ธรรมคารวตา ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]ท่านพ่อลี ธัมมธโร[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table> <center> ธรรมคารวตา </center> ธรรมะของจริงนั้น คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ๔ อย่างนี้มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนเหมือนกันหมดเปรียบเหมือนทองคำซึ่งเป็นก้อนแร่ ชนิดหนึ่ง ใครจะเอาทองคำไปทำเป็นสายสร้อย แหวน ต่างหู หรืออะไรๆก็ตาม แต่มันก็เป็นทองคำโดยธรรมชาติอยู่เช่นนั้น ใครจะดัดแปลงแก้ไขก็ทำไปเถิด มันก็คงจะเป็นอยู่อย่างนั้นธรรมชาติของร่างกายก็เหมือนกัน ใครจะดัดแปลงประดิษฐ์ประดอยให้วิเศษวิโสอย่างไรก็ตาม มันก็ต้องลงมาเป็นสภาพธรรมดาของมัน คือร่างกายของเรานี้จะต้องมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คนที่ไม่รู้จักธรรมดาก็เรียกว่า “หลง” คนที่รู้จักก็เรียกว่า “รู้” นักปราชญ์ท่านรู้หลักธรรมชาติธรรมดา ท่านจึงไม่หลงไปตามความวุ่นวายเปรียบเหมือนของสิ่งหนึ่งที่น้ำหนักเดิมมันมี อยู่ ๔ กิโล ถึงเราจะหาอะไรไปพอกไปเพิ่มให้มันหนักมากขึ้น แต่ผลที่สุด มันก็จะต้องหลุดลงมาเหลือ ๔ กิโลเท่าเก่า มันจะหนีของเดิมไปไม่ได้
    ธรรมะนั้นมีอยู่ ๒ อย่าง เรียกว่า “ธรรมจักร” และ “วัฏจักร” คือหลักธรรมชาติ มันจะต้องหมุนเวียนไปตามธรรมดา ฝืนไม่ได้ ความทุกข์ที่เป็นอยู่ในธรรมชาตินั้นไม่วุ่นวายมากเท่าไร เช่นการเจ็บป่วย ถ้าเราจะไปฝืนไม่ให้มันเจ็บ หรืออยากให้มันหายเร็วๆ บางทีมันกลายเป็นเพิ่มหนักยิ่งขึ้นไปกว่าเก่าอีก ถ้าเรารักษาไปแล้วแต่มันจะหายหรือไม่หาย แล้วสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้นก็จะหายไปเอง ความทุกข์ก็ไม่มาก ความวุ่นวายก็ไม่มี เพราะดวงจิตของเราไม่ดิ้นรนที่จะฝืนธรรมดา กำลังกายก็แข็งพอที่จะต่อสู้กับความเจ็บไข้ได้ บางทีโรคที่จะถึงตาย ก็อาจจะทำให้พ้นตายได้ ถ้าจิตไปดิ้นรนอยากให้มันหายแล้ว บางทีโรคน้อยอาจกลายเป็นมากจนถึงตายเลยก็ได้ เช่นคนที่ไปถูกแมลงป่องหรือตะขาบกัด เข้าใจว่าตัวถูกงูเห่ากัด ก็ตกใจมากจนใจเสีย เลยพาลเป็นมากใหญ่โตไปก็มี โรคบางอย่างที่น่าจะตาย แต่อำนาจจิตใหญ่ก็สามารถทำความทุกข์ให้หายไปได้
    นี้ก็อยู่ในหลักธรรมดา แต่ธรรมดาของจริงที่เป็นไปได้นี้ เราก็ไม่ควรนอนใจ ความนอนใจนั่นแหละ ถ้ามันกลับมาใหม่จะยิ่งร้ายไปกว่าเก่าอีก เพราะธรรมดาของจริงนั้น เราจะทำอย่างไรมันก็ไม่พ้นไปจากของจริงเมื่อของจริงมีประจำตัวอยู่อย่างนี้ ถึงจะแก้ก็แก้ไปเถิด มันก็ต้องกลับมาเป็นจริงอย่างเก่าอีก ใครจะแก้ได้มันก็จริง แก้ไม่ได้มันก็จริง คือแก้ได้มันก็มาเป็นอีก เช่นเวลาที่เราเจ็บ พอกินยาเข้าไปสบายดี เราก็นึกว่ามันหายแต่ผู้มีปัญญาเห็นว่าไม่หาย คือมันระงับไปชั่วคราว แล้วมันก็ต้องกลับมาใหม่ เรานึกว่าเราทำให้โรคมันหายได้แต่โรคมันฉลาดยิ่งกว่าคน เวลามันกลับมาใหม่ มันก็สวมเครื่องแต่งตัวใหม่เหมือนเขาเล่นละคร ถ้าเล่นฉากเดียวคนเบื่อ เขาก็ฉลาดพลิกแพลง แบบนี้เบื่อก็เปลี่ยนใหม่ มิฉะนั้นคนดูก็ไม่เสียสตางค์อีก คือมันฉลาดมาเสียคนละทาง ถ้ามาฉากเก่าก็จะไม่ได้รางวัล แรกทีเดียวมันมาทางท้อง คราวนี้มันก็เปลี่ยนมาทางขาบ้าง เราก็แก้ทางขา พอหายไป มันก็มาฉากใหม่อีก คือขึ้นมาทางตา เราก็แก้ตา พอหายไป มันก็มาทางหู เราก็แก้หู มาทางไหนเราก็แก้มันเรื่อยไป ความฉิบหายก็เกิดเรื่อย มันก็ดีใจว่าเราโง่ มันมาคนเดียวแต่มันใส่เสื้อหลายอย่างเราก็ไม่รู้ตัวจริงของมัน
    ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ มันฉลาดมากนัก สามารถที่จะผูกคอเราติดแน่นไว้กับมัน หนีไปไหนไม่รอดถ้าใครไม่ฝึกหัดดวงจิตให้เข้าสู่ธรรมะแล้ว ก็ย่อมจะต้องเข้าใจผิด ถ้าใครได้ฝึกหัดให้รู้ความจริงของธรรมะแล้วก็จะเข้าใจถูกในเรื่องของ ธรรมชาติธรรมดานี้
    การไม่รู้จักความจริง เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ๒ ด้าน ด้านหนึ่งเสียหายฝ่ายโลก คือเสียทรัพย์เพราะอันใดจำเป็นและไม่จำเป็นก็ไม่รู้จัก แตกตื่นวุ่นวายเกินกว่าเหตุ ด้านสองเสียหายฝ่ายธรรม คือ ศีลสมาธิ ภาวนาเสื่อมหมด มันก่อความเสียหายขึ้นเพราะผู้ไม่มีปัญญา เหตุนี้ท่านจึงสอนให้มีตาในตัว เราจะอยู่ในธรรมก็ต้องรักษาธรรม จะอยู่ในโลกก็ต้องรักษาโลก ผลจึงจะเจริญขึ้นตามเรื่องของมัน ใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เรื่องว่า อันใดจำเป็น อันใดไม่จำเป็น ไม่ช้าก็ความเป็นอยู่ของเราจะเกิดผลในทางโลกและทางธรรม แล้วเรายังไม่ต้องเสียเวลาและเสียทรัพย์ ในทางธรรมก็ไม่เป็นสิ่งขัดข้องในทางปฏิบัติ คือเห็นว่าสิ่งใดเป็นของจริง ก็อย่าไปขัดขวาง ปล่อยไปตามสภาพของมัน คือให้รู้ว่าดวงจิตนั้นไม่แก่ไม่เจ็บและไม่ตาย แต่ส่วนกายนั้นจะต้องแก่ เจ็บ ตาย เป็นของธรรมดาฝืนไม่ได้ เมื่อถึงคราวเจ็บก็ควรรักษาพอเป็นไป ในทางโลกก็จะไม่ร้อน ในทางธรรมก็จะไม่เสื่อม
    ความทุกข์ในสิ่งเหล่านี้เกิดจากสมุทัย คือหลงไม่รู้จริง ร่างกายบางคราวมันก็เป็นมรรคคือสงบ แต่มันก็กำเริบได้ มรรคนั้นแก่เจ็บตายไม่กำเริบ เป็นอยู่อย่างไรมันไม่เพิ่มทุกข์ คือไม่เพิ่มขึ้นมา ดวงจิตที่หลงโลกนี้ท่านเรียกว่า “วัฏจักร” คือไม่รู้มรรค สมุทัย ถ้ารู้แล้วความทุกข์ธรรมชาติก็ไม่เกี่ยวข้อง กิเลสนั้นอาศัยการสะสมจึงเป็นทุกข์ ไม่ใช่เกิดจากแก่เจ็บตาย ถ้าเรามีมรรคแล้ว ความแห้งใจ โศกเศร้า พิไรรำพัน คับแค้นใจก็ไม่มี เปรียบเหมือนน้ำซึ่งกำลังเป็นคลื่นอยู่ในมหาสมุทร ถ้าเรานำขันไปตักน้ำในทะเลนั้นมาตั้ง มันก็ไม่กระเพื่อม การเป็นคลื่นก็เพราะความหวั่นไหว ถ้าเราไม่ว่ายเวียนมันก็จะไม่เป็นคลื่น เหตุนั้นจึงต้องยกจิตใจให้เป็นกรรมฐาน ตั้งเที่ยง มันก็ไม่มีอะไรมาแทรกแซง เกิดความใส คือปัญญาที่มองเห็นความจริง
    ดวงจิตที่เป็นสมุทัยมันก็หมุนไปหาทุกข์ เป็นมรรคมันก็หมุนไปหาทางสุข ถ้าเราไม่ต้องการความทุกข์ก็อย่าไปอยู่ในสายสมุทัย ทุกข์หัวใจที่มันผิดธรรมชาตินั้นคือ ตัวกิเลสมันเข้ามาแทรก โรคเกิดทางกายแต่มันลามไปถึงหัวใจ เราต้องรู้จักว่าธาตุใดมันตาย ธาตุใดมันไม่ตาย ถ้ากิเลสของเรายังหนาแน่น ความแก่ เจ็บตาย มันก็มาก ถ้ากิเลสของเราบาง แก่ เจ็บ ตาย มันก็ไม่มาก
    ฉะนั้นเราจึงควรพากันสร้างธรรมะ คือรู้ความจริงในตน มันเจริญเพียงใดก็เสื่อมได้เพียงนั้น อย่านอนใจ ข้อสำคัญให้ดวงจิตของเราเจริญขึ้น เมื่อสูงถึงขั้นแล้วมันก็ไม่เสื่อม คือสมาธิแก่กล้า ถ้าเจริญมาก เครื่องหุ้มห่อคือกิเลสมันก็หลุด เหมือนต้นผลไม้เมื่อดอกบานเต็มที่แล้ว กลีบมันก็ร่วงกลายเป็นลูก พอลูกแก่มากๆเข้าก็งอม เนื้อหลุดไปเหลือแต่เมล็ดซึ่งเก็บพืชพันธุ์เดิมของมันไว้ทุกอย่างทุกประการ ใจซึ่งเจริญมากๆแล้ว แก่เจ็บ ตาย มันก็หลุด ทุกข์ใจก็หลุด เหลือแต่สมาธิ เมื่อสมาธิแก่ก็จะรู้ว่าตัวตายตัวไม่ตายมันอยู่ที่ไหน ถ้าเราอยากตายก็ไปอยู่กับพวกตาย ถ้าไม่อยากเกิดก็อย่าไปอยู่กับพวกเกิด ไม่อยากแก่ก็อย่าไปอยู่กับแก่ ไม่อยากเจ็บก็อย่าไปอยู่กับเจ็บ ถ้าเราไม่หนีจากมัน เราก็ต้องไปอยู่กับมัน ถ้าเราหนีจากมันเลย ดวงจิตของเราก็จะเป็นคนไม่แก่ แก่ไม่เป็น ไม่เป็นคนเจ็บ เจ็บไม่เป็น ไม่เป็นคนตาย ตายไม่เป็น ใครทำได้อย่างนี้ก็เรียกว่า เรามีธรรมหนุนไปสู่ความเจริญ มีการเคารพในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่า “ธรรมคารวตา”
    ธรรมคารวตา ไม่ใช่การกราบไหว้ แต่เป็นการรู้จักกาลเทศะ คือสิ่งใดเป็นไปได้ก็ทำ เป็นไปไม่ได้ก็อย่าไปทำและอย่าไปแก้มัน “กิเลส” คืออวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวต่อ อย่าให้สิ่งเหล่านี้มาเจือปน ดวงจิตที่เป็นอวิชชาคือไม่รู้จักอดีต อนาคต และปัจจุบัน คนรู้วิชชาคือรู้อดีต ใจมันก็ทิ้งไม่เอา รู้อนาคต ใจก็ทิ้งไม่เอา ปัจจุบันก็รู้ ไม่หลง ถอนความยึดถือได้ ถ้าเรารู้แต่มันยังหลง ก็ไม่ใช่วิชชา เป็น “อวิชชา” เพราะอวิชชานั้นมันก็รู้ แต่มันหลง อย่างนี้แหละจึงเป็นเชื้อแห่งความทุกข์ รู้วิชชานั้น อดึต อนาคต ปัจจุบันก็รู้ แต่มันไม่แล่นรู้แต่มันนิ่งเงียบสงบ ไม่ไหวขึ้น ไม่ไหวลง มันไม่แทรกแซงกัน อดีตมันก็รู้อยู่ในธรรมชาติธรรมดา อนาคตก็รู้อยู่ในธรรมชาติธรรมดา และปัจจุบันก็รู้อยู่ในธรรมชาติธรรมดา ไม่ต้องไปคิดไปนึก คนคิดนึกนั้นคือคนที่ไม่รู้ถ้ารู้มันก็ไม่คิดนึก แต่ใจก็รู้อยู่ทั่วถึงอย่างนี้แหละ เรียกว่า “วิชชา”
    ตัวรู้ ทำให้เกิดวิชชา เป็นมรรค แล้วเกิดแก่เจ็บตายก็เป็นวิมุติไป ไม่มีสังขาร เมื่อสังขารไม่มี เกิดแก่เจ็บตายก็ไม่มี ตัวอุปาทานนี้มันจับเรามัดไว้กับหลักเหมือนอย่างคนที่ถูกเขานำไปฆ่า ไม่มีทางดิ้นหนีเลย ข้างหน้าก็ติดตัง ข้างหลังก็ติดบ่วง เจ้าตัวตัณหาก็ไต่มาตามสายลวด มาแลบลิ้นปลิ้นตา ทำให้ดวงจิตเป็นห่วงในอดีตในอนาคต ข้างหลังก็แตกออกไป ๓ ตัว คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ข้างหน้าก็แตกออกไปเป็น ๓ ตัว คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ปัจจุบันก็แตกออกไป ๓ ตัวเหมือนๆกัน รวมทั้งหมดเป็น ๙ ตัว แล้วเราคนเดียวจะสู้มันไหวหรือ ในที่สุดเราก็สู้ไม่ไหว ถ้าใครเจริญสมาธิมีปัญญา ก็จะตัดสายลวดของพญามัจจุราชให้ขาดกระเด็นไปได้ เมื่อจิตเป็นมรรคเกิดขึ้น สัญญาอดีตอนาคตมันก็ดับ เป็นตัว “นิโรธ” ตัณหาอุปาทานก็ไม่มี แล้วความทุกข์มันจะมีมาแต่ไหน คนที่ยังมีกิเลสอยู่ถึงจะมีเงินเดือนวันละ ๓ พันบาท ก็ไม่วายตกนรก ถ้าคนไม่มีกิเลส ถึงจะไม่มีอะไรเลยมันก็เป็นสุข มีของกิน มีของเคี้ยว มีทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ยากไม่จน ใครคิดได้ถูกต้องอย่างนี้เรียกว่า “ธรรมคารวตา” เคารพในธรรม ผู้นั้นก็มีความสุข
    ผู้ปฏิบัติศีลและธรรม ต้องเป็นผู้ปราบปรามสัญญาโลกและสัญญาธรรม คือ กายก็ให้เป็นไปตามโลกใจก็ให้เป็นไปตามธรรม คนๆนั้นก็จะเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม การเคารพต่อสถานที่ ประเทศ หมู่สังคมตัวเอง และคนอื่น ก็เป็นการเคารพในวัตถุ การเคารพระเบียบเป็นไปในสันติภาพซึ่งกันและกัน การเคารพในโอกาสและเวลาเรียกว่า “ปฏิสันถารคารวตา” ยังความเจริญให้เป็นไปแก่โลก “ธรรมคารวตา” นั้นคือทำความเคารพต่ออารมณ์ทั้งหลายซึ่งสัญจรเข้ามาในบ้านของเรา ๑. ทางกายทวาร เราก็ต้องสำรวมระวังในอิริยาบทยืนเดินนั่งนอนให้เป็นไปในทางที่ไม่เป็นโทษ ๒. วจีทวาร คือทางปากทวารนี้มันใหญ่มาก ลิ้นเป็นของเล็กแผ่นเดียวแต่มันสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพูดวันนี้ ตายแล้วก็ยังดังอยู่ชั่วกัปกัลป์ กายนั้นตายแล้วมันก็สูญ ไม่สำคัญเหมือนวาจา การจารึกด้วยปากมันยืนยาวมาก ฉะนั้นจึงควรเคารพบูชากราบไหว้ปากของตนให้ดี คือพูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๓. มโนทวาร คือทางใจ ต้องมีความสำรวมในการคิดนึก สิ่งใดคิดไปเป็นโทษก็อย่าคิดคิดนึกแต่ในทางที่ดีที่ชอบ
    ทั้ง ๓ ประตูนี้เป็นทางซึ่งจะต้องรับอารมณ์ซึ่งเป็นแขกผ่านมา คนใดจะเข้ามาดีมาร้ายเราต้องคอยสนใจดู อย่าพลั้งเผลอ ถ้าเป็นคนดีเขาก็จะนำความสุขความมงคลมาให้เรา ถ้าเป็นคนพาลคนร้ายมันก็จะเข้ามาปล้นฆ่าแย่งชิงทรัพย์สมบัติของเราไป ก่อความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ตัวเรา
    ส่วนตา หู จมูก คือจักษุทวาร โสตทวาร และฆานทวาร ซึ่งเปรียบเหมือนกับหน้าต่างอีก ๓ ช่องนี้ ก็จะต้องระวังรักษาให้ดีเหมือนกัน ต้องคอยเปิดปิดให้ดี คนไม่มีปัญญาย่อมจะนำโจรมาปล้นมาฆ่าตัวของตัวเองสมบัติของปู่ย่าตายายพ่อแม่ และครูบาอาจารย์ที่ท่านให้ไว้ ก็ต้องฉิบหายหมด ได้ชื่อว่าเป็นคนอกตัญญู ไม่รู้จักรักษาทรัพย์ที่ท่านให้ไว้เป็นมรดก
    บิดามารดาท่านให้สมบัติแก่เราก็คือ ชีวิต เลือดเนื้อ กระดูก ฯลฯ ส่วนครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำชุบตัวให้เป็นคนดี ให้มีจิตประกอบด้วยศีลธรรม ก็เป็นมรดกสำคัญก้อนหนึ่ง จงตรวจดูตัวเองว่า ใครทำความดีสมกับสมบัติที่ท่านให้แล้วหรือยัง ถ้ากาย วาจา ใจ ของใครเปิดให้ความชั่วไหลเข้ามาในตัวของตัว ชั่วมันก็จะไหลเข้ามาเรื่อย ทำความสึกหรอเสื่อมเสียเจ็บไข้ให้แก่ร่างกายและจิตใจ คนนั้นก็ย่อมจะมีบาปกรรมมาก ไม่รู้จักบุญคุณของท่าน
    บางทีเปิดประตูไว้ก็ยังไม่พอ ยังเปิดหน้าต่างไว้อีก จิ้งจก ตุ๊กแก งู แมลงป่อง หรือ นก กา ค้างคาวมันก็จะเข้ามาอาศัย และเมื่อมันเข้าไปอยู่นานๆ มันก็จะยึดกรรมสิทธิ์ว่าเป็นบ้านของมัน คือกายนี้มันก็ว่าเป็นของของกู วาจาก็เป็นของกู ใจก็เป็นของกู ตา หู จมูก ก็เป็นของกูทั้งหมด แล้วเราก็ยอมให้มัน มันก็จะเข้ามาขี้ใส่ เยี่ยวใส่ ทำความสกปรกโสโครกเลอะเทอะไว้ให้ ความไม่สำรวมก็ทำสังขารให้ย่อยยับ นี้เป็นการทำลายสมบัติของปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และครูบาอาจารย์ที่ท่านให้ไว้ ให้พินาศเสื่อมสูญ พ่อแม่และครูบาอาจารย์นั้นย่อมไม่ฆ่าลูกหรือลูกศิษย์ของตัวเองให้ตายดอก ตายยาก แต่สำหรับคนอื่นนั้นเขาย่อมฆ่าได้ง่ายนัก
    ฉะนั้น ถ้าคนใดเข้ามาในบ้านของเรา เราต้องไล่เลียงไต่ถามว่ามาทำไม มาดีหรือมาร้าย ต้องดูหน้าดูตาให้รู้ คือนั่ง นอน ยืน เดิน ต้องมีสติไตร่ตรอง ถ้าสิ่งใดไม่ดีต้องกำจัดสิ่งนั้นไปเสีย ถึงมันจะมาในด้านทรัพย์หรือชื่อเสียงก็ไม่เอา
    ทางวาจาก็เหมือนกัน ถ้าพูดไปมันจะเกิดประโยชน์ก็ควรเปิด คำใดควรพูดก็พูด คำใดไม่ควรพูดก็ไม่พูด ถ้าไม่มีประโยชน์ถึงวิเศษวิโสอย่างไรก็อย่าพูด ต้องรู้จักต้อนรับกิจการต่างๆที่จะไหลเข้ามา ความชั่วจงหนีความดีมาเถิด
    ส่วนดวงใจนั้นก็ต้องคอยสำรวมระวัง คิดเรื่องใดที่จะเป็นไปด้วยดี เป็นไปด้วยความสุข ก็ควรคิดเรื่องนั้น สิ่งใดที่จะก่อความยุ่งเหยิงอย่าไปดึงเข้ามา สิ่งใดที่ตนชอบก็กลืนกินเข้าไปทั้งหมด นั่นแหละมันจะตาย เขาเรียกว่าคนไม่รู้ภาษีภาษา ความหายนะคือ ๑. ความดีที่เรามีอยู่แล้วก็จะเสื่อมเสีย ๒. ทางสมบัติที่พ่อแม่ พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ให้ไว้ก็เสื่อม
    ในทางกาย มีตา หู จมูก ลิ้น สิ่งใดจะเกิดประโยชน์แก่เรา ก็ควรสนใจสิ่งนั้น ความชั่วจงขนออก ความดีจงขนเข้ามา ใครทำเช่นนี้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ยังเกียรติให้แก่บิดามารดาและครูบา อาจารย์ของตน บ้านของเราก็จะสะอาดดี นั่งนอนอยู่สบาย ขี้นก เป็ด ไก่ ก็ไม่มี
    ถ้าเราไม่มีการปฏิบัติที่สำรวม กายก็เศร้าหมอง วาจาก็เศร้าหมอง แล้วจิตมันจะอยู่อย่างไรได้ ก็เหมือนบ้านเรือนที่สกปรกเลอะเทอะนั้น ใครจะเดินเข้าไปก็ไม่อยากเดิน เจ้าของเองก็อยู่ไม่ได้ ถ้าใครหมั่นชำระปัดกวาดอยู่เสมอก็จะเป็นบ้านที่น่าอยู่ และคนที่เข้ามาก็เป็นคนดี คนดีเข้ามาเขาก็ไม่ทำให้เราเสียหาย อารมณ์เปรียบเหมือนแขกที่เข้ามาก็ไม่ทำความเสียหายในทางจิต จิตนั้นก็จะเป็นจิตที่ดีว่าง่าย ให้มันอยู่ที่ไหนก็อยู่ที่นั่น ถ้าเก้าอี้โต๊ะเตียงแม้จะเป็นหินอ่อน แต่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองเลอะเทอะ แขกก็นั่งไม่ได้ และเราเองก็นั่งไม่ลง
    ใครชำระศีลทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของตนให้ผ่องใส จิตก็จะเป็นสมาธิได้ง่าย ดวงจิตนั้นถึงจะมีกิเลสมาเยี่ยมเป็นครั้งเป็นคราวก็ไม่เป็นไร เพราะเรามีทรัพย์มีคนใช้ โจรเข้ามาก็โยนก้อนเพชรปาหัวมันไป เจ้าพวกแก่เจ็บตายมาขอทาน ก็โยนให้มันอีก ถ้าใครมันมาปล้นคนจนได้ทรัพย์ไปไม่พอใจ มันก็จะมาเอาชีวิต ถ้าปล้นเศรษฐีก็แผ่กุศล คือ อริยทรัพย์ ที่เราสรรสร้างไว้ให้มันไป เจ้ากรรมนายเวรได้รับทรัพย์ คือบุญกุศลเป็นที่พอใจแล้ว มันก็จะหายไป
    ความดีนั้นถ้ายังไม่พอยังไม่เต็ม ความชั่วมันก็ไหลเข้ามาได้ ถ้ามือ เท้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเต็มไปด้วยความดี ความชั่วมันก็ไม่เข้าถึง เป็นอันพ้นไป ความดีก็มีเสียจนเป็นเศรษฐี ความชั่วก็มีมากเสียจนไม่ต้องการ ใครพ้นจากความดีความชั่วเสียได้ ผู้นั้นก็เป็นสุขไม่มีภัย
    เหตุนั้นสาธุชนทั้งหลายจึงควรพากันจดจำ และน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติกาย วาจา ใจของตนให้เป็นผู้มีความเคารพในธรรมดังกล่าวมาแล้วนี้ ก็จะถึงซึ่งความสุขได้ตามความปรารถนา

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...