น้ำปานะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 4 มีนาคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    เรื่องน้ำปานะ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแสดงไว้ชัดเจนอยู่แล้ว จะอ้างมหาประเทศ
    ไม่ได้ ถ้าพระภิกษุหรือสามเณร ฉันน้ำนมถั่วเหลือง และนม ในเวลาวิกาล ผิดศีลแน่
    นอน ส่วนน้ำผลไม้บางประเภทฉันได้ บางประเภทฉันไม่ได้ และต้องไม่มีกากไม่มีเนื้อ
    คือต้องกรองด้วยผ้าขาวบางก่อนครับ
    พระภิกษุหรือสามเณร ถ้าฉันน้ำนมถั่วเหลือง และนมหลังเที่ยง ผิดพระวินัย ต้องอาบัติ
    ถ้าอาบัติแล้วไม่ปลงอาบัติก็เป็นเครื่องกั้น มรรค ผล นิพพาน เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ
    เข้าใจว่าคนในยุคนี้พูดกันไปเองตามที่ตนเข้าใว่า วันพระพุทธ วันพระธรรม วันพระสงฆ์
    ในสมัยครั้งพุทธกาล ไม่มีการแยกวันกันแบบนี้ แต่ท่านเหล่านั้นฟังพระธรรม ศึกษา
    พระธรรมกันจริงๆ เข้าถึงพระธรรมจริงๆ ดังนั้นควรเป็นผู้มั่นคงในการศึกษาพระธรรม
    และศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้จริงๆ จึงจะเป็นผู้ไม่เสียชาติเกิดครับ
    วันก็เป็นเพียงสมมติขึ้นเพื่อให้มีความหมายเข้าใจตรงกันว่าวันนี้คือวันอะไรเพื่อจะได้
    กำหนดหมายในการทำกิจต่างๆ วันและเวลามีขึ้นเพราะการที่จิตเกิดดับสืบต่อกันแต่
    ละขณะ แต่ละขณะ จึงมีเวลา มีวินาที มีนาที มีชั่วโมง มีวัน วันสำคัญ เวลาสำคัญจริงๆ
    คือขณะที่เข้าใจพระธรรม ขณะประเสริฐ เวลาประเสริฐ วันที่ประเสริฐ เพราะฉะนั้นจึง
    ไม่ได้มีวันพระธรรมโดยเฉพาะเจาะจง แต่ในพระไตรปิฎกได้แสดงว่ามีวันธรรมสวนะ
    คือวันฟังพระธรรม เดือนละ 8 วันครับ ซึ่งช่วงเวลาใด วันใดที่เข้าใจพระธรรม ก็เป็น
    ขณะที่ประเสริฐแล้ว วันสำคัญทางศาสนาจึงเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย
    ระลึกว่าควรศึกษาธรรมและไม่ว่าวันไหนๆก็สามารถที่จะสะสมปัญญา ความเข้าใจ
    พระธรรมได้ครับ ช่วงเวลา สมัยที่ประเสริฐ วันที่ประเสริฐก็คือ ธรรมาภิสมัย คือสมัย
    เวลาที่ตรัสรู้ความจริงในขณะนี้จนสามารถดับกิเลสได้ครับ วันพระธรรม วันสำคัญจะไม่
    มีความหมายเลยถ้าหากไม่ได้เข้าใจพระธรรมและศึกษาพระธรรมครับ
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 165
    ๕. สัมปชานมุสาวาทสูตร
    ว่าด้วยสัมปชานมุสาวาท
    [๒๐๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
    มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลล่วงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว เรากล่าวว่า
    บาปกรรมไร ๆ อันเขาจะไม่พึงทำไม่มีเลย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ
    สัมปชานมุสาวาท.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
    พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    บาปกรรม ที่สัตว์ผู้เป็นคนมักพูดเท็จ
    ล่วงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว ข้ามโลกหน้าเสีย
    แล้ว จะไม่พึงทำ ไม่มีเลย.
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
    ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
    จบสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕
    และข้อความตอนหนึ่งจากจริยาปิฎกว่า
    อนึ่ง พึงพิจารณาความถึงพร้อมแห่งสัจจบารมี โดยนัยมีอาทิว่า
    เพราะเว้นสัจจะเสียแล้ว ศีลเป็นต้นก็มีไม่ได้. เพราะไม่มีการปฏิบัติอัน
    สมควรแก่ปฏิญญา. เพราะรวมธรรมลามกทั้งปวง ในเพราะก้าวล่วงสัจจ-
    ธรรม. เพราะผู้ไม่มีสัจจะเป็นคนเชื่อถือไม่ได้. เพราะนำถ้อยคำที่ไม่ควร
    ยึดถือต่อไปมาพูด. เพราะผู้มีสัจจะสมบูรณ์เป็นผู้ตั้งมั่นในคุณธรรมทั้งปวง.
    เพราะเป็นผู้สามารถบำเพ็ญโพธิสมภารทั้งปวงให้บริสุทธิ์ได้. เพราะกระทำ
    กิจแห่งโพธิสมภารทั้งปวง ด้วยไม่ให้ผิดสภาวธรรม และเพราะสำเร็จใน
    การปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ ดังนี้...
    ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่
    ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึง
    ศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษา
    อย่างนี้แล.
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

    ๒. ภิกขุวรรค

    ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

    ทรงโอวาทพระราหุล

    [๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
    ทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณ
    ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
    ออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกา ปราสาทที่ท่านพระราหุ
    ลอยู่ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะ
    และตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปู
    ลาดไว้ แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
    แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    [๑๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อย
    หนึ่งแล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่
    ในภาชนะน้ำนี้หรือ.

    ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

    ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา
    ทั้งรู้อยู่ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทน้าที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้ว
    ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้ว
    หรือ.


    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

    รา. เห็น พระเจ้าข้า.

    พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว
    มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้ว เหมือนกันฉะนั้น.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่าน
    พระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้หรือ.
    รา. เห็น พระเจ้าข้า.
    พ . ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว
    มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะ
    ท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ.
    รา. เห็น พระเจ้าข้า.
    พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว
    มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของว่างเปล่าเหมือนกันฉะนั้น.
    [๑๒๗] พ. ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็น
    พาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงคราม
    แล้วย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วย
    กายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสอง
    บ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะ
    การที่ช้างรักษาแต่งวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้
    แลมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้า
    สงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสอง
    บ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้างด้วยการเบื้องหน้าบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้ง
    สองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 265
    ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยังไม่ยอมสละ
    แล ดูก่อนราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มี
    กำเนิดดี เคยเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้า
    หลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
    ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง เพราะการที่
    ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงา
    อันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงคราม
    แล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกาย
    เบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วย
    งาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว
    บัดนี้ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคล
    ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่ง
    ไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจัก
    ไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ ๖๕๓
    ในโลกนี้ ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งที่เช่นกับความสัตย์ ไม่มี เพราะว่า ผู้ที่ทิ้งความสัตย์
    เสียแล้ว ย่อมไม่สามารถจะนั่งที่โพธิบัลลังก์บรรลุพระโพธิญาณได้ เราควรกล่าว
    แต่ความสัตย์เท่านั้น. จริงอยู่ ปาณาติบาต(ฆ่าสัตว์)ก็ดี อทินนาทาน(ถือเอาสิ่งของที่
    เขาไม่ได้ให้)ก็ดี กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม)ก็ดี สุราปานะ(การดื่มสุรา)-
    ก็ดี ย่อมมีแก่พระโพธิสัตว์ได้บ้างในฐานะบางอย่าง แต่มุสาวาทที่มุ่งกล่าวให้คลาด
    เคลื่อนหักประโยชน์เสีย ย่อมไม่มีแก่พระโพธิสัตว์เลย.
    (ข้อความตอนหนึ่งจาก ...ขุททกนิกาย ชาดก หาริตจชาดก)
    -----------------------------
    บรรดาคำพูด ๑๐ คำ คำสัตย์แม้สักคำหนึ่งย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้เห็นปานนี้ ชื่อว่าผู้
    มักพูดเท็จ, การพูดเท็จ เป็นวจีทุจริต เป็นอกุศลกรรมบถ เมื่อสำเร็จเป็นอกุศลกรรมบถ
    ที่ครบองค์แล้ว ย่อมทำให้ผลที่ไม่ดีเกิดขึ้น กล่าวคือ ผลอย่างหนักทำให้ไปเกิดใน
    อบายภูมิ ถ้าเป็นผลอย่างเบา เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้รับคำพูดที่
    ไม่จริงจากผู้อื่น
    บุคคลผู้มักพูดเท็จ พูดโกหก ที่จะไม่ทำอกุศลกรรมอย่างอื่นเป็นไม่มี เพราะเหตุว่า
    ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะต้องพูดเท็จ ยังพูดได้ จึงไม่ต้องพูดถึงอกุศลกรรมอย่างอื่น
    ที่เขาจะไม่ทำ
    พระธรรมเทศนาในเรื่องนี้ จึงเป็นเครื่องเตือนสติได้เป็นอย่างดี เตือนไม่ให้ประมาท
    โดยประการทั้งปวง เพราะตราบใดที่ยังเป็นปุถุชน ผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส ยังไม่ได้-
    เป็นพระอริยบุคคล จะประมาทกำลังของกิเลสไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว เพราะเมื่อมีเหตุ
    ปัจจัย ย่อมล่วงศีลได้ ทำอกุศลกรรมประการต่าง ๆ ได้ ถ้าเหตุปัจจัยพร้อม ดังนั้น
    อกุศลแม้เล็กน้อย ก็พึงเห็นว่าเป็นโทษเป็นภัย ไม่ควรสะสมให้มีมากขึ้น ควรที่จะ
    ละอาย และเกรงกลัวต่ออกุศล และถอยกลับจากอกุศลให้เร็วที่สุด แล้วสะสมเฉพาะ
    สิ่งที่ดีเท่านั้น ครับ.
    อริยสัจจะคือความจริงแท้อันประเสริฐ ผู้ที่จะรู้อริยสัจจะก็ต้องเป็นผู้ที่มีสัจจะตั้งแต่ต้น
    เริ่มตั้งแต่วจีสัจจะ(คำพูดที่จริง) หากไม่ตรงตั้งแต่ต้นแล้ว คือเป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้
    ล่วงเลยสัจจะก็ไม่มีทางถึงอริยสัจจะได้
    แสดงให้เห็นถึงกำลังของกิเลสว่ามีมากหรือน้อยในชีวิตประจำวัน กล่าวเท็จทั้งที่รู้
    เช่น เมื่อถามว่าไม่ชอบก็บอกว่าเฉยๆ เป็นต้น ตัวผู้กล่าวเท็จเองก็รู้อยู่แต่ไม่มีความ
    ละอาย ก็ย่อมทำบาปอื่นได้เพราะแม้เรื่องเล็กน้อยก็ยังไม่ละอายครับ พระธรรมจึงเป็น
    เครื่องเตือนที่จะเห็นโทษแม้เล็กน้อย ที่สำคัญหากยังล่วงแม้วจีสัจจะแล้วการบรรลุ
    อริยสัจจะก็มีไม่ได้เพราะไมได้เป็นไปเพื่อน้อมปฏิบัติตามในพระธรรมครับ
    ธรรมทั้งหลายต้องมีเหตุ การกล่าวเท็จทั้งๆที่รู้อยู่ก็ต้องมีเหตุคือ เป็นผู้ติดข้องในกาม
    เป็นผู้ที่หนักในลาภสักการะ เป็นต้น
    สำหรับคำถามที่ว่าสัจจบารมีเป็นบารมีข้อแรกที่ต้องบริบูรณ์ก่อนนั้น คงไมได้หมาย
    ความอย่างนั้นครับ ทุกๆบารมีต้องดำเนินควบคู่กันไปจนเต็ม แต่ทรงแสดงให้เห็นถึง
    ความสำคัญของสัจจบารมีว่าเป็นแกนสำคัญในการบรรลุธรรมเพราะเป็นสิ่งที่จริง ตรง
    และแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมอย่างแท้จริงอันเป็น
    ไปเพื่อละกิเลสซึ่งเป็นการอบรมบารมีครับ
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔-หน้าที่ 198

    " ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก, หรือแม้

    ใดทำแล้ว กล่าวว่า 'ข้าพเจ้ามิได้ทำ,' ชนแม้ทั้ง
    สองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลก
    อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน(คือเข้าถึงนรกเหมือนกัน)"
    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภูตวาที ได้แก่ ผู้ไม่เห็นโทษของ
    บุคคลอื่นเลย ทำการกล่าวเท็จ ตู่ผู้อื่นด้วยคำเปล่า.
    บทว่า กตฺวา ความว่า หรือผู้ใดทำกรรมลามกแล้ว กล่าวว่า
    " ข้าพเจ้ามิได้ทำกรรมนั่น. "
    หลายบทว่า เปจฺจ สมา ภวนฺติ ความว่า ชนแม้ทั้งสองนั้นไปสู่
    ปรโลก ย่อมเป็นผู้เสมอกันโดยคติ เพราะการเข้าถึงนรก, คติของชน
    เหล่านั้นเท่านั้น ท่านผู้รู้กำหนดไว้แล้ว, แต่อายุของเขาท่านมิได้กำหนด
    ไว้; เพราะว่าชนทั้งหลายทำบาปกรรมไว้มาก ย่อมไหม้ในนรกนาน ทำ
    บาปกรรมไว้น้อย ย่อมไหม้สิ้นกาลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น; ก็เพราะกรรมที่
    ลามกของชนแม้ทั้งสองนั้นนั่นเอง (เป็นเหตุ), เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
    พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ. "
    ก็บทว่า ปรตฺถ สัมพันธ์เข้ากับบทว่า ' เปจฺจ ' ข้างหน้า. อธิบาย
    ว่า ชนผู้มีกรรมเลวทรามเหล่านั้น ละไปในโลกอื่น คือไปจากโลกนี้
    ย่อมเป็นผู้เสมอกันในปรโลก.
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 656
    รูปิยปาติสูตร
    ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม
    [๕๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้วย่อมรู้
    บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะถาดเงินอันเต็มด้วยผงทองคำ
    เป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภ
    สักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ
    อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

    จบรูปิยปาติสูตรที่ ๒

    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑-หน้าที่ 433

    อัตถกรณสูตร
    [๓๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ชอบแล้ว ๆ มหาบพิตร
    กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล แม้บางพวกเป็นผู้มั่งคั่ง
    มีทรัพย์มาก ฯลฯ มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังจักกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่
    เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล ข้อนั้นจักเป็นไป
    เพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน.
    คำว่า "โลกสันนิวาส" ท่านแยกศัพท์ไว้ดังนี้........

    "โลก" หมายถึง สภาพธรรมที่มีอันต้องแตกสลาย
    ซึ่งไม่พ้นไปจาก ขันธ์ ๕
    คือ
    รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญาณขันธ์.
    เมื่อประมวลแล้ว ก็ไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก รูป.

    นี้คือ คำจำกัดความของคำว่า "โลก"

    สำหรับคำว่า "สันนิวาส" หรือ สนฺนิวาส
    คือ ที่ตั้ง-ที่อาศัยของ ตัณหา และ ทิฏฐิ.

    และอีกความหมายหนึ่ง
    "โลกสันนิวาส" หมายถึง สัตว์โลก หรือ สรรพสัตว์ทั้งหลาย.

    ดังนั้น
    การศึกษา "สภาพธรรมที่มีจริง" คือ จิต เจตสิก รูป
    จะทำให้เข้าใจตามความเป็นจริง ว่า
    เพราะมี ขันธ์ ๕ จึงมีการสมมติ ว่า เป็นสัตว์ บุคคล.
    ควรทราบว่าร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยมหาภูตรูปและอุปาทายรูป มีรูป
    ทั้งหมด ๒๘ รูป(โดยรวม) เกิดจากสมุฏฐาน ๔ คือ บางรูปเกิดจากกรรม บางรูป
    เกิดจากจิต บางรูปเกิดจากอุตุ บางรูปเกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน การจำแนกรูป
    โดยนัยพระอภิธรรมทรงแสดงละเอียดมาก คือแม้กลุ่มเล็กๆ ก็มีธาตุทั้ง ๔ และรูปอื่นๆ
    รวมอยู่ด้วย แต่โดยนัยของพระสูตรบางสูตรท่านแสดงแบบหยาบๆให้คนมีปัญญาน้อย
    เข้าใจ ท่านก็แสดงโดยรวมๆว่า ส่วนที่แข็งๆ เช่น ผม ขน เล็บ เป็นต้น เป็นธาตุดิน
    ส่วนที่ไหลหรือเกาะกุม เช่น น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น เป็นธาตุน้ำ ...
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

    ข้อความบางตอนจากมหาหัตถิปโทปมสูตร

    ปฐวีธาตุ
    [๓๔๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน. คือ ปฐวีธาตุ
    ที่เป็นไปภายในก็มี ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายใน
    เป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง
    เป็นของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน
    กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
    อาหารเก่า ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายในเป็นของ
    เฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ
    เป็นไปภายใน. ก็ปฐวีธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน ...

    อาโปธาตุ
    [๓๔๓] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คือ
    อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี อาโปธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุที่
    เป็นไปภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็น
    ของเอิบอาบ ถึงความเอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
    น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งใด
    สิ่งหนึ่ง อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความเป็นของ
    เอิบอาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาโปธาตุเป็นไปภายใน.....

    เตโชธาตุ
    [๓๔๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโช
    ธาตุที่เป็นไปภายในก็มี เตโชธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุที่เป็นไป
    ภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน. เฉพาะตน เป็นของ
    เร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน คือ เตโชธาตุที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย
    เตโชธาตุที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย เตโชธาตุเป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย
    เตโชธาตุที่เป็นเครื่องย่อยของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรส
    แล้ว ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งหนึ่งสิ่งใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็น
    ของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน อย่างอื่น นี้เรียกว่า เตโชธาตุเป็นไป
    ภายใน......
    วาโยธาตุ
    [๓๔๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ
    วาโยธาตุที่เป็นไปภายในก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุที่เป็นไป
    ภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัด
    ไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ
    ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลม
    หายใจเข้า ลมหายใจออก ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเป็นภายใน
    เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา อย่างอื่น นี้เรียกว่า
    วาโยธาตุเป็นไปภายใน.....


    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
    ให้อภัยทาน ที่ผ่านมาได้ถวายหนังสือเรียนให้แก่เด็ก ได้ทำบุญ
    บริจาคโลงศพ กับผ้าขาวห่อศพให้แก่ศพไร้ญาติ และวันนี้ได้
    สวดมนต์ ฟังธรรม ศึกษาธรรม สวดมนต์ เจริญสมถะกรรมฐาน
    ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ กรวดน้ำอุทิศบุญ
    อาราธนาศีล รักษาศีล และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง
    และเมื่อวันก่อนได้รักษาผู้ป่วยฟรีโดยไม่คิดเงิน
    ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีและปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัตรป่าภูเขียวครามอยู่ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ๑๔-๑๖ มีค ๒๕๕๓ โทร.0860669233
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
     
  2. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    ทุกวันนี้แทบจะลืมเรื่องน้ำปานะไปเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...