บทความ-การเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้สิ้นผมว่าเป็นอะไรที่น่ากลัวที่สุด....

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย yossapol, 10 พฤศจิกายน 2014.

  1. yossapol

    yossapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +192
    ทุกคน เคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมครับว่าเราเกิดมาทำไม เพื่ออะไร?..

    แน่นอน ผมเชื่อว่ามีแทบจะทุกคนและแทบจะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ แม้แต่สัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย เขาก็คงมีความคิดในใจนี้เหมือนเรา ๆ ว่า"ทำไมเราถึงเกิดเป็นอย่างนี้หนอ.." (อันนี้คือสิ่งที่ผมคิดเองนะไม่ได้รู้ใจสัตว์หรือสิ่งของใดๆ สมมติเอาเองตามที่คิด)

    อีกอย่างผมก็เป็นคนที่ชอบตั้งสมมติฐานในใจอยู่เรื่อยว่า แล้วหลังจากที่เราเกิดและตายไปแล้ว จะไปเป็นอะไรต่อ..? ทุกคนเคยคิดใช่ไหมครับ... หรือว่า ตายแล้ว ก็หมดสิ้นไป......

    ผมเองก็เคยคิดแบบนั้นในสมัยเด็ก ๆ ซึ่งไม่เคยศึกษาวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดมาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งผมได้มีโอกาสเปิดอ่านพระไตรปิฏกบนเว็บ(เว็บไหนจำไม่ได้) ก็ด้วยความที่อยากรู้ว่าในเนื้อหานั้นมีอะไรบ้าง อ่านไปมา ก็เจอหลายเรื่องราวที่เล่าเป็นเชิงนิทานและตัวอย่างของบุคคลหลายๆ คนที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลๆนั้น เมื่อทำแบบนั้นในอดีตจะส่งผลอย่างไรในปัจจุบันหรืออนาคตต่อไป

    ทีนี้ผมลองศึกษาทั้งเนื้อหาในเว็บ และหนังสือเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดและกฏแห่งกรรม ธรรมมะฉบับต่าง ๆ เพิ่มเติม รวมถึงเรื่องเล่าจากครูบาอาจารย์ ในอดีตที่เคยประสบกับตัวเองและนำมาเล่าสู่กันฟังในรูปแบบหนังสือนั้น ทำให้ผมมั่นใจว่า การตายนั้น ไม่สูญแน่นอนครับ...

    และที่สำคัญครับ ผมว่า การที่เกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่ ล้วนแต่ "เป็นทุกข์" ทั้งนั้น... ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน ทุกประการ เพราะอะไร ก็เพราะว่า ความ "ยึดติด" ทำให้เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งผมสรุปย่อ ๆ ได้ดังนี้

    ยึดในการทำดี รักษาศีล = ไปเป็น มนุษย์ หรือเทวดา
    ยึดในการทำชั่ว = ไปอยู่ในนรก, อสุรกาย, สัตว์เดียรฉาน
    ยึดถือการปฏิบัติฌาน = พรหมโลก

    ทีนี้ผมลองคิดอีกแง่มุมนึงซึ่งแตกต่างจากที่กล่าวมา คือ แล้วเราจำเป็นจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้ตลอดไปเชียวหรือ??? มันมีวิธีไหนไหม ที่จะไม่ต้องทนทุกข์ทรมานในสังสารวัฏนี้ได้บ้าง??

    แน่นอนครับทุกคำถาม ย่อมแสวงหาคำตอบ ..ผมเลยลองศึกษาจากในหนังสือหลายๆ เรื่อง ธรรมะหลากฉบับ หรือในพระไตรปิฏก เจอแนวทางปฏิบัติที่เหมือนๆ กันเกือบทั้งหมด คือทางแห่งการพ้นทุกข์ หรือที่เราเรียกๆ กันว่า " นิพพาน"

    ทีนี้ผมได้ลองศึกษาคำว่า "นิพพาน" และพอจะรู้ หรือเข้าใจทางแห่งการ "นิพพาน" นั้นคืออะไรกันแน่(แต่ก้ยังไม่ใช่ลุนิพพานซะเอง ถือว่าผมเป็นนักศึกษาค้นคว้าก็แล้วกันครับ) ซึ่งขอสรุปสั้น ๆดังนี้

    นิพพาน = การปฏิบัติ กาย วาจา ใจ และศีล ให้ลุถึงซึ่งความบริสุทธิ์ ด้วยการปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ และปล่อยวาง(อุเบกขา) ให้ถึงที่สุด ฯลฯ ....

    ทีนี้ย้อนกลับมาที่หัวข้อที่ผมโพสไว้ว่า ทำไมผมถึงกล่าวว่า "การเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้สิ้นผมว่าเป็นอะไรที่น่ากลัวที่สุด...." ก็เพราะผมเห็นว่า การเกิดๆ ตายๆ ฯลฯ แบบอนันตกาลนี้ เป็นอะไรที่ น่าเบื่อ น่าระอิดระอา น่าสะพรึงกลัวเป็นที่สุด
    สมกับคำว่า "สงสารวัฏ" ครับ เพราะ เป็นวัฏจักรที่ น่าสงสาร น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่ง....ตราบใดที่เรายังไม่หลุดพ้นจากตรงนี้ไป ซึ่งตัวผมเองก็อยากจะพ้นทุกข์จากห่วงโซ่อันแสนยาวนานนี้เหลือเกิน...

    (ขอผู้อ่านโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าผมเป็นอรหันต์ หรือเป็นบ้าเลย เป็นเพียงความคิดส่วนตัวหรือสมมติที่อาจจะดูหลุดโลกไปบ้างก็เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเท่านั้นครับ ผิดหรือถูก โปรดใช้วิจารณญาน)

    สุดท้ายผมขอฝากให้ทุกท่านพิจารณา หรือหากมีคำอธิบายที่ดี ๆ สามารถแนะนำผมได้ครับ ว่า..

    แท้จริงแล้ว "เรา" ที่ยังยึดถือใน "ตัวตน" เกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ หรือทำลาย หรือ หลุดพ้น กันแน่.....
     
  2. kengloveyou

    kengloveyou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +2,077
    การต้องการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง มีการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ
    สงสารแห่งความทุกข์มหันต์นี้เป็นต้น ย่อมมีอยู่ในจิตใจของผู้ที่มีปัญญามากพอ
    จนสามารถเห็นตามสัจธรรมความจริงเพียงพอแล้วเท่านั้น หรือจะพูดอีกอย่างคือ
    ผู้ที่มีความต้องการออกจากความทุกข์เหล่านี้จริงๆ คือผู้ที่มีบุญญาบารมีอยู่ใน
    ขั้นของปรมัตถบารมีแล้วนั่นเอง ถ้าบารมีต่ำกว่านี้เขาเหล่านั้นจะไม่คิดถึงเรื่อง
    ของการพ้นทุกข์ดับทุกข์เลย แต่ของอย่างนี้ไม่ได้อยู่ตรงที่ต้องการมากแล้ว
    จะได้เร็วต้องการน้อยแล้วจะได้ช้า ทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จพ้นทุกข์ได้หรือไม่
    นั้น จะช้าจะเร็วย่อมขึ้นอยู่กับการกระทำสั่งสมบุญบารมีของเราเท่านั้น ไม่ขึ้นอยู่
    กับอย่างอื่นเลย

    ดังเช่นพระธรรมคำสอนของ สมเด็จโต พรหมรังสี ได้กล่าวไว้เป็นใจความสำคัญว่า


    "หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วย"
    "ลูกเอ๋ย... ก่อนที่จะเที่ยวไปขอบารมีจากหลวงพ่อองค์ใด
    เจ้าจะต้องมีทุนของตนเอง คือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน
    เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีของคนอื่นมาช่วย
    มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด
    เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมเขามาจนล้นตัว
    เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมา
    ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว
    แล้วเจ้าจะไม่มีอะไรไว้ในภพหน้า
    หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเจ้าเอง
    จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    ครั้นถึงเวลาทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
    เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า...


    (พุทธสุภาษิตท่านสอนไว้ว่า.."อัตตาหิ อัตตโนนาโถ-ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน")



    ผมชอบท่อนนี้ที่สุดเลย เพราะอย่างนี้จึงเป็นเหตุให้เราต้องเพียรสร้างความดี
    สังสมบุญบารมีกันต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน

    หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเจ้าเอง
    จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    ครั้นถึงเวลาทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
    เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า...


    กราบสาธุ หลวงพ่อสมเด็จโต สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤศจิกายน 2014
  3. ssahn34

    ssahn34 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2013
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +75
    ตอนเด็กผมก็แบบล่องลอยแบบนี้เหมือนกัน อ่านมาก็รู้จากการอ่านคล้ายๆกัน เหลือแต่การปฎิบัติ
    ๆแบบเรื่อยๆก็เลยยังไม่รู้ แต่ที่รู้ๆถ้าเราไม่หยุดทำ วันของเราต้องมาถึงบ้างล่ะน่า นิพพานคือจิต
    ไม่มีกิเลสและความอยาก จิตที่ความดีและความชั่วไม่มีผลแล้ว จิตบริสุทธิ์เดิมแท้ที่ต้องมาเกิดและ
    ต้องหาทางกลับที่เดิม แต่ตอนทำให้ถึงต้องทำดีตลอดและเกาะ
    ความดีนั้นจนถึง ผมเหนื่อยเลยเพราะผมยังชั่วอยู่เยอะ 555
     

แชร์หน้านี้

Loading...