นิพพาน จาก พระไตรปิฏก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 4 มกราคม 2009.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นิพพาน อันปรากฎแก่ผู้สิ้นตัณหา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ธัมมัตถาธิบาย<o:p></o:p>
    ต่อไปนี้ เป็นเนื้อความ ในธัมมัตถาธิบาย ขยายคำในพระพุทธอุทาน ต่อจากอรรถกถาออกไปอีก เพื่อให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ใฝ่ใจทั้งหลาย กล่าวคือ ในพระพุทธอุทานนั้นมีเนื้อความว่า สิ่งที่ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของที่เห็นได้ยากของจริงไม่ใช่เป็นของที่เห็นได้ง่าย เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้ คำเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์ได้แก้ทุกคำแล้ว คือ คำว่า เห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า ผู้ที่ไม่ได้สะสมญาณบารมีไม่อาจเห็นได้ เพราะนิพพานเป็นของลึก ตามสภาพ เป็นของละเอียดสุขุมอย่างยิ่ง ดังนี้<o:p></o:p>
    คำของพระอรรถกถาจารย์นี้ เป็นคำปฏิเสธว่า ไม่เห็นเสียเลย ไม่ใช่ว่าเห็นได้ยาก นัยที่ ๒ พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการบรรลุนิพพานได้ยาก ด้วยคำว่าเห็นได้ยาก โดยอ้างเหตุว่า การอบรมสิ่งที่ไม่มีปัจจัย ไม่ใช่เป็นของที่สัตว์โลกทั้งหลายจะทำได้ง่ายโดยเหตุว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ได้อบรมสิ่งที่มีปัจจัยด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็นของทำปัญญาให้ทุผลภาพเสียกำลังดังนี้ ฯ ได้ใจความตามนัยที่ ๒ นี้ว่า ที่ว่าเห็นได้ยากนั้น คือ สำเร็จได้ยาก ฯ โดยเหตุนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า คำว่าเห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์ว่าไว้ ๒นัย นัยที่๑ ว่า ผู้ไม่ได้สะสมญาณบารมีไว้ไม่อาจเห็นได้ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า เห็นไม่ได้ทีเดียว ฯ นัยที่ ๒ ว่าสำเร็จได้ยาก ฯ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ต่อเมื่อไรได้สำเร็จจึงจะเห็นได้ การสำเร็จนั้นย่อมเป็นการสำเร็จได้ยากฯ ขยายคำข้อนี้ออกไปอีกชั้นหนึ่งว่า การจะเห็นพระนิพพานนั้น ต้องเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุอันเป็นปัญญาที่ประเสริฐ ปัญญาจักษุนั้น เป็นของที่ทำให้เกิดขึ้นได้แสนยาก ด้วยเหตุว่า ต้องอบรมบารมี มีทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น อยู่จนตลอดกาลนาน จึงอาจทำปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันประเสริฐให้เกิดขึ้นได้ ขอให้ดูแต่พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นตัวอย่างเถิด คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญบารมี มาตลอด ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัลป์ นับแต่ได้พุทธพยากรณ์มาแล้ว ก่อนแต่ยังไม่ได้พุทธพยากรณ์มานั้น พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญมาแล้วตลอดกาลนานคือ ทรงบำเพ็ญในเวลาที่ตั้งความปรารถนาในใจว่า จะเป็นพระพุทธเจ้านั้นอีก สิ้น ๙ อสงไขย จึงได้พุทธพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์มี พระทีปังกรเป็นต้น รวมเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ๓ ตอน เข้าด้วยกัน ก็เป็น ๒0 อสงไขยเศษแสนมหากัลป์ จึงจะทำพระปัญญาจักษุอันประเสริฐให้เกิดขึ้นแต่ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ยังทรงทำได้แสนยากต้องทนลำบาก พระองค์บำเพ็ญทุกขกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษาเพื่อแสวงหาดวงจักษุ คือ ปัญญาอันประเสริฐจึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเห็นพระนิพพานแจ่มแจ้งด้วยพระองค์เอง โดยไม่เกี่ยวกับทุกขกิริยาที่ทรงกระทำมานั้น ไม่ใช่เป็นหนทางให้พระองคืได้ตรัสรู้ ส่วนหนทางที่ให้พระองค์ตรัสรู้นั้น ได้แก่ อัฏฐังกิมรรค ๘ ประการ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน ที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้นด้วยทรงเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน คือ ทรงตั้งพระหฤทัยกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์เมื่อพระองค์ทรงบ่ม อานาปานสติ การกำหนด ลมหายใจเข้าออกนั้นให้แก่กล้านั้นก็เกิดเป็นสมาธิชั้นที่ ๑ ที่๒ ที่๓ ที่๔ ซึ่งเรียกตามบาลีว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อ จตุตฌานเกิดขึ้นแล้ว พระหฤทัยของพระองค์ดำรงมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง อ่อนโยน ละมุนละไม ตั้งอยู่ในฐานะที่จะบังคับได้ดังประสงค์ กำรงมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว พระองค์ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไป เพื่อให้เกิด บุพเพนิวาสญาณ ให้ระลึกการหนหลังได้ ในลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงระลึกกาลหนหลังได้ ตั้งแต่ ชาติหนึ่งเป็นต้นไป จนกระทั่งถึงปลายกัลป์ หากำหนดมิได้ พร้อมทั้งอาการและอุเทศ คือทรง ระลึกได้ว่า ในชาติโน้น พระองค์มีพระนาม และโครต ผิวพรรณ วรรณะ อาหาร สุขทุกข์ อายุ อย่างนั้นๆ จุติจากชาตินั้นแล้ว ได้มาเกิดในชาติโน้น ทรงระลึกได้อย่างนี้เป็นลำดับมา จนกระทั่งชาติปัจจุบันนั้น บุพเพนิวาสญาณ การระลึกชาติหนหลังนี้ ได้เกิดมีแก่พระองค์ในปฐมยาม ฯ ในปฐมยามนั้น พระองค์ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมจนตลอดแล้ว ก็ทรงเปล่งอุทานขึ้น ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ ที่ ๑ โน้น<o:p></o:p>
    เมื่อถึง มัชฌิมยาม พระองค์น้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้รู้การจุติ และอุบัติของสัตว์โลกทั้งหลาย พระองค์ก็ได้ทรงเห็นสัตว์โลกทั้งหลายที่จุติ และเกิดได้ทุกจำพวก คือจำพวกที่เลวและดี ทั้งพวกที่มีผิวพรรณดีและไม่ดี ทั้งจำพวกที่ไปดีและไปไม่ดีด้วยทิพพจักษุญาณ คือพระองค์ทรงทราบว่าพวกที่ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นมิจฉาทิฐิ ทำกาลกิริยาตายแล้ว ก้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก การที่พระองค์ทรงทราบนั้น คือ ทรงเล็งเห็นด้วย ทิพพจักษุ เหมือนกับบุคคลยืนอยู่บนปราสาทซึ่งเล็งเห็นผู้ที่อยู่รอบปราสาทฉะนั้น เมื่อพระองค์ทรงได้ทิพพจักษุอันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจตูปปาตญาณแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทในฝ่ายปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุททานเป็นครั้งที่ ๒ ดังที่แสดงมาแล้ว ในกัณฑ์ ที่ ๒ โน้น <o:p></o:p>
    เมื่อพระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ที่ ๓ โน้น ฯ ในขณะที่พระองค์ทรงไว้ อาสวักขยญาณอันทำให้สิ้น อาสวะกิเลสนั้น สรรพปรีชาญาณทั้งสิ้น คือ เวสารัชชญาณ ๔ ทศพลญาณ ๑0 และสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฯ เป็นอันว่าในขณะนั้น พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก เป็นอันว่าพระปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันวิเศษ ซึ่งเป็นเหตุให้เห็นพระหฤพาน ก็เกิดมีขึ้นแก่พระองค์ พร้อมทั้งพระพุทธจักษุพระสมันตจักษุ ทิพพจักษุทุกประการ ฯ เท่าที่สังวัณณนาการแล้วนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า พระนฤพานนั้น เป็นของที่เห็นได้แสนยาก เพราะเหตุว่า เป็นของละเอียดลึกซึ้งไม่มีสิ่งจะเทียมถึง โดยเหตุนี้ ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะอุตสาหะบำเพ็ญ บารมีทั้ง ๑0 ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อันกล่าวโดยย่อว่า ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ บรรพชา ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา ตามกำลังสามารถของตนๆ ตามภูมิชั้นของตน ๆ ที่ปรารถนาเป็น สาวก สาวิกา หรือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามโอกาส บริสุทธิ์ มาด้วยบุพเพนิวาสญาณ และ จุตูปปญาณ ในปฐมยาม และมัชฌิมยามดังนี้แล้ว พระหฤทัยของพระองค์ก้ผ่องแผ้วยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้เกิดอาสวักขยญาณ ทำให้สิ้น อาสวะจากสันดานของพระองค์ ฯ <o:p></o:p>
    พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า สิ่งไรเป็นทุกข์ สิ่งไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ สิ่งไรเป็นความดับทุกข์ สิ่งไรเป็นทางหั้บทุกข์ฯ พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอาสวะ เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ เป็นความดับอาสวะ เป็นทางให้ดับอาสวะ ฯ เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนั้น พระหฤทัยของพระองค์ก็หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ เมื่อพระหฤทัยของพระองค์หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้ง ๓ อย่างนั้นแล้ว ก็เกิดพระปรีชาญาณขึ้นว่า พระหฤทัยของเราหลุดพ้นแล้ว พระองค์สิ้นความเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกำเนิด ๔ คติ ๕ สัตตาวาส ๙ อันนับเข้าในสงสารเสร็จแล้ว พระองค์สำเร็จพรหมจรรย์แล้ว ได้ทรงทำสิ่งที่ควรทำ สำเร็จแล้ว ลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทกลับไปกลับมาทั้งฝ่าย อนุโลมและปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุทานขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ดังที่ได้ ที่ควรกระทำ เมื่อผู้ใดพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑0 มีทานเป็นต้น ตามสมควรแก่เวลาแล้ว ผู้นั้นก็ใกล้ต่อการเห็นนิพพานไปโดยลำดับ ด้วยเหตุว่า จิตใจของผู้นั้น จะผ่องใสไปโดยลำดับ เหมือนกับทองที่ช่างทองได้ไล่ขี้ไปโดยลำดับฉะนั้น ฯ ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงสอนไว้ว่า บุคคลผู้มีปัญญา ควรกำจัดมลทินของตนไปทีละน้อยๆ ไปตามขณะสมัย ในเวลาอันสมควร ให้เหมือนกับช่างทองไล่สนิมทองฉะนั้น ดังนี้ ฯ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ขอเตือนท่านทั้งหลายอีกอย่างหนึ่งว่า ท่านทั้งหลายอย่าท้อใจว่า กว่าจะได้เห็นนิพพานนั้นต้องบำเพ็ญบารมีอยู่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุว่าเมื่อเราทำไป วันเวลาเดือนปี ก็สิ้นไปตามลำดับ เมื่อเราดับจิตแล้ว เราก็เกิดชาติใหม่ เมื่อเราเกิดชาติใหม่แล้ว เราก็ลืมชาติเก่า เรานึกไม่ได้ว่าเราได้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว เมื่อเราเกิดอยู่ในชาติใด เราก็นึกได้แต่เพียงชาตินั้น อันนี้ไม่เป็นเหตุให้เราเบื่อหน่าย ท้อทอยต่อการบำเพ็ญบารมี ถ้าเราไม่ลืมชาติหนหลัง เหมือนดั่งเราเดินทาง แล้วไม่ลืมระยะทางที่เดินมาแล้วในวันก่อนๆนั้นแหละ จึงจักทำความหนักใจท้อถอยให้แก่เรา อีกประการหนึ่ง การเดินทางนั้น ย่อมทำให้เกิดความเหนื่อยมากในวันแรก และวันที่ ๒ ที่ ๓ เท่านั้น สำหรับวันต่อๆไป ความเหนื่อยนั้นก็คลายลงไปทีละน้อยๆ ด้วยเหตุว่า ความคุ้นเคยต่อการเดินทางนั้น ย่อมมีขึ้นกับเท้าและแข้งขาของเรา การบำเพ็ญบารมี ก็ทำให้เรามีความชำนิชำนาญขึ้นทีละน้อยๆ ฉันนั้น เหมือนเราไม่เคยให้ทาน รักษาศีล ฟังพระสัทธรรมเทศนา เราย่อมรู้สึก ลำบากใจ เห็นว่าเป็นของทำได้ยาก แต่ว่าเมื่อเราทำได้มากขึ้นแล้ว ก็จะเห็นว่าเป็นของทำได้ง่ายขึ้นทุกทีฯ อีกประการหนึ่งการบำเพ็ญบารมีเพื่อปรารถนาเป็น สาวก สาวิกาปกตินั้น ย่อมไม่กินเวลานานเท่าไรนัก กินเวลาเพียงแสนมหากัลป์เท่านั้น ส่วนปรารถนาเป็นมหาสาวก และอัครสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จึวกินเวลานานมากกว่ากันขึ้นไปเป็นลำดับ ฯ เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นพระนิพพานอยู่ตราบใด ก็ไม่เห็นความสิ้นทุกข์อยู่ตราบนั้น เหมือนกับเรายังไม่เห็นความมั่งมีตราบใดเราก็ไม่เห็นการสิ้นความจนอยู่ตราบนั้น ฉะนั้น โดยเหตุนี้ จึงควรที่ทุกคนจะพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑0 ที่มีทานบารมีเป็นต้น ให้มีขึ้นในตนเสมอไป แก้ไขมาในคำว่า นิพพานเห็นได้ยาก ก้พอเป็นที่เข้าใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว จึงจะได้อธิบายคำอื่นต่อไป <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>มีคำว่า นิพพาน ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นต้น คือ คำว่า นิพพานไม่มีเครื่องน้อมไปนั้น พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าตัณหาชื่อว่าเป็นเครื่องน้อมไป เพราะน้อมไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นและน้อมไปในภพทั้งหลาย <o:p></o:p>
    มีกามเป็นต้น ซึ่งท่านย่นใจความว่า นิพพานนั้นไม่มีตัณหา ฯ คำของพระอรรถกถาจารย์ที่อธิบายดังนี้ เป็นอันได้ความแจ่มแจ้งแล้ว คือ พระนิพพานนั้น ไม่มีตัณหาที่จะให้น้อมไปในอารมณ์ และภพอันใดอันหนึ่ง จึงเป็นที่เกษมสุขอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่า สิ่งที่มีตัณหานั้น เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น คำว่านิพพานไม่มีเครื่องน้อมไป คือตัณหานี้ เป็นเครื่องชี้คุณของนิพพานให้เห็นว่า ไม่มีเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ จึงจัดเป็นเอกันตบรมสุขอย่างยิ่ง สมกับคำว่า นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมสุขดังนี้ <o:p></o:p>
    คำว่า ของจริงไม่ใช่เห็นได้ง่ายในพระอุทานนั้น พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า นิพพานนั้นชื่อว่าเป็นของจริง เพราะเป็นของไม่วิปริต เป็นของมีอยู่โดยแท้ ใครจะแก้ไขให้เห็นว่า นิพพานไม่มีนั้นเป็นอันไม่ได้ นิพพานนั้นถึงผู้ได้สะสมบุญญาณไว้ได้ตลอดกาลนาน ก็ยังยากที่จะเห็นได้ ดังนี้ คำของพระอรรถกถาจารย์นี้เป็นคำที่แจ่มแจ้งอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงซ้ำอีกให้พิสดารเป็นแต่จับใจความว่า ตามถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์นี้มีมาว่า นิพพานซึ่งเป็นของจริงนั้น ถึงผู้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จได้<o:p></o:p>
    คำว่าแทงตลอดตัณหานั้น พระอรรถกถาจารย์ว่า ได้แก่ละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฯ คำว่าผู้รู้ผู้เห็นนั้น ได้แก่ ผู้รู้เห็นอริยสัจด้วยอริยมรรคปัญญา ฯ คำว่าไม่มีความกังวลนั้นได้แก่ไม่มีกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ คือ ความวนเวียนแห่งกิเลส และกรรมกับทั้งผลแห่งกรรม ดังนี้ ฯ ถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์เหล่านี้ ก็มีใจความแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น โดยเหตุนี้ จึงของดธัมมัตถาธิบายในพระพุทธอุทาน ที่ ๗๒ อันมีเนื้อความว่า ธรรมชาติอันใดไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของเห็นได้ยาก เพราะของจริงไม่ใช่เป้นของเห็นได้ง่าย เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผุ้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้ ......<o:p></o:p>
    ที่มา กัณฑ์ ที่ ๗๒ คัมภีร์ ขุททกนิกาย พุทธอุทาน ว่าด้วยนิพพานอันปรากฎแก่ผุ้สิ้นตัณหา......
    เมื่ออ่านจบแล้ว..... จักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในจักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด จงได้รับส่วนบุญกุศล ในการอ่านพระไตรปิฏกนี้ด้วยเทอญ......อนุโมทนาบุญครับ.... หากพิมพ์ผิดประการใดก็กราบขอขมาพระรัตนตรัยด้วยเทอญ....
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    จิตที่เป็นนิพพาน ก็คือ จิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส เมื่อจิตบริสุทธิ์และปราศจากกิเลส แล้ว สมมติทั้งปวงที่เราเคยสงสัยกันว่า หน้าตาของนิพพานเป็นอย่างไร จะไปอยุ่ตรงไหน จะมีสภาวะอย่างไร ก็หมดไป

    เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราคือ ต้องทำลายกิเลสเท่านั้น การค้นคว้าหาความรู้เรื่องหนึ่ง ก็ควรจะต้องเป็น ความรู้เพื่อละลดกิเลส
    ถ้าเป็นความรู้เพื่อพอกพูนกิเลส ก็ไม่สมควรเอามา หรือ บางทีความรุ้นั้นเป็นความรู้เพื่อละกิเลส แต่คนเราไม่รุ้จักกิเลส ก็เอาความรู้นั้นมาก่อกิเลสอย่างไม่เกี่ยวกันเลย เช่น เอาความรุ้ทางธรรมะ มาเพิ่มอัตตาให้กับตนเอง (อย่างเช่นนายขันธ์ขี้โม้เป็นต้น)

    เพราะฉะนั้น การจะทำอะไร ก็ต้องทำไปเพื่อ ตีกิเลสให้แพ้พ่ายไป การตีกิเลสให้แพ้พ่ายไปนั้น ก็กระทำได้โดย
    1 อย่าเอาตัวเราไปเป็นกิเลส อย่าเอากิเลสมาเป็นเรา ถ้าพูดง่ายๆ คือ อย่าเอาไส้ศึกมาเป็นพวก อย่าให้พวกของเราไปเป็นข้าศึก
    ข้อนี้แหละ คือ ต้องมองให้ออกว่า อะไรคือ สิ่งที่เราปรุงแต่งขึ้นมา ด้วยอำนาจกิเลส เช่น ราคะ โทสะ โมหะ อะไรที่ไม่ดีในใจเรานั้นแหละ ปรุงแต่งมาจากกิเลส เพราะฉะนั้นอย่าเอามันมาเป็นพวกเรา มองให้เห็นแยกให้ออกอะไรกิเลส อะไรเป็นธรรม ( สัมมาทิฎฐิ )
    2 การตรึกตรอง การพิจารณา อะไรก็ตาม ควรตรึกตรองเพื่อที่จะออกจากกิเลส ความตรึกตรองใด ไม่เป็นไปเพื่อ ไถ่ถอนกิเลสไม่ชัดเจน ก็ทำให้ชัดเจน เช่น การตรึกตรองด้วยสติปัญญาว่า ผลดี ผลเสียของ การมีกิเลสนี้ไม่ดีอย่างไร จะออกจากกิเลสนี้อย่างไร
    (สัมมาสังกับปะ)
    3 เจรจา ให้ถูกต้อง การเจรจาให้ถูกต้อง นี้ มันสืบเนื่องมาจาก 2 ข้อข้างต้น คือ มโน ก็กลายมาเป็น วาจา วาจาอันใดเป็นไปเพื่อ ระงับกิเลส วาจาใดเป็นไปเพื่อกุศล ก็ควรเจรจา แต่ก็อาจจะมีที่ว่า วาจานั้นดูเหมือนเป็นการเพิ่มกิเลส แต่ ก็เป็นการเพิ่มปัญญา เหมือนกัน เช่น การพูดกระทบกระทั่ง การดุด่าว่ากล่าว ทั้งนี้จะต้องออกจาก มรรค 2 ข้อข้างต้น เมื่อ มโนสุจริต มาถึง วจีสุจริต ก็กลายเป็น (สัมมาวาจา)
    4 เมื่อ มโน สุจริต วจีสุจริต ก็ยังจะทำให้การกระทำอันใดๆ ก็ตาม เป็นไปด้วยความสุจริต จะเคลื่อนไหว จะกระทำการใดๆ ก็ไม่แปล่ง ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ทำไปตามกระแส ไม่ทำไปตามการนึกคิดตามอารมณ์ แต่ทำไปด้วยสติ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ทั้ง ใจ วาจา นั้นตั้งมั่นดีแล้ว ( สัมมากัมมันตะ )
    5 เมื่อ เรากระทำกายสุจริต ดีแล้ว เราก็ดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างถูกต้องเรียบง่าย เลี้ยงชีพชอบ ด้วย การเลี้ยงด้วยอาหาร ที่พอเพียง
    เลี้ยงด้วย อากาศ ที่พอเพียง ประณีต เลี้ยงด้วยการบริโภค แต่พอประมาณ เลี้ยงด้วยความสุข แต่พอประมาณ เป็น (สัมมาอาชีวะ)

    6 การกระทำที่เรียบง่าย ที่สบาย ที่ถูกต้อง ที่ดำเนินมาตาม 5 ข้อข้างต้น ก็เป็นเกราะป้องกันภัย ไม่ให้เราเผชิญกับความทุกข์ เศร้าหมอง ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จำเป็นที่เราจะต้องดำเนินความเพียร เพื่อให้จิตตน บริสุทธิ์ ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็ด้วยความเพียร ลด ละ เลิก จากกิเลส เพียร อบรมกุศลให้เกิดขึ้น เพียรละอกุศลที่มี ( สัมมาวายามะ)

    7 สัมมาสติ คือ มีสติคอยระลึกรู้ว่า อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นรูป เป็นนาม ที่เกิดกับใจ ซึ่งง่ายที่สุด ที่เราอาจจะไม่ต้องทราบชื่อเสียงเรียงนามว่า รูปนามแต่ละตัวมันชื่ออะไร แต่เราสามารถคอยเตือนตนได้ว่า วันคืนล่วงเลยผ่านไปเราทำอะไรอยู่
    ตัวนี้แหละ จะทำให้เราตื่น อยู่บนทางสายกลาง บางคนเจริญสติแต่หลับอยู่ก็มี ก็ตัวอย่างเช่น เจริญสติโดยที่ไม่ทำการทำงานอย่างอื่นตามหน้าที่ตน ไม่รับผิดชอบการงาน ไม่รับผิดชอบในฐานะพ่อ ในฐานะแม่ ในฐานะลูก เอาแต่เจริญสติ แบบนี้เรียกว่า หลับอยู่ เมื่อ มันตื่นขึ้น มันจะระลึกได้ว่า วันคืนล่วงเลยผ่านไปนี้เรามานั่งทำอะไร โดยไม่ทำหน้าที่เราให้ดีเสียก่อน ( สัมมาสติ)

    8 เมื่อเราได้กระทำ ดำเนินวิถีชีวิตตามที่กล่าวมาข้างต้น สุดท้าย แล้ว เราต้องรู้จัก ทำจิตใจให้สว่างผ่องใส เบิกบาน และ มีกำลัง ด้วย การทำสมาธิ ในวิถีชีวิตประจำวัน ให้มีกำลัง ให้ถูกต้อง ซึ่งการจะทำสมาธิให้ถูกต้องนั้นจะต้องดำเนิน มรรค ให้บริบูรณืตามข้างต้น ให้ดี แล้ว สัมมาสมาธิจะเกิด

    แล้วเราจะเห็นพระนิพพาน ชัดเจนขึ้นตามลำดับ กิเลสที่น้อยลงๆ ไปทุกวัน อย่าปฏิบัติธรรมแล้วให้กิเลสพอกพูน หรือ ให้กิเลสหลบซ่อน
    ผมขอให้ธรรมทานในวันปีใหม่แก่ทุกท่านครับ
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอบคุณครับสำหรับของขวัญปีใหม่......ขอแสดงความคิดเห็นด้วย ... คงไม่ว่านะครับ
    7 สัมมาสติ คือ มีสติคอยระลึกรู้ว่า อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นรูป เป็นนาม ที่เกิดกับใจ ซึ่งง่ายที่สุด ที่เราอาจจะไม่ต้องทราบชื่อเสียงเรียงนามว่า รูปนามแต่ละตัวมันชื่ออะไร แต่เราสามารถคอยเตือนตนได้ว่า วันคืนล่วงเลยผ่านไปเราทำอะไรอยู่
    ตัวนี้แหละ จะทำให้เราตื่น อยู่บนทางสายกลาง บางคนเจริญสติแต่หลับอยู่ก็มี ก็ตัวอย่างเช่น เจริญสติโดยที่ไม่ทำการทำงานอย่างอื่นตามหน้าที่ตน ไม่รับผิดชอบการงาน ไม่รับผิดชอบในฐานะพ่อ ในฐานะแม่ ในฐานะลูก เอาแต่เจริญสติ แบบนี้เรียกว่า หลับอยู่ เมื่อ มันตื่นขึ้น มันจะระลึกได้ว่า วันคืนล่วงเลยผ่านไปนี้เรามานั่งทำอะไร โดยไม่ทำหน้าที่เราให้ดีเสียก่อน ( สัมมาสติ)
    7. สัมมาสติ คือ สติที่ประกอบด้วยปัญญา
    สติมี 3 อย่าง
    1.สติที่ประกอบด้วยอกุศล
    2.สติที่ประกอบด้วยกุศล
    3.สติที่ประกอบไปด้วย ปัญญา
    สติ แบบที่1และ 2 มีมาก่อนพระพุทธเจ้า
    สติแบบที่ 3 มีเมื่อ มีพระพุทธเจ้ามาสอน หรือ เมื่อ มี
    พระปัจเจกพุทธเจ้า
    สติ ที่ประกอบด้วยปัญญา เกิดเมื่อเวลาภาวนา เช่น
    ในขณะ ทำสมาธิ โดย อาศัย ปีติ เป็นบ่อเกิด เมื่อเกิด ปีติ ก็ชำเรืองรู้ที่ ใจ เช่น เกิดปีติ แล้วรู้ สึก สุข หรือ ชอบ ก้ชำเรืองรู้ที่ใจ รู้แบบเบาๆแบบชำเรืองไม่เพ่งหรือตั้งท่า แต่ชำเรืองรู้
    อย่างนี้เรียกว่า สติเกิด สัมปชัญญะตามมา เกิดปัญญา รู้แจ้งจิต ในขณะจิตนั้น จึงเรียกว่า สติที่ประกอบด้วยปัญญา
    สติ ที่ประกอบไปด้วยปัญญา เป็น สติที่เอื้อประโยชน์แก่มรรคผล นิพพาน ส่วน สติ แบบ ที่ 1แบบที่ 2เป็นสติในทางโลกียะ
    8 เมื่อเราได้กระทำ ดำเนินวิถีชีวิตตามที่กล่าวมาข้างต้น สุดท้าย แล้ว เราต้องรู้จัก ทำจิตใจให้สว่างผ่องใส เบิกบาน และ มีกำลัง ด้วย การทำสมาธิ ในวิถีชีวิตประจำวัน ให้มีกำลัง ให้ถูกต้อง ซึ่งการจะทำสมาธิให้ถูกต้องนั้นจะต้องดำเนิน มรรค ให้บริบูรณืตามข้างต้น ให้ดี แล้ว สัมมาสมาธิจะเกิด
    8.สัมมาสมาธิ
    สมาธิก็มี 3 อย่าง
    1.สมาธิที่ประกอบด้วยอกุศล
    2.สมาธิที่ประกอบด้วยกุศล
    3.สมาธิที่ประกอบไปด้วยปัญญา
    สมาธิ อย่าง ที่ 1 และ 2 มีมาก่อนพระพุทธเจ้า
    สมาธิแบบที่ 3 มีเมื่อมีพระพุทธเจ้ามาสอน และเมื่อ มี
    พระปัจเจกพุทธเจ้า
    เมื่อ ทำการอบรม สัมมาสติ ให้เกิดได้บ่อย ขึ้น รู้ตัวได้มากขึ้น เกิดถี่ขึ้น บ่อยขึ้น จนเป็น มหาสติ
    คำว่า มหาสติ นี้ก็คือสัมมาสมาธิ นั่นเอง
    จิตที่ประกอบกับการตั้งมั่นของสัมมาสติ เรียก สัมมาสมาธิ
    ซึ่ง เป็น สมาธิที่เอื้อประโยชน์แก่มรรคผลนิพพาน
    ส่วน สมาธิ อย่าง ที่ 1 และ 2 เป็น สมาธิในทางโลกียะ
    มาหาสตินี้ เป็นการเรียกของ สัมมาสติที่เกิดขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ จากการอบรม บ่อยๆ เนืองๆ ถี่ ขึ้น เร็วขึ้น เหมือนเพิ่มรอบให้แรงขึ้น จึงกลายเป็น สัมมาสมาธิ

    สำหรับผู้ที่เรียน รู้ วีธีการ ที่เรียก ว่า สมถะ และ วิปัสนา อย่างเข้าใจแล้ว จะสามารถเดินไปได้อย่างถูกต้อง...
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ซึ่งการจะทำสมาธิให้ถูกต้องนั้นจะต้องดำเนิน มรรค ให้บริบูรณืตามข้างต้น ให้ดี แล้ว สัมมาสมาธิจะเกิด

    คุณแสดงความคิดเห็น แล้วผมจะไปว่า ทำไมหละครับ
    มีแต่ผมจะเสริมให้ แต่ถ้าการเสริม ด้วยธรรมมันไปขัดความรู้สึกใคร ผมเกรงว่า มันน่าจะเป็น เพราะกิเลสของคนนั้นมากกว่า คุณ วิษณุ ลองพิจารณาข้อความที่ขีดเส้นใต้นั้นให้ดี

    สัมมาสมาธิ ไม่ใช่แค่เพียง เพิ่มรอบ เพิ่มความแรงหรอกครับ อันนั้นเป็นเพียงแค่ กำลัง สติ และ สมาธิ แต่ มันจะต้องตั้งด้วย สัมมาทิฎฐิ และ สัมมาสติ ที่ตื่นรู้ไปจนถึง อวิชชาได้ และจะต้องรู้ด้วยว่า ที่ทำสมาธิอยู่นั้น อะไรเป็นเชื่อ จนถึงกับวาง ในอวิชชานั้นได้ การวางอวิชชานั้นแหละจะเป็น สัมมาสมาธิ ของจริง สัมประยุตตรงนั้น

    ที่เรียกว่า วาง นี้วางอย่างไร ก็ใบ้ให้สำหรับคนที่ กำลังเพิ่มรอบ เพิ่มแรง มองนั่นมองนี่
    เห็นมันเกิดดับ ถี่ยิบอยู่ ว่า " ใครใช้ให้คุณไปมอง และสิ่งที่คุณมองเกิดจากอะไร" ดูตรงนี้ให้ดี ใครใช้ให้คุณไปมอง และ คุณมองอยู่เพื่ออะไร สนองตัณหาตัวเองอยู่หรือเปล่า หรือ สนองกับอวิชชา ในการสังเกตุสิ่งที่ไร้ตัวตนหรือเปล่า

    ดูสิ่งที่ผมชี้ให้ดี และ พยายามอย่าให้มันกำกวม ด้วยความคิดนึก แต่ให้ตื่นให้ได้ ณ ตอนที่เพิ่มรอบ เพิ่มแรง

    ไม่เชื่อก็ลองเอาคำพูดนี้ไปถาม พระอาจารย์ที่คุณนับถือดู ว่า ท่านมีความเห็นอย่างไร
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอบคุณครับ...ที่ผมเสนอความคิดเห็น เพราะเชื่อว่า องค์ ที่1-6 ของ มรรค นักปฏิบัติ ย่อมมีความเข้าใจ ได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ ส่วน 7-8 นั้น ยังเข้าใจกันน้อยมากเลยเสนอแนะไว้ครับ....

    เห็นมันเกิดดับ ถี่ยิบอยู่ ว่า " ใครใช้ให้คุณไปมอง(กิเลสใช้) และสิ่งที่คุณมองเกิดจากอะไร(เกิดจากกิเลส)" ดูตรงนี้ให้ดี ใครใช้ให้คุณไปมอง (กิเลสใช้ให้มอง)และ คุณมองอยู่เพื่ออะไร(เพื่อรู้ทัน ...มีสติ เกิด ปัญญา รู้ทัน กิเลส (เหตุแห่งทุกข์) กิเลสคือ ตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ รู้ทันกิเลส ด้วยสติเกิด ตามด้วยปัญญา ดับที่เหตุได้...อุปมาเหมือนนายแดงเป็นโจรใช้มีดแทงนายดำ 1แผล นายดำได้รับทุกข์ทางกายและใจ เมื่อมีหมอมารักษานายดำแต่ก็ยังมีอาการเจ็บปวดได้รับทุกข์อยู่ดีไม่หายในทันที .. ซึ่งเป็นการแก้ที่ผลไม่ได้แก้ที่เหตุ.....หากตำรวจมาทันจับนายแดงไว้ได้นายดำก็ไม่ถูกแทงนายดำก็ไม่ได้รับทุกข์ นายแดงเป็นเหตุ ตำรวจเป็นสัมมาสติ ตำรวจมีปืน ก็เปรียบเหมือน ปัญญา โจรอย่างนายแดงถึงกลัวตำรวจ นี่เป็นรูป ที่อุปมาสามารถจับต้องได้ เพราะใช้ ตำรวจจับ...ในกรณี ของนาม ต้องใช้ จิต จับ จิต เมื่อจิต ที่มีกิเลส ครอบงำ ก็ต้องใช้ จิต ที่มีปัญญาจับ ) สนองตัณหาตัวเองอยู่หรือเปล่า หรือ สนองกับอวิชชา ในการสังเกตุสิ่งที่ไร้ตัวตนหรือเปล่า (พระพุทธเจ้าสอนไว้ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นรากเหง้า ฉันทะก็คือ การใฝ่ดี เป็นกิเลสตัณหาเหมือนกัน เพียงแต่เป็น กิเลสตัณหาฝ่ายกุศลไม่ใช่อกุศล ก็คือเอาดีเป็นที่ตั้งเพื่อละดีทีหลัง ดุจดั่งใช้แพข้ามแม่น้ำ เมื่อขึ้นฝั่งได้ก็ไม่ได้เอาแพขึ้นฝั่งด้วย)
     
  6. ^ ^

    ^ ^ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +1,279
    (อ่านยากจังครับ ผมจัดบรรทัดให้ใหม่นะ)





    ต่อไปนี้ เป็นเนื้อความ ในธัมมัตถาธิบาย ขยายคำในพระพุทธอุทาน ต่อจากอรรถกถาออกไปอีก
    เพื่อให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ใฝ่ใจทั้งหลาย กล่าวคือ ในพระพุทธอุทานนั้นมีเนื้อความว่า
    สิ่งที่ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของที่เห็นได้ยากของจริงไม่ใช่เป็นของที่เห็นได้ง่าย
    เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้ คำเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์
    ได้แก้ทุกคำแล้ว คือ คำว่า เห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า ผู้ที่ไม่ได้สะสมญาณบารมี
    ไม่อาจเห็นได้ เพราะนิพพานเป็นของลึก ตามสภาพ เป็นของละเอียดสุขุมอย่างยิ่ง ดังนี้
    คำของพระอรรถกถาจารย์นี้ เป็นคำปฏิเสธว่า ไม่เห็นเสียเลย ไม่ใช่ว่าเห็นได้ยาก

    นัยที่ ๒ พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการบรรลุนิพพานได้ยาก
    ด้วยคำว่าเห็นได้ยาก โดยอ้างเหตุว่า การอบรมสิ่งที่ไม่มีปัจจัย ไม่ใช่เป็นของที่สัตว์โลกทั้งหลายจะทำได้
    ง่ายโดยเหตุว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ได้อบรมสิ่งที่มีปัจจัยด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็นของทำปัญญา
    ให้ทุผลภาพเสียกำลังดังนี้ ฯ ได้ใจความตามนัยที่ ๒ นี้ว่า ที่ว่าเห็นได้ยากนั้น คือ สำเร็จได้ยาก ฯ
    โดยเหตุนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า คำว่าเห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์ว่าไว้ ๒นัย

    นัยที่๑ ว่า ผู้ไม่ได้สะสมญาณบารมีไว้ไม่อาจเห็นได้ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า เห็นไม่ได้ทีเดียว ฯ

    นัยที่ ๒ ว่าสำเร็จได้ยาก ฯ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ต่อเมื่อไรได้สำเร็จจึงจะเห็นได้ การสำเร็จนั้นย่อมเป็นการสำเร็จได้ยากฯ

    ขยายคำข้อนี้ออกไปอีกชั้นหนึ่งว่า การจะเห็นพระนิพพานนั้น ต้องเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุ
    อันเป็นปัญญาที่ประเสริฐ ปัญญาจักษุนั้น เป็นของที่ทำให้เกิดขึ้นได้แสนยาก ด้วยเหตุว่า ต้องอบรมบารมี
    มีทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น อยู่จนตลอดกาลนาน จึงอาจทำปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันประเสริฐ
    ให้เกิดขึ้นได้ ขอให้ดูแต่พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นตัวอย่างเถิด คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
    พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญบารมี มาตลอด ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัลป์ นับแต่ได้พุทธพยากรณ์มาแล้ว

    ก่อนแต่ยังไม่ได้พุทธพยากรณ์มานั้น พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญมาแล้วตลอดกาลนานคือ ทรงบำเพ็ญในเวลา
    ที่ตั้งความปรารถนาในใจว่า จะเป็นพระพุทธเจ้านั้นอีก สิ้น ๙ อสงไขย จึงได้พุทธพยากรณ์จาก
    สำนักพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์มี พระทีปังกรเป็นต้น รวมเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ๓ ตอน เข้าด้วยกัน
    ก็เป็น ๒๐ อสงไขย เศษแสนมหากัลป์ จึงจะทำพระปัญญาจักษุอันประเสริฐให้เกิดขึ้นแต่ถึงอย่างนั้น
    พระองค์ก็ยังทรงทำได้แสนยากต้องทนลำบากพระองค์บำเพ็ญทุกขกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษาเพื่อแสวงหา
    ดวงจักษุ คือ ปัญญาอันประเสริฐจึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเห็นพระนิพพานแจ่มแจ้งด้วยพระองค์เอง โดยไม่เกี่ยวกับทุกขกิริยาที่ทรงกระทำมานั้น ไม่ใช่เป็นหนทางให้พระองค์ได้ตรัสรู้
    ส่วนหนทางที่ให้พระองค์ตรัสรู้นั้น ได้แก่ อัฏฐังกิมรรค ๘ ประการ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิ
    เป็นปริโยสาน ที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้นด้วยทรงเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน คือ ทรงตั้งพระหฤทัย
    กำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ เมื่อพระองค์ทรงบ่ม อานาปานสติ การกำหนด ลมหายใจเข้าออก
    นั้นให้แก่กล้านั้นก็เกิดเป็นสมาธิชั้นที่ ๑ ที่๒ ที่๓ ที่๔ ซึ่งเรียกตามบาลีว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
    จตุตถฌาน เมื่อ จตุตฌานเกิดขึ้นแล้ว พระหฤทัยของพระองค์ดำรงมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง อ่อนโยน ละมุนละไม ตั้งอยู่ในฐานะที่จะบังคับได้ดังประสงค์ ดำรงมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว

    พระองค์ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไป เพื่อให้เกิด บุพเพนิวาสญาณ ให้ระลึกการหนหลังได้ ในลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงระลึกกาลหนหลังได้ ตั้งแต่ ชาติหนึ่งเป็นต้นไป จนกระทั่งถึงปลายกัลป์ หากำหนดมิได้ พร้อมทั้งอาการและอุเทศ คือทรง ระลึกได้ว่า ในชาติโน้น พระองค์มีพระนาม และโครต ผิวพรรณ วรรณะ
    อาหาร สุขทุกข์ อายุ อย่างนั้นๆ จุติจากชาตินั้นแล้ว ได้มาเกิดในชาติโน้น ทรงระลึกได้อย่างนี้
    เป็นลำดับมา จนกระทั่งชาติปัจจุบันนั้น บุพเพนิวาสญาณ การระลึกชาติหนหลังนี้ ได้เกิดมีแก่พระองค์ในปฐมยาม ฯ ในปฐมยามนั้น พระองค์ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมจนตลอดแล้ว ก็ทรงเปล่ง
    อุทานขึ้น ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ ที่ ๑ โน้น เมื่อถึง มัชฌิมยาม พระองค์น้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้รู้
    การจุติ และอุบัติของสัตว์โลกทั้งหลาย พระองค์ก็ได้ทรงเห็นสัตว์โลกทั้งหลายที่จุติ และเกิดได้ทุกจำพวก
    คือจำพวกที่เลวและดี ทั้งพวกที่มีผิวพรรณดีและไม่ดี ทั้งจำพวกที่ไปดีและไปไม่ดีด้วยทิพพจักษุญาณ

    คือพระองค์ทรงทราบว่าพวกที่ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า
    เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นมิจฉาทิฐิทำกาลกิริยาตายแล้ว ก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก การที่พระองค์
    ทรงทราบนั้น คือ ทรงเล็งเห็นด้วย ทิพพจักษุ เหมือนกับบุคคลยืนอยู่บนปราสาทซึ่งเล็งเห็นผู้ที่อยู่รอบ
    ปราสาทฉะนั้น เมื่อพระองค์ทรงได้ทิพพจักษุอันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจตูปปาตญาณแล้ว พระองค์ก็ทรง
    พิจารณา ปฏิจจสมุปบาทในฝ่ายปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุททานเป็นครั้งที่ ๒ ดังที่แสดงมาแล้ว ในกัณฑ์
    ที่ ๒ โน้น เมื่อพระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ที่ ๓ โน้น ฯ ในขณะที่พระองค์
    ทรงไว้ อาสวักขยญาณอันทำให้สิ้น อาสวะกิเลสนั้น สรรพปรีชาญาณทั้งสิ้น คือ เวสารัชชญาณ ๔
    ทศพลญาณ ๑๐ และสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฯ เป็นอันว่าในขณะนั้น พระองค์ได้ตรัสรู้
    พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก เป็นอันว่าพระปัญญาจักษุ
    คือ ดวงปัญญาอันวิเศษ ซึ่งเป็นเหตุให้เห็นพระหฤพาน ก็เกิดมีขึ้นแก่พระองค์ พร้อมทั้ง
    พระพุทธจักษุพระสมันตจักษุ ทิพพจักษุทุกประการ ฯ เท่าที่สังวัณณนาการแล้วนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า
    พระนฤพานนั้น เป็นของที่เห็นได้แสนยาก เพราะเหตุว่า เป็นของละเอียดลึกซึ้งไม่มีสิ่งจะเทียมถึง
    โดยเหตุนี้ ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะอุตสาหะบำเพ็ญ บารมีทั้ง ๑๐ ประการ
    คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี
    เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อันกล่าวโดยย่อว่า ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ บรรพชา ปัญญา วิริยะ ขันติ
    สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา ตามกำลังสามารถของตน ตามภูมิชั้นของตน ๆ ที่ปรารถนาเป็น สาวก
    สาวิกา หรือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามโอกาส บริสุทธิ์ มาด้วยบุพเพนิวาสญาณ และ จุตูปปญาณ ในปฐมยาม และมัชฌิมยามดังนี้แล้ว พระหฤทัยของพระองค์ก้ผ่องแผ้วยิ่งขึ้น
    พระองค์จึงทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้เกิดอาสวักขยญาณ ทำให้สิ้น อาสวะจากสันดานของพระองค์ ฯ

    พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า สิ่งไรเป็นทุกข์ สิ่งไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ สิ่งไรเป็นความดับทุกข์
    สิ่งไรเป็นทางดับทุกข์ฯ พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอาสวะ เป็นเหตุ
    ให้เกิดอาสวะ เป็นความดับอาสวะ เป็นทางให้ดับอาสวะ ฯ เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนั้น พระหฤทัย
    ของพระองค์ก็หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ เมื่อพระหฤทัยของพระองค์หลุดพ้นจาก
    อาสวะ ทั้ง ๓ อย่างนั้นแล้ว ก็เกิดพระปรีชาญาณขึ้นว่า พระหฤทัยของเราหลุดพ้นแล้ว พระองค์สิ้นความ
    เวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกำเนิด ๔ คติ ๕ สัตตาวาส ๙ อันนับเข้าในสงสารเสร็จแล้ว พระองค์สำเร็จ
    พรหมจรรย์แล้ว ได้ทรงทำสิ่งที่ควรทำ สำเร็จแล้ว ลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
    กลับไปกลับมาทั้งฝ่าย อนุโลมและปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุทานขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ดังที่ได้ ที่ควรกระทำ

    เมื่อผู้ใดพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ มีทานเป็นต้น ตามสมควรแก่เวลาแล้ว ผู้นั้นก็ใกล้ต่อการเห็นนิพพาน
    ไปโดยลำดับ ด้วยเหตุว่า จิตใจของผู้นั้น จะผ่องใสไปโดยลำดับ เหมือนกับทองที่ช่างทองได้ไล่ขี้ไป
    โดยลำดับฉะนั้น ฯ ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงสอนไว้ว่า บุคคลผู้มีปัญญา ควรกำจัด
    มลทินของตนไปทีละน้อยๆ ไปตามขณะสมัย ในเวลาอันสมควร ให้เหมือนกับช่างทองไล่สนิมทองฉะนั้น
    ดังนี้ ฯ


    แต่ขอเตือนท่านทั้งหลายอีกอย่างหนึ่งว่า ท่านทั้งหลายอย่าท้อใจว่า กว่าจะได้เห็นนิพพานนั้นต้อง
    บำเพ็ญบารมีอยู่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุว่าเมื่อเราทำไป วันเวลาเดือนปี ก็สิ้นไปตามลำดับ
    เมื่อเราดับจิตแล้ว เราก็เกิดชาติใหม่ เมื่อเราเกิดชาติใหม่แล้วเราก็ลืมชาติเก่า เรานึกไม่ได้ว่าเราได้
    บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว เมื่อเราเกิดอยู่ในชาติใด เราก็นึกได้แต่เพียงชาตินั้น อันนี้ไม่เป็นเหตุให้เรา
    เบื่อหน่าย ท้อทอยต่อการบำเพ็ญบารมี ถ้าเราไม่ลืมชาติหนหลัง เหมือนดั่งเราเดินทาง แล้วไม่ลืมระยะทาง
    ที่เดินมาแล้วในวันก่อนๆนั้นแหละ จึงจักทำความหนักใจท้อถอยให้แก่เรา อีกประการหนึ่ง การเดินทางนั้น
    ย่อมทำให้เกิดความเหนื่อยมากในวันแรก และวันที่ ๒ ที่ ๓ เท่านั้น สำหรับวันต่อๆไป ความเหนื่อยนั้น
    ก็คลายลงไปทีละน้อยๆ ด้วยเหตุว่า ความคุ้นเคยต่อการเดินทางนั้น ย่อมมีขึ้นกับเท้าและแข้งขาของเรา
    การบำเพ็ญบารมี ก็ทำให้เรามีความชำนิชำนาญขึ้นทีละน้อยๆ ฉันนั้น เหมือนเราไม่เคยให้ทาน รักษาศีล
    ฟังพระสัทธรรมเทศนา เราย่อมรู้สึก ลำบากใจ เห็นว่าเป็นของทำได้ยาก แต่ว่าเมื่อเราทำได้มากขึ้นแล้ว
    ก็จะเห็นว่าเป็นของทำได้ง่ายขึ้นทุกทีฯ อีกประการหนึ่งการบำเพ็ญบารมีเพื่อปรารถนาเป็น สาวก สาวิกา
    ปกตินั้น ย่อมไม่กินเวลานานเท่าไรนัก กินเวลาเพียงแสนมหากัลป์เท่านั้น ส่วนปรารถนาเป็นมหาสาวก
    และอัครสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จึวกินเวลานานมากกว่ากันขึ้นไปเป็นลำดับ ฯ
    เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นพระนิพพานอยู่ตราบใด ก็ไม่เห็นความสิ้นทุกข์อยู่ตราบนั้น เหมือนกับเรายังไม่เห็น
    ความมั่งมีตราบใดเราก็ไม่เห็นการสิ้นความจนอยู่ตราบนั้น ฉะนั้นโดยเหตุนี้ จึงควรที่ทุกคนจะพยายาม
    บำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ที่มีทานบารมีเป็นต้น ให้มีขึ้นในตนเสมอไป แก้ไขมาในคำว่า นิพพานเห็นได้ยาก
    ก็พอเป็นที่เข้าใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว จึงจะได้อธิบายคำอื่นต่อไป


    มีคำว่า นิพพาน ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นต้น คือ คำว่า นิพพานไม่มีเครื่องน้อมไปนั้น พระอรรถกถาจารย์
    อธิบายว่าตัณหาชื่อว่าเป็นเครื่องน้อมไป เพราะน้อมไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นและน้อมไปในภพ
    ทั้งหลาย มีกามเป็นต้น ซึ่งท่านย่นใจความว่า นิพพานนั้นไม่มีตัณหา ฯ คำของพระอรรถกถาจารย์ที่
    อธิบายดังนี้ เป็นอันได้ความแจ่มแจ้งแล้ว คือ พระนิพพานนั้น ไม่มีตัณหาที่จะให้น้อมไปในอารมณ์
    และภพอันใดอันหนึ่ง จึงเป็นที่เกษมสุขอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่า สิ่งที่มีตัณหานั้น เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น
    คำว่านิพพานไม่มีเครื่องน้อมไป คือตัณหานี้ เป็นเครื่องชี้คุณของนิพพานให้เห็นว่าไม่มีเหตุที่จะให้เกิด
    ทุกข์ จึงจัดเป็นเอกันตบรมสุขอย่างยิ่ง สมกับคำว่า นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา พระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมสุขดังนี้ คำว่า ของจริงไม่ใช่เห็นได้ง่ายในพระอุทานนั้น

    พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า นิพพานนั้นชื่อว่าเป็นของจริง เพราะเป็นของไม่วิปริต เป็นของมีอยู่โดยแท้
    ใครจะแก้ไขให้เห็นว่า นิพพานไม่มีนั้นเป็นอันไม่ได้ นิพพานนั้น ถึงผู้ได้สะสมบุญญาณไว้ได้ตลอดกาลนาน
    ก็ยังยากที่จะเห็นได้ ดังนี้ คำของพระอรรถกถาจารย์นี้เป็นคำที่แจ่มแจ้งอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงซ้ำ
    อีกให้พิสดารเป็นแต่จับใจความว่า ตามถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์นี้มีมาว่า นิพพานซึ่งเป็นของจริงนั้น
    ถึงผู้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จได้ คำว่าแทงตลอดตัณหานั้น พระอรรถกถาจารย์ว่า ได้แก่
    ละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฯ คำว่าผู้รู้ผู้เห็นนั้น ได้แก่ ผู้รู้เห็นอริยสัจด้วยอริยมรรคปัญญา ฯ คำว่า
    ไม่มีความกังวลนั้นได้แก่ไม่มีกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ คือ ความวนเวียนแห่งกิเลส และกรรม
    กับทั้งผลแห่งกรรม ดังนี้ ฯ ถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์เหล่านี้ ก็มีใจความแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น
    โดยเหตุนี้ จึงของดธัมมัตถาธิบายในพระพุทธอุทาน ที่ ๗๒ อันมีเนื้อความว่า ธรรมชาติอันใดไม่มี
    เครื่องน้อมไปเป็นของเห็นได้ยาก เพราะของจริงไม่ใช่เป็นของเห็นได้ง่าย เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่
    ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้ ......



    ที่มา กัณฑ์ ที่ ๗๒ คัมภีร์ ขุททกนิกาย พุทธอุทาน ว่าด้วยนิพพานอันปรากฎแก่ผุ้สิ้นตัณหา......
    เมื่ออ่านจบแล้ว..... จักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในจักรวาลมีอยู่ประมาณเท่าใด
    จงได้รับส่วนบุญกุศล ในการอ่านพระไตรปิฏกนี้ด้วยเทอญ


    ......อนุโมทนาบุญครับ....


    หากพิมพ์ผิดประการใดก็กราบขอขมาพระรัตนตรัยด้วยเทอญ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มกราคม 2009
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อนุโมทนาครับ.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...