นรก – สวรรค์ ในชีวิตนี้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 5 ตุลาคม 2008.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    นรกสวรรค์ ในชีวิตนี้



    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า


    ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่ได้มีโอกาสมาประพฤติพรหมจรรย์ เราได้เห็นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นรกและสวรรค์ที่มีอยู่ในอายตนะ ๖ อันเป็นที่เกิดแห่งผัสสะนี่เอง กล่าวคือ ในขณะใดประสบแต่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ อันไม่เป็นที่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจ ที่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจไม่ประสบในขณะนี้เป็น นรก ในขณะใดประสบแต่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ล้วนแต่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจ ที่ไม่พึงปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ชอบใจ ไม่ได้ประสบ ในขณะนี้เป็น สวรรค์
    สํ.สฬา.๑๓/๑๕๘ ข้อ ๒๑๔



    จากข้อความที่เป็นพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า ในขณะใด เรามีความทุกข์มาก ก็แปลว่า เราตกนรก หรืออยู่ในนรก ในขณะใด เรามีความสุขมาก ในขณะนั้น เราอยู่ในสวรรค์ และขอให้ศึกษาจากพุทธพจน์ดังต่อไปนี้ก่อน


    “บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทด้วยปัญญานั้น เมื่อปรารถนาที่จะพยากรณ์ตนเองได้ด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำต่อไปอีกเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในภายภาคหน้า”
    สํ.มหา. ๑๙/๔๘๘ ข้อ ๑๕๗๔



    ขอให้สังเกต คำว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว” (ขีณนิรโยมฺหิ) “เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว” (โสตาปนฺโนหมสฺมิ)

    ทำไมพระโสดาบันจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ? การที่จะเข้าใจปัญหานี้ได้นั้น ก่อนอื่นก็คือต้องพิจารณาคำว่า เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว คำว่า โสดาบัน มาจากคำบาลีว่า โสต + อาปนฺน โสต แปลว่า กระแส ซึ่งในที่นี้หมายถึง กระแสนิพพาน อาปนฺน แปลว่า ถึงแล้ว และคำว่ากระแสนิพพานนั้นก็หมายถึง ความสงบภายใน ซึ่งเป็นความสงบในขั้นโลกุตระเป็นความสงบที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายในเมื่อเข้าถึงแล้ว ทุกองค์จะกล่าวว่าอย่างนี้


    อตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ มทนิมฺมทโน ปิปาสวินโย อาลยสมุคฺฆาโต วฏฺฏูปจฺเฉโท ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ


    นี่สงบ นี่ประณีต ณ ที่นี้เอง เป็นที่สร่างความเมา เป็นที่กำจัดความกระหาย เป็นที่ถอนความอาลัย เป็นที่ตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หน่ายราคะ เป็นที่ดับสนิท นี่แหละคือนิพพาน



    และอีกบทหนึ่ง


    เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ


    นี่สงบ นี่ประณีต ณ ที่นี้เอง เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืน คือเป็นที่ปล่อยวางซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หน่ายราคะ เป็นที่ดับสนิทนี่แหละคือนิพพาน




    เพราะเหตุที่พระโสดาบันเป็นผู้ที่เข้าถึงความสงบภายในเช่นนี้ ซึ่งในเมื่อเข้าถึงแล้ว ก็หมดความว่าในจิตใจส่วนลึกของท่าน หรือในสันดานของท่าน จะมีความสงบเยือกเย็นอยู่เสมอ เหมือนแช่อยู่ในน้ำตลอดกาล ไฟคือกิเลสก็ดี ไฟคือความทุกข์ต่างๆ ก็ดี ไม่อาจจะทำให้เกิดความร้อนได้ นั่นหมายความว่า พระอริยบุคคลขนาดพระโสดาบัน
    แม้จะได้พบเห็นได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักใคร่พอใจสักเพียงไรก็ตาม ในใจก็จะไม่เกิดกิเลสไม่เกิดความทุกข์ หรือแม้จะได้พบเห็นสิ่งที่น่ารักใคร่พอใจ ก็ไม่ทำให้เกิดกิเลส และความโสมนัส ที่เกิดก็จะไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ไม่แปรเปลี่ยนเป็นความทุกข์ในภายหลัง ไม่เหมือนกับปุถุชนโดยทั่วไป ถ้าวันนี้เขาหัวเราะรื่นเริงชอบใจก็เป็นอันหวังได้ว่า ในวันหลังก็จะต้องร้องไห้เสียใจเป็นทุกข์ใจอย่างแน่นอน ในเมื่อเหตุการณ์อันเป็นที่รักใคร่พอใจนั้นเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นในวิสัยของปุถุชนจึงจะต้องตกนรกอยู่เสมอ ไม่พ้นจากนรกไปได้



    อนึ่งเมื่อพูดถึง นรก - สวรรค์ในชีวิตประจำวัน หรือ นรก – สวรรค์ในชาตินี้นั้น โปรดสังเกตและจำไว้ให้ดีว่า คำว่า นรก หมายถึง ความทุกข์ทางใจ และเป็นความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำทุจริต หรือการกระทำบาปอยู่เสมอ ซึ่งพื้นจิตใจโดยทั่วๆ ไปแล้ว มีแต่ความเร่าร้อน ไม่ค่อยมีความสงบเลย ดังเช่นที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า


    คนที่ทำบาปอยู่เสมอเป็นปกติ เมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็เดือดร้อน เร่าร้อน ละจากโลกนี้ไปแล้วก็เดือดร้อน เร่าร้อน



    และการที่พระโสดาบัน เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว ฯลฯ ก็เพราะเหตุที่พระโสดาบันได้ละเว้นจากการทำบาปแล้วโดยสิ้นเชิง และในใจมีความสงบอยู่เสมอ และกิเลสซึ่งเปรียบเหมือนไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางมาก ฉะนั้นแม้จะประสบสิ่งที่ไม่รัก สิ่งที่ไม่พอใจ ก็ไม่เกิดความทุกข์ถึงขนาดที่เรียกว่า ตกนรกหรืออยู่ในอบายภูมิ ฉะนั้นจะต้องแยกให้ออกระหว่างความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำบาปเกิดจากกิเลสเผา กับความทุกข์ที่ไม่ใช่เกิดจากบาป ไม่ใช่เกิดจากกิเลสเผา และขอให้สังเกตไว้ด้วยว่า คนจนแม้จะมีความทุกข์ยากลำบากสักเพียงไร ถ้าเป็นคนสุจริต มีใจเป็นกุศลอยู่เสมอ ความทุกข์ที่เขามีอยู่นั้นจะไม่นับว่าเป็นการตกนรก



    แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเข้าใจแต่เพียงแง่นี้เท่านั้น เพราะในบางครั้งแม้คนที่ประพฤติสุจริตอยู่เสมอไม่ค่อยทำบาป แต่ในเมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นเพราะกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าตกนรกได้เหมือนกัน ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า


    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน (เพราะถูกไฟเผา) สิ่งทั้งปวงที่ว่าเป็นของร้อนนี้คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย ตา ก็เป็นของร้อน รูปคือสิ่งที่เห็นด้วยตาก็เป็นของร้อน การเห็น (จักษุวิญญาณ) ก็เป็นของร้อน จักษุสัมผัสก็เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ซึ่งจะเป็นสุข หรือทุกข์ หรืออุเบกขา ก็เป็นของร้อน ฯลฯ



    ขอให้สังเกตว่า จากพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า การเห็น การได้ยิน การรู้สึกกลิ่น การรู้สึกรส การรู้สึกสัมผัสทางกาย ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ซึ่งแม้จะเป็นการพบเห็นสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ ก่อให้เกิดความสุขก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส


    ขอให้สังเกตคำบาลีด้วย ดังนี้


    กน อาทิตฺตํ ? อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา, อาทิตฺตํ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตนฺติ วทามิ.


    เรื่องนรกในความหมายของอาทิตตปริยายสูตรนี้ ขอให้สังเกตว่า คำว่า ตกนรก ตามความหมายของพระสูตรนี้หมายถึง ถูกไฟเผา ก็แปลว่า คนไหนถูกกิเลสเผา หรือถูกความทุกข์เผา ก็แปลว่า ตกนรกและคนที่จะพ้นจากนรกได้จริงๆ พ้นได้อย่างเด็ดขาดก็จะต้องเป็นพระโสดาบันนั้น ก็เพราะเหตุที่นรกในชาตินี้มีความหมายดังที่กล่าวมานี้ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า คนตกนรกมีมากเท่าฝุ่นในแผ่นดิน ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า


    ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตักฝุ่นขึ้นมาด้วยปลายเล็บ แล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า ฝุ่นในเล็บมือกับฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่ อันไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายได้ทูลตอบว่า ฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่มีมากกว่า ครั้นแล้วพระองค์ก็ตรัสต่อไปว่า ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่ไปนรกไปอบายก็มีมากเหมือนกับฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่ฉันนั้น ทั้งนี้ก็เพราะผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจมีน้อย



    ขอให้สังเกตว่า จากพระสูตรนี้ซึ่งมีอยู่ในสังยุตตนิกาย มหาวารวัคค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ หน้า ๕๗๘ ข้อ ๑๗๕๗ นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่ตกนรกในชาตินี้ทำไมจึงมากมายยิ่งนัก และคำว่าคนที่ไปนรก หรือ ไปอบาย มีความหมายอย่างไร ก็จะเข้าใจชัดด้วย และจะเข้าใจชัดอีกด้วยว่า เหตุไรพระโสดาบันจึงได้ชื่อว่า มีนรกอันสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบายทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว




    นรกมีหลายระดับ



    จากเรื่องนรกที่ได้กล่าวมาโดยสังเขปนี้ ขอให้สังเกตให้ดีว่า นรกที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงนั้นมีหลายระดับ เหมือนอย่างคนบางคนเพียงแค่จิบเหล้าเท่านั้นไม่ได้ดื่มจนกระทั่งเมามาย บางคนก็จะเห็นว่า แม้จะจิบเพียงขนาดนี้ก็ไม่ดี เช่นเป็นพระ แม้เพียงแค่จิบก็ไม่ได้ ถือเป็นความผิดร้ายแรง แต่ถ้าเป็นฆราวาสก็ไม่ถือว่าเป็นการเสียหาย และบางคนถึงแม้จะดื่มมาก ดื่มเกือบทุกวันแต่ไม่เมาถึงกับเสียสติ หรือก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท บางคนก็เห็นว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าดื่มมากและเมามากถึงกับขาดสติสัมปชัญญะและก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย ถ้าดื่มขนาดนี้คนส่วนมากก็จะเห็นว่าการดื่มเหล้าแบบนี้ไม่ดีแน่ แม้ในเรื่องศีลข้ออื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน การจะถือว่าการกระทำอย่างนี้หรือขนาดนี้ จะเป็นการทำความชั่วหรือเป็นบาปหรือไม่นั้น คนส่วนมากจะมีความเห็นไม่ตรงกัน ข้อนี้ฉันใด ในเรื่องนรกก็เช่นเดียวกัน คือ การกระทำอย่างไร จึงจะถือว่าเป็นเหตุให้ตกนรก หรือ ภาวะอย่างไรจึงจะเรียกว่า เป็นการตกนรกนั้น พระพุทธเจ้าตรัสก็ต่อเมื่อได้ทรงคำนึงถึงจิตใจของผู้ฟังว่าจะสามารถยอมรับได้ขนาดไหน จึงจะเห็นว่าอย่างนั้นเป็นนรก ทั้งที่ความจริงในขั้นสูงสุดมีว่า คนที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจ ก็แปลว่า ยังจะต้องตกนรกเสมอ ขอให้นึกถึงพุทธพจน์ที่ว่า


    “คนไปนรกไปอบายนั้นมีมากเท่ากับฝุ่นในแผ่นดิน”


    และอีกบทหนึ่งก็คือ


    ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ นรกที่มีความเร่าร้อนมาก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ที่ได้ประสบเข้าแล้วไม่เป็นที่พึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าชอบใจเลย สิ่งเหล่านี้แหละคือ
    นรกที่แผดเผาอย่างใหญ่หลวงทีเดียว”



    และอีกบทหนึ่งก็คือ


    “ยังมีอยู่อีกนะ ภิกษุทั้งหลาย นรกที่ร้อนแรงยิ่งกว่านี้น่ากลัวยิ่งกว่านี้ คือผู้ใดที่ไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริงซึ่งอริยสัจสี่ เขาย่อมจะยินดีในสังขารทั้งหลาย เมื่อยินดีในสังขารทั้งหลาย เขาก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิด เมื่อมีการเกิด ก็ย่อมจะต้องมีการแก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศกปริเทวนาการ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ เขาจะล่วงพ้นจากความทุกข์เหล่านี้ไปไม่ได้ นี่แล ภิกษุทั้งหลาย นรกที่ร้อนแรงยิ่งกว่า น่ากลัวยิ่งกว่าที่กล่าวมาแล้ว”



    จากพุทธพจน์ที่อ้างมานี้ แสดงให้เห็นถึง นรกในความหมายชั้นสูง ซึ่งเท่ากับว่า แม้จะเป็นเพียงแค่จิบเหล้าเท่านั้น ในเมื่อผู้จิบนั้นเป็นพระก็จะเห็นว่าเป็นความผิดร้ายแรง



    อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ การมีชีวิตคลุกคลีอยู่แต่กับเรื่องกาม ซึ่งเรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยโค นั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นสิ่งเลวทราม ต่ำช้า เป็นของชาวบ้านเป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่เป็นของคนอริยะ ไม่มีประโยชน์(หิโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต) ซึ่งข้อความอันนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นนักบวช และท่านเหล่านี้ก็เป็นผู้สละทางโลกแล้ว เห็นโทษของกามแล้ว ฉะนั้นจึงไม่มีปัญหา ท่านเหล่านี้ยอมรับได้ แต่สำหรับฆราวาสซึ่งยังละกามไม่ได้ และไม่คิดจะละด้วยนั้น พระพุทธเจ้าจะไม่ตรัสเช่นนี้เลย แต่จะตรัสอย่างอื่น เช่นตรัสว่า “สำหรับผู้ที่อยู่ครองเรือน ถ้าเป็นคนมี สัทธา และมีคุณธรรม ๔ ข้อนี้คือ สัจจะ ธัมมะ ธิติ และจาคะ ตายไปแล้วก็จะไม่เศร้าโศก” ซึ่งคำบาลีที่พระองค์ตรัสไว้นั้นก็คือ


    ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา สทฺธสฺส ฆรเมสิโน
    สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค เสฺว เปจฺจ น โสจติ
    อิงฺฆ อญฺเญปิ ปุจฺฉสฺสุ ปุถู สมณพฺราหมฺเณ
    ยทิ สจฺจา ธมฺมา จาคา ขนฺตยา ภิยฺโยธ วิชฺชติ.

    สํ.สคา. ๑๕/๒๕๙/๒๔๖ (มหาจุฬา ฯ)



    คำว่า น โสจติ ซึ่งแปลว่า ไม่เศร้าโศก นั้น หมายถึง ไม่ตกนรก เพราะมีคาถาซึ่งเป็นพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า



    อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
    โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน



    คนที่ทำบาปอยู่เสมอย่อมเศร้าโศกทั้งสองโลก คือ เมื่ออยู่ในโลกนี้ก็เศร้าโศก ละจากโลกนี้ไปแล้วก็เศร้าโศก เขาย่อมจะเศร้าโศกเดือดร้อนเสมอ เพราะเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน

    ธรรมบทภาค ๑ เรื่องจุนทสูริกะ


    ผู้ที่อยู่ครองเรือนถ้ามีฆราวาสธรรม ๔ อย่างตายไปแล้ว ก็จะไม่เศร้าโศก นั้น ถ้าพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อความที่ว่า “คนที่ทำบาปอยู่เสมอ เมื่ออยู่ในโลกนี้ก็เศร้าโศก ละจากโลกนี้ไปแล้วก็เศร้าโศก” ก็จะเห็นว่า “ผู้ครองเรือนที่มีฆราวาสธรรม ๔ อย่างนั้น แม้ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่เศร้าโศกไม่เดือดร้อนด้วย” ขอให้สังเกตให้ดีว่า ไม่เศร้าโศก นั้น ตามความหมายของพุทธพจน์ที่อ้างมานี้ ก็คือ ไม่ตกนรก นั่นเอง



    -->> เรื่องนรกมีหลายระดับนี้ ผู้ศึกษาจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะพระพุทธเจ้าตรัสกับคนหลายระดับ เพราะฉะนั้นความหมายของนรกจึงต้องมีหลายอย่าง ข้อสำคัญจะต้องรู้ถึงที่มาว่า เรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสกับใคร ทรงปรารภถึงใครและเพื่อผลอะไร ? ก็จะแปลความหมายได้ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ดี พุทธพจน์ที่ควรจะถือเป็นหลัก และควรจะต้องจำไว้ให้แม่นยำที่สุด ก็คือ



    อิธ ตปฺปติ เปจติ ตปฺปติ
    ปาปการี อุภยตฺภ ตปฺปติ ฯลฯ


    คนที่ทำบาปอยู่เสมอ ย่อมจะเร่าร้อนทั้งสองโลก คือเมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็เร่าร้อน ละจากโลกนี้ไปแล้วก็เร่าร้อน และเมื่อใดนึกขึ้นมาว่า เราได้ทำบาปไว้ก็เร่าร้อน และเมื่อตายไปสู่ทุคติแล้ว ก็จะยิ่งเร่าร้อนเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า




    ข้อมูลที่ใช้ในการเรียบเรียง หนังสือเรื่อง "สวรรค์" ของคุณ พร รัตนสุวรรณ <!--MsgFile=2-->

     
  2. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26
    ‘แล้วสวรรค์ที่เป็นภพภูมิมีจริงหรือไม่’<o></o>
    พระพุทธเจ้าเคยตรัสถึงนรกที่มีสภาพเป็นภพภูมิไว้บ้างหรือไม่ ?<o></o>
    <o>
    </o>​
    ตอบว่า มีครับ ละเอียดทีเดียว​
    ในพระสูตรที่ชื่อว่า ‘เทวทูตสูตร’
    ที่มาในพระไตรปิฎก (มจร.) เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๕๑๔-๕๒๔ หน้าที่ ๓๔๑-๓๔๖ นี้​
    เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง ‘นรกที่เป็นภพภูมิ’ ไว้อย่างชัดเจน
    มันชัดเสียจนไม่อาจไปด้นเดาตีขลุมเอาได้ว่า ‘สวรรค์แค่ในอกนรกแค่ในใจ’<o></o>
    เนื้อความตอนที่พระองค์กล่าวถึงนรกนั้นมีอยู่ว่า​
    --------------------------------------------------------​
    [๕๑๔] ตเมน ภิกฺขเว นิรยปาลา มหานิรเย ปกฺขิปนฺติ ฯ <o></o>
    นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก ​
    <o>
    </o>​
    *(ก่อนหน้านี้พระองค์ได้กล่าวถึงกรรมชั่วช้าที่พาสัตว์มาลงนรกก่อน ​
    แต่ในที่นี้ขอนำมาถึงตอนที่พระองค์อธิบายถึงสภาพนรกเลย ​
    เพื่อให้ตรงประเด็นเรื่องนรกที่เป็นภพภูมิ-lokemesa)*<o></o>​
    <o>
    </o>​
    โส โข ปน ภิกฺขเว มหานิรโย <o></o>
    จตุกฺกณฺโณ จตุทฺวาโร วิภตฺโต ภาคโส มิโต อโยปาการปริยนฺโต อยสา ปฏิกฺกุชฺชิโต ฯ<o></o>
    ตสฺส อโยมยา ภูมิ ชลิตา เตชสา ยุตฺตา สมนฺตา โยชนสต ผริตฺวา ติฏฺติ สพฺพทา ฯ <o></o>
    ก็มหานรกนั้น
    มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
    มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ!
     
  3. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26
    พระองค์ยังทรงตรัสขยายความต่อไปอีกว่า (ขอยกมาแต่ภาษาไทยนะครับ เพื่อง่ายแก่การอ่าน)
    <o>
    </o>​
    ภิกษุทั้งหลาย เปลวไฟแห่งมหานรกนั้น ​
    ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศตะวันออกจรดฝาด้านทิศตะวันตก ​
    ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศตะวันตกจรดฝาด้านทิศตะวันออก ​
    ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศเหนือจรดฝาด้านทิศใต้ ​
    ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศใต้จรดฝาด้านทิศเหนือ ​
    ลุกโพลงขึ้นจากเบื้องล่างจรดเบื้องบน ​
    ลุกโพลงขึ้นจากเบื้องบนจรดเบื้องล่าง ​
    เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในมหานรกนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    (๑) มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ​
    ประด้านทิศตะวันออกของมหานรกนั้นจะถูกเปิด ​
    เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็ว ​
    จึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลายก็มอดไหม้เป็นควัน ​
    อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้ว จะกลับคงรูปเดิมทันที ​
    ในขณะที่เขามาถึง ประตูนั้นจะถูกปิด ​
    เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในมหานรกนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    (๒) มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ​
    ประตูด้านทิศตะวันตกของมหานรกนั้นจะถูกเปิด... (ข้อความเต็มเหมือนข้อที่ ๑ ครับ)​
    <o>
    </o>​
    (๓) ประตูด้านทิศเหนือจะถูกเปิด... (ข้อความเต็มดูจากข้างบนครับ)​
    <o>
    </o>​
    (๔) ประตูด้านทิศใต้จะถูกเปิด... ​
    เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็ว ​
    จึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลายก็มอดไหม้เป็นควัน ​
    อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้ว จะกลับคงรูปเดิมทันที ​
    ในขณะที่เขามาถึง ประตูนั้นจะถูกปิด ​
    เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในมหานรกนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    (๕) มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ​
    ประด้านทิศตะวันออกของมหานรกนั้นจะถูกเปิด ​
    เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็ว ​
    จึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลายก็มอดไหม้เป็นควัน ​
    อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้ว จะกลับคงรูปเดิมทันที ​
    (แต่)เขาจะออกทางประตูนั้นได้.....​
    <o>
    </o>​
    มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่าที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสอธิบายมานั้นมันไม่ใช่แค่ ‘สวรรค์ในอก นรกในใจ’ แล้วละครับ
    เพราะสภาพที่ท่านบรรยายมานี้ มันเป็นนรกที่เป็นภพภูมิ เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง(ในภพสาม) ชัดๆ
     
  4. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26
    นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตรัสอธิบายถึงสภาพรอบๆ มหานรกด้วยนะครับ
    ที่เรียกว่า อุทสัททนรกแต่ละวงรอบเป็นลำดับๆถัดออกไป จะมีสภาพโหดร้ายอย่างไรลองมาศึกษาดูครับ
    เราจะเห็นได้เลยว่า สัตว์นรก หลังจากหนีออกจากประตูมหานรกได้แล้ว จะต้องเจอกับอะไรอีกบ้าง
    <o>
    </o>​
    ภิกษุทั้งหลาย​
    (๑) รอบๆ มหานรกนั้น มีคูถนรกขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงในคูถนรกนั้น ​
    ในคูถนรกนั้นแล สัตว์ปากเข็มทั้งหลายย่อมเจาะผิว เจาะผิวแล้วจึงเจาะหนัง ​
    เจาะหนังแล้วจึงเจาะเนื้อ เจาะเนื้อแล้วจึงเจาะเอ็น ​
    เจาะเอ็นแล้วจึงเจาะกระดูก เจาะกระดูกแล้วจึงกินเยื่อในกระดูก ​
    เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในมหานรกนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    (๒) รอบๆ คูถนรกนั้น มีกุกกุลนรก ขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงในกุกกุลนรกนั้น ​
    จึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในนรกนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    (๓) รอบๆ กุกกุลนรกนั้น มีป่างิ้วขนาดใหญ่
    สูง ๑ โยชน์ มีหนามยาว ๑๖ องคุลี ร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ ​
    นายนิรยบาลบังคับเขาขึ้นลงที่ป่างิ้วนั้น ​
    เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในป่างิ้วนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    (๔) รอบๆ ป่างิ้วนั้น มีป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบขนาดใหญ่อยู่ เขาเข้าไปในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น ​
    ใบไม้ที่มีใบเป็นดาบถูกลมพัดแล้วจะตัดมือเขาบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดมือและเท้าบ้าง ​
    ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดหูและจมูกบ้าง ​
    เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    (๕) รอบๆ ป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น มีแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงไปในแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น ​
    จึงลอยไปในแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง ตามกระแสและทวนกระแสบ้าง ​
    เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในนรกแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
     
  5. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26
    ความเผ็ดร้อนร้ายกาจในนรกยังไม่หมดแค่นั้นครับ
    คราวนี้นายนิรยบาล (ผู้คุมนักโทษในนรก) ออกโรง ‘โชะ โชะ’ เองเลย
    จะโหดเหี้ยมเกินคำมาบรรยาย และหะหยองสุดๆ อย่างไร ติดตามไปดูต่อครับ
    <o>
    </o>​
    ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลใช้เบ็ดเกี่ยวสัตว์นรกนั้น ขึ้นมาวางไว้บนบก ​
    แล้วถามเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’​
    <o>
    </o>​
    เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า’​
    <o>
    </o>​
    นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เกี่ยวปากให้อ้า ​
    แล้วใส่ก้อนโลหะอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก ​
    ก้อนโลหะนั้นจึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ปากบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้ท้องบ้าง ​
    พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้างของเขาออกมาทางทวารหนัก ​
    เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในนรกนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป​
    <o>
    </o>​
    นายนิรยบาลถามเขาว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’​
    <o>
    </o>​
    เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้ากระหาย เจ้าข้า’​
    <o>
    </o>​
    นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เกี่ยวปากให้อ้า ​
    แล้วกรอกน้ำทองแดงอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก ​
    น้ำทองแดงนั้นจึงลวกริมฝีปากบ้าง ลวกปากบ้าง ลวกคอบ้าง ลวกท้องบ้าง ​
    พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้างของเขาออกมาทางทวารหนัก ​
    เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในนรกนั้น ​
    แต่ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป ​
    นายนิรยบาลจึงโยนเขาเข้าไปในมหานรกอีก!!!​
    <o>
    </o>​
    สัตว์นรกคงเวียนวนทนทุกข์ทรมานอย่างนี้ซ้ำๆ ซากๆ จนนับรอบไม่ถ้วนละครับ​
    <o>
    </o>​
    มาดูฝ่าย พญายมราช บ้างครับ ท่านเห็นสภาพอย่างนี้อยู่เป็นประจำ จึงเกิดความสลดสังเวช
    เบื่อหน่ายในการเห็นสัตว์นรกถูกทำทัณฑ์ทรมานยิ่งนัก
    ท่านถึงกับรำพึงว่าอยากมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง
    เพื่อได้พบพระพุทธเจ้า ฟังธรรม บรรลุธรรม กันเลยทีเดียวครับ
    <o>
    </o>​
    ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้คิดว่า ​
    ‘ได้ยินว่า ชนเหล่าใดทำบาปอกุศลกรรมไว้ในโลก ​
    ชนเหล่านั้นจึงถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่างๆ อย่างนี้​
    โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ ​
    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงอุบัติในโลก ​
    เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ พระองค์พึงแสดงธรรมแก่เรา และเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์’​
    <o>
    </o>​
    ภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังความนั้นจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่
    แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น”
     
  6. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26
    นี่ ลงท้ายด้วยคำตรัสยืนยันเรื่องนี้ที่ทรงนำมาตรัสเล่าให้พวกเราฟังว่า
    พระองค์ไม่ได้ฟังมาจากใครทั้งนั้น
    แต่พระองค์ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบด้วยข่ายพระญาณของพระองค์เอง
    <o>
    </o>
    พระสูตรนี้นี่ล่ะ จะเป็นเครื่องยืนยันถึง ‘สภาพนรกที่เป็นภพภูมิ’
    เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ใช้ลงโทษทำทัณฑ์ทรมานสัตว์นรก
    ซึ่งก็คือผู้ที่ได้เคยทำบาป ทำชั่วไว้ในครั้งที่เขายังมีชีวิตอยู่
    ซึ่งหากไม่เลิก แล้วรีบทำแต่บุญทำแต่ความดีเสียบัดนี้ เขาได้ไป เจ๊อะด้วยตัวเอง ตอนตายแน่
    ถึงตอนนั้นแม้จะร้องร่ำว่า ‘โอ๊ย เชื่อแล้ว นรกมีจริง สวรรค์มีจริง’ ก็สายเสียแล้วละครับ
    <o>
    </o>
    จากข้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมานี้ เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า
    ในมหานรกนั้น มีสภาพเป็นภพภูมิที่เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีอยู่จริงในภพสามนี้
    ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายไว้แล้วอย่างชัดเจนเสียจนไม่อาจตีความเอาแต่เพียงว่า
    ‘สวรรค์แค่ในอก นรกแค่ในใจ’ ได้ล่ะครับ
    <o>
    </o>
    ดังนั้นนรกที่เป็นภพภูมิสำหรับทำทัณฑ์ทรมานวิญญาณบาปหลังความตายนั้น มีอยู่จริงในภพสามนี้เอง
     
  7. lokemesa

    lokemesa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +26
    คนเป็นอันมากมัก เห็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องยาก มีนัยยะซับซ้อนซ่อนเงื่อน ต้องตีความกันใหญ่โต ซึ่งบางครั้งก็เป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดกันไป ก็มีไม่น้อย ซึ่งในเรื่องนี้พระองค์ก็คงรู้อยู่แล้ว
    พระองค์จึงทรงตรัสยืนยันไว้แล้วว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย เราลองมาศึกษาจากคำตรัสเหล่านี้ดูครับ
    <o>
    </o>​
    [๒๘๘] เอว สฺวากฺขาโต ภิกฺขเว มยา ธมฺโม อุตฺตาโน วิวโฏ ปกาสิโต ฉินฺนปิโลติโก<o></o>
    ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว
    <o>
    </o>​
    อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ ข้อที่ ๒๘๘ หน้าที่ ๒๘๐.​
    -----------------------------------------​
    <o>
    </o>​
    หรือคำยืนยันจากผู้ที่ได้ฟังธรรมมาจากพระองค์โดยตรง ก็กล่าวเหมือนกัน (มีอยู่มากแห่งในพระไตรปิฎก)ว่า
    <o>
    </o>​
    เสยฺยถาปิ ภนฺเต นิกฺกุชฺชิต วา อุกฺกุชฺเชยฺย ปฏิจฺฉนฺน วา วิวเรยฺย มูฬฺหสฺส วา มคฺค อาจิกฺเขยฺย <o></o>
    อนฺธกาเร วา เตลปฺปชฺโชต ธาเรยฺย จกฺขุมนฺโต รูปานิ ทกฺขนฺตีติ ฯ <o></o>
    เอวเมว ภควตา อเนกปริยาเยน ธมฺโม ปกาสิโต ฯ <o></o>
    พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ
    เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง
    หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนตาดีจักเห็นรูปได้’
    <o>
    </o>​
    อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๕๙๒ หน้าที่ ๓๘๐.​
    <o>
    </o>​
    ------------------------------------------------------​
    และถ้อยคำคือพระธรรมคำสั่งสอนเหล่านี้นั้น พระองค์ทรงตรัสยืนยันไว้อย่างยิ่งว่า
    <o>
    </o>​
    ยฺจ ภิกฺขเว รตฺตึ ตถาคโต อนุตฺตร สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุชฺฌติ <o></o>
    ยฺจ รตฺตึ อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายติ <o></o>
    ยเมตสฺมึ อนฺตเร ภาสติ ลภติ นิทฺทิสติ สพฺพนฺต ตเถว โหติ โน อฺถา <o></o>
    ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ฯ<o></o>
    ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด
    และปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด
    ในระหว่างนี้ ย่อมภาษิต กล่าว แสดงออกซึ่งคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น
    ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
     

แชร์หน้านี้

Loading...