นรก-สวรรค์ แต่ละขณะจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 12 มีนาคม 2013.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    นรก-สวรรค์ แต่ละขณะจิต
    "ตามหลักวิชาการ คือ การที่เราปรุงแต่งสร้างนรก-สวรรค์ของเราเองตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน.. คือปรุงแต่งด้วยกิเลส มีความดี -ความชั่ว มีกุศล - อกุศลในจิตของเราเอง"
    "หากว่าจิตใจของเรามีภูมิธรรมดี สร้างกุศลไว้มาก ทำจิตใจให้อิ่มเอิบเป็นสุข พยายามมองในแง่ดี ก็รับอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ได้มาก"


    "ปัจจุบันที่เป็นอยู่ กลายเป็นเรื่องที่เราควรจะเอาใจใส่มากกว่า เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเราได้รับผลอยู่ตลอดเวลา... ฉะนั้น ท่านจึงให้เอาใจใส่นรก-สวรรค์ที่มีอยู่ตลอดเวลาที่เราปรุงแต่งอยู่เรื่อยๆ สอนให้เรายกระดับจิตขึ้นไป... "
    "การมีปัญญารู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ทำให้เราเข้าใจโลกและชีวิตดี ทำให้วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง ในกรณีอย่างนี้ท่านว่า มันพ้นเลย จากเรื่องนรก-สวรรค์ไปแล้ว คือมีจิตใจปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดเวลา มีความสบายทันตาในปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงข้างหน้า"


    ในพระไตรปิฎก (มหาปริฬาหนรก) บอกว่า ...นรก-สวรรค์ที่ว่านั้นไม่สำคัญเท่านรก-สวรรค์ที่เราได้รับอยู่ในปัจจุบัน ที่เราปรุงแต่งด้วยอายตนะทั้ง ๖ โดยพื้นจิตของเราสร้างขึ้นมา"
    "แก่นแท้ของ นรก-สวรรค์ อยู่ที่ระดับที่ ๓ นี้ ... อย่าลืมว่า!!!

    การสร้างนรก-สวรรค์ใหญ่ๆ มันก็มาจากสร้างเล็กๆ น้อยๆ นี้เอง.. สร้างจิตใจของเราให้ดี ทำอารมณ์ให้ดี ค่อยเป็นค่อยไป"


    ท่าทีของพุทธศาสนาต่อเรื่อง นรก-สวรรค์
    "...การวางท่าทีเป็นหัวข้อที่อาตมาบอกแล้วว่าสำคัญ การวางท่าทีสำคัญกว่าความมีจริงหรือไม่ ... แต่มันจะไปเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับนรก-สวรรค์ระดับที่ ๓"
    "ท่าที" ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ :-

    ท่าทีที่ ๑ ต้องมีศรัทธา
    พุทธศาสนานั้น บอกว่าให้เชื่ออย่างมีเหตุผล สำหรับสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ ในเมื่อจะต้องเอาทาง "ศรัทธา" ก็ให้ได้หลักก่อน....
    ศรัทธา คือ การไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น หรือพูดในแง่หนึ่งคือ เราฝากปัญญาไว้กับคนอื่น
    การที่จะวางใจปัญญาของผู้อื่นได้ต้องพิจารณาในขั้นแรกที่ "ตัวปัญญา" นั้น เราคิดว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสมานั้น เท่าที่เรามองเห็น ก็เป็นความจริง เราจึงเห็นว่าพระองค์มีปัญญาพอที่เราจะฝากปัญญาของเราไว้กับท่านได้ เราจึงเกิดศรัทธาขึ้นเป็นขั้นแรก
    ขั้นที่สอง คือ "ความปรารถนาดี" พระพุทธเจ้ามีความปรารถนาดี มีเมตตากรุณา สอนเราด้วยใจบริสุทธิ์
    พระองค์สอนเรื่อง นรก-สวรรค์ว่าชาติหน้ามีจริงหรือเปล่า ถ้าเรามีศรัทธา เราก็น้อมไปทางเชื่อ เรื่องก็เป็นอย่างนั้น...

    ท่าทีที่ ๒ ถือตามเหตุผล
    เป็นท่าทีที่ "ยังไม่มีศรัทธา" พระพุทธเจ้าได้ตรัสกาลามสูตร และได้ยกตัวอย่างซึ่งมาเข้าเรื่องนรก-สวรรค์ กรรมดี-กรรมชั่ว ทรงสอนให้พิจารณาในปัจจุบันนี้ว่าสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นกุศล ทำแล้วมันเกื้อกูลแก่ชีวิตของตนเองในปัจจุบันไหม มันดีแก่ตัวเราไหม ดีต่อผู้อื่นไหม ทำแล้วถ้านรก-สวรรค์มีจริง เราก็ไม่ต้องไปตกนรก ได้ไปสวรรค์
    สรุปในแง่นี้ได้ว่า ถึงแม้ไม่ต้องใช้ศรัทธา เอาตามเหตุผล ก็ควรทำกรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว นี้เป็นแนวทางกาลามสูตร

    ท่าทีที่ ๓ มั่นใจตน -ไม่อ้อนวอน
    ในทางพุทธศาสนา คนทำดี ไม่ต้องอ้อนวอนขอไปสวรรค์ เพราะมันเป็นไปตามกฎธรรมดา เพียงแต่รู้ไว้ และมั่นใจเท่านั้น พุทธศาสนิกชนเรามีความรู้ไว้สำหรับให้เกิดความมั่นใจตนเอง

    ท่าทีที่ ๔ ไม่หวังผลตอบแทน
    พุทธศาสนาสอนต่อไปอีกระดับหนึ่งว่า ุถ้าเรายังทำดีเพราะหวังผลอยู่ก็เรียกว่าเป็นโลกียปุถุชน คนของพุทธศาสนาที่แท้จริง ต้องเป็นคนทำความดีโดยไม่ต้องห่วงผล
    เมื่อเราทำจิตของเราให้ประณีตขึ้น พอมันละเอียดอ่อนขึ้น สิ่งที่กระทำไว้แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย มันก็ปรากฎผลได้ง่าย...

    http://www.reocities.com/sakyaputto/article1.htm
     
  2. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  3. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    หากบุคคลที่ยังไม่ประกอบด้วยธรรมคือโสตาปัตติยังคะ4ประการ คติที่เค้าจะท่องเทียวไปอีก เปรียบเหมือนบุคคลที่ซัดท่อนไม้ขึ้นบนอากาศ บางครั้งก็เอาโคนลงบ้าง เอากลางลงบ้าง เอาปลายลงบ้าง ไม่มีความเเน่นอนของภพที่จะไป เเต่ถ้าเค้าได้ความเป็นอริยะ ตั้งเเต่โสดาบันขึ้น. พระองค์เปรียบว่ามหาภูตรูปสี่มันยังคงแปรปรวนเป็นอย่างอื่น. เเต่บุคคลที่ประกอบพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นอริยะ ยังมีการปรวนแปรเสียเป็นอย่างอื่น จนเข้าถึงเปรตวิสัย นรก กำเนิดเดรฉาน ดังนี้นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้เลย คุณสมบัติอย่างต่ำย่อมท่องเทียว7ครั้งเป็นอย่างมาก.
    ทีนี้ถ้าบุคคลไม่รู้เเถมไม่เห็นเเละไม่สดับ ถ้าเกิดยังไม่ได้ชื่อว่าอริยะ เเต่ไม่ควบคุมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย(ผู้ไม่คุมครองทวารในอินทรีย์นี้คือความประมาท). เพลินกับนิมิตภายนอก ตริตรึกอยู่กับกาม เเละไหลตามธรรมอันลามกคืออภิชฌาเเละโทมนัส ที่มักจะตามผู้ที่กำหนัดในการถือโดยนิมิตเเละเเยกออกเป็นส่วนๆ ดังนี้ พระองค์ตรัสว่า ถ้าบุคคลตายในขณะนั้น คติที่เขาพึงไปมี2ที่เเน่นอนคือ นรก หรือ กำเนิดเดรฉาน
    จะเทียบเคียงพระสูตรให้ว่า. อภิชฌา มันก็คือ1ในอกุศลกรรมบท10 คือความไม่สะอาดทางใจ หรือ ทุจริต3 ซึ่งเกิดมาจากไม่สังวรอินทรีย์ ไม่มีสติสัมปชัญญะ อโยนิโส ไม่ฟังธรรม ไม่คบสัตบุรุษ
    ฉนั่นบุคคลที่ประกอบด้วยทุจริต. นรกปรากฏ เปรตวิสัยปรากฏ เหมือนบุคคลที่ถูกนำตัวไปเก็บไวในนรกอยู่เเล้ว
     
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    อีกประการ. บุคคลผู้ประพฤติธรรม มีความสะอาดทาง กาย3. วาจา4 มโน3
    เพราะมีการกระทำกุศลกรรมบท10เเบบนี้. พวกเทพปรากฏ พวกมนุษย์ปรากฏ สุขคติใดๆย่อมปรากฏ เปรียบเหมือนบุคคลถูกเก็บตัวไว้ในสวรรค์

    โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้ปฏิบัติ
    สติสัมปชัญญะเป็นเหตุให้อินทรีย์สังวรบริบูรณ์
    อินทรีย์สังวรเป็นเหตุให้สุจริต3บริบูรณ์
    สุจริต3บริบูรณ์ เป็นเหตุให้สติปฏิฐาน4บริบูรณ์
    ฯฯฯ
     
  5. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอาชัยชนะประการเเรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะที่นักเลงการพนันบรรลุโภคสมบัติมากมายแลเพียงเล็กน้อย ทีเเท้เเล
    การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้นคือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั่น ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตแล้วตายไป เข้าถึงสุขคติโลกสวรรนั่นเอง
    ภิกษุทั่งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์

    อย่าคิดในเเง่ร้าย หรือในมุมมองเล็กๆ ว่าสอนให้ยึดติดกับภพ หรือไม่ ถ้าเกิดผู้ที่ประกอบทุจริต ภายหลังเเต่การตายเพราะการเเตกทำลายเเห่งกาย ส่วนมากสัตว์นั้นย่อมไปสู่นรก กำเนิดเดรฉาน เมื่ออยู่ที่นั้น การที่จะได้กลับมานั้นความยากอุปมาว่าน้อยเท่าเศษดินที่ช้อนขึ้นปลายเล็บเทียบกับมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ เพื่อที่จะมีโอกาสกลับมาทำกุศลใหม่ เหมือนเต๋าตาบอดนั้นเอง เพราะเมื่ออยู่ในอรรถภาพเดรฉาน ความคิดมันมีเเต่อกุศลธรรม สัตว์ใหญ่เคี้ยวกินสัตว์เล็ก มันจะหมกมุ่นอยู่เเต่อกุศล ยากที่จิตจะมีกุศลเเล้วตายขณะนั่น กลับมาเป็นมนุษย์ใหม่
    ฉนั้นมิใช่ ขณะ มิใช่โอกาสที่จะประพฤติพรหมจรรย์ ในตอนนั่น ถึงเเม้พระอรหัตสัมมาสัมพุทธะจะอุบัติมาก็ตาม ก็ไม่สามารถรู้ถึงบทธรรมได้
    การจองจำที่ไหนก็ไม่เท่าการที่สัตว์ได้ไปนรก เเละมันยากที่จะได้กลับมานั้นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...