ธรรมสโมธาน ๘ ประการ และบารมีทั้ง ๑๐ แห่ง พระโพธิสัตว์เจ้า

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 14 กันยายน 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    พระพุทธเจ้า - พุทธวงศ์
    (คำแปล มาจากบทสวดมนต์ "อุปปาตะสันติ")
    ในภัททกัปป์นี้ ๕ พระองค์ (ผ่านไปแล้ว ๓ พระองค์) คือ
    ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ทรงมีพระวรกายสูง สี่สิบศอก พระรัศมีจากพระวรกายแผ่ซ่านไปสิบสองโยชน์ ทรงมี พระชนมายุสี่หมื่นปี
    ๒.พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระวรกายสูงสามสิบศอก ทรงมีพระชนมายุสามหมื่นปี
    ๓. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ทรงมีพระรัศมี ทรงมี พระวรกายสูงยี่สิบศอก ทรงมีพระชนมายุสองหมื่นปี
    ๔.พระพุทธเจ้าของเรา พระโคตมะ ทรงมีพระวรกายสูงสิบแปดศอก (ในพุทธวงศ์บาลีทรงแสดงไว้ว่า ทรงมีพระวรกายสูง ๑๖ ศอก)
    ๕. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เมตเตยยะ ทรงมีฤทธิ์มาก

    (ข้อความต่อจากนี้ คัดจากหนังสือรู้สึกจะชื่อ "พระมาลัยโปรดสัตว์" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ์ ป.ธ. ๙)

    ___________________________________

    ครั้งเมื่อพระมาลัยเทวเถระผู้มีบุญญาธิการมาก มีปรีชาญาณ เฉลียวฉลาดหลักแหลมมาก มียศมาก มีจิตสงบระงับจากราคาทิ กิเลสเป็นสมุทเฉทประหารปรากฏด้วยอิทธิฤทธิศักดาเดช ได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและสนทนา ธรรมกับเทพยดาผู้จะทรงมาตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ในอนาคตกาลซึ่ง ณ บัดนี้ทรงเสวยสุขสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต วันนั้นทรงเสด็จลงมาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อถวายความเคารพ พระบรมธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ ในวันปัณณรสี อุโบสถ หลังจากได้สนทนาอยู่นานสมควรแก่เวลา ก่อนจบพระ มาลัยเทวเถระจึงกราบถามคำถามสุดท้าย ดังนี้

    "สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ขอถวายพระพร อาตมภาพได้สั่งสนทนา กับมหาบพิตรมาก็เป็นเวลาอันนานพอสมควรแล้ว มหาบพิตร ประสงค์จะฝากหลักธรรมคำสั่งสอนอันเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ซึ่งเป็น ประโยชน์เกื้อกูลอันยิ่งใหญ่ไพศาล แก่มหาชนชาวชมพูทวีป ก็ ขอถวายพระพร ณ โอกาสบัดนี้"

    "ภันเต ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้ากลับลงไปสู่ มนุสสโลกแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้โปรดบอกแก่มหาชนชาว ชมพูทวีป ด้วยว่า ถ้ามหาชนชาวชมพู ทวีปอยากจะพบโยม พบศาสนาของโยม ขอให้พากันปฏิบัติ อย่างนี้

    ๑.อย่าพากันทำปัญจเวรทั้ง ๕ ประการ คือ
    ปาณาติปาตา เวรมณี ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่ มีชีวิตให้ตกล่วงไป
    อทินนาทานา เวรมณี ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้โดยอาการแห่งขโมย กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี ให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม มุสาวาทา เวรมณี ให้งดเว้นการการพูดปด คือไม่ เจรจาล่อลวงโกหกผู้อื่น
    สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี ให้งดเว้นจาก การดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สรุปใจความแล้ว ก็ได้แก่ให้พากันตั้งอยู่ในศีล ๕ ให้พากัน รักษาศีล ๕ ให้เคร่งครัด เพราะศีล ๕ นี้เป็นมนุษยธรรม เป็นธรรมะที่ทำให้คนเป็นคน ให้ดีกว่าคน ให้เด่นกว่าคน ให้เลิศกว่าคน ให้ประเสริฐกว่าคน นิยมเรียกว่า "อริยธรรม" แปลว่า ธรรมะที่ประเสริฐ ธรรมะของพระอริยเจ้า

    ๒.ให้พากันสมาทานอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ

    ๓. ให้งดเว้นเด็ดขาดจากอนันตริยกรรมทั้ง ๕ (ไม่ฆ่าพ่อ ไม่ฆ่าแม่ ไม่ทำร้ายพระอรหันต์ ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้า ไม่ทำให้สงฆ์แตกกัน)

    ๔. ให้พากันก่อสร้างกองการกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา อย่าให้ขาด อย่าได้ประมาท

    ๕.ให้ยึดมั่นอยู่ในกตเวทิตาธรรม

    ถ้ามหาชนชาวชมพูทวีปพากันประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ ก็จะได้ประสบพบกับโยมเป็นแน่ๆ เมื่อโยมได้ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมดังความปรารถนา ยถากถิตัง ขอพระคุณเจ้าจงบอกเล่าประพฤติเหตุแก่ มหาชนชาวชมพูทวีปตามถ้อยคำของโยมสั่งจงทุกประการเถิด"

    ครั้งเมื่อพระมาลัยเทวเถระผู้มีบุญญาธิการมาก มีปรีชาญาณ เฉลียวฉลาดหลักแหลมมาก มียศมาก มีจิตสงบระงับจากราคาทิ กิเลสเป็นสมุทเฉทประหารปรากฏด้วยอิทธิฤทธิศักดาเดช ได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและสนทนา ธรรมกับเทพยดาผู้จะทรงมาตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ในอนาคตกาลซึ่ง ณ บัดนี้ทรงเสวยสุขสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต วันนั้นทรงเสด็จลงมาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อถวายความเคารพ พระบรมธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ ในวันปัณณรสี อุโบสถ พระมาลัยเทวเถระได้กราบทูลถามดังนี้

    "ดูกรมหาบพิตร สำหรับมหาบพิตร ทั้งเทวดาและมนุษย์ย่อม พากันเรียกว่า พระโพธิสัตว์ทั้งนั้น อาตมภาพสงสัยว่า พระโพธิสัตว์นั้น มีอยู่กี่จำพวกมหาบพิตร"

    "มีอยู่ ๓ จำพวกเท่านั้น พระคุณเจ้าผู้เจริญ นั้นคือ

    ๑. ปัญญาธิกโพธิสัตว์
    ๒. สัทธาธิกโพธิสัตว์
    ๓. วิริยาธิกโพธิสัตว์

    ปัญญาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยปัญญา อธิบายว่ามี ปัญญายิ่งกว่าคุณธรรมอย่างอื่นทั้งสิ้น ส่วนคุณธรรมอย่างอื่น เช่น สัทธา หรือวิริยะเป็นต้นก็มีอยู่พร้อมแต่น้อยกว่า หรืออ่อน กว่าปัญญา

    สัทธาธิกะ แปลว่า ยิ่งด้วยศรัทธา คือมีศรัทธาแก่ กล้าแข็งกว่าคุณธรรมอย่างอื่นๆ เช่น ปัญญา หรือ วิริยะ ก็มี อยู่พร้อมมูล แต่อ่อนกว่าหรือน้อยกว่าศรัทธา

    วิริยาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยวิริยะ คือ ยิ่งด้วยความ เพียร ความกล้าหาญ พระโพธิสัตว์ประเภทนี้มีวิริยะมากกว่า หรือ เข้มแข็งกว่าคุณธรรมหรือคุณสมบัติอย่างอื่นทั้งหมด ส่วนคุณสมบัติอย่างอื่นๆ เช่น ปัญญาและสัทธาก็มีอยู่แต่ น้อยกว่า หรืออ่อนกว่าฯ หมายความต่างกันอย่างนี้แหละ พระคุณเจ้าผู้เจริญฯ"

    "พระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกนี้ จะได้ตรัสรู้หมดทุกจำพวกไหม มหาบพิตร"

    "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไม่ได้ ต้องย่น ๓ ลงเป็น ๒ ก่อนคือ
    เป็นนิยตะ แปลว่า แน่ ๑ เป็น อนิยตะ แปลว่า ไม่แน่ ๑
    พระโพธิสัตว์ทั้ง ๓ ประเภทนั้น ถ้าได้รับพยากรณ์แล้วเรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ แปลว่า แน่ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ถ้า ไม่ได้รับพยากรณ์คือคำยืนยันหรือรับรองจากพระพุทธเจ้าว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าเรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ เพราะยังไม่แน่ ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ อาจกลับกลายเป็นพระปัจเจก หรือเป็นพระสาวกไปก็ได้ ขอพระคุณเจ้าจงเข้าพระทัยโดยนัย ดังโยมได้วิสัชนาถวายมานี้"

    "ต่อเมื่อไรเล่าจึงจะได้พยากรณ์ มหาบพิตร"
    "ต่อเมื่อพร้อมด้วยธรรมสโมธาน ๘ ประการ จึงจะได้รับ พยากรณ์ พระคุณเจ้า ธรรมสโมธาน แปลว่า ธรรมที่ ประชุมกัน หรือ ธรรมที่รวมกัน คือประชุมกัน ครบองค์ หรือ รวมกันครบองค์ ถ้าถือตามคำแปลหรือคำ อธิบายนี้ต้องเห็นว่าเป็นกลางๆ ไม่จำกัดธรรมชนิดไร และไม่ จำกัดองค์เท่าไร โดยเหตุนี้ท่านจึงจำกัดลงไปเพื่อตัดความ เห็นต่างๆ เสีย คือมีหลักธรรมอยู่ว่า ผู้จะได้รับตัดสินหรือ ชี้ขาดจากผู้อื่นว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องมีอะไร สักอย่างหรือหลายอย่างเป็นเครื่องวินิจฉัย ต้องมีองค์คุณ ๘ เต็มที่ไม่ขาดวิ่นแม้แต่ข้อเดียว
    ธรรมสโมธาน ๘ ประการนั้น คือ
    ๑. มนุสสัตตัง ต้องเป็นมนุษย์ เป็นอย่างอื่นไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๒.สิงคสัมปัตติ ต้องสมบูรณ์ด้วยเพศ คือเป็นบุรุษพร้อมทุกส่วน จะเป็นเพศหญิง หรือบุรุษที่ไม่สมประกอบ เช่น เป็นกะเทย หรือเป็นคน ๒ เพศ ไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๓. เหตุ ต้องมีอุปนิสัยสามารถสำเร็จพระอรหันต์ ได้ เช่น สุเมธดาบส (พระพุทธเจ้าของเราปัจจุบัน- deedi) เป็นตัวอย่าง คือถ้าต้องการเป็นพระอรหันต์เมื่อใด ก็เป็นได้ เมื่อนั้น
    ๔. สัตถารทัสสน ต้องได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใด องค์หนึ่ง และได้ทำความดีถวายแด่พระพุทธเจ้าองค์นั้น เช่น สุเมธดาบส ที่ได้ทอดตัวอย่างสะพานถวายแด่พระทีปังกร พุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง
    ๕.ปัพพัชชา ต้องเป็นบรรพชิตประเภทใดๆ ก็ตาม แต่ให้เป็นประเภทถือถูก จะเป็นดาบสหรือปริพพาชิกก็ได้ ไม่ขัดกับข้อนี้
    ๖. คุณสัมปัตติ ต้องสมบูรณ์ด้วยคุณ คือ อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘
    ๗. อธิกาโร ต้องได้ทำความดียิ่ง คือได้ให้ชีวิตและ ลูกเมียเป็นทาน โดยเจตนาหวังโพธิญาณมาแล้ว
    ๘. ฉันทตา ต้องมีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการ เป็นพระพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ คือ ไม่ต้องการสิ่งอื่น และถึงจะ ต้องทนเหนื่อยยากลำบากเท่าไร ในการที่จะต้องสร้างบารมี อยู่นานก็ตาม เป็นไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเปลี่ยนความคิดไป ทางอื่นเป็นอันขาด

    เมื่อองค์คุณเหล่านี้ครบทั้ง ๘ ในชาติใดแล้ว ชาตินั้นแหละจึง ได้รับพยากรณ์ว่า เป็นนิตยโพธิสัตว์คือเป็นผู้แน่ที่จะได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า

    รวมองค์ ๘ หรือ ธรรมสโมทาน ๘
    ๑. มนุสสัตตัง ต้องเป็นมนุษย์ เป็นอย่างอื่นไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๒.สิงคสัมปัตติ สมบูรณ์ด้วยเพศ คือเป็นบุรุษพร้อมทุกส่วน
    ๓. เหตุ ต้องมีอุปนิสัยสำเร็จพระอรหันต์ได้
    ๔. สัตถารทัสสนัง ต้องได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
    ๕. ปัพพัชชา ต้องเป็นบรรพชิตประเภทที่ถือถูก
    ๖. คุณสัมปัตติ ต้องสมบูรณ์ด้วยคุณคืออภิญญา-สมาบัติ
    ๗. อธิกาโร ต้องได้ทำความดียิ่งเช่นได้ให้ชีวิต ลูกเมียเป็นทานเป็นต้น
    ๘. ฉันทตา ต้องมีความพอใจอย่างแรงกล้าอย่างเต็มที่ในการเป็น พระพุทธเจ้า

    ธรรมสโมธาน ๘ ประการ มีอรรถาธิบายเป็นอย่างนี้แหละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ"

    ....................................................................................................

    บารมี ๑๐
    ทาน ได้แก่ การให้ การเสียสละ
    ศีล ได้แก่ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย มีความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย
    เนกขัมมะ ได้แก่ การออกบวช การปลีกตัวปลีกใจจากกาม
    ปัญญา ได้แก่ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้ เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
    วิริยะ ได้แก่ ความเพียร ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
    ขันติ ได้แก่ ความอดทน ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ลุอำนาจกิเลส
    สัจจะ ได้แก่ ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ
    อธิษฐาน ได้แก่ ความตั้งใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่วแน่
    เมตตา ได้แก่ ความรักใคร่ ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ
    ๑๐.อุเบกขา ได้แก่ ความวางใจเป็นกลาง ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบชัง

    บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
    1. บารมี ธรรมดาทั่วไป
    2. อุปบารมี บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
    3. ปรมัตถบารมี บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
    เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัส

    อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
    พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
    1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
    2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
    3. ไม่เป็นคนบ้า
    4. ไม่เป็นคนใบ้
    5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
    6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
    7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
    8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
    9. ไม่เป็นสตรีเพศ
    10. ไม่ทำอนันตริยกรรม
    11. ไม่เป็นโรคเรื้อน
    12 เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
    13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
    14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
    15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
    16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
    17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
    18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น

    อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้

    ทั้งหลายนี้เป็นเหตุแห่งการเป็นพระโพธิสัตว์เจ้าแห่งเราและท่านทั้งหลาย อนุโมทนาสาธุ
    อ้างอิงจาก
    011175 -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2009
  2. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123

แชร์หน้านี้

Loading...