ธรรม - นิพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย cs25944, 1 สิงหาคม 2012.

  1. cs25944

    cs25944 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +4
    การใช้ตาดู การมอง
    การใช้จิตพิจารณา
    ปัญญามี 3 ระดับ
    หาอุบายดับกิเลส

    รูปแบบของการฝึกจิต
    เดินลมปราน เป็นการบังคับความรู้สึก
    พลังจิต เป็นการกำหนดความรู้สึก
    นิพาน ถ้ามีความรู้สึก ก็ละเสีย

    หายใจ เดินลมปราน สามสาย
    เคลื่อนไปตามจุดต่างๆของร่างกาย
    กดจุดลมปราณ
    การฝึกโยคะ

    หายใจ สามฐาน แพรไหม
    การดูจิต การตามดู การเฝ้าดู
    สมาธิ อุปจารสมาธิ
    กรรมฐาน 40
    ยกระดับจิต
    การเข้าสู่ฌาน 4 และ ฌาณ 8

    สุขวิปัสสโก
    เตวิชโช ฉฬภิญโญ
    ปฏิสัมภิทัปปัตโต
    วิชา 3 และ อภิญญา

    สังโยชน์ 10 ประการ
    วิปัสสนาญาณ
    ทฤษฎีย้อนกลับ
    จิตรับรู้กระแสธรรม

    ทฤษฎีย้อนกลับ
    ตามดู ตามรู้ เฝ้าดู
    เห็นตามความเป็นจริง

    พระธรรม
    พระวินัย
    พระสูตร

    ธรรมสำหรับผู้ปกครอง
    ธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์
    หลักธรรมของนักบริหาร
    ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน

    บทสวดมนต์ สวดมนต์แปล
    กิเลส นำมาซึ่งความทุกข์
    เห็นธรรมได้เร็วก็ดับกิเลสได้เร็ว
    ธรรมคือหนทางแห่งการพ้นทุกข์

    หนอนหนังสือ ตามดู ตามรู้ เฝ้าดู
    การอ่านหนังสือ เราอ่านไปทีละประโยค ทีละคำ บ้างก็แกะทีละตัวก็มี
    ขณะที่เราอ่านไปเรื่อยๆ เราก็พิจารณาไปเรื่อยๆ บ้างก็หัวเราะ บ้างก็ร้องไห้
    เมื่ออ่านจนจบ แค่จับหนังสือ เราก็รับรู้เรื่องราวทั้งหมดภายในหนังสือนั้นได้

    ธรรม เป็น หนทางแห่งการพ้นทุกข์
    สภาวะธรรมนั้นรู้เห็นปรากฏที่จิต ด้วยปฏิบัติ ปฏิเวธ
    แปลเปลี่ยนไปตาม ภูมิธรรม ของแต่ละบุคคล

    เรือที่ลอยอยู่กลางน้ำ หากเราต้องการขึ้นเรือ เราก็ต้องหาวิธีที่จะข้ามไปสู่เรือลำนั้น

    ----------------------------------------------------------


    อเหตุจิต ๓ ประการ

    ๑. ปัญจทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตามอายตนะทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้
    ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้
    หู ไปกระทบกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ไม่ได้ยินเสียงไม่ได้
    จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานะวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้
    ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได
    กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้

    วิญญาณ ทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายทวาร ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น
    ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่มากระทบ แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามไม่ให้เกิด มี เป็น เช่นนั้น ย่อมกระทำไม่ได้

    การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดในทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ (ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น
    หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย ก็ควรกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่น เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง
    ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้เป็นต้น (ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)

    ๒. มโนทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ในมโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความนึกคิดต่างๆ นานา คอยรับรู้เหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ
    จะดีหรือชั่ว ก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้ ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร
    ก็กำหนดรู้ว่า จิต คิดถึงเรื่องเหล่านั้น ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น ทำความเห็นให้เป็นปกติ
    ไม่ยึดถือความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ใหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

    ๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของมันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี

    สำหรับ อเหตุจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้าและในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
    เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์ ควรพิจารณา อเหตุจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญธรรม

    อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด
    ซึ่งเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจ ในอเหตุจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง

    อเหตุจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี
    เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้องในโลกมายา เพราะการรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง...

    ----------------------------------------------------------

    จิตโหยหาความรู้สึกแล้วปรุงแต่งไปเพื่อสนองกิเลส
    เราต้องมีสติ รู้ตัวอยู่ตลอด อย่าปล่อยให้จิตฟุ้งไป

    การดูจิตอย่างถูกวิธี ต้องฝึกทำให้จิตรู้อารมณ์อย่างเป็นธรรมชาติ
    ไม่บังคับให้จิตรู้นั่นรู้นี่ มีสิ่งใดหรืออารมณ์ใดปรากฏเด่นชัดก็ให้รู้สิ่งนั้น
    รู้แล้วไม่แก้อารมณ์ รู้แล้วไม่เพ่งใส่อารมณ์ รู้แล้วไม่บังคับจิตไว้กับอารมณ์
    รู้แล้วไม่บังคับจิตให้ออกจากอารมณ์หนึ่งไปรู้อีกอารมณ์หนึ่ง
    แล้วจิตก็จะรู้อารมณ์อย่างเป็นธรรมชาติหรือรู้อารมณ์อย่างมีความรู้ตัว

    ----------------------------------------------------------

    เส้นทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์
    การตามหาความต้องการของจิต
    เสมือนกระแสไฟฟ้าที่ไหลไปเรื่อยๆ

    จิต อื่นๆก็เช่นเดียวกัน ต่างก็มีเส้นทางดำเนินไป
    ไขว้กันไปไขว้กันมา อาจมีมาเจอกันบ้าง
    หรือ เหนี่ยวนำ ความรู้สึกนึกคิด มาใช้
    โดยขาดการพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน
    หากเราประคองจิตไว้ไม่ดี ก็อาจถูกครอบงำได้
    ส่งผลให้กลายเป็นกรรมติดต่อไปในภายภาคหน้า
    ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆไป ไม่มีวันจบสิ้น

    เมื่อมีความโกรธ ความโลภ ความหลงก็ตามมา
    ทั้งแสดงให้เห็นเด่นชัด และไม่แสดงให้เห็นเด่นชัด
    นั้นคือ กิเลส แฝง ซึ่งนำพาความวิบัติมาสู่ตนเอง และผู้อื่นได้

    เมื่อทำชั้ว จิตเรารู้สึกได้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี เป็นบาป เป็นอกุศล
    เมื่อทำดี จิตเรารู้สึกได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นบุญ เป็นกุศล

    ทำทาน รักษาศีล และภาวนา เพื่อให้จิตรู้สึก ลด ละ เลิก
    และไม่ต้องการที่จะทำกรรมนั้นขึ้นมาอีกอย่างเด็ดขาด
    ก็คือ สามารถขจัดกิเลสนั้นออกไปจากใจจนหมดสิ้น

    เมื่อสิ้นอายุขัยลง
    ถ้าหากจิตมีกิเลสมาก จิตจะรู้สึกว่าเป็นทุกข์
    ถ้าหากจิตมีกิเลสน้อย จิตจะรู้สึกว่าเป็นสุข
    จิตจะสร้างมโนภาพต่างๆเหล่านั้นขึ้นมา
    จิตจะปรุงแต่งไปเรื่อยๆ อย่างไร้การควบคุม

    ถ้าหากเรานั่งสมาธิจนสื่อกระแสจิตกับคนที่ตายไปแล้วได้
    เราก็จะทราบถึง ความทุกข์ ความสุข ของดวงจิตเหล่านั้น

    ----------------------------------------------------------


    ทาน ศีล ภวนา
    ศีล สมาธิ ปัญญา

    การไม่ทำบาป อกุศลทั้งปวง
    การละความชั่ว การกระทำความดี
    ชำระจิตของตนให้ผ่องใสบริสุทธิ์

    จิต เป็น นามธรรม

    รูปธรรม สิ่งที่มองเห็น จับต้องได้
    นามธรรม สิ่งที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้

    ----------------------------------------------------------

    พุทธจิตญานเดิม เต็มเปี่ยมไปด้วย เมตตา

    สังคหวัตถุ 4
    ทาน การให้ แบ่งบัน เสียสละ
    ปิยวาจา การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน กล่าวคำสุภาพ
    อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น สงเคราะผู้อื่น บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
    สมานัตตา การวางตนเสมอต้น เสมอปลาย

    พรหมวิหาร 4
    เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
    กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

    ----------------------------------------------------------

    มหาสติปัฏฐานสี่
    ๑. กายานุปัสสนา
    ๒. เวทนานุปัสสนา
    ๓. จิตตานุปัสสนา
    ๔. ธัมมานุปัสสนา

    การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย
    ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็นรูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ
    แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้
    ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย
    แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป
    สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ได้ยาก ต้องแปลไปในระหว่าง
    ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ไช่ตัวตน เพราะไม่อยู่ในอำนาจ
    สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

    เมื่อเกิดความโลภ เป็นทุกข์เพระความโลภ ระงับโลภะด้วยอนัตตา
    เมื่อเกิดความโกรธ เป็นทุกข์เพระความโกรธ ระงับโทษะด้วยเมตตา
    เมื่อเกิดความหลง เป็นทุกข์เพระความหลง ระงับโมหะด้วยธรรม

    อนัตตา ความไม่ไช่ตัวตน การมองให้กว้างขึ้น ภูมิทัศน์ ประเทศ ทวีป โลก จักรวาร
    เมตตา ความโกรธเป็นเสมือนไปที่เผาพลานตนเองและผู้อื่น โถ! น่าสงสารจัง
    ธรรม สรรพสิ่งล้วนเป็นไป เป็นไปอย่างนั้นเอง เป็นไปตามธรรมชาติของมัน

    การเฝ้าดูอย่างมีสติอยู่บนทางสายกลาง ตามดูและปล่อยวาง
    เฝ้าดูความรู้สึกเกี่ยวข้องกับจิต ไม่ไช่ความรู้สึกเกี่ยวข้องกับกาย
    สรรพสิ่งล้วนเป็นไป เป็นไปอย่างนั้นเอง เป็นไปตามธรรมชาติของมัน

    เมื่อกิเลสแสดงตนขึ้นมา ให้กำหนดสติลงไป

    ยกตัวอย่าง ความโลภ
    เราเอาของเขามาเขาจะเสียใจแค่ไหน
    เราเอาของเขามาเขาจะเดือดร้อนแค่ไหน
    เมื่อระงับกิเลสอย่างหยาบได้
    พิจารณาจนเห็นไตรลักษณ์
    ระงับกิเลสหมดไปโดยสิ้นเชิง

    *เวทนา ทางโลก การได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส
    *เวทนา ทางธรรม ความรู้สึกที่มีผลกระทบต่อจิต
    *เวทนา ในมหาสติปัฏฐานสี่ การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน

    ----------------------------------------------------------

    เจตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ
    เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต
    มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต

    เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์
    เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ)
    สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง)
    เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต )

    เจตสิกจัดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎกซึ่งมี 4 เรื่องคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และจัดเป็นเรื่องสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งด้วย

    ----------------------------------------------------------

    การกำจัดอุปกิเลส การเข้าถึงความเศร้าหมองของจิต
    ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลฆ่าสัตว์ และไม่ยินดีเมื่อเขาฆ่าสัตว์แล้ว
    ไม่ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นลัก และไม่ยินดีเมื่อเขาลักมาแล้ว
    ไม่ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นประพฤติผิดในกาม และไม่ยินดีเมื่อเขาประพฤติผิดในกามแล้ว
    ไม่กล่าววาจามุสาวาทด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นกล่าววาจารมุสาวาท แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นกล่าวมุสาวาทแล้วเพียงเท่านี้
    ต่อไปก็พยายามระงับนิวรณ์ 5 ประการจากจิตเสีย คือ
    1. ไม่ยินดีในรูป เสียง กลิ่นรส และสัมผัส
    2. ไม่พยาบาท
    3. ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในเวลาที่ปฏิบัติความดี
    4. ไม่ทำจิตฟุ้งซ่านยึดถืออารมณ์ภายนอก นอกจากนิวรณ์ที่ได้ตั้งใจปฏิบัติจะเพ่ง
    5. ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ต่อไปก็ให้แผ่เมตตาไปในทิศทั้ง 4 คือ ทรงพรหมวิหาร 4 คิดว่าบุคคลและสัตว์ทั้งหมดเป็นมิตรกับเรา เราไม่เป็นศัตรูกับใครแล้วก็ทำใจให้สบาย

    ----------------------------------------------------------

    ฌานสมาบัติ 8
    รูปฌาน 4
    ปฐมฌาน (ฌานที่ 1) มีองค์ประกออบ 5 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุขและเอกัดคตา
    ทุติยฌาน (ฌานที่ 2) มีองค์ประกอบ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
    ตติยฌาน (ฌานที่ 3) มีองค์ประกอบ 2 คือ สุข เอกัคคตา
    จตุตถฌาน (ฌานที่ 4) มีองค์ประกอบ 2 คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
    อรูปฌาน 4
    อากาสนัญจายตนะ หมายถึง ฌานที่กำหนดอากาศอันอนันต์
    วิญญาณัญจายตนะ หมายถึง ฌานที่กำหนดวิญญาณอนันต์
    อากิญจัญญายตนะ หมายถึง ฌานที่กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใด ๆ
    เนวสัญญานาสัญญายตนะ หมายถึง ฌานที่เลิกกำหนดสิ่งใด ๆ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

    วิตก(ความนึกคิด) วิจาร(การพิจารณาอารมณ์) ปิติ(ความอิ่มใจ) สุข
    อุเบกขา (ความวางเฉย) เอกัดคตา(ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)

    ผลจากการฝึกญาณ ๘
    ๑. มีทิพย์จักขุญาณ มีความรู้สึกคล้ายตาเห็น เป็นเบื้องต้น
    ๒. ปุพเพนิวาสนุสสตญาณ รู้ระลึกชาติตนเอง และคนอื่นได้ นับชาติไม่ถ้วน
    ๓. อตีตังสญาณ รู้ประวัติความเป็นมาของสถานที่ต่างๆ รู้เรื่องในอดีต ของคน สิ่งของ ไม่จำกัดกาลเวลา
    ๔. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตต์ ของตนเอง และ จิตต์ของบุคคลอื่นๆ ว่าปรุงแต่งดีหรือไม่ดี อย่างไร
    ๕. จุตูปปาตญาณ รู้จุติ ของตนเอง คนและ ต่างๆ ไม่จำกัด
    ๖. ปัจจุปปันนังสญาณ รู้ในปัจจุบัน ของตนเอง และคนอื่น ในสถานที่ต่างๆ ในระยะเวลาเดียวกัน
    ๗. อนาคตังสญาณ รู้ในอนาคต ของตนเอง และคนอื่น
    ๘. ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลของกรรมดี และกรรมไม่ดี ของคนและ ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน

    ----------------------------------------------------------

    ปัญญามี 3 ระดับ คือ
    สุตมยปัญญา โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน
    จินตามยปัญญา โดยการคิดค้น การตรึกตรอง
    ภาวนามยปัญญา โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา

    การถือเอาสิ่งที่ตอนเองรู้ ตนเห็น โดยปราศจากการใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้ถึงเหตุและผลเป็นความเชื่อ ที่ขาดปัญญา
    การหาข้อมูลมาประกอบ เพื่อสนับสนุนความเชื่ออาจส่งผลให้เกิดความเชื่อแบบผิดๆได้ ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
    เสมือนเรากำลังวิ่งไล่ตามดูแบบขาดสติ ถึงแม้ข้อมูลที่หาได้นั้นถูกต้อง แต่ก็อาจยังไม่กระจ่างแจ้งชัดเจน นั่นเอง

    การนั่งสมาธิ คือ การทำให้จิตสงบ เมื่อจิตสงบแล้วสิ่งที่ต้องการรู้จะปรากฎขึ้นเอง

    ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาเน้นการมีปัญญาตัดกิเลสได้เป็นระดับไปตั้งแต่โสดา ปัตติผลจนถึงอรหัตผล ใช้ความสามารถในการตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 10 ประการ เป็นเครื่องวัดระดับความมีปัญญา แบ่งเป็นดังนี้
    มีปัญญาขัดเกลาจิตได้ในระดับอธิศีล คือ ปัญญาที่สามารถตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 3 ข้อต้นได้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพตปรามาส เป็นปัญญาในขั้นพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี
    มีปัญญาขัดเกลาจิตได้ในระดับอธิจิต คือ ปัญญาที่สามารถตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 5 ข้อต้นได้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส กามฉันทะ ปฏิฆะ เป็นปัญญาในขั้นพระอนาคามี
    มีปัญญาขัดเกลาจิตได้ในระดับอธิปัญญา คือ ปัญญาที่สามารถตัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัด 10 ข้อ ได้ทั้งหมด คือ ตัด 5 ข้อ ได้เพิ่มจากพระอนาคามี คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา เป็นปัญญาในขั้นพระอรหันต์
    ---------------------------------------------------------

    สังโยชน์ 10 ประการ

    ข้อที่ 1 สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็น เราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา
    ข้อที่ 2 วิจิกิจฉา สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    ข้อที่ 3 สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีลไม่รักษาศีลจริงจัง
    ข้อที่ 4 กามฉันทะ พอใจในกามคุณ
    ข้อที่ 5 ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ
    ข้อที่ 6 รูปราคะ หลงในรูปฌาน
    ข้อที่ 7 อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
    ข้อที่ 8 มานะ มีการถือตัวถือตน
    ข้อที่ 9 อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    ข้อที่ 10 อวิชชา ไม่รู้ตามความจริงของเรื่องนิพพาน

    การตัดสังโยชน์ 10 ประการ ผู้ปฏิบัติต้องใช้อารมณ์ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น สังโยชน์ 10 ประการ ข้อที่ 1 สักกายทิฏฐิ
    พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า มีสมาธิเล็กน้อย กับมีศีลบริสุทธิ์และมีปัญญาเล็กน้อย ใช้ปัญญาแค่คิดว่าชีวิตนี้ต้องตาย
    นี่เป็นสักกายทิฏฐิ ตัดตรงนี้ให้มีความรู้สึกจริงๆ ว่าร่างกายนี้มันต้องตายแน่ วันนี้น่ะมันไม่ตาย แต่วันหน้ามันอาจจะตายก็ได้ ยังไงๆ มันก็ตายกันแน่นอน
    ถ้าเป็นอารมณ์พระอนาคามี จะมีความรู้สึกเบื่อหน่ายในร่างกาย เบื่อหน่ายทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เบื่อหมดจนไม่มีความรู้สึกพอใจอะไรทั้งหมด อันนี้เป็นอารมณ์พระอนาคามี
    ถ้าเป็นพระอรหันต์มี สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยทุกอย่าง ร่างกายเราก็เฉย จะแก่ก็เชิญแก่ มันจะป่วยก็เชิญป่วย มันจะตายก็เชิญตาย เป็นหน้าที่ของมัน
    ร่างกายคนอื่นก็เช่นเดียวกัน ทรัพย์สมบัติก็เหมือนกัน มันมีอยู่ก็มี ไม่มีมันจะพังมันจะหายไปก็เรื่องของมัน เป็นของธรรมดา

    ----------------------------------------------------------

    วิปัสสนาญาณ 9
    อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด
    ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด
    ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
    อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
    นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็นโทษแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจในสังขารนั้น
    มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
    ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทางหลุดพ้น คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขาร จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมา พิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องหรือหาทางหลุดพ้น
    สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริงว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงมุ่งสู่นิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้
    สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณมุ่งสู่นิพพานแล้ว ญาณส่งผลต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับต่อไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

    ไตรลักษณ์
    อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
    ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้าเสียใจ ไม่สมหวัง พลัดพลาก
    อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนา

    สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
    สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์
    ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา

    ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ล้วนเกิดจากองค์ประกอบ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มารวมกันตามธรรมชาติ
    มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึก สักวันหนึ่งเมื่อกายนี้แตกดับ ทุกอย่างก็จะกลับไปสู่สภาพเดิมตามกฎของธรรมชาติ

    ----------------------------------------------------------

    นำญาณ ๘ มาร่วมพิจารณา กับ วิปัสสนาญาณ ๙ จะได้ อาสวคยญาน
    จิตเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และ รู้แจ้ง เห็นจริง เพียรเผากิเลสให้สิ้นไป

    - ผู้รู้ : ปริยัติ : หลักธรรมคำสอนต่างๆ
    - ผู้ตื่น : ปฏิบัติ : การฝึกฝนปฏิบัติการเจริญสติ
    - ผู้เบิกบาน : ปฏิเวธ : การได้รับผลจากการปฏิบัติ
    รับรู้ความรู้สึกของจิตใจที่ เบา สบาย สว่าง สะอาด สงบ

    ----------------------------------------------------------

    อริยสัจ 4
    ทุกข์ การมีอยู่ของทุกข์
    สมุทัย เหตุแห่งทุกข์
    นิโรธ ความดับทุกข์
    มรรค หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์

    ทุกข์ ควรกำหนดรู้
    สมุทัย ควรละ
    นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
    มรรค ควรเจริญ

    อริยสัจสี่ คือ รู้จักทุกข์ รู้จักมูลเหตุที่ก่อให้เกิดทุกข์ และหาวิธีให้พ้นทุกข์
    โดยการกำจัดมูลเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป ด้วยหนทางของการดับทุกข์ จิตใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส

    ----------------------------------------------------------

    กิเลสคอยกั้นขวาง กรรมคอยฉุดรั้ง เมื่อเวลาผ่านไป อายุก็มากขึ้นเรื่อยๆ
    สังขารย่อมร่วงโรยไปตามกาลเวลา จะทำอะไรก็ไม่ว่องไวเหมือนแต่ก่อน

    ----------------------------------------------------------


    คลื่นพลังงานต่างๆ
    คลื่นไฟฟ้าในสมอง
    พลังวิชิรญาณ แสงออร่า

    โครงสร้างร่างกายเรานี้ ประกอบไปด้วย อนุภาคเล็กๆ เรียกว่า อัฐกลาปะ
    หามีตัวตนไม่ เป็นเพียงกระแสความสั่นสะเทือน เป็นเพียงคลื่น กระเพื่อมไหว
    เกิดขึ้นและดับไป เกิดขึ้นและดับไป เกิดขึ้นและดับไป เป็นอยู่อย่างนั้น

    คุณลองเปิดวิทยุและถือกล่องเปล่าไว้ข้างหน้าคุณ
    คุณจะรับรู้ได้โดยการรับสัมผสจากมือของคุณ

    เมื่อคุณดูโทรทัศน์ถ้าคุณจับความรู้สึกคุณ
    บางครั้งจิตของคุณจะสัมผัสอยู่ที่ตาบ้าง
    บางครั้งจิตของคุณจะสัมผัสอยู่ที่หูบ้าง

    การเข้าสู่ฌาน และยกระดับฌานด้วยปัญญา

    การรู้ลมหายใจ การกำหนดลม การเพ่งสังขาร เฝ้าดูเวทนา ระงับเวทนาด้วยปัญญา
    ญานระดับต่างๆ ส่งผลให้เกิดเวทนาลักษณะต่างๆ ระงับเวทนาด้วยมหาสติปัฏฐานสี่

    จิตเกี่ยวเนื่องกายด้วยลมหายใจ เมื่อจิตกับกายเป็นคนละส่วนกัน
    ให้ใช้สติกำหนด ความ รู้สึก นึก คิด กริยาท่าทาง จะไปกระตุ้น จิต
    จิตจะรับรู้ และปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ตามความประสงค์อย่างรวดเร็ว

    การเฝ้าดูลมหายใจเข้าออก โดยไม่บังคับจิต
    หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น
    หายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจออกสั้นก็รู้ว่าหายใจออกสั้น

    การกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยไม่บังคับจิต
    สูดลมหายใจเข้าออก ลึกๆยาวๆ 3 ครั้ง
    หายใจเข้าออก เป็นปกติ
    หายใจเข้าออก แผ่วเบา
    หายใจเข้าออก แผ่วเบา เข้าสั้น ออกยาว

    การกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยบังคับจิต
    สูดลมหายใจเข้า ลึกๆยาวๆ
    หยุดลมหายใจให้นิ่งสักพัก
    หายใจออก แผ่วเบา ยาวๆ

    กำหนดลมหายใจเข้าออกต้องนิ่งสักพักก่อนปรับลมหายใจ

    หลับตาลงสามส่วนเปิดไว้หนึ่งส่วนมองไปที่ญาณทวาร
    ใช้ปลายลิ้นแตะเพดานปากหลังต่อฟันบนและไม่อ้าปาก
    หายใจผ่านจมูกและลำคอบางส่วน นะมะพะทะ

    ร่างกายโยกโครง
    นึกถึงหลวงพ่อ นึกถึงพระพุทธรูป
    นึกบริกรรมนิมิตร นึกบริกรรมคาถา นึกคำภาวนา
    เฝ้าดูลมหายใจเข้าออก ต่อไปเรื่อยๆ

    ร่างกายโยกโครง เห็นแสงสว่าง และเกิดนิมิตรปรากฎ ให้วางเฉย

    น้อมจิตตั้งไว้ที่กาย พิจารณาร่างกาย จากปัจจุบันไปสู่อดีต จากปัจจุบันไปสู่อนาคต
    น้อมจิตตั้งไว้ที่กาย พิจารณาร่างกาย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    น้อมจิตตั้งไว้ที่กาย กำหนดจิต พิจารณาเป็นส่วนๆ ภายในขอบเขตที่จำกัด เล็กลงๆ

    เป็นไปเพื่อ ฝึกจิตให้มีพลัง
    เป็นไปเพื่อ ฌานสมาบัติ
    เป็นไปเพื่อ วิชาสาม อภิญญาหก
    เป็นไปเพื่อ การหลุดพ้น ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

    การเพ่งกสิน
    การกำหนดจิตพิจารณา ธาตุทั้งสี่ สีต่างๆ แสงสว่าง อากาศ

    ตาทิพย์
    สำหรับท่านที่มีบารมีเก่าทางด้านกสิณ หรือรูปฌาน เมื่อท่านหลับตาแล้วเห็นดวงกสิณ เป็นสีต่างๆ วูบๆ วาบๆ
    ให้ท่านฝึกเพ่งดวงกสิณนั้น การเพ่งกสิณใช้เวลานานหรือไม่นาน ขึ้นอยู่กับวาระบุญวาสนาของแต่ละบุคคล

    เมื่อพักจิตอยู่เพียงอุปจารฌานแล้วก็ค่อยๆนึกภาพของสถานที่ต่างๆ หรือมองดูภาพถ่ายของสถานที่ต่างๆ
    ที่ต้องการทราบถึงอนาคต เมื่อจิตสัมผัสถึงความรู้สึกของสถานที่นั้นได้ ภาพก็จะปรากฎขึ้นอย่างชัดเจน

    การระลึกชาติ
    เมื่อพักจิตอยู่เพียงอุปจารฌานแล้วก็ค่อยๆ คิดย้อนถอยหลังถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วในอดีต
    ตั้งแต่เมื่อตอนสายของวัน ถอยไปตามลำดับถึงวันก่อนๆ เดือนก่อนๆ ปีก่อนๆ และชาติก่อนๆ ตามลำดับ
    ถ้าให้ไวกว่านั้น ให้คิดย้อนว่า ชาติก่อนๆ ชาติที่ 3 ย้อนไป เคยเป็นอะไร นิสัยเป็นอย่างไร และก็เชื่อตามนั้น

    หูทิพย์
    เมื่อพักจิตอยู่เพียงอุปจารฌานแล้ว กำหนดจิตฟังเสียงที่ดังๆ ในที่ไกลพอได้ยินได้
    และเสียงที่เบาลงไปเป็นลำดับ จับทีละเสียงฟังให้ชัดเจน แล้วจึงฟังเสียงที่ละเอียดกว่านั้น
    เช่น เสียงฆ้อง กลอง ระฆัง กำหนดฟังให้ชัดเจน แล้วค่อยๆ เลื่อนฟังเสียงที่เบา กว่านั้น
    เสียงผี เสียงเปรต เสียงยักษ์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ เสียงนาค เทวดาชั้นกามาวจร เสียงพรหม

    เมื่อมี ความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้ลองตามดูจิตไปสักพักหนึ่ง
    เราจะสังเกตุเห็นว่า จิตจะคิดถึง อดีตบ้าง อนาคตบ้าง เป็นอยู่อย่างนั้น
    เมื่อตายจิตแยกออกจากกาย จะนำเราไปสู่ภพใหม่ อันเนื่องมาจากกิเลส
    จิตจะแสวงหาความรู้สึกในอดีตที่ไม่มีทางย้อนกลับคืนมาได้
    จิตจะแสวงหาความรู้สึกเดิมๆ แสวงหาไปเรื่อยๆ เป็นอยู่อย่างนั้น
    จิตจะนำเราไปพบเจอกับเรื่องเดิมๆ ทั้งชอบและไม่ชอบ
    ความรู้สึก ทั้งชอบและไม่ชอบ ล้วนแต่เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น
    น้อมจิตมาเป็นผู้เฝ้าดู นำจิตมาอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันคืออดีตในอนาคต
    ให้วางเฉยกับทุกสิ่งในปัจจุบัน ไม่ยินดียินร้าย ไม่ทุกข์และพ้นทุกข์ในที่สุด

    นำญาณ ๘ มาร่วมพิจารณา กับ วิปัสสนาญาณ ๙ จะได้ อาสวคยญาน
    ตามดู ตามรู้ อาการของจิตทุกอาการที่เกิดขึ้น ตามดูไปเรื่อยๆ ตามดูไปสักพัก
    น้อมจิตมาเป็นผู้เฝ้าดู เฝ้าดูไปเรื่อยๆ ความดับจะปรากฎข้นมาเอง

    ให้พิจารณาแต่ความดับ เพื่อให้จิตเป็นผู้รู้ วิธีดับทุกข์ และดับทุกข์ได้
    จิตรวมเป็นหนึ่ง คือ เมื่อกิเลสแสดงขึ้นมา สามารถที่จะดับได้เร็ว
    จิตเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และ รู้แจ้ง เห็นจริง เพียรเผากิเลสให้สิ้นไป

    - ผู้รู้ : ปริยัติ : หลักธรรมคำสอนต่างๆ
    - ผู้ตื่น : ปฏิบัติ : การฝึกฝนปฏิบัติการเจริญสติ
    - ผู้เบิกบาน : ปฏิเวธ : การได้รับผลจากการปฏิบัติ
    รับรู้ความรู้สึกของจิตใจที่ เบา สบาย สว่าง สะอาด สงบ

    วิปัสสนาญาณ 9
    อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้น และความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด
    ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด
    ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
    อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
    นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็นโทษแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจในสังขารนั้น
    มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
    ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทางหลุดพ้น คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขาร จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมา พิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องหรือหาทางหลุดพ้น
    สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริงว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงมุ่งสู่นิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้
    สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณมุ่งสู่นิพพานแล้ว ญาณส่งผลต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับต่อไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

    ไตรลักษณ์
    อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
    ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้าเสียใจ ไม่สมหวัง พลัดพลาก
    อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามปรารถนา

    สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
    สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์
    ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา

    ร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ล้วนเกิดจากองค์ประกอบ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มารวมกันตามธรรมชาติ
    มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึก สักวันหนึ่งเมื่อกายนี้แตกดับ ทุกอย่างก็จะกลับไปสู่สภาพเดิมตามกฎของธรรมชาติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...