ธรรมะในน้ำ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย pump - อภิเตโช, 6 เมษายน 2011.

  1. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    ธรรมะในน้ำ

    พอกรวดน้ำ น้ำหลั่งริน ถวิลคิด
    อธิษฐานจิต ตั้งมั่น ในกุศล
    อุทิศบุญ แด่สรรรพสัตว์ ในสากล
    ขอทุกชน มีสุข พ้นทุกข์ภัย

    ฤาเพียงน้ำ หลั่งรินจบ ก็ครบสิ้น
    เสร็จพิธีบุญ ที่เคยชิน แต่หนไหน
    ค่าความหมาย ในน้ำ ย้ำเตือนใจ
    รู้บ้างไหม สื่อธรรม นำชีวา

    เปรียบน้ำนั้นมีความเย็นซ่อนเร้นอยู่
    สอนให้รู้ ให้เยือกเย็น เช่นนั้นหนา
    ทำจิตใจ คลายร้อนรุ่ม สุมอุรา
    ไฟริษยา ให้มอดลับ ดับหายไป

    อีกน้ำนั้น มีความใส บริสุทธ์
    เปรียบประดุจ ทำจิต ให้ผ่องใส
    ละกิเลศ ที่ขุ่นมัว ชั่วทิ้งไป
    ทุกข์หมองไหม้ พาใจตรม ถมสิ้นพลัน

    สำรวมใจให้เหมือนน้ำนิ่งสงบ
    มีสติครบ มั่นคงแน่ ไม่แปรผัน
    ทำสิ่งใด ใตร่ตรองดู รู้เท่าทัน
    มิป่วนปั่น ด้วยระลอก คลี่นลมแรง

    ************

    นานา ภาชนะใด ใส่น้ำไว้
    น้ำก็ปรับตัว ไปตาม รูปทรงแฝง
    เปรียบเหมือนคน ต้องรู้จัก ปรับแสดง
    ทุกหนแห่ง อยู่ร่วมได้ ในสังคม

    เพียรบำเพ็ญ ความดีงาม ทุกขณะ
    ไม่ลดละ ประพฤติธรรม ทำสะสม
    คงเส้นไว้ ไม่ย่อหย่อน คลอนนิยม
    ดุจระดับ น้ำเที่ยงตรง คงนิรันดร์

    มีเมตตา แด่ผู้ชน คนทั้งผอง
    จิตปรองดอง ปลูกรัก สมัครสมาน
    ทั้งครอบครัว ญาติสนิท มิตรการงาน
    เชื่อมประสาน เป็นน้ำหนึ่ง ตรึงหทัย

    เสียสละ เหมือนดั่งน้ำ ช่วยชะล้าง
    ความสกปรก รกติดค้าง สิ่งทั้งหลาย
    ทำประโยชน์ เพื่อผู้ทุกข์ สุขสบาย
    ทั้งใจกาย อุทิศทำ แต่กรรมดี

    คือความหมาย ในน้ำ ย้ำเตือนไว้
    ธรรมชาติให้ สิ่งมีค่า มีราศรี
    สอนให้เห็น สัจจธรรม นำชีวี
    เป็นเครื่องชี้ ทางสุข แด่ทุกคน<O:p</O:p

    ***********************<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    โพชฌงค์ ๗ ประการ

    จิตร้อนรน เหมือนคน ต้องกักขัง
    อ่อนพลัง หมดแรงสู้ ดูขื่นขม
    ขาดสติ ไม่ใฝ่รู้ สู่อารมณ์
    ปล่อยเป็นปม เป็นเงื่อนมัด กัดกินใจ

    วิธีแก้ ต้องเรียนรู้ ดูให้หมด
    หมั่นจำจด หากุญแจ มาแก้ไข
    โพชฌงค์ เจ็ดประการ อ่านท่องไป
    ทำอย่างไร จึงหลุดพ้น ลองค้นดู

    หนึ่ง สติ โพชฌงค์ ต้องระลึก
    ธัมวิจยะ ควรหมั่นฝึก หาความรู้
    ปลื้ม ปีติ อิ่มเอิบใจ ไหลพรั่งพรู
    ยิ้มรับสู้ อย่าท้อถอย รอคอยวัน

    เกิด ปัส...สัทธิ มี ความสงบ
    สมาธิ ต้องประกบ ให้ครบมั่น
    อุเบกขา ความเป็นกลาง ระหว่างกัน
    หมั่นยึดมั่น เจ็ดโพชฌงค์ อย่าหลงทาง

    ***************<O:p</O:p
    สติสัมโพชฌงค์ คือ ความมีสติ ระลึกได้
    ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับใจ......

    ธัมมวิจยะ คือ การต้องเฟ้นหาธรรม..
    วิริยะ คือต้องหมั่นมีความเพียร....
    ปิติ คือเกิดความอิ่มใจ.....
    ปัสสัทธิ คือ เกิดความสงบกาย สงบใจ.....
    สมาธิ คือต้องมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์.....
    อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามความเป็จริง.....

    โพชฌงค์ ๗ ประการ คือกุญแจ เพื่อไขประตูปลดปล่อยอารมณ์เรา
    และเพื่อให้เราหลุดพ้นออกจากเวทนา....<O:p

    *******************
    <O:p</O:p
    การปฏิบัติ ภาวนาภาษาจิต
    ย่อมหมายถึง การเพ่งคิดวินิจฉัย
    ให้รู้เหตุ- รู้ผลค้นอยู่ใน
    จิตของใคร ของมัน ทุกวันคืน

    แรกต้อง หยุดความคิดตั้งจิตมั่น
    ไม่ปรุงปั้น ความอยากยากก็ฝืน
    เมื่อจิตหยุด สงบได้ ใจจักฟื้น
    สู่ความตื่นบริสุทธิ์ วิมุตตี

    จิตย่อมมี ความเข้าใจในธรรมชาติ
    จนสามารถ ปล่อยวางทุกอย่างที่
    มาสัมผัส รัดรึง ซึ่งกายี
    เพราะจิตมี ปัญญาชัด จึงตัดพลัน

    ไม่ต้องติด ในรูปแบบปฏิบัติ
    ไม่ต้องวัด ขั้นญาณวิมานฝัน
    ไม่ต้องหนี โลกไป ที่ไหนกัน
    อยู่กับมัน แต่ไม่ติดในจิตใจ<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 เมษายน 2011
  2. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    ไม่ต้องติด ในรูปแบบปฏิบัติ
    ไม่ต้องวัด ขั้นญาณวิมานฝัน
    ไม่ต้องหนี โลกไป ที่ไหนกัน
    อยู่กับมัน แต่ไม่ติดในจิตใจ>>

    อนุโมทนาสาธุครับ

     

แชร์หน้านี้

Loading...