ธรรมทั้หลายเกิดแต่เหตุ พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 22 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
    บันทึกและถอดเทปโดยท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์ธรรมคณี(อำนาจ อุปคุตฺโต)



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺส

    เย ธมฺมา เหตุปฺปพฺภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ
    อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปณฺจ เวทนา ตถา
    อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณณฺจาติปญฺจิเม
    อุปปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เอวํ หตฺวา อภาวโต
    เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต
    เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺณาย สาธุกํ
    ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ ฯ



    ณ บัดนี้อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมมิกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เอง ว่า “ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ” ไม่มีเหตุแล้วธรรมเกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความในพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงสดับในบัดนี้ ตามวารพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้น ว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปพฺภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจโย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้นและความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้

    นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษาอรรถาธิบาย ว่า คำว่าเหตุนั้นในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมีสาม ฝ่ายดีมีสาม ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทษเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีสามเหตุดังนี้

    เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ น่ะท่านแสดงหลัก ยกเบญจขันธ์ทั้ง ๕ มีอวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ดังนี้ อวิชฺชา ทีหิ สมฺภูตา รูปณฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่เหตุปัจจัยทั้งหลายมี อวิชชา เป็นต้น

    เกิดอย่างไร เกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า

    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ดังนั้นเป็นต้น อวิชฺชาความไม่รู้จริง มันก็กระวนกระวายนิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหาความรู้จริงนั่นแหละมันเกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดีรู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่วเข้าไปว่าอวิชฺชา –ปจฺจย สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

    สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณความรู้ เมื่อมีความรู้เกิดขึ้นแล้ว

    วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดรูป มันก็ไปยึดเอานามรูปเข้า

    นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะเข้าประกอบ

    อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะเข้าแล้วก็รับผัสสะ

    ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

    เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    ตัณหา มีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ

    อุปาทาน มีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไปกามภพ รูปภพ อรูปภพ

    ภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชาต เมื่อได้ภพแล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ดี สี่กำเนิด เกิดด้วยอัณฑชะ เกิดด้วยสังเสทชะ อุปปาติกะ เกิดด้วยชลัมภุชะ สังเสทชะเหงื่อไคล อัฑชะเกิดเป็นฟองไข่ ชลัมภุชะเกิดด้วยน้ำของพวกมนุษย์ อุปปาติกะลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรก นี่อุปปาติกะ นี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้วเกิดไม่ได้ อวิชชาน่ะ เป็นเหตุด้วย แล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิงเป็นชายเป็นคฤหัสถ์ บรรพชิต เกิดมาได้อย่างนี้

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าสิ่งอันใดทั้งสิ้น ต้องมีเหตุเป็นแดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุเกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวาระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น


    เมื่อเป็นหตุเกิดขึ้นเช่นนี้ท่านวางหลักไว้อีก ว่า อุปปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ มีดับ มีเกิดดับ เกิดดับนี่เป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เกิดแต่ฝ่ายเดียว มีเกิดแล้วมีดับด้วย

    ความดับนั้นอวิชชาไม่ดับสังขารก็ดับไม่ได้

    สังขารไม่ดับวิญญาณก็ดับไม่ได้

    วิญญาณไม่ดับ นามรูปก็ดับไม่ได้

    นามรูปไม่ดับ อายตนะก็ดับไม่ได้

    อายตนไม่ดับ ผัสสะก็ดับไม่ได้

    ผัสสะไม่ดับ เวทนาก็ดับไม่ได้

    เวทนาไม่ดับ ตัญหาก็ดับไม่ได้เหมือนกัน

    ตัณหาไม่ดับ อุปาทานก็ดับไม่ได้

    อุปาทานไม่ดับ ภพก็ดับไม่ได้

    ภพไม่ดับ ชาตก็ดับไม่ได้

    ชาตเป็นตัวสำคัญ ไม่หมดชาตไม่หมดภพ นี่เขาต้องดับกันอย่างนี้



    เมื่อดับก็ดับเป็นลำดับไปอย่างนี้ ได้วางตำราไว้ว่า
    อวชฺชายเตฺว อเสสวิราคนิโรโธ สงฺขารนิโรธา
    สังขารดับ วิญญาณดับกันเรื่อยไป จนกระทั่งถึงชาตโน่นดับกันหมด
    ท่านจึงได้ยกบาลีว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ ย่อมเกิดย่อมดับดังนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เกิดดับ หมดทั้งสากลโลก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 097.gif
      097.gif
      ขนาดไฟล์:
      38 KB
      เปิดดู:
      88
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เกิดดับเรื่องนี้พระปัญจวัคคีย์รับว่าได้ฟังพระปฐมเทศนาธรรมจักกัปปวัตตนสูตรของพระบรมศาสดารับรองทีเดียวตามวารพระบาลีว่า
    อ ายสฺมโต อญฺญาโกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุ อุทปาทิ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ นิโรธธมฺมํ มนฺติ ว่า วิรชํ วีตมลํ ธุมฺมจกฺขุ ความเห็นธรรม ธมฺมจกฺขุ ความเห็นอันปราศจากธุลีมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้มีอายุชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ

    เห็นอะไร เห็นเกิดดับนั่นเอง
    ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเสมอดับไปเสมอ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้นดับไป
    สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ดับไป ถ้าย่นลงไปแล้วก็มีเกิดดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้



    เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว
    เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ความเกิดและความดับ หุตฺว่า อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาถ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง
    เพราะความเกิดขึ้นแล้ว เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรม นามธรรมหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นเหมือนดังของยืม เหมือนเราทั้งหลายบัดนี้มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรมนามธรรมที่ได้มานี้มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดับดังของยืมเหมือนกันทุกคน ต้องขอยืมทั้งนั้น ผู้เทศนี่ก็ต้องคืนให้เขา เรา ๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความป็นจริงเป็นอย่างนี้

    เมื่อรู้ความของมันเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงได้รับสั่งในคาถาเป็นลำดับ ไปว่า
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสสติ อถนิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคโค วิสุทฺธิยา
    เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เทื่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์
    เอส มคฺโค วิสุทธิยา
    นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ให้ปัญญาจดลงตรงนี้น่ะว่า สังขารเราทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจริงไม่เที่ยงอยู่แล้วละก็ยึดด้วยความไม่เที่ยงนั้นไว้ อย่าให้หายไป ตรึกไว้เรื่อยสังขารทั้งปวงน่ะ ถ้ามันอยากจะโลดโผนละก็สังขารของตัว ปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นปุญอปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว กายสังขาร ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วจีสังขาร ความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขาร ความรู้สึกอยู่ในใจ เป็นจิตตสังขาร

    สังขารทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริง ๆ แล้วเอาจดอยู่ที่ความไม่เที่ยง ตัวเป็นสังขารดุจเดียวกัน แบบเดียวกันหมดปรากฎหมดทั้งสากลโลก ล้วนแต่อาศัยสังขารทั้งนั้น เห็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทีเดียว พอเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ก็รักษาความเหนื่อยหน่ายนั้นไม่ให้หายไป ช่องนั้นแหละ ทางนั้นแหละหมดจดวิเศษ ระงับทุกข์แท้ ๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    แล้วคาถาตามลำดับไปรับรองว่า
    ปุนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทนวเยน จ เต ทุกขาว อนิจฺจา เย อตถสนฺตตฺตาทิโต
    สังขตธรรมเหล่าใดไม่เที่ยง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงแล้ว สังขารธรรมเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะความที่ไม่เป็นไปตามอำนาจใครเลย อันความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปมีเบียดเบียนอยู่ร่ำไป และเป็นสภาพที่เร่าร้อนเป็นต้น ไม่เยือกเย็นเป็นสภาพที่เร่าร้อน

    พระคาถารับสมอ้างอีกว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ
    นี่ให้เห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ อ้ายสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นทุกข์แท้ ๆ ไม่ใช่เป็นสุข ถ้าว่าเป็นสุขแล้วมันต้องเที่ยง นี่มันไม่เป็นสุขมันจึงไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้วมันเป็นสุขได้อย่างไร มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น

    เมื่อรู้จักชัดเช่นนี้แล้ว
    วเส อวตฺตนา เยว อตตวิปกฺข ภาวโต สุญญสตสสา วิกตตา จ เต อนตตาติ ญายเร
    สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่า เป็นอนัตตา เพราะความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลย และเป็นปฏิปักษ์แก่ตัวเสียด้วย
    อตตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน
    สุญฺญสตสฺสา วิกตตา จ
    เป็นสภาพว่างเปล่าหมดทั้งสากลโลก เราก็ว่างเปล่า เขาก็ว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย โบร่ำโบราณต้นตระกูลเป็นอย่างไรหายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนี้ไม่มีเจ้าของ เอ้าใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่าเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ ด้วยกันทั้งนั้นเป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยันว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้น เอาไม่ได้เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักความจริงดังนี้ให้ตรึกไว้ในใจ ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อกี้พูดถึงขันธ์นะ พูดถึงสังขาร นี่มาพูดถึงธรรมเสียแล้ว
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสสติ อถ นิพฺพินทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
    เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายมิใช่ตัว เอ้ามาเรื่องธรรมเสียแล้ว เมื่อกี้พูดสังขารอยู่ ธรรมทั้งหลายมิใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์นี้เป็นมรรคาวิสุทธิ์ หรือวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ
    นี่ธรรมละ ธรรมทั้งหลายมิใช่ตัวหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว นี่มันอื่นจากสังขารไป มันสังขารคนละอย่าง สังขารอันหนึ่ง ธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน
    ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นตัวน่ะ ที่จะเป็นมนุษย์นี่ก็ต้องอาศัยมนุษย์ธรรม ที่จะเป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ก็อาศัยมนุษย์ธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ธรรมที่เป็นกายทิพย์ อาศัยกายทิพย์ เป็นกายทิพย์ละเอียดอาศัยทิพย์ธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมก็อาศัยพรหมธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ที่เป็นอรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมอรูปพรหม คืออรูปฌาณถึงละเอียดก็เช่นเดียวกัน ธรรมน่ะเป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร ต่างกันหรือ ต่างกันไม่เหมือนกัน คนละอันเขาเรียกว่าสังขารธรรมอย่างไรล่ะ นั่นอนุโลม ความจริงธรรมน่ะไม่ใช่ตัว ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว เราจะค้นเข้าไปเท่าไรในตัวเรานี่แน่ะ ค้นเท่าไร ๆ ก็พบดวงธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      95
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่กลางกายมนุษย์ ใสนักที่เดียว ธรรมดวงนั้นแหละเราได้มาด้วยกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วไม่ใช่ดวงธรรมนั้น ธรรมดวงนั้นเราเรียกว่าธรรมแท้

    ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดก็ได้แบบเดียวกัน บริสุทธิ์ของมนุษย์

    ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ละเอียด ดวงโตขึ้นกว่าธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เท่าตัว

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตกว่าอีกเท่าหนึ่ง รูปพรหมละเอียดก็โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง อย่างเดียวกัน เป็นดวงใสอย่างเดียวกัน

    ธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมโตขึ้นไปอีก ๗ เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีก ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่

    นั่นดวงนั้นเป็นธรรมพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่ได้สำเร็จ ท่านเดินในกลางดวงธรรมนี้ทั้งนั้น เดินด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น

    ไม่เดินกลางดวงธรรมนี้สำเร็จไม่ได้ ไปถึงกายเป็นลำดับไม่ได้
    ดวงธรรมนี้เป็นธรรมสำคัญ
    ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ไม่ใช่ตัว แต่ธรรมถึงไม่ใช่ตัวก็ธรรมนั้นแหละทำให้เป็นตัว ตัวก็ต้องอาศัยดวงธรรมนั้นแหละจึงจะเกิดมาได้



    ถ้าไม่อาศัยดวงธรรมนั้นมาเกิดไม่ได้

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    กายมนุษย์ดวงธรรมนั้นได้บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโภหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกายวาจาใจได้ดวงธรรมนั้น

    ธรรมที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติมทาน ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไปในความบริสุทธิ์กายวาจาใจอีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไป ทั้งหยาบทั้งละเอียดธรรม

    ที่ทำให้พรหมล่ะได้รูปฌาณทั้ง ๔ ได้สำเร็จรูปฌาฌแล้วให้สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม

    ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่าทั้งหยาบละเอียด ก็ได้อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะพ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญานาสัญ ญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรม ที่ทำให้เป็นกายอรูปในธรรม ทีทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงได้ธรรมที่ทำให้เป็นกกายอรูปพรหมขึ้นทั้งหยาบทั้งละเอียดดังนี้

    นี่แหละว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตัวจริง ๆ ตัวอยู่ที่ไหนล่ะ เออธรรมทั้งหลายนี่ไม่ใช่ตัว แล้วตัวไปอยู่ที่ไหนล่ะ ตัวก็ง่าย ๆ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียดก็เป็นตัว แต่เป็นตัวที่ฝันออกไป กายทิพย์ก็เป็นตัวกายทิพย์ละเอียด ที่กายทิพย์นอนฝันออกไปก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว กายรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็นตัว แต่ว่าตัวสมมุติ ไม่ใช่ตัววิมุตติ ตัวสมมุติกันขึ้น

    เป็นตัวเข้าถึงธรรมกาย กายธรรมก็เป็นตัว เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียดก็เป็นตัวอีกนั่นแหละ เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป นั่นเข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดก็เอาตัวที่เป็นโคตรภู เข้าถึงกายธรรมพระโสดา พระโสดาละอียด นั่นเป็นตัวแท้ ๆ ตัวอริยะ เรียกว่าอริยบุคคล พระองค์ทรงรับรองแค่โคตรภูนี่ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสาวกของพระถาคตของพระผู้มีพระภาค กายธรรมที่เป็นพระโสดา โสดาละเอียด สกิทา สกิทาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด ทั้งมรรคทั้งผล นั่นเรียกว่า อริยบุคคล ๘ จำพวกนั้นเรียกว่าอริยบุคคล

    นี่แหละ ภควโต สาวกสงฺโฆ สาวกของเราตถาคตท่านปรากฏในโลกแล้วท่านทั้งแสวงหาพวกนี้ ถ้าได้แล้วก็จัดเป็นพวกของท่านทีเดียว ถ้ายังไม่ถึงกระนั้นท่านลดลงมา ถ้าบุคคลใดได้ถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดนั่นก็ ภควโต สาวกสงฺโฆ เหมือนกัน เรียกว่าพระพุทธชินสาวก ไม่ใช่อริยสาวก เป็นพระพุทธชินสาวก หรือปุถุชนลดลงตามส่วนลงมา ตามนั้น ประพฤติดี ถูกต้องร่องรอยที่จะเข้าถึงธรรมกาย ธรรมกายละเอียดขึ้นไป ไม่ได้เคลื่อนทีเดียว ทางนั้นไม่คลาดเคลื่อน ท่านอนุโลมเข้าเป็นพุทธชินสาวกด้วยเหมือนกัน หรือจะผลักเสียเลยไม่ได้ ถ้าผลักเสียเลยละก็ที่จะเป็นโคตรภู

    ธรรมกายละเอียดก็ไม่มีเหมือนกัน อาศัยความบริสุทธิ์ของพวกเราที่เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต บริสุทธิ์จริง ๆ นั่นเป็นปุถุชนสาวกของพระบรมศาสดา นี่เป็นตำรับตำรา




    บัดนี้ เราจะเป็นพระสาวกของพระศาสดาบ้างก็ต้องขาดจากใจนะ พิรุธจากกาย พิรุธจากวาจา ไม่ให้มีทีเดียว ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจจริง ๆ ด้วยใจของตน จะค้นลงไปเท่าไร ตัวเองจะค้นตัวเองลงไปเท่าไร หาความผิดทางกายวาจาใจไม่ได้ คนอื่นพิจารณาด้วยปัญญาสักเท่าหนึ่งเท่าใดก็หาความผิดทางกายวาจาใจไม่ได้

    หรือที่ท่านมีปุริสสวิชชา รู้วารจิตของบุคคลผู้อื่นให้พินิจพิจารณาค้นความพิรุธทางกายวาจาใจ ของบุคคลผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นไม่ได้ นั้นเรียกว่า ปุถุชนสาวก ถ้าว่าเข้าธรรมกายแล้วโคตรภูทีเดียว ไม่ใช่ปุถุชนไม่ใช่อริยะ ที่จะถึงอริยะต้องอาศัยโคตรภู แต่ยังกลับเป็นปุถุชนได้ ยังกลับเป็นโลกีย์ชนได้ จึงได้ชื่อโคตรภูระหว่างปุถุชนกับพระอริยะต่อกัน ถ้าเข้าถึงโคตรภูแล้ว ที่จะเป็นโสดาก็เป็นไป ที่จะกลายมาเป็นปุถุชนก็กลับกลาย ที่จะเป็นโสดาก็ถึงนั้นก่อนจึงจะเป็นไปได้

    เมื่อรู้จักอันนี้นี่แหละท่านจึงได้วางบาลีว่า ผู้ใดเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เหมือนธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ไม่ใช่ตัวแล้ว จะไปเพลินอะไรกับมันเล่า ? มันของยืมเขามาหลอก ๆ ลวง ๆ อยู่อย่างนี้ เพลินไม่สนุก ปล่อยมัน อ้ายที่ปล่อยไม่ได้ไม่เข้าใจว่าตัวเป็นของตัว จงปล่อยมัน เมื่อปล่อยแล้วนั่นแหละหนทางหมดจดวิเศษ หนทางบริสุทธิ์ทีเดียว นั้นเป็นหนทางบริสุทธ์แท้ ๆ วิสุทฺธิ

    สพฺพเกลเสหิ วิสุทธิ อตถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ
    เมื่อหมดจดจากกิเลสทั้งหลายได้แล้ว
    วิสุทฺธิ สพฺพเกลเสหิ โหติ ทุกฺเข นิพพุติ เจตโส โหติ สาสนติ
    นิพพานมีติมุจฺจเร
    ความหมดจดความปลอดจากกิเลสทั้งหลายแล้ว ย่อมดับจากทุกข์ทั้งหลายเสียได้ ทุกข์เหล่านั้นดับไปแล้ว จิตก็สงบ หลุดไปจากทุกข์ทั้งหมด

    นิพพานฺมีติ วุจฺจเร
    นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความดับคือนิพพาน แต่ว่าความสงบนี่เป็นต้นของมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าเข้าความหยุดความสงบไม่ได้บรรลุนิพพานไม่ได้ ความหยุดความสงบเป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพานทีเดียว

    จะไปนิพพานได้ต้องไปทางนี้ มีทางเดียว ทางสงบอันเดียวกันนี้แหละ ท่านจึงยืนยันต่อไปว่า
    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
    สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี
    หยุดนิ่งกันทั้งหมดทั้งสากลโลก ไม่เอาธุระ นั่นเป็นทางบริสุทธิ์
    นั่นเป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานแท้ ๆ
    รู้แน่เช่นนี้แล้ว ย่อสั้นลงไปท่านจึงได้ยืนยันว่า เย จ โข สมฺมทกฺขาตาธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชะนา ปรเมสฺสนฺติ มจฺ-จุ-เธย-ยํ สุทุตฺตรํ กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต

    ก็ชนเหล่าใดประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตกล่าวแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นจะถึงฝั่งคือนิพพาน อันเป็นที่ตั้งล่วงเสียวัฏฏะ อันเป็นที่ตั้งของมัจจุ ฝั่งที่ล่วงเสียวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งของมัจจุสุดจะข้ามได้ คือนิพพาน นั่นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงฝั่งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ สุทุตฺตรํ แสนยากที่จะข้ามได้ ในสากลโลกที่จะข้ามถึงฝั่งนิพพานน่ะแสนยาก ไม่ใช่เป็นของง่ายเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      62
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระพุทธเจ้าท่านสร้างบารมี ๔ อสงขัย แสนกัล์ป ๘ อสงขัย แสนกัล์ป ๑๖ อสงขัย แสนกัล์ป จึงจะข้ามวัฏฏะสงสารได้ ถ้าคนข้ามได้บ้างก็แสนยากที่ข้ามได้ ท่านจึงได้วางตำราเป็นเนติแบบแผนไปตามลำดับ ๆ ไปว่า
    สทฺธาย จ สีเลน จ ยา ปวตฺตติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภย สาตาทิ สีสี ลภตี อุปปาติกา อาทิยติ สารมิเทว อตฺตโน
    แต่ว่าในท้ายพระคาถา บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ไม่ประพฤติเลยทีเดียว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้นขาดเด็ดลงไป เหมือนภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา พอบวชเป็นพระป็นเณร ขาดจากใจความชั่วไม่ทำเลย ถ้าว่าชีวิตตายเป็นตายกันชีวิตจะดับดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำประพฤติธรรมขาวแท้ๆ

    อุบาสกอุบาสิกาล่ะเมื่อจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาดี ๆ แท้ ๆ น่ะ พอเริ่มเป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ขาดจากใจ ความชั่วกายวาจาใจละเด็ดขาด ไม่ทำชีวิตดับ ๆ ไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ลงไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องทุกข์กับใคร แน่นอนใจทีเดียว นี้อย่างชนิดนี้ละธรรมดำเสียยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น

    นี่พระโพธิสัตว์เจ้าบารมีเป็นสองชาติดังนี้ ละธรรมดำจริง ๆ เจริญธรรมขาวจริง ๆ ไม่ยักเยื้องแปรผันไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ตามวาระพระบาลีว่า คาถาข้างหลังรับรองไว้
    สทฺธาย สีเลน จ ยา ปวตฺติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภยํ สาตาสาตาทิสีสี ลภตี อุปปาติกา อาทิยติ สารมิเทว อตฺตโน
    หญิงชายต้องแปลเป็นเอาเสส หญิงชายเหล่าใดเจริญด้วยศรัทธาความเชื่อมั่นในขันธสันดาน ละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้วฝ่ายเดียวแล้วเจริญด้วยศีล เจริญด้วยสุตตะ นี่ก็เป็นฝ่ายดี เจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยปัญญา หญิงชายเหล่าใดที่เจริญในทางจิตด้วยศีล ด้วยจาคะ ด้วยสุตตะ ด้วยปัญญาแล้ว
    สาตาวิสีสี ลภตี อุปปฺปาติกา
    หญิงชายเช่นนั้น ชื่อว่า ประพฤติเป็นปรกติ หญิงชายเหล่านั้น ชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นในพระรัตนตรัย
    อาทิยติ สารมิเทว อตฺตโน
    ได้ชื่อว่า ยึดแก่นสารของตนไว้ได้

    ตรงหลักนี้ต้องจำไว้ ยึดไว้ให้มั่นเชียว ไม่ให้คลาดเคลื่อนได้
    ชีรนฺติ เวยา ธนตฺถา สุจิติ วา อโถ สรีรญฺปิ สรํ อุปฺโปติ ปปญฺจธมฺโม สครํ อุเปติ ปุญฺญานิ กริราถ สุขาวหานิ
    ราชรถอันงดงามย่อมถึงความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างของเราทั้งหลายนี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรมไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมดเหมือนกันหมดเป็นลำดับ ๆ ไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตตบุรุษย่อมหาเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นธรรมสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่งความทรุดโทรม ไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่ถึงซึ่งความทรุดโทรม

    เมื่อรู้จัดเช่นนี้ควรกระทำเถิดซึ่งบุญ
    ปุญฺญนิ กยิราถ
    ควรกระทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย
    สุขาวหานิ
    อันนำความสุขมาให้ เมื่อทำบุญทั้งหลายแล้ว นำความสุขมาให้
    อจฺเจนฺติ กาลา
    กาลย่อมผ่านไป
    ตรยนฺติ รตฺติโย
    ราตรีก็ย่อมล่วงไป วันก็ผ่านไป
    วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
    กาลผ่านไป ราตรีย่องล่วงไป ชั้นของวัยย่อมละลำดับไป
    ชั้นของวัยเป็นไฉน เด็กเล็ก ๆ ละลำดับเด็กเรื่อยมาเป็นคนโต ๆ เป็นลำดับมา หนุ่มสาวละลำดับมา แก่เฒ่าละเป็นลำดับมาอีกหน่อยก็หมด ละลำดับอย่างนี้มาเรื่อย เหมือนกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา กาลเวลานะ อดีตกาลปีที่ล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกาลปีที่เป็นปัจจุบันนี้ อนาคตกาลปีที่จะมีมาข้างหน้าผ่านไปหมด นี่แหละกาลผ่านไปวันเวลา วันนี้ผ่านไปบ้างแล้ว ผ่านไปแล้วเป็นอดีตที่กำลังปรากฏฟังเทศน์อยู่นี้เป็นปัจจุบัน วันที่จะมาข้างหน้าเป็นอนาคต นั่นแหละเรียกกาลเวลาผ่านไป ๆ ราตรีล่วงไปวันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ไม่ถอยกลับมาเลย ชั้นของวัยเด็กเล็ก ๆ เป็นหนุ่มสาว เป็นแก่เป็นเฒ่าก็ละลำดับเรื่อยไป ไม่ได้หยุดอยู่เลยสักนิด ไม่รอใครเลย เอ็งจะรออย่างไรก็ตามเถิด ข้าไม่รอเจ้า

    ความจริงเป็นอย่างนี้ก็ต้องละลำดับไป เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ผู้มีปัญญาเห็นเหตุนั้นเป็นภัยในความตายทีเดียวไอ้กาลเวลาผ่านไป ราตรีล่วงไปชั้นของวัยละลำดับไป นั้นเป็นภัยในความตายทีเดียวนนะ ตัวตายที่เดียวไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัดจริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่ามุ่งอื่น มุ่งแต่การบำเพ็ญการกุศลต่อไป ที่จะนำความสุขมาให้แท้ ๆ ไม่ต้องๆไปสงสัย เอตตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาปิ ผู้มีปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว สาธุกํ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ



     
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้วพึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ ไร้ประโยชน์ พึงปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่ง ๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์

    ถ้าปล่อยความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก็เป็นลูกศิษย์พญามาร
    เป็นบ่าวของพญามาร
    ไม่ใช่ลูกศิษย์พระ
    เป็นลูกศิษย์พญามาร
    เป็นบ่าวพญามาร


    พึงปฏิบัติชีวิตของตน อโนฆํ ไม่ให้ไร้ประโยชน์ไม่ให้เปล่าประโยชน์ จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราทั้งหลายแม้เสด็จดับขันธ์ไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆอย่างนี้ เราพึงปฏิบัติตามเถิดสมกับพบพระบรมศาสดา

    นี่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความตามสยามภาษา ตามมัตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุเต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุก ถ้วนหน้า อาตมาภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควรแก่เวลา สมมุติยุติธรรมมิกถาเพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ".................ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
    เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
    แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
    อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ
    จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๑๖๔๘ - ๑๗๐๒. หน้าที่ ๖๘ - ๗๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0<!-- m -->
    อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... de=bracket<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 162207.jpg
      162207.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.5 KB
      เปิดดู:
      78
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



    ๕. สรภังเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ


    [๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
    โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
    สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
    เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
    อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
    ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว พระ
    สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
    เวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป
    ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
    ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
    ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
    เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
    สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
    เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
    ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
    เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
    ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
    -----------------------------------------------------
    พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
    ๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
    ๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
    ๕. พระสรภังคเถระ.
    จบ สัตตกนิบาต.
    -----------------------------------------------------

    Quote Tipitaka:
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...