เรื่องเด่น ธารน้ำแข็งมรดกโลกหลายแห่งอาจละลายหายไปในปี 2050 ส่งผลกระทบถึงไทยด้วย

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 4 พฤศจิกายน 2022.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ธารน้ำแข็งมรดกโลกหลายแห่งอาจละลายหายไปในปี 2050 ส่งผลกระทบถึงไทยด้วย

    chicministry-glaciers-S2.jpg

    ยูเนสโก (UNESCO) ระบุ ธารน้ำแข็งที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของโลก จะ "ละลายหายไป" ภายในปี 2050 เนื่องจากภาวะโลกร้อน และนั่นหมายความว่ามีโอกาสที่น้ำทะเลปานกลางจะเพิ่มสูงขึ้น และมันจะส่งผลกระทบต่อทั่วโลก
    ยูเนสโก (UNESCO) ระบุ ธารน้ำแข็งที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของโลก จะ "ละลายหายไป" ภายในปี 2050 เนื่องจากภาวะโลกร้อน และนั่นหมายความว่ามีโอกาสที่น้ำทะเลปานกลางจะเพิ่มสูงขึ้น และมันจะส่งผลกระทบต่อทั่วโลก รวมถึงไทยอย่างแน่นอน เพราะนั่นมันหมายถึง โอกาสน้ำท่วม บริเวณติดน้ำ ที่จะมีมากขึ้นด้วย รวมถึงผลกระทบอื่นๆ อาทิ ปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ และปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

    ยูเนสโก (UNESCO) ระบุว่า ธารน้ำแข็งโดโลไมต์สในอิตาลี ธารน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติโยเซมิตีและอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนในสหรัฐฯ รวมถึงธารน้ำแข็งบนยอดเขาคิลิมันจาโรในแทนซาเนีย จะ "ละลายหายไป" ภายในปี 2050 , ธารน้ำแข็งในแหล่งมรดกโลกจะหายไป 1 ใน 3 ภายในปี 2050 และหายเพิ่มอีกถึงครึ่งหนึ่งภายในปี 2100 เนื่องจากภาวะโลกร้อน และอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ

    [​IMG]

    ปัจจุบัน ธารน้ำแข็งจำนวน 18,600 แห่งที่ยูเนสโก UNESCO หรือ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ดูแลอยู่ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 10% ของธารน้ำแข็งทั้งหมดทั่วโลก

    ขณะนี้ธารน้ำแข็งที่อยู่ในแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ละลายสูญเสียน้ำแข็งไปเฉลี่ย 58,000 ล้านตันในทุก ๆ ปี ซึ่งมีส่วนสร้างปัญหาระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 5% ทั่วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ และทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดพายุไซโคลน พายุต่าง ๆ รวมไปถึงคลื่นยักษ์ สึนามิด้วย

    อย่างไรก็ตาม ยังพอมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ในประเด็นนี้อยู่บ้าง เมื่อ ยูเนสโก ระบุว่า “แต่ยังเป็นไปได้ที่พวกเราจะปกป้องธารน้ำแข็งที่เหลืออยู่อีก 2 ใน 3 โดยมีเงื่อนไข หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม”

    โดยวิธีที่จะรักษาธารน้ำแข็งทั่วโลกไม่ให้ละลายหายไป คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่สร้างปัญหาโลกร้อนให้ได้มากที่สุด ให้ได้

    [​IMG]

    • คำถามสำคัญคือ ธารน้ำแข็งละลาย ส่งผลกระทบอย่างไรต่อคนไทย ?

    เรื่องนี้ จะบอกว่า ไม่เกี่ยวข้องเลยคงไม่ได้ เพราะ เมื่อธารน้ำแข็งละลาย น้ำมันจะไปเพิ่มระดับน้ำทะเลปานกลางทั่วโลก และจากรายงาน climatecentra เมื่อปี 2019 ระบุว่า มีผู้คนกว่าร้อยล้านคนจะเผชิญความเสี่ยงจากน้ำท่วมพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง จากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในศตวรรษนี้ ในจำนวนนี้รวมถึงประชากร 12 ล้านคนในประเทศไทย เลยทีเดียว

    ส่วน กรุงเทพน้ำท่วม ปัญหานี้คงจะวนเวียนกลับมา และเป็นปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะแค่จากปริมาณน้ำปัจจุบัน กรุงเทพก็เสี่ยงจะจมบาดาลอยู่แล้ว เพราะความหนาแน่นสูงของพื้นที่พักอาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ใจกลางเมือง หากเกิดอุทกภัยอุบัติซ้ำ อาจมีผลให้ภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) พื้นที่กว่า 96% ของกรุงเทพฯ น้ำท่วม จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในปริมาณมาก และความเข้มข้นรุนแรงของพายุที่มากขึ้น

    ดังนั้น เมื่อธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น ยิ่งเป็นตัวเร่งเวลา ให้กรุงเทพเสี่ยงน้ำท่วมมากขึ้น ประเทศไทยในส่วนที่มีพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง ก็จะมีโอกาสถูกกัดเซาะมากขึ้น

    pexels-anouk-doe-10095697.jpg

    ที่มา
    https://www.bbc.com/news/science-environment-56837908
    https://www.climatecentral.org/press-release-flooded-future
    https://www.bangkokbiznews.com/social/962609
    และ
    https://www.springnews.co.th/keep-the-world/831852
     

แชร์หน้านี้

Loading...