ธรรมเป็นของลำบากมาก (หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 4 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]

    ธรรมเป็นของลำบากมาก
    โดย หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ)
    ต.หนองสูงใต้ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร



    ธรรม ฝ่ายไม่เกิด ไม่ดับทรงมีอิสระเต็มภูมิ ไม่ขึ้นอยู่กับธรรมฝ่ายสังขารเลย ทรงอริยะสัจจะธรรมจริงอยู่ ตามธรรมชาติ มีท่านผู้รู้ตามเป็นจริง หรือไม่ก็ตามทีเถิด

    ธรรมฝ่ายไม่เกิด ไม่ดับก็มิได้ทรงอาการขึ้นๆ ลงๆ เลย ทรงธรรมไม่ตาย ไม่แปร ไม่ดับอยู่ตามธรรมชาติแต่ไหนๆ อนัตตาธรรมส่วนนี้ ทรงอนัตตาธรรมลึกซึ้งมากแท้ๆ

    ถึงจะลึกซึ้งสักเพียงใดก็ไม่เหลือวิสัยของท่านผู้รู้ไปได้ เพราะพระสติพระปัญญาเต็มภูมิ เหนืออวิชชาตัวโง่ๆ แล้วตัวหลงๆ ก็ว่าจอมพลกิเลสก็ว่าได้ใช้ไม่ผิดอีกละ

    มารกิเลสก็ว่าได้ใช้ไม่ผิด ว่าวันยังค่ำก็ไม่ผิดวันยังค่ำ แล้วมารกิเลสจอมอวิชชา ๔ จะรวมพลมาจากประตูใดก็ไม่ได้

    ธรรมฝ่ายเกิด ฝ่ายดับทรงสังขารโลก และกองทุกข์นั้นเล่า นี้เล่า ก็เกิดก็ดับตามอิสระอยู่หาได้ประหม่า และระอาใครไม่สืบโลกสืบสังขารอยู่อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างนั้นมันไกล

    อย่างนี้คือผู้เขียนคือไตรสังขาร กาย วาจา ใจ นี้ อนัตตาฝ่ายสังขาร มารวมพลกันอยู่อนัตตาใจแล้วไม่ต้องสงสัยให้เสียเวลาเลย (มโนอนัตตาธัมมาอนัตตา) ใจมิใช่ตัวตน ธัมมิใช่ตัวตน

    มีอยู่ทุกๆ สูตรในทางตรงและทางอ้อม แต่จะอ้อมสักเพียงใดก็ไม่พ้นมารวมพลที่ตรงๆ นี้คือใจๆ ฯ ในอนัตตลักขณสูตรใช้วิญญาณแทนใจ แปลมาเท่าใดก็ต้องสมมติว่าใจ ฯ อนัตตปริยายสูตรนั้นก็โดยนัย

    และก็มีคำถามสอดเข้ามาว่า อนุปาทิเสสนิพพานเล่า มีใจอยู่หรือไม่ มีผู้รู้อยู่หรือไม่ ? หลับตาตอบแบบบ้าๆ บอๆ โง่ๆ เง่าๆ เต่าๆ ตุ่นๆ ว่า ฯ อนุปาทิเสสนิพพานมิใช่ใจ มิใช่ผู้รู้ เหนือใจ เหนือผู้รู้ไปจนไม่มีที่หมาย

    ถ้าหมายอยู่ก็พอเหมือนๆ หมุนๆ หมันๆ ฯ และก็อยากถามว่าใจก็ดีผู้รู้ก็ดี เกิดดับเป็นไหม ? หลับตาตอบอย่างพอใจว่า เกิดดับเป็น จัดเข้าในนามธรรมได้ จัดเข้าในสังขารได้อีก

    เหตุนี้จึงยืนในที่ต่างว่า "เป็นแต่สักว่ารู้เป็นแต่สักว่าเห็น" เพราะทำลายอัตตวาหุปาทานไปในตัวแล้ว ไตรสิกขาก็รวมพลกันมาในตัวแล้ว

    เพราะธรรมแท้ก็ไม่มีมาก ที่มีมาก็เพื่อขยายออกให้สมภูมิ แม้ทางย่นลงมาหาอนัตตาธัมอนัตตาใจก็สมภูมิเหมือนกัน หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ไม่ได้ แต่ก็จัดเป็นกายสังขารอันเดียวกัน

    เกิดดับแบบเดียวกันนี้เองหละ สังขารธรรมก็ทรงสังขารธรรม พระนิพพานธรรมก็พระนิพพานธรรม ไม่ได้แข่งดี แข่งชั่วกัน เป็นหน้าที่พระสติพระปัญญา จะรู้เพื่อไม่เลี้ยงความหลงไว้

    ถ้าพระสติพระปัญญาแข็งแกร่งเหนือความหลงแล้ว ความหลงก็ตั้งอยู่ไม่ได้ อวิชชาก็คือกองพลความหลงนั้นเอง แต่เป็นภาษาบาลี แปลเป็นไทยก็คือตัวหลง ตัวโง่ๆ นั้นเองนี้หละ ไม่ต้องสงสัยเลยให้เนิ่นช้าก็ได้

    ธรรมะของพระพุทธศาสนาจะโยงถึงกันให้หมดก็ได้ ต้องขึ้นอยู่กับพระสติพระปัญญาของแต่ละบุคคลเป็นเกณฑ์ ที่แก่กล้ามาเป็นพลังพละที่เรียกว่า ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง อันมีในธรรมหมวด ๕ และหมวดน้อยหมวดมาก ก็ตามก็ออกมาจากหมวดใจ

    ถ้ารู้เท่าใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ก็รู้เท่าธรรมโดยสิ้นเชิงทั้งนั้น ถ้าไม่มีอุปทานยึดว่าใจเป็นตัวตนเราเขาสัตว์บุคคล ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า ธรรมทั้งหลายเป็นเราเขาสัตว์บุคคลไปในตัว ก็จบปัญหากันไปเท่านั้น

    ที่ไม่จบปัญหา ก็เพราะรู้ตามสัญญาความจำได้หมายรู้ เคยหูก็หัดปากว่าไปเหมือนแก้วเจ้าขากินข้าวกับกล้วย กล้วยที่คาปากอยู่ก็ไม่รู้จักชัด แต่สมมติก็จริงตามสมมติ วิมุติก็จริงตามวิมุติ

    จะเอาของตื้นและของลึก มาเป็นสงครามกันก็ไม่ได้ ต้องปล่อยให้เป็นจริงคนละชั้น ธรรมละชั้นไปซะ แต่...สมมุติและวิมุติเป็นของกลางไม่มีใครเป็นเจ้าของก็ตกลง ทรงอนัตตาธรรมตามเป็นจริงของธรรม ไม่เป็นหน้าที่จะไปยึดถือว่าเราเขาขาอะไร

    เรื่อง ของใจเป็นเรื่องลำบาก ถ้าไม่มีใจ ปัญหาก็ไม่มี ถ้ายึดถือว่าใจเป็นตัวตนเราเขาเอาจริงๆ จังๆ แล้ว ความหลงคือกิเลส ก็ผยองตัวเหนียวแน่น ไม่ยอมวางให้ว่างจากสัตว์ จากบุคคล เพราะเหตุใด ?

    เพราะพระสติพระปัญญา เขาทรงพระอำนาจอ่อนกว่าความหลง คือ อวิชชา จึงเป็นเหตุให้ชนะความหลงไม่ได้ ถ้าหากว่าพระสติ พระปัญญา เหนืออวิชชาความโง่ๆ หลงๆ ไปแล้ว อวิชชาจอมพลหลงก็ตั้งอยู่ไม่ได้

    แต่อย่างไรก็อยู่ในเกณฑ์จะชนะได้แท้ๆ เพราะความสำเร็จอยู่กับความพยายาม เหตุนั้นพระนิพพานจึงไม่เป็นโมฆะ ผู้เชื่อว่าพระนิพพานมีเป็นโลกุตตะระศรัทธา เหนือความเชื่อของผู้อยู่ในขั้นโลกีย์วิสัยไปแล้วตาปัญญากระจ่างเห็นหนทาง ทางใจได้ไม่สุ่มเดาด้นคาดคะเนใดๆ เลย

    ปรารภธรรมกับปรารภใจก็อันเดียวกัน ปรารภใจกับปรารภธรรมก็อันเดียวกัน รู้ธรรมกับรู้ใจ รู้ใจกับรู้ธรรม ก็อันเดียวกัน ปฏิบัติใจปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมปฏิบัติใจก็อันเดียวกัน

    เคารพธรรมเคารพใจ เคารพใจเคารพธรรม ก็อันเดียวกัน รู้เท่าใจโดยสิ้นเชิง รู้เท่าธรรมจนสิ้นเชิงก็อันเดียวกัน

    อดีตก็คือใจ และธรรมที่ล่วงไปแล้ว อนาคตก็คือใจ และธรรมที่ยังไม่มาถึง ปัจจุบันก็คือใจ และธรรมที่กำลังเป็นอยู่ทรงอยู่ ฯ แต่...แต่...พระนิพพานมิได้เป็นเมืองขึ้น ของอดีตปัจจุบัน และอนาคตใดๆ เลย ฯ

    ที่เน้นลงในปัจจุบันให้เอาเป็นตัวปฏิบัตินั้น เพราะเหตุให้รู้จักรวมศีลสมาธิปัญญา เป็นสามัคคีกลมกลืนกันลงในปัจจุบันเพ่งพินิจติดต่ออยู่ รวมพลตั้งมั่น และกันความส่งส่ายหา

    เพราะจะสงสัยว่าศีลสมาธิปัญญา แตกแยกกันไปคนละเป้า ถ้าเข้าใจว่า ศีลสมาธิปัญญาแตกแยกกันไปอยู่คนละเป้าแล้วก็ปฏิบัติลำบากมาก ไม่เป็นอัญญะมัญญะปัจใจ

    แล้วก็จะไปสงสัยว่าเหตุและผลไปอยู่คนละเป้าอีก (เป้าอะไรก็เป้าใจนี้เอง) โอปันะยิโก ก็คือ โอปันนะยิใจนี้เอง เพราะเอาใจในปัจจุบันเป็นศีลสมาธิปัญญา เดินเข้าสู่พระนิพพาน เหตุนั้นจึงมิได้บัญญัติ พระนิพพานว่าเป็นใจ

    จึงบัญญัติว่า รูป จิต เจตสิก นิพพาน ดังนี้ จิตต้องเคารพพระนิพพาน ไม่เป็นที่พระนิพพานจะมาเคารพจิต (จิตเป็นทางเดินเข้าสู่นิพพาน) ถ้าเดินไปทางผิดก็ไปสู่นะรก และนะรกก็มีหนักเบาหลายชั้นตามเหตุผลของทางชั่ว

    เหตุผลทางดีก็มีหลายชั้น สวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นพรหม ๑๖ ชั้น และอรูปพรหม ๔ ชั้นอีก สิ่งเหล่านี้ก็ต้องเข้าใจทั้งนั้นซินะ พระพุทธศาสนาละเอียดละออมากไม่มีประมาณได้ ไม่เป็นหน้าที่ของลัทธิอื่นจะมาแข่งดีแข่งเด่นเลย เหลือวิสัย ขืนมาแข่งดีแข่งเด่นแล้ว ผลของกรรมเล่าจะว่ายังไงจะมีคอรับชั่นกับใครๆ ก็มีในโลก และนอกโลก

    เหตุนี้ผู้เขียนอยู่เดี๋ยวนี้จึงยอมตัวยอมใจเคารพนับถือพระพุทธศาสนา แบบไม่มีประมาณได้ แผ่นดินหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ในทางลึก แต่เคารพรักพระพุทธศาสนาลึกลงไปกว่านั้นอีกไม่มีประมาณ

    หมดไตรโลกธาตุหรือหมดไตรจักรวาลไม่มีท่านผู้ใดเคารพเคารพรักปฏิบัติก็ตาม จะเคารพรักปฏิบัติแต่คนเดียว ตามสติกำลังของเจ้าตัว แม้จะตายแล้วเกิดตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย แล้วตายมากกว่าอสงไขย อสงไขยกัปก็ตาม

    ก็จะไม่ยอมลดละความเลื่อมใสเคารพรักนับถือปฏิบัติพระพุทธศาสนา ตามสติกำลังของตนของตนอยู่ตราบนั้นทีเดียว อนิจจาเอ๋ย นิจจาเอ๋ยเที่ยงตรงเป็นมหาสัจจะ เป็นมหาอธิษฐาน

    ด้วยความยอมเป็นยอมตายแบบนี้แล้ว บางทีผ่อนหนักให้เป็นเบามาทำให้บันดาลให้พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงในชาตินี้ก็อาจ เป็นได้ ฯ คล้ายๆ กับพวกเดียรถีร์ยอมตัวกับพระบรมศาสดาว่า จะให้เกล้าอยู่ติดถิยวาส ๔ เดือนจึงจะบวชให้นั้นยังเป็นของน้อย

    จะบวชให้นั้นยังเป็นของน้อย ให้เกล้าอยู่ ๔ ปีจึงจะบวชให้เกล้าอยู่ก็พอใจอยู่ ดังนี้ พระบรมศาสดาทรงพระเมตตาว่า เอ้าถ้าใจถึงขนาดนั้นก็บวชเดี๋ยวนี้ก็ได้ดังนี้

    นี้เราผู้เขียนอยู่เดี๋ยวจะยอมเป็นยอมตายต่อพระพุทธศาสนามากกว่าอสงไขย อสงไขยกัปป์แล้วก็จะเคารพรักปฏิบัติอยู่อย่างนี้ พระอริยะสัจธรรม และพระอริยะอธิษฐานธรรม ก็จะเมตตาโปรดปราณให้พ้นจากกิเลส โดยสิ้นเชิงในชาตินี้ เป็นชาติสุดท้ายก็อาจเป็นได้ เพราะเจตนายอมเป็นยอมตาเหนือความหลงๆ ไหลๆ ไปแล้ว

    และเราอยากจะปรารภไม่ให้ถูกปริยัติได้ไหมล่ะ ตอบไม่ให้ถูกปริยัติไม่ได้ เพราะบัญญัติไว้หมดแล้ว เพราะใจเป็นต้นบัญญัติสิ่งทั้งปวงแล้ว พระสูตรก็สูตรของกาย วาจาใจ

    พระปริยัติก็ยัดเข้ากายวาจาใจ ว่าเป็นสอง ก็กายกับใจ ว่าเป็นหนึ่งก็คือใจ ว่าเป็น ๖ ก็ ตา หู จมูก ลิ้น กาย วาจา ใจ ว่าไปไหนก็สมมติบัญญัติอันเก่า นั้นเองคุณพ่อเอ๋ย ไม่ว่าใจก็เป็นผู้ไม่ว่า กิเลสมิได้ตั้งอยู่ ที่ว่า และไม่ว่า ตั้งอยู่ที่ผู้ไปหลงยึดถือ เอาอันว่าไม่ว่านั้นเอง

    ส่วนสำคัญว่าตนว่าหรือไม่ว่า นั้นก็ต้องมีพระปัญญาเป็นนายหน้าอีก เรื่องทั้งหลายมันเป็นเรื่องของสังขารและกองทุกข์ทั้งนั้น เกิดๆ ดับๆ อยู่ ตามฝ่ายทุกขะสัจ จิตเกิดดับทำอะไรก็เกิดดับทั้งนั้น ถ้ารู้ชัดว่าเราไม่มีแล้วจะฝืนไปยืนยันเอาที่ใด

    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="94%"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">พระไตรปิฎกตำรา

    พระไตรปิฎกจริง ก็คือหนังหุ้มอยู่โดยรอบของผู้เขียนและผู้อ่านและผู้ฟัง ผู้จะปฏิบัติก็คือใจ เป็นหัวหน้าอันมีสติปัญญาควบคุมไปในทางที่ชอบ เพื่อต่อสู้กับราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาลงและเหือดแห้งหายไป

    สิ่งใดที่ส่งเสริมต่อเติมให้ราคะ โทสะ โมหะบวกใจเพิ่มเข้า สิ่งนั้นมิใช่คำสอนพระพุทธศาสนา สิ่งใดทำให้ราคะโทสะโมหะให้เบาลงได้เป็นตอนๆ ไป จนถึงเหือดแห้งหายไป ช้าก็ดีเร็วก็ดี ก็เป็นคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งหลาย

    มีความหมายเป็นเกณฑ์อย่างนี้ แม้จะเรียนจบฟังจบพระไตรปิฎกก็ตาม เมื่อกิเลสไม่เบาบางลงบ้างเลย ก็เรียกว่าไม่คุ้มค่า แต่ก็ยังดีเพราะเป็นนิสสัยไปทางดี เป็นสุตตะพระหูสูตร ยังเป็นมงคลอุดมอยู่บ้างในชั้นนี้เพราะมีทุนในทางจำได้ ฯ





    คัดลอกจาก
    Home Main Page
    </td> </tr> <tr> <td> http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8707</td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...