ธรรมะในคัมภีร์อยู่ไกล..ธรรมะในใจอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พัชรดา, 17 มกราคม 2009.

  1. พัชรดา

    พัชรดา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +21
    ถักจิตทอใจด้วยใยธรรม


    <HR style="COLOR: #d1d1e1" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ธรรมเทศนา โดย
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    [​IMG]


    ธรรมะในคัมภีร์อยู่ไกล... ธรรมะในใจอยู่ใกล้แค่เอื้อม

    ถ้า เราไปอ่านเรื่องธรรมะในคัมภีร์ ก็ดูเหมือนกับว่าธรรมะนี้อยู่ไกลสุดเอื้อม แต่เมื่อเราจะมาศึกษาและเรียนให้รู้ธรรมะในตัวของเรา นี่ เราจะรู้สึกว่าธรรมะที่จะต้องเรียนรู้และจำเป็นต้องร ู้ก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็คือเรื่องของกายกับใจของเรานั่นเอง

    กายกับใจเป็นที่เกิดของความ สุขและความทุกข์ ความดีและความชั่วเกิดที่กายกับใจ บุญและบาปเกิดที่กายกับใจ มรรค ผล นิพพาน ความดีเกิดที่กายกับใจ เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ธรรมะ เราควรจะได้เรียนรู้เรื่องกายกับใจของเรา มากกว่าที่จะไปเรียนในคัมภีร์ให้มันมีความรู้มากๆ เป็นการส่งเสริมทิฎฐิมานะให้มันเกิดมากขึ้นๆ แล้วก็เที่ยวแบกเอาคัมภีร์ไปขัดคอกัน
    ผู้ปฏิบัติธรรมที่จะสำเร็จมรรค ผล นิพพานกันจริงๆ ต้องเรียนรู้เรื่องของโลก ในหลักธรรมะท่านสอนให้เรียนรู้ เรื่องกาย เรื่องจิต

    รู้อะไรก็ไม่สู้รู้ใจตนเอง

    ถ้า เราพิจารณาธรรมะ เราพิจารณาที่ใจเรา น้อมเข้ามาที่ใจ มารู้อยู่ที่ใจ นึกแต่เพียงว่าสิ่งภายนอกเป็นแต่เพียงอารมณ์ สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติเท่านั้น รู้นอกเป็นสมุทัย รู้ในเป็นมรรค ถ้าไปรู้นอก เป็นเหตุให้สร้างบาปสร้างกรรม
    ถ้ารู้เข้ามาในเป็นเหตุให้ละวาง
    ...ความรู้ที่จำเป็นที่สำคัญที่สุด ก็คือรู้จิตรู้ใจของเราเอง ว่าปัจจุบันนี้สภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร เศร้าหมองหรือผ่องใส มีกิเลสตัวไหนอยู่ในใจเราบ้าง เมื่อเรารู้ความจริงของตัวเราแล้ว เราจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใ จของเรา

    ... อ่านจริตของเราให้รู้ว่า เราเป็นราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต พุทธิจริต ศรัทธาจริต อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะดูให้รู้แจ้ง เพื่อจะเป็นพื้นฐานที่เราจะแก้ไขดัดแปลงจิตของเรา เมื่อเรารู้ชัดลงไปแล้ว เรามีกิเลสตัวไหน เป็นจริตประเภทไหน เราจะได้แก้ไขดัดแปลง ตัดทอนสิ่งที่เกินแล้วเพิ่มสิ่งที่หย่อนให้อยู่ในระด ับพอดีพองาม เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

    วางใจเป็นกลาง ละวางความทุกข์

    ความ ทุกข์ที่บังเกิดขึ้นที่จิต เพราะอาศัยความยินดียินร้าย เป็นตัวสมุทัยหนุนให้เกิดทุกข์ ทุกข์ตัวนี้ คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อเรามีสติกำหนดอารมณ์จิตของเราอยู่ตลอดเวลา สุขทุกข์เกิดสลับกันไป เมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้เด่นขึ้น มีพลังแก่กล้าขึ้นเมื่อใด เราสามารถที่จะกำหนดรู้ รู้ธรรมะตามความเป็นจริง... เมื่อจิตของท่านสามารถที่จะดำรงอยู่ในความเป็นปกติ ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ความเป็นปกติจิตปรากฏเด่นชัดอยู่ตลอดเวลา ตัวปกติของจิตนั่นแหละคือตัวนิโรธ เพราะฉะนั้น การกำหนดรู้อารมณ์จิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ


    ที่มา :จันทร์เจ้าขา.คอม
     
  2. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    ขอบคุณคะ อ่านแล้วดีจัง ^^
     
  3. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ....

    สาธุคับ ชอบมากคับ...

    ตรงปรกติของจิตนี่แหละคับ..สำคัญมาก เพราะจิตคนเรามักไม่อยู่กับความเป็นปกติ

    มักมองข้ามความปรกติของจิต.. โดยลืมนึกไปว่า ความเป็นปรกติคือ "ศีล" เพราะศีลแปล

    ว่าปรกติ..ก็คือสภาวะที่ไม่มีกิเลสจรเข้ามา...

    และ พอชื่อว่าปฏิบัติธรรม.. ก็พยายามที่จะทำ พยายามที่จะปฏิบัติ..ผลก็คือ

    การเข้าไปบังคับจิต..เข้าไปค้นคว้า ค้นหา..ด้วยกิเลสที่ว่าอยากได้ธรรม..

    สุดท้ายก็เลยไม่เห็นธรรม(ตามจริง)

    ทั้งๆที่จริงแล้ว "ธรรม".. เขาแสดงตัวให้เราดูตลอดเวลานะ

    แต่เราไม่เห็นเพราะไปมองผิดจุดนั้นเอง

    อนุโมทนากับกระทู้ดีๆคับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...