นาลันทาเมืองเกิดของพระสารีบุตร พระอัครสาวกฝ่ายขวา

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย paang, 28 มีนาคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    นาลันทา
    เมืองเกิดของพระสารีบุตร พระอัครสาวกฝ่ายขวา
    และพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกฝ่ายซ้าย
    มีมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก


    นาลันทาสมัยพุทธกาล
    นาลันทา แปลว่า เป็นที่ไม่เคยปฏิเสธ ในการให้.
    นาลันทาตั้งอยู่ที่ ชานเมืองราชคฤห์ อยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ ประมาณ 1 โยชน์ หรือ 16 กม. นาลันทารุ่งเรืองมาก ในสมัยพุทธกาล.

    ก่อนที่พระพุทธองค์ จะเสด็จมายังราชคฤห์. นาลันทาเป็นสถานที่ อันน่ารื่นรมย์ บรรดานักบวช และผู้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่นิกาย หรือลัทธิใด ต่างก็นิยม มาบำเพ็ญความเพียรกัน ที่นาลันทานี้.

    ท่านมหาวีระ ศาสดาแห่งศาสนาเชน ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ เผยแผ่คำสอนอยู่ที่นี่ถึง 14 ปี และในสมัยต่อมา วัดเชนก็ยังได้สร้างขึ้นที่นี่ด้วย.

    ท่านมักขลิโคสาล ได้มาพบกับ ท่านมหาวีระ ที่นาลันทา เป็นครั้งสุดท้าย แล้วจึงได้แยกตัวเอง ออกจากท่านมหาวีระ มาตั้งลัทธิ และมีสาวกของตนเองขึ้น ต่างหาก. (โปรดดูภาคบทนำ ตอนครูทั้ง 6)

    ที่นาลันทานี้ มีหมู่บ้านพราหมณ์ ที่เจริญสมบูรณ์ไปด้วย พืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ของแคว้นมคธ

    ได้มีหมู่บ้านที่สำคัญ เป็นที่กำเนิดของ พระอัครสาวกเบื้องขวา คือพระสารีบุตร และอัครสาวกเบื้องซ้าย คือพระโมคคัลลานะ.
    ตลอดระยะเวลาที่ พระพุทธองค์ได้เสด็จจาริก โปรดเวไนยสัตว์ ในแคว้นมคธนั้น พระองค์มักทรงแวะ ประทับที่นาลันทา อยู่บ่อยๆ.

    ในครั้งนั้น นาลันทาเป็นเมือง ที่เจริญรุ่งเรืองเมืองหนึ่ง มีพลเมืองหนา แน่น และมีสวนมะม่วง อยู่แห่งหนึ่ง ชื่อว่า
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    เสด็จเมืองนาลันทา
    อานนท์! มาเถิด พวกเราจักไปเมืองนาลันทา (พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จถึงเมืองนาลันทา ประทับที่ปาวาทิกัมพวัน. ณ ที่นั้นได้ทรงสนทนา กับเกวัฏฏ คหบดีบุตร)

    การตรัสเรื่อง
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    พระพุทธองค์เสด็จนิคมชนบทใกล้กับนาลันทา
    นาลกคาม
    นาลกคาม เป็นหมู่บ้านพราหมณ์ ในมคธ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นาละ หรือ นาลิกะ หรือเรียกว่า อุปติสสคาม เพราะเป็นหมู่บ้านส่วย ของตระกูลอุปติสสะ ของพระสารีบุตร.

    พระสารีบุตร เกิดที่หมู่บ้านนี้ และนิพพานที่นี่ ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ในสมัย ที่ได้ออกบวชแล้ว พระสารีบุตร ก็ได้มาอาศัยในหมู่บ้านนี้ เป็นครั้งคราว. ในสมัยนั้น ท่านได้แสดงพระสูตร ว่าด้วยนิพพาน แก่ชัมพุขาทกะปริพาชก และ สมทกนิปริพาชก.

    และหมู่บ้านนี้ ก็ยังเป็นที่ให้กำเนิด พระมหากัจจายนะเถระ อีกด้วย, ท่านเป็นบุตรของ สมิทธิพราหมณ์ แห่งหมู่บ้านนี้ และเป็นผู้เลื่อมใส ในพระสารีบุตร เมื่อได้ทราบว่า พระสารีบุตรออกบวช ท่านก็ออกบวชด้วย และต่อมา ท่านก็ได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์.


    โกลิตคาม
    โกลิตคาม เป็นหมู่บ้านเกิด ของพระโมคคัลลานะ.

    อัมพลัฏฐิกา
    อัมพลัฏฐิกา เป็นราชอุทยานแห่งหนึ่ง อยู่บนเส้นทาง ระหว่างราชคฤห์ กับนาลันทา ที่นี่มีต้นมะม่วงหนุ่ม อยู่ที่ประตู ล้อมรอบด้วยป้อม จัดเป็นที่ประทับ พักผ่อนของพระราชา จึงมีจิตรกรรม ประดับประดา เพื่อความบันเทิง ในยามที่เสด็จมาพัก.

    พระพุทธองค์ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ได้เสด็จมาประทับที่นี่ หลายครั้ง และได้ทรงแสดง พระธรรมเทศนา พรหมชาลสูตร และ อัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร แม้ในระหว่าง การจาริกครั้งสุดท้าย พระพุทธองค์ ก็ยังได้เสด็จประทับที่นี่ และได้ทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ พระสงฆ์หมู่ใหญ่.


    มหาติตถะ
    มหาติตถะ เป็นหมู่บ้านพราหมณ์ อยู่ติดกับนาลันทา. พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งเป็นพระภิกษุ ที่พระพุทธองค์ตรัสยกย่องว่า เป็นเอกทัตคะ ในทางธุดงควัตร ได้เกิดที่นี่.

    พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของสุมนเทวี และกปิลพราหมณ์ ท่านได้แต่งงาน กับภัททกปิลานี แห่งโกลิยโคตร เมืองสาคละ, แต่ต่อมา ท่านเกิดความเบื่อหน่าย ชีวิตคฤหัสถ์ จึงสละเรือนออกบวช ในพระพุทธศาสนา จนได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์.

    ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ในสมัยพุทธกาล เป็นผู้ถวายพระเพลิง พระบรมศพของพระพุทธเจ้า และเป็นประธาน ในการทำปฐมสังคายนา ครั้งที่ 1 ที่ราชคฤห หลังจาก พุทธปรินิพพานแล้ว 3 เดือน.


    ขานุมัตตะ
    ขานุมัตตะ เป็นหมู่บ้านพราหมณ์ ที่อุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่าง นครราชคฤห์ กับนาลันทา. ที่นี่มีพราหมณ์ชื่อ ขานุมัตตะอาศัยอยู่ พราหมณ์นี้ ได้รับประราชทาน ที่ดินผืนใหญ่ ที่อุดมด้วยข้าวและน้ำ จากพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ. พราหมณ์ นี้ได้กระทำพิธีบูชายัญ ตามแบบของพระเวท โดยมีสัตว์ต่างๆ จำนวนมาก เช่น โคถึก ลูกวัว แพะ แกะ ถูกนำมาฆ่าสังเวย.

    พระพุทธองค์ ได้แสดงพระธรรมเทศนา ขานุมัตตสูตร ว่าด้วย ยัญญกรรมที่อุดมคติ ที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการฆ่าสัตว์ หรือพืชผลใดๆ แต่เป็นยัญญกรรม ที่อาจทำให้สำเร็จได้ ด้วยน้ำมันเนย น้ำมัน เนยแข็ง เนยข้น และน้ำตาล และด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัว ของบุคคล ผู้ประกอบยัญญกรรมนั้น, ในที่สุด แห่งพระธรรมเทศนานั้น, พราหมณ์ได้บรรลุโสดาบัน.


    สิ่งที่ได้ชมในนาลันทาปัจจุบัน

    1) สารีจักร
    2) มหาวิทยาลัยนาลันทา
    3) สังฆารามนาลันทา
    4) หลวงพ่อดำ
    5) พิพิธภัณฑ์นาลันทา
    6) นวนาลันทามหาวิหาร



    รายละเอียดของแต่ละสถานที่​
    สารีจักร และ โกลิตคาม

    [​IMG]
    หมู่บ้าน สารีจักร เป็นบ้านเกิด และเป็นที่ ดับขันธนิพพาน ของพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา.

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="35%"></TD><TD width="65%">
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โกลิตคาม เป็นบ้านเกิดของพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย. หมู่บ้านนี้ บางครั้งได้เรียกชื่อ ตามนามเดิมของท่าน คือ อุปติสสคาม หรือ โกลิตคาม.

    ในสมัยพุทธกาล ชนในหมู่บ้านทั้งสองนี้ มีความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา ตามพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ.

    ปัจจุบันหมู่บ้านสารีจักร เป็นเพียงหมู่บ้านทำนา ไม่ใหญ่โตนัก และชาวบ้านส่วนใหญ่ ก็ล้วนเป็นชาวฮินดู เขาคงไม่ทราบประวัติ เรื่องราวของหมู่บ้าน ของตนเอง ว่าเคยมีบุคคลสำคัญ เกิดที่นี่.

    หมู่บ้านนี้อยู่ไม่ไกลจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา เท่าไรนัก.

    พระอัครสาวก
    พระพุทธองค์ทรงยกย่อง พระสารีบุตร ว่าเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศในทางปัญญา ส่วน พระโมคคัลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เลิศในทางแสดงฤทธิ์. พระอัครสาวกทั้งสององค์นี้ ได้เป็นกำลังสำคัญ ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก.
    การดับขันธนิพพานของพระสารีบุตร

    พระสารีบุตร ได้ปฏิบัติสมณกิจ ในฐานะพระอัครสาวก เบื้องขวา เป็นพระธรรมเสนาบดีอยู่ 45 ปี จนถึงวาระอันควร. ท่านจึงขอพุทธานุญาต พระผู้มีพระภาคเจ้า ไปดับขันธนิพพาน ที่บ้านเกิดที่นาลันทา ทั้งนี้เพื่อหาโอกาส ได้โปรดโยมมารดาของท่าน ซึ่งเป็นพราหมณี ที่มีความเคร่งครัด ต่อลัทธิพราหมณ์มาก, ให้กลับมีสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใส ในพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก. ไม่เช่นนั้นคนทั้งหลาย จะนินทาได้ว่า พระสารีบุตร เป็นถึงพระอัครสาวก ดีแต่จะเทศนา สั่งสอนผู้อื่น แต่ไม่สามารถ จะโปรดโยมมารดา ของตนเองได้.

    เมื่อพระสารีบุตร กลับมาถึงบ้าน ท่านขอให้โยมมารดา จัดห้องที่ท่านได้เกิดไว้ เพื่อการดับขันธนิพพาน. ขณะนั้นท่านพระสารีบุตร อาพาธหนัก ลงโลหิต ไม่หยุดหย่อน มีเวทนายิ่งนัก. นางสารีได้นั่งเฝ้าบุตรชาย อยู่ข้างประตู, ในระหว่างนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้เข้ามากราบนมัสการ แล้วออกไป. ต่อมา ก็มีสมเด็จอมรินทราธิราช สมเด็จท้าวมัฆวานเทวราช ท้าวมหาพรหม เข้ามากราบนมัสการ เป็นลำดับไป.

    นางสารีมารดา ได้ถามท่านจุนทะ สามเณรบุตรชายว่า ใครมา? จุนทะสามเณรจึงว่า เทวดา อินทร์ พรหม (ซึ่งตัวนางสารี ได้กราบไหว้บูชา อยู่ทุกวันนั้น).
    นางจึงเพิ่งรู้ว่า พระสารีบุตรมีคุณมาก ขนาดที่เทวดา อินทร์ พรหม ยังต้องมา กราบไหว้บูชา. พระสารีบุตรได้โอกาสจึงว่า อาจารย์ของท่าน คือพระบรมศาสดานั้น ยิ่งใหญ่กว่า มหาพรหมร้อยเท่าพันทวี. ท้าวจตุโลกบาล เปรียบเหมือน โยมวัด, พระอินทร์ เปรียบเหมือน สามเณร ต้องคอยปรนนิบัตรพระ, พระพรหม ต้องอาราธนา ให้แสดงธรรม.

    จากนั้น ท่านเทศนา คุณของพระพุทธเจ้า ว่าเป็น พระนวหรคุณ 9 ประการ คือ อรหัง, สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจรณสัมปันโน, สุคโต, โลกวิทู, อนุตตโร ปุริสทัมสารถิ, สัตถา เทวมนุสสนัง, พุทโธ, ภควา. เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว, นางสารี มีจิตศรัทธา ในพระพุทธศาสนา และได้บรรลุโสดาบัน.
    ครั้นได้เวลา พระสารีบุตร ได้กล่าวขออโหสิกรรม เอนกายสีหไสยาสน์ เข้าสมาบัติ เป็นอนุโลมปฏิโลม ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ครั้นออกจาก จตุตถฌานแล้ว จึงดับขันธนิพพาน.

    พระศพของพระสารีบุตร ประดิษฐานไว เหนือบุษบกทองคำ สักการะ 7 วัน 7 คืน จึงถวายพระเพลิงศพ.


    หลังจากนั้น จุนทะสามเณร (น้องชาย) ได้นำพระอัฐิธาตุ จีวร และบาตร กลับไป ถวายพระพุทธเจ้า. พระพุทธองค์โปรดให้ บรรจุพระอัฐิธาตุ ของพระสารีบุตร ไว้ในเจดีย์ ที่เชตวันมหาราม. (โปรดดูตอน สาวัตถี)

     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    การดับขันธนิพพานของพระโมคคัลลานะ
    ครั้นเมื่อ พระโมคคัลลานะ จำพรรษาอยู่ที่ กาฬศิลาประเทศ แคว้นมคธ, มีประชาชนเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา เป็นอันมาก ทำให้พวกเดียรถีย์นิครนถ์ ทั้งหลาย ปราศจากลาภสักการะ และคิดว่า ทั้งนี้เป็นเพราะ พระโมคคัลลานะ มีอิทธิฤทธิ์มาก คนจึงเลื่อมใสศรัทธา. ดังนั้นพวกนิครนถ์ จึงได้ว่าจ้าง พวกโจร 500 คน ให้ไปฆ่าพระโมคคัลลานะ.

    ท่านพระโมคคัลลานะ ได้พยายามหลบหนี โดยใช้อิทธิฤทธิ์ต่างๆ เช่น หนีลอดทางรูกุญแจบ้าง, เหาะหนีทางช่องลมบ้าง. พวกโจร ก็ยังพยายาม ติดตามท่านมาถึง 2 เดือน ที่จะฆ่าท่านให้ได้. ท่านจึงได้พิจารณา หาเหตุผลว่า โจรเหล่านี้ จะฆ่าท่านเพราะเหตุไร?.

    เมื่อท่านได้รู้ว่า มันเป็นเพราะวิบาก ที่ท่านได้เคยฆ่าบิดามารดา ในอดีตชาติ ท่านจึงไม่หนีอีกต่อไป. พวกโจรจึงช่วยกัน รุมตีท่านด้วยท่อนไม้ จนกระดูก แหลกละเอียด ปานเมล็ดข้าวสาร. ท่านทนทุกขเวทนาสาหัส แต่ก็พยายาม เข้าฌานสมาบัติ ไปกราบทูลลาพระพุทธเจ้า, แล้วท่านกลับไป ดับขันธนิพพาน ที่กาฬศิลาประเทศ.

    ท่านเข้าฌาน จากปฐมฌาน ขึ้นไปแล้วถอยกลับ เป็นอนุโลมปฏิโลม จนออกจากสมาบัติแล้ว จึงดับขันธนิพพาน พระอัฐิธาตุของท่าน ได้นำมาบรรจุ ในพระเจดีย์ ที่ซุ้มประตูเวฬุวนาราม.

    โทษภัยจากการประทุษร้ายพระอรหันต์
    ข่าวที่พระโมคคัลลานะ ถูกโจรทุบตีจนตายนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู ได้สั่งให้จับพวกเดียรถีย์ และพวกโจรทั้ง 500 ไปฝังดินเพียงสะดือ เป็นแถว แล้วเอาไม้แห้ง มาสุมไฟ เผาทั้งเป็น จากนั้น จึงเอาไถให้กาย ขาดเป็นท่อนๆ.

    ในหมู่สงฆ์ มีการสนทนากันว่า พระโมคคัลลานะ มีฤทธานุภาพมาก ปานนั้น ไม่น่าจะมาตาย ด้วยสภาพอย่างนั้น.

    พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสให้ฟังว่า เป็นเพราะอนันตริยกรรม ที่พระโมคคัลลานะ ได้เชื่อคำยุแหย่ ของภรรยา ที่ต้องการกำจัด บิดามารดาตาบอดของสามี จึงได้หลอกล่อ บิดามารดาไปฆ่า โดยวิธีทุบให้ตาย. ท่านจึงต้องไปเสวยกรรม ในนรกนานเป็นหมื่นๆ แสนๆปี, แม้ในชาติปัจจุบัน เศษกรรมในอดีตนั้น ก็ยังคงติดตาม ให้ผลแก่ท่านได้.

    พระพุทธเจ้าทรงเทศนา ทุกข์ 10 ประการ อันบุคคลประทุษร้าย แก่พระขีณาสพ คือ

    1) จะมีทุกข์เกิดขึ้น ทันตาเห็น

    2) จะมีทุกขเวทนา อันทารุณ เช่น เจ็บศีรษะ เจ็บลิ้น เจ็บฟัน เกิดแต่โรคสาหัส

    3) ทรัพย์สมบัติที่หาได้ โดยวิธีใดๆ จะเสื่อมสูญไปหมด

    4) จะมีทุกขเวทนา ถูกตัดมือ ตัดตีน ตัดจมูก ตัดหู เป็นต้น

    5) จะเกิดโรคพยาธิ อันหนัก จะง่อยเปลี้ยตัวตาย เป็นโรคเรื้อน ที่รักษาไม่ได้

    6) จะเป็นบ้าใบ้ วิกลจริต เสียสติ ไม่สมปฤดี

    7) จะเกิดความฉิบหาย แก่ราชทัณฑ์อาชญา ถูกริบทรัพย์ อยู่ดีๆ มีคนกล่าวหา ว่าเป็นโจร มีคนใส่โทษให้ถูกโจรปล้น ถูกคนวิจารณ์ ส่อเสียด.

    8) บุตรภรรยา และ วงศ์ญาติที่รักใคร่ จะล้มหายตายจาก พลัดพรากฉิบหาย.

    9) ทรัพย์สมบัติ จะกลายเป็นกระดูก เป็นกระเบื้อง เป็นถ่านเพลิง.
    10) จะเกิดไฟไหม้ จากไฟบ้าน ไฟป่า ไฟฟ้า หรือไฟเกิดขึ้นเอง ก็ตาม.

    การประชุมเพลิง
    สรีระของท่าน พระอัครสาวกทั้งสององค์ ได้ประชุมเพลิงกัน ที่บริเวณ มหาวิทยาลัยนาลันทา.
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    นาลันทาสมัยหลังพุทธกาล
    หลังจากที่ พระบรมศาสดา ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว นาลันทา ก็เสื่อมโทรมลง ทั้งความเจริญ ทางบ้านเมือง และทั้งนิกาย ลัทธิศาสนาต่างๆ ทั้งนี้คงจะเนื่องมาจาก มีทุพภิกขภัยเกิดขึ้น. แม้ในขณะที่ พระพุทธองค์ ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ก็ยังเคยมี ทุพภิกขภัยเกิดขึ้น เป็นครั้งคราว และสภาวะ แห่งทุพภิกขภัยนี้ ก็ไม่ทราบว่า เป็นอยู่นานเท่าใด.

    ครั้นมาถึง สมัยพระเจ้าอโศก ได้โปรดให้สร้างวิหารขึ้น หลังหนึ่ง ในนาลันทานี้ และต่อมา พระเจ้าปุรวรมา, ผู้สืบราชสันตติวงศ์ องค์สุดท้าย ของพระเจ้าอโศกมหาราช, ก็ได้โปรดเกล้าให้สร้าง พระพุทธรูป หล่อด้วยทองแดง องค์หนึ่ง สูงถึง 80 ฟุต.

    ครั้นถึงสมัย พระเจ้าสกราทิตยะ ราชาครองนครนาลันทา ได้ทรงสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ในสวนมะม่วง. และราชาที่สืบต่อมาก็มี พระเจ้าพุทธคุปตะ พระเจ้าตถาคตคุปตะ พระเจ้าพาลาทิยะ พระวัชระ และราชาอีกองค์หนึ่ง ที่ไม่ปรากฏพระนาม ในอินเดียสมัยกลาง กษัตริย์เหล่านี้ แต่ละพระองค์ ได้สร้างวัดขึ้น องค์ละหนึ่งวัด รวมเป็น 6 วัด วัดทั้งหกนี้ ประกอบกันขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยนาลันทา ในเวลาต่อไป.



    มหาวิทยาลัยนาลันทา

    มหาวิทยาลัยนาลันทา เริ่มสร้างขึ้นครั้งแรก ตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 3. และมีการสร้าง ติดต่อกันเรื่อยมา อีกหลายยุคหลายสมัย โดยประสงค์ จะให้เป็นสถานศึกษา แก่พระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา.

    ต่อมา ก็มีการก่อสร้างส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นมา อีกมากมาย ตลอดระยะเวลา อันยาวไกล นับตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดิน ในราชวงศ์คุปตะ, ราชวงศ์ปาละ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งชวา สุมาตรา อินโดนีเซีย เป็นต้น.

    ราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 นาคารชุน คณาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งลัทธินิกายมหายาน ได้เดินทางไป ยังปูชนียสถานสำคัญๆ หลายแห่ง พร้อมกับท่าน อารยเทวะ ผู้เป็นศิษย์ แล้วท่านก็ได้เดินทาง มาถึงนาลันทา.

    ภายในระยะเวลาเพียง 1-2 ศตวรรษ จากเวลา ที่ท่านนาคารชุน เดินทางมาถึงนาลันทา. ต่อจากนั้น นาลันทา ก็ได้กลายเป็นศูนย์กลาง แห่งพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ที่สำคัญยิ่ง. ขณะนั้น มหาวิทยาลัยนาลันทา กำลังเจริญรุ่งเรืองเต็มที่.

    ต่อมา ในราวพุทธศตวรรษที่ 9 ได้เกิดคณาจารย์ที่สำคัญ ของนิกายมหายานขึ้น อีกท่านหนึ่ง นามว่า
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทาสมัยเฮียงจัง

    ในสมัยของหลวงจีนเฮียงจัง ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 นั้น, พระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงเป็นองค์อุปถัมภก ที่สำคัญยิ่ง ของพระพุทธศาสนา

    พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุง มหาวิทยาลัยนาลันทา ด้วยศรัทธาอันแก่กล้า, ทรงอุทิศส่วย จากหมู่บ้าน 100 หมู่บ้าน ให้เป็นปัจจัย บำรุงมหาวิทยาลัย และมีบัญชาให้ หัวหน้าครอบครัว 200 ครอบครัว บำรุงพระภิกษุ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย ด้วยภัตตาหาร เช่น ข้าว เนย และนม เป็นประจำ, โดยพระภิกษุเหล่านั้น ไม่ต้องออกไป บิณฑบาตข้างนอก.

    นักศึกษาแห่งนาลันทา ไม่ต้องมีความกังวล เกี่ยวกับเรื่องปัจจัยสี่นี้เลย ฉะนั้น จึงสามารถอุทิศเวลาทั้งหมด ให้แก่การศึกษา ได้เต็มที่.

    พระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงเคารพยกย่องพระภิกษุ แห่งมหาวิทยาลัย นาลันทา เป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงโปรดให้ พระนักศึกษาแห่งนาลันทา ประมาณ 1000 รูป เข้าร่วมรัชสภา ที่กะเนาซ์ ด้วย.

    หลวงจีนเฮียงจัง ได้กล่าวถึง มหาวิทยาลัยนาลันทา ไว้อย่างชัดเจน แสดงถึงความใหญ่โต และมาตรฐานการศึกษา อันสูงกว่า สถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งหมด ที่มีอยู่ในตะวันออกโบราณ.

    ในสมัยนั้น มหาวิทยาลัยนาลันทา เจริญรุ่งเรืองมาก เป็นมหาวิทยาลัย ที่ใหญ่ที่สุด เก่าแก่ที่สุด มีชื่อเสียงมากที่สุด

    มีห้องประชุมขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุผู้ฟัง ได้มากกว่าพันคนขึ้นไป มีถึง 8 ห้อง, มีห้องเรียนกว่า 300 ห้อง, มีห้องพระคัมภีร์ขนาดใหญ่ และมีหอพักนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยพร้อม โดยมีโรงครัว ยุ้งฉาง สำหรับการหุงหาอาหาร เลี้ยงพระนักศึกษา เหล่านั้นด้วย.

    ในมหาวิทยาลัยนาลันทาทั้งหมด มีที่พักสำหรับนักศึกษาถึง 10,000 คน พร้อมด้วย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกประมาณ 1,500 คน มีกฎเกณฑ์เข้มงวดมาก นักศึกษาผู้เข้าใหม่ กว่าจะถูกรับเข้าสถาบันได้ จะต้องผ่านการทดสอบมากมาย. พระนักศึกษาแห่งนาลันทา ได้รับการยกย่องอย่างสูง จากทั่วทุกแห่ง.

    พระภิกษุที่เรียนอยู่นี้ มีพระเจ้าแผ่นดิน เป็นองค์อุปถัมภ์ การเป็นอยู่ทุกอย่าง ให้เปล่าหมด ทั้งนี้เพื่อประสงค์ที่จะให้ สืบทอดพระพุทธศาสนา ให้มีหลักธรรม ที่ลึกซึ้งและถูกต้อง ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ซึ่งก็ปรากฏว่า มีพระภิกษุจากต่างแดน ได้เดินทาง เข้ามาเรียนที่นี่เช่นกัน เช่น หลวงจีนเฮียงจัง (พระถังซัมจั๋ง) เป็นต้น.

    ในระยะก่อน ที่หลวงจีนเฮียงจัง จะได้เข้ามาศึกษา ในมหาวิทยาลัยนาลันทา เล็กน้อย ท่านอาจาริยะ ธัมมปาละ ได้เป็นประมุขสงฆ์ หลังจากท่านองค์นี้แล้ว ศิษย์ของท่านชื่อ อาจาริยะ ศีลภัทระ ผู้เป็นโอรส ของกษัตริย์แห่งสมตาฎ (แคว้นเบงกอลทางใต้) เป็นอธิบดีสงฆ์ต่อมา ซึ่งท่านองค์นี้ เป็นอาจารย์สอน พุทธปรัชญา ให้แก่หลวงจีนเฮียงจัง เป็นเวลา 5 ปี.

    วิชาที่หลวงจีนเฮียงจัง ได้ศึกษา ในมหาวิทยาลัยนาลันทา ได้แก่ คัมภีร์พระพุทธศาสนา ทั้งหินยาน และมหายาน, เหตุวิทยา (Logic), ศัพท์วิทยา (Gramma), จิกิตสาวิทยา (Medical Sciences), พระเวทย์ทั้งหลาย และ สางขยศาสตร์ เป็นต้น.

    ในการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยนาลันทานั้น มีการสอนวิชาต่างๆ มากมาย เช่น พุทธปรัชญา ไวยากรณ์ วรรณคดี แพทยศาสตร์ และมีวิชาบังคับ พระไตรปิฎก เป็นต้น.

    หลังจากสิ้นรัชสมัยของ พระเจ้าหรรษวรรธนะแล้ว พระพุทธศาสนา ในมัชฌิมประเทศ เริ่มเสื่อมลงๆ. หลวงจีนเฮียงจังได้เล่าว่า ท่านได้เห็นศูนย์กลาง ทางพระพุทธศาสนา หลายแห่ง ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม แม้ในนครสาวัตถี เมืองปยาคะ และที่อื่นๆ วัดในทางพระพุทธศาสนา ได้ลดจำนวนน้อยลง แต่ในขณะเดียวกัน เทวาลัย และสถานบูชา ของพวกต่างศาสนา กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น, มีแต่ในแคว้นมคธ ภายใต้การอุปถัมภ์ บำรุงของกษัตริย์ ราชวงศ์ปาละ แห่งเบงกอล และพิหารเท่านั้น ที่พระพุทธศาสนา ได้เจริญรุ่งเรือง ต่อมาอีก 2-3 ศตวรรษ.


    มหาวิทยาลัยนาลันทาในสมัยปาละ

    จนมาถึงรัชสมัย ของพระเจ้าเทวปาละ (พ.ศ.1358-1397) พาลปุตรเทวะ แห่งสุมาตรา ได้สร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และพาลปุตรเทวะ ได้ขอร้องให้กษัตริย์เทวปาละ ยกผลประโยชน์ 5 ตำบลในแคว้นมคธ เพื่อการบำรุงภิกษุ ที่ได้ทำการคัดลอกคัมภีร์ พระพุทธศาสนาให้
    และพระเจ้าเทวปาละ ยังได้ทรงแต่งตั้ง ภิกษุรูปหนึ่งชื่อ พระวีรเทวะ ผู้เป็นบุตรของ อินทรคุปตะ แห่งรคาหาร (ขณะนี้ อยู่ในปากีสถานตะวันตก) เป็นผู้บริหาร นาลันทามหาวิหาร

    นอกจากนี้ เมื่อพระเจ้าเทวปาละ ครองราชย์ได้ 35 ปี ได้สร้างรูปเจ้าแม่ตารา และมีการจารึกอักษร ที่ได้กล่าวถึงชื่อ มัญชุศรีเทวะ.

    เมื่อกษัตริย์โคปาละที่ 2 ครองราชย์ในปีแรกๆ (พ.ศ.1478-1535) ได้ทรงสร้างรูปวาคีศวรี ให้เป็นเทพเจ้า แห่งความรู้ ของชาวพุทธ แล้วนำไปประดิษฐาน ไว้ที่นาลันทา.

    ในปีที่ 6 แห่งการครองราชย์ ของกษัตริย์มหีปาละที่ 1 (พ.ศ. 1535-1583) ได้มีการซ่อมแซม สถาบันนาลันทา ซึ่งได้ถูกไฟไหม้ นอกจากนี้ ยังได้มีนักศึกษา นาลันทาผู้หนึ่ง ชื่อ กัลยาณมิตร จินตามณี ได้ทำการคัดลอกคัมภีร์ อัศฏสาหัสริกา.

    ส่วนคัมภีร์ ปรัชญาปารมิตา คัมภีร์นี้ได้ถูกคัดลอก 2 ครั้งที่นาลันทา คืออีกครั้งในสมัยของรามปาละ ด้วย.


    สมัยจักรพรรดิ แห่งวงศ์ปาละ ได้ปกครองอินเดียตะวันออก ซึ่งรวมดินแดน ของมคธด้วย เป็นเวลาประมาณ 400 ปี (จากพุทธศตวรรษที่ 14-18). กษัตริย์เกือบทุกพระองค์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนา อย่างเข้มแข็ง ได้ถวายความอุปการะ แก่สถาบันนาลันทา ด้วยดีตลอดมา.

     
  7. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    การล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
    มหาวิทยาลัยนาลันทานี้ เจริญอยู่ได้ประมาณ 800 ปี จึงเริ่มเสื่อมสลายลง, แม้ว่า จะกำหนดระยะเวลา ที่นาลันทาได้เสื่อมสลายลงไป ให้แน่นอนไม่ได้ ก็ตาม, ก็ยังมีหลักฐาน พอที่จะกล่าวว่า

    ความร่วงโรย ของสถาบันนาลันทานั้น ได้เกิดขึ้น พร้อมกับ การที่พระพุทธศาสนา เริ่มเสื่อมสูญ ไปจากอินเดีย. หลวงจีนเฮียงจัง ได้เห็นลักษณะ ที่จะก่อให้เกิดความเสื่อม มีอยู่ทั่วอินเดีย. แม้ว่า ในครั้งนั้น นาลันทายังเป็นศูนย์กลาง แห่งพระพุทธศาสนา ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองก็ตาม.

    การที่นาลันทา ถูกไฟไหม้ ก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างมากมาย หลวงจีนเฮียงจัง สามารถมองเห็น ความวิบัติ ที่จะมีแก่สถาบันนาลันทาแล้ว.
    หลวงจีนเฮียงจังเล่าว่า เมื่อท่านมาถึงนาลันทา มีพระภิกษุ อยู่ในนาลันทาถึง 10,000 รูป แต่ต่อมา พอหลวงจีนอี้จิง มาถึงอินเดีย หลังจากท่านไม่กี่ปี ก็ได้พบว่า มีพระภิกษุในนาลันทาเพียง 3,000 รูป เท่านั้น.

    ความเสื่อมโทรมลง ของพระพุทธศาสนา ทั้งในนิกายเถรวาท และมหายาน ยิ่งมากขึ้นไปอีก เมื่อได้มีการเกิดขึ้น ของนิกายตันตระ ซึ่งในนิกายนี้ ได้เอาหลักคำสอนมาจาก การผสมผสาน ของคำสอนในลัทธิโยคะ กับวิธีการบูชาบวงสรวง แบบต่างๆ หลายแบบ

    พระพุทธศาสนา แบบดั่งเดิม ได้ถูกกลืนหายไป ในลัทธิลึกลับ ที่เกิดขึ้นใหม่นี้ (โปรดดูตอน ความเสื่อม ของพระพุทธศาสนา ในอินเดีย).

    ความเสื่อมสลาย ของพระพุทธศาสนา ไปจากอินเดียนี้ อาจจะเกิดจาก นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ ของศาสนาพราหมณ์ เช่นท่านกุมาริละ และ ศังกราจารย์ ที่ได้ทำให้ วงการพระพุทธศาสนา สั่นสะเทือน (โปรดดูตอน ความเสื่อม ของพระพุทธศาสนา)

    แต่เหตุการณ์ ที่ทำลาย มหาวิทยาลัยนาลันทา อย่างรุนแรง คือการที่ พวกมุสลิมบุกรุก เข้ามาฆ่าและทำลาย.

    มินฮัช (Minhaj) นักประวัติศาสตร์ มุสลิมได้เล่าถึง โมฮัมเม็ด บุขเตียร์ (Mohammed Bukhtiar) ทำลายเมืองๆหนึ่ง ในแคว้นพิหารตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งวิชาการ ของพระพุทธศาสนา แห่งหนึ่ง เมืองนี้ก็คือนาลันทา นั่นเอง.

    ข้อมูลบางแหล่งว่า พวกมุสลิมซึ่งมีแม่ทัพชื่อ บักตยาร์ ขิลจิ พร้อมทหาร 200 คน บุกเข้ามาฆ่าพระสงฆ์ องค์แล้วองค์เล่า แต่พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ก็ยังคงนั่งกันเฉย ไม่ลุกหนี ไม่ต่อสู้.

    บางท่านเล่าถึง การบุกโจมตีนาลันทาว่า
     
  8. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    สภาพของมหาวิทยาลัยนาลันทาในปัจจุบัน
    เท่าที่เห็นด้วยสายตา ในขณะนี้ มีอาคารต่างๆ หลายหลัง ซึ่งเดินดู ก็ไม่อาจทั่วถึงแล้ว เพราะอาคารแต่ละหลัง มีขนาดใหญ่โตมาก (โปรดดูภาพ).

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="48%">[​IMG]</TD><TD width="52%">[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    แผนที่อาณาบริเวณ มหาวิทยาลัยนาลันทา เท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="41%">[​IMG]</TD><TD width="59%"> [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    ภาพด้านหน้าและด้านข้างวิหารใหญ่ ของมหาวิทยาลัยนาลันทา ที่มีสถูปต่าง ๆ มากมาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="35%">[​IMG]</TD><TD width="41%">[​IMG]</TD><TD width="89%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="165%" colSpan=3>
    ภาพด้านหลังของวิหารใหญ่ ของมหาวิทยาลัยนาลันทา ที่มีสถูปต่าง ๆ มากมาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="41%">[​IMG]</TD><TD width="59%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%" colSpan=2>
    ภาพอาณาบริเวณโดยรอบ ของมหาวิทยาลัยนาลันทา มีอาคารเรียน ห้องประชุม ต่าง ๆ มากมาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]</TD><TD width="50%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%" colSpan=2>
    ภาพอาคารเรียน ห้องประชุม ของมหาวิทยาลัยนาลันทา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="39%">[​IMG]</TD><TD width="61%">
    ภาพพื้นบนดาดฟ้า ของอาคารเรียน ห้องประชุม ของมหาวิทยาลัย นาลันทา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    การได้เห็นสภาพ ของมหาวิทยาลัยนาลันทา ในปัจจุบัน ได้สะท้อนให้เห็นว่า ในยุคหนึ่ง มนุษยชาติ มีความเจริญรุ่งเรือง อย่างสูงส่ง ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ, มีการเกื้อกูล และแบ่งปันปัจจัยต่างๆ เพื่อการส่งเสริมศาสนธรรม ให้สืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง ให้มีที่พึ่งทางใจที่ถาวร.

    แต่แล้วกิเลส-ความเห็นแก่ตัว ก็เป็นเหตุให้มนุษย์ อีกยุคหนึ่ง มาทำลายร้างความดี ความงาม ความบริสุทธิ์ ของมนุษย์นั้นไป. จนปัจจุบัน มนุษย์ทั่วโลก กำลังขาดสันติสุข และสันติภาพ อย่างแท้จริง.

    มีคนจำนวนมาก มาเที่ยวดู มหาวิทยาลัยนาลันทา แม้แต่คนอินเดียเอง ทั้งที่ไม่ใช่ชาวพุทธก็ตาม มีไกด์พาชม เป็นกลุ่มๆ เป็นหมู่คณะ ส่วนใหญ่ คงเที่ยวดู ในลักษณะ เป็นโบราณสถานมากกว่า ที่จะเป็นพุทธสถาน.

    สังฆารามในมหาวิทยาลัยนาลันทา
    สังฆาราม อยู่ทางด้านตะวันออก ของมหาวิทยาลัยนาลันทา ได้พบเห็นหมู่เจดีย์ และสถูปต่างๆ ที่บรรจุพระอัฐธาตุ ของพระสาวกจำนวนมาก.


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]</TD><TD width="50%">[​IMG]</TD></TR><TR><TD width="100%" colSpan=2>
    สังฆารามของมหาวิทยาลัย นาลันทา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]</TD><TD width="50%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    สังฆารามของมหาวิทยาลัย นาลันทา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลวงพ่อดำ
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="24%">[​IMG]</TD><TD width="76%">หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปหินดำ แกะสลัก ขนาดใหญ่ สูงเกือบ 3 เมตร. ที่เป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่เหลืออยู่เพียงองค์เดียวที่รอดพ้น จากการถูกทำลาย ของมุสลิมได
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขณะนี้อยู่ในวิหาร เลยจากสังฆารามออกไป. แต่วิหารนี้ ไม่มีหลังคา ลักษณะคล้ายห้องแถว. แต่พวกฮินดู ยังได้พยายาม ที่จะเอาสีแดง มาทาที่หน้าผาก ของพระพุทธรูปอีก เพื่อแสดงว่า เป็นของฮินดูก็มี.
    พวกเราไหว้ พระสวดมนต์ กับหลวงพ่อดำนี้.

    พิพิธภัณฑ์นาลันทา
    พิพิธภัณฑ์นาลันทา เป็นอาคารสมัยใหม่ ที่รัฐบาลอินเดีย ได้สร้างขึ้น เพื่อการเก็บรวบรวม และแสดงศิลป วัตถุต่างๆ มากมาย ที่ขุดค้นพบจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา, ส่วนมากได้แก่ พระพุทธรูปหินแกะสลัก และพระโพธิสัตว์ ปางต่างๆ เช่น ปัทมปราณี วัชรปราณี อวโลกิเตศวร และ ตารา เป็นต้น.
    ภาพหินแกะสลักเหล่านี้ ล้วนเป็นศิลปะ สมัยหลังจาก พระเจ้าอโศกมหาราช อย่างแน่นอน.

    ในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช (ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 2-3) ซึ่งไม่นิยม แกะสลักเป็นรูปเหมือน อย่างบุคคล. (โปรดดูเรื่องสาญจี)

    พระพุทธรูปก็ดี หรือ พระโพธิสัตว์ (เป็นความนิยม ในพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน) ส่วนมาก จะเกิดในพุทธศตวรรษที่ 5 เป็นต้นไป. บริเวณด้านนอก มีรูปหินแกะสลักต่างๆ และมีตุ่มน้ำ ขนาดใหญ่มาก อายุประมาณ 800 ปีมาแล้ว.

    ร้านขายของที่ระลึก

    เมื่อออกมาจาก มหาวิทยาลัยนาลันทาแล้วด้านนอกบริเวณ มหาวิทยาลัยนาลันทา มีร้านขาย ของที่ระลึกมากมายมีสินค้าจำพวก ทำด้วยมือต่างๆ พวกตลับหิน สร้อยหินสีต่างๆ แปลกตาดี นอกจากนี้ ก็มีเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง เป็นเครื่องประดับบ้าง เครื่องตั้งโชว์บ้าง และที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ รูปศิวลึงค์และโยนี ทั้งที่ทำด้วยหินบ้าง และทำด้วยทองเหลือง ส่วนใหญ่ เขาจะทำเป็น เครื่องบูชาเทพเจ้าของเขา.

    มีเรื่องเล่ากันว่า มีหญิงสูงอายุ ชาวไทยคนหนึ่ง ไม่รู้จักศิวลึงค์ และโยนี ที่เขาทำขายกัน ได้ซื้อเอาไป ใช้ทำเป็นเครื่องบีบมะนาว แถมยังคุย ให้เพื่อนฟัง อย่างพากภูมิใจว่า
     
  9. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    การเดินทางมายังนาลันทา
    จากปัตนะ เดินทางมายังนาลันทา
    18.00 น. เดินทางจากปัตนะ ไปนาลันทาระยะทาง 93 กม.
    ระหว่างทาง คนขับรถ ได้หยุดรถ เพื่อแวะรับประทานอาหารเย็น ริมทาง พวกเราจึงถือโอกาส รับประทานอาหารแขกบ้าง : มีพวก กรัมจายน์ (ชาต้มกับนม) และ จาปตี เป็นแป้งสาลี นวดเป็นแผ่นกลมๆ ผิงไฟให้สุก ดูคล้ายๆ โรตีบ้านเรา (อินเดียไม่มีโรตี) แต่ไม่ใช่ รสจืดๆ ชาวอินเดียกินเป็นข้าว จึงต้องจิ้ม กับเครื่องจิ้ม เช่น ดาล ซึ่งเป็นพวกถั่ว ที่เคี่ยวด้วยเครื่องแกง เหมือนน้ำจิ้ม หมูสะเต๊ะของไทย. นอกจากนี้ก็มีของหวาน ขีร์ คล้ายๆ ข้าวต้มเละๆ ใส่นมข้นขาวๆ กินเหมือน กินข้าวหวานๆ แปลกดี แต่เขากินเย็นๆ ถ้าร้อนๆ ก็คงดีเหมือนกัน คล้ายๆข้าวโอ๊ต.

    พวกเราได้แวะเข้า ภัตตาคารแขก หวังจะกินข้าวกัน แต่ก็ไม่มี. อาหารส่วนมาก ที่แขกกินกันนั้น เป็นพวกเครื่องดื่ม และกับแกล้ม คล้ายกับเป็นอาหารเบาๆ. อาหารแขกจริงๆ แล้ว คนไทย แทบจะกินไม่ได้เลย ไม่รู้จักสักอย่าง และคนไทย ก็กินอาหารเก่ง กินก็มาก และล้วนเป็น อาหารหนักๆ.

    แต่ก็ยังดี ที่ภัตตาคารแขกนี้ มีห้องน้ำ ให้ขอใช้ได้บ้าง. ห้องน้ำในเมืองแขก เขาใช้เรียกว่า Toilet เลย ไม่ต้องใช้ภาษาสุภาพว่า rest room หรือ bath room เพราะเขามีห้อง สำหรับพักจริงๆ และห้องอาบน้ำจริงๆ. ห้องน้ำในเมืองแขกนี้ หาได้ยากมาก ถ้าเป็นชนบท ไม่ต้องถามหา ไปทุ่งจริงๆ กันทั้งนั้น.

    พวกเราจึงตัดสินใจ ไม่กินข้าวที่นี่ และได้ แวะซื้อผักต่างๆ แขกเรียกว่า ซับจี และพวกอัณฑะ (ไข่) เพื่อไปให้โรงครัวนาลันทา ประกอบอาหารด้วย.
    พวกเรารอคนขับรถ ที่พอรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ก็ต้องรอให้เขา ต้องนอนเอนหลัง บนเตียงเชือกถัก หรือเตียงไม้กันเป็นแถว สักพัก ประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง

    จึงออกเดินทางต่อ.ซึ่งก็ดีไปอีกอย่างหนึ่ง ที่อินเดียคนขับรถ ไม่ต้องกินกระทิงแดง หรือยาม้า แต่ใช้วิธีกินกรัมจายน์ แล้วใช้วิธีนอนพัก เอาจริงๆ เสียเลย. เราจึงไม่ค่อยเคยเห็น อุบัติเหตุรุนแรง เหมือนในเมืองไทย หรือเขาเอง ก็ไม่ค่อยมีรถใช้ รถส่วนตัว ในเมืองเล็กๆ เกือบจะไม่เคยพบเลย มีแต่รถบัส รถบรรทุกทั้งนั้น.

    พวกชาวบ้าน มักไม่ค่อยเคยเห็น รถติดแอร์ มามุงดูกันใหญ่ บางคนถึงขนาด เปิดประตูรถยื่นมือบ้าง ยื่นหน้าบ้าง เข้ามาในรถ ดูซิว่ามันเย็นอย่างไรก็มี แล้วตะโกนบอกกัน เสียงดังขรมไปหมด ทำให้อีกหลายคน ต้องทดลองยื่นมือ เข้ามาสัมผัส กับความเย็นกันบ้าง.

    พวกเราไปถึง วัดไทยนาลันทาเวลา 21.30 น. หลังจากเข้าห้องพักแล้ว แม่ชีอารี ได้เชิญทุกคน ไปรับประทานอาหารเย็น. อันนี้เห็นจะเป็นเพราะ บารมีของพระอาจารย์ ดร. วิเวก ที่ท่านมีจดหมาย แจ้งมาล่วงหน้า แม่ชีอารีก็เป็นผู้ที่มีศรัทธา ในท่านอยู่แล้ว จึงได้ให้การต้อนรับ เป็นอย่างดี

    นอกจากนี้ พระภิกษุทุกองค์ ก็ให้การต้อนรับคณะ เป็นอย่างดีมาก พวกเราได้ทราบมาว่า พระอาจารย์ ดร.วิเวก (ท่านวิทยากร ที่ไปกับคณะพวกเรา) เป็นผู้หนึ่ง ที่มีส่วนช่วยสร้างวัดนี้ นั่นเอง.

    เมื่อถึงเวลาประมาณ 22.00 น. ไฟฟ้าจะดับ สิ่งนี้จะพบทุกวัน ที่อยู่ในอินเดีย เพราะรัฐบาลให้ประหยัดไฟฟ้า ใครมีเครื่องปั่นไฟ ก็ปั่นกันเองเถิด รอจนกระทั่งเวลา 24.00 น. หรือ 1.00 น. แล้วไฟก็เริ่มจ่ายให้ใหม่ แต่พวกเรา ก็เตรียมพร้อม มีเทียนไขมามาก เพราะรู้สถานการณ์ ล่วงหน้าดีอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไร.

    ชาวบ้านรอบๆวัดนี้ เขาไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ให้รัฐบาลเลย เมื่อเจ้าหน้าที่มาเก็บ เขาก็แอบ ให้เงินใต้โต๊ะเล็กน้อย แล้วผ่านไปเลย. ในบริเวณนี้ คงมีเฉพาะที่ วัดไทยนาลันทา แห่งเดียวกระมัง ที่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ให้รัฐบาล ดูไปแล้วน่าสงสาร รัฐบาลอินเดียจริงๆ ไม่ทราบว่า จะมีรายได้จากอะไร.

    ที่พักในวัดนี้ ดีพอสมควรทีเดียว มีห้องน้ำในห้องนอนด้วย พักห้องละ 3 คน มีพัดลม และไฟฟ้าพร้อม พวกเราค้างคืนที่นี่ 1 คืน.

    จากราชคฤห์ไปยังนาลันทา
    ถ้าเดินทาง จากกรุงราชคฤห์ ไปยังนาลันทา ใช้เวลาประมาณยี่สิบนาที ระยะทางประมาณ 16 กม.


    http://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_2/idia1_c_03_nalunta/3_nalun_menu.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...