<TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=right>ธรรมของผู้มุ่งปฏิบัติขั้นสูง <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%" bgColor=lightyellow><TBODY><TR><TD>สัมมัปปธาน ๔</TD><TD>โพชฌงค์ ๗</TD></TR><TR><TD>ศรัทธา ๔</TD><TD>อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕</TD></TR><TR><TD>สังโยชน์ ๑๐ ประการ</TD><TD>วิปัสสนาญาณ ๙ </TD></TR><TR><TD>อานิสงส์ของมีเมตตาเป็นฌาน ๑๑ ประการ</TD><TD>สมาบัติ ๘</TD></TR><TR><TD>สติปัฏฐาน ๔ ประการ</TD><TD>วิโมกข์ ๘</TD></TR><TR><TD>บารมี ๑๐ ทัศ</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>สัมมัปปธาน ๔ หรือหมายถึงความเพียร ๔ ประการได้แก่ ๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ (สังวรปธาน) ๒.เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน) ๓.เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในจิตใจ (ภาวนาปธาน) ๔.เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม (อนุรักขณาปธาน) <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>ศรัทธา ๔ คือความเชื่อที่ต้องเชื่อด้วยความแนบแน่นเป็นพื้นฐานคือ ๑.เชื่อเรื่องกรรมว่ามีจริง (กัมมสัทธา) ๒.เชื่อวิบากหรือผลของกรรมว่ามีจริง (วิปากสัทธา) ๓.เชื่อการที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาสัทธา) ๔.เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสัทธา) <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE> ในพระพุทธศาสนาผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอริยบุคคล คือบุคคลที่ประเสริฐ เป็นผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพหรือผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์) ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต้น เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น ใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ สังโยชน์ ๑๐ ประการ ได้แก่ <TABLE cellSpacing=0 cols=2 cellPadding=0 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.สังกายทิฏฐิ </TD><TD>ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน</TD></TR><TR><TD>๒.วิจิกิจฉา</TD><TD>ความสงสัยในผลกรรม การเวียนว่ายตายเกิด</TD></TR><TR><TD>๓.สีลัพพตปรามาส</TD><TD>การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์</TD></TR><TR><TD>๔.กามราคะ</TD><TD>ความติดใจในกามารมณ์</TD></TR><TR><TD>๕.ปฏิฆะ</TD><TD>ความขัดเคืองใจ</TD></TR><TR><TD>๖.รูปนาคะ</TD><TD>ความติดใจในรูป เช่นสิ่งล้ำค่าสวยงาม</TD></TR><TR><TD>๗.อรูปนาคะ</TD><TD>ความติดใจในสิ่งไม่มีรูป เช่นคำสรรเสริญ</TD></TR><TR><TD>๘.มานะ</TD><TD>ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ ติดในยศศักดิ์</TD></TR><TR><TD>๙.อุทธัจจะ</TD><TD>ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ไม่สงบใจ</TD></TR><TR><TD>๑๐.อวิชชา</TD><TD>ความไม่รู้อริยสัจ ๔</TD></TR></TBODY></TABLE> <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>อานิสงส์ของการมีเมตตาที่เป็นฌาน ๑๑ ประการคือ (เมตตาเจโตวิมุติ) <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.หลับเป็นสุข</TD><TD>๗.ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย</TD></TR><TR><TD>๒.ตื่นเป็นสุข</TD><TD>๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว</TD></TR><TR><TD>๓.ไม่ฝ้นร้าย</TD><TD>๙.ผิวหน้าผ่องใส</TD></TR><TR><TD>๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย</TD><TD>๑๐.ไม่หลงตาย (ตายด้วยจิตสงบ)</TD></TR><TR><TD>๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย</TD><TD>๑๑.ถ้าไม่บรรลุธรรมสูงขึ้นไป ก็จะเข้าสู่พรหมโลก</TD></TR><TR><TD>๖.เทวดาพิทักษ์รักษา</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE> <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE> สติปัฏฐาน ๔ คือสิ่งที่เราควรระลึกถึง ๔ ประการได้แก่ ๑.การตั้งสติพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) ๒.การตั้งสติพิจารณาอารมณ์ (เวทนานุปัสสนา) ๓.การตั้งสติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว (จิตตานุปัสสนา) ๔.การตั้งสติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ธัมมานุปัสสนา) <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE> ในพระพุทธประวัติเขียนไว้ว่า พระบรมโพธิสัตว์ (ตอนก่อนตรัสรู้) ครั้งเมื่อมีชัยชนะต่อพญามาร ตอนที่กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น ก็ด้วยบารมี ๑๐ ทัศดังต่อไปนี้ บารมีจะเกิดขึ้นได้มี ๑๐ อย่าง ได้แก่ <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>๑.ทานบารมี</TD><TD>การให้สิ่งที่ควรให้</TD></TR><TR><TD>๒.ศีลบารมี</TD><TD>การบำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์</TD></TR><TR><TD>๓.เนกขัมมบารมี</TD><TD>การออกจากกามซึ่งต้องบำเพ็ญให้ถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๔.ปัญญาบารมี</TD><TD>การไต่ถามจากผู้รู้</TD></TR><TR><TD>๕.วิริยบารมี</TD><TD>การทำความเพียรอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๖.ขันติบารมี</TD><TD>การอดกลั้นอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๗.อธิษฐานบารมี</TD><TD>การตั้งจิตไว้ให้มั่นคง</TD></TR><TR><TD>๘.สัจบารมี</TD><TD>การรักษาวาจาสัตย์อย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๙.เมตตาบารมี</TD><TD>การมีเมตตาอย่างถึงที่สุด</TD></TR><TR><TD>๑๐.อุเบกขาบารมี</TD><TD>การวางเฉยไม่ว่าเรื่องดีไม่ดี ไม่ว่าจะมีลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE> <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE> ธรรมที่ใช้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ ๗ ประการได้แก่ โพชฌงค์ ๗ ๑.ความระลึกได้ (สติ) ๒.ความสอดส่องธรรม (ธัมมวิจยะ) ๓.ความเพียร (วิริยะ) ๔.ความอิ่มใจ (ปิติ) ๕.ความสงบใจและอารมณ์ (ปัสสัทธิ) ๖.ความตั้งใจมั่น มีจิตแน่วแน่ในอารมณ์ (สมาธิ) ๗.ความวางเฉย หยุดนิ่ง (อุเบกขา) <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ คือข้อพิจารณาถึงสังขารของกายเรา เพื่อรำลึกอยู่เนืองๆ ๑.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความแก่ไปได้(ชราธัมมตา) ๒.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ (พยาธิธัมมตา) ๓.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความตายไปได้ (มรณธัมมตา) ๔.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เราจักต้องมีการพลัดพรากจากของรักเป็นธรรมดาด้วยกันทั้งสิ้น (ปิยวินาภาวตา) ๕.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ไม่ว่าดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักต้องรับผลของกรรมนั้น (กัมมัสสกตา) <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>*วิปัสสนาญาณ ๙ คือการวิปัสสนาให้เห็นรู้แจ้งถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง มีขั้นๆดังนี้ ๑.ญาณที่เห็นว่าการเกิดมาและดับไปของเบญจขันธ์เป็นเรื่องธรรมดา (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ) ๒.ญาณที่เห็นการสลายไปของสังขารว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (ภังคานุปัสสนาญาณ) ๓.ญาณที่เห็นสังขารเป็นของน่ากลัวไม่ว่าภพใด เพราะว่าต้องสลายไปทั้งสิ้น (ภยตูปัฏฐานญาณ) ๔.ญาณที่เห็นเป็นโทษ เพราะว่าสังขารเป็นของน่ากลัวจึงต้องมีข้อบกพร่อง มีทุกข์ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ) ๕.ญาณที่เห็นความเบื่อหน่าย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษแล้วก็บังเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร ไม่ติดใจ(นิพพิทานุปัสสนาญาณ) ๖.ญาณที่ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น เพราะว่าเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว (มุญจิตุกัมยตาญาณ) ๗.ญาณที่พิจารณาหาทางเพื่อพ้นจากสังขาร ได้แก่การยกเอาสังขารทั้งหลายมาพิจารณาเพื่อให้หลุดพ้นไป (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ) ๘.ญาณที่เห็นอย่างเป็นกลางในความเป็นไปของสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่เห็น (สังขารุเปกขาญาณ) ๙.เมื่อเป็นกลางแล้ว ญาณก็คล้อยเข้าสู่การเห็นอริสัจจ์อันจะนำพาไปสู่ขั้นต่อไป จนกระทั่งจิตดิ่งลงเกิดมรรคญาณขึ้นจึงจะถึงที่สุดคือนิพพาน (สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ) <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>สมาบัติ ๘ คือคุณวิเศษ หรือธรรมอันวิเศษที่ควรเข้าถึง การบรรลุธรรมชั้นสูงได้แก่ ฌาณ ๘ แบ่งเป็นรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ คือ ฌาน ๔ ได้แก่ ๑.ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา (ปฐมฌาน) ๒.ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา (ทุติยฌาน) ๓.ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา (ตติยฌาน) ๔.ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา (จตุตถฌาน) อรูปฌาน ๔ คือการเข้าฌานอันมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ได้แก่ ๑.ฌานที่กำหนดเอาช่องว่างเช่นอากาศ สูญญากาศที่ไม่มีสิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากาสานัญจายตนะ) ๒.ฌานที่กำหนดเอาวิญญาณอันหาที่สุดไม่ได้มาเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (วิญญาณัญจายตนะ) ๓.ฌานที่กำหนดเอาภาวะที่ไม่มีอะไรๆเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากิญจัญญายตนะ) ๔.ฌานที่เข้าถึงภาวะที่เรียกว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้(เนวสัญญานาสัญญายตนะ) <TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>*วิโมกข์ ๘ คือความหลุดพ้น เป็นภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็นขั้นๆดังนี้ ๑.ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตนเช่น สีผมเป็นต้น ๒.ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก ๓.ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า งาม ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา ๔.เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ ๕.เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ๖.เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนัสิการว่าไม่มีอะไรเลย ๗.เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ๘.เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ *อ้างอิงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ โดยท่านพระธรรมปิฎก </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=13 width="100%"><TBODY><TR><TD background=../images/dot_hor.gif></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>