตถฌาน ปัญจมฌาน

    (๔) วิธีเจริญวาโยกสิณ

    ให้เพ่งลมที่พัดอันปรากฏอยู่ที่ยอดอ้อย ยอดไผ่ ยอดไม้ หรือปลายผมที่ถูกลมพัดไหวอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วพึงตั้งสติไว้ว่า ลมพัดต้องในที่นี้ หรือลมพัดเข้ามาในช่องหน้าต่าง หรือช่องฝา ถูกต้องกายในที่ใดก็พึงตั้งสติไว้ในที่นั้น แล้วพึงบริกรรมว่า วาโยๆ ลมๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในวาโยกสิณนี้ จะปรากฏไหว ๆ เหมือนไอแห่งข้าวปายาส อันบุคคลปลงลงจากเตาใหม่ๆ ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏอยู่เป็นอันดีมิได้หวั่นไหว เมื่ออุคคหนิมิตเกิดแล้ว โยคาวจรกุลบุตรก็จะได้สำเร็จฌานโดยลำดับ

    (๕) วิธีเจริญนีลกสิณ

    โยคาวจรกุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญนีลกสิณ พึงพิจารณานิมิตสีเขียวเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมีเคยได้เจริญนีลกสิณมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว เพียงแต่เพ่งดูดอกไม้สีเขียวหรือผ้าเขียวเป็นต้น ก็อาจได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ส่วนผู้พึ่งจะเจริญนีลกสิณในชาติปัจจุบันนี้ พึงทำดวงกสิณก่อน พึงเอาดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีสีเขียวล้วนอย่างเดียว มาลำดับลงในผอบ หรือฝากล่องให้เสมอขอบปาก อย่าให้เกสรแลก้านปรากฏ ให้แลเห็นแต่กลีบสีเขียวอย่างเดียว หรือจะเอาผ้าเขียวขึงที่ปากผอบหรือฝากล่องทำให้เสมอดังหน้ากลองก็ได้ หรือจะเอาของที่เขียวเช่นคราม เป็นต้น มาทำเป็นดวงกสิณเหมือนอย่างปฐวีกสิณก็ได้

    เมื่อทำดวงกสิณเสร็จแล้วพึงปฏิบัติพิธีโดยทำนองที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณนั้นเถิด พึงบริกรรมภาวนาว่า นีลํๆ เขียวๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตจะเกิดขึ้น อุคคหนิมิตในนีลกสิณนี้มีกสิณโทษอันปรากฏ ถ้ากสิณนั้นกระทำด้วยดอกไม้ก็เห็นเกสร-ก้าน และระหว่างกลีบปรากฏ ส่วนปฏิภาคนิมิตจะปรากฏดุจกาบขั้วตาลแก้วมณีตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดแล้ว อุปจารฌาน และอัปปนาฌานก็จะเกิด ดังกล่าวแล้วในปฐมกสิณ

    (๖-๗-๘) วิธีเจริญ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ

    วิธีเจริญกสิณทั้ง ๓ นี้ เหมือนกับ นีลกสิณทุกอย่าง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง บริกรรมว่า ปีตกํๆ เหลืองๆ โลหิตกสิณเพ่งสีแดง บริกรรมว่า โลหิตํๆ แดงๆ โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว บริกรรมว่า โอทาตํๆ ขาวๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ลักษณะอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตก็เหมือนในนีลกสิณ ต่างกันแต่สีอย่างเดียวเท่านั้น

    (๙) วิธีเจริญอาโลกกสิณ

    โยคาวจรกุลบุตรผู้เจริญอาโลกกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมี เคยได้เจริญมาแต่ชาติก่อนๆ แล้วเพียงแต่เพ่งดูแสงพระจันทร์หรือแสงพระอาทิตย์ หรือแสงไฟอันส่องเข้ามาตามช่องฝาหรือช่องหน้าต่างเป็นต้น ที่ปรากฏเป็นวงกลมอยู่ที่ฝาหรือที่พื้นนั้นๆ ก็อาจสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยง่าย ส่วนโยคาวจรที่พึ่งจะเจริญกสิณในชาติปัจจุบันนี้ เมื่อจะเจริญต้องทำดวงกสิณก่อน พึงหาหม้อมาเจาะให้เป็นช่องกลมประมาณคืบ ๔ นิ้ว เอาประทีปตามไว้ข้างใน ปิดปากหม้อเสียให้ดี ผินช่องหม้อไปทางฝา แสงสว่างที่ออกทางช่องหม้อก็จะปรากฏเป็นวงกลมอยู่ที่ฝา พึงนั่งพิจารณาตามวิธีที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ บริกรรมว่า อาโลโกๆ แสงสว่างๆ ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอาโลกกสิณนี้ ปรากฏดุจวงกลมอันปรากฏที่ฝานั่นแล ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏผ่องใสเป็นแท่งทึบ ดังดวงแห่งแสงสว่างฉะนั้น

    (๑๐) วิธีเจริญอากาสกสิณ

    โยคาวจรกุลบุตรผู้ปรารถนาจะเจริญอากาสกสิณนี้ ถ้าเป็นผู้มีวาสนาบารมี เคยสั่งสมมาแล้วแต่ชาติก่อน เพียงแต่เพ่งดูช่องฝา ช่องดาน หรือช่องหน้าต่างเป็นต้น ก็อาจสำเร็จอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตโดยง่าย ถ้าไม่มีวาสนาบารมีในกสิณข้อนี้มาก่อน ต้องทำดวงกสิณก่อน เมื่อจะทำดวงกสิณ พึงเจาะฝา เจาะแผ่นหนัง หรือเสื่อลำแพน ให้เป็นวงกว้างคืบ ๔ นิ้ว ปฏิบัติการทั้งปวง โดยทำนองที่กล่าวไว้ในปฐวีกสิณ บริกรรมว่า อากาโสๆ อากาศๆ ดังนี้ร่ำไปจนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตนั้นเถิด อุคคหนิมิตในอากาสกสิณนี้ ปรากฏรูปวงกลมอากาศ แต่มีที่สุดฝาเป็นต้นเจือปนอยู่บ้าง ส่วนปฏิภาคนิมิต ปรากฏเป็นวงกลมอากาศเท่ากับวงกสิณเด่นอยู่ และสามารถแผ่ออกให้ใหญ่ได้ตามต้องการ

    (๑๑) วิธีเจริญอุทธุมาตกอสุภกัมมัฏฐาน

    โยคาวจรกุลบุตร ผู้มีศรัทธาปรารถนาจะเจริญกัมมัฏฐานนี้ พึงไปสู่ที่พิจารณาอุทธุมาตกอสุภนิมิต อย่าไปใต้ลม พึงไปเหนือลม ถ้าทางข้างเหนือลมมีรั้วและหนามกั้นอยู่ หรือมีโคลนตมเป็นต้น ก็พึงเอาผ้าหรือมือปิดจมูกไป เมื่อไปถึงแล้วอย่าเพ่อแลดูอสุภนิมิตก่อน พึงกำหนดทิศก่อน ยืนอยู่ในทิศใดเห็นซากอสุภะไม่ถนัด น้ำจิตไม่ควรแก่ภาวนากรรม พึงเว้นทิศนั้นเสีย อย่ายืนทิศนั้น พึงไปยืนในทิศที่เห็นซากอสุภะถนัด น้ำจิตก็ควรแก่กัมมัฏฐาน อนึ่งอย่ายืนในที่ใต้ลม กลิ่นอสุภะจะเบียดเบียน อย่ายืนข้างเหนือลม หมู่อมนุษย์ที่สิงอยู่ในซากอสุภะจะโกรธเคือง พึงหลีกเลี่ยงเสียสักหน่อย อนึ่งอย่าใกล้นัก ไกลนัก ยืนไกลนักซากอสุภะไม่ปรากฏแจ้ง ยืนใกล้นักจะไม่สบายเพราะกลิ่นอสุภะและปฏิกูลด้วยซากศพ ยืนชิดเท้านัก ชิดศีรษะนัก จะไม่เห็นซากอสุภะหมดทั้งกาย พึงยืนในที่ท่ามกลางตัวอสุภะในที่ที่สบาย เมื่อยืนอยู่ดังนี้ ถ้าก้อนศิลา จอมปลวก ต้นไม้ หรือกอหญ้าเป็นต้น ปรากฏแก่จักษุ จะเล็กใหญ่ ขาวดำ ยาวสั้น สูงต่ำอย่างใด ก็พึงกำหนดรู้อย่างนั้นๆ

    แล้วต่อไปพึงกำหนดอุทธุมาตกอสุภะนี้ โดยอาการ ๖ อย่าง คือ สี เภท สัณฐาน ทิศ ที่ตั้ง และปริเฉท ก่อน

    กำหนดสี นั้นคือกำหนดว่า ซากอสุภะนี้เป็นร่างกายของคนดำ คนขาว เป็นต้น

    กำหนดเภท นั้นคือกำหนดว่า ซากอสุภะนี้เป็นร่างกายของคนที่อยู่ในปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย

    กำหนดสัณฐาน นั้นคือ กำหนดว่า นี่เป็นสัณฐานศีรษะ-ท้อง-สะเอว-เป็นต้น

    กำหนดทิศ นั้นคือ กำหนดว่า ในซากอสุภะนี้มีทิศ ๒ คือ ทิศเบื้องต่ำ-เบื้องบน ท่านกายตั้งแต่นาภีลงมาเป็นทิศเบื้องต่ำ ตั้งแต่นาภีขึ้นไปเป็นทิศเบื้องบน

    กำหนดที่ตั้ง นั้นคือ กำหนดว่า มืออยู่ข้างนี้ เท้าอยู่ข้างนี้ ศีรษะอยู่ข้างนี้ ท่ามกลางกายอยู่ที่นี้

    กำหนดปริเฉท นั้นคือ กำหนดว่า ซากอสุภะนี้มีกำหนดในเบื้องต่ำด้วยพื้นเท้า มีกำหนดในเบื้องบนคือปลายผม มีกำหนดในเบื้องขวางด้วยหนังเต็มไปด้วยเครื่องเน่า ๓๑ ส่วน

    โยคาวจรพึงกำหนดพิจารณาอุทธุมาตกอสุภนิมิตนี้ ได้เฉพาะแต่ซากอสุภะ อันเป็นเพศเดียวกับตน คือถ้าเป็นชาย ก็พึงพิจารณาเพศชายอย่างเดียว

    เมื่อพิจารณาอุทธุมาตกอสุภะนั้น จะนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วพึงพิจารณาให้เห็นอานิสงส์ในอสุภกัมมัฏฐาน พึงสำคัญประหนึ่งดวงแก้ว ตั้งไว้ซึ่งความเคารพรักใคร่ยิ่งนัก ผูกจิตไว้ในอารมณ์คืออสุภะนั้นไว้ให้มั่น ด้วยคิดว่าอาตมาจะได้พ้นชาติ ชรา มรณทุกข์ด้วยวิธีปฏิบัติดังนี้แล้ว พึงลืมจักษุขึ้นแลดูอสุภะ ถือเอาเป็นนิมิต แล้วเจริญบริกรรมภาวนาไปว่า อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูลํ ซากศพพองขึ้น เป็นของน่าเกลียด ดังนี้ร่ำไป ร้อยครั้ง พันครั้ง ลืมจักษุดูแล้วพึงหลับจักษุพิจารณา ทำอยู่ดังนี้เรื่อยไป จนเมื่อหลับจักษุดู ก็เห็นอสุภะเหมือนเมื่อลืมจักษุดูเมื่อใด ชื่อว่าได้อุคคหนิมิตในกาลเมื่อนั้น ครั้นได้อุคคหนิมิตแล้ว ถ้าไม่ละความเพียรพยายามก็จะได้ปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตปรากฏเห็นเป็นของพึงเกลียดพึงกลัว และแปลกประหลาดยิ่งนัก ปฏิภาคนิมิตปราฏกดุจบุรุษมีกายอันอ้วนพี กินอาหารอิ่มแล้วนอนอยู่ฉะนั้น เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้ว นิวรณธรรมทั้ง ๕ มีกามฉันทะเป็นต้น ก็ปราศจากสันดานสำเร็จอุปจารฌาน และอัปปนาฌาน และความชำนาญแคล่วคล่องในฌานโดยลำดับไปฯ

    (๑๒) วิธีเจริญวินีลกอสุภกัมมัฏฐาน

    วินีลกอสุภะนั้นคือซากศพกำลังพองเขียว วิธีปฏิบัติทั้งปวงเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะ แปลกแต่คำบริกรรมว่า วินีลกํ ปฏิกูลํ อสุภะขึ้นพองเขียวน่าเกลียด ดังนี้ อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ปรากฏมีสีต่างๆ แปลกกัน ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นสีแดง ขาว เขียว เจือกัน

    (๑๓) วิธีเจริญวิปุพพกอสุภกัมมัฏฐาน

    วิปุพพกอสุภะนี้ คือซากศพมีน้ำหนองไหล วิธีปฏิบัติเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะทุกประการ แปลกแต่คำบริกรรมว่า วิปุพพกํ ปฏิกูลํ ซากศพมีน้ำหนองไหลน่าเกลียด ดังนี้เท่านั้น อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ปรากฏเหมือนมีน้ำหนอง น้ำเหลืองไหลอยู่มิขาด ส่วนปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏเหมือนดั่งร่างอสุภะสงบนิ่งอยู่มิได้หวั่นไหว

    (๑๔) วิธีเจริญวิฉิททกอสุภกัมมัฏฐาน

    อสุภะนี้ ได้แก่ซากศพที่ถุกตัดออกเป็นท่อนๆ ทั้งอยู่ในที่มีสนามรบหรือป่าช้าเป็นต้น วิธีปฏิบัติทั้งปวงเหมือนในอุทธุมาตกอสุภะ แปลกแต่คำบริกรรมว่า วิฉิททกํ ปฏิกูลํ ซากศพขาดเป็นท่อนๆ น่าเกลียด ดังนี้เท่านั้น อุคคหนิมิตปรากฏเป็นซากอสุภะขาดเป็นท่อนๆ ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนมีอวัยวะครบบริบูรณ์ มิเป็นช่องขาดเหมือนอย่างอุคคหนิมิต

    (๑๕) วิธีเจริญวิขายิตกอสุภกัมมัฏฐาน

    ให้โยคาวจรพิจารณาซากศพอันสัตว์ มีแร้ง กา และสุนัขเป็นต้น กัดกินแล้วอวัยวะขาดไปต่างๆ บริกรรมว่า วิขายิตกํ ปฏิกูลํ ซากศพที่สัตว์กัดกินอวัยวะต่างๆ เป็นของน่าเกลียด ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะได้สำเร็จอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ก็อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏเหมือนซากอสุภะ อันสัตว์กัดกินกลิ้งอยู่ในที่นั้นๆ ปฏิภาคนิมิตปรากฏบริบูรณ์สิ้นทั้งกาย จะปรากฏเหมือนที่สัตว์กัดกินนั้นมิได้

    (๑๖) วิธีเจริญวิขิตตกอสุภกัมมัฏฐาน

    ให้โยคาวจร พึงนำมาเองหรือให้ผู้อื่นนำมาซึ่งซากอสุภะที่ตกเรี่ยรายอยู่ในที่ต่างๆ แล้วมากองไว้ในที่เดียวกัน แล้วกำหนดพิจารณา บริกรรมว่า วิขิตตกํ ปฏิกูลํ ซากศพอันซัดไปในที่ต่างๆ เป็นของน่าเกลียด ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏเป็นช่องๆ เป็นระยะๆ เหมือนร่างอสุภะนั้นเอง ปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนกายบริบูรณ์จะมีช่องมีระยะหามิได้ฯ

    (๑๗) วิธีเจริญหตวิกขิตตกอสุภกัมมัฏฐาน

    ให้โยคาวจรพึงนำเอามาหรือให้ผู้อื่นนำเอามา ซึ่งซากอสุภะที่คนเป็นข้าศึก สับฟันกันเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ทิ้งไว้ในที่ต่างๆ ลำดับเข้าให้ห่างกันประมาณนิ้วมือหนึ่ง แล้วกำหนดพิจารณาบริกรรมว่า หตวิกขิตตกํ ปฏิกูลํ ซากศพขาดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ เป็นของน่าเกลียด ดังนี้ร่ำไป กว่าจะได้อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏดุจรอยปากแผลอันบุคคลประหาร ปฏิภาคนิมิตปรากฏดังเต็มบริบูรณ์ทั้งกาย มิได้เป็นช่องเป็นระยะฯ

    (๑๘) วิธีเจริญโลหิตกอสุภกัมมัฏฐาน

    ให้โยคาวจรพิจารณาซากศพที่คนประหารสับฟันในอวัยวะ มีมือแล เท้าเป็นต้น มีโลหิตไหลออกอยู่และทิ้งไว้ในที่ทั้งหลายมีสนามรบเป็นต้น หรือพิจารณาอสุภะที่มีโลหิตไหลออกจากแผล มีแผลฝีเป็นต้นก็ได้ บริกรรมว่า โลหิตกํ ปฏิกูลํ อสุภะนี้โลหิตไหลเปรอะเปื้อนเป็นของน่าเกลียด ดังนี้ร่ำไป กว่าจะได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏดุจผ้าแดงอันต้องลมแล้วแลไหวๆ อยู่ ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นอันดี จะได้ไหวหามิได้

    (๑๙) วิธีเจริญปุฬุวกอสุภกัมมัฏฐาน

    ให้โยคาวจรพิจารณาซากศพของมนุษย์หรือสัตว์ มีสุนัขเป็นต้น ที่มีหนอนคลานคร่ำอยู่ บริกรรมว่า ปุฬุวกํ ปฏิกูลํ อสุภะที่หนอนคลานคร่ำอยู่ เป็นของน่าเกลียด ดังนี้ร่ำไป กว่าจะได้อุคคหนิมิต แลปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตในอสุภะนี้ ปรากฏมีอาการหวั่นไหว ดั่งหมู่หนอนอันสัญจรคลานอยู่ ปฏิภาคนิมิตปรากฏมีอาการอันสงบเป็นอันดีดุจกองข้าวสาลีอันขาวฉะนั้นฯ

    (๒๐) วิธีเจริญอัฏฐิกอสุภกัมมัฏฐาน

    ให้โยคาวจรพิจารณาซึ่งซากศพที่เหลือแต่กระดูกอย่างเดียว จะพิจารณาร่างกระดูกที่ติดกันอยู่ทั้งหมดยังไม่เคลื่อนหลุดไปจากกันเลยก็ได้ จะพิจารณาร่างกระดูกที่เคลื่อนหลุดไปจากกันแล้วโดยมากยังติดกันอยู่บ้างก็ได้ จะพิจารณาท่อนกระดูกอันเดียวก็ได้ ตามแต่จะเลือกพิจารณา แล้วพึงบริกรรมว่า อฏฐิกํ ปฏิกูลํ กระดูกเป็นของน่าเกลียด ดังนี้ร่ำไป กว่าจะสำเร็จอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ถ้าโยคาวจรพิจารณาแต่ท่อนกระดูกอันเดียว อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นอย่างเดียวกัน ถ้าโยคาวจรพิจารณาร่างกระดูกที่ยังติดกันอยู่ทั้งสิ้น อุคคหนิมิตปรากฏเป็นช่องๆ เป็นระยะๆ ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นร่างกายอสุภะบริบูรณ์สิ้นทั้งนั้นฯ

    (๒๑-๓๐) วิธีเจริญอนุสสติ ๑๐ ประการ

    คือ พุทฺธานุสฺสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ธมฺมานุสฺสติ ระลึกถึงคุณพระธรรม สงฺฆานุสฺสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ สีลานุสฺสติ ระลึกถึงคุณศีล จาคานุสฺสติ ระลึกถึงคุณทาน เทวตานุสฺสติ ระลึกถึงคุณเทวดา อุปสมานุสฺสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน มรณสฺสติ ระลึกถึงความตาย กายคตาสติ ระลึกไปในกายของตน อานาปานสติ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก

    ในอนุสสติ ๑๐ ประการนี้ จะอธิบายพิสดารเฉพาะอานาปานสติดังต่อไปนี้

    โยคาวจรกุลบุตรผู้จะเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานพึงเข้าไปอาศัยอยู่ในป่า หรือโคนไม้ หรืออยู่ในเรือน โรง ศาลา กุฏิ วิหารอันว่างเปล่า เป็นที่เงียบสงัดแห่งใดแห่งหนึ่งอันสมควรแก่ภาวนานุโยคแล้ว พึงนั่งคู้บัลลังค์ ขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้ให้มั่น คอยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก อย่าให้ลืมหลง

    เมื่อหายใจเข้า ก็พึงกำหนดรู้ว่าหายใจเข้า เมื่อหายใจออก ก็พึงกำหนดรู้ว่าหายใจออก เมื่อหายใจเข้าออกยาวหรือสั้น ก็พึงกำหนดรู้ประจักษ์ชัดทุกๆ ครั้งไปอย่าลืมหลง

    อนึ่ง ท่านสอนให้กำหนดนับด้วย เมื่อลมหายใจเข้าและออกอันใดปรากฏแจ้ง ก็ให้นึกนับว่าหนึ่ง ๆ รอบที่สอง นับว่าสองๆ ไปจนถึงห้าๆ เป็นปัญจกะ แล้วตั้งต้นหนึ่งๆ ไปใหม่ไปจนถึงหกๆ เป็นฉักกะ แล้วนับตั้งต้นใหม่ไปถึงเจ็ดๆ เป็นสัตตกะ แล้วนับตั้งต้นใหม่ไปจนถึงแปดๆ เป็นอัฏฐกะ แล้วนับตั้งแต่ต้นใหม่ไปจนถึงเก้าๆ เป็นนวกะ แล้วนับตั้งต้นใหม่ไปจนถึงสิบๆ เป็นทสกะแล้วกลับนับตั้งต้นใหม่ตั้งแต่ปัญจกะหมวด ๕ ไปถึงทสกะหมวด ๑๐ โดยนัยนี้เรื่อยไป

    เมื่อกำหนดนับลมที่เดินโดยคลองนาสิกด้วยประการดังนี้ ลมหายใจเข้าออกก็จะปรากฏแก่โยคาวจรกุลบุตรชัดและเร็วเข้าทุกที อย่าพึงเอาสติตามลมเข้าออกนั้นเลย พึงคอยกำหนดนับให้เร็วตามลมเข้าออกนั้นว่า

    ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. /๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. /๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. / ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. /

    พึงนับตามลมหายใจเข้าออกดังนี้ร่ำไป จิตก็จะเป็นเอกัคคตา ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เดียวด้วยกำลังอันนับลมนั้นเทียว บางองค์ก็เจริญแต่มนสิการกัมมัฏฐานนี้ด้วยสามารถถอนอันนับลมนั้น ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ ก็ดับไปโดยลำดับๆ กระวนกระวายก็ระงับลง จิตก็เบาขึ้น แล้วกายก็เบาขึ้นด้วย ดุจถึงซึ่งอาการอันลอยไปในอากาศ

    เมื่อลมอัสสาสะ-ปัสสาสะหยาบดับลงแล้ว จิตของโยคาวจรนั้นก็มีแต่นิมิต คือลมอัสสาสะ-ปัสสาสะอันสุขุมละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อพยายามต่อไปลมสุขุมก็ดับลง เกิดลมสุขุมละเอียดยิ่งขึ้น ประหนึ่งหายไปหมดโดยลำดับๆ

    ครั้นปรากฏเป็นเช่นนั้นอย่าพึงตกใจและลุกหนีไป เพราะจะทำให้กัมมัฏฐานเสื่อมไป พึงทำความเข้าใจไว้ว่า ลมหายใจไม่มีแก่คนตาย คนดำน้ำ คนเข้าฌาน คนอยู่ในครรภ์มารดาดังนี้แล พึงเตือนตนเองว่า บัดนี้เราก็มิได้ตาย ลมละเอียดเข้าต่างหาก แล้วพึงคอยกำหนดลมในที่ๆ มันเคยกระทบเช่นปลายจมูกไว้ ลมก็มาปรากฏดังเดิม

    เมื่อทำความกำหนดไปโดยนัยนี้ มิช้าอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตก็จะปรากฏโดยลำดับไป

    อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ในอนาปานสติกัมมัฏฐานนี้ย่อมปรากฏแก่โยคาวจรต่างๆ กัน บางองค์ปรากฏดังปุยนุ่นบ้าง ปุยสำลีบ้าง บางองค์ปรากฏเป็นวงช่องรัศมีบ้าง ดวงแก้วมณี แก้วมุกดาบ้าง บางองค์ปรากฏมีสัมผัสหยาบ คือเป็นดังเมล็ดในฝ้ายบ้าง ดังเสี้ยนสะเก็ดไม้แก่นบ้าง บางองค์ปรากฏดังด้ายสายสังวาลย์บ้าง เปลวควันบ้าง บางองค์ปรากฏดังใยแมลงมุมอันขึงอยู่บ้าง แผ่นเมฆและดอกบัวหลวง และจักรรถบ้าง บางทีปรากฏดังดวงพระจันทร์พระอาทิตย์ก็มี การที่ปรากฏนิมิตต่างๆ กันนั้นเป็นด้วยปัญญาของโยคาวจรต่างกัน

    อนึ่งธรรม ๓ ประการ คือ ลมเข้า ๑ ลมออก ๑ นิมิต ๑ จะได้เป็นอารมณ์ของจิตอันเดียวกันหามิได้ ลมเข้าก็เป็นอารมณ์ของจิตอันหนึ่ง ลมออกก็เป็นอารมณ์ของจิตอันหนึ่ง นิมิตก็เป็นอารมณ์ของจิตอันหนึ่ง เมื่อรู้ธรรม ๓ ประการนี้แจ้งชัดแล้วจึงจะสำเร็จอุปจารฌานและอัปปนาฌาน เมื่อไม่รู้ธรรม ๓ ประการก็ย่อมไม่สำเร็จ อานาปานสติกัมมัฏฐานนี้เป็นไปเพื่อตัดเสียซึ่งวิตกต่างๆ เป็นอย่างดีด้วยประการฉะนี้ฯ

    (๓๑-๔๐) ส่วนกัมมัฏฐานอีก ๖ ประการคือ อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ จะไม่อธิบาย จะได้อธิบายแต่ อรูปกัมมัฏฐาน ๔ ดังต่อไปนี้

    โยคาวจรกุลบุตรผู้เจริญอรูปกัมมัฏฐานที่หนึ่ง พึงเพ่งกสิณทั้ง ๙ มีปฐวีกสิณเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นอากาศกสิณเสีย เมื่อสำเร็จรูปาวจรฌานอันเป็นที่สุดแล้ว เจริญอรูปาวจรฌานในอรูปกัมมัฏฐานต่อไป พึงเพิกกสิณนั้นเสีย คืออย่ากำหนดนึกหมายเอากสิณนิมิตเป็นอารมณ์ พึงตั้งจิตเพ่งนึกพิจารณาอากาศที่ดวงกสิณเกาะหรือเพิกแล้ว เหลืออยู่แต่อากาศว่างเปล่าเป็นอารมณ์ พิจารณาไปๆ จนอากาศเปล่าเท่าวงกสิณปรากฏในมโนทวารในกาลใด ในกาลนั้นให้โยคาวจรพิจารณาอากาศอันเป็นอารมณ์ บริกรรมว่า อนนฺโต อากาโส อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ร่ำไป เมื่อบริกรรมนึกอยู่ดังนี้เนืองๆ จิตก็สงบระงับตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิไปจนถึงอัปปนาสมาธิโดยลำดับ สำเร็จเป็นอรูปฌานที่ ๑ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน

    เมื่อจะเจริญอรูปกัมมัฏฐานที่ ๒ ต่อไป พึงละอากาศนิมิตที่เป็นอารมณ์ของอรูปฌานทีแรกนั้นเสีย พึงกำหนดจิตที่ยึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์นั้นมาเป็นอารมณ์ต่อไป บริกรรมว่า อนนฺตํ วิญฺญาณํ วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ร่ำไป จนกว่าจะได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๒ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน

    เมื่อจะเจริญอรูปฌานที่ ๓ ต่อไป พึงละอรูปวิญญาณทีแรกที่เป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่ ๒ นั้นเสีย มายึดหน่วงเอาความที่ไม่มีของอรูปฌานทีแรก คือกำหนดว่าอรูปวิญญาณทีแรกนี้ไม่มีในที่ใด ดังนี้เป็นอารมณ์แล้วบริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจํ ๆ อรูปวิญญาณทีแรกนี้มิได้มี มิได้เหลือติดอยู่ในอากาศ ดังนี้ เนืองๆ ไปก็ะได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๓ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน

    เมื่อจะเจริญอรูปกัมมัฏฐานที่ ๔ ต่อไป พึงปล่อยวางอารมณ์ของอรูปฌานที่ ๓ ที่สำคัญมั่นว่าอรูปฌานทีแรกไม่มีดังนี้เสีย พึงกำหนดเอาแต่ความละเอียดปราณีตของอรูปฌานที่ ๓ เป็นอารมณ์ ทำบริกรรมว่า สนฺตเนตํ ปณีตเมตํ อรูปฌานที่ ๓ นี้ละเอียดนักประณีตนัก จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ดังนี้เนืองๆ ไป ก็จะได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๔ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    จะอธิบายฌานและสมาบัติต่อไป

    ฌานนั้นว่าโดยประเภทเป็น ๒ อย่างคือ รูปฌานและอรูปฌานอย่างละ ๔ ฌาน เป็นฌาน ๘ ประการ ฌานทั้ง ๘ นี้ เป็นเหตุให้เกิดสมาบัติ ๘ ประการ บางแห่งท่านก็กล่าวว่า ผลสมาบัติ ต่อได้ฌานมีวสี ชำนาญดีแล้ว จึงทำให้สมาบัติบริบูรณ์ขึ้นด้วยดีได้ เพราะเหตุนี้สมาบัติจึงเป็นผลของฌาน ก็สมาบัติ ๘ ประการนี้ ในภายนอกพระพุทธศาสนาก็มี แต่ไม่เป็นไปเพื่อดับกิเลส ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ได้แต่เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหารและเป็นไปเพื่อเกิดในพรหมโลกเท่านั้น เหมือนสมาบัติของอาฬารดาบส และอุทุกดาบสฉนั้น ส่วนสมาบัติพระพุทธศาสนานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อรำงับดับกิเลส ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ ว่าโดยประเภทเป็น ๒ อย่าง คือ ผลสมาบัติ และ นิโรธสมาบัติ ผลสมาบัตินั้นย่อมสาธารณะทั่วไปแก่พระอริยเจ้าสองจำพวกคือ พระอนาคามีกับพระอรหันต์ที่ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

    อนึ่งฌานและสมาบัตินี้ ถ้าว่าโดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เพราะฌานนั้นเป็นที่ถึงด้วยดีของฌานลาภีบุคคล จริงอยู่ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ฌานลาภีบุคคล ถึงด้วยดีซึ่งสมาบัติ คือฌานเป็นที่ถึงด้วยดี มีปฐมฌานเป็นต้นดังนี้

    อนึ่ง ในพระบาลีแสดง อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ไว้ คือ ปฐม ทุติยะ ตติยะ จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสมาบัติที่อยู่ตามลำดับของฌานลาภีบุคคลดังนี้

    อนึ่งท่านแสดง อนุบุพพนิโรธสมบัติ ๙ ไว้ว่า ฌานลาภีบุคคลเมื่อถึงด้วยปฐมฌาน วิตก วิจาร ดับไป เมื่อถึงด้วยดีซึ่งตติยฌาน ปีติดับไป เมื่อถึงด้วยดี ซึ่งจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะดับไป เมื่อถึงด้วยดีซึ่งอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาดับไป เมื่อถึงด้วยดีซึ่งวิญญาณัญจายตนฌาน สัญญาในอากาสานัญจายตนฌานดับไป เมื่อถึงด้วยดีซึ่งอากิญจัญญายตนฌาน สัญญาในวิญญานัญจายตนฌานดับไป เมื่อถึงด้วยดีซึ่งเนวสัญญานาสัญญยตนฌาน สัญญาในอากิญจัญญายตนฌานดับไป เมื่อถึงด้วยดีซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับไป

    ธรรม ๙ อย่างนี้ชื่อ อนุบุพพนิโรธสมาบัติ สมาบัติเป็นที่ดับหมดแห่งธรรมอันเป็นปัจจนึกแก่ตนตามลำดับฉะนี้ คำในอรรถกถาและบาลีทั้ง ๒ นี้ส่องความให้ชัดว่า ฌานและสมาบัติเป็นอันเดียวกัน โดยอรรถ แต่ฌานเป็นเหตุของสมาบัติ สมาบัติเป็นผล วิเศษ แปลกกันแต่เท่านี้

    บุคคลใดปฏิบัติชอบแล้ว บุคคลนั้นย่อมพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีน้อยหนึ่งในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นซึ่งอะไรๆ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งจะเข้าถึงความเป็นของควรถือเอา

    อุปมาเหมือนบุรุษไม่เห็นซึ่งที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุด ในก้อนเหล็กแดงอันร้อนอยู่ตลอดวัน ที่เข้าถึงความเป็นของควรจับถือสักแห่งเดียวฉันใด บุคคลพิจารณาเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายในสังขารทั้งหลายนั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีในสังขารเหล่านั้นแม้น้อยหนึ่งฉันนั้น

    เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นว่าเป็นของร้อนพร้อม ร้อนมาแต่ต้นตลอดโดยรวม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ถ้าใครมาเห็นได้ซึ่งความไม่เป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายไซร้ ธรรมชาตินี้คือธรรมชาติเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง ธรรมชาติเป็นที่สลัดคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ธรรมชาติเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา ธรรมชาติเป็นที่ปราศจากเครื่องย้อม ธรรมชาติเป็นที่ระงับความกระหาย ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ ธรรมชาตินั้นเป็นที่สงบ เป็นของประณีต ดังนี้ ฐานที่ตั้งแห่งธรรมอันอุดมนี้คือ ศีล บุคคลตั้งมั่นในศีลแล้ว เมื่อกระทำในใจโดยชอบแล้ว จะอยู่ในที่ใดๆ ก็ตาม ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยประการฉะนี้

    เมื่อโยคาวจรตั้งธรรม ๖ กอง มีขันธ์ ๕ เป็นต้น มีปฏิจจสมุปบาทเป็นที่สุดได้เป็นพื้น คือพิจารณาให้รู้จักลักษณะแห่งธรรม ๖ กอง ยึดหน่วงเอาธรรม ๖ กองไว้เป็นอารมณ์ได้แล้ว ลำดับนั้นจึงเอา สีลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ มาเป็นรากฐาน

    สีลวิสุทธินั้นได้แก่ปาฏิโมกขสังวรศีล จิตตวิสุทธินั้นได้แก่อัฏฐสมาบัติ ๘ ประการ

    เมื่อตั้งศีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิเป็นรากฐานแล้ว ลำดับนั้นโยคาวจรพึงเจริญวิสุทธิทั้ง ๕ สืบต่อไปโดยลำดับๆ เอาทิฏฐิวิสุทธิ และ กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นเท้าซ้ายเท้าขวา เอา มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นมือซ้ายมือขวา เอา ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นศีรษะเถิด จึงจะอาจสามารถยกตนออกจากวัฏฏสงสารได้

    ทิฏฐิวิสุทธินั่นคือปัญญาอันพิจารณาซึ่งนามและรูปโดยสามัญลักษณะ มีสภาวะเป็นปริณามธรรม มิได้เที่ยงแท้ มีปกติแปรผันเป็นต้น เป็นปัญญาเครื่องชำระตนให้บริสุทธิ์จากความเห็นผิดต่างๆ โยคาวจรเจ้าผู้ปรารถนาจะยังทิฏฐิวิสุทธิให้บริบูรณ์ พึงเข้าสู่ฌานสมาบัติตามจิตประสงค์ ยกเว้นเสียแต่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะละเอียดเกินไป ปัญญาของโยคาวจรจะพิจารณาได้โดยยาก พึงเข้าแต่เพียงรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ ประการนั้นเถิด

    เมื่อออกจากฌานสมาบัติอันใดอันหนึ่งแล้ว พึงพิจารณาองค์ฌาน มี วิตก วิจาร เป็นต้น และเจตสิกธรรมอันสัมปยุตต์ด้วยองค์ฌานนั้นให้แจ้งชัดโดยลักษณะกิจ ปัจจุปัฏฐานและอาสันนการณ์ แล้วพึงกำหนดหมายว่า องค์ฌานและเจตสิกธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์ฌานนี้ล้วนแต่เป็นนามธรรม เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่น้อมไปสู่อารมณ์สิ้นด้วยกัน แล้วพึงกำหนดพิจารณาที่อยู่ของนามธรรม จนเห็นแจ้งว่า หทัยวัตถุ เป็นที่อยู่แห่งนามธรรม อุปมาเหมือนบุรุษเห็นอสรพิษภายในเรือน เมื่อติดตามสกัดดูก็รู้ว่าอสรพิษอยู่ที่นี่ๆ ฉันใด โยคาวจรผู้แสวงหาที่อยู่แห่งนามธรรม ก็เห็นแจ้งว่า หทัยวัตถุเป็นที่อยู่แห่งนามธรรมฉันนั้น

    ครั้นแล้วพึงพิจารณารูปธรรมสืบต่อไป จนเห็นแจ้งว่า หทัยวัตถุนั้นอาศัยซึ่งภูตรูปทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แม้อุปาทายรูปอื่นๆ ก็อาศัยภูตรูปสิ้นด้วยกัน รูปธรรมนี้ย่อมเป็นสิ่งฉิบหายด้วยอันตรายต่างๆ มีหนาวร้อนเป็นต้น เมื่อโยคาวจรมาพิจารณารู้แจ้งซึ่งนามและรูปฉะนี้แล้ว พึงพิจารณาธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาโดยสังเขปหรือพิสดารก็ได้ ตามแต่ปัญญาของโยคาวจรจะพึงหยั่งรู้หยั่งเห็น ครั้นพิจารณาธาตุแจ่มแจ้งแล้ว พึงพิจารณาอาการ ๓๒ ในร่างกาย มีเกสา โลมา เป็นต้น จนถึงมัตถลุงคังเป็นที่สุด ให้เห็นชัดด้วยปัญญา โดย วณฺโณ สี คนฺโธ กลิ่น รโส รส โอช ความซึมซาบ สณฺฐาโน สัณฐาน สั้นยาวใหญ่น้อย แล้วพึงประมวลรูปธรรมทั้งปวงมาพิจารณาในทีเดียวกันว่า รูปธรรมทั้งปวงล้วนมีลักษณะฉิบหายเหมือนกัน จะมั่น จะคง จะเที่ยง จะแท้ สักสิ่งหนึ่งก็มิได้มี

    เมื่อโยคาวจรเจ้าพิจารณาเห็นกองรูปดังนี้แล้ว อรูปธรรมทั้ง ๒ คือ จิต เจตสิก ก็ปรากฏแจ้งแก่พระโยคาวจรด้วยอำนาจทวาร คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน เพราะว่าจิตและเจตสิกนี้มีทวารทั้ง ๖ เป็นที่อาศัย เมื่อพิจารณาทวารทั้ง ๖ แจ้งประจักษ์แล้ว ก็รู้จักจิตและเจตสิกอันอาศัยทวารทั้ง ๖ นั้นแน่แท้ จิตที่อาศัยทวารทั้ง ๖ นั้นจัดเป็นโลกีย์ ๘๑ คือ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓ มโนวิญญาณธาตุ ๖๘ และเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโลกียจิต ๘๑ คือ ผัสโส เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ ทั้ง ๗ นี้เป็นเจตสิกที่สาธารณะทั่วไปในจิตทั้งปวง การกล่าวดังนี้มิได้แปลกกัน เพราะจิตทั้งปวงนั้น ถ้ามีเจตสิกอันทั่วไปแก่จิตทั้งปวงเกิดพร้อม ย่อมมีเพียง ๗ ประการเท่านี้

    เมื่อโยคาวจรบุคคลมาพิจารณา นามและรูปอันกล่าวโดยสรุปคือ ขันธ์ ๕ แจ้งชัดด้วยปัญญาญาณตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมถอนความเห็นผิด และตัดความสงสัยในธรรมเสียได้ ย่อมรู้จักทางผิดหรือถูก ควรดำเนินและไม่ควรดำเนิน แจ่มแจ้งแก่ใจย่อมสามารถถอนอาลัยในโลกทั้งสามเสียได้ ไม่ใยดีติดอยู่ในโลกไหนๆ จิตใจของโยคาวจรย่อมหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เป็นสมุจเฉทประหานได้โดยแน่นอนด้วยประการฉะนี้แล

    ๒๔. วินัยกรรม

    ๑. อุโบสถกรรม

    เป็นวินัยกรรมอย่างหนึ่งที่ทรงบัญญัติให้ภิกษุทำทุกกึ่งเดือน จะละเว้นมิได้ โดยประสงค์ให้ชำระตนให้บริสุทธิ์ไม่ให้มีอาบัติโทษติดตัวประการหนึ่ง เพื่อให้รู้จักพระวินัยส่วนสำคัญที่ทรงบัญญัติไว้ จะได้ประพฤติตนถูกต้องดี ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง เพื่อความสามัคคีแห่งสงฆ์ ทรงกำหนดองค์แห่งความพร้อมพรั่งของอุโบสถไว้ ๔ ประการ คือ

    ดิถีที่ ๑๔-๑๕ หรือวันสามัคคีวันใดวันหนึ่งเป็นองค์ที่ ๑

    ภิกษุครบจำนวนควรทำสังฆอุโบสถ หรือคณะอุโบสถได้ นั่งชุมนุมไม่ละหัตถบาสกัน ในสีมาเดียวกัน เป็นองค์ที่ ๒

    อาบัติที่เป็นสภาค คือ มีวัตถุเสมอกัน ไม่มีแก่สงฆ์เป็นองค์ที่ ๓ และ

    วัชชนียบุคคล ๒๑ ไม่มีหัตถบาสเป็นองค์ที่ ๔

    อุโบสถพร้อมพรั่งด้วยองค์ ๔ ประการนี้ จึงควรทำอุโบสถกรรม ควรกล่าวว่า ปตฺตกลฺลํ ได้ฯ

    ในบรรดาวัชชนียบุคคล ๒๑ นั้น เมื่อคนอันสงฆ์ยกวัตร ๓ จำพวกอยู่ในหัตถบาส สงฆ์ทำอุโบสถต้องอาบัติปาจิตตีย์ คนนอกนั้นอยู่ในหัตถบาส สงฆ์ทำอุโบสถต้องทุกกฏฯ

    ก่อนจะทำอุโบสถ พึงทำบุพพกิจบุพพกรณ์ก่อน ถ้าภิกษุหนุ่มไม่เป็นไข้ให้ภิกษุหนุ่มทำ หรือมีสามเณรหรือคนวัด ก็ให้สามเณรหรือคนวัดทำก็ได้

    ภิกษุใดรู้อุโบสถ ๙ อุโบสถกรรม ๔ ปาฏิโมกข์ ๒ ปาฏิโมกขุทเทศ ๙ หรือ ๕ ภิกษุนั้นชื่อว่า ผู้ฉลาด ควรสวดปาฏิโมกข์ได้.

    ภิกษุอยู่องค์เดียว พึงทำบุพพกิจบุพพกรณ์ไว้รอภิกษุอื่นจนหมดเวลา เห็นไม่มาแล้ว พึงอธิษฐานว่า อชฺช เม อุโปสโถ ปณฺณรโส ถ้าเป็นวัน ๑๔ ค่ำก็เปลี่ยน ปณฺณรโส เป็น จาตุทฺทโส

    ภิกษุอยู่ ๒ รูป พึงทำกิจทั้งปวงไว้รอภิกษุอื่นอีก เมื่อหมดเวลาแล้วไม่มีภิกษุอื่นมา พึงแสดงอาบัติแล้วบอกบริสุทธิ์แก่กันและกันว่า ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรหิ ผู้อ่อนพรรษากว่าพึงว่า ปริสุทฺโธ อหํ ภนฺเต ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ.

    ภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป พึงทำบุพพกิจบุพพกรณ์ไว้รอภิกษุอื่น เห็นว่าไม่มีมาแน่แล้ว พึงประชุมกัน ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งพึงตั้งคณะญัตติว่า สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ มยํ อญฺญํมญฺญํ ปาริสุทฺธิ อุโปสถํ กเรยฺยาม แล้วพึงบอกบริสุทธิ์ซึ่งกันและกัน คำบอกบริสุทธิ์เหมือนกล่าวแล้วข้างบนนั้น พึงใช้เฉพาะบทหลัง เปลี่ยนแต่คำ ภนฺเต เป็น อาวุโส ตามสมควรแก่ความเป็นผู้แก่อ่อนเท่านั้น

    ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป พึงสวดปาฏิโมกข์ เมื่อไม่มีอันตรายพึงสวดจนจบ ถ้ามีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงสวดย่อได้ อุทเทสที่ยังไม่ได้สวด พึงประกาศด้วยสุตบท.

    อัตรายแห่งอุโบสถอันเป็นเหตุให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ มี ๑๐ อย่างคือ

    ๑. ราชนฺตราโย พระราชาเสด็จมา

    ๒. โจรนฺตราโย โจรมาปล้น

    ๓. อคฺคยนฺตราโย ไฟไหม้

    ๔. อุทกนฺตราโย น้ำท่วม

    ๕. มนุสฺสนฺตราโย มนุษย์มามาก

    ๖. อมนุสฺสนฺตราโย ผีเข้าภิกษุ

    ๗. พาลนฺตราโย สัตว์ร้ายมา

    ๘. สิรึสปนฺตราโย งูเลื้อยมาในที่ชุมนุม

    ๙. ชีวิตนฺตราโย อันตรายแห่งชีวิต

    ๑๐. พฺรหฺมจริยนฺตราโย อันตรายแห่งพรหมจรรย์

    เมื่ออันตราย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งมีมา ถึงสวดปาฏิโมกข์ย่อ ตั้งแต่อุทเทสที่ ๒ เป็นต้นไป อันตรายมีมาในเวลากำลังสวดอุทเทสใดค้างอยู่ พึงประกาศด้วยสุตบทแต่อุทเทสนั้นไป นิทฺทานุเทสสวดยังไม่จบ อย่าพึงประกาศด้วยสุตบท พึงสวดให้จบก่อน นอกนั้นจึงประกาศด้วยสุตบท ไม่มีอันตรายพึงสวดโดยพิสดารจนจบ

    อุทเทสแห่งปาฏิโมกข์ ๙ คือ นิทานุทเทส ๑ ปาราชิกกุทเทส ๑ สังฆาทิเสสุทเทส ๑ อนิยตุทเทส ๑ นิสสัคคิยุทเทส ๑ ปาจิตติยุทเทส ๑ ปาฏิเทสนียุทเทส ๑ เสขิยุทเทส ๑ สมถุทเทส ๑ ปาฏิโมกขุทเทส ๕ นั้นรวมตั้งแต่ อนิยต ถึงเสขิยวัตร เข้ากัน เรียกว่า วิตถารุทเทส จึงมีอุทเทสเพียง ๕ ประการ อุทเทสนี้สำหรับกำหนดในการสวดย่อในเมื่อมีอันตราย ที่นิยมใช้กันอยู่กำหนดด้วยอุทเทส ๙ ประการ สะดวกในการใช้ประกาศด้วยสุตบท.

    สุตบทนั้น คือ ประกาศว่า อุทเทสนอกจากที่สวดมาแล้วนั้น ท่านทั้งหลายได้เคยฟังมาแล้ว ดังนี้ว่า สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา ฯลฯ สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ สตฺตาธิกรณสมถา ธมฺมา เอตฺตกนฺตสฺส ภควโต สุตฺตาคตํ สุตฺตปริยาปนฺนํ อนุวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ ตตฺถ สพฺเพเหว สมคฺเคหิ สมฺโมทนาเนหิ สิกฺขิตพฺพํ.

    ๒. ปวารณากรรม

    เป็นวินัยกรรมอย่างหนึ่ง ทรงบัญญัติให้ทำในวันสิ้นสุดแห่งการจำพรรษา ด้วยจุดประสงค์คล้ายอุโบสถกรรม และทรงอนุญาตให้ทำแทนอุโบสถในวันนั้นด้วยบุพพกิจ บุพพกรณ์ลักษณะ ๔ และวันประชุมทำปวารณากรรม ก็เหมือนอุโบสถกรรมทุกประการ.

    ภิกษุหนึ่งรูปพึงอธิษฐานว่า อชฺช เม ปวารณา ปณฺณรสี อธิฏฺฐามิ

    ภิกษุ ๒ รูป พึงปวารณากันและกันทีเดียว ไม่ต้องตั้งญัตติ

    ภิกษุ ๓-๔ รูป พึงตั้งคณะญัตติว่า สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺโต อชฺชปวารณา ปณฺณรสี ยทา ยสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ มยํ อญฺญมญฺญํ ปวาเรยยาม แล้วพึงปวารณากันและกัน

    ถ้ามีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป พึงทำสังฆปวารณา ตั้งญัตติว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ สงฺโฆ ปวาเรยฺย แล้วพึงปวารณาตนต่อสงฆ์ทีละรูปตามลำดับพรรษา ถ้าระบุประการ ให้เปลี่ยนตอนท้ายเป็นดังนี้ ถ้าปวารณา ๓ หน พึงว่า เตวาจิกํ ปวาเรยฺย ถ้าปวารณา ๒ หน พึงว่า เทฺวาจิกํ ปวาเรยฺย ถ้าปวารณาหนเดียว พึงว่า สมานวสฺสิกํ ปวาเรยฺย

    คำปวารณาต่อสงฆ์ว่า สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ ภิกษุอ่อนกว่าพึงเปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนฺเต

    คำปวารณาตนต่อคณะว่า อหํ อาวุโส อายสฺมนฺเต ปวารามิ ฯลฯ วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนฺเต ถ้า ๒ รูปจึงเปลี่ยน อายสฺมนฺเต เป็น อายสฺมนตํ เปลี่ยน อายสฺมนฺโต เป็น อายสฺมา

    ๓. จีวรกรรม

    ไตรจีวร คือผ้าสังฆาฏิ ๑ ผ้าอุตตราสงค์ ๑ ผ้าอันตรวาสก ๑ ต้องตัดเย็บทำให้ถูกตามลักษณะให้ได้ประมาณ และย้อมสีให้ได้สี ทำพินทุกัปปะ แล้วจึงอธิษฐาน จะไม่ตัดไม่ควร เพราะทรงห้ามไว้ว่า อย่าทรงผ้าที่ไม่ได้ตัด ภิกษุใดทรง ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ

    วิธีตัดผ้านั้น ทรงวางแบบไว้ในคัมภีร์ขันธกะ จะแสดงแบบจีวร ๕ ขัณฑ์ เป็นตัวอย่าง ขัณฑ์หนึ่งๆ แบ่งออกเป็น ๒ ท่อนๆ ยาวเรียกว่า มณฑล ท่อนสั้นเรียกว่า อัฑฒมณฑล แผ่นผ้าเล็กยาวตามมณฑล ขัณฑ์กลางเรียกว่า วิวัฏฏะ แผ่นผ้าเล็กสั้นตามอัฑฒมณฑล ขัณฑ์กลางเรียกว่า อนุวิวัฏฏะ แผ่นเล็กในระหว่างมณฑลกับอัฑฒมณฑลเรียกว่า อัฑฒกุสิ แผ่นเล็กยามตามมณฑลเรียก กุสิ อัฑฒมณฑลที่ถูกคอในเวลาห่มเรียกว่า คีเวยยกะ อัฑฒมณฑลที่ถูกแข้งในเวลาห่มเรียกว่า ชังเฆยยกะ อัฑฒมณฑลที่ถูกมือในเวลาห่มเรียกว่า พาหันตะ แผ่นผ้าทาบริมโดยรอบเรียกว่า อนุวาต ทรงอนุญาตให้มีลูกดุม รังดุมติดที่มุมชายล่างกันผ้าเลิกและที่ผูกคอกันผ้าหลุด

    ประมาณกว้างยาวตามขนาดของผู้ใช้ แต่ต้องไม่เท่าหรือเกินสุคตจีวร สุคตจีวรนั้นกว้าง ๖ คืบ ยาว ๙ คืบ โดยคืบพระสุคต ถ้าตัดผ้าขัณฑ์ ๕ ขัณฑ์หนึ่งๆ กว้าง ๒๔ นิ้ว ขัณฑ์ ๗ ขัณฑ์ละ ๑๗ นิ้ว ๑ กระเบียด ขัณฑ์ ๙ ขัณฑ์ละ ๑๓ นิ้ว ๒ กระเบียด ขัณฑ์ ๑๑ ขัณฑ์ละ ๑๑ นิ้ว อนุวาต ๖ นิ้ว เมื่อประกอบกันเข้าแล้ว เป็นจีวรกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ยาว ๕ ศอก ๒ กระเบียด โดยวัฑฒกี ประมาณคือ นิ้ว คืบ ศอก ช่างไม้ เป็นประมาณที่พอดี พึงตัดจีวรตามแบบนี้.

    สุคตประมาณนั้นคือ ๕ กระเบียดครึ่ง เป็น ๑ นิ้วพระสุคต ๑๒ นิ้วเป็น ๑ คืบ ๒ คืบ เป็น ๑ ศอก เมื่อเทียบกับวัฑฒกีประมาณเป็นดังนี้ ๑๖ นิ้ว ๑ กระเบียดช่างไม้ เป็น ๑ คืบพระสุคต จีวรที่ตัดตามแบบข้างบนนี้จึงเล็กกว่าสุคตจีวร

    ในผ้า ๓ ผืนนี้ ทรงอนุญาตให้ทำผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น อุตตราสงค์ ๑ ชั้น อันตรวาสก ๑ ชั้น สำหรับผ้าใหม่ ถ้าเป็นผ้าเก่า ทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิ ๓ ชั้น ๔ ชั้น ผ้าอุตตราสงค์ ๒ ชั้น ผ้าอันตรวาสก ๒ ชั้น ถ้าเป็นผ้าบังสุกุลทรงอนุญาตให้ทำได้ตามต้องการ จะกี่ชั้นก็ได้ แล้วแต่จะพึงอุตสาหะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...