นมัสการ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย guawn, 13 มิถุนายน 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>นมัสการ
     
  2. Reliquiae

    Reliquiae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,184
    ค่าพลัง:
    +2,639
    พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนทโร, หลวงปู่เมตตาหลวง)
    วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา


    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนฺทโร) หรือที่รู้กันทั่วไปในนาม หลวงปู่เมตตาหลวง ท่านมีนามเดิมว่า สิงห์ เนียมอ้ม เกิดวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2452 ปีระกา หมู่บ้านตำบลสะอาด หมู่ 3 อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น โยมบิดาชื่อ หา โยมมารดาชื่อ ปาน มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน โดยหลวงปู่เป็นคนที่ 2[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หลวงปู่ได้บวชเป็นเณรเมื่ออายุได้ 11 ขวบ ซึ่งเป็นการบวชหน้าไฟอุทิศให้แก่คุณตาที่ถึงแก่กรรม แต่อย่างไรก็ดี การบรรพชาในครั้งนี้ท่านตั้งใจบวชเพื่ออุทิศบุญกุศลและถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ณ วัดบ้านหนองอ้อใหญ่ ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นการบวชฝ่ายมหานิกาย หลังจากบรรพชาได้ 2 ปี พระอุปัชฌาย์ของท่านได้เห็นความตั้งใจจริง และมองการณ์ไกลต่อไปในอนาคต จึงได้บวชให้ใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุติ ต่อมาจึงให้หลวงปู่ไปศึกษาหนังสือที่วัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งในช่วงนี้ ท่านได้ติดตามพระภิกษุรูปหนึ่ง ไปยังวัดอุ่มเม่า จ.กาฬสินธุ์ แล้วจึงกลับมายังวัดศรีจันทร์อีกครั้ง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ในปี พ.ศ.2472 หลวงปู่จึงได้อุปสมบทที่วัดศรีจันทร์ โดยมี พระครูพิเศษสุตคุณ (ต่อมาเป็น พระครูพิศาลเจริญเขต (จันทร์ เขมิโย)) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สุนฺทโร ด้วยความที่ท่านมีนิสัยขยันหมั่นเพียร อ่านท่องหนังสือ จึงทำให้มีผู้สนใจ รบเร้าให้พระอุปัชฌาย์พาท่านเพื่อมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้รับความยินยอมตามประสงค์ พระอุปัชฌาย์ท่านจึงได้พาตัวหลวงปู่ไปถวายกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโต) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสฯ ในขณะนั้น ซึ่งท่านก็ได้เรียนนักธรรมที่กรุงเทพฯ และสอบมาเรื่องๆ จนกระทั่งได้เปริญธรรม 6 ประโยค ในปี พ.ศ.2481 ซึ่งท่านมีอายุได้ 29 ปี จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]เมื่อหลวงปู่กลับไปถึง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ท่านได้รับตำแหน่งหน้าที่เป็นพระสังฆาธิการเจ้าคณะอำเภอ ซึ่งในขณะนั้น ท่านก็ได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา นำมาสอนแก่กุลบุตรผู้สนใจ และได้ตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดเสี้ยวโคกลาง อ.น้ำพอง จ ขอนแก่น ซึ่งในช่วงเวลานี้ หาว่างเว้นจากการสอนท่านก็จะหามุมเงียบสงบ เจริญปฏิบัติภาวนาในป่าเขาเช่นกัน ต่อมาหลวงปู่ก็ได้พบกับหลวงปู่คำดี ปภาโส ซึ่งหลวงปู่คำดี ได้แนะวิธีเจริญปฏิบัติภาวนาให้ ท่านจึงเคารพหลวงปู่คำดีเป็นอย่างยิ่ง ครั้งต่อมาหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ธุดงค์หาความวิเวกผ่าน จ.เลย หลวงปู่จึงได้เดินทางธุดงค์ไปพร้อมหลวงปู่ขาว ซึ่งหลวงปู่ขาวได้สอนหลวงปู่ให้สวดมนต์คาถาเมตตาหลวง ซึ่งท่านก็ได้นำมาเผยแพร่ให้ลูกศิษย์ จนกระทั่งผู้คนให้สมญานามท่านว่า หลวงปู่เมตตาหลวง เมื่อท่านอยู่ศึกษากับหลวงปู่ขาวได้เวลาสมควร จึงย้อนกลับมาปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่คำดีเช่นเดิม[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หลังจากนั้นหลวงปู่ยังได้พบกับครูบาอาจารย์อีกหลายรูปหลายองค์ และต่อมาได้ติดตามสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) มาจำพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ซึ่งสมเด็จฯท่านเห็นความเหมาะสมของหลวงปู่ จึงได้แต่งตั้งท่านเป็นพระธรรมฑูต ไปแสดงพระธรรมเทศนาตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา 4 ปี จึงลาออกจากตำแหน่ง [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ในช่วงที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ หลวงปู่ได้มาศึกษาอยู่กับพ่อท่านลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการด้วย ซึ่งภายหลัง ท่านจึงติดตามพ่อท่านลีออกธุดงค์เดินทางไปภาคอิสาน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ จนกระทั่งมาถึงดงพญาเย็น ท่านได้พักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นเชิงเขาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "เขาสีเสียดอ้า" ซึ่งพ่อท่านลี มีดำริสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นองค์หนึ่งบนภูเขา จนกระทั่งมีคณะศรัทธามาสร้างพระพุทธรูปและวัดเทพพิทักษ์ปุณณารามขึ้น แต่พระพุทธรูปไม่ทันจะสร้างเสร็จพ่อท่านลีก็มรณภาพลงเสียก่อน คณะศรัทธาจึงนิมนต์หลวงปู่เมตตาหลวงขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งหลวงปู่ก็ได้จำพรรษาที่นี่ และอบรมสั่งสอนประชาชนอยู่จนกระทั่งมรณภาพ [/FONT]

    แหล่งข้อมูล : http://www.relicsofbuddha.com/marahun/page8-2-24.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 24.jpg
      24.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.2 KB
      เปิดดู:
      71
  3. Reliquiae

    Reliquiae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,184
    ค่าพลัง:
    +2,639
    พระคาถาเมตตาหลวง โดย หลวงปู่เมตตาหลวง

    ประวัติความเป็นมา

    พระคาถาบทนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะใช้ภาวนาเจริญเมตตา ไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ ให้หมู่มนุษย์และเทวดาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน พระคาถาบทนี้ หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ได้รับถ่ายทอดไว้ และได้มอบให้กับพระญาณสิทธาจารย์หรือหลวงปู่เมตตาหลวง(สิงห์ สุนทโร) แห่งวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อใช้เป็นบทเจริญเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั่วทุกทิศานุทิศ พระคาถาเมตตาหลวงนี้เป็นการเจริญกรรมฐานที่มีอานิสงส์ ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงระดับ อัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา จิตสามารถตั้งมั่นในระดับฌาณ 3 ส่วน อุเบกขา จิตสามารถตั้งมั่นในฌาณ 4 ในหมวดกรรมฐาน 40 กอง บทนี้เรียกว่า พรหมวิหาร 4 หรือ อัปปมัญญา 4
    พระคาถานี้ศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต ใช้แสดงโปรดเทวดา
    พระคาถานี้ไม่มีศิษย์รูปใดของหลวงปู่มั่น จดจำได้นอกจาก
    หลวงปู่ขาว อนาลโย เพียงรูปเดียวที่สามารถจดจำได้ และต่อมาได้ถ่ายทอดให้พระญาณสิทธาจารย์หรือ หลวงปู่เมตตาหลวง

    อนึ่ง การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงอานิสงส์ไว้ว่า เอกาทสานิสังสาฯ ปฏิกังขา พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการคือ
    - ย่อมฝันเป็นสุข
    - ย่อมตื่นเป็นสุข
    - ย่อมไม่ฝันลามก
    - ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย อ้างถึงหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ได้กล่าวไว้ในหนังสือกฏแห่งกรรมว่า เทวดามาชวนแม่ชีทองก้อนสวดมนต์ โดยสวดพระคาถาเมตตาใหญ่
    - ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
    - เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา
    - ไฟ ยาพิษ ศาสตรา ย่อมไม่อาจกล้ำกลายได้
    - จิตย่อมตั้งมั่นเร็ว
    - สีหน้าย่อมผ่องใส อ้างถึงเหตุการณ์ตอนที่องค์ท่านมรณภาพ
    เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังได้เรียกให้ท่านเจ้าอาวาสมาดูส่วนที่ยังไม่ไหม้ไฟของหลวงปู่พบว่าส่วนนั้นยังคงอยู่สภาพเดิมและไม่แห้ง และตลอดเวลาที่เผามีน้ำไหลออกจากศพของท่านตลอดเวลาจึงเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง
    - เป็นผู้ไม่หลงใหลในการทำกาละ
    - เมื่อไม่แทงตลอดพระคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
    พระพุทธพจน์สรรเสริญการเจริญเมตตา

    - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญญกริยาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งมีอุปธิกิเลสเป็นเหตุ บุญญกริยาวัตถุนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งเมตตาเจโตวิมุติ

    - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดให้ทานประมาณ 100 หม้อ ใหญ่ในเวลาเช้า ผู้ใดให้ทานประมาณ100ในเวลากลางวัน ผู้ใดให้ทานประมาณ 100 หม้อใหญ่ในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดแห่งน้ำนมแห่งแม่โค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าการให้ทานที่บุคคลให้แล้ว 3 ครั้งในวันๆหนึ่ง เพราะเหตุดังนี้เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุติกระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นประดุจที่ตั้งอาศัยให้มั่นคง สั่งสมปรารภด้วยดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

    ประวัติของหลวงปู่เมตตาหลวงโดยย่อ
    ท่านมีนามเดิมว่าสิงห์ เนียมอ้น เกิดวันที่29 ตุลาคม 2452 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ16ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูพิศาลอรัญเขต( จันทร์ เขมิโย)เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ขาวเล็งเห็นถึงปฏิภาณของหลวงปู่สิงห์ จึงถ่ายทอดพระคาถาบทนี้ให้ โดยเป็นบทที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตแสดงโปรดเทวดา

    พระคาถาเมตตาหลวง

    วิธีการสวดให้ไหว้พระ อรหํ สัมมาสัมพุทโธ นโม 3 จบ พุทธังเป็นคำเริ่มต้น ก่อนสวดให้ขึ้นบทแผ่เมตตาตน
    อหัง สุขิโต โหมิ นิททุกโขโหมิ อเวโรโหมิ อัพพะยาปัชโฌ โหมิ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิฯ

    คำแผ่เมตตาย่อ
    1.สัพเพสัตตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    2.สัพเพปาณา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    3.สัพเพภูตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    4.สัพเพปุคคะลา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    5. สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    6.สัพพาอิตถิโย อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    7.สัพเพปุริสา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    8.สัพเพอะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    9.สัพเพอะนะริยา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    10.สัพเพเทวา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    11.สัพเพมนุสสา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ
    12.สัพเพวินิปาติกา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ

    คำแผ่กรุณาย่อ

    1. สัพเพสัตตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    2. สัพเพปาณา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    3. สัพเพภูตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    4. สัพเพปุคคะลา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    5. สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    6. สัพพาอิตถิโย สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    7. สัพเพปุริสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    8. สัพเพอะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    9. สัพเพอะนะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    10. สัพเพเทวา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    11. สัพเพมนุสสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    12. สัพเพวินิปาติกา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

    คำแผ่มุทิตาย่อ

    1. สัพเพสัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    2. สัพเพปาณา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    3. สัพเพภูตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    4. สัพเพปุคคะลา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    5. สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    6. สัพพาอิตถิโย ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    7. สัพเพปุริสา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    8. สัพเพอะริยา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    9. สัพเพอะนะริยา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    10. สัพเพเทวา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    11. สัพเพมนุสสา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    12. สัพเพวินิปาติกา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

    คำแผ่อุเบกขาย่อ

    1.สัพเพสัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    2. สัพเพปาณา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    3. สัพเพภูตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    4. สัพเพปุคคะลา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    5. สัพเพอัตตะภาวะปะริยาปันนา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    6.สัพพาอิตถิโย กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    7.สัพเพปุริสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    8.สัพเพอะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    9. สัพเพอะนะริยา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    10. สัพเพเทวา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    11. สัพเพมนุสสา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    12. สัพเพวินิปาติกา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 24-1.jpg
      24-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.1 KB
      เปิดดู:
      81
    • 24-2.jpg
      24-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.6 KB
      เปิดดู:
      68

แชร์หน้านี้

Loading...