บทที่หนึ่ง ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 9 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [​IMG] <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทที่หนึ่ง<o:p></o:p>
    ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ<o:p></o:p>
    Einstein Questions, Buddha Answers<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความ สำเร็จที่ยิ่งใหญ่อันทำให้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กลายเป็นอัจฉริยะบุคคลที่่ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ของโลกเกิดขึ้นเมื่อ หนึ่งร้อยปีก่อนในปี ค.ศ. 1905 เมื่อผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์พร้อมกันถึง ๕ ชิ้น และชิ้นหนึ่งคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพจำเพาะอันมีูสมการ e = mc2 ที่สร้างคุณอย่างอเนกอนันต์พอ ๆ กับการสร้างโทษอย่างมหันต์ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก่อนหน้าทฤษฎีสัมพัทธภาพ<o:p></o:p>
    ดิฉัน ซาบซึ้งในบุญคุณของอัลเบร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้ตั้งคำถามที่สำคัญมากที่สุดแทนมนุษยชาติ นั่นคือ อะไรคือจุดคงที่อันเป็นอนันตยะที่สมบูรณ์ของจักรวาล What is the absolute ruling point in nature? <o:p></o:p>
    ดิฉัน ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์และไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดของทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ ซับซ้อนมากนัก ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจ ดังที่นักข่าวมักขอร้องให้ไอน์สไตน์สรุปสั้น ๆ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้คืออะไีร ทำไมจึงสำคัญต่อมนุษยชาติมาก ไอน์สไตน์มักรู้สึกลำบากใจเพราะนี่เป็นความรู้ที่เขาปลุกปล้ำอยู่ถึง ๑๕ ปี แล้วจะให้มาสรุปให้คนฟังอย่างสั้น ๆ ได้อย่างไร ไอน์สไตน์จึงเฉตอบนักข่าวด้วยเรื่องที่ขบขันว่า<o:p></o:p>
    คุณลองเอามือวางเหนือเตาร้อน ๆ สักหนึ่งนาทีสิ คุณ จะรู้สึกว่ามันนานเหมือนหนึ่งชั่วโมง แต่หากคุณไปนั่งอยู่ใกล้หญิงสาวสวยสักหนึ่งชั่วโมง คุณจะรู้สึกว่ามันนานเหมือนเพียงนาทีเดียว นั่นแหละคือทฤษฎีสัมพัทธภาพของผมแหละ”<o:p></o:p>
    เรื่อง การสรุปความคิดหลัก ๆ นี่แหละ เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการรู้รายละเีอียด เพราะเป็นเรื่องของการสร้างกรอบ หรือ โครงสร้างของความคิด ฉะนั้น สิ่งที่ดิฉันจะสรุปอันเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์จึงเป็น ความรู้ที่ย้อนกลับไปในชั่วโมงวิทยาศาสตร์สมัยที่ยังเรียนชั้นมัธยม เพราะคุณครูย่อมหยิบยื่นแต่ความคิดหลัก ๆ ที่พูดอย่างสรุปย่อ ๆ เท่า นั้น และดิฉันยังดึงความคิดแบบสรุปเหล่านี้ออกมาจากหนังสือสารานุกรมของเยาวชนรวม ทั้งการดูสารคดีต่าง ๆ ด้วย บวกกับความรู้ในเรื่องพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ดิฉันจึงสามารถต่อยอดแจกแจงความคิดเหล่านี้ออกมาได้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทำไมไอน์สไตน์จึงอยากหาจุดคงที่<o:p></o:p>
    เพื่อความชัดเจนมากขึ้น ขอให้เข้าใจว่า “จุดคงที่” กับ “จุดปกติ” มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งดิฉันจะใช้ทดแทนกันตั้งแต่บัดนี้เพื่อให้เหมาะสมกับข้อเปรียบเทียบ <o:p></o:p>
    สิ่งที่ดิฉันให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ ทำไม ไอน์สไตน์จึงต้องการหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่ออะไร สิ่งที่ดิฉันทำความเข้าใจได้คือ ถ้าหากไอน์สไสตน์สามารถหาจุดปกติของจักรวาลที่อยู่อย่างคงทนถาวร มีค่าสมบูรณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงได้แล้ว เขาจะสามารถใช้จุดปกตินั้นเป็นมาตรฐานการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ และย่อมทำให้ผลของการวัดอะไรต่าง ๆ คงที่ ปกติ ได้ผลเหมือนกันหมด absolute value ไม่ว่าจะวัดจากจุดไหนของจักรวาล <o:p></o:p>
    อย่าง ไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่สามารถหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลได้ เพราะว่า สิ่งต่าง ๆ ที่แม้ดูนิ่ง ๆ บนโลก ไม่เคลื่อนไหวก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว มันไม่ได้อยู่นิ่งจริง เพราะโลกกำลังหมุนอยู่ เมื่อดูในวงกว้างออกไปจากนอกโลก ก็พบว่าระบบสุริยะจักรวาลก็กำลังเคลื่อนอยู่ แกแลกซี่ของเราและอื่น ๆ ก็กำลังเคลื่อนอยู่ ตลอดจนถึงจักรวาลทั้งหมดก็กำลังเคลื่อนไปอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้ไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดนิ่งหรือจุดปกติที่สามารถให้คุณค่าที่ เที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริงในจักรวาล เพราะทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างไม่หยุดยั้ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สัมพันกับอนิจจังและนิพพาน<o:p></o:p>
    ความ คิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เปรียบเหมือนกับการพบสี่แยกหลักที่สามารถเดิน เลี้ยวต่อไปได้อีกมากมายหลายทางทีเดียว ในขณะที่ไอน์สไตน์เลี้ยวไปสู่แยกที่เน้นความรู้ทางด้านฟิสิกส์เพียงอย่าง เดียวจนก่อให้เกิดการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ พลังงานปรมณูและเทคโนโลยี่อื่น ๆ อีกมากมายนั้น ดิฉันจะพยายามพาคุณเลี้ยวไปสู่แยกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขทุกข์ของชีวิตของเราโดยตรง ความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องครอบจักรวาล ครอบคลุมทุกเรื่องของชีวิต เพราะความคิดทั้งหมดเหล่านี้สัมพันกับเรื่องอนิจจังและพระนิพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเรื่องครอบจักรวาลเช่นกัน จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันพยายามจะโยงให้คุณในหนังสือเล่มนี้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อไม่รู้จุดคงที่ของจักรวาล<o:p></o:p>
    เมื่อ ไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดคงที่ในจักรวาล ย่อมหมายความว่า การวัดอะไรต่าง ๆ จะต้องสมมุติจุดคงที่ขึ้นมาก่อน และวัดสิ่งต่าง ๆ จากจุดสมมุตินั้น ซึ่งผลที่ได้จะมีค่าสัมพัทธ์กับจุดปกติที่ถูกสมมุติขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจชัดเจนมากขึ้น ดิฉันจะเรียกแทนจุดคงที่นี้ว่า “พรมแดนสุดท้าย the final frontier” (บทที่ ๔) เพื่อให้สอดคล้องกับการยกตัวอย่างที่จะวัดความใกล้ไกลของสถานที่ <o:p></o:p>
    เมื่อ คุณไม่รู้จุดคงที่หรือจุดปกติของจักรวาล ก็ความหมายว่าคุณไม่รู้ขอบเขตที่เป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลที่สามารถใช้ เป็นเสาหลักมาตรฐานเพื่อวัดความใกล้ไกลของทุกสถานที่ในจักรวาลนั่นเอง เช่น หากคุณต้องการทราบว่า เชียงใหม่อยู่ไกลแค่ไหน คุณจะถามลอย ๆ ไม่ได้ คุณต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดก่อนว่าคุณต้องการวัดความใกล้ไกลของเมือง เชียงใหม่จากจุดไหนเสียก่อน จึงจะพูดกันรู้เรื่อง ไม่เช่นนั้น เถียงกันตาย<o:p></o:p>
    หากคุณ<st1:personname w:st="on" productid="เอากรุงเทพเป็นหลัก นั่นคืือ">เอากรุงเทพเป็นหลัก นั่นคืือ</st1:personname> สมมุติให้กรุงเทพเป็นพรมแดนสุดท้าย เชียงใหม่ก็จะอยู่ไกลจากกรุงเทพ ๖๐๐ กิโลเมตร หากคุณเอาสงขลาเป็นหลัก เชียงใหม่ก็จะอยู่ห่างจากสงขลา ๑๖๐๐ กิโลเมตร หากสมมุติให้กรุงลอนดอนเป็นหลักหรือเป็นพรมแดนสุดท้าย เชียงใหม่ก็จะอยู่ห่างจากลอนดอนถึง ๖๐๐๐ กิโลเมตร เป็นต้น ฉะนั้น คุณจะเห็นว่า ๖๐๐, ๑๖๐๐, ๖๐๐๐ กิโลเมตรคือค่าสัมพัทธ์อันเป็นผลของการสมมุติจุดนิ่งหรือจุดพรมแดนสุดท้าย ขึ้นมาเพื่อวัดความใกล้ไกลของสถานที่ ฉะนั้น การตัดสินว่าใครอยู่ใกล้หรือไกลเชียงใหม่จึงขึ้นอยู่ที่ว่า คุณอยู่จุดไหน คนอยู่ลอนดอนก็ต้องเห็นว่าเชียงใหม่ไกลมาก ใครอยู่สงขลาก็ย่อมเห็นเชียงใหม่ไกลกว่าคนอยู่กรุงเทพ ใครอยู่ลำปางก็ย่อมเห็นว่าเชียงใหม่อยู่ใกล้นิดเดียว นี่คือ การพูดอย่างสัมพัทธ์ relatively speaking อันเป็นผลของทฤษฎีสัมพัทธภาพ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อรู้จุดคงที่<o:p></o:p>
    แต่ถ้าคุณรู้จุดคงที่ จุดนิ่ง หรือจุดปกติของจักรวาล หรือ รู้แน่ชัดว่าพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลอยู่ตรงไหนแล้วละก็ ทีนี้ ไม่ว่าคุณ<st1:personname w:st="on" productid="จะอยู่ซอก ซอย">จะอยู่ซอก ซอย</st1:personname> ไหนของจักรวาลก็ตาม คุณก็สามารถวัดจากจุดที่คุณอยู่และไปจรดที่เสาหลักสุดท้ายหรือพรมแดนสุดท้าย หรือ จุดปกติของจักรวาล ทุกคนจะสามารถทำได้เหมือนกันหมดเพราะรู้เสาหลักสุดท้ายของจักรวาลแล้ว ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะอยู่ ณ จุดไหนของจักรวาล ก็สามารถวัดจากจุดที่ตนเองอยู่และไปจรดที่เสาหลักอันเป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาล การวัดนั้นก็จะเป็นมาตรฐานสากลของจักรวาล ได้ค่าคงที่เหมือนกันหมด ฉะนั้น คน อยู่กรุงเทพ เชียงใหม่ สงขลา ลอนดอน หากจะวัดความใกล้ไกล ก็ต้องวัดไปที่เสาหลักสุดท้ายของจักรวาลก่อน ซึ่งอาจจะได้ค่าตามลำดับเช่นนี้คือ ๑.๕ ล้านปีแสง ๑.๕๒ ล้านปีแสง ๑.๕๔ ล้านปีแสง ๒ ล้านปีแสง เป็นต้น นี่เป็นการสมมุติว่าหากเรารู้จุดคงที่หรือจุดปกติของจักรวาล ทุกคนจะรู้แน่ชัดว่า ใครอยู่ใกล้หรือไกลจากจุดคงที่หรือพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลมากน้อยแค่ไหน นี่คือ การพูดอย่างแน่นอน absolutely speaking เพราะ รู้จุดเที่ยงแท้แน่นอนของจักรวาล นี่คือเหตุผลที่ไอน์สไตน์อยากหาจุดคงที่ของจักรวาล เพื่อจะได้ใช้เป็นมาตรฐานหลักของจักรวาล แต่อย่างที่พูดแล้วว่า ความรู้ของไอน์สไตน์เน้นไปที่เรื่องฟิสิกส์เพียงถ่ายเดียวเท่านั้น <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    แต่สัมพัทธภาพครอบคลุมทุกเรื่อง<o:p></o:p>
    การ วัดน้ำหนักของวัตถุสิ่งของก็เช่นกัน น้ำหนักตัวของคนบนโลกมีค่าสัมพัทธ์กับแรงโน้มถ่วงของโลก พูดให้งงเล่นก็คือ ทุกครั้งที่คุณชั่งน้ำหนักตัวเอง ที่จริงแล้ว คุณกำลังชั่งแรงถ่วงของโลกที่กดลงบนตัวคุณ หากไปชั่งน้ำหนักบนโลกพระจันทร์ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลก น้ำหนักที่กดลงตัวคุณบนโลกพระจันทร์จะน้อยกว่าแรงที่กดบนโลก จึงทำให้น้ำหนักตัวของคุณน้อยกว่าน้ำหนักตัวที่ชั่งบนโลก การจะตัดสินว่าใครอ้วน ใครผอม สวย ขี้เหร่ เหล่านี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเราเอาใครและอะไรเป็นมาตรฐานของการวัด เราต้องสมมุติค่าปกติขึ้นมาก่อน เช่น คนแขกชอบให้ผู้หญิงของเขามีเนื้อมีหนังมีพุงย้อยอันเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำ รวย ซึ่งเขาเรียกหุ่นเช่นนี้ว่าสวย แต่ในสายตาของหญิงชาวตะวันตกที่ชอบหุ่นเพรียว ๆ นั้นจะเห็นหญิงแขกอ้วน ในขณะที่หญิงแขกจะเห็นหญิงชาวตะวันตกผอมเกินไป ความรวย ความจน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเอาใครและอะไรเป็นมาตรฐานของการวัด กรรมกรที่หาเช้ากินค่ำก็จะเห็นทุกคนรวยกว่าตนหมดนอกจากขอทานเท่านั้น (ขอทานบางคนอาจจะรวยกว่ากรรมกรก็เป็นได้) คนมีเงินเก็บจำนวนแสนก็จะเห็นคนมีเงินล้านรวยกว่าตน ส่วนคนรวยที่มีทรัพย์สินสิบล้าน ก็จะเห็นคนที่มีน้อยกว่านั้นจนกว่าตนเองหมด แต่เมื่อนำตนเองไปเปรียบเทียบกับคนมีทรัพย์สินร้อยล้าน พันล้าน ก็ยังคิดว่าตัวเองจนอยู่ ถ้าเปรียบเทียบกับคนที่มีทรัพย์สินหลายหมื่นล้าน ก็คงคิดว่าตนเองยังจนมากอยู่ เป็นต้น <o:p></o:p>
    เพราะ ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งสมบูรณ์ คงที่ และปติ อันจะใช้เป็นมาตรฐานของการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงต้องวัดกันอย่างเปรียบเทียบ หรือ สัมพัทธ์กันเช่นนี้ จึงก่อให้เกิดคำวลีภาษาอังกฤษว่า relatively speaking หรือ พูดอย่างสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นวลีที่ใช้กันบ่อยมากในชีวิตประจำวัน เพราะต้องพูดให้รู้เรื่องก่อนว่าเอาอะไรเป็นหลัก มิเช่นนั้น เถียงกันตาย แต่ถ้าหากเรารู้จุดคงที่ของจักรวาล วิถีชีวิตของเราจะต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกลักษณะหนึ่ง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไอน์สไตน์กับทฤษฎีเอกภาพ<o:p></o:p>
    หลังจากการค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพแล้ว ไอน์สไตน์ก็ยังได้ค้นพบเรื่องกลศาสตร์ควอนตัม Quantum Mechanic ซึ่ง ความคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้เกิดขึ้นและมีการทำงานเหมือนการโยนลูกเต๋า ผลของมันย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความอาจจะเป็นไปได้ probability เท่า นั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไอน์สไตน์ยอมรับไม่ได้ เพราะค่าของความอาจจะเป็นไปได้เปรียบเหมือนกับการยืนอยู่บนท่าน้ำที่โคลง เคลง เอนเอียง หากใช้ภาษาของชาวพุทธแล้ว การค้นพบกลศาสตร์ควอนตัมก็คือ การค้นพบเรื่องอนิจจังนั่นเอง สิ่งที่ไอน์สไตน์ต้องการนั้น เปรียบเทียบได้กับความหนักแน่นของพื้นดิน หรือ สิ่งหนึ่งที่ให้ค่าอันคงที่ ปกติ ถาวร ซึ่งเขาคิดว่าคณิตศาสตร์เท่านั้นที่สามารถหยิบยื่นสิ่งที่เที่ยงแท้ แน่นอน ให้กับเขาได้ ฉะนั้น แม้ไอน์สไตน์เป็นผู้ค้นพบเรื่องกลศาสตร์ควอนตัมอันเป็นความรู้ที่ได้รับการ ต่อยอดพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นหัวใจของการพัฒนาเทคโนโลยี่ในปัจจุบัน ก็ตาม ไอน์สไตน์กลับไม่ได้ให้เยื่อใย ไม่สนใจ แถมดูหมิ่นความรู้ที่เขาได้ค้นพบเอง หรือ ถ้าพูดใหม่ด้วยภาษาของชาวพุทธว่า ไอน์สไตน์ยอมรับความเป็นอนิจจังของทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้ จึงขวนขวายหาสิ่งที่เป็นนิจจัง หรือ ความเที่ยงแท้ ถาวร <o:p></o:p>
    สิ่ง ที่รั้งไอน์สไตน์ไว้คือ ความเป็นนักการศาสนาของเขา ความเชื่อในพระเจ้า และนิสัยส่วนตัวที่จำเป็นต้องรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างแน่ชัด ถึงแก่น และสามารถแปรความเข้าใจนั้น ๆ ออกมาเป็นสูตรสำเร็จทางคณิตศาสตร์ที่แน่นอน ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นวิธีการเดียวที่ไอน์สไตน์สามารถเข้าใจและเข้าถึงได้ หลังจากที่ประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอลเสียชีวิต ไอน์สไตน์ได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นประธานาธิบดีของชาวยิวคนต่อไป เพราะความเป็นนักฟิสิกส์ที่ได้รับรางวัลโนเบลและเป็นผู้รักสันติภาพมาก จึงได้มีส่วนช่วยเหลือชาวยิวจนก่อให้เกิดประเทศอิสราเอลขึ้นมาในปี 1948 แต่ไอน์สไตน์ปฏิเสธตำแหน่งผู้นำประเทศโดยให้เหตุผลว่า<o:p></o:p>
    “การเมืองอยู่ได้เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น แต่สมการทางคณิตศาสตร์สามารถอยู่ได้อย่างชั่วนิรันดร” <o:p></o:p>
    อย่าง ไรก็ตาม ความรัก ความคลั่งไคล้ และบูชาในพระเจ้ากับคณิตศาสตร์ไปพร้อม ๆ กันนี่เอง ได้กลายเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในหัวสมองหรือจิตใจของ อัจฉริยะบุคคลผู้นี้อีก นับตั้งแต่ต้นปี 1920 เป็นต้นไป ไอน์สไตน์ได้เข้าสู่ยุคของการคิดค้นหาทฤษฎีเอกภาพ The Unified Theory หรือ ทฤษฎีสรรพสิ่ง The Theory of Everything <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระเจ้าไม่เล่นลูกเต๋า<o:p></o:p>
    ไอน์สไตน์ เชื่อมั่นเหลือเกินว่า ความเถรตรงของคณิตศาสตร์เท่านั้นที่สามารถอธิบายและให้คำตอบแก่ทุกสิ่ง ทุกอย่างในจักรวาลได้ จะสามารถรวมความรู้ทั้งหมดของจักรวาลเข้าเป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึงการอธิบายว่าพระเจ้าสร้างจักรวาลนี้ได้อย่างไร ดังที่ไอน์สไตน์พูดว่า<o:p></o:p>
    “ข้าพเจ้า ต้องการรู้ว่าพระเจ้าสร้างโลกนี้อย่างไร ข้าพเจ้าไม่ได้สนใจปรากฏการณ์นั้นนี้ว่ามันเป็นของธาตุนั้นหรือธาตุนี้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น ข้าพเจ้าต้องการรู้ความคิดของพระเจ้าต่างหาก” <o:p></o:p>
    [FONT= ] [/FONT]ทฤษฎีเอกภาพนี้จึงเปรียบเหมือนการหาสมการทางคณิตศาสตร์ที่สามารถอ่านจิตใจของพระเจ้าและงานศิลปะการสร้างโลกและมนุษย์ของพระเจ้านั่นเอง ซึ่งเป็นความคิดที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานมาก ในเดือนเมษายน 1955 ไอน์สไตน์ ล้มป่วยและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปรินซ์ตัน รัฐนิวเจอซี่ อันเป็นเมืองที่เขาอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ไอน์สไตน์ก็ยังไม่ลดละที่จะคิดค้นสูตรทางคณิตศาสตร์ที่เขาหาอยู่ในช่วงสาม สิบปีที่ผ่านมา เขามักมีกระดาษ ดินสอ อยู่กับตัวและขีดเขียนตัวเลข เครื่องหมาย และสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งพยาบาลคนหนึ่งที่ดูแลเขาอยู่ได้หามาให้ จึงมีโอกาสได้เห็นพูดคุยสนทนากับ ไอน์สไตน์ จึงรู้ว่าไอน์สไตน์ยังคงพยายามอ่านหัวสมองของพระเจ้าอยู่ พยาบาลรู้สึกเห็นใจ อยากให้ไอน์สไตน์พักผ่อนอย่างเต็มที่ วันหนึ่งพยาบาลจึงพูดกับไอน์สไตน์อย่างอ่อนโยนและเป็นห่วงเป็นใยว่า <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางที พระเจ้าท่านอาจจะไม่อยากให้เราอ่านจิตใจของท่านก็ได้นะ<o:p></o:p>
    Maybe God doesn’t want us to know his mind.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทั้ง ๆ ที่ยังเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ ไอน์สไตน์พูดสวนกลับทันทีอย่างดื้อรั้นพร้อมกับสั่นศรีษะไปมาว่า <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระเจ้าไม่เล่นลูกเต๋าหรอก คุณพยาบาล! <o:p></o:p>
    God doesn’t play dice, nurse!<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งเป็นการพูดพาดพิงอย่างดูหมิ่นถึงเรื่องกลศาสตร์ควอนตัมที่มีผล อาจจะเป็นไปได้หรือ อนิจจังนั่นเอง <o:p></o:p>
    ประวัติ ศาสตร์จึงได้จารึกเหตุการณ์ในช่วง ๓๐ ปีสุดท้ายของไอน์สไตน์ในฐานะบุคคลที่ล้มเหลว จมปรักอยู่ในโลกของวิทยาศาสตร์ที่ล้าหลัง โดดเดี่ยวเดียวดาย เพราะภายในแวดวงนักวิทยาศาสตร์ชาวฟิสิกส์ด้วยกันแล้ว ต่างรู้ว่าทฤษฎีเอกภาพนี้เป็นเรื่องเพ้อฝันของไอน์สไตน์เท่านั้นเอง ไม่มีทางจะเป็นความจริงได้เลย การแสวงหาของไอน์สไตน์ไร้ผลอย่างสิ้นเชิง อัจฉริยะบุคคลผู้นี้จึงได้จากโลกนี้ไปในวันที่ ๑๘ เมษายน ๑๙๕๕ ในขณะที่ในมือยังกำแผ่นกระดาษที่ขีดเขียนสมการทางคณิตศาสตร์อยู่ โดยที่ยังไม่ได้พบคำตอบที่เขาต้องการหาแต่อย่างใด <o:p></o:p>
    ซึ่ง เป็นเรื่องน่าเสียดายมาก หากไอน์สไตน์สามารถอ่านความคิดของพระเจ้าได้แล้ว เขาอาจจะสามารถตอบคำถามมากมายที่ยาวเป็นหางว่าวที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ทำไม” เช่น ทำไมพระเจ้าจึงปล่อยให้ฮิตเลอร์และทหารนาซีฆ่าชาวยิวอย่างล้างเผ่าพันธุ์ เช่นนั้น ทำไมพระเจ้าจึงไม่ยุติสงครามที่สร้างความทุกข์อย่างมหันต์ให้กับมนุษย์ี่ที่ พระเจ้าสร้างและรักมากดังคำโฆษณา ทำไมพระเจ้าจึงไม่ช่วยผู้กรีดร้องขอความช่วยเหลือจากท่านเมื่อเกิดเหตุการณ์ วิกฤตเช่น เด็กหญิงที่กำลังถูกข่มขืน ถูกฆ่า หรือ กำลังหนีภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม และทำไมพระเจ้าจึงสร้างโลกและสังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และอยุติธรรมเช่นนี้ ฯลฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไอน์สไตน์ยอมรับพระพุทธศาสนา<o:p></o:p>
    ถึง แม้ไอน์สไตน์ได้จากโลกนี้ไปโดยไม่พบคำตอบที่เขาต้องการก็ตาม เขาได้ทิ้งคำพูดที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติซึ่งดิฉันรู้สึกซาบซึ้งมาก ในบั้นปลายชีวิตของเขา ไอน์สไตน์เริ่มสงสัยแล้วว่า ศาสนาพุทธอาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขาอยากค้นพบก็เป็นได้ ในปี ๑๙๕๔ หนึ่งปีก่อนเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของไอน์สไตน์ชื่อเรื่องว่า “The Human Side” ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ได้พูดทิ้งไว้นิดหน่อยว่า <o:p></o:p>
    ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาที่เนื่องกับจักรวาล ควร อยู่เหนือพระเจ้าส่วนตัว หลีกเลี่ยงลัทธิกฏเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์ ควรครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ ควรตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาที่เกิดจากประสบการณ์ของทุกสิ่งที่สร้างเอกภาพ อันมีความหมาย ซึ่งพระพุทธศาสนาดูเหมือนจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ศาสนาพุทธน่าจะเป็นศาสนาที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของยุคสมัยได้<o:p></o:p>
    ไอน์สไตน์ พูดถูกเผ๋งทีเดียว ทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่เขาต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จแล้วก่อนหน้านั้นถึง ๒๕๐๐ ปีเศษ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ<o:p></o:p>
    ใน ความเห็นของดิฉัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจุดคงที่อันแน่นอนของจักรวาลหรือเรื่องการอ่านความคิดของ พระเจ้านั้น ที่จริง เป็นเรื่องเดียวกัน พูดง่าย ๆ คือ อัจฉริยะบุคคลของโลกผู้นี้ต้องการหาสิ่ง ๆ หนึ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็น อสังขตธรรม ซึ่งมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ แน่นอน คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิจจัง เป็นอันติมะ คือไม่มีสิ่งอื่นใดที่สามารถไปเหนือสิ่งนี้ได้อีกแล้ว สิ่งนี้เป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลแล้ว ซึ่งมีสิ่งเดียวในจักรวาลนี้เท่านั้น คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับที่สุดแห่งทุกข์ นั่นเอง<o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าได้บรรยายลักษณะพระนิพพานอันเป็นจุดปกติของจักรวาลเช่นนี้คือ <o:p></o:p>
    [FONT= ]ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในอายตนะนั้น ไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกหน้า ไม่ใช่พระจันทร์ ไม่ใช่พระอาทิตย์ ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่ใช่การตั้งอยู่ ไม่ใช่การจุติ ไม่ใช่การเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ความเป็นไป ไม่ใช่อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นคือ ที่สุดแห่งทุกข์[/FONT][FONT= ] [/FONT][FONT= ] <o:p></o:p>[/FONT]
    พระ นิิพพานนี่แหละคือกรอบหลักการที่กว้างขวาง มีคุณลักษณะสมบูรณ์ พึ่งพาได้ ไม่มีความโคลงเคลงเหมือนกลศาสตร์ควอนตัมที่ไอน์สไตน์หมิ่นประมาทและยอมรับ ไม่ได้ จึงสามารถครอบคลุมเรื่องทุกเรื่องของจักรวาลและสามารถใช้เป็นพื้นฐานของทุกทฤษฎีได้ คุณลักษณะเช่นนี้แหละคือ ทฤษฎีเอกภาพที่ไอน์สไตน์ได้ทุ่มเทชีวิตหามันอยู่ถึงสามสิบปี <o:p></o:p>
    ฉะนั้นมนุษยชาติ ต้องยอมรับว่ามีปรากฏการณ์หนึ่งในธรรมชาติ อันเป็นที่สิ้นสุดของทุก ๆ สิ่งในจักรวาล ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ค้นพบแล้วในคืนที่ท่านตรัสรู้เมื่อ ๒๕๙๓ ปีก่อน นับจากคืนนั้นเป็นต้นมา ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาย่อมมีผู้รู้ตามพระพุทธเจ้าเสมอมา ที่สามารถออกมาประกาศย้ำต่อมวลมนุษย์ว่ามีสัจธรรมอันสูงสุดหรือจุดปกติใน จักรวาลอย่างแน่นอน ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันจินตนาการแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนายืนหยัดอยู่ได้ถึงทุกวันนี้ <o:p></o:p>
    สัจธรรม อันสูงสุดหรือพระนิพพานนี้แหละคือ สิ่งที่ไอน์สไตน์ต้องการหาในช่วงชีวิตแห่งการเป็นนักคิดของเขาโดยผ่านวิธี การและกลไกทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการเข้าถึงสัจธรรมที่ผิดพลาด เพราะสัจธรรมนี้จะต้องเข้าถึงด้วยวิธีการของ ปัญญา ศีล สมาธิ เท่านั้น หรือ จะพูดให้รัดกุมคือ ต้องใช้วิธีการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่หรือวิปัสสนาเท่านั้นจึงจะเข้าถึงสภาวะ ที่เป็นอันติมะนี้ได้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ที่นี่ เดี๋ยวนี้<o:p></o:p>
    หลังจากกรณีเหตุการณ์พิสดารทางใจของดิฉันในเดือนตุลาคมในปี ๒๕๔๐ นั้นดิฉัน มีความมั่นใจเหลือเกินว่า จุดนิ่งในจักรวาลและทฤษฎีเอกภาพที่ไอน์สไตน์เฝ้าหาอยู่นั้นได้ซ่อนอยู่ในการ สังเกตการณ์ของข้อเปรียบเทียบที่ไอน์สไตน์พูดถึงรถไฟสองขบวนที่วิ่งด้วยความ เร็วพร้อมกันนั่นเอง ที่ นี่ เดี๋ยวนี้ คือ คำตอบที่อัจฉริยะบุคคลต้องการหาอยู่แต่ล้มเหลว ทั้ง ๆ ที่ไอน์สไตน์ก็เห็นอยู่ แต่เขาไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อเปรียบเทียบนั้นสามารถอธิบายสภาวะสัจธรรมอันสูง สุดของจักรวาลได้ <o:p></o:p>
    ที่ นี่ เดี๋ยวนี้ คือ จุดคงที่ของจักรวาลที่สามารถใช้เป็นมาตรการพื้นฐานวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ ในบทที่สามของหนังสือเล่มนี้ ดิฉันได้พูดอธิบายเรื่องที่นี่ เดี๋ยวนี้ ในฐานะที่เป็นสัจธรรมอันสูงสุด ที่มีความเรียบง่ายและปกติธรรมดา การเข้าถึงที่นี่ เดี๋ยวนี้ เ็ป็นเรื่องของการฝึกทักษะทางใจเหมือนการสามารถยืนบนแผ่นกระดานโต้คลื่น และสามารถฝึกทักษะที่จะโต้คลื่นลูกเล็กและลูกใหญ่ได้โดยไม่ล้ม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สัจธรรมอยู่แค่ปลายจมูกของคนทุกคน<o:p></o:p>
    เหมือน การมองข้ามคำตอบของปัญหาเชาวน์นั่นเอง เพราะหัวสมองของเขามัวคิดวุ่นอยู่กับการหาคำตอบให้กับจักรวาลที่เปรียบ เหมือนการหาคำตอบให้กับคำถามปริศนาของฝรั่งที่ว่า <o:p></o:p>
    What is it that has two in a week and one in a year? <o:p></o:p>
    อะไรเอ่ยที่มีสองอยู่ในหนึ่งอาทิตย์และมีเพียงหนึ่งในหนึ่งปี <o:p></o:p>
    นี่ เป็นปัญหาเชาวน์ ซึ่งเป็นเรื่องตื้นที่ไม่ต้องคิดลึกเพื่อหาคำตอบ เพราะคำตอบของปัญหาเชาวน์มักอยู่เบื้องหน้าของเราแล้ว คำตอบของปริศนานี้จึงไม่ต้องไปคิดไกล และคิดลึก แต่ต้องไปดูที่คำว่า week กับ year แทน ก็จะได้คำตอบที่ง่าย ๆ คือ ตัวอักษร e นั่นเอง ซึ่งเป็นคำตอบที่อยู่เบื้องหน้าแล้ว <o:p></o:p>
    การ หาคำตอบให้กับทฤษฎีเอกภาพหรือการเข้าถึงสัจธรรมอันสูงสุดก็เหมือนการหาคำตอบ ให้กับปัญหาเชาวน์ซึ่งไม่ต้องอาศัยพลังสมองเพียงถ่ายเดียวเท่านั้น ปัจจัยที่สำคัญคือ จะต้องมีผู้รู้ที่ตรัสรู้ด้วยตนเองมาชี้แนะให้เสียก่อนซึ่งพระพุทธเจ้าเป็น ผู้รู้ท่านแรก ผู้รู้เหล่านี้แหละจึงจะสามารถชี้บอกได้ว่าสัจธรรมในขั้นอันติมะของจักรวาล เป็นเรื่องพื้น ๆ ธรรมดา ๆ และง่าย ๆ ที่อยู่แค่ปลายจมูกของคนทุกคนแล้ว เหมือนคำตอบของปัญหาเชาวน์ที่ไม่จำเป็นต้องคิดมากแต่อย่างใด เพราะความที่มีลักษณะเป็นหญ้าปากคอกนี้เอง จึงทำให้พระนิพพานหรือการหาจุดปกติของชีวิตกลายเป็นเรื่องยากที่สุดในเหล่า ปัญญาชนทั้งหลายที่ถนัดการคิดมากและคิดลึก เปรียบเสมือนการเดินเข้าไปในท่อความคิดอันมีทางตันเป็นที่สุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เอาความจริงสัมพัทธ์เป็นที่พึ่ง<o:p></o:p>
    คุณ จะเห็นได้ชัดเจนว่า การไม่รู้สัจธรรมในฐานะที่เป็นค่าคงที่หรือปกตินี้ ก็เปรียบเหมือนการยืนอยู่ท่ามกลางทุ่งกว้างที่ไม่มีวันตัดสินได้ว่า เรากำลังยืนอยู่ตรงกลาง ชิดซ้าย ชิดขวา ใกล้บน ใกล้ล่าง หรือ เฉียงไปทางไหน นี่คือ สภาวะของการไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้จิตใจของมนุษย์สับสนวุ่นวายและทุกข์มาก เมื่อหาจุดคงที่หรือปกติไม่พบ จึงจำเป็นต้องหาที่พึ่งในความเป็นอนิจจัง คือต้องยอมรับความจริงในระดับสมมุติที่ฝรั่งเรียก conventional truth หรือ ความจริงที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไข conditional truth หรือ ความจริงสัมพัทธ์ relative truth ซึ่งเป็นความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ไอน์สไตน์เน้นแต่เรื่องทางฟิสิกส์ เท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ความคิดหลัก ๆ ของทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องที่ครอบคลุมถึงเรื่องจิตใจและชีวิตทั้งหมดที่ เนื่องกับจักรวาลที่เราอยู่ ซึ่งดิฉันจะอธิบายให้คุณเห็นชัดเจนในบทที่ห้าและหกของหนังสือเล่มนี้ <o:p></o:p>
    การ ยอมรับทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพ ก็คือ การยอมรับความจริงในระดับสมมุติหรือสัมพัทธ์ จึงได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งภาษาคือ การพูดตัดสินเรื่องต่าง ๆ อย่างเปรียบเทียบ relatively speaking ซึ่ง เป็นวลีภาษาอังกฤษที่ใช้กันบ่อยมากในระหว่างการพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน เพราะทุกคนล้วนพูดจากกรอบความคิดที่แตกต่างและหลากหลายของตนเองอันเนื่องจาก ไม่มีเสาหลักที่มั่นคงเพราะไม่รู้สัจธรรมอันสูงสุด การพูดคุยในทุกเรื่องของชีวิตจึงหละหลวม โคลงเคลง บางครั้งก็ไร้แก่นสารอย่างสิ้นเชิง เหมือนยืนบนท่าน้ำฉันใดก็ฉันนั้น <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ศีลธรรมสัมพัทธ์ <o:p></o:p>
    สิ่ง ที่เสียหายมากกว่านั้นคือ ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพมีอิทธิพลต่อวิธีการคิดของคนรุ่นใหม่จนก่อให้เกิดศีลธรรม แบบสัมพัทธ์ขึ้นมา เพราะไม่รู้สัจธรรมอันสูงสุด จึงไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ต่างจากสิ่งชั่วที่สุดอย่างไร คนจึงมักคิดว่า ไม่มีระบบศีลธรรมที่สมบูรณ์ในตัวมันเอง There is no moral absolute. ฉะนั้น คนเราจึงตัดสินการกระทำว่าดีหรือชั่วในลักษณะของการเปรียบเทียบแบบสัมพัทธ์ เช่น นักขโมยเล็กขโมยน้อยจะคิดเปรียบเทียบตนเองว่าดีกว่าโจรปล้นธนาคารซึ่งคิดว่า ตนเองยังดีกว่าอาชญากรที่ข่มขืนหญิงและฆ่าคนเป็นครั้งแรกซึ่งคิดว่าตนเองยัง ดีกว่าอาชญากรที่ฆ่าคนหลายคนแล้ว คนสูบบุหรี่จะคิดว่าตนเองดีกว่าคนกินเหล้าด้วยสูบบุหรี่ด้วยซึ่งคิดว่าตนเอง ย่อมดีกว่าคนติดยาเสพติด การคิดอย่างเปรียบเทียบเช่นนี้ย่อมเปรียบไปได้เรื่อย ๆ ในทั้งสองทางคือ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ต่อเมื่อรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น จึงจะมีมาตรฐานการวัดที่ถูกต้องอย่างแท้จริง สัจธรรมอันสูงสุดจึงจำเป็นต้องอยู่เหนือทั้งความชั่วและความดีทั้งหลาย จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่พึ่งพาได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยุคของคนตาบอดจูงคนตาบอด<o:p></o:p>
    เมื่อ ผู้นำรัฐเป็นคนตาบอดทางใจเสียเองแล้ว ผลเสียหายยิ่งร้ายแรงมากขึ้นและมีผลกระทบต่อคนหมู่มากอย่างน่าใจหาย เช่น รัฐบาลอังกฤษได้ออกกฎหมายอนุญาตให้ผับต่าง ๆ เปิดขายสุราได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้คนดื่มสุรามากขึ้นโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น นอกจากนั้น ยังยกเลิกกฎหมาย ไม่จัดกัญชาว่าเป็นยาเสพติดที่ร้ายแรงอีกต่อไป ใครต่อใครจึงสามารถสูบกัญชาได้เหมือนสูบบุหรี่ ไม่ถูกจับมาลงโทษเหมือนสมัยก่อน กฎหมาย ที่โง่เขลาเบาปัญญาเหล่านี้จึงกลายเป็นมาตรฐานสมมุติที่คนนำมาเปรียบเทียบ ความดีเลวของตนเอง และกลับกลายเป็นกฎหมายที่สร้างปัญหาสังคมอย่างไม่จบไม่สิ้น เป็นการช่วยส่งเสริมทำลายสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจของประชาชนของตนเองแทน ที่จะช่วยปกป้องในฐานะผู้ปกครองที่ดี ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลแทนที่จะนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ หรือใช้ในสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ นั้นกลับต้องมาทุ่มเทเพื่อแก้ปัญหาปลายเหตุที่รัฐบาลเป็นคนสร้างขึ้นมาเสียเอง <o:p></o:p>
    ความอ่อนแอของสถาบันศาสนาทั่วโลกก็เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้สังคมปั่นป่วนมากขึ้น เพราะ ไม่มีผู้นำทางจิตใจที่สามารถแสดงออกซึ่งภูิมิปัญญาทางธรรมอย่างแท้จริง จึงไม่สามารถยับยั้งกฎหมายที่เป็นโทษต่อสังคม สังคมจึงขาดทิศทางของชีวิตที่ถูกต้อง เกิดสภาวะที่ฝรั่งเรียกว่า massive misdirection of life เป็นยุคของคนตาบอดจูงคนตาบอดอย่างแท้จริง<o:p></o:p>
    การ นำคนหมู่มากไปสู่เป้าหมายปลายทางของชีวิตอันคือสัจธรรมอันสูงสุดนั้นควรเป็น หน้าที่ของผู้นำทางศาสนาที่ทำร่วมกับผู้นำทางการเมือง โดยที่ผู้รู้จริงต้องเป็นที่ปรึกษาให้นักการเมือง แต่เมื่อผู้นำทางศาสนาไม่มีความรู้เรื่องสัจธรรมอันสูงสุดแล้ว จึงไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้นักการเมืองได้ การนำสังคมจึงตกเป็นหน้าที่ของนักการเมืองและสื่อมวลชนซึ่งล้วนแต่มีตาใจที่ มืดบอดและอดไม่ได้ที่จะทำตามอำนาจของกิเลสทั้งสิ้น แถมผู้นำศาสนาบางลัทธิกลับไปสอนให้คนเกลียดชังซึ่งกันและกัน ถึงขนาดสอนให้พลีชีพตนเองเพื่อฆ่าคนหมู่มากที่ไม่เห็นด้วยต่อลัทธิของตน เพื่อการได้ไปสวรรค์อยู่กับพระเจ้า อันเป็นการกระทำของคนมืดบอดอย่างสนิท เพิ่มปัญหาที่หนักหน่วงให้สังคมโลกโดยไม่จำเป็น<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    รุ่งอรุณของยุคมิคสัญญี<o:p></o:p>
    ศีลธรรม สัมพัทธ์จึงกลายเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวทางศีลธรรมของทั่ว โลก เพราะคนยุคนี้มักถนัดที่จะหาคนที่เลวกว่าตนเองมาเปรียบเทียบด้วยเสมอ เพื่อจะได้รู้สึกว่าตนเองก็ยังมีส่วนดีอยู่ รวมทั้งค่านิยมต่าง ๆ ที่ทำให้ศีลธรรมย่อหย่อนเช่น “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” การบูชาคนที่มีเงิน มีอำนาจและมีชื่อเสียง การทำผิดศีลธรรมของคนมั่งมีและมีชื่อเสียงกลับกลายเป็นเรื่องยอมรับของสังคม โดยเฉพาะการผิดศีลข้อสาม คนไม่น้อยของยุคนี้อาจจะ ร่ำรวยและมีชื่อเสียงขึ้นมาได้เพราะการกระทำที่ทุจริตหรือทำมิจฉาอาชีพของตน เอง เช่น ขายมนุษย์ ขายอาวุธ ขายสิ่งเสพติดทั้งหลาย การให้เกียรติและบูชาคนผิดศีลธรรมเพียงเพราะเขาร่ำรวยจึงไม่ต่างจากการเอา หนังสือศีลธรรมมาเหยียบเล่น ทำให้เรื่องผิดศีลธรรมกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมมากขึ้น เพราะไม่มีสิ่งดีที่สุดมาใช้เป็นมาตรฐานของการวัด <o:p></o:p>
    จาก การช่วยเหลือของฮอลลีวู๊ดที่ผลิตภาพยนตร์ที่เน้นการใช้ความรุนแรง ทำเรื่องการทำร้ายร่างกาย ฆ่ากัน ยิงกัน ให้เป็นเรื่องเท่ห์ เก๋ พร้อมกับเกมส์คอมพิวเตอร์ที่ส่วนมากเน้นแต่การทำร้ายซึ่งกันและกัน เด็ก ๆ จึงเห็นการกระทำผิดศีลธรรมเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาไป พฤติกรรม ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เข้าใจชีวิตอย่างถูกต้องเหล่านี้จะทำให้ศีลธรรมกลายเป็น เรื่องอดีตของมนุษย์ไปในที่สุด การใช้ชีวิตอย่างไร้ศีลธรรมจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ไปในอนาคต ซึ่งเป็นการปูทางไปสู่ยุคมิคสัญญี คือ ยุคที่มนุษย์สามารถฆ่ากันด้วยความเข้าใจผิดว่ามนุษย์เป็นผักปลา อันเป็นกลไกหรือธรรมชาติธรรมดาของสังสารวัฏ นี่จึงเป็นยุคที่ปัจเจกบุคคลต้องรีบเอาตัวเองให้รอดโดยรีบทำความเข้าใจ เรื่องต่าง ๆ ที่ดิฉันนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จุดนิ่งของจักรวาลสามารถยุติศีลธรรมสัมพัทธ์<o:p></o:p>
    จะ ยุติสภาวะที่สับสนและยุ่งเหยิงของสังคมได้ก็ต้องหยุดคิดเรื่องศีลธรรมอย่าง สัมพัทธ์หรือเปรียบเทียบ จะทำเช่นนั้นได้ จำเป็นต้องรู้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการมีศีลธรรมจรรยาเสียก่อน คนจะต้องรู้ว่าทำไมนักการศาสนาหรือนักบุญทุกท่านที่ผ่านมาในโลกจะต้องสอนคน ให้ทำแต่ความดีและมีศีลธรรมเสมอ เหตุผลหลักมีข้อเดียวคือ มันเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้ผู้รักษาศีลเข้าถึงสัจธรรมอันสูงสุด หรือ เข้าถึงพระเจ้า หรือ พระนิพพาน นั่นเอง <o:p></o:p>
    จุดนิ่งหรือจุดปกติของจักรวาลอันคงที่ถาวรเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานการวัดทุกสิ่งในจักรวาลได้ ผล ที่ได้ก็จะมีค่าคงที่ สมบูรณ์ แน่นอน ไม่ขึ้นอยู่กับการตีความที่ออกจากกรอบความคิดที่แตกต่างหลากหลายเหมือนการ ใส่แว่นต่างสีของปัจเจกบุีคคลอีกต่อไป จะเป็นการพูดโดยการเอาสัจธรรมเป็นแกนหลักเสมอ จึงเป็นคำพูดที่มีความหนักแน่น คงทน ถาวร ฉะนั้น แทนที่จะยอมก้มหัวให้กับทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพโดยพูดว่า “พูดอย่างสัมพัทธ์ relatively speaking” เราควรสร้างวัฒนธรรมทางภาษาที่เนื่องกับการรู้จุดคงที่ของจักรวาลขึ้นมาใหม่โดยใช้วลีเช่น “พูดอย่างเด็ดขาด absolutely speaking” แทน เพื่อให้ทุกเรื่องของชีวิตโยงกลับไปสู่สัจธรรมอันสูงสุดได้เสมอ <o:p></o:p>
    ไอน์สไตน์พูดว่า <o:p></o:p>
    วิทยาศาสตร์นั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการคิดเรื่องราวของชีวิตประจำวัน<o:p></o:p>
    ฉะนั้น การรู้จุดปกติของจักรวาลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของ มนุษย์อย่างแนบแน่น เป็นเรื่องการสร้างวิถีชีวิตที่ปกติอย่างแท้จริง นี่เป็นเรื่องเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาอันสับสนและสลับซับซ้อนที่เนื่องกับ สังคมและศีลธรรมได้ เปรียบเหมือนการแก้ปมเชือกของเส้นด้ายจากต้นสุดหรือปลายสุด เพื่อปมอื่น ๆ จะสามารถหลุดออกเป็นเปาะ ๆ จนกลายเป็นเส้นตรงได้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความรู้ทางโลกและทางธรรมต้องเดินควบคู่กัน <o:p></o:p>
    ปัจจุบัน นี้ งานวิจัยในวงการฟิสิกส์โดยส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อสานต่อภารกิจของไอน์สไตน์ เพื่อแสวงหาคำตอบในปริศนาหรือทฤษฎีเอกภาพที่ไอน์สไตน์ได้ทุ่มเทชีวิตในช่วง ๓๐ ปีสุดท้ายของเขา แต่ไม่สำเร็จ บรรดานักฟิสิกส์ยังเห็นพ้องต้องกันว่าควรต้องมีกรอบหลักการที่กว้างขวางครอบ คลุมและเป็นพื้นฐานของทุกทฤษฎี จึงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายอย่างยิ่งยวดและเป็นความใฝ่ฝันอันสูงสุดในวงการ วิทยาศาสตร์ <o:p></o:p>
    ดิฉัน มั่นใจเหลือเกินว่า พระนิิพพานในฐานะที่เป็นจุดปกติของจักรวาลนี่แหละคือกรอบหลักการที่กว้าง ขวาง ที่สามารถครอบคลุมเรื่องทุกเรื่องของจักรวาลและสามารถใช้เป็นพื้นฐานของทุก ทฤษฎีได้ ความรู้ทางโลกโดยเฉพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องเดินเคียงข้างกับความ รู้เรื่องพระนิพพานเสมอจึงจะปลอดภัย จึงแน่ใจได้ว่าจะไม่ถูกใช้ไปในทางที่ผิด ๆ ถ้าหาก ขาดทฤษฎีเอกภาพอันคือพระนิพพานแล้วไซร้ ความรู้ทางโลกเหล่านั้นแม้จะเลิศเลอมหัศจรรย์และมีคุณค่าต่อการสร้างสรรค์ อารยธรรมทางวัตถุมากเพียงใดก็ตาม มันก็ยังเป็นความรู้ในฝ่ายมืดที่มักถูกนำไปใช้เพื่อปรนเปรอกิเลสของมนุษย์ จึงเป็นความรู้ที่ยังหลงทิศอยู่ เป็นเรื่องการพายเรืออยู่ในหนองน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาล เหมือนติดคุกใหญ่ที่ไม่มีทางออก เป็นความรู้ที่มีคุณภาพเหมือนผ้าขาวสีขุ่นมัว ไม่ใสแจ๋วเหมือนความรู้เรื่องพระนิพพาน อันเป็นความรู้เรื่องการออกจากคุกของชีวิตอย่างแท้จริง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สรุป<o:p></o:p>
    ถึง แม้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยที่เขายังไม่ได้พบสัจธรรมอันสูงสุดก็ตาม เขาก็ยังได้ทิ้งมรดกทางปัญญาอย่างมากมายให้แก่มนุษยชาติที่ควรได้รับการ ยกย่องและระลึกถึงเสมอ แต่สำหรับดิฉันแล้ว มรดกที่สำคัญที่สุดที่ไอน์สไตน์ได้ทิ้งให้แก่มนุษยชาติคือ การตั้งคำถามของเขาในเรื่องเกี่ยวกับจุดนิ่งหรือจุดปกติของจักรวาลและทฤษฎี เอกภาพ รวมทั้งการชี้ทางไปสู่การหาคำตอบในพระพุทธศาสนา <o:p></o:p>
    ดิฉัน อยากเชื่อว่า ความคิดนี้ของไอน์สไตน์จะสามารถสร้างความตื่นตัวในหมู่ปัญญาชนโดยเฉพาะ ปัญญาชนไทยให้กลับมาเสาะแสวงหาภูมิปัญญาของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ซึ่งภูมิปัญญาในส่วนพระนิพพานหรือสัจธรรมอันสูงสุดที่ดิฉันนำเสนอในหนังสือ เล่มนี้ เป็นการเรียนรู้ที่อยู่เหนือกรอบแห่งประเพณีและวัฒนธรรมทางศาสนาต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องครอบจักรวาล เป็นเรื่องสากลที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่าง แท้จริง ไม่จำเป็นต้องแยกระหว่างการเชื่อศาสนาหรือเชื่อวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด จึงเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ <o:p></o:p>
    ดิฉัน เห็นว่านี่เป็นวิธีการเดียวที่จะสามารถรวมมนุษยชาติให้เป็นเอกภาพได้ในฐานะ ที่ทุกคนเป็นมนุษย์ของดาวนพพระเคราะห์ดวงนี้เท่าเทียมกันหมด <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...